วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 02:54  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 104 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ย. 2010, 02:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 00:17
โพสต์: 255

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: เมื่อปฏิบัตหลายวันติตต่อกันนานเข้า การเข้าสมาธิก็ง่ายเหมือนพลิกฝ่ามือ กิเลศทั้งมวลทีมีถูกสมาธิกดทับไว้งอกงามไม่ได้(เหมือนหินทับหญ้าตามที่กล่าว) อาการนี้ทางธรรมเรียกวิขัมปนประหาร คือกิเลศถูกองค์ฌานกดไว้ทุกวัน ฟูขึ้นไม่ได้ เรามิจิตที่ปราสจากกิเลสอย่างสิ้นเชิง อยู่ในภาวะเหมือนหลุดพ้นจากโลภ โกรธ หลง หรือบรรลุไปเสียแล้ว(ความจริงพึ่งได้แค่ก.ไก่ เพราะยังไม่ได้เริ่มยกจิตขึ้นทำวิปัสนาเพื่อตัดกิเลสเลย กิเลศยังอยู่ครบเพียงถูกทับไว้แสดงฤทธิ์เดชไม่ได้เท่านั้น) เมื่อมีความชำนาญมากขึ้น ก็เริ่มฝึกเข้าชาญที่2คือทุติยฌาณ โดยการเข้าฌานที่1 ตามปกติเมื่อถึงอัปนาสมาธิแล้ว ค่อยๆถอยจิตออกมาจนสุดแล้วภาวนาเข้าไปใหม่ คราวนี้ตัดวิตก วิจารย์ออกไป ไม่ตามรู้ต้นลมปลายลมอีกแล้ว เอาความรู้สึก ปิติจากองค์ฌานที่1 มาเป็นอารมณ์ในการภาวนาแทน โดยกำหนดรู้ปิติหายใจเข้า กำหนดรู้ปิติหายใจออก ใช้ความรู้สึกปิติเป็นอารมณ์ในการภาวนา ต่อเนื่องไป ก็จะผ่าน สุข เอกทัคคาและอุเบกขา เข้าสู่อัปนาสมาธิ เหมือนเดิมแต่เป็นสมาธิของทุติยฌานซึ่งเป็นองค์ฌานที่สองและสามารถรู้สึกได้ว่าละเอียดและแนบแน่นขึ้นกว่าปฐมฌาน/ต่อวันอื่นเจโตวิมุติ...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ย. 2010, 02:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 00:17
โพสต์: 255

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: ต่อนิมิต และการเข้าถึงจตุฌาน
.....วันหนึ่งกำลังปฎิบัติในช่วงค่ำ ขณะที่จิต กำลังปรับระดับจากอุปจาระสมาธิ เข้าสู่อัปนาสมาธิ ซึ่งปกติเมื่อจิตยกระดับวูบเข้าไปในอัปนาสมาธิหรือสมาธิในองค์ฌานนั้น กายและลมหายใจจะหายไปเหลือแต่จิตดวงเดียวส่องแสงสว่างเย็นอยู่ทุกครั้ง วันนี้เมื่อจิตยกระดับ เข้าสู่องค์ฌาน กายและลมหายใจดับไปแล้ว แต่กลับไม่มีโอภาสแสงสว่างเหมือนทุกครั้ง พยายามควบคุมจิตให้นิ่งไว้ปรากฎว่ารอบๆจิต(เห็นด้วยจิตจะเห็นรอบตัวไม่ต้องหันหลังดูรอบตัวประมาณนั้น)มองเห็นเป็นภาพเมืองแก้ว ประกอบด้วยภาพคล้าย ศาลา โบสถ์ วิหาร เป็นเหมือนเมืองแก้ว โดยเห็นเป็นภาพ คล้ายภาพ 3 มิติ ไม่ทึบแสง มีแสงริบหรี่ระยิบ ระยับไปทั่วตามศาลาและวิหารเหล่านั้น พยายาม ประคองจิตไว้ไม่ให้สมาธิถอนออกมา จิตก็ยังเห็นภาพเหล่านั้น อยู่ โดยที่กายและลมหายใจ ก็ยังคงไม่ปรากฏ แต่ในถาพเหล่านั้นมันไม่เหมือนภาพ มันเหมือนเมืองจริงๆเป็น3มิติและจิตเราเข้าไปอยู่ท่ามกลางสิ่งเรานั้นและเปรียบเหมือนป็นองคประกอบ
ของสิ่งที่เห็นไปด้วย(แต้ไม่เห็นผู้คนอยู่เลยในสิ่งที่เห็น)
.....เมื่อถอยสมาธิออกมาแล้วพิจารณาดู ก็ยังรู้สึกว่าเราปฎิบัติเหมือนเดิม ในช่วงที่เห็นภาพด้วยจิตนั้นก็มั่นใจว่าอยู่ในอัปนาสมาธิ ไม่มีกายและลมหายใจแนนอน การเห็นเห็นด้วยจิตแน่นอนเพราะเห็นเป็น3มิติและเห็นรอบ(ถ้าเห็นด้วยตาในจะเห็นเฉพาะด้านหน้าไม่เห็นรอบ อันนี้เคยเกิดเหมือนกันแต่ไม่มีสาระขอไม่เล่า) จึงสรุปว่าน่าจะเป็นนิมิตรที่นักปฏิบัติส่วนมากอยากเห็น(แต้เราไม่อยากเลย เพราะรู้มาก่อนปฏิบัติแล้ว)คืนนั้นเลยเปิดเทปหลวงพ่อพุทธ ฟังเรื่องนิมิตรและสาเหตุการเกิดของนิมิตร หลวงพ่อพุทธท่านกล่าวว่าสาเหตูที่เกิดนิมิตรขึ้นมานั้น เกิดจากเราเผลอตัวไม่ได้ผูกจิต ไว้กับกาย(ลมหายใจ)ปลอ่ยให้จิตหลุดออกจากลมหายใจขณะที่จิต ยกระดับสมาธิเข้าสู่อัปนาสมาธิ จิตซึ่งมีกำลังอยู่แล้วเมือหลุดออกจากกาย ก็ปรุงแต่งเป็นภาพต่างๆขึ้นมา ให้เราเห็น แต่ภาพเหล่านั้นไม่ใช่ของจริงเป็นเพียงภาพที่สร้างขึ้นมาจากกำลังและจินตนาการของจิตเท่านั้น ไม่มีประโยชน์อะไร แต่บ้างครั้งถ้าเรารู้ไม่เท่าทันอาจหลงไปกับนิมิตรเหล่านั้น อาจทำให้การปฏิบัติของเราผิดเพี้ยนไปจากจุดหมายเดิมได้เหมือนกัน/ต่อหน้าถัดไป...เจโตวิมุติ...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ย. 2010, 15:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 00:17
โพสต์: 255

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: ต่อเรื่องนิมิตนี่ขอออกความเห็นเสียหน่อยเพราะบางสำนัก สอนกันว่าการนั่งสมาธิที่ได้ผลนั้นต้องเห็นนิมิต ขณะที่เราบวชอยู่ มีอุบาสก อุบาสิกา ที่มาบวชชีพราหมณ์ เห็นเราเดินจงกรมอยู่ ก็มานั่งรอถามเรื่อง นิมิตนี้ มาเรียกเราหลวงพ่อ(ตอนนั้นอายุพึ่งย่าง40)ถามว่า ผมมานั่งสมาธิที่นี่ได้10วันแล้วผมยังไม่ได้เห็นอะไรเลย นิมิต หรือดวงแก้วอะไรก็ยังไม่ได้เห็น เราไม่รู้จะตอบอย่างไร เลยถามกลับไปว่าโยมมาปฏิบัติธรรมที่นี่เพื่ออะไรล่ะ ถ้ามาเพื่อนั่งสมาธิให้เห็นนิมิต เอาไว้พุดคุยโอ้อวดกัน อาตมาก็คงตอบไม่ได้ว่าโยมจะได้เห็นหรือไม่ แต่ถ้าวัตถุประสงค์ของการมาปฏิบัติธรรมหลักๆ คือการมาฝึกจิตให้ละโลภ โกรธ หลง ให้น้อยลง ละก็โยมลองสำรวจจิตใจ ของตัวเองดูว่า 10วันมานี้โลภ โกรธ หลง ในจิตใจโยมนั้นลดน้อยลงบ้างหรือไม่ ถ้าใช่ก็แสดงว่าการมาครั้งนี้ได้ประโยชน์แล้ว เพราะนิมิตมันไม่ได้ช่วยอะไรโยมเลย โยมจะอยากเห็นไปทำไม
.......นอกจากนั้นนิมิตรของบางท่าน ได้ไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าก็มี ได้ไปพบอาจารย์มั่นก็มี ก็ลองใช้วิจารณญาณกันดู ว่าพระพุทธเจ้าท่านนิพพาน ไม่เกิดอีกแล้ว อาจารย์มั่นก็คงเช่นกัน ไม่ว่าพบภูมิใดถ้าใครไปพบพระพุทธเจ้าได้ ไปพบอาจารย์มั่นได้ นิมิตนั้นย่อมไม่เป็นจริงแต่เป็นเพียงมายาแห่งสมาธิที่อยู่ในระดับองค์ฌาน สร้างขึ้นมา แต่นิมิตที่เป็นจริงใช่ว่าจะไม่มี เพราะมีพระอรหันต์จำนวนไม่น้อย ที่สำเร็จวิชชา3 หรืออภิญญา6 ก็อาจสามารถเห็นอะไรที่ต้องการเห็นได้เพียงกำหนดจิตเท่านั้น ฉะนั้นเราจึงเชื่อจากประสบการณ์การเกิดนิมิตของเราเอง และคำสอนของครูบาอาจารย์หลายท่านว่า นิมิตในองค์ฌานนั้น เป็นเพียงมายาแห่งจิต ของผู้ที่ปฏิบัตได้ในระดับฌาน แต่ยังไม่ได้บรรลุธรรมในระดับใดเลย และนิมิตรนี่จึงไม่ควรยึด ไม่เป็นที่น่ายินดีสำหรับเรา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ย. 2010, 16:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 มิ.ย. 2010, 13:15
โพสต์: 34

แนวปฏิบัติ: สมาถะ วิปัสสนาญาน ลมหายใจมิมีสิ้นสุด มิมีประมาณ
งานอดิเรก: ธรรมะเกิดที่ใจ ไปให้ถึงธรรม จึ่งมีธรรมประจำใจ บ้านเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ธรรมะ ทุกแนว "รอยเท้าสัตว์ย่อมรวมลงในเท้าช้าง"ฉันใด ก็ฉันนั้น
ชื่อเล่น: out
อายุ: 47
ที่อยู่: จังหวัดแพร่

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:อนุโมทนาสาธุค่ะท่าน

แวะมาอ่านประสบการณ์ เป็นทางเอก เป็นทางเดินประหานซึ่งกิเลสอัตโนมัติสู่ความสงบ สะอาดและสว่างเย็น น่าาสนใจเป็นสัจจธรรม สำหรับผู้มีกิเลสอย่างละเอียดครอบงำจิตหลอกให้หลงทาง ...

"สิ่งที่เห็น เห็นจริงแต่มิเป็นจริงดั่งที่เห็น"

เจริญในธรรมยิ่งๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ย. 2010, 22:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 00:17
โพสต์: 255

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: ขออภัยภารกิจเยอะมาก แต่ต่อจนจบแน่รอนิดสำหรับคนที่ติดตามอยู่ ..เจริญในธรรม/...เจโตวิมุติ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ย. 2010, 23:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เจโตวิมุติ เขียน:
:b42: ขออภัยภารกิจเยอะมาก แต่ต่อจนจบแน่รอนิดสำหรับคนที่ติดตามอยู่ ..เจริญในธรรม/...เจโตวิมุติ


:b12: รอได้...แล้วแต่ท่านสะดวกเถอะ....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ย. 2010, 18:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 00:17
โพสต์: 255

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: ต่อการเข้าถึงตติยฌาณและจตุฌาน(ฌานที่3และ4)และปรากฎการณ์ทางจิตที่หาคำตอบไม่ได้
.....ช่วงนี้นับว่าการปฎิบัติ(สมรรถะกรรมฐาน)ก้าวหน้าเร็วมาก กิเลส และนิวรณ์ดับสิ้นชั่วคราวด้วยกำลังแห่งองค์ฌาน เราเริ่มกล้าขึ้นทดลองเข้าถึงฌาณที่3 และฌานที4 ตามลำดับ วิธีการเข้าฌาณที่3ก็คือทำเหมือนเดิม(ไม่กล้าลัดขั้นตอน)โดยเข้าฌานที่1และ2ตามที่กล่าวข้างต้นเมื่ออยู่ในอัปนาสมาธิขององค์ฌานที่2ได้ไม่นานก็กำหนดจิตถอยจิตออกมาสู่ อุปจารสมาธิและขณิกะสมาธิถอยจิตออกมาจนสุดการภาวนาและเริ่มกำหนดการภาวนากลับเข้าไปอีกคราวนี้ กำหนดเอาความรู้สึกเป็นสุข(ความรู้สึกในองค์ฌานก่อนหน้า)เป็นอารมณ์ โดยกำหนดรู้สุขหายใจเข้า-กำหนดรู้สุขหายใจออก ภาวนาต่อเนื่องกันไปจิตก็ค่อยๆยกระดับสมาธิ เข้าไปสู่อัปนาสมาธิและไปส่องแสงสว่างนิ่งอยู่เหมือนเดิมโดยสังเกตุได้ว่าแต่ละสมาธิ(อัปนาสมาธิ)ขององค์ฌานทีสูงขึ้นมีความละเอียดและแนบแน่นกว่าฌานต้นๆจริง
....จะเห็นได้ว่าการใชเวลาในการเข้าสมาธิแต่ละวันมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากการเข้าต้องเข้าจากฌานที่1(ปฐมฌาณก่อน )ถอยจิตออกมาภาวนาเข้าไปสู่ฌาณที่2 ถอยจิตออกมาภาวนาเข้าไปสู่ฌานที่3 แต่ก็ไม่ได้เข้าไปลึกสุดทุกวัน บางวันก็อยู่แค่ฌานที่1หรือ2 แล้วแต่โอกาสและเวลาจะอำนวย เวลาในการปฎิบัตล่วงผ่านเดือนที่2 -เข้าสู้เดือนที่3 ของการปฎิบัติ อาการที่เรียกว่าติดฌานเริ่มปรากฎชัด โดยช่วงนี้หลังจากฉันท์อาหารเช้าเสร็จ แค่ช่วงเวลารอท่านอื่นที่ยังฉันท์ไม่เสร็จ หันหน้าออกหาโยมโดยทำสมาธิรออยู่ เพือรอสวดยถาสัพพีพร้อมกัน ไม่ทันท่านอื่นฉันท์เสร็จ(เพียง5-7นาที) จิตเราก็วูบเข้าไปถึงอุปจาระสมาธิเสียแล้ว รู้สึกปิติเย็นวาบในอก ต้องรีบขยับกายไม่ให้เข้าไปในสมาธิลึก เรายังไม่แน่ใจนักเกี่ยวกับเรื่องอาการติดฌาน เพียงมั่นใจมากว่าการจะเข้าสมาธิได้นั้น กายต้องตั้งตรงก่อนทุกครั้ง(อุชุกายา) แม้ตอนเริ่มต้นภาวนาจากประสพการณ์เราจะนั่งไม่ตรง(บางครั้งค่อมหลังโดยไม่รู้ตัว)แต่เมื่อสมาธิจะจับกายจะตั้งตรงขึ้นโดยอัตโนมัติก่อน ถึงเข้าสมาธิลึกได้...ต่อหน้าถัดไป/เจโตวิมุติ


แก้ไขล่าสุดโดย เจโตวิมุติ เมื่อ 12 ก.ย. 2010, 19:04, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ย. 2010, 20:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 00:17
โพสต์: 255

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: การเข้าถึงจตุฌาน(ฌาณ4) มาแน่ใจอาการติดฌานชัดเจนคือวันหนึ่งช่วงบ่ายหลังปฏิบัติกิจเสร็จ ก็นอนเล่นนิ่งๆอยู่บนเตียงในท่านอนหงาย(เตียงไม้มีฟูกบางๆขนาดองคุลีย์ปูไว้)ขณะที่จิตนิ่งๆไม่ได้คิด ไม่ได้ภาวนาอะไรอยู่นั้น อยู่ๆก็รุ้สึกถึงปิติในองค์ฌานเย็นวูบขึ้นกลางอก ลองปลอ่ย เลยตามเลยปรากฎว่าจิตยกระดับเข้าไปสู่อัปนาสมาธิได้เองจริงๆ ปล่อยให้จิตอยู่ในองค์ฌานอย่างนั้นจนอิ่มและถอยจิตออกมาเอง มานั่งคิดทบทวนจากการที่รู้มาและประสบการณ์ในการเข้าฌาณได้ครั้งแรกๆ ว่าต้องนั่งตัวตรง(อุชุกายา)นั้นชักไม่เป็นจริงเสียแล้ว เมื่อปฎิบัติจนเกิดวสีการเข้าฌานนั้นสามารถทำได้แม้แต่การนอนทำสมาธิจริงๆ ในวันต่อมาเวลานอนหงายครั้งได เมื่อรู้สึกปิติวูบขึ้นในอกก็จะผลิกตัวหนีเป็นนอนตะแคงข้างทันที เพื่อไม่ให้นอนจมอยู่ในฌานซึ่งเป็นอาการติดฌานของจิต และไม่ใช่เรื่องดี(เป็นวิปัสนูกิเลสตัวหนึ่ง ถ้ารู้ไม่ทันการฝึกก็จะติดอยู่แค่นั้น เหมือนพวกโยคึ)
.....เหลือเวลาเพียง15วัน จะครบกำหนดต้องสึกแล้ว จึงทดลองเข้ารูปฌานสุดท้ายคือฌาณ4หรือจตุฌาน การปฏิบัติก็เหมือนเดิมคือเข้าตั้งแต่ฌาณต้นๆก่อนเป็นลำดับ แล้วกำหนดตัวภาวนาเข้าใจว่ากำหนดรู้สึกจิตเป็นหนึ่ง(เอกทัคคาจิต)หายใจเข้า-จิตเป็นหนึ่งหายใจออก ก็สามารถเข้าอัปนาสมาธิขององค์ฌาณ4 สำเร็จโดยอับนาสมาธิในองค์ฌาณทั้ง4 ถ้าผูกจิตไว้ไม่ให้สร้างนิมิตขึ้นมาได้
ก็จะมีลักษณะคล้ายๆกันคือมีแต่จิตส่งแสงสว่างเย็นอันประมาณมิได้(ทางธรรมเรียกโอภาส)ไม่มีกายและลมหายใจ คิดอะไรไม่เป็น มีแต่ตัวรู้-ไม่มีตัวคิด โดยฌาณที่สูงขึ้นความละเอียดและแนบแน่น ก็จะมากขึ้นเป็นลำดับเท่านั้น เราแยกระดับความแตกต่างของกิเลส และนิวรณ์ ที่แตกต่างกันหลังจากออกจากฌาณแต่ละฌาณได้ไม่ชัดเจนนัก รู้เพียงว่าท้ายๆนี้ โลภ โกรธ หลง และนิวรณ์ต่างๆ มันถูกกดไว้จนดับไปแล้ว แม้แต่หงุดหงิดเล็กๆน้อยๆก็ไม่มี นอกจากนั้นเคยได้ยินว่าการทำสมรรถะโดยเข้าฌาณบ่อยๆ จะมีอาการซึม คิดอะไรไม่ออก ก็ไม่เป็นความจริง จิตผ่องใสดี นอกจากนั้นสิ่งที่ปรากฏชัดและเพิ่มขึ้นมากมายคือความอิ่มใจ เมตตาและอุเบกขา....ต่อวันอื่นการทดลองยกจิตขึ้นสู่การทำวิปัสนา ปริศนาที่ปราชฌ์ ยังถุ้มเถียงกัน........เจโตวิมุติ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ย. 2010, 19:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 00:17
โพสต์: 255

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: ประสบการณ์ทางจิตที่หาคำตอบไม่ได้
.....เรื่องนี้พิมพ์ไปแล้วแต่กดปุ่มผิดเลยหายไปทั้งหน้า กู้ไม่เป็นเลยต้องพิมพ์ใหม่ เอาแค่ย่อๆแล้วกัน เพราะเป็นเรื่องประหลาดอีกเรื่องของจิต ปกติเรื่องพวกนี้เราเองไม่เคยเชื่อเลย แม้มีการกล่าวในพระไตรปิฎก เกี่ยวกับ การถอดจิตออกจากร่างไปรู้ไปเห็นโน่นนี่ เหาะข้ามภูเขา ทะลุกำแพงได้ เรื่องพวกนี่เราจะอ่านข้ามไป และจะคิดเสมอว่าเป็นโวหารธรรม หรืออุปไมยที่พระพุทธองค์ทรงอุปมัยสั่งสอนคนตามจริตที่ต่างกัน หรือไม่ก็ผู้เรียบเรียงประสงค์แต่งเติมขึ้นมาให้ดูน่าสนใจ
......แต่เรื่องนี้กลับเกิดขึ้นกลับเราตอนบ่ายแก่ๆวันหนึ่ง ขณะที่เรานั่งอยู่บนเตียง ห้อยขาข้างหนึ่งลงมา อีกข้างขัดตระหมาดอยู่ ตื่น สติบริบูรณ์เต็มร้อย กำลังคิดหรือไม่ได้คิดอะไรก็จำไม่ได้ จู่ๆจิตก็ลอยออกจากร่างขึ้นเบื้องบนอย่างรวดเร็วเหมือนถูกแรงดูดอย่างแรง ทิ้งร่างให้นั่งแข็งทื่ออยู่อย่างนั้น ส่วนจิตไปลอยนิ่งอยู่กลางอากาศ ภาพที่เห็นด้วยจิตโดยรอบ เป็นภาพการพังทะลายของพื้นดิน ภูเขาและคลื่นทะเลขนาดยักษ์ โหมกระหน่ำอย่างบ้าคลั่งการพังทะลายของสิ่งต่างๆเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องแล้วค่อยสงบลง พร้อมจิตปรับตัวต่ำลงกลับเข้ามาสวมกายอย่างช้าๆ จังหวะนี้รู้สึกได้ชัดเจนมากคือเมื่อจิตเข้าสวมกายเต็มที่ก็ขยับกายที่แข็งทื่ออยู่นั้นได้ทันที แม้ไม่ตกใจ แต่เป็นความประหลาดใจที่สุดในชิวิต ไม่ใช่อุปาทานจิตออกจากร่างได้จริงๆ ขณะที่จิตออกไปและกลับเข้ามาสติบริบูรณ์เต็มร้อย/ต่อหน้าถัดไป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ย. 2010, 20:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 00:17
โพสต์: 255

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: ต่อประสบการณ์ทางจิตที่ยังหาคำตอบไม่ได้
.....ขณะที่จิตกลับเข้าร่างได้ประมาณ 5นาที ยังประหลาดใจอยู่ และพยายามจะคิดว่าปรากฏการณ์นี้คืออะไร พลันจิตก็หลุดลอยวูบกลับขึ้นไปเบื้องบนอีกครั้ง ทิ้งร่างให้นั่งนิ่งแข็งทื่ออยู่เหมือนเดิม คราวนี้ถ้าจำไม่ผิด ภาพที่จิตเห็นเป็นความบ้าคลั่งของของอากาศมีพายุมืดมิด ปั่นป่วนรุนแรง จนประมาณไม่ได้ สักระยะหนึ่งพายุค่อยๆสงบลง ท้องฟ้าเริ่มแจ่มใสขึ้น เมื่อฟ้าสว่างกลับเหมือนมีครอบแก้วขนาดใหญ่ส่องแสงเรืองรองคลอบผิวโลกและท้องฟ้าไว้ โดยครอบแก้วนี้กว้างและสูงจนสุดสายตา เห็นภาพพระพุทธรูปสีทองโปร่งแสงลอยอ้อยอิ่ง รำไร จิตค่อยๆลดต่ำลงและกลับเข้าร่าง โดยความรู้สึกยังปรากฏชัด เมื่อจิตเข้าร่างเต็มที่และเริ่มคิดและขยับกายได้ จำและความรู้สึกยังติดตรึงมาถึงปัจจุบันคือความรู้สึกที่ชัดเจนตื่นอยู่ ขณะที่จิตหลุดลอยออกจากร่างและขณะที่สวมกลับมาเข้าร่าง วันนั้นคิดอะไรหลายอย่างว่าปรากฏการณ์นี้คืออะไร จะบอกใครได้เขาคงคิดว่าเราบ้าหรือไม่ก็เพี้ยนไปแล้ว ไม่กล้าบอกใคร ค้นตำราที่มีในที่สุดไปพบเรื่องเล่าเกี่ยวกับปรากฏทางจิตของหลวงพ่อชา ที่มีปรากฏการณ์ทางจิตที่เล่าไว้เหมือนกับที่เกิดกับเรา ท่านเล่าว่า จิตของท่านออกจากร่างกายรวมกันถึง3ครั้ง(ออกแล้วกลับเข้ามาเหมือนเราถึง3ครั้ง ในเวลาติดๆกันเหมือนเรา)แต่รวมความแล้วสิ่งที่เราเห็นเหมือนกับสิ่งที่ท่านเห็นทั้งหมด และท่านก็ไม่ได้สรุปว่าคืออะไร เช้าวันรุ่งขึ้นเราก็ยกเรื่องปรากฏการณ์ทางจิตของหลวงพ่อชาไปถามหลวงพ่อสุทัศน์แต่เช้าว่ามันคืออะไร หลวงพ่อตอบเพียงว่ามันเป็นปรากฏการณ์ทางจิตอย่างหนึ่งของผู้ปฏิบัติธรรม ไม่พูดอะไรมากกว่านั้น วันนั้นเราจึงเริ่มถามต่อในเรื่องการยกจิตขึ้นทำวิปัสนา เพราะเราเข้าฌาณที่4ได้แล้วในตอนนั้น(ความจริงฟังจากเทปของท่านมาบ้างแล้ว) และท่านก็แนะนำดังลายละเอียดในหน้าถัดไป...../เจโตวิมุติ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 22:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 00:17
โพสต์: 255

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: ยกจิตขึ้นสู่วิปัสนาเสียที
ความจริงเราเรียนรู้มาบ้าง จากการเตรียมตัวบวชล่วงหน้าเกือบปี และคัดเลือกแนวทางของครูบาอาจารย์ที่กล่าวสอดคล้องกับพระไตรปิฏกตามที่กล่าวไว้เบื้องต้น คำพูดต่อไปนี้คือคำสอนของอาจารย์เหล่านั้นและพระไตรปิฎกที่สอนตรงกัน ท่านกล่าวว่าจิตมนุษย์เมื่อแรกเกิดจากครรภ์มารดานั้นเป็นจิตที่บริสุทธิ์ผุดผ่อง เหมือนดวงแก้วใสไร้ฝ้าและรอยแปดเปื้อนปกคลุม เมื่อเริ่มดำเนินชีวิตตามแนวทางของคนปกติ อวิชชา ตัณหา และอุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่น ความมีตัวตน ก็ค่อยๆเข้าปกคลุมจิต จนเติบใหญ่ จิตของเรา จึงเป็นจิตที่ขุ่นมัว และมีปกติถุกความเห็นผิดปกคลุมอยู่ การปฏิบัติธรรม ก็มีลำดับขั้นตอน แต่ขั้นตอนในการทำวิปัสนานั้น ก็คือให้เห็นโลกตามความเป็นจริง โดยปรมัตต์ คือมองเห็นความเป็นไตรลักษณะของสรรพสิ่ง นั่นหมายถึงความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา(ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่มีตัวตน) แต่การที่คนเรา หรือจิตของคนปกติ จะมองเห็นพระไตรลักษณ์ โดยความถูกต้องนั้นเป็นไปไม่ได้ เนื่องจากจิตถูกกิเลส อวิชชา ตัณหาและอุปาทาน บดบังอยู่
.....การทำสมาธิในแบบสมรรถกรรมฐาน อันประกอบด้วย องค์ฌาณทั้ง4นั้น เป็นไปเพื่อให้กำลังแห่งสมาธิในขั้นอัปนาสมาธิ กำราบกิเลสและนิวรณ์ต่างๆในจิตให้สงบลง เมื่อกายกับจิตแยกกัน(ในองค์ฌาน)
กายและลมหายใจดับ เหลือแต่จิตดวงเดียวส่องแสงสว่างอันประมาณมิได้ อยู่นั้น (รูปดับ-เหลือแต่นาม)
ช่วงนั้นมี่แต้ตัวรู้-แต่คิดไม่เป็น เป็นช่วงสำคัญในการประหารกิเลส เพราะช่วงนั้นเป็นช่วงที่จิตว่างชั่วคราว จิตไม่สามารถปรุงแต่งอะไรทั้งที่เป็นกุศลและอกุศลได้ กิเลสและนิวรณ์จึงดับสนิท จิตจึงผ่องใส ไม่มีอะไรปกคลุม ดุจดวงแก้วที่ไร้ฝ้า การทำสมาธิในระดับองค์ฌานนั้น พระพุทธองค์ทรงทดลองปฎิบัติมาก่อน ทั้งรูปฌาฌ4 และอรูปฌาณ4 แต่พระองค์ทรงพิจารณาแล้วว่า กำลังสมาธิ ที่จะเป็นกำลังที่ใช้เป็นฐานในการทำวิปัสนา ที่ไม่มากไป-ไม่น้อยไป คือกำลังสมาธิในระดับฌาณ4หรือจตุฌาณ และได้กล่าวถึงการบรรลุพระอรหันต์ของภิกษุสายเจโตวิมุติจำนวนมากที่อาสมาธิในระดับจตุฌาณนี้/ต่อหน้าถัดไป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 23:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 00:17
โพสต์: 255

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: ต่อเรื่องยกจิตสู่วิปัสสนาแต่มีบางท่านยังตีความว่าสมาธิใรดับองค์ฌาน ที่มีจุดประสงค์ประหารกิเลสนี้(วิขัมปนะประหาร) เป็นสมาธิแข็งทื่อไม่มีประโยชน์ หรือบางครั้งสรุปเอาว่าเป็นมิจฉาสมาธิไปเลยก็มี ความจริงพระพุทธองค์ทรงตรัสเรื่องมิจฉาสมาธิไว้น้อยมาก ท่านตรัสไว้สั้นๆเพียงว่ามิจฉาสมาธิคือสมาธิ ที่ไม่เป็นไปด้วยความมุ่งมั่นที่จะให้เกิดความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด และสมาธิที่ไม่ได้เกื้อหนุนในการเจริญวิปัสสนา แต้ความจริงแล้วจะกล่าวให้ขัดเจนก็ได้ว่ามิจฉาสมาธิเป็นอย่างไร แต่ไม่ขอกล่าว แต่ขอยืนยันว่าอัปนาสมาธิหรือสมาธิในระดับองค์ฌาณนั้นรูปต้องดับ-เหลือแต่นาม มีแต่ตัวรู้-ไม่มีตัวคิดแน่นอน ถ้าสมาธิที่ยังคิดได้ พิจารณาได้ ไม่ใช่องค์ฌาณแน่นอน
.....ถึงตรงนี้แล้วจะกล่าวถึง การยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนา ตามพระไตรปิฎกและคำสอนของครูอาจารย์ และการทดลองปฏิบัติจริง คือต้องเริ่มต้นจากการทำสมาธิ ตามปกติ ผ่านสภาวะต่างๆ ขององค์ฌาณ ตั้งแต่วิตก วิจารณ์ ปิติ สุข เอกทัคคา และอุเบกขาตามลำดับ แล้วถอยจิตภาวนาเข้าไปสู่องค์ฌาณที่2-3-4 ตามลำดับ(ถ้าใครลัดขั้นตอนเข้าฌาณที่4เลยก็น่าจะทำได้แต่เราไม่ได้ลองทำ)เมื่อจิต เข้าสุ่อัปนาสมาธิในองค์ฌาณที่ 4 ดีแล้ว กายกับจิตแยกกันดีแล้ว(กายและลมหายใจไม่มี-เหลือแต่จิต) ค่อยกำหนดจิตถอยออกจากอัปนาสมาธิช้าๆ(ช่วงนี้จิตจะวิสุทธิ์ปราศจากกิเลศและนิวรณ์ปกคลุม)เมื่อจิตถอยออกพ้นอัปนาสมาธิก็จะพบรอยต่อกับอุปจาระสมาธิ ความรู้สึกตัวทั่วพร้อมวูปขึ้นทั่วสรรพางค์กาย พร้อมกายและลมหายใจเริ่มปรากฏ ช่วงนี้ตัวรู้กับตัวคิดเริ่มเชื่อมต่อและทำงานร่วมกัน แต่จิตยังผ่องใสพร้อมมองเห็นพระไตรลักษณ์ตามความเป็นจริง เริ่มยกจิตขึ้นพิจารณาพระไตรลักษณ์ในหมวดแรกคือหมวดกาย โดยไม่ต้องตามรู้กาย ยกกายมาพิจารณาเป็นส่วนๆได้เลย ไล่ตั้งแต่กายนี้ประกอบไปด้วยธาตุทั้ง4 ส่วนไหน เป็นธาตุน้ำ ส่วนไหนเป็นธาตุดิน ธาตุลม และธาตุไฟ พิจารณาช้าๆ โดยละเอียด ช่วงนีจิตยังวิสุทธ์อยู่ เมื่อพิจารณาย้ำเข้าโดยละเอียดจิตก็จะค่อยๆเห็นพระไตรลักษณ์ของกายชัดขึ้นเป็นลำดับ เมื่อพิจารณาไปเรื่อยจนสมาธิคลายตัวและถอยออกมาจนสุด ก็ภาวนาเข้าไปในองค์ฌานใหม่แล้วถอยจิตกลับมาพิจารณาหมวดกายต่อไป จะเปลียนอารมณ์ในการพิจารณาก็ได้ เช่นเอาอารมณ์อสุภะกรรมฐานมาพิจารณา หรือหมวดอื่นๆที่เกี่ยวกับกาย การกระทำซ้ำกันในหมวดกายนี้เป็นเวลานานเข้า(หมายถึงเมื่อสมาธิคลายตัวต้องภาวนากลับเข้าไปใหม่) จิตที่สะอาดพร้อมจะเห็นพระไตรลักษณ์ ของกาย ก็จะเห็นและยอมรับสภาพความเป็นอนิจจัง ทุขขัง อนัตตาของกายในที่สุด ความยึดมั่น ถือมั่นในกายก็ค่อยหมดไป เห็นกายเป็นเพียง การประชุมรวมของธาตุทั้งทั้ง 4 สักแต่ว่ากาย ยึดมั่นถือมั่นต่อไปไม่ได้ อัตตานุถิฐิก็หมดลง จึงไม่มีตัวกู-ของกูอีกต่อไป จบการทำวิปัสสนาในฐานที่1 คือฐานกาย...ต่อวันอื่น/เจโตวิมุตฺ..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ย. 2010, 11:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2010, 07:19
โพสต์: 89


 ข้อมูลส่วนตัว


เจโตวิมุติ เขียน:
เมื่อจิต เข้าสุ่อัปนาสมาธิในองค์ฌาณที่ 4 ดีแล้ว กายกับจิตแยกกันดีแล้ว(กายและลมหายใจไม่มี-เหลือแต่จิต) ค่อยกำหนดจิตถอยออกจากอัปนาสมาธิช้าๆ


ขอเรียนถาม...
อยากทราบว่าใคร?.....ค่อยกำหนดจิตถอยออกจากอัปนาสมาธิ



แก้ไขล่าสุดโดย อานาปานา เมื่อ 15 ก.ย. 2010, 11:37, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ย. 2010, 17:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 00:17
โพสต์: 255

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: อันนี้ต้องยอมรับตรงๆว่าไม่สามารถ ตอบตรงๆได้ เพราะไม่เชี่ยวชาญในเรื่องสมมุติบัญญัติ เวลาปฏิบัติไม่เคยสนใจสมมุติบัญญัติเลย อย่างเช่นคำถามที่เขาชอบถามกันว่าใครคือผู้รู้-ใครคือผู้ถูกรู้เป็นต้น แต่จากการปฏิบัติ เมื่ออยู่ในอัปนาสมาธิ จิตกับกายแยกกันก็จริง แต่สิ่งที่ต้องทำคือการประคองจิต ไว้ในสภาวะนั้น ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าใครประคอง(เหมือนการปรับสภาวะจิตให้อยู่ในอุเบกขาตลอด)เมื่อไรมี่อะไรไม่ว่าอารมณ์ภายใน หรือเหตุการณ์ถายนอกมากระทบแรงๆ จิตก็จะถอนออกจากสมาธิได้ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติของสมาธิในระดับองค์ฌาน (อาการของอัปนาสมาธิที่เข้าใจไม่ได้หมายความว่าเราเข้าไปในสมาธิแล้ว ระเบิดตกลงข้างๆก็ยังไม่รู้เรื่อง อาการอย่างนั้นตามความเข้าใจอาจมีได้ ในองค์ฌาณที่8คือ นิโรธสมาบัติ ซึ่งเท่าที่รู้มาการเข้านิโรธสมาบัตินั้น ต้องเร้นกายหาที่เงียบๆและปลอดภัย เพราะเราจะอยู่ในสมาบัตินานถึง8วัน เมื่อครบ8วันบางตำราก็ยังบอกว่าต้องกำหนดจิตออกมา บางตำราก็ว่าจะออกมาเองเมื่อครบกำหนด อันนี้ก็ไม่ทราบแค่เล่าให้ฟังเป็นการเปรียบเทียบ) แต่ในอัปนาสมาธินี้ เรามีความสามารถประคองจิตให้อยู่ในสมาธินานแค่ไหนก็น่าจะได้(แต่เราไม่เคยอยู่นานเกินชั่วโมงครึ่ง เพราะกลัวติดฌาณ)ขณะเดียวกันเราก็สามรถกำหนดจิต ถอนออกจากสมาธิได้เป็นลำดับ โดยรู้สึกชัดเจนด้วยเมื่อความมีกายและลมหายใจเริ่มปรากฎ
......ตอนที่เราพูดว่าเมื่อจิตกับกายแยกกันนั้น กายและลมหายใจดับ เหลือแต่จิดดวงเดียวส่องแสงสว่างอยู่ ช่วงนี่มีแต่ตัวรู้-ไม่มีตัวคิด ตรงนี้แหละต้องไปตีความว่าตัวรู้คืออะไร-ตัวคิดคืออะไรแต่ที่เราเข้าใจ ตัวรู้น่าจะเป็นจิต ตัวคิดลองเปรียบเทียบดูนะว่าใช่หรือไม่ เพราะเราบอกไม่หมดตอนจิตกับกายแยกกัน ท่านบอกว่าตัวรู้และตัวคิดก็จะแยกจากกัน และที่ท่านบอกต่อ(แต่เราไม่ได้บอกเพราะกลัวจะสับสนกันไปใหญ่)ก็คือสติกับสัมปชัญญะแยกออกจากกันนั่นเอง(เหมือนท่านจะพยายามบอกว่าตัวรู้ถูกควบคุมโดยสติ ตัวคิดถูกควบคุมโดยสัมปชัญญะ)ไม่รู้ถูกหรือเปล่า บางทีถ้าถูกตัวที่ควบคุม หรือกำหนดว่าเราจะเข้าจะออกจากฌาณเมื่อไรก็น่าจะเป็นสติ ...วันหลังอย่าถามอะไรยากๆอย่างนี้อีกเชียว../.เจโตวิมุติ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ย. 2010, 22:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2010, 07:19
โพสต์: 89


 ข้อมูลส่วนตัว


หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
:b8: :b8: :b8:


หลวงพ่อพุธ ท่านเล่าว่า ขณะที่ท่านป่วยเป็นวัณโรคนั้น ท่านต้องรักษา พยาบาลตัวเอง ตั้งหน้าตั้งตา
มุ่งมั่นปฏิบัติธรรม เดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนา โดยมุ่งที่จะพิจารณาดูความตายเท่านั้น โดยคิดว่า
"ก่อนที่เราจะตายนั้น ควรจะได้รู้ว่า ความตายคืออะไร" จึงได้ตั้งอกตั้งใจพิจารณาดูความตาย
อยู่เป็นเวลาหลายวัน ในวันสุดท้ายได้ค้นคว้าพิจารณาดูความตายอยู่ถึง ๗ ชั่วโมง

ในตอนแรกที่พิจารณา เพราะความอยากรู้อยากเห็นว่า ความตาย คืออะไร ซึ่งความอยากรู้อยากเห็นนี้เป็นอาการของกิเลส กิเลสจึงปิดบังดวงใจ ทำให้ความสงบใจที่เป็นสมาธิก็ไม่มี ความรู้แจ้งเห็นจริงก็ไม่มี ท่านเริ่มนั่ง สมาธิตั้งแต่ ๓ ทุ่ม จนกระทั่งเวลาตี ๓ จนเกิดความรู้สึกเหน็ดเหนื่อยแทบจะ ทนไม่ไหว

ในขณะนั้นความรู้สึกทางจิตมันผุดขึ้นมาว่า "ชาวบ้านชาวเมือง ทั้งหลายเขานอนตายกันทั้งนั้น
ท่านจะมานั่งตาย มันจะตายได้อย่างไร" ท่าน จึงเอนกายลงพร้อมกับกำหนดจิตตามไปด้วย

เมื่อเกิดความหลับขึ้น จิตกลาย เป็นสมาธิแล้ว
จิตก็แสดงอาการตาย คือวิญญาณออกจากร่างกาย
ไปลอยอยู่ เบื้องบนเหนือร่างกายประมาณ ๒ เมตร แล้วส่งกระแสออกมา รู้กายที่นอน เหยียดยาวอยู่
แสดงว่าได้รู้เห็นความตาย ลักษณะแห่งความตาย ในเมื่อตาย แล้ว ร่างกายก็ขึ้นอืดเน่าเปื่อยผุพังไปตามขั้นตอน ในเมื่อร่างกายที่มองเห็น อยู่นั้นสลายตัวไปหมดแล้ว ก็ยังเหลือแต่จิตว่าง จิตว่างแล้วก็ยังมองเห็นโลก คือแผ่นดิน ในอันดับต่อมาโลกคือแผ่นดินก็หายไป คงเหลือแต่จิตดวงเดียว ที่สว่างไสวอยู่ มองหาอะไรก็ไม่พบ พอจิตมีอาการไหว เกิดความรู้สึกขึ้นมา ก็เกิดความนึกคิดขึ้นมาว่า
"นี่หรือคือความตาย" อีกจิตหนึ่งก็ผุดขึ้นมารับว่า "ใช่แล้ว"
ก็เป็นอันว่าได้รู้จริงเห็นจริงในเรื่องของความตายด้วยประการฉะนี้

ในเรื่องของจิตที่เป็นสมาธินั้น ท่านมักจะกล่าวเสมอว่า...
สมาธินั้นมีอยู่ในตัว ของเราอยู่แล้ว แต่เรามักไม่ได้นำเอาออกมาใช้ฝึกฝนให้เป็นประโยชน์

สำหรับเรื่องจิตเป็นสมาธิของหลวงพ่อพุธ ท่านเคยเล่าให้ฟังว่า
ในตอนเด็กๆ มีเกิดขึ้นโดยท่านไม่ทราบ ไม่รู้จักมาก่อนเช่นกัน กล่าวคือ สมัยที่ท่านเป็น สามเณร
ในวันหนึ่งท่านพระอาจารย์ของท่านไม่อยู่ และสั่งให้ท่านคอยเฝ้ากุฏิไว้ ท่านจึงลงนั่งอยู่ที่หน้าประตูกุฏิ ในระหว่างที่คอยอยู่นั้น จิตของท่านก็เข้าภวังค์ ลงสู่สมาธิ นิ่งสงบอยู่นานมาก นานจนพระอาจารย์ของท่านกลับมา พระอาจารย์ และชาวบ้านที่ติดตามมาด้วยเรียกท่านอยู่นาน เรียกอย่างไร...อย่างไร ท่านก็ ไม่ไหวติง จนชาวบ้านผู้นั้นมาผลักท่านกระเด็นออกไป

นั่นแหละท่านจึงรู้สึกตัว ออกจากสมาธิ ชาวบ้านผู้นั้นว่ากล่าวท่าน...ว่าหลับไม่รู้เรื่อง เรียกอย่างไร
เรียกเท่าใดก็ไม่ตื่น ท่านปฏิเสธว่าไม่ได้หลับ ชาวบ้านผู้นั้นก็ไม่ยอมเชื่อ หลวงพ่อพุธท่านเล่าว่า

ในขณะที่คอยนั้น ท่านรู้สึกตัวตลอดเวลา และไม่ได้หลับ หลังจากปฏิเสธหลายครั้งและไม่มีใครเชื่อ ท่านจึงตัดความรำคาญด้วยการรับ สมอ้างว่าหลับ ซึ่งต่อมาภายหลังเมื่อท่านย้อนกลับไปพิจารณาอีกครั้ง จึงได้ทราบ แน่ชัดว่า เหตุการณ์ในครั้งเป็นสมาเณรนั้น ก็คือจิตเป็นสมาธินั่นเอง





แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 104 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 8 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร