วันเวลาปัจจุบัน 24 เม.ย. 2024, 18:32  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ย. 2010, 10:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ย. 2010, 16:10
โพสต์: 190

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ



รูปภาพ



รูปภาพ


รูปภาพ


รูปภาพ


รูปภาพ



รูปภาพ


รูปภาพ



รูปภาพ


รูปภาพ


รูปภาพ



รูปภาพ


รูปภาพ



รูปภาพ



รูปภาพ



รูปภาพ


รูปภาพ



รูปภาพ


รูปภาพ



รูปภาพ


รูปภาพ



รูปภาพ



เอามาจากลิ้ง นี้จ้า

http://board.trekkingthai.com/board/show.php?forum_id=2&topic_no=182298&topic_id=184613&&page=2

.....................................................
สิ่งหนึ่งแตกออกเป็นหลายสิ่ง หลายสิ่งรวมเป็นหนึ่งสิ่ง
สุดท้ายไม่มีอะไรเลยสักสิ่ง จงทำความดีในความรู้สึกที่ว่า
ไม่ควรได้อะไรจากสิ่งที่ทำเถิด

http://www.tairomdham.net/

http://www.sookjai.com/index.php?action=forum

http://www.buddhayan.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ย. 2010, 10:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ย. 2010, 16:10
โพสต์: 190

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ


ดอมเด : คนเลี้ยงนก (แร้ง)

เรื่องการกำจัดศพในวัฒนธรรมทิเบต เป็นเรื่องที่แปลกไปจากการกำจัดศพในวัฒนธรรมอื่นๆ วัฒนธรรมจีนนิยมการฝัง แต่ชาวทิเบตกลับเห็นว่าการฝังนั้นศพจะเน่า หนอนขึ้นพรึบพรับนับหมื่นตัว แล้วหนอนก็จะตายไปกับศพ ส่วนการเผานั้นก็เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก เพราะดินแถบทิเบตนั้นแห้งแล้ง ไม้ที่จะใช้ในการหุงต้มอาหารเพื่อยังชีวิตก็ยังหาได้ยาก นับประสาอะไรกับการที่เอาฟืนมาใช้ในการเผาศพ


ทิเบตจึงเลือกกำจัดศพโดยวิธีธรรมชาติ โดยการสับเป็นชิ้นๆ ให้เป็นอาหารเลี้ยงนกแร้ง

ตรงนี้เองที่ดอมเดเข้ามามีบทบาท

ดอมเด คือสัปเหร่อ และคนจัดการศพ ตั้งแต่แบกไปจากวัดขึ้นเขาไปยังจุดที่จะกำจัดศพ ซึ่งต้องเดินไป ๓ - ๔ ชั่วโมง วัดดรีกุง เป็นวัดเก่าแก่ที่สุดวัดหนึ่งในทิเบต อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของนครลาซา คณะของเรา ๑๕ คนเป็นชาวไทย ๑๓ คน ไกด์ชาวทิเบต ๑ คน และคนขับรถชาวทิเบตอีก ๑ คน ออกเดินทางจากลาซา นครหลวงของทิเบตเวลา ๖ .oo น. ใช้เวลาเดินทางประมาณ ๔ ชั่วโมงถึงวัดดรีกุงประมาณ ๑o.oo น.

พวกเราจอดรถบนถนน เงยหน้าขึ้นไปมองเห็นวัดดรีกุงตระหง่านอยู่บนเทือกเขาสูง ทางด้านตะวันตกของวัด อีกยอดเขาหนึ่งเป็นสุสานของวัดและวัดนี้ ได้ชื่อว่าเป็นวัดที่ชาวทิเบต จะเพียรพยายามนำศพมาทำพิธีที่นี่


ดูความสูงของเทือกเขาแล้วเราใจแป้ว ทุกคนในคณะยังปรับตัวกับสภาพอากาศที่มีออกซิเจนน้อยไม่ได้ แม้เพียงเดินเข้าห้องน้ำถูฟันก็ยังเหนื่อยแทบแย่ ถ้าจะให้เราเดินขึ้น คงเป็นไปไม่ได้ ไกด์บอกว่ารถจะขึ้นไปถึง รถเราวิ่งเลยวัดไปมากแล้วตีวงย้อนขึ้น ไต่เขาไปตามถนนพับไปมา


วัดนี้อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล ๔,๒oo เมตร สูงกว่าลาซา ถึง ๖oo เมตร อากาศหนาวเย็นจัดมาก ปกติในช่วงเดือนเมษายน ช่วงเช้าและเย็น อุณหภูมิลบ ๑๘ องศาเซลเซียส วันที่เราไปถึงช่วงสายนั้นอุณหภูมิ ลบ ๓ องศาเซลเซียส พวกเราทุกคนใส่เสื้อผ้าทุกตัวที่นำไป ทั้งหมวกทั้งถุงมือ ทั้งโค้ต แม้กระนั้นก็ยังหนาวจัด


ทันทีที่ไปถึง เราได้เข้าร่วมในพิธีทำศพของทิเบตโดยที่ไม่ได้คาดหมาย


มีศพตั้งอยู่กลางลานวัด ๖ ศพ ทุกศพห่อและมัดด้วยผ้าขาว ศพส่วนใหญ่ อยู่ในท่านั่ง มีศพเดียวที่อยู่ในแคร่หามท่านอน อีกศพหนึ่งเห็นน้ำเหลืองน้ำหนองไหลทะลุผ้าที่ห่อออกมา มีไม้ทำเป็นคานหามสอดอยู่กับเชือก เพื่อยกและแบกศพ

พระ ๔o รูป นั่งล้อมเป็นครึ่งวงกลม มีองค์หนึ่งที่เป็นประธานนั่งอยู่ตรงกลาง เบื้องหน้าเป็นศพ ๖ ศพ วางเรียงกันอยู่


มีสุนัขของวัดนอนผึ่งแดดอยู่ร่วม ๑o ตัว นกบินโฉบอยู่เบื้องบน เพื่อรออาหาร


ภิกษุณีธัมมนันทา นำผ้าขะตะไปมอบให้ญาติของผู้ตาย เพื่อวางไว้บนศพ

ศพหนึ่งนั้นดูจะมีฐานะดีกว่าเพื่อน มีผ้าขะตะพาดอยู่เป็นจำนวนมาก


พิธีที่พระทำเรียกว่า "โพวา" คือพิธีส่งวิญญาณผู้ตายให้ไปสู่สุคติ วิญญาณของผู้ตายถ้าทำพิธีโพวาสำเร็จ จะออกจากทางกะโหลกศีรษะ

คนเดียวที่จะรู้ว่าวิญญาณผู้ตาย ทำพิธีโพวาสำเร็จหรือไม่ คือ ดอมเด !


ดอมเด จึงเป็นบุคคลสำคัญที่สุดในการทำพิธีศพ


ขอให้ติดตามอ่านต่อไป


พระสวดอยู่ประมาณครึ่งชั่วโมง เมื่อเสร็จพิธีญาติของผู้ตายจะจัดการให้ดอมเดแบกศพทุกศพ ใส่บ่าโดยใช้เชือกมัดพาดบนไหล่ทั้ง ๒ ข้าง

เมื่อดอมเดแบกศพขึ้นบ่าได้แล้วพวกญาติๆ ซึ่งเป็นผู้ชายล้วนก็จะกลับ

ญาติผู้หญิงจะไม่มาร่วมในพิธีศพ เพราะถือว่าต่ำต้อยเกินไป

อีกชั่วโมงหนึ่งต่อมา เราเห็นดอมเดแบกศพอยู่บนภูเขาเหนือเราขึ้นไป เพื่อเดินไปที่ลานสุสานซึ่งอยู่บนเขาอีกลูกหนึ่งทางตะวันตกของวัด ใช้เวลาเดินประมาณ ๓ - ๔ ชั่วโมง

แต่ละศพจะมีดอมเดและผู้ช่วยอีก ๑ คน ดูแล

เมื่อดอมเดแบกศพไปถึงสุสาน ซึ่งเป็นลานกว้างบนไหล่เขา จะจัดการเอาผ้าห่อศพออก ศพแต่ละศพไม่ใส่เสื้อผ้า อยู่ในสภาพแรกเกิด ทั้งนี้ในภาคปฏิบัติคงจะทำให้งานของดอมเดสะดวกขึ้น

นกแร้งบินว่อนตั้งแต่ตอนทำพิธีโพวาที่วัดแล้ว

ดอมเดแต่ละคนจะจัดการทำศพของตนเสร็จภายในครึ่งชั่วโมง

สิ่งแรกที่ดอมเดทำคือ กรีดที่ศีรษะแนวหน้าผาก เพื่อถลกหนังศีรษะออกตรวจดูกะโหลกตรงขวัญว่ามีรูหรือไม่ ถ้ามีรูแสดงว่าพิธีโพวาสำเร็จ คือช่วยส่งวิญญาณออกทางศีรษะเป็นสัญลักษณ์ส่งว่าวิญญาณไปสู่สุคติ

ถ้าวิญญาณไม่ออกทางศีรษะ ก็ต้องออกทางทวารอื่นต่ำลงไปคือไม่ไปสู่สุคติ

สำหรับศพที่ทำโพวาสำเร็จ ดอมเดจะจัดการทำลายสัญลักษณ์บนใบหน้าของศพ คือลอกหนังบนใบหน้าลงมาเสีย จากนั้นตัดเนื้อเป็นชิ้นๆ

นกแร้งที่เป็นหัวหน้าฝูงจะได้ชิมก่อนเพื่อน ในฝูงที่พญาแร้งมีอำนาจและควบคุมนกในฝูงได้ นกทุกตัวจะอยู่ในอาการสงบ และเคารพอาวุโส การกินก็จะกินตามลำดับอาวุโส เมื่อดอมเด ซึ่งตอนนี้ทำหน้าที่เป็นผู้เลี้ยงนก แจกจ่ายเนื้อจนหมดแล้ว เลือดและสมองจะผสมกับแป้งซัมปาคือแป้งจากข้าวบาร์เลย์ ส่งให้พญ้าแร้ง ตรงนี้เป็นอาหารที่ประเสริฐที่สุด

กระดูกเล็บและฟันจะตำแล้วผสมกับซัมปา เลี้ยงนกทั้งหมด หินที่ใช้เป็นสากในการตำกระดูกนี้จะต้องมาจากภูเขาไกรลาสซึ่งถือว่าเป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์ ส่วนมีดของดอมเดนั้นมีหลายชนิด จะมีมีดศักดิ์สิทธิ์ที่สืบมาในตระกูล ทำด้วยเงิน

การกินอาหารของนกแร้งนั้นขึ้นอยู่กับตัวหัวหน้าฝูง ถ้าไม่ใช่ดอมเดที่นกรู้จัก นกก็จะไม่กินอาหาร

ถ้าคนตาย ตายด้วยยาพิษ หรือเสพสุรา หรือเจ็บเป็นเวลานาน ใช้ยามามาก นกก็จะไม่กินเนื้อของศพนั้นๆ ทั้งหมดนี้ พญาแร้งจะเป็นผู้นำ

ในกรณีนี้ ดอมเด ต้องใช้วิธีเผา แต่ละศพ ซึ่งต้องมีการเตรียมฟืนไว้ล่วงหน้า โดยดอมเดจะแบกฟืนขึ้นมาเตรียมไว้ที่ลานสุสานล่วงหน้า ๑ วัน

ความสัมพันธ์ของดอมเดกับนกแร้ง จึงเป็นความสัมพันธ์พิเศษ

ดอมเดเป็นผู้กำความลับของผู้ตายว่าตายไปดีหรือไม่ จากการตรวจดูที่กะโหลกศีรษะว่าทำพิธีโพวาสำเร็จหรือไม่

ข้อมูลนี้เราได้จากคนที่เคยทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยดอมเด ซึ่งได้รับการยืนยันว่าดอมเดเป็นผู้ที่ได้รับความเคารพนับถืออย่างมาก

ย้อนกลับไปเมื่อมีการตายเกิดขึ้นในครอบครัว ญาติ พี่น้อง จะนิมนต์พระอาจารย์สวดที่ศพ ๓ วัน จะตั้งศพไว้ที่ห้องพระ ทั้งนี้เพื่อให้แน่ใจว่าตายจริง เพราะเคยมีเรื่องเล่าว่ามีผู้ฟื้นขึ้นมาหลังจากไม่มีลมหายใจและชีพจรหยุดเต้นไปแล้ว ๒ - ๓ วัน โดยที่ไม่ได้จัดการกับศพ ในการฉีดยารักษาศพ ฯลฯ

หลังจากนั้นเมื่อครบ ๓ วัน ดอมเดจะจัดการมัดศพ ให้อยู่ในท่านั่ง ขัดแข้งขัดขามัดให้เล็กสุด เพื่อสะดวกในการแบกขึ้นบ่า เสร็จแล้วยกขึ้นรถ ญาติจะพาไปที่วัดดรีกุง เพื่อให้พระทำพิธีสวดส่งวิญญาณ ที่เล่าให้ฟังไปแล้วข้างต้น

ทั้งหมดนั้น เป็นการกำจัดศพของผู้ใหญ่

สำหรับศพเด็กจะมีวิธีการกำจัดอีกแบบหนึ่งคือ นำไปผูกไว้กับต้นไม้ ให้เป็นอาหารนกหรือโยนลงน้ำในแม่น้ำพรหมบุตร เพื่อให้เป็นอาหารปลา ตรงนี้ก็ต้องให้ดอมเดเข้ามาจัดการให้เหมือนกัน

บนเส้นทางที่เราไปวัดนั้น ไกด์จะชี้ให้ดูว่าจุดไหนเป็นจุดที่ชาวทิเบตนิยมนำศพเด็กมาทิ้ง สังเกตได้จากธงมนต์ที่ปักอยู่บนแนวเขา ริมแม่น้ำพรหมบุตร

การจ้างวานดอมเดนั้น จะต้องเสียเงินให้กับดอมเดตามฐานะของญาติผู้ตาย แต่อัตราทั่วๆ ไปอยู่ที่ ๕oo หยวนต่อศพ (ประมาณ ๒,๕oo บาท)

อาจารย์ท่านหนึ่งที่ไปในคณะออกปาก ทันทีที่กลับถึงประเทศไทย

สิ่งแรกที่จะต้องทำคือพินัยกรรม เพราะไปทิเบตครั้งนี้ได้เห็นสัจธรรม เกิดมรณานุสสติอย่างเป็นรูปธรรมที่สุด ชีวิตที่เพียรสร้างสม ชิงดีชิงเด่นกันทั้งชีวิต ท้ายที่สุดไม่มีอะไรเลย ต้องถูกเขาสับเป็นชิ้นๆ เลี้ยงนกแร้ง เท่านั้นเอง

มิหนำซ้ำถ้ามีบาปหนักวิญญาณออกจากร่างไม่ได้ แม้นกก็ยังไม่กินเนื้อเลย

ชีวิตนี้จึงควรเพียรทำความดีให้เต็มที่

นกแร้งเมื่อได้กินอาหารจนเต็มที่แล้ว จะพากันเดินเป็นขบวนขึ้นเขาไป ใช้เวลาเดินถึง ๕ ชั่วโมง เป็นการแสดงความขอบคุณ แล้วจึงบินขึ้นสู่ท้องฟ้า

ลูกทัวร์ของเราขัดคอว่า น่าจะเป็นเพราะมันอิ่มจนบินไม่ขึ้นกระมัง อีกคนหนึ่งแสดงความชื่นชมว่า นกแร้งรู้จักเดินย่อยอาหาร หลังจากกินอิ่มแล้ว จึงไม่เห็นนกแร้งอ้วน ไม่ว่าจะเป็นด้วยเหตุผลใด ภาพที่แร้งทั้งฝูงเดินเป็นขบวนขึ้นเขาถึง ๕ ชั่วโมง เป็นสิ่งที่น่าประทับใจจริงๆ

ชาวทิเบตหลายคนเชื่อว่า นกแร้งเป็นเทพเจ้าชนิดหนึ่ง จึงให้ความเคารพ ไม่มีการทำร้าย

นกแร้งเป็นสัญลักษณ์ควบคู่ไปกับวัดที่มีบริการกำจัดศพ ดังนั้น วัดที่ทำพิธีกำจัดศพจึงต้องเป็นวัดที่อยู่บนภูเขา ห่างไกลจากชุมชนเมือง ที่วัดกานเด็น และวัดเซร่า ซึ่งเป็นวัดหลักของทิเบตล้วนอยู่บนภูเขาสูง และมีลานกำจัดศพอยู่บนเนินเขาใกล้ๆ กันทั้งสิ้น



- คัด จาก หนังสือ ธรรมลีลาจากศรีลังกาไปทิเบต โดย ภิกษุณีธัมมนันทา-

.....................................................
สิ่งหนึ่งแตกออกเป็นหลายสิ่ง หลายสิ่งรวมเป็นหนึ่งสิ่ง
สุดท้ายไม่มีอะไรเลยสักสิ่ง จงทำความดีในความรู้สึกที่ว่า
ไม่ควรได้อะไรจากสิ่งที่ทำเถิด

http://www.tairomdham.net/

http://www.sookjai.com/index.php?action=forum

http://www.buddhayan.com/


แก้ไขล่าสุดโดย มดเอ๊กซ เมื่อ 02 ก.ย. 2010, 10:52, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ย. 2010, 10:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ย. 2010, 16:10
โพสต์: 190

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ


เมื่อนกแร้งไร้ผู้นำ


ตอนที่ผ่านมาแล้วได้เล่าถึงความสัมพันธ์ของดอมเด หรือที่เราเรียกว่าสัปเหร่อ ว่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดอย่างไรแล้ว ตอนนี้จะเล่าถึง สภาพการณ์ปัจจุบันที่เริ่มเปลี่ยนไปในทิเบต

สภาพทางภูมิศาสตร์ที่เป็นภูเขาสูงอยู่บน " หลังคาโลก " อากาศหนาวเย็น พืชผลไม้จำกัด ชาวธิเบตโดยทั่วไปปลูกได้เพียงข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ และมันฝรั่งเป็นหลัก อาหารอย่างอื่นมาจากจามรีตั้งแต่นม เนย และแม้เนื้อจามรี

เรื่องการกำจัดหรือจัดการกับศพจึงไม่สามารถเผาได้เหมือนประเทศในที่ราบ ซึ่งอุดมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เช่น ไม้ฟืน เป็นต้น ทิเบตจึงมีวิธีการกำจัดศพโดยธรรมชาติ เหมือนพวกเอสกิโม ที่อุทิศร่างกายให้เป็นอาหารของสัตว์ป่า แต่ทิเบตอุทิศร่างกายให้เป็นอาหาร ของนกแร้ง

นกแร้งจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมทิเบต

นกแร้งต่างกับเหยี่ยวที่ไม่มีอุ้งเล็บที่แข็งแร็งที่จะไล่ล่าสัตว์เป็น ๆ ทั้งความรวดเร็วยังไม่พอ จึงต้องยังชีพอยู่ด้วยการกินอาหารจากซากศพ ที่ตายแล้วทั้งของสัตว์และมนุษย์

การฝึกนกแร้งจึงเป็นวัฒนธรรมเฉพาะของทิเบต

ดอมเด มีความสามารถในการฝึกนกแร้งเพียงใด นกแร้งก็จะมีระเบียบวินัยมากเท่านั้น

นกแร้งที่จะเป็นหัวหน้าหรือจ่าฝูง หรือพญาแร้ง เป็นตัวผู้เสมอ ทั้งนี้เพราะตัวเมียจะต้องรับผิดชอบหน้าที่ในการดูแลลูก

นกแร้งที่เป็นจ่าฝูงจะมีประสบการณ์ เพราะฉะนั้นอายุก็เป็นปัจจัยสำคัญ เป็นอายุที่สั่งสมมากับประสบการณ์ รู้ทิศทางลม รู้จักดอมเด ฝึกได้ มีกำลังวังชา และมีความสามารถในการต่อสู้ เพราะจะมีลูกน้อง คือ นกแร้งรุ่นใหม่ที่ยังไม่ได้อยู่ในระเบียบวินัย ที่จะแตกแถว จ่าฝูงต้องเป็นคนจัดการให้อยู่ในวินัย ตามที่ตนได้เคยฝึกมากับดอมเด

ดอมเด ก็เช่นเดียวกันกับนกแร้ง ดอมเดที่มีความสามารถก็ต้องเป็นคนมีอายุ เชี่ยวกรำกับการจัดการศพ และฝึกนกแร้ง

ความสัมพันธ์ระหว่างดอมเดกับนกแร้งที่ีเป็นจ่าฝูงจึงเป็นความสัมพันธ์ที่สำคัญยิ่ง

ดอมเดจะมีภาษาที่ใช้กับนกแร้ง ทั้งภาษาพูด และภาษากาย ที่จะคุ้นและสื่อกันได้ด้วยอาศัยความสัมพันธ์ที่ยาวนาน

จ่าฝูงที่สนิทกับดอมเด ดอมเดก็จะตั้งชื่อให้เหมือนเราตั้งชื่อสุนัข ชื่อนกแร้งที่ดอมเดตั้งให้เป็นชื่อเช่นเดียวกับคน เช่น พุนซุก ( ฟังดูเหมือน พูนสุข ) นอกจากนั้นก็อาจจะเรียกตามลักษณะ เช่น เจ้าบอด เพราะตาบอด หรือเจ้าง่อย เพราะขาพิการเป็นต้น

จากบทความเรื่องนกแร้งในทิเบต ผู้เขียนให้คอลัมน์ " วัฒนธรรม และศาสนา " ในนิตยาสาร " ทิเบต " เล่าว่าได้ไปสัมภาษณ์ดอมเด ๖ คน อายุต่างกันตั้งแต่ ๒๕ - ๘๘ พบว่าความสัมพันธ์ระหว่างดอมเดและนกแร้งเริ่มเปลี่ยนไป

เมื่อดอมเดไม่เห็นสาระหรือความหมายทางจิตวิญญาณในการจัดการศพ ก็ไม่เห็นความสำคัญที่จะต้องฝึกปรือจ่าฝูงของนกแร้ง

ผลที่ได้ก็คือ นกแร้งลงเป็นฝูง ดอมเดยังไม่ทันจัดการกับศพ นกแร้งก็ลงมาจิกและยื้อแย่งศพเป็นชิ้น ๆ

ดอมเดที่เคยเป็นผู้กำความลับของผู้ตายว่า พิธีทำโพวา คือส่งวิญญาณสำเร็จหรือไม่ ก็ดูจะหมดความหมายไป เพราะยังไม่ทันจะถลกหนัง ศีรษะผู้ตายเพื่อตรวจดูลักษณะกะโหลกศีรษะว่ามีรูหรือไม่ ก็ถูกฝูงแร้งรุมเสียแล้ว

เมื่อดอมเดไม่ฝึกนกแร้ง ก็ไม่มีจ่าฝูง ตัวไหนมีแรงมากกว่าก็เข้ามายื้อมาฉวยเอา

จ่าฝูงสำคัญตรงนี้เอง คือต้องสามารถสร้างวินัยในหมู่คณะได้

เมื่อจ่าฝูงขาดวินัย บางครั้งก็พาฝูงนกแร้งตายเป็นเบือเหมือนกัน

สำหรับจ่าฝูงที่มีประสบการณ์ เมื่อดอมเดให้ชิมเนื้อศพ หากศพใช้ยามาหรือถูกยาพิษ จะเป็นอันตราย จ่าฝูงจะไม่กิน นกแร้งทั้งฝูงก็จะ ไม่กินศพนั้น ดอมเดจึงต้องหันกลับไปหาวิธีการกำจัดศพโดยการเผา

ในกรณีหนึ่งเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๖ นี้เอง ที่วัดโพลุงกา หลังจากที่นกแร้งจัดการกับศพที่ตายเพราะกินยาฆ่าหนูแล้วนกแร้งทั้งฝูง ๑oo ตัว ตายเรียบ

ที่เป็นเช่นนี้เพราะประการแรกไม่มีจ่าฝูงที่จะมีประสบการณ์รู้ว่าเนื้อเป็นอันตราย

หรือแม้มีนกแร้งในฝูงที่มีอายุและประสบการณ์ที่จะรู้ว่าเนื้ออันตราย แต่เนื่องจากดอมเดไม่ได้ฝึกให้เป็นจ่าฝูง นกแร้งตัวอื่น ๆ ขาดวินัยไม่ ปฏิบัติตาม จึงพากันมาตายเสียทั้งฝูงเช่นนี้

ต่อมาที่วัดจึงต้องซักประวัติของผู้ตายให้ละเอียดว่า โดนยาพิษหรือรักษาด้วยยามาเป็นเวลานาน ก็จะยกเว้นไม่กำจัดศพโดยให้เป็นอาหาร แก่นกแร้ง เพราะจะหวังพึ่งประสบการณ์ของจ่าฝูงไม่ได้อีกต่อไป

สำหรับจำนวนนกแร้งที่เป็นขาประจำของวัดต่าง ๆ ในบทความที่สำรวจนกแร้งรายงานว่าใน ๒ ปี ที่ผ่านมา จำนวนพลเมืองนกแร้งเพิ่มขึ้น ก่อน พ.ศ. ๒๕๓๘ ที่ลานสุสานวัดโพลุงกา มีนกประมาณ ๑๗o ตัว วัดเซร่ามีตำกว่า ๑oo ตัว วัดซิกุนตี้ มีมากกว่า ๓oo ตัว และวัดดีเก็น มี ๘o ตัว ขณะนี้รายงานวัดโพลุงกามีเพิ่มขึ้นเป็น ๓๕o ตัว เพิ่มขึ้นถึง ๑oo เปอร์เซ็น วัดเซร่ามี ๑๓o ตัว วัดซิกุนตี้มีมากที่สุดมี ๕๕o ตัว และวัดดีเก็นมี ๑๒o ตัว

พฤติกรรมของการครองชีวิตของนกแร้งนั้น เมื่อเริ่มคู่ครองกันแล้วก็จะอยู่กันจนตายจาก ! มนุษย์เราคงต้องเรียนรู้ เทคนิคการรักษาความ สัมพันธ์ที่ซื่อสัตย์และยั่งยืนเช่นนี้จากนกแร้ง

เมื่อตัวผู้ตัวเมียช่วยกันสร้างรังสำหรับวางไข่ในปีแรกแล้ว ปีต่อมาก็จะใช้รังเดิม เวลาตกไข่อีก โดยจะเสริมรังให้แข็งแรงขึ้นในแต่ละปี นกแร้งตกไข่ครั้งละ ๑ - ๒ ฟอง ไข่นกแร้งขนาดโตกว่าไข่ห่านที่เราเคยเห็นเล็กน้อยมีสีขาว-เทา มีจุดลายบนเปลือก เมื่อวางไข่แล้วทั้ง พ่อและแม่จะผลัดกันกกไข่ ใช้เวลา ๕๕ วัน จึงจะฟักเป็นตัว

นกแร้งชนิดนี้มีสีเดียวคือสีน้ำตาลและขาว ปลายปีกจะเป็นสีน้ำตาลแก่ เมื่อโตเต็มที่สูงประมาณ ๑ เมตร เมื่อกางปีกออก อาจจะกว้าง ถึง ๒ เมตร

ตัวผู้และตัวเมียคล้ายกันมาก ตัวเมียอาจจะขนาดใหญ่กว่าตัวผู้เล็กน้อย ลูกที่เกิดใหม่เมื่อโตเต็มที่จะเหมือนกับตัวพ่อแม่ แต่ผู้เฝ้ามองจะรู้ ว่าตัวไหนเป็นลูก โดยสังเกตุจากพฤติกรรม เมื่อตามพ่อแม่มาหากินครั้งแรก มันจะยังเงอะงะ และไม่ค่อยทันเพื่อน ในขณะที่พ่อแม่ที่ต้อง เลี้ยงลูกอ่อน จะต้องเร่งทำเวลาเป็น ๒ เท่า เพราะจะต้องคาบอาหารไปป้อนลูกแล้วกลับมาหาอาหารสำหรับตัวเอง

ในงานวิจัยนี้พบว่า กางซุบ ซึ่งเป็นดอมเดที่มีอาวุโสที่สุดในวัย ๘๘ ปี เคยใช้ชีวิตเป็นดอมเดอยู่ถึง ๖๒ ปี เริ่มงานเป็นผู้ช่วยดอมเดตั้งแต่ วัยรุ่นอายุเพียง ๑๔ ปี ต้องทำงานอยู่กับนกแร้งแทบทุกวัน กางซุบเล่าว่า เวลานกแร้งขาดการฝึกฝน พอเปิดผ้าห่อศพออกเท่านั้น นกแร้ง ก็จะมาดึงทึ้งศพทันที คงเป็นประเภทที่ภาษาไทยเรียกว่า " ราวกับแร้งทึ้ง" กางซุบจึงฝึกจ่าฝูงไว้ เวลาจัดการศพยังไม่เสร็จ เขาจะเรียกจ่าฝูง มาช่วย จ่าฝูงจะเดินเข้ามาอย่างสง่าแล้วกางปีกออกกันฝูงนกแร้งไว้ให้ดอมเดจัดการกับศพ เมื่อจัดการศพเรียบร้อยแล้ว จึงส่งเนื้อชิ้นแรกให้ กับจ่าฝูง จากนั้นนกตัวอื่นจึงเข้ามาจัดการกับส่วนที่เหลือ

สิ่งที่เปลี่ยนไปคือ บัดนี้ ดอมเดก็ขาดความสัมพันธ์ที่จะฝึกหัดอบรมแร้ง และเพราะลานสุสานต้องเดินขึ้นไปบนเขานาน ๓ - ๔ ชั่วโมง คนปกติไม่มีใครตามขึ้นไป ดอมเดจะจัดการกับศพดีหรือไม่ ก็ไม่มีใครรู้

โลคาร์ ดอมเดผู้เฒ่าวัย ๗๖ ยังคงทำงานประจำอยู่ที่วัดเซร่า เมื่อถามถึงบทบาทของดอมเดในปัจจุบัน เขาฟันธงว่า " ดอมเดสมัยใหม่สนใจ เรื่องรายได้อย่างเดียว ไม่มีความอดทน ไม่ให้เวลาที่จะเรียนรู้และฝึกอบรมแร้ง ดอมเดต้องเป็นคนฝึกแร้ง ขาดการฝึกฝน ขาดวินัย ก็ไรผู้นำ ไร้พญาแร้ง "

ความสัมพันธ์ระหว่างแร้งกับดอมเด เป็นวัฒนธรรมของชาวทิเบต เมื่อชาวทิเบตเองเปลี่ยนไป นกแร้งก็เปลี่ยนไป

นกแร้งที่ขาดภาวะผู้นำ ก็กลับไปสู่สุภาษิตไทยที่ว่า " ราวกับแร้งลง " หรือ ใครดีใครอยู่ มือใครยาวสาวได้สาวเอา

ในท้ายที่สุดเมื่อขาดพญาแร้ง หรือหัวหน้าฝูง แร้งก็จะหายไปเป็นฝูง ๆ เหมือนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่วัดโพลุงกา แร้งตายทั้งฝูง เพราะหัวหน้าด้อยประสบการณ์


- คัด จาก หนังสือ ธรรมลีลาจากศรีลังกาไปทิเบต โดย ภิกษุณีธัมมนันทา-


cool

http://www.tairomdham.net/index.php/topic,1385.0.html

http://www.sookjai.com/index.php?topic=3161.0

.....................................................
สิ่งหนึ่งแตกออกเป็นหลายสิ่ง หลายสิ่งรวมเป็นหนึ่งสิ่ง
สุดท้ายไม่มีอะไรเลยสักสิ่ง จงทำความดีในความรู้สึกที่ว่า
ไม่ควรได้อะไรจากสิ่งที่ทำเถิด

http://www.tairomdham.net/

http://www.sookjai.com/index.php?action=forum

http://www.buddhayan.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ย. 2010, 11:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ย. 2010, 16:10
โพสต์: 190

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว







.....................................................
สิ่งหนึ่งแตกออกเป็นหลายสิ่ง หลายสิ่งรวมเป็นหนึ่งสิ่ง
สุดท้ายไม่มีอะไรเลยสักสิ่ง จงทำความดีในความรู้สึกที่ว่า
ไม่ควรได้อะไรจากสิ่งที่ทำเถิด

http://www.tairomdham.net/

http://www.sookjai.com/index.php?action=forum

http://www.buddhayan.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ย. 2010, 11:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ย. 2010, 16:10
โพสต์: 190

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ


นอกจากจะเชื่อเรื่องการกลับชาติมาเกิดแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่เป็นลักษณะ เด่นของพุทธทิเบตคือความเชื่อใคัมภีร์มรณศาสตร์ หากในการดำรงชีวิต อยู่ เราต้องวางแผนเพื่อกระทำการต่าง ๆ ให้ลุล่วง ก่อนตาย เราก็จำ ต้องวางแผนหรือพูดให้ชัดขึ้นคือเราต้องเตรียมตัวตายอย่างมีสติ ผู้ใดที่ ตายโดยทันทีโดยที่เขายังไม่ทันได้ตั้งตัว หรือตายด้วยจิตขุ่นเคือง เศร้า หมอง พยาบาท ชาวทิเบตจะมองว่าคนเหล่านั้นโชคร้ายเพราะพวกเขา จะไม่ได้ไปเกิดในภพที่ดี การประคองจิตให้นิ่ง มั่นคงและตั้งอยู่ในธรรม เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเกิดใหม่

ด้วยเหตุนี้เมื่อมีคนป่วยใกล้ตายในบ้าน คนในครอบครัวจะนิมนต์พระ มาอ่านคัมภีร์ไว้ที่ข้างหูของผู้ป่วย เพื่อว่าเขาจะได้เตรียมใจว่าจะต้อง เผชิญกับอะไรบ้างเมื่อตายไปแล้ว และเพื่อให้เขาได้คิดถึงแต่สิ่งดี ๆ จะทำให้เขาได้ไปเกิดใหม่ในภพที่ดี

ความเชื่อเรื่องความตายยังเกี่ยวพันกับวิธีการกำจัดศพ หนังสือบางเล่ม อธิบายการกำจัดศพแบบหั่นศพให้แร้งกินในลักษณะที่ว่าเป็นประเพณี ประหลาดของคนทิเบต จริง ๆ แล้วมีวิธีการกำจัดศพหลายวิธีในทิเบต เช่น ฝัง เผา และให้ทานแก่ปลาโดยการหั่นเนื้อลงน้ำ แต่เนื่องจากทิเบต มีอากาศหนาวเย็น น้ำกลายเป็นน้ำแข็งและดินก็แข็งยากแก่การขุด นอก จากนี้ฟืนที่จะนำมาเผาไฟเป็นสิ่งที่หายาก การกำจัดศพโดยหั่นเนิ้อให้ แร้ง ตำกระดูกกับแป้งซัมป้า และโปรยให้พวกมันกินจึงเป็นสิ่งที่นิยมทำ

อย่างไรก็ตาม วิธีการกำจัดศพเช่นนี้ในปัจจุบันกระทำลดลง ด้วยในช่วง ปฏิวัติวัฒนธรรมในจีน การกระทำเช่นนี้ถูกว่าเป็นสิ่งที่ป่าเถื่อน น่าสังเกตุ ว่าชนกลุ่มน้อยกลุ่มอื่นที่ได้รับอิทธิพลของพุทธศาสนาทิเบตก็มีวิธีการกำ จัดศพเช่นนี้เหมือนกัน หากพิจารณาในมุมของศาสนาการกระทำเช่นนี้ ทำให้ผู้ตายมีโอกาสได้ทำประโยชน์ครั้งสุดท้ายในชีวิตโดยการกระทำทาน อันยิ่งใหญ่แก่นก

ทีเรื่องเล่าเรื่องหนึ่ง พระโพธิสัตว์พระองค์หนึ่งจุติมาในโลกเป็นเจ้าชาย แห่งราชธานีหนึ่ง เนื่องจากมีศึกมาประชิดชายแดน พระองค์จึงต้องเสด็จ ไปรบ ก่อนเสด็จออกจากวัง พระองค์ตรัสลาพระมารดาด้วยทรงเชื่อว่า จะทรงไม่รอดชีวิตจากการรบครั้งนี้ คำขอร้องที่ยิ่งใหญ่ครั้งสุดท้ายของ พระองค์คือเมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์ไปแล้วขอให้พระมารดาทรงกำจัด พระศพของพระองค์ด้วยการบริจาคให้นกกิน

เช่นเดียวกับพระโพธิสัตว์พระองค์นี้ ชาวทิเบตหลายคนปรารถนาที่จะ ให้ร่างกายของตนถูกกำจัดแบบนี้

จาก ทิเบต ขอบฟ้าที่สูญหายไป โดย อาจารย์ กฤษฎาวรรณ

tongue
http://www.tairomdham.net/index.php/topic,1652.0.html

.....................................................
สิ่งหนึ่งแตกออกเป็นหลายสิ่ง หลายสิ่งรวมเป็นหนึ่งสิ่ง
สุดท้ายไม่มีอะไรเลยสักสิ่ง จงทำความดีในความรู้สึกที่ว่า
ไม่ควรได้อะไรจากสิ่งที่ทำเถิด

http://www.tairomdham.net/

http://www.sookjai.com/index.php?action=forum

http://www.buddhayan.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ย. 2010, 12:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ก.ย. 2007, 17:49
โพสต์: 1720

ที่อยู่: สุโขทัยธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


โมทนาจริงๆกับกระทู้นี้...เมื่อก่อนเคยมีความรู้สึกแปลกๆกับพิธีกรรมนี้พอภาวนามาเรื่อยๆ กับคิดว่าก็ดีอีกทางหนึ่ง เพราะซากสังขารอันไร้ดวงจิต ทำอะไรให้มีประโยชน์ก็ทำไป

:b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 16 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร