วันเวลาปัจจุบัน 27 เม.ย. 2024, 10:16  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 118 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2010, 20:35 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


:b12:
เพราะความหลง..จึงหลงทำเพื่อ..ลาภ..ยศ..สรรเสริฐ

มีพวกพ้อง..เพื่อนร่วมอุดมการณ์เยอะ ๆ...นี้ก็ลาภ
ได้เป็นคนสำคัญในกลุ่มพวกพ้อง...........นี้ก็ยศ
อยากให้เขาโมทนากับคำของเราเยอะ ๆ ..นี้ก็สรรเสริฐ

บางครั้ง..เพื่ออะไรนี้..ดูตัวเองก็ยังดูยาก..ก็ไม่คิดว่าตัวทำเพื่อสิ่งเหล่านี้
แต่..ลองดูว่า..หากได้ในสิ่งตรงข้ามแล้ว..ตัวเราเองจะมีอาการยังงัย??

ลอง..ไม่มีใครเห็นด้วยกะเรา..เพื่อนน้อย..........นี้ก็จัดว่า..เสื่อมลาภ
ก็เมื่อไม่มีเพื่อน..ก็ไม่มีคนให้ความสำคัญกะเรา...นี้ก็จัดว่า..เสื่อมยศ
ก็เขาไม่เห็นด้วยกะเรา..แล้วจะมีใครชมเราละ.....นี้ก็จัดว่า..เสื่อมสรรเสริฐ

หากเจอเข้าไปแล้ว..มีอาการหงุดหงิด..หงุ่นหง่าน..บ่นกะปิตกะปอย..ก็ให้พึงรู้ซะว่า..เรากำลังหลงทำเพื่อลาภ..ยศ..สรรเสริฐ..อยู่

ดูที่จิตของเรานั้นแหละ..ไม่ต้องไปดูใคร

ขอให้เจริญในธรรมยิ่ง ๆ ขึ้นไปกันทุกคนนะครับ :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2010, 21:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อิสระ เขียน:
อิสระ เขียน
มะม่วง ถ้าไปเรียกมันว่า ลำใย ยังไงมันก็ไม่เปลี่ยนสภาพไปตามคำเรียกไปได้หรอก
มะม่วงก็ยังคงเป็นมะม่วงตามเดิม ไม่ว่าจะเรียกขานด้วยชื่ออะไรก็ตาม

ธรรมภูต เขียน
มะม่วงก็ยังคงเป็นมะม่วง ลำใยก็คงเป็นลำใย เปลี่ยนแปลงไม่ได้หรอกครับ
แต่ถ้าไปรู้ผิดๆมาแต่ต้นว่า ผลมะม่วงมีสันฐานเป็นลูกกลมๆ เล็กๆเป็นพวง มีรสหวานอย่างเดียวฯลฯ
จนกลายเป็นความเข้าใจผิดที่ฝังแน่นอยู่ในจิตใจ(อนุเสติ)แล้วละก้อ
เมื่อมีคนเอามะม่วงของจริงมาให้ดู กลับเถียงคอเป็นเอ็นว่านั่นไม่ใช่มะม่วงนะครับ
เพราะความเข้าใจผิดของตนเองแท้ๆ ที่เรียนรู้มาแบบผิดๆ หรือเชื่อตามๆกันมานั่นเอง


แค่นี้ก็รู้แล้ว ว่าหนังคนละม้วนกัน พูดกันไม่รู้เรื่องหรอก

นี่คือเหตุผลที่ไม่ต่อล้อต่อเถียงด้วยครับ เพราะเข้าใจคนละแบบ แถมไม่ถามกันก่อนว่าสื่อความว่าอะไร
อีกเหตุผลหนึ่งที่ไม่ตอบคำถามใด ๆ คือ คุณธรรมภูต ชอบยัดเยียดความคิดให้คนอื่น กลับไปอ่านข้อความที่คุณว่ากล่าวผมต่าง ๆ นานาสิ คุณคิดว่าผมคิดอย่างนั้น คิดว่าผมทำอย่างนี้ คิดว่าผมเคยเป็นอย่างนั้นอย่างนี้มาก่อน ผลจะเป็นแบบนี้ จริง ๆ แล้วผมอ่านทุกคำถาม ทุกคำต่อว่าของคุณทั้งหมดแล้ว เห็นว่าไม่เป็นประโยชน์อะไรที่จะสนทนาด้วยอีกต่อไป เพราะไม่ใช่คู่สนทนาที่ดี (ไม่ได้หมายความว่าต้องพูดเพราะ ๆ พูดไพเราะ นะครับ อันนี้ก็อีกหนึ่งประเด็นที่ตีความผิด เข้าใจเจตนาผิดไป)

ไม่ยอมใคร ไม่ลงให้ใคร ไม่ยอมให้ใครเดินหนีไปดื้อ ๆ โดยที่ยังไม่รู้ดำรู้แดง ต้องได้คำตอบเท่านั้น ต้องเคลียร์เท่านั้นจึงจะจบ สุดท้าย "กูต้องชนะเท่านั้น " เรื่องจึงจะจบ

ต่างคนต่างร้อยพ่อพันแม่ พื้นฐาน การศึกษา การภาวนา ความรู้ปริยัติก็ต่าง ๆ กันออกไป จะเที่ยวไปให้คิดเหมือนกัน ทำเหมือนกันทุกประการมันเป็นไปไม่ได้หรอกคุณ จะเที่ยวไปให้ว่าตรงเป็นแบบนี้เท่านั้น เป็นแบบอื่นไม่ได้ ถ้าเป็นอย่างอื่นผิดเพี้ยนมาฉันไม่ยอมอะไรประมาณนี้อ่ะนะ

ที่เล่ามาก็เพื่อให้แลกเปลี่ยนกัน ว่าผมทำมาอย่างนี้ คุณทำมาอย่างนี้ เอามาแลกเปลี่ยนกันมาเทียบเคียงกัน ว่าเหมือนหรือต่างกันตรงไหน เอาตำรามาเป็กหลักว่าผมตรงมั้ย คุณตรงมั้ย มาปรึกษาหารือว่าเออ..จะไปในทิศทางไหน ยังไม่ตรงทางตรงไหน จุดไหนบ้างที่ยังคลาดเคลื่อน ไม่ใช่ให้มาจัดผิดกัน มาตอกย้ำ กระทืบซ้ำ เยอะเย้ย ถ่มน้ำลายใส่กัน ทุกคนที่ยังไม่บรรลุธรรม ต่างก็ทำผิดด้วยกันทุกคนแหล่ะ อยู่ที่ใครจะมีเพื่อนร่วมทางกัลยาณมิตรที่ค่อยประคับประคองกันไปได้มากน้อยแค่ไหน

ขอให้เป็นกัลยาณมิตรที่ดีแก่กัน ไม่ใช่ห้ำหั่นกัน ให้ตายกันไปข้างหนึ่ง

เจริญในธรรมยิ่ง ๆ

คุณอิสระครับ

คุณจะไม่ตอบคงไม่มีใครว่าอะไรคุณได้นะครับ เป็นสิทธิส่วนบุคคลครับ
แต่คุณกลับมากล่าวหาผมซะยังงั้นว่า ยัดเยียดความคิดให้คนอื่น???

ผมเคยบอกไว้ตรงไหนครับว่า ต้องเชื่อคำพูดผมเท่านั้น จึงจะถูกต้อง
อย่าเอาวิสัยคนพาลมาใช้สิครับ ของแบบยัดเยียดกันไม่ได้หรอก
ถ้าลองจะไม่เชื่อ ต่อให้มีเหตุผลดีขนาดไหนก็ตาม ก็ไม่เชื่ออยู่ดีครับ

คุณเข้ามาตอบกระทู้เพื่ออะไรครับ???
เพื่อต้องการโชว์ภูมิรู้ของตัวเองที่คิดว่าถูกเท่านั้นใช่มั้ยครับ???

เมื่อคุณแย้งมาผมก็ตอบกลับไปใช่มั้ยครับ???
เมื่อผมแย้งกลับ คุณไม่ตอบ ก็ไม่ควรมากล่าวร้ายกันนิครับ มันไม่งามนะครับ

นักปฏิบัติที่แท้จริงคงไม่จิตใจคับแคบแบบนี้หรอกครับ
เริ่มต้นมาคุณก็สอนผมซะแล้วว่าให้อ่านและศึกษาอภิธรรมมากๆ
แบบนี้หรือครับที่เรียกว่าสนทนาธรรม การสนทนาธรรมที่แท้จริงนั้น
ต้องถามมาตอบไปครับจึงจะถูกต้อง ไม่ใช่มาคอยอวยว่าที่ทำมานั้นถูกแล้ว
ทั้งๆที่ไม่ถูกต้องตรงต่อพระพุทธพจน์เลย จะให้เออ-ออไปกับคุณหรือครับ

คุณหนีไปเฉยๆโดยไม่ตอบผมจะไปทำอะไรกับคุณได้ครับ อย่าทำตัวเป็นเด็กไม่รู้จักโตสิครับ
ไม่มีใครคอยมาจับผิดหรอกครับ คุณคิดเองเออเองไปต่างหากครับ
อย่าลืมนะครับ ว่าทุกคนมีสิทธิสงสัยในข้อธรรมที่ไม่ชัดเจนครับ และมีสิทธิที่จะถามด้วยใช่มั้ยครับ???
ถ้าคุณไม่ต้องการให้คนถาม ก็บอกมาเลยสิครับว่าอย่าถาม ผมไม่ตอบครับ ก็เท่านั้นเอง

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2010, 21:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
กิริยาจิต ไม่ใช่มีอรหัตผลจิต เป็นเหตุเกิด
กิริยาจิต เป็นจิตที่มีเฉพาะ พระอรหันตเท่านนั้น ไม่เป็นการทั่วไปแก่เสขบุคคล และบุคคลทั่วไป
เกิดเพราะอัพยากตมูล คืออโลภะ อโทสะ และอโมหะ และเกิดดับสลับคั่นระหว่างอรหัตผลจิต


คุณเช่นนั้นครับ
อ้าวคุณเอาอะไรมาพูดครับ มีที่ไหนครับที่กิริยาจิต คือการแสดงออกของจิต
ถ้าไม่ใช่การแสดงออกมาจากจิตพระอรหันต์พระองค์นั้น??? แล้วอยู่ๆโพล่มาจากไหรครับ???

กิริยาจิตย่อมต้องเกิดจากจิตของคนคนนั้นที่แสดงออกมาใช่มั้ยครับ???
จึงเรียกได้ว่าเป็นกิริยาจิตของใครที่แสดงออกมาใช่มั้ยครับ???

การแสดงออก(กิริยา) ล้วนต้องมีมูลทั้งนั้นใช่มั้ยครับ???
ท่านพระอรหันต์ท่านแสดงออกด้วยเมตตาล้วนๆ โดยไม่เจืออามีสใดทั้งสิ้นใช่มั้ยครับ???

คุณลองแสดงออกโดยไม่มีมูลให้ดูหน่อยสิครับ???
แม้แต่พระพุทธองค์ท่านยังมีเมตตาที่ค่อยอบรมสั่งสอนพระสาวกเลยใช่มั้ยครับ???

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2010, 21:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
เพราะอรหัตผลจิต ไม่พัวพันกับกองทุกข์ ทำกิจอื่นใดเช่น จะขี้ จะปัสสวะ จะกิน จะลุก จะนั่ง หรือจะเข้าออก รูปฌาน หรืออรูปฌานแสดงฤทธิ์ ก็ไม่ได้ ซึ่งกิจต่างๆ เหล่านี้ สำเร็จด้วยกิริยาจิต ซึ่งพัวพันอยู่กับกองทุกข์

พระอรหันต์ทำกิจวัตรประจำวัน สำเร็จด้วยกามาวจรกิริยาจิต
รูปาวจรกิริยา กระทำรูปฌาน ของพระอรหันต์
อรูปาวจรกิริยา กระทำอรูปฌาน ของพระอรหันต์


คุณเช่นนั้นครับ

คุณกำลังพูดขัดกันเองอยู่หรือเปล่าครับ
คุณพูดเองนะครับว่า"พระอรหันต์ทำกิจวัตรประจำวัน สำเร็จด้วยกามาวจรกิริยาจิต"
กามาวจรจิต ก็คือจิตที่ยังติดข้องอยู่ในโลก(โลกียจิต)นะครับ

พระอรหันต์ท่านต้องกระทำด้วยอกิริยาจิตครับ คือปราศจากอาการ(กิริยา)ของจิตครับ
ส่วนกามาวจรจิต รูปาวจร อรูปาวจรจิตนั้น ยังเป็นจิตที่ยังติดข้องอยู่ในอารมณ์(โลกียจิต)ครับ
พระอรหันต์ท่านกระทำอะไรก็ตามด้วยจิตเมตตาล้วนๆ โดยไม่มีอามีส(กิริยาจิต)ครับ

ใครบอกละครับว่าพระอรหันตผลจิต ไม่พัวพันกองทุกข์
แล้วขันธ์๕ที่ท่านแบกอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันนั้นใช่กองทุกข์มั้ยครับ???
ท่านแบกโดยท่านไม่ยึดมั่นถือมั่นในขันธ์เหล่านั้นแล้วใช่มั้ยครับ???
ท่านแบกโดยจิตของท่านไม่ได้ทุกข์ไปด้วยกับมันใช่มั้ยครับ???

:b39

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2010, 21:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
กิริยาจิต ไม่ใช่กุศล และไม่ใช่ทั้งอกุศล เป็นอัพยกตจิต
ขณะพระอรหันตทำกิจประจำวัน หรือบางรูปสามารถแสดงอิทฤทธิ์ได้ การกระทำของท่านไม่ก่อให้เกิดกรรมวิบาก เมื่อไม่เป็นเหตุให้เกิดกรรมวิบาก ก็คือด้วยสามารถแห่งอรหัตผลจิตเกิดสลับคั่นในระหว่าง นั่นเอง

ถามว่าเป็นจิตดวงเดียวกันไม๊ ... ตอบว่า ไม่ใช่ เป็นคนละดวงกันแต่มีคุณสมบัติเดียวกัน โดยมีชีวิตอินทรีย์ดำรงความสืบต่อแห่งชีวิตอยู่ เพราะการเกิดดับของจิต เป็นไปตามเหตุตามปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงไป

กิริยาจิตหนึ่งจะทำกิจใด จิตก็ไปรู้อารมณ์นั้น และเมื่อจิตจะทำกิริยาอื่น จิตก็ไปรู้อารมณ์อื่น
ถ้ากิริยาจิตไม่เกิดดับ การเปลี่ยนอารมณ์ก็ไม่อาจเป็นไปได้ เพราะจิตขณะหนึ่งๆก็รู้อารมณ์หนึ่ง


คุณเช่นนั้นครับ

คำว่ากิริยาก็ชัดเจนอยู่แล้วนะครับว่า การแสดงออกต่ออารมณ์ของจิต
เมื่อมีการแสดงออกย่อมต้องมีเหตุแห่งการแสดงออกนั้น
จะเป็นกุศลธรรม อกุศลธรรม หรืออัพยากตธรรม
คำว่าอัพยากตธรรมนั้น เป็นการแสดงออกอย่างหนึ่งเหมือนกัน
แต่เป็นธรรมที่ไม่เอียงไปข้างใดข้างหนึ่งระหว่างกุศล และอกุศลในขณะนั้นครับ
แต่ไม่ใช่ธรรมที่ทำให้พ้นจากทุกข์ครับ
เพราะเป็นธรรมที่พร้อมจะเปลี่ยนเป็นกุศลหรืออกุศลในคราวต่อไป

ตกลงจิตของคุณมีกี่ดวงครับ???
ในพระพุทธพจน์ชัดเจนนะครับว่า "เอก จรํ" ดวงเดียวเทียวไป
ถ้าจิตเกิดดับ แล้วกรรมจะบันทึกลงที่จิตดวงไหนครับ???
พระพุทธองค์ทรงสอนให้ชำระจิตให้บริสุทธิ์หมดจดไปเพื่ออะไรครับ???
ถ้าจิตเกิดดับอยู่ตลอดเวลาจริง จะชำระจิตได้อย่างไรครับ???

คุณพูดเองนะครับว่า"ที่เกิดดับคือกิริยาจิต"
กิริยาจิตใช่จิตที่แสดงตอบต่ออารมณ์นั้นๆใช่มั้ยครับ???
เมื่ออารมณ์นั้นดับไป จิตก็ไปรู้อารมณ์อื่นต่อไปใช่มั้ยครับ???
แสดงว่าที่เกิดดับคืออาการของจิตที่แสดงตอบต่ออารมณ์นั้น???
จิตยังรู้อยู่เห็นอยู่ตลอดเวลาที่จิตกวัดแกว่งไปตามอารมณ์ใช่มั้ยครับ???

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2010, 22:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าจิตไม่เกิดไม่ดับ
ไตรลักษณ์ก็ไม่จริง

ถามหน่อยสิ ว่าตรงไหนพระพุทธเจ้าบอกว่าจิตอยู่พ้นไตรลักษณ์
ถ้าจิตอยู่พ้นไตรลักษณ์ แล้วมันจะเวียนว่ายตายเกิดได้ยังไง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2010, 22:42 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


:b12: :b12:
พูดถึงไตรลักษณ์..ทำให้นึกถึงหนังเรื่อง Matrix..

คนที่หลุดจากระบบ Matrix..พยายามจะบอกให้คนในระบบ..Matrix..รู้ว่า..สิ่งที่คุณเป็น..คุณเห็น..อยู่นี้..มันไม่มีตัวตนอยู่จริง..เลยซักกะอย่าง

นึกดูว่า..คนในระบบ..Matrix..มีกี่คนจะเข้าใจความจริงข้อนี้ได้
http://www.softpedia.com/progScreenshots/3D-Matrix-Screensaver-the-Endless-Corridors-Screenshot-8457.html


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2010, 22:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมภูต...
ท่านคงรีบด่วนอ่าน จึงตัดโน่นนิดนี่หน่อย จากสิ่งที่ เช่นนั้น แสดง

ธรรมภูต เขียน:
อ้าวคุณเอาอะไรมาพูดครับ มีที่ไหนครับที่กิริยาจิต คือการแสดงออกของจิต
ถ้าไม่ใช่การแสดงออกมาจากจิตพระอรหันต์พระองค์นั้น??? แล้วอยู่ๆโพล่มาจากไหรครับ???


กามาวจรกิริยาจิต ๘
[๓๙๗] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
มโนวิญญาณธาตุ เป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรม-
*วิบาก
สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรม
เป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุต
ด้วยญาณ...เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจาก-
*ญาณ ... เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ ... เกิดขึ้น
โดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ...เกิดขึ้นโดย
มีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ...เกิดขึ้น ฯลฯ
สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ...เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ในสมัยใด ใน
สมัยนั้น วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย
เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ปสาทะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์เกิด
เพราะปสาทะเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็น
ปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อม
มีด้วยประการอย่างนี้

-----

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2010, 22:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมภูต เขียน:


คุณเช่นนั้นครับ

คุณกำลังพูดขัดกันเองอยู่หรือเปล่าครับ
คุณพูดเองนะครับว่า"พระอรหันต์ทำกิจวัตรประจำวัน สำเร็จด้วยกามาวจรกิริยาจิต"
กามาวจรจิต ก็คือจิตที่ยังติดข้องอยู่ในโลก(โลกียจิต)นะครับ


อย่างนี้ เรียกว่า เรียนไม่ศัพท์ จับมากระเดียด
ที่เขียน ไว้ คือ กามาวจรกิริยาจิต ไม่ใช่ กามาวจรจิต

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2010, 22:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กามาวจรกิริยา
[๔๘๒] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?
มโนธาตุ เป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก สหรคตด้วย
อุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น ใน
สมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา มนินทรีย์
อุเปกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ใน
สมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.
[๔๘๓] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๓ ผัสสะ ๑ ฯลฯ
มโนธาตุ ๑ ธัมมายตนะ ๑ ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด
มีอยู่ในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต ฯลฯ
[๔๘๔] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร เอกัคคตา ชีวิตินทรีย์ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้น
แม้อื่นใด เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ มีอยู่ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์
มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.
[๔๘๕] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?
มโนวิญญาณธาตุ เป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก สหรคต
ด้วยโสมนัส มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น ใน
สมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา วิริยินทรีย์
สมาธินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัย
เกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.
[๔๘๖] ผัสสะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้อง ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า
ผัสสะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
เอกัคคตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต
ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตส่ายไป ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ ในสมัยนั้น
อันใด นี้ชื่อว่า เอกัคคตา มีในสมัยนั้น ฯลฯ
วิริยินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความตั้งหน้า ความ
พยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย
ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความประคับประคองธุระ วิริยะ อินทรีย์คือวิริยะ
วิริยพละ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิริยินทรีย์ มีในสมัยนั้น.
สมาธินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต
ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ อินทรีย์คือสมาธิ สมาธิพละ ในสมัยนั้น
อันใด นี้ชื่อว่า สมาธินทรีย์ มีในสมัยนั้น ฯลฯ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มี
อยู่ในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.
[๔๘๗] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๕ ผัสสะ ๑ ฯลฯ
มโนวิญญาณธาตุ ๑ ธัมมายตนะ ๑ ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้น
แม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต ฯลฯ
[๔๘๘] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร ปีติ เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์ ชีวิตินทรีย์
หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ มีอยู่ใน
สมัยนั้น นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต ฯลฯ
[๔๘๙] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?
มโนวิญญาณธาตุ เป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก สหรคต
ด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น ใน
สมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา วิริยินทรีย์
สมาธินทรีย์ มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิด
ขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.
[๔๙๐] ก็ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๕ ผัสสะ ๑ ฯลฯ
มโนวิญญาณธาตุ ๑ ธัมมายตนะ ๑ ธรรมธาตุ ๑ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มี
อยู่ในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต ฯลฯ
[๔๙๑] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ หรือ
นามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ มีอยู่ในสมัยนั้น
นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.
[๔๙๒] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?
มโนวิญญาณธาตุ เป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก สหรคต
ด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์
ใดๆ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ ... เกิดขึ้น โดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคต
ด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ ... เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ ...
เกิดขึ้น โดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ ... เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคต
ด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ ... เกิดขึ้น โดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุต
จากญาณ ... เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ ... เกิดขึ้น โดยมีการชักจูง
ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.
[๔๙๓] อัพยากตมูล คือ อโลภะ ฯลฯ อัพยากตมูล คือ อโทสะ ฯลฯ อัพยากตมูล
คือ อโมหะ ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.
กามาวจรกิริยา จบ.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2010, 22:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมภูต เขียน:
ถ้าไม่ใช่การแสดงออกมาจากจิตพระอรหันต์พระองค์นั้น??? แล้วอยู่ๆโพล่มาจากไหรครับ???



ดูชัดๆ นะ ธรรมภูต

[๔๙๓] อัพยากตมูล คือ อโลภะ ฯลฯ อัพยากตมูล คือ อโทสะ ฯลฯ อัพยากตมูล
คือ อโมหะ ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2010, 23:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมภูต เขียน:
คำว่ากิริยาก็ชัดเจนอยู่แล้วนะครับว่า การแสดงออกต่ออารมณ์ของจิต
เมื่อมีการแสดงออกย่อมต้องมีเหตุแห่งการแสดงออกนั้น
จะเป็นกุศลธรรม อกุศลธรรม หรืออัพยากตธรรม
คำว่าอัพยากตธรรมนั้น เป็นการแสดงออกอย่างหนึ่งเหมือนกัน
แต่เป็นธรรมที่ไม่เอียงไปข้างใดข้างหนึ่งระหว่างกุศล และอกุศลในขณะนั้นครับ
แต่ไม่ใช่ธรรมที่ทำให้พ้นจากทุกข์ครับ
เพราะเป็นธรรมที่พร้อมจะเปลี่ยนเป็นกุศลหรืออกุศลในคราวต่อไป


ธรรมภูต จิตเป็นกุศลก็อย่างหนึ่ง จิตเป็นอกุศลก็อย่างหนึ่ง จิตเป็นอัพยากตก็อย่างหนึ่ง
ขึ้นกับเหตุปัจจัย

กิริยาก็ชัดเจน ชัดเจนแบบธรรมภูต หรือแบบพระอรหันต์
เข้าใจแบบธรรมภูต หรือเข้าใจแบบพระอรหันต์

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 24 ส.ค. 2010, 23:06, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2010, 23:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมภูต เขียน:
ตกลงจิตของคุณมีกี่ดวงครับ???
ในพระพุทธพจน์ชัดเจนนะครับว่า "เอก จรํ" ดวงเดียวเทียวไป
ถ้าจิตเกิดดับ แล้วกรรมจะบันทึกลงที่จิตดวงไหนครับ???
พระพุทธองค์ทรงสอนให้ชำระจิตให้บริสุทธิ์หมดจดไปเพื่ออะไรครับ???
ถ้าจิตเกิดดับอยู่ตลอดเวลาจริง จะชำระจิตได้อย่างไรครับ???


จิตเช่นนั้น ก็มีดวงเดียว และดวงเดียวเที่ยวไป
จิตเช่นนั้นก็เกิดดับ แต่ไม่มีการบันทึกกรรม แต่กรรมก็ให้ผลได้เพื่อเหตุปัจจัยพร้อมก็น้อมเอาผลนั้นเกิดกับจิตได้

จิตแต่ละดวงเกิดดับ และมีความสืบเนื่องโดยอาศัยเหตุปัจจัยที่เกิดก่อน เหตุเฉพาะย่อมให้ผลเฉพาะ
ปัจจัยเป็นอุปการะแก่ผล จิตจึงดูเหมือนว่าเป็นจิตดวงนั้นแหละที่เที่ยวไป

พระพุทธองค์ตรัสว่า พระพุทธองค์เคยเป็นพระเวสสันดรบ้าง พระชนกบ้าง จิตของพระองค์เที่ยวไปหลายแสนชาติเป็นไปต่างๆนาๆ ถ้าจิตดวงนี้ไม่เกิดดับด้วยเหตุปัจจัย เป็นไปกับอำนาจแห่งเหตุปัจจัย จิตพระเวสันดร ก็คงระลึกถึงจิตของสุเมธดาบสได้ จิตของสุเมธดาบสก็คงระลึกถึงจิตของพระพุทธเจ้าขณะตรัสรู้ที่โพธิบัลลังก์ได้ แต่กลับระลึกกันไปมาไม่ได้ แต่จิตของพระพุทธเจ้ากลับระลึกได้ตลอด จิตที่เกิดดับตามเหตุตามปัจจัยมีความซับซ้อนมากมาย จนท่านธรรมภูต เรียนรู้มาผิดๆ และมีทิฏฐิผิดๆ
เว้นจาก อสังขตธาตุ แล้วสังขตธาตุทั้งหลายในโลกล้วนแล้วแต่ เกิดดับไปตามเหตุปัจจัยทั้งหมดทั้งสิ้น

พระพุทธองค์ให้ชำระจิตบริสุทธิ์หมดจด คือชำระความเศร้าหมองของเจตสิกธรรมอันเป็นจิตตสังขารของจิต เพื่อไม่ให้มีเหตุอันนำไปสู่ภพใหม่ของจิต

กรรม คือเจตนา
วิบากคือผลกรรม คือผลจากเหตุที่ได้กระทำไว้ ไม่เกี่ยวกับบัีนทึกกรรม ตามที่ท่านรู้มาผิดๆ

จิตเกิดดับตลอดเวลาจริง ชำระจิตอย่างไร ก็คงหมดปัญหา
คือเว้นจากการทำจิตเหตุที่ไม่ต้องการ อย่างนี้เรียกว่าชำระ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 25 ส.ค. 2010, 00:04, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2010, 23:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมภูต เขียน:
จิตยังรู้อยู่เห็นอยู่ตลอดเวลาที่จิตกวัดแกว่งไปตามอารมณ์ใช่มั้ยครับ???


จิตที่กวัดแกว่ง ใช้ในการแสดง จิตที่เป็นไปเพราะอวิชชา และตัณหา
เพราะอวิชชาและตัณหา จิตจึงกวัดแกว่งด้วยความซ่านแห่งตัณหาเห็นผิดเพราะอวิชชา

จิตพระอรหันต์ กระทำกิจ รู้อารมณ์ ด้วยอพยกตจิต เพราะมีอัพยากตมูลครับ ไม่กวัดแกว่งครับ จิตบรรลุนิพพานแล้วครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2010, 23:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูชัดๆ ธรรมภูต
ว่าจิตเกิดดับ มีพุทธพจน์รับรองไว้หรือไม่

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๕
มหาวรรค ภาค ๒
พรรณนาคุณของพระขีณาสพ
.....
แม้หากธรรมารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยมโน ผ่านมาสู่คลองใจของภิกษุผู้มี
จิตหลุดพ้นแล้วโดยชอบอย่างนี้ ก็ไม่ครอบงำจิตของภิกษุนั้นได้เลย จิตของภิกษุนั้นอันอารมณ์
ไม่ทำให้เจือติดอยู่ได้ เป็นธรรมชาติตั้งมั่นไม่หวั่นไหว และภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นความเกิด
และความดับของจิตนั้น


http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=5&A=136&Z=223&pagebreak=0

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 118 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 46 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร