วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 10:56  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 118 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7, 8  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2010, 11:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตามที่ท่านธรรมภูต แสดงมาหลายๆ ตอน เกี่ยวกับอัพยกตจิต
ธรรมภูต เข้าใจว่า
-อัพยากตจิต มีอุเบกขาโง่ เป็นองค์ธรรมประกอบ
-อัพยากตจิต เป็นโลกียจิต ไม่มีส่วนแห่งโลกุตตรจิต
-อัพยากตจิต ในส่วนที่เป็นกิริยาจิต ไม่ใช่คุณสมบัติของจิตอันเป็นของพระอรหันต์

ธรรมภูต ก็เข้าใจว่า กิริยา และกรรม เป็นสิ่งเดียวกัน คือการกระทำ คือถ้ามีการกระทำเป็นไปกับรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ก็เป็นโลกียจิตทั้งสิ้น


อ้างคำพูด:
พระอรหันต์ ที่ยังไม่ดับขันธปรินิพพาน ถึงแม้จะมีขันธ์ 5 ขณะที่ยังกิน ยังนอน ยังเดิน ยังขี้ ยังปัสสวะ
ก็ยังชื่อว่าพัวพันกับกองทุกข์ คือขันธ์5 แต่การพัวพันหรือประกอบนั้นเป็นกิริยาจิต เพราะไม่ก่อให้เกิดกรรมวิบาก ด้วยเหตุว่า อรหัตผลจิตอันเป็นโลกกุตตระวิบากนั้นเกิดคั่นสลับระหว่าง กิริยาจิตและอรหัตผลจิต กิริยาจิตนั้นไม่ใช่จิตอันเป็นกุศลเหตุ หรืออกุศลเหตุ เพราะกิริยาจิตเป็นอัพยากตจิต.


เช่นนั้น ไม่เคยบอกว่า พระอรหันต์ หลุดพ้นด้วยอัพยากตจิต

มัคคจิต(โลกุตตระกุศลจิต)>>อรหัตผลจิต(อัพยากตจิต)

เมื่ออัญญิณทรีย์เกิดบริบูรณ์ในขณะแห่งอรหัตมัคคจิต พระอรหันต์ย่อมหลุดพ้นจากตัณหาและอวิชชาทั้งหมดทั้งสิ้น

อรหัตผลจิตอันเป็นอัพยากตจิต ก็เกิดตามมาด้วยการดับไปแห่งอรหัตมัคจิตในขณะถัดมาไม่มีระหว่างคั่นพร้อมด้วยอัญญาตาวินทรีย์ปัญญาอันบริสุทธิ์หมดจดแทงตลอดอริยสัจจ์ และเห็นแจ้งพระนิพพาน.
ถ้ารูปสังขารของท่านอันเป็นวิบากกัมชรูป ซึ่งเป็นผลจากกรรมในอดีตยังไม่สิ้นอายุขัย ท่านก็ไม่ดับขันธ์ปรินิพพาน ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ. พระอรหันตเจ้าจึงต้องทำกิจบริหารขันธ์ของท่านตามปรกติธรรมดา พระอรหันตเจ้าจึงต้องกิน ต้องดื่ม ต้องถ่าย อันเกี่ยวข้องกับสังขารทุกข์ปรกติธรรมดา การกระทำของท่านก็มีเจตนา แต่เจตนาของท่านไม่เป็นเหตุให้เกิดในสังสารวัฏฏ์อันเป็นชาติต่อไปเมื่อรูปสังขารของท่านสิ้นอายุขัย. เจตนาที่สำเร็จเป็นการกระทำของพระอรหันต์ จึงไม่บัญญัติว่าเป็นกรรม แต่บัญญัติว่าเป็นกิริยา จิตขณะดำเนินชีวิประจำวันจึงเป็นกิริยาจิต ซึ่งมีอัพยากตมูล เป็นเหตุ มีเฉพาะในพระพุทธเจ้า หรือพระอรหันต์ ไม่เป็นการสาธารณะแก่บุคคลอื่นๆ.

กิริยาจิตอันเป็นอัพยากตจิต ซึ่งเป็นคุณสมบัติของพระอรหันต์
มี อเหตุกกิริยาจิต กามาวจรกิริยาจิต รูปาวจรกิริยาจิต อรูปาวจรกิริยาจิต

การกิน การดื่ม การถ่ายอุจาระปัสสวะของพระอรหันต์ เป็นสสังขาริกก็มี เป็นอสังขาริกก็มี
เช่นพระอรหันตอาพาธผู้เฝ้าพยาบาลบอกให้พระอรหันต์ฉันน้ำฉันอาหาร ท่านก็ฉันน้ำฉันอาหาร อย่างนี้เป็นสสังขาริก
พระอรหันต์ กระพริบตา แลมอง เหยืยดมือ นั่ง ยืนไม่มีใครบอกใครกล่าวใครชวน อย่างนี้เป็นอสังขาริก
พระอรหันต์ท่านเป็นผู้ย่ำยีความโกรธได้หมดสิ้น เมื่อมีผู้ใดมาเบียดเบียนท่าน ท่านไม่โกรธต่ออารมณ์ที่มากระทบ กิริยานี้ก็เป็นอสังขาริก ไม่ต้องมีผู้ใดชักชวนให้ท่านไม่โกรธ กิริยาจิตของท่านขณะนี้สำเร็จด้วยอเหตุกิริยาจิต

ดังนั้นอัพยากตจิตอันเป็นกิริยาจิตที่สำเร็จแก่พระอรหันต์ ไม่พึงพิจารณาไปในทางเดียวกับอัพยากตจิตอันสำเร็จแก่ปุถุชน เพราะเหตุแห่งอัพยากตจิตของปุถุชนและ พระอรหันต์ นั้นต่างกัน.

ปุถุชน กระทำ คือเจตนา แต่เป็นเหตุให้อยู่ในสังสารวัฏฏ์ เรียกว่าทำกรรม มีวิบากกรรมเป็นอัพยากต
กรรม เป็นกุศล วิบากหรืออัพยกต ก็เป็นกุศลวิบาก
กรรมเป็นอกุศล วิบากหรืออัพยากตก็เป็นอกุศลวิบาก

การที่ปัจจุบันนี้สอนกันว่า อัพยากตจิตคือธรรมที่เป็นกลางๆ จึงเป็นการสอนด้วยพยัญชนะที่สับสน อรรถปนเป จึงนำมาสู่ความเข้าใจผิดของท่านธรรมภูต เป็นธรรมดา

ท่านธรรมภูต มีจิตใฝ่ศึกษาจึงควรพยายามทำความเข้าใจเรื่องอัพยากต เสียใหม่ ทำความเข้าใจด้วยเหตุด้วยปัจจัย ของอัพยากต โดยรายละเอียดเพื่อความไม่หลง

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 27 ส.ค. 2010, 11:10, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2010, 11:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมภูต เขียน:
เช่นนั้น จะโมเมไปถึงไหน จึงไปเอาอัพยากฤตธรรมมาเทียบชั้นกับโลกุตรธรรม
มันคนละเรื่องเลยนะ เช่นนั้น


Quote Tipitaka:
[๔๗๐] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญฌาณเป็นโลกุตตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน
เพื่อบรรลุภูมิที่ ๒ เพื่อความเบาบางแห่งกามราคะและพยาบาท ฯลฯ เพื่อบรรลุภูมิที่ ๓ เพื่อ
ละกามราคะและพยาบาทไม่ให้มีเหลือ ฯลฯ เพื่อบรรลุภูมิที่ ๔ เพื่อละรูปราคะ อรูปราคะ
มานะ อุทธัจจะ และอวิชชา ไม่ให้มีเหลือ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว
บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อัญญินทรีย์
ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.


โยคาวจรบุคคล สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน
ชนิดสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ อันเป็นวิบาก เพราะกุศลฌานเป็นโลกุตตระ
อันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อัญญาตาวินทรีย์ ฯลฯ
อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.


[๔๗๑] ผัสสะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้อง ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า
ผัสสะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

อัญญาตาวินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ความรู้ทั่ว ความรู้ชัด กิริยาที่รู้ชัด ซึ่งธรรมทั้งหลายที่รู้ทั่วถึงแล้วนั้นๆ ความวิจัย
ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนด
เฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ
ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด
ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศาตรา ปัญญาเหมือน
ปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว
ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค
นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อัญญาตาวินทรีย์ มีในสมัยนั้น ฯลฯ หรือ
นามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.


เน้นสีแดง คือมัคคจิต โลกุตตรกุศลจิต
เน้นสีม่วง คือ ผลจิต โลกุตตรอัพยากตจิต

แต่เฉพาะ อรหัตผลจิตเท่านั้น จะประกอบไปด้วยอัญญาตาวินทรีย์ ไม่มีแก่อัพยากตจิตของเสขบุคคคลอื่น

อัญญาตาวินทรีย์ของพระอรหันตเจ้าจึงเป็นเพราะ อัพยากตมูลอันเป็นอโมหะที่สมบูรณ์ที่สุด บริสุทธิ์ที่สุดคงไม่ใช่อุเบกขาโง่ อีกต่อไป

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 27 ส.ค. 2010, 11:26, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2010, 11:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนที่ท่านยกมาจากพระสุตร
แม้หากสัททารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยโสต ....
แม้หากคันธารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยฆานะ ....
แม้หากรสารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยชิวหา ....
แม้หากโผฏฐัพพารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วกาย ....
แม้หากธรรมารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยมโน
ผ่านมาสู่คลองใจของภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วโดยชอบอย่างนี้
ก็ไม่ครอบงำจิตของภิกษุนั้นได้เลย
จิตของภิกษุนั้นอันอารมณ์ไม่ทำให้เจือติดอยู่ได้
เป็นธรรมชาติตั้งมั่นไม่หวั่นไหว และ
ภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นความเกิดและความดับของจิตนั้น


ส่วนที่ ท่านเห็นด้วยก้บ เจ้าของBlogนั้น

ณ ตรงนี้แสดงให้เห็นชัดเจนแล้วว่า
จิตของพระอรหันต์ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว
อารมณ์ (รูป เสียง กลิ่น รส กายสัมผัส ธัมมารมณ์) ที่เข้ามากระทบ
ไม่ว่าจะผ่านเข้ามาทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย หรือใจ ก็ตาม
ไม่อาจครอบงำจิตของท่านให้หวั่นไหวได้เลย

เหมือนภูเขาหินแท่งทึบ ไม่ว่าลมจะพัดมาจากทิศทางใด
ก็ทำให้ภูเขาหินนั้นโยกคลอนไม่ได้ ฉันใดฉันนั้น

ส่วนตอนท้ายพระสูตร ที่แสดงไว้ว่า

จิตของภิกษุนั้นอันอารมณ์ไม่ทำให้เจือติดอยู่ได้ เป็นธรรมชาติตั้งมั่นไม่หวั่นไหว
และภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นความเกิดและความดับของจิตนั้น
ฉันนั้นเหมือนกันแล

ณ ตรงนี้ เป็นการแสดงให้เห็นว่า
จิตที่สงบตั้งมั่นแล้ว ไม่เกิดดับตามอารมณ์
และย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริง คือ เห็นจิตสังขารเกิดดับ


ส่วนที่ท่านเข้าใจผิด คือ "ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว"
ท่านเข้าใจว่า ตั้งมั่น ดำรงมั่น คือความไม่เกิดดับตามอารมณ์

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 27 ส.ค. 2010, 11:39, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2010, 11:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความดำรงมั่น ความไม่หวั่นไหว อันอารมณ์ไม่เจือติด
คือไม่หวั่นไหวไปด้วย ตัณหาและอวิชชา
อารมณ์จะเจือติดจิตด้วย ตัณหา ตัณหาทำให้จิตหวั่นไหว

ผู้ปฏิบัติธรรม เห็นความเกิดดับของจิตที่หวั่นไหว
ผู้ปฏิบัติธรรม เห็นความเกิดดับของจิตที่ไม่หวั่นไหว

ผู้ปฏิบัติธรรมถ้าปฏิบัติธรรมจนบรรลุอรหัตผล ย่อมเห็นความเกิดดับของจิตอันดับรอบเฉพาะตน
ดับรอบเฉพาะตน คือไม่เป็นเหตุให้เกิดในวัฏฏะสงสาร

เห็นความดำรงมั่น เห็นความไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ไม่ใช่เห็นความไม่หวั่นไหวดำรงมั่นไร้ความเกิดดับของจิต

ผู้ไม่ปฏิบัติธรรม ย่อมไม่เห็นความเกิดดับของจิตที่หวั่นไหว เพราะนิวรณ์ขวางกั้นปัญญาไว้
แต่จิตก็เกิดดับไปตามเหตุปัจจัยเป็นธรรมชาติธรรมดา

พระพุทธองค์ให้พิจารณาจิต และความเป็นจิตโดยเหตุปัจจัย
เน้นที่เหตุปัจจัย ..... จึงบัญญัติปฏิจจสมุปปาทธรรมให้สาวกได้เรียนรู้ที่จะเข้าใจเพื่อละความเห็นผิดเกี่ยวกับจิตมาจากไหน และจิตจะไปไหน.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2010, 12:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมภูต เขียน:
อสังขตธาตุนั้น ไม่ใช่มีเพียงหนึ่งเดียวนะ เช่นนั้น พระสูตรที่เป็นพระพุทธพจน์ ยืนยันชัดๆนะ เช่นนั้น
Quote Tipitaka:
"สังขตก็ดี อสังขตก็ดี มีประมาณเท่าใด เรากล่าวว่าวิราคะธรรมเป็นเลิศกว่าธรรมทั้งสองนั้น"

แสดงว่า อสังขตธรรมที่มีประมาณเท่าใดนั้น
อสังขตธรรมที่ได้รับความบริสุทธิ์เป็นวิราคะธรรม เป็นเลิศกว่าธรรมทั้งสอง."


พุทธวจนะ บทนี้แสดงถึงธรรม 2 ประการคือ สังขตธรรมหนึ่งและ อสังขตธรรมหนึ่ง อย่างนี้เป็นบทตั้ง
พุทธวจนะตรัสให้ทรงระลึกถึง เหตุของนิพพาน และนิพพาน จึงตรัสด้วย บทว่าวิราคะธรรมเป็นเลิศกว่าธรรมทั้งสอง

หมายความว่า ถึงจะมีการเรียนรู้เกิดสุตตมยปัญญาว่า มีสังขตก็ตาม หรืออสังขตก็ตาม หากไม่ปฏิบัติอันเป็นการทำเหตุให้แทงตลอดอสังขตะ ก็ไม่มีประโยชน์
การแทงตลอดอสังขตะจะ อาศัยธรรมอย่างอื่นไม่ได้เลยนอกจาก วิราคธรรม

วิราคาธรรม คือไวพจน์หนึ่งของอริยมรรคมีองค์ 8 ซึ่งมีนิพพานเป็นอารมณ์
พระสารีบุตรจึงแสดงธรรมไว้ในปฏิสัมภิทามรรค ด้วยความว่า วิราคธรรม คือนิพพานเหตุ

ถ้าไม่ทำเหตุแห่งนิพพาน ด้วยน้อมเอานิพพานเป็นอารมณ์ ย่อมแทงตลอดอริยสัจจ์4 เห็นแจ้งนิพพานไม่ได้ จึงกล่าวว่า "วิราคะธรรมเป็นเลิศ" กว่าธรรมทั้งสอง ดังนี้เพื่อแสดง ปฏิบัติ และปฏิเวธให้สมบูรณ์

พุทธพจน์นี้จึงเป็นการประกาศอริยสัจจ์ 4
ด้วย สัขต คือทุกข์สัจจ์ และสมุทยสัจจ์
ด้วยอสังขต คือนิโรธสัจจ์
ด้วยวิราคะธรรม คือมรรคสัจจ์

เจริญธรรม

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 27 ส.ค. 2010, 12:29, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2010, 12:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ศีกษาธรรม อย่าศึกษาตามทิฏฐิ
ให้พินิจเห็นตามพระอริยะ
ดับตัณหากิเลสพ้นวัฏฏะ
วิมุติตยะตนะเป็นผลควร

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 29 ส.ค. 2010, 02:04, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2010, 20:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
ตามที่ท่านธรรมภูต แสดงมาหลายๆ ตอน เกี่ยวกับอัพยกตจิต
ธรรมภูต เข้าใจว่า
-อัพยากตจิต มีอุเบกขาโง่ เป็นองค์ธรรมประกอบ
-อัพยากตจิต เป็นโลกียจิต ไม่มีส่วนแห่งโลกุตตรจิต
-อัพยากตจิต ในส่วนที่เป็นกิริยาจิต ไม่ใช่คุณสมบัติของจิตอันเป็นของพระอรหันต์

ธรรมภูต ก็เข้าใจว่า กิริยา และกรรม เป็นสิ่งเดียวกัน คือการกระทำ คือถ้ามีการกระทำเป็นไปกับรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ก็เป็นโลกียจิตทั้งสิ้น


อ้างคำพูด:
พระอรหันต์ ที่ยังไม่ดับขันธปรินิพพาน ถึงแม้จะมีขันธ์ 5 ขณะที่ยังกิน ยังนอน ยังเดิน ยังขี้ ยังปัสสวะ
ก็ยังชื่อว่าพัวพันกับกองทุกข์ คือขันธ์5 แต่การพัวพันหรือประกอบนั้นเป็นกิริยาจิต เพราะไม่ก่อให้เกิดกรรมวิบาก ด้วยเหตุว่า อรหัตผลจิตอันเป็นโลกกุตตระวิบากนั้นเกิดคั่นสลับระหว่าง กิริยาจิตและอรหัตผลจิต กิริยาจิตนั้นไม่ใช่จิตอันเป็นกุศลเหตุ หรืออกุศลเหตุ เพราะกิริยาจิตเป็นอัพยากตจิต.


เช่นนั้น ไม่เคยบอกว่า พระอรหันต์ หลุดพ้นด้วยอัพยากตจิต

มัคคจิต(โลกุตตระกุศลจิต)>>อรหัตผลจิต(อัพยากตจิต)

เมื่ออัญญิณทรีย์เกิดบริบูรณ์ในขณะแห่งอรหัตมัคคจิต พระอรหันต์ย่อมหลุดพ้นจากตัณหาและอวิชชาทั้งหมดทั้งสิ้น

อรหัตผลจิตอันเป็นอัพยากตจิต ก็เกิดตามมาด้วยการดับไปแห่งอรหัตมัคจิตในขณะถัดมาไม่มีระหว่างคั่นพร้อมด้วยอัญญาตาวินทรีย์ปัญญาอันบริสุทธิ์หมดจดแทงตลอดอริยสัจจ์ และเห็นแจ้งพระนิพพาน.
ถ้ารูปสังขารของท่านอันเป็นวิบากกัมชรูป ซึ่งเป็นผลจากกรรมในอดีตยังไม่สิ้นอายุขัย ท่านก็ไม่ดับขันธ์ปรินิพพาน ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ. พระอรหันตเจ้าจึงต้องทำกิจบริหารขันธ์ของท่านตามปรกติธรรมดา พระอรหันตเจ้าจึงต้องกิน ต้องดื่ม ต้องถ่าย อันเกี่ยวข้องกับสังขารทุกข์ปรกติธรรมดา การกระทำของท่านก็มีเจตนา แต่เจตนาของท่านไม่เป็นเหตุให้เกิดในสังสารวัฏฏ์อันเป็นชาติต่อไปเมื่อรูปสังขารของท่านสิ้นอายุขัย. เจตนาที่สำเร็จเป็นการกระทำของพระอรหันต์ จึงไม่บัญญัติว่าเป็นกรรม แต่บัญญัติว่าเป็นกิริยา จิตขณะดำเนินชีวิประจำวันจึงเป็นกิริยาจิต ซึ่งมีอัพยากตมูล เป็นเหตุ มีเฉพาะในพระพุทธเจ้า หรือพระอรหันต์ ไม่เป็นการสาธารณะแก่บุคคลอื่นๆ.

กิริยาจิตอันเป็นอัพยากตจิต ซึ่งเป็นคุณสมบัติของพระอรหันต์
มี อเหตุกกิริยาจิต กามาวจรกิริยาจิต รูปาวจรกิริยาจิต อรูปาวจรกิริยาจิต


ชัดๆนะ เช่นนั้น ที่เช่นนั้น ยกมาก็บอกชัดอยู่แล้วว่า
อัพยากฤตธรรมนั้น ยังเป็นธรรมที่ต้องอาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้นอยู่ชัดมั้ย???
เมื่อเป็นธรรมที่ต้องอาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้นอยู่ ก็จัดอยู่ในฝ่ายโลกียธรรมใช่มั้ย???

[๔๐๖] อัพยากตธรรม คลุกเคล้ากับอัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะปัจจัยที่ไม่ใช่ฌานปัจจัย
ชัดๆนะ เช่นนั้น อรรถกถาจารย์ก็ชี้แจงไว้แล้วว่า เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย และยังถูกชักจูงได้อยู่
เช่นนั้น เอามาอ้างเพื่อขัดแย้งกับพระพุทธพจน์ใช่มั้ย??? ควรเชื่อใคร???
ที่เช่นนั้นยกมานั้น มีกล่าวขัดกันเอง และยังขัดกับพระสูตรนะ

ในพระสูตร จัดอัพยากฤตธรรมไว้ในหมวดเวทนาขันธ์ในมหาสติปัฏฐานสูตรนะ
"เสวยอทุกขมสุขเวทนาก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนา
เราเสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิสหรือ เสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส
ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส...หรือไม่มีอามิส...
ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายในบ้าง"


อทุกขมสุขเวทนา(เฉยโง่) ใช่อัพยากฤตธรรมใช่มั้ย???
แล้วเป็นไปได้หรือที่ พระอรหันตผลจิตเป็นอัพยากฤตจิต ยังเป็นจิตที่ถูกชักจูงโดยเหตุปัจจัยปรุงแต่ง???
ยังจัดอยู่ในเวทนาขันธ์เท่านั้น ของแบบนี้คิดเองเออเองไม่ได้นะ เป็นการกล่าวตู่พระพุทธพจน์

ท่านพระอรหันตผลจิตนั้นเป็นอกุปปธรรม เป็นจิตที่ไม่กำเริบอีกแล้วพ้นโลกเหนือโลกแล้ว

การที่ท่านพระอรหันต์ต้องกิน ต้องดื่ม ต้องถ่าย อันเกี่ยวข้องกับสังขารทุกข์ปรกติธรรมดานั้น
เป็นเพียงกิริยาทางกายที่เกิดขึ้นเท่านั้น แต่ไม่มีกิริยาทางจิตอีกแล้ว พ้นแล้วจากเจตนา(กรรม)
มีพระพุทธพจน์กล่าวไว้ว่า "เรากล่าวว่า เจตนาคือกรรม(การกระทำ)"
เช่นนั้นยังใจดำให้ท่านพระอรหันต์ท่านมีเจตนาอีกหรือ??? ท่านพ้นเจตนาแล้วนะ

ที่ยังต้องแบกสังขารอยู่ ก็ด้วยเมตตาล้วนๆ เพื่อดำรงขันธ์ไว้เพื่อเมตตาสั่งสอนชาวบ้านเท่านั้น
ในพระสูตรตรงไหน ที่บอกว่า พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ดำรงอยู่ด้วยอัพยากฤตจิต
อย่าเดาสวดเองเองสิ พระพุทธศาสนาเสียหายหมด ก็เพราะยัดเยียดกันลงไปเอง

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2010, 20:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
การกิน การดื่ม การถ่ายอุจาระปัสสวะของพระอรหันต์ เป็นสสังขาริกก็มี เป็นอสังขาริกก็มี
เช่นพระอรหันตอาพาธผู้เฝ้าพยาบาลบอกให้พระอรหันต์ฉันน้ำฉันอาหาร ท่านก็ฉันน้ำฉันอาหาร อย่างนี้เป็นสสังขาริก
พระอรหันต์ กระพริบตา แลมอง เหยืยดมือ นั่ง ยืนไม่มีใครบอกใครกล่าวใครชวน อย่างนี้เป็นอสังขาริก
พระอรหันต์ท่านเป็นผู้ย่ำยีความโกรธได้หมดสิ้น เมื่อมีผู้ใดมาเบียดเบียนท่าน ท่านไม่โกรธต่ออารมณ์ที่มากระทบ กิริยานี้ก็เป็นอสังขาริก ไม่ต้องมีผู้ใดชักชวนให้ท่านไม่โกรธ กิริยาจิตของท่านขณะนี้สำเร็จด้วยอเหตุกิริยาจิต

ดังนั้นอัพยากตจิตอันเป็นกิริยาจิตที่สำเร็จแก่พระอรหันต์ ไม่พึงพิจารณาไปในทางเดียวกับอัพยากตจิตอันสำเร็จแก่ปุถุชน เพราะเหตุแห่งอัพยากตจิตของปุถุชนและ พระอรหันต์ นั้นต่างกัน.

ปุถุชน กระทำ คือเจตนา แต่เป็นเหตุให้อยู่ในสังสารวัฏฏ์ เรียกว่าทำกรรม มีวิบากกรรมเป็นอัพยากต
กรรม เป็นกุศล วิบากหรืออัพยกต ก็เป็นกุศลวิบาก
กรรมเป็นอกุศล วิบากหรืออัพยากตก็เป็นอกุศลวิบาก

การที่ปัจจุบันนี้สอนกันว่า อัพยากตจิตคือธรรมที่เป็นกลางๆ จึงเป็นการสอนด้วยพยัญชนะที่สับสน อรรถปนเป จึงนำมาสู่ความเข้าใจผิดของท่านธรรมภูต เป็นธรรมดา

ท่านธรรมภูต มีจิตใฝ่ศึกษาจึงควรพยายามทำความเข้าใจเรื่องอัพยากต เสียใหม่ ทำความเข้าใจด้วยเหตุด้วยปัจจัย ของอัพยากต โดยรายละเอียดเพื่อความไม่หลง

ชัดๆนะ เช่นนั้น

พระอรหันต์ ปฏิจจสมุปบาทธรรมดับ
สังขารดับ วิญญาณดับ ...ฯลฯ..ผัสสะดับ..ฯลฯ...ทุกข์ดับไปจากจิต

เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะสสังขาริกหรืออสังขาริกวิญญาณย่อมดับไปแล้ว
นั่นคือ จิตของพระอรหันต์ ไม่เกิดกิริยาอาการของจิตแล้ว
ยังคงเหลือเพียงกิริยาที่เกิดทางกายสังขารเท่านั้น ไม่เกิดจิตตสังขารอีกแล้ว

การรู้ของพระอรหันต์จึงเป็นรู้สักว่ารู้ กระทบสักว่ากระทบ
ไม่เกิดผัสสะแล้ว ทำให้ไม่เกิดกิริยาอาการของจิตแล้ว

ชัดๆนะ เช่นนั่น
ใครกันแน่ที่กำลังสับสนอยู่ อรรกถาจารย์ก็ชัดเจนอยู่แล้ว
เช่นนั้นควรทำความเข้าใจเรื่องอัพยากฤตธรรมให้มากๆ
อย่าหลงในธรรมที่ไม่ใช่โลกุตรธรรมหรือโลกุตตรจิตอยู่อีกเลย จำเอาไว้นะ

[๔๘๖] อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม โดยเหตุปัจจัย
คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
และจิตตสมุฏฐานรูป โดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ เหตุทั้งหลาย ที่เป็นอัพยากตวิบาก
เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และกฏัตตารูป โดยเหตุปัจจัย


เห็นแล้วนะว่า อัพยากฤตธรรมหรืออัพยากฤตจิตนั้นเป็นเพียงเวทนาตัวหนึ่งเท่านั้น
ที่เรียกว่าเฉยโง่ เพราะยังไม่ปฏิสนธิขณะ เหตุทั้งหลาย ก็ยังเฉยอยู่
แต่เมื่อปฏิสนธิในขณะ เหตุทั้งหลาย ที่เป็นอัพยากตวิบาก
เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และกฏัตตารูป โดยเหตุปัจจัย ก็ถูกชักจูงไปแล้ว

ในเมื่ออัพยากฤตธรรมหรืออัพยากฤตจิตที่เช่นนั้นว่า ยังเกิดขึ้นกับปุถุชนคนหนาด้วยกิเลสได้ทุกคน
และคนเราทุกคนล้วนเคยอยู่ในสภาวะธรรมเช่นนั้นมาแล้วด้วยกันทุกคน
เพราะเป็นเพียงเวทนาชนิดหนึ่งเท่านั้น ยังจะมีประโยชน์อะไรกับท่านพระอรหันตผลจิตอีกหละ???

ส่วนในมหาสติปัฏฐานสูตรนั้น กล่าวไว้ชัดๆว่า
อัพยากฤตธรรมเป็นเพียงเวทนาตัวหนึ่งเท่านั้นนั่นเอง หรือว่าไม่จริง

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2010, 20:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว



การตีความหรือการคาดเดา " จิตพระอรหันต์ " แบบนี้ดีนะ เป็นการฝึกพิจรณาอย่างหนึ่ง :b38:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2010, 20:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมภูต เขียน:
เช่นนั้น จะโมเมไปถึงไหน จึงไปเอาอัพยากฤตธรรมมาเทียบชั้นกับโลกุตรธรรม
มันคนละเรื่องเลยนะ เช่นนั้น


เช่นนั้น เขียน:
Quote Tipitaka:
[๔๗๐] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญฌาณเป็นโลกุตตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน
เพื่อบรรลุภูมิที่ ๒ เพื่อความเบาบางแห่งกามราคะและพยาบาท ฯลฯ เพื่อบรรลุภูมิที่ ๓ เพื่อ
ละกามราคะและพยาบาทไม่ให้มีเหลือ ฯลฯ เพื่อบรรลุภูมิที่ ๔ เพื่อละรูปราคะ อรูปราคะ
มานะ อุทธัจจะ และอวิชชา ไม่ให้มีเหลือ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว
บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อัญญินทรีย์
ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.


โยคาวจรบุคคล สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน
ชนิดสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ อันเป็นวิบาก เพราะกุศลฌานเป็นโลกุตตระ
อันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อัญญาตาวินทรีย์ ฯลฯ
อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.


[๔๗๑] ผัสสะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้อง ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า
ผัสสะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

อัญญาตาวินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ความรู้ทั่ว ความรู้ชัด กิริยาที่รู้ชัด ซึ่งธรรมทั้งหลายที่รู้ทั่วถึงแล้วนั้นๆ ความวิจัย
ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนด
เฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ
ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด
ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศาตรา ปัญญาเหมือน
ปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว
ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค
นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อัญญาตาวินทรีย์ มีในสมัยนั้น ฯลฯ หรือ
นามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.


เน้นสีแดง คือมัคคจิต โลกุตตรกุศลจิต
เน้นสีม่วง คือ ผลจิต โลกุตตรอัพยากตจิต

แต่เฉพาะ อรหัตผลจิตเท่านั้น จะประกอบไปด้วยอัญญาตาวินทรีย์ ไม่มีแก่อัพยากตจิตของเสขบุคคคลอื่น

อัญญาตาวินทรีย์ของพระอรหันตเจ้าจึงเป็นเพราะ อัพยากตมูลอันเป็นอโมหะที่สมบูรณ์ที่สุด บริสุทธิ์ที่สุดคงไม่ใช่อุเบกขาโง่ อีกต่อไป


ชัดๆนะ เช่นนั้น

ถ้ายังมีผัสสะอยู่ แสดงว่ายังเกิดวงจรปฏิจสมุปปบาทธรรมอยู่ ย่อมไม่ใช่พระอรหันต์
ส่วนท่านอรรถกถาจารย์ ท่านจะรจนาไว้อย่างไรนั้น ต้องไม่ขัดแย้งกับพระธรรมและพระวินัย

ไม่เคยเห็นตรงไหนในพระสูตรเลยที่กล่าวไว้ว่า โลกุตตรจิตชั้นพระอรหันต์เป็นอัพยากฤตจิตเลย
ฉะนั้นที่ไม่เชื่อก็เพราะว่า ได้อ่านดูแล้วปรากฏว่า กล่าวขัดแย้งกันเองอยู่ในตัว
ในตอนต้นกล่าวถึง กุศล อกุศล อัพยากฤต ไว้ชัดเจนแล้วว่าเป็นเพียงเวทนาอย่างหนึ่งเท่านั้น

อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย
คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยกุศลขันธ์ทั้งหลาย เกิดขึ้น
กุศลธรรมและอัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย
คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล เกิดขึ้น ขันธ์ ๑ และ
จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น
อกุศลธรรม อาศัยอกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย
คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศล เกิดขึ้น ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒
อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น
อัพยากตธรรม อาศัยอกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย
คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยอกุศลขันธ์ทั้งหลาย เกิดขึ้น
อกุศลธรรมและอัพยากตธรรม อาศัยอกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย
คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศล เกิดขึ้น ขันธ์ ๑ และ
จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น

อัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย
คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา เกิดขึ้น
ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป
อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ และกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก
เกิดขึ้น ขันธ์ ๑ และกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ และกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ ๒
เกิดขึ้น หทยวัตถุอาศัยขันธ์ทั้งหลาย เกิดขึ้น ขันธ์ทั้งหลายอาศัยหทยวัตถุ เกิดขึ้น มหาภูตรูป ๓
อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น มหาภูตรูป ๑ อาศัยมหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น มหาภูตรูป ๒
อาศัยมหาภูตรูป ๒ เกิดขึ้น จิตตสมุฏฐานรูป กฏัตตารูป ที่เป็นอุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น

^
^
ชัดๆนะเช่นนั้น เช่นนั้นยกมาเพียงส่วนที่ต้องกันกับจริตของตนเองเท่านั้น
ส่วนในตอนต้นที่กล่าวถึง อัพยากฤตธรรมที่ยังมีการปฏิสนธิในขณะนั้นไม่ยกมา
มีที่ไหน พระอรหันตผลจิตยังมีการปฏิสนธิจิตในขณะอีก เป็นไปได้หรือเช่นนั้น???
เช่นนั้นไม่รู้สึกว่า มันขัดแย้งกันเองบ้างหรือๆแกล้งไม่เห็นเพราะไม่ถูกจริตตนเอง
เมื่อยังมีผัสสะ ยังมีปฏิสนธิ ยังอาศัยเหตุปัจจัย ยังถูกชักจูงได้
สิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านั้น จะเป็นพระอรหันตผลจิตได้อีกหรือเช่นนั้น???

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2010, 20:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แม้หากสัททารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยโสต ....
แม้หากคันธารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยฆานะ ....
แม้หากรสารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยชิวหา ....
แม้หากโผฏฐัพพารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วกาย ....
แม้หากธรรมารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยมโน
ผ่านมาสู่คลองใจของภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วโดยชอบอย่างนี้
ก็ไม่ครอบงำจิตของภิกษุนั้นได้เลย
จิตของภิกษุนั้นอันอารมณ์ไม่ทำให้เจือติดอยู่ได้
เป็นธรรมชาติตั้งมั่นไม่หวั่นไหว และ
ภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นความเกิดและความดับของจิตนั้น


ณ ตรงนี้แสดงให้เห็นชัดเจนแล้วว่า
จิตของพระอรหันต์ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว
อารมณ์ (รูป เสียง กลิ่น รส กายสัมผัส ธัมมารมณ์) ที่เข้ามากระทบ
ไม่ว่าจะผ่านเข้ามาทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย หรือใจ ก็ตาม
ไม่อาจครอบงำจิตของท่านให้หวั่นไหวได้เลย

เหมือนภูเขาหินแท่งทึบ ไม่ว่าลมจะพัดมาจากทิศทางใด
ก็ทำให้ภูเขาหินนั้นโยกคลอนไม่ได้ ฉันใดฉันนั้น

ส่วนตอนท้ายพระสูตร ที่แสดงไว้ว่า

จิตของภิกษุนั้นอันอารมณ์ไม่ทำให้เจือติดอยู่ได้ เป็นธรรมชาติตั้งมั่นไม่หวั่นไหว
และภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นความเกิดและความดับของจิตนั้น
ฉันนั้นเหมือนกันแล

ณ ตรงนี้ เป็นการแสดงให้เห็นว่า
จิตที่สงบตั้งมั่นแล้ว ไม่เกิดดับตามอารมณ์
และย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริง คือ เห็นจิตสังขารเกิดดับ


โดย: หนูเล็กนิดเดียว 23 สิงหาคม 2553 22:23:56 น.

http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=nulek

เช่นนั้น เขียน:
ส่วนที่ท่านยกมาจากพระสุตร

ส่วนที่ ท่านเห็นด้วยก้บ เจ้าของBlogนั้น
ส่วนที่ท่านเข้าใจผิด คือ "ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว"
ท่านเข้าใจว่า ตั้งมั่น ดำรงมั่น คือความไม่เกิดดับตามอารมณ์


ชัดๆนะ เช่นนั้น

จิตตสังขาร คืออาการของจิตที่แสดงออกตามอารมณ์ที่มาปรุงแต่งใช่มั้ย???
เมื่อจิตมีสติตั้งมั่นดีแล้ว ยังจะให้เกิดดับไปตามอารมณ์อีกหรือ???
เมื่ออารมณ์ทั้งหลายต่างๆเข้ามาครอบงำและเจือติดจิตไม่ได้
อะไรหละที่สมควรเกิดดับ??? หัดใช้เหตุผลในการศึกษาธรรมบ้าง
อย่ามัวเชื่อแบบตามๆกันมาเลย เช่นนั้น

เช่นนั้น เห็นจิตเกิดดับใช่มั้ย อะไรของเช่นนั้นที่เห็นจิตเกิดดับหละ???

เช่นนั้นรู้มั๊ย??? ความที่จิตตั้งมั่นอยู่โดยลำพังตนเอง เป็นอนิมิตตเจโตสมาธิวิหาร
จิตรู้อยู่เห็นอยู่ว่า อารมณ์เกิดดับ แต่จิตไม่ได้เกิดดับไปตามอารมณ์ที่เกิดดับ

ที่ถามๆไปช่วยตอบกลับมาเป็นข้อๆด้วยนะ

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2010, 20:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
ความดำรงมั่น ความไม่หวั่นไหว อันอารมณ์ไม่เจือติด
คือไม่หวั่นไหวไปด้วย ตัณหาและอวิชชา
อารมณ์จะเจือติดจิตด้วย ตัณหา ตัณหาทำให้จิตหวั่นไหว

ผู้ปฏิบัติธรรม เห็นความเกิดดับของจิตที่หวั่นไหว
ผู้ปฏิบัติธรรม เห็นความเกิดดับของจิตที่ไม่หวั่นไหว

ผู้ปฏิบัติธรรมถ้าปฏิบัติธรรมจนบรรลุอรหัตผล ย่อมเห็นความเกิดดับของจิตอันดับรอบเฉพาะตน
ดับรอบเฉพาะตน คือไม่เป็นเหตุให้เกิดในวัฏฏะสงสาร

เห็นความดำรงมั่น เห็นความไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ไม่ใช่เห็นความไม่หวั่นไหวดำรงมั่นไร้ความเกิดดับของจิต

ผู้ไม่ปฏิบัติธรรม ย่อมไม่เห็นความเกิดดับของจิตที่หวั่นไหว เพราะนิวรณ์ขวางกั้นปัญญาไว้
แต่จิตก็เกิดดับไปตามเหตุปัจจัยเป็นธรรมชาติธรรมดา

พระพุทธองค์ให้พิจารณาจิต และความเป็นจิตโดยเหตุปัจจัย
เน้นที่เหตุปัจจัย ..... จึงบัญญัติปฏิจจสมุปปาทธรรมให้สาวกได้เรียนรู้ที่จะเข้าใจเพื่อละความเห็นผิดเกี่ยวกับจิตมาจากไหน และจิตจะไปไหน.

ชัดๆนะ เช่นนั้น

อะไรของผู้ปฏิบัติเห็น???
จิตที่หวั่นไหว การหวั่นไหวใช่อาการของจิตมั้ย???
แล้วที่จิตหวั่นไหวไปเพราะอะไร ใช่เพราะอารมณ์ที่เข้ามาครอบงำหรือเจือติดจิตใช่มั้ย???

เมื่ออารมณ์ที่เข้ามาครอบงำหรือเจือติดจิตนั้นเกิดขึ้นแล้วดับไป อะไรที่เกิดดับ???
ตัณหาและอวิชชาตั้งอยู่ที่ไหน ถ้าไม่ใช่ที่จิต???

ที่จิตไม่หวั่นไหวไปกับอารมณ์ต่างๆเหล่านั้น เพราะอะไร
ใช่เพราะดับตัณหาและอวิชชาได้แล้วใช่มั้ย????

ผู้ที่ไม่เคยปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนามาก่อน ย่อมไม่รู้ว่า
ขณะที่ปฏิบัติภาวนาอยู่นั้น จิตเห็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นที่จิตและดับไปจากจิต

ส่วนพวกที่เชื่อแต่ตำราและความคิดที่ตกผลึกเท่านั้น
ที่พูดออกมาจากปากได้โดยไม่รู้จักละอายเลยว่าจิตเกิดดับ
ทั้งที่ขัดกับพระพุทธพจน์ มีกล่าวไว้ชัดเจนว่า

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อกามฉันท์มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า กามฉันท์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
หรือเมื่อกามฉันท์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า กามฉันท์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
อนึ่ง กามฉันท์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
กามฉันท์ที่เกิดขึ้นแล้วจะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
กามฉันท์ที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย

^
^
ชัดๆนะ เช่นนั้น ยังจะเถียงพระพุทธพจน์อีกหรือ
พระพุทธพจน์ชัดๆนะว่า เกิดขึ้นที่จิตก็รู้ชัด ดับไปจากจิตก็รู้ชัดใช่มั้ย???
ตื่นเสียทีเถอะ อย่าฝันกลางวันอยู่อีกเลย

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2010, 20:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมภูต เขียน:
อสังขตธาตุนั้น ไม่ใช่มีเพียงหนึ่งเดียวนะ เช่นนั้น พระสูตรที่เป็นพระพุทธพจน์ ยืนยันชัดๆนะ เช่นนั้น
Quote Tipitaka:
"สังขตก็ดี อสังขตก็ดี มีประมาณเท่าใด เรากล่าวว่าวิราคะธรรมเป็นเลิศกว่าธรรมทั้งสองนั้น"

แสดงว่า อสังขตธรรมที่มีประมาณเท่าใดนั้น
อสังขตธรรมที่ได้รับความบริสุทธิ์เป็นวิราคะธรรม เป็นเลิศกว่าธรรมทั้งสอง."


เช่นนั้น เขียน:
พุทธวจนะ บทนี้แสดงถึงธรรม 2 ประการคือ สังขตธรรมหนึ่งและ อสังขตธรรมหนึ่ง อย่างนี้เป็นบทตั้ง
พุทธวจนะตรัสให้ทรงระลึกถึง เหตุของนิพพาน และนิพพาน จึงตรัสด้วย บทว่าวิราคะธรรมเป็นเลิศกว่าธรรมทั้งสอง

หมายความว่า ถึงจะมีการเรียนรู้เกิดสุตตมยปัญญาว่า มีสังขตก็ตาม หรืออสังขตก็ตาม หากไม่ปฏิบัติอันเป็นการทำเหตุให้แทงตลอดอสังขตะ ก็ไม่มีประโยชน์
การแทงตลอดอสังขตะจะ อาศัยธรรมอย่างอื่นไม่ได้เลยนอกจาก วิราคธรรม

วิราคาธรรม คือไวพจน์หนึ่งของอริยมรรคมีองค์ 8 ซึ่งมีนิพพานเป็นอารมณ์
พระสารีบุตรจึงแสดงธรรมไว้ในปฏิสัมภิทามรรค ด้วยความว่า วิราคธรรม คือนิพพานเหตุ

ถ้าไม่ทำเหตุแห่งนิพพาน ด้วยน้อมเอานิพพานเป็นอารมณ์ ย่อมแทงตลอดอริยสัจจ์4 เห็นแจ้งนิพพานไม่ได้ จึงกล่าวว่า "วิราคะธรรมเป็นเลิศ" กว่าธรรมทั้งสอง ดังนี้เพื่อแสดง ปฏิบัติ และปฏิเวธให้สมบูรณ์

พุทธพจน์นี้จึงเป็นการประกาศอริยสัจจ์ 4
ด้วย สัขต คือทุกข์สัจจ์ และสมุทยสัจจ์
ด้วยอสังขต คือนิโรธสัจจ์
ด้วยวิราคะธรรม คือมรรคสัจจ์

เจริญธรรม

ชัดๆนะ เช่นนั้น

สังขตธรรมก็ดี อสังขตธรรมก็ดี มีประมาณเท่าใด=มีมากกว่าหนึ่งใช่มั้ย???

พระนิพพานไม่ได้เกิดจากเหตุปัจจัยใดๆ เพราะฉะนั้น เหตุแห่งนิพพานย่อมไม่มี รู้ไว้ด้วยเช่นนั้น

เช่นนั้นพูดว่า การแทงตลอดอสังขตะจะ อาศัยธรรมอย่างอื่นไม่ได้เลยนอกจาก วิราคธรรม
อันนี้พูดผิดนะเช่นนั้น
อสังขตธรรมที่ได้รับความบริสุทธิ์ คือ วิราคธรรม คือ พระนิพพาน
คือ จิตที่บริสุทธิ์ปราศจากกิเลสอย่างสิ้นเชิง คือ จิตสิ้นราคะ โทสะ โมหะ หรือ จิตสิ้นตัณหาแล้ว

เช่นนั้นพูดว่า วิราคธรรม คือไวพจน์หนึ่งของอริยมรรคมีองค์ 8 ซึ่งมีนิพพานเป็นอารมณ์
อันนี้ก็พูดผิดนะเช่นนั้น
วิราคธรรม เป็นไวพจน์หนึ่งของพระนิพพาน

มีตรัสไว้ในพระบาลีว่า
ยทิทํ มทนิมฺมทโน ปิปาสวินโย อาลยสมุคฺฆาโต วฏฏูปจฺเฉโท ตณฺหกฺขโย วิราโค นิโรโธ นิพพานํ

วิราโค คือ วิราคธรรม

เช่นนั้นพูดว่า พุทธพจน์นี้จึงเป็นการประกาศอริยสัจจ์ 4
ด้วย สัขต คือทุกข์สัจจ์ และสมุทยสัจจ์
ด้วยอสังขต คือนิโรธสัจจ์
ด้วยวิราคะธรรม คือมรรคสัจจ์

^
^
เช่นนั้นอย่าคิดเองเออเองสิ เอาหลักฐานมาด้วยนะ
อสังขตธรรมที่ได้ความบริสุทธิ์เป็นวิราคธรรม จึงจะคือนิโรธ
วิราคธรรมไม่ใช่ตัวมรรค และมรรคทำให้เข้าถึงวิราคธรรมใช่มั้ย???

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2010, 21:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
ศีกษาธรรม อย่าศึกษาตามทิฏฐิ
ให้พินิจเห็นตามพระอริยะ
ดับตัณหากิเลสพ้นวัฏฏะ
วุมุติตยะตนะเป็นผลควร


ชัดๆนะเช่นนั้น
จะพินิจเห็นตามพระอริยะได้
ก็ต้องปฏิบัติสัมมาสมาธิตามหลักอริยมรรค ๘
จนจิตตั้งมั่นชอบไม่หวั่นไหวเป็นสมาธิ
จึงจะเกิดปัญญาปล่อยวางอารมณ์ออกไปได้

อันนี้จึงจะเป็นสัมมาทิฐิ
เห็นอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง คือ

เห็นจิตชอบแส่ส่ายออกไปหาอารมณ์ทำให้เกิดทุกข์ขึ้นที่จิต (ทุกข์)

เห็นว่าการที่จิตแส่ส่ายออกไปหาอารมณ์ ที่จะไม่ทุกข์เป็นไม่มี นี่คือสมุทัย (เหตุแห่งทุกข์)

เห็นว่าการที่จิตไม่แส่ส่ายออกไปหาอารมณ์
ทำให้จิตสงบตั้งมั่นอยู่ได้ด้วยลำพังตนเอง (นิโรธ)

เห็นว่าการปฏิบัติสัมมาสมาธิตามหลักอริยมรรค ๘
เป็นวิธีการที่ทำให้จิตสงบตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวไปตามอารมณ์ได้ (มรรค)

นี้จึงเป็นวิธีปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงวิราคธรรมหรือพระนิพพานนั่นเอง

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2010, 21:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2010, 07:19
โพสต์: 89


 ข้อมูลส่วนตัว


คำคมของผู้เฒ่า

ชิม..ชิม..บ่...โต้ย

~~~ยิ่งลึก..ยิ่งหาก้นไม่เจอ ~~~






แก้ไขล่าสุดโดย อานาปานา เมื่อ 30 ส.ค. 2010, 04:15, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 118 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7, 8  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 47 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร