วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 06:53  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2010, 18:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ค. 2009, 20:44
โพสต์: 341

ที่อยู่: ภาคตระวันออก

 ข้อมูลส่วนตัว




b1.jpg
b1.jpg [ 70.79 KiB | เปิดดู 2672 ครั้ง ]
:b8: :b8: :b8: เรื่องเล่าเพื่อเป็นวิทยาทานในการปฏิบัติธรรมวันหนึ่งคืนหนึ่งทุกๆเช้าและเวลาสามทุ่มกว่าๆเป็นเวลาที่มีค่าสำหรับเรามากเพราะเป็นช่วงที่เป็นส่วนตัวคือหลังจากอาบน้ำแต่งตัวด้วยชุดอะไรก็ได้ที่หลวมๆและสำรวมเพื่อเข้าห้องพระปฎิบัติธรรมภาวนาตามแนวที่ครูอาจารย์ท่านได้เมตตาถ่ายทอดให้แก่ลูกศิษย์ที่ใคร่สนใจในการปฏิบัติธรรม ขอบคุณพระพุทธศาสนา ที่ข้าพเจ้าได้เกิดมาพบและได้ศึกษาธรรมะ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธศาสนาได้ให้ประโยชน์ แก่ข้าพเจ้ามากมาย
และเป็นโอกาศดีที่ข้าพเจ้าได้เกิดมา บนแผ่นดินสยาม แห่งนี้เพราะ แผ่นดินสยามนี้ มีครูอาจารย์ ที่เก่งและครูอาจารย์ท่านทั้งหลาย เมตตาเปิดสำนักปฏิบัติธรรมเพื่อเผยแพร่และให้ความรู้ แก่มวลมนุษย์ที่เกิดมาในโลกนี้ การปฏิบัติธรรมนั้นยังประโยชน์ให้แก่มวลมนุษย์ทั้งหลาย มีสติ ในการครองเรือน ธรรมะของครู อาจารย์นั้นลึกซึ้งและ ละเอียดอ่อนมากและเข้าใจง่าย ต่อการปฏิบัติธรรม ข้าพเจ้าได้มีโอกาศและศึกษาการปฏิบัติธรรมตามแนว สติปัฏฐานสี่ของ วัดอัมพวัน จังหวัดสิงบุรี มานานพอสมควรและปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ตามหลักสูตรของพระอาจารย์ มานาน ผลการปฏิบัติธรรมให้ประโยชน์ แก่ข้าพเจ้าอย่างยิ่ง ทำให้ข้าพเจ้ามีสติ ทำให้รู้ซึ้งถึง กฏแห่งกรรม ที่เราไม่สามารถจะแก้ไขได้เพราะ กรรมบางอย่างให้ผลเลย และกรรมบางอย่างอาจจะให้ผลช้า แล้วแต่ว่าจะเป็นกรรมหนักหรือ กรรมเบา แต่ การทำสมาธินั้น เป็นประโยชน์มหาศาล ในการปฏิบัติธรรม ธรรมะเหมือนน้ำที่ให้ประโยชน์ในความเย็นและสงบ ของจิตที่ได้รับการ อบรมมาดี พอสมควร ถ้าเพื่อนกัลญาณมิตรเป็นผู้ปฏิบัติธรรมเหมือนกัน จะรับรู้และรู้ได้เฉพาะตนได้เองโดยไม่ยาก จิตที่อบรมดีแล้ว จะเมตตาต่อ สรรพสัตว์น้อยใหญ่ ที่เกิดมาใน สังสารวัฏ นี้และยัง ให้ประโยชน์ แก่สัตว์ น้อยใหญ่ โดยไม่เลือก ชน ชั้น ยากดี มีจน จะได้รับความเมตตา จากผู้ที่ปฏิบัติธรรมที่จิตถึงพร้อมในความเมตตาเป็นแน่ ผลของการปฏิบัติ ที่จะได้ผล คือจะต้อง ปฏิบัติธรรมอย่างต่อเนื่อง ถ้าปฏิบัติ ไม่ต่อเนื่อง จิตของผู้ปฏิบัติจะรวมกันยากและ จะเกิด สมาธิยาก ตามมาด้วย จากการปฏิบัติธรรมที่ผ่าน มานั้นเป็นแบบนั้นจริงๆ ข้าพเจ้าปฏิบัติธรรมใน อดีต จะปฏิบัติ ไม่ต่อเนื่อง และจะปฏิบัติน้อย ตามใจกิเลสตัวเอง เอาอารมย์เป็นหลัก นึกอยากปฏิบัติ ก็ปฏิบัติ ถ้าวันไหน จิตมันบอกเหนื่อย เอาไว้พรุ่งนี้ค่อยปฏิบัติ จิตมันบอกอย่างนี้จริงๆนะครับ จนวันหนึ่งส่วนตัวสมัยก่อน ครู อาจารย์เข้าพบ ง่ายๆ และท่านก็แข็งแรง และจะเมตตาลูกศิษย์ที่ เดินทางไกลไปหา เข้าพบได้เสมอ ครูอาจารย์ ท่านจะชี้แนะและ กล่าวบอกเลยว่า อย่าปฏิบัติอย่างจิ้มๆจ้ำๆ มันจะไม่เห็นผลการ ปฏิบัติ ข้าพเจ้าจำมาจนทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเหนื่อย หรือ มีปัญหาอะไร ก็จะปฏิบัติธรรม ทุกๆวัน ไม่เคย ขาดการปฏิบัติธรรม ถึงบางครั้งจะเดิน ทาง ข้าพเจ้าก็จะต้อง ภาวนาในรถ สวดมนต์ท่องบทสวด ตามที่ครูอาจารย์ได้เมตตา อบรมมา มีประโยชน์มากครับ กลับการ เจริญสติสมาธิ ภาวนา บางครั้งการท่องบทสวดก็ให้เรามี สติในการขับรถเป็นอย่างดี และที่น่าอัศจรรย์ใจ เป็นอย่างยิ่ง ข้าพจ้าได้ขับรถ ระยะทาง600-700 โล ท่านกัลญาณมิตรครับ เสียงสวดมนต์ของผม ยังแจ่มใส และไม่รู้สึกคอแห้งเลยครับ ทุกๆวันนี้ผมเจริญ สติกรรมฐานมา 10 กว่าปี ผลปฏิบัติ เป็นที่พอใจ มาก กุศลจิต มีพลังในการแผ่เมตตาจิต แก่เวนัยสัตว์มาก ขอบคุณธรรมะขอบคุณ ครูอาจารย์ ที่เมตตาลูกศิษย์ ขอบคุณกัลญาณมิตรทุกท่านที่ ชี้แนะแนวทางปฏิบัติ ให้เข้าใจ ยิ่งขึ้น ในเวลาที่ติดขัด หรือบางครั้ง หลงอยู่ใน สมาธิหาทางออกไม่เจอ มาบัดนี้ ณ. จุดนี้ มีกำลังภาวนาในการปฏิบัติธรรมที่เห็นผล ได้และรับรู้ได้เฉพาะตนจริงๆ ข้าพจ้าขออนุญาตเขียนเล่า ความละเอียดของธรรมะมาเผยแก่ กัญญาณมิตร ที่กำลังปฏิบัติธรรมเพื่อเป็นแนวทางครับ ขอท่านกัลญาณมิตรจงปฏิบัติธรรม อย่างต่อเนื่อง เถิดแล้ว ท่านจะรับรู้และเห็นผลการปฏิบัติ ธรรม ว่า ก้าวหน้าหรือ อยู่กับที่ การปฏิบัติธรรม อย่าตั้งความหวังนะครับ อย่าอยากรู้ อยากเห็น อย่าเร่งรัด จนเกินไป เอาแค่ ปฏิบัติ อย่างพอดี และพอควร อย่าเร่งรีบหรือ บีบบังคับตนเอง เกินไปเพราะ การปฏิบัติธรรม ต้องปฏิบัติ อย่างพอดีและพองาม แล้วผลของการ ปฏิบัติธรรม จะตามมาที่หลัง เหมือนกับเรากำลังหัดเขียน ก...ฮ ...ผู้ปฏิบัติธรรมไม่มีใครเขียน เป็นในวันเดียว ทุกๆผลการปฏิบัติ จะให้ผลเองตาม กาลเวลา ของผู้ปฏิบัติเอง
ธรรมะให้ผลประโยชน์ แก่ผู้ปฏิบัติ ธรรมเหมือนกันหมดไม่ว่า ท่านผู้นั้นจะปฏิบัติ มากหรือเขร่งครัดแค่ไหน ผลของการปฏิบัติก็จะแจ้ง ทางใจแก่ผู้บำเพ็ญเพียรเสมอ ขอท่านกัลญาณมิตรพึงพร้อมทั้ง กาย วาจา ใจเถิด ศีล สมาธิ ปัญญา เกิดขึ้นไม่ยาก ทางที่จะก้าวพ้น จากความทุกข์ ทั้งปวง อยู่ที่ลมหาย ใจ เข้าออก ของทุกคน เพียงแต่ผู้ปฏิบัติ จะต้องการหนีการเกิดการตายหรือเปล่า เท่านั้นเอง มาเถิดมาร่วมกัน บำเพ็ญเพียร เพื่อ ให้ออกจาก ทางพ้นทุกข์ คือไม่กลับมาหลงเกิดหลงตาย ในวัฎสงสารอีก นิพพานคือทางออกจากทุกข์ทั้งปวง นิพพานอยู่แค่ลมหายใจของเราท่านกัลญาณมิตรทุกท่าน
ขอนอบน้อมคาราวะต่อผู้บำเพ็ญเพียรทุกท่านด้วยความเคารพยิ่ง สาธุๆ

_________________
การให้ธรรมะเป็นทานชนะการให้ท้งปวง

.....................................................
การให้ธรรมะเป็นทานชนะการให้ท้งปวง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2010, 20:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุโมทนาสาธุ..ด้วยเป็นอย่างยิ่งครับ :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ย. 2010, 19:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ก.ย. 2010, 23:16
โพสต์: 77

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อริยสัจจ์๔แห่งจิต ของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล จิตที่ส่งออกนอก เป็นสมุทัย ผลที่เกิดจากจิตที่ส่งออกนอก เป็นทุกข์ จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นมรรค ผลที่เกิดจากจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นนิโรธ อริยะสัจจ์ ๔ ของจิต
จิต รู้เกิด-รู้ดับ เป็น สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์
ผลที่เกิดจากจิตที่รู้เกิด รู้ดับ เป็น ทุกข์
จิต รู้ไม่เกิด ไม่ดับเป็น มรรค ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
ผลที่เกิดจากจิตที่รู้ไม่เกิด ไม่ดับ เป็น นิโรธความดับทุกข์(หรือนิพพานนั่นเอง)
พระนิพพานอยู่ที่ใจ พระนิพพานอยู่ที่ใจ เห็นไหมเล่า ? ไม่มีว่างไม่มีเปล่า อยู่ทั้งนั้น
จะมีอะไรเป็นเรา ที่ไหนกัน ? ทุกสิ่งนั้นดับไป เหลือใจเอย
ชีวิตนี้ น้อยๆและสั้นๆ อย่าพากันปล่อยใจ เลยท่านเอ๋ย
มีสติรู้อยู่ที่ใจ ให้คุ้นเคย ต้องได้เชยชม พระนิพพานอยู่ที่ใจ
เป็นการอยู่กับผู้รู้ ละกิเลส จะมีเพศชั้นวรรณะ กันที่ไหน ? ทุกขณะที่รู้ อยู่กับใจ จงหมั่นใช้ปัญญา รู้ของจริง
รู้ของจริงทิ้งของเท็จ ได้เด็ดเดี่ยว ไม่เกาะเกี่ยวแม้ความว่าง สว่างยิ่ง
รู้อะไรก็ไม่สู้ รู้ใจจริง ยิ่งรู้ยิ่งหลุดพ้น ไม่ต้องเบิกบาน
ความร้อนร้นหม่นไหม้ ไกลใจหมด พระนิพพานปรากฏ ก็ไม่ยึดเป็นแก่นสาร
มีสติรู้ให้ได้ ทุกอาการ จะพบพระนิพพานจริงๆ ที่ใจเอย !
พระนิพพาน
พระนิพพาน พ้นจากความมีและไม่มีให้คนเห็น
พระนิพพาน พ้นจากความเป็นและไม่เป็นเช่นสังขาร
พระนิพพาน พ้นจากความหมายและไม่หมายให้วิจารณ์
พระนิพพาน ไม่เกิด-ไม่ดับ คือจิตหรือรู้ล้วนๆที่บริสุทธิ์เอย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ย. 2010, 19:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ก.ย. 2010, 23:16
โพสต์: 77

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การตามดูก็คือการไปอยู่อาการของจิตนั่นเองหรือที่หลวงปู่ดูลย์ท่านใชคำว่าส่งจิตออกนอกจิต อริยสัจจ์๔แห่งจิต ของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล จิตที่ส่งออกนอก เป็นสมุทัย ผลที่เกิดจากจิตที่ส่งออกนอก เป็นทุกข์ จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นมรรค ผลที่เกิดจากจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นนิโรธ อริยะสัจจ์ ๔ ของจิต
จิต รู้เกิด-รู้ดับ เป็น สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์
ผลที่เกิดจากจิตที่รู้เกิด รู้ดับ เป็น ทุกข์
จิต รู้ไม่เกิด ไม่ดับเป็น มรรค ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
ผลที่เกิดจากจิตที่รู้ไม่เกิด ไม่ดับ เป็น นิโรธความดับทุกข์(หรือนิพพานนั่นเอง)
อริยะสัจจ์ ๔ ล้วนแล้วแต่เป็นอาการของจิตทั้งนั้น จิตที่พ้นจากอริสัจจ์ ๔ จึงไม่มีอาการของสมมติใดๆทั้งสิ้น การไปการมา การตั้งอยู่หรือการดับไปของจิตจึงไม่มี สิ่ง ต่างๆเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องของสมมติทั้งสิ้น ที่กล่าวกันว่าจิตที่พ้นจากสมมติแล้วเป็นจิตดับความรู้ก็ดับไปด้วยนั้น เป็นความรู้ความเห็นของนักปฏิบัติธรรมประเภทสุ่มเดาต่อให้ด้นเดาเกาหมัดต่อไปอีกนับกัปป์นับกัลป์ไม่ถ้วนก็ไม่มีโอกาสพบพระนิพพานของจริง ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสเอาไว้ เพราะเกาไม่ถูกที่คันมันก็เลยไม่หายคัน จิตที่ถอดถอนกิเลสมีอวิชชา ตัณหา อุปปาทาน ออกไปจากจิตใจจนหมดสิ้นไม่มีเหลือนั่นแหละท่านเรียกว่านิโรธหรือนิพพานนั่นเอง หรือเรียกว่าจิตที่ผ่านการกลั่นกรองจากอริยะสัจจ์ ๔ นั่นเองท่านให้ชื่อให้นามว่า พระนิพพาน ความจริงแล้วจะเรียกว่าอย่างไรก็ไม่มีปัญหาสำหรับจิตที่พ้นแล้วจากสมมติโดยประการทั้งปวง จิตเป็นอกาลิโกตลอดอนันตกาลท่านเรียกว่าวิสุทธิจิต ดังที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ทรงตรัสไว้ในปฐมพุทธะวะจะนะ ความว่า วิสังขาระคะตัง จิตตัง จิตของเราได้ถึงสภาพที่ สังขารไม่สามารถปรุ่งแต่งจิตได้อีกต่อไป ตัณหานัง ขะยะมัชฌะคาติ มันได้ถึงความสิ้นไปแห่งตัณหาคือถึงพระนิพพานนั่นเอง สิ่งใดก็ ตามขึ้นชื่อว่าสมมติย่อมตกอยู่ภายใต้กฏอะนิจจัง ทุกขัง อะนัตตา จิตที่อยู่ภายใต้ความเกิดและความดับจึงเป็นจิตที่อยู่กับสมมติของกิเลสดีๆนี่เอง จิตประเภทนี้ย่อมอยู่กับความเกิด-ความดับตลอดอนันตกาลเหมือนกัน เป็นจิตที่อยู่กับความเกิด-ความตายนั่นเอง แล้วจะเสกให้เป็นพระนิพพานได้ยังไง ? ผู้ที่ปัญญาเท่านั้นไม่ไว้วางใจกับจิตประเภทนี้ ยกเว้นพวกที่มีปัญญาอ่อนหรือปัญญาหน่อมแน้มไปหน่อยเท่านั้นเอง จิตที่พ้นจากสมมติจึงเป็นจิตที่บริสุทธิ์ล้วนๆเป็นวิสุทธิจิต พ้นจากกฏอะนิจจัง ทุกขัง อะนัตตา ตลอดอนันตกาล เมื่อถึงที่สุดของจิตแล้วมันไม่มีชื่อเรียกด้วยซ้ำไป ที่กล่าวกันว่า สิ่งสิ่งหนึ่งที่ไม่มีชื่อ ไม่มีฉายา ไม่มีการมา ไม่มีการไป ไม่มีการตั้งอยู่ และไม่มีการดับไป ไม่มีร่องรอยให้กล่าวถึง แต่มีอยู่จริง เห็นอยู่ รู้อยู่ มันเป็นสันติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับและมีอยู่อย่างสมบูรณ์ภายในจิตใจของทุกๆคนอยู่แล้ว นั่นแหละท่านเรียกว่าที่สุดแห่งทุกข์หรือพระนิพพานนั่นเอง พระนิพพานมีอยู่ตลอดกาล(อะกาลิโก)ไม่เลือกกาลเวลา ปฏิบัติเวลาใหนเห็นเวลานั้นไม่เลือกกาลเวลาและสถานที่ ภิกษุทั้งหลาย อายตนะอันไม่เกิดแล้ว อันปัจจัยไม่ทำแล้วไม่แต่งแล้วมีอยู่(หมายถึงจิตหรือรู้ที่บริสุทธิ์ล้วนๆนั่นเองคืออายตนะนิพาน ) suthee

this nation is last our nation , we don't come back to are born again time stump


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 36 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร