วันเวลาปัจจุบัน 27 เม.ย. 2024, 04:06  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 19 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ย. 2010, 17:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.ย. 2010, 09:54
โพสต์: 39

แนวปฏิบัติ: พุท-โธ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: โก้
อายุ: 23
ที่อยู่: จ.กาญจนบุรี

 ข้อมูลส่วนตัว


ทุกวันนี้ผมก็สวดมนต์บ้างนั่ง สมาธิบ้าง
แต่ไม่ได้ทำทุกวันนะคับ คือทำบ้างไม่ทำบ้าง
คื่อจะนั่งดูลมหายใจบ้าง เพ็งเทียนมาก็เคย พิจารณาสังขารก็เคย เพ็งอวัยวะตามร่างกายก็เคย
แต่จิตก็ไม่สงบคับ บ้างครั้งก้จะสงบ บางครั้งเหมือนจะหลับ
แล้วเราปฏิบัิต้องนั่งหน้าพระไหมคับ ผมนั่งปฏิบัติบนเตียง

รบกวนผู้รู้ช่วยสอนหน่อยนะคับ ผมตั้งใจจะปฏิบัตินะคับ
เพียงแต่ยังไม่รู้จะเริ่มจับจุดตรงไหนดี

ขออนุโมทนาด้วยคับ

.....................................................
สักวันผมจะดีพอ.....
และจะเดินตามปณิธานที่ได้ตั้งไว้.....

ขอขอบคุณความรักที่ทำให้...พบกับความทุกข์
และขอขอบคุณความทุกข์ที่ทำให้...พบกับธรรมะ
และขอขอบคุณธรรมะที่ทำให้...วันนี้ได้พบกับหาทางที่แท้จริง


ฝากบล็อกหน่อยนะครับ ลองทำเล่นๆดูนะครับ
http://madoodhumma.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ย. 2010, 20:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


MarutKO เขียน:
ทุกวันนี้ผมก็สวดมนต์บ้างนั่ง สมาธิบ้าง
แต่ไม่ได้ทำทุกวันนะคับ คือทำบ้างไม่ทำบ้าง
คื่อจะนั่งดูลมหายใจบ้าง เพ็งเทียนมาก็เคย พิจารณาสังขารก็เคย เพ็งอวัยวะตามร่างกายก็เคย
แต่จิตก็ไม่สงบคับ บ้างครั้งก้จะสงบ บางครั้งเหมือนจะหลับ
แล้วเราปฏิบัิต้องนั่งหน้าพระไหมคับ ผมนั่งปฏิบัติบนเตียง

รบกวนผู้รู้ช่วยสอนหน่อยนะคับ ผมตั้งใจจะปฏิบัตินะคับ
เพียงแต่ยังไม่รู้จะเริ่มจับจุดตรงไหนดี

ขออนุโมทนาด้วยคับ


ดีครับ ทำดีแล้วครับ
เพราะคุณยังรู้ตัว ว่า

ไม่สงบบ้าง
พอจะสงบ ก็เหมือนจะหลับ

อาการต่างๆ นี่เป็นเรื่องปรกติของคนที่อยากได้สมาธิ ไม่เป็นไรครับ

เช่นนั้น ถามนิดหนึ่งครับว่า
คุณ MarutKo พออธิบายความเข้าใจของคุณเองเกี่ยวกับสมาธิ และคุณเองมีจุดประสงค์ใดในการปฏิบัติธรรมครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2010, 09:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.ย. 2010, 09:54
โพสต์: 39

แนวปฏิบัติ: พุท-โธ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: โก้
อายุ: 23
ที่อยู่: จ.กาญจนบุรี

 ข้อมูลส่วนตัว


ก็ไม่ค่อยรู้สักเท่าไหร่คับ ตอนผมบวชผมก็หาอ่านหนังสือหลายเล่มมาก
เลยจับจุดไม่ค่อยถูก ว่าจะทำแบบไหนดี บางตำราก็ว่าให้ดูลมหายใจ
บางตำราก็ ให้ท่องพุธ - โธ ถี่ ก็แบบพิจารณาร่างกายคับ
ก็แบบว่าจะเพ่งตามร่างกายแต่ละส่วน ตั้งแต่หัวจดเท้าว่ามีแต่สิ่งเน่า สิ่งปฏิกูล อะไรทำนองนี้คับ
แต่ที่ทำปัจจุบันก็คือนั่งพุธ-โธ ตามลมหายใจเข้าออกคับ แล้วเรื่องดูจิตเขาดูกันยังไงคับ

ส่วนเรื่องที่จะทำเพื่อไร ขอตอบเพื่อให้พ้นทุกข์คับ ก็อากจะทำไห้ชีวิตดีขึ้นและเสริมบุญบารมีด้วยคับ
ไม่รู้เข้าใจถูกหรือเปล่าคับ
รบกวนด้วยคับ

:b8: :b8: :b8: :b8: :b8: :b8: :b8:

.....................................................
สักวันผมจะดีพอ.....
และจะเดินตามปณิธานที่ได้ตั้งไว้.....

ขอขอบคุณความรักที่ทำให้...พบกับความทุกข์
และขอขอบคุณความทุกข์ที่ทำให้...พบกับธรรมะ
และขอขอบคุณธรรมะที่ทำให้...วันนี้ได้พบกับหาทางที่แท้จริง


ฝากบล็อกหน่อยนะครับ ลองทำเล่นๆดูนะครับ
http://madoodhumma.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2010, 09:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


MarutKO เขียน:
ก็ไม่ค่อยรู้สักเท่าไหร่คับ ตอนผมบวชผมก็หาอ่านหนังสือหลายเล่มมาก
เลยจับจุดไม่ค่อยถูก ว่าจะทำแบบไหนดี บางตำราก็ว่าให้ดูลมหายใจ
บางตำราก็ ให้ท่องพุธ - โธ ถี่ ก็แบบพิจารณาร่างกายคับ
ก็แบบว่าจะเพ่งตามร่างกายแต่ละส่วน ตั้งแต่หัวจดเท้าว่ามีแต่สิ่งเน่า สิ่งปฏิกูล อะไรทำนองนี้คับ
แต่ที่ทำปัจจุบันก็คือนั่งพุธ-โธ ตามลมหายใจเข้าออกคับ แล้วเรื่องดูจิตเขาดูกันยังไงคับ

ส่วนเรื่องที่จะทำเพื่อไร ขอตอบเพื่อให้พ้นทุกข์คับ ก็อากจะทำไห้ชีวิตดีขึ้นและเสริมบุญบารมีด้วยคับ
ไม่รู้เข้าใจถูกหรือเปล่าคับ
รบกวนด้วยคับ


คุณMarutKO มีความเห็นที่ดีแล้ว ว่าการเจริญจิตตภาวนา เป็นการสร้างเสริมบุญวาสนา เพื่อทำบารมีให้เต็ม ในการที่จะบรรลุธรรมเพื่อให้พ้นจากความทุกข์ ซึ่งเป็นการพัฒนาชีวิตไปในทางที่ถูกที่ดี.

ปัจจุบันนี้ คุณMarutKO มีอัธยาศัยเสพคุ้นกับ อานาปานสติพร้อมกับคำสวดพุท-โธ มากกว่าวิธีอื่น
ซึ่งอุบายนี้ ก็ใช้ได้ดี ที่จะทำมรรค ให้เกิดได้ครับ

ส่วนเรื่องดูจิต ไม่ต้องไปใส่ใจหรอกครับ เป็นความเลื่อนลอยในหลักคำสอนของสาวกในปัจจุบันครับ

เราปฏิบัติธรรม อาศัยพระพุทธวจนะ เป็นหลักในการปฏิบัติครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2010, 09:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การเจริญจิตตภาวนา ก็คือจิตตสิกขา ก็คือสมาธิภาวนา

จิตตภาวนา ที่คุณMarutKOปราถนา คือการพัฒนาจิตให้ควรแก่การงานในการที่จะพ้นไปจากทุกข์

ในระบบไตรสิกขา อันเป็นธัมมจริยา คือการปฏิบัติธรรมทั้งหมดทั้งสิ้น มี
ศีล สมาธิ ปัญญา
ซึ่งสมาธิ เป็นแดน ระหว่าง ศีล และปัญญา

ทำความเข้าใจก่อนว่า สมาธิ ก็เหมือนกับสนามฝึกอบรม สนามประลอง ที่คุณจะต้องพัฒนากาย พัฒนาจิต และพัฒนาปัญญา

ดังนั้นการพัฒนาจิต หรือจิตตภาวนา จึงไม่ใช่ความสงบนิ่งเหมือน ไม่รู้อะไรเลย
แต่จิตตภาวนา เป็นสนามแห่งการงานของ กาย ของจิต ของปัญญา

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2010, 10:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณMarutKO .. เมื่อวิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป และนามรูปเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ

คุณMarutKO.. การปฏิบัติธรรม จึงเป็นการเรียนรู้ เข้าใจความจริงในเรื่องนี้ ว่ากายกับจิตมีความสัมพันธ์กันเกื้อกูลกัน และไหลเลื่อนๆ ไปในภพทั้งหลาย

การปฏิบัติจิตตภาวนา ก็เพื่อศึกษาทำความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ เพื่อพัฒนากาย และจิตให้สะอาด
ไม่ได้ปฏิบัติเพื่อแยกรูป ถอดนาม เห็นกาย และจิตแยกออกจากกัน แต่ประการใด

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2010, 10:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.ย. 2010, 09:54
โพสต์: 39

แนวปฏิบัติ: พุท-โธ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: โก้
อายุ: 23
ที่อยู่: จ.กาญจนบุรี

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณที่ตอบคับ คือเนื้อๆเลยนะคับ
ผมต้องปฏิบัติแบบเดิมไปก่อนไช่ไหมคับ แล้วถ้าจิตส่ายไปข้างนอกทำไงดีคับ
ขอบคุณคับ
ขออนุโมทนาด้วยคับ

.....................................................
สักวันผมจะดีพอ.....
และจะเดินตามปณิธานที่ได้ตั้งไว้.....

ขอขอบคุณความรักที่ทำให้...พบกับความทุกข์
และขอขอบคุณความทุกข์ที่ทำให้...พบกับธรรมะ
และขอขอบคุณธรรมะที่ทำให้...วันนี้ได้พบกับหาทางที่แท้จริง


ฝากบล็อกหน่อยนะครับ ลองทำเล่นๆดูนะครับ
http://madoodhumma.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2010, 10:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณMarutKO..
โปรดศึกษา มหาสติปัฏฐานสูตร และกายคตาสติสูตร อานาปานสติสูตร เป็นหลักเป็นธง ในการปฏิบัติ

วิธีการปฏิบัติ ที่คุณMarutKO... ปฏิบัติอยู่นั้น เป็นการเจริญอานาปานสติ
เพียงแต่เปลี่ยนจากคำว่า ลมหายใจออกยาวก็รู้ว่ายาว ลมหายใจเข้ายาวก็รู้ว่ายาว
เป็นลมหายใจออก พุท ลมหายใจเข้า โธ เท่านั้นเอง

เพราะในคำว่าพุทโธ ที่คุณMarutKO รู้อยู่นั้นไม่ได้ระลึกไปในพุทธคุณ 9 แต่ประการใด
หรือ ในคำว่า พุท-โธ ที่คุณMarutKO ท่องอยู่นั้นก็ไม่ได้ระลึกไปถึงปัญญาอันซ่อนเร้น คือ "โพธิจิต"

ดังนั้น สองประการดังกล่าวให้ตัดทิ้งไป
เหลือแต่ กายานุปัสสนา อันอาศัย ลมหายใจเข้าลมหายใจออก เป็นอารมณ์

ซึ่งในกายคตาสติ มีวิธีการพิจารณากายในกายหลักๆกล่าวอย่างกว้างขวางไว้ 10 วิธี
ซึ่งเป็นการพัฒนากาย พัฒนาศีล เพื่อความเป็นอยู่อันผาสุขของผู้ปฏิบัติธรรมเอง และการอยู่ร่วมกับสังคมรอบข้าง เพื่อความละวางจากกามสัญญากันเกี่ยวกับ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส อันเกิดจากกายเนื่องด้วยกาย

ครูอาจารย์จะเห็นความเหมาะสมของแต่ละคน และให้เจริญกายานุปัสสนา จากบรรพใดก็ได้ไม่จำกัดว่าจะต้องเริ่มบรรพไหนก่อน.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2010, 10:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


MarutKO เขียน:
ขอบคุณที่ตอบคับ คือเนื้อๆเลยนะคับ
ผมต้องปฏิบัติแบบเดิมไปก่อนไช่ไหมคับ แล้วถ้าจิตส่ายไปข้างนอกทำไงดีคับ
ขอบคุณคับ
ขออนุโมทนาด้วยคับ


คุณMarutKO
เพราะคุณMarutKO ทานน้ำมาแยะ เนื้อไม่มีครับ ต้องใส่เนื้อให้ก่อนครับ ถึงจะได้น้ำซุปรสเข้มข้นครับ
คุณMarutKO จะปฏิบัติโดยไม่มีความรู้พื้นฐานอันจำเป็น ย่อมไม่เข้าใจความหมายว่า จิตส่ายกับจิตคิด

ผูกจิตด้วยอุบาย ไม่ให้ส่าย แต่จิตก็จะคิด ^ ^

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2010, 10:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่าง
ก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า
เธอย่อมมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า


เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว
หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว

เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น
หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น


สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า

สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า

เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่
อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้น
ได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ


วางสิ่งอื่นให้หมด ตำราหลวงปู่หลวงตาทั้งหลายให้หมด
เอาคำสอนพระพุทธองค์ เป็นหลัก
ไม่ต้องคิดเพิ่มเติม
ผูกจิต เข้ากับลมหายใจ เข้าออก ในส่วนสีแดงที่เน้นไว้ให้สนิทใจเสียก่อน

การผูกจิต เข้ากับลมหายใจ ในระดับนี้ คือ
ทำความระลึกและรู้สึก เพียงว่า ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก นะครับ รู้มัน ซี่ๆ รู้เฉยๆ ไม่เครียดไม่เกร็ง
รู้สบายๆ ให้ได้ ว่าลมเข้า ลมออก เท่านั้น ตรงนี้เป็นระเพียงระดับของเน้นสีแดง

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 10 ก.ย. 2010, 10:58, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2010, 10:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.ย. 2010, 09:54
โพสต์: 39

แนวปฏิบัติ: พุท-โธ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: โก้
อายุ: 23
ที่อยู่: จ.กาญจนบุรี

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณ คุณ เช่นนั้นมากๆเลยคับ ผมจะศึกษาตามที่บอกไว้คับ


:b8: :b8: :b8: :b8: :b8: :b8: :b8: :b8:

.....................................................
สักวันผมจะดีพอ.....
และจะเดินตามปณิธานที่ได้ตั้งไว้.....

ขอขอบคุณความรักที่ทำให้...พบกับความทุกข์
และขอขอบคุณความทุกข์ที่ทำให้...พบกับธรรมะ
และขอขอบคุณธรรมะที่ทำให้...วันนี้ได้พบกับหาทางที่แท้จริง


ฝากบล็อกหน่อยนะครับ ลองทำเล่นๆดูนะครับ
http://madoodhumma.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2010, 10:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www




Resize of aa008.jpg
Resize of aa008.jpg [ 104.99 KiB | เปิดดู 6831 ครั้ง ]
สวัสดีครับคุณ MarutKO
คุณก็มีประสบการณ์มาไม่น้อย แต่ ความรู้ที่ได้รับยังไม่ตรงช่องทางที่พระพุทธเจ้าทรงสอนดี จึงทำให้กวัดแกว่งและไขว้เขว ณ เวลานี้ คุณต้องการกัลยาณมิตรมากๆ

คุณจั่วหัวเรื่องอยากรู้วิธีนั่งสมาธิ วัตถุประสงค์แรกของคุณนี้ก็ไม่ค่อยตรงกับ ที่พระพุทธเจ้าทรงมีพระประสงค์จะสอนชาวโลกแล้วครับ

สมาธิ ความนิ่งของจิต เป็นวิทยาการที่ บรรดาฤาษี พราหมณ์ นิคฤนธ์ ทั้งหลายเขานิยมทำและชำนาญกัน

พระประสงค์ของพระพุทธบิดานั้น ทรงต้องการให้ ชาวโลก รู้จักวิธีถอนความเห็นผิด อันเป็นต้นเหตุของทุกข์ ความไม่สงบ ความเวียนว่าย ตาย เกิด ทั้งปวง

คุณMarutKO มีกล่าวไว้หน่อยว่า จะปฏิบัติธรรมเพื่อความพ้นทุกข์ ดังนั้น ณ จุดเริ่มต้น บนทางแยกหลายแพร่งในใจคุณนี้ พึงศึกษาภาคปริยัติให้ดี ให้ได้ความรู้ที่ถูกต้องตรงตามคำสอนดั้งเดิมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งคุณไม่ต้องเอามาหมดทั้ง 84,000 พระธรรมขันธ์ แต่ให้รู้จักใช้สติ ปัญญา สังเกต ศึกษาค้นคว้าจับเอาประเด็นหลักของคำสอนของพระพุทธเจ้าออกมาให้ได้

เบื้องต้นขอแนะนำให้คุณMarutKO ไปศึกษา และวิเคราะห์ พระสูตรและบทสวดเพียง 6 - 7 บทก่อนดังนี้
1.ธัมมจักกัปปวัตนสูตร
2.อนัตตลักขณสูตร
3.ภัทเทกรัตคาถา
4.อานาปานสติสูตร
5.สติปัฏฐานสูตร
6.โอวาทปาติโมกข์
7.อริยมรรคมีองค์ 8
วิเคราห์ จับประเด็น ออกมาให้ได้ ว่า
1.พระพุทธเจ้าทรงค้นพบอะไร แล้วทรงนำอะไรมาสอน
2.ทำไมพระองค์จึงทรงสอนเรื่องอริยสัจ 4 ในวันแรก และเรื่องอนัตตา ในวันที่ 2 ของการประกาศธรรม
3.ปัจจุบันธรรม หรือปัจจุบันอารมณ์ มีความสำคัญ มากน้อยเพียงใดในคำสอนของพระพุทธองค์
4.อานาปานสติสูตร เป็นคำสอน สมถะผสมวิปัสสนา จริงหรือไม่ ที่สอนกันอยู่ทุกวันนี้ไม่เต็ม ไม่ครบองค์ของอานาปานสติสูตร จริงหรือไม่
5.โอวาทปาติโมกข์ เป็นหลักการ และสรุปขั้นตอนการศึกษาและปฏิบัติธรรม จากต้นถึงปลายสุด
6.มีแต่สติปัฏฐานสูตรเท่านั้นหรือที่เป็นทางหลุดพ้น
7.มรรค 8 มีนัยยะที่ลึกซึ้งอะไรซ่อนอยู่ ทำไมจึงไม่ค่อยมีคนสอนวิธีเจริญมรรค 8 มีแต่ผู้สอนเรื่องสติปัฏฐาน 4

ทั้งหลายเหล่านี้ เป็นการผูกเงื่อนและปริศนาให้คุณ MarutKO ไปคันหา พิสูจน์ความจริงด้วยตนเองนะครับ รับรองเข้าถูกช่องทางตามพุทธประสงค์แน่นอนครับ

ขอให้เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปทุกๆคนครับ
tongue
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2010, 10:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.ย. 2010, 09:54
โพสต์: 39

แนวปฏิบัติ: พุท-โธ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: โก้
อายุ: 23
ที่อยู่: จ.กาญจนบุรี

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณคุณอนัตตาธรรม มากๆคับ และทุกๆท่านที่มาตอบ
ผมจะไปศึกษาดูคับ ผมเพิ่งจะเป็นสมาชิกของที่นี่นะคับ
ได้รับการตอบรับอย่างอบอุ่นแบบนี้ ทำให้มีกำลังใจมากมายคับ

.....................................................
สักวันผมจะดีพอ.....
และจะเดินตามปณิธานที่ได้ตั้งไว้.....

ขอขอบคุณความรักที่ทำให้...พบกับความทุกข์
และขอขอบคุณความทุกข์ที่ทำให้...พบกับธรรมะ
และขอขอบคุณธรรมะที่ทำให้...วันนี้ได้พบกับหาทางที่แท้จริง


ฝากบล็อกหน่อยนะครับ ลองทำเล่นๆดูนะครับ
http://madoodhumma.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2010, 11:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนัตตาธรรม เขียน:
สมาธิ ความนิ่งของจิต เป็นวิทยาการที่ บรรดาฤาษี พราหมณ์ นิคฤนธ์ ทั้งหลายเขานิยมทำและชำนาญกัน


อารัมณูปณิชฌาน เป็นวิทยาการที่ บรรดาฤาษี นิครนธ์ทั้งหลายนิยมทำ และชำนาญกัน

สมาธิ ความตั้งมั่นของจิต ไม่นิ่งครับ

อารัมณูปณิชฌานนำ ลักขณูปนิชฌาน อย่างนี้ สมถะนำวิปัสสนา
ลักขณูปนิชฌาน นำอารัมณูปนิชฌาน อย่างนี้ วิปัสสนานำสมถะ
อามรัมณูปณิชฌาน และลักขณูปนิชฌาน ไปพร้อมๆกัน อย่างนี้เรียกสมถะวิปัสสนาคู่เคียงกันไป

อานาปานสติ สามารถเลือกเจริญได้ทุกรูปแบบครับ ตามแต่อัธยาศัย

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2010, 13:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ค. 2007, 17:17
โพสต์: 14

อายุ: 0
ที่อยู่: ยโสธร

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับ ผมก็กำลังฝึกสติ ฝึกสมาธิเหมือนกันกับคุณครับ ก็ยังไม่เป็นที่พอใจแก่ตนเท่าที่ควร ก็คล้ายๆกับคุณนี่ละครับ แต่ก็อยากแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันครับ
เท่าที่คุณเล่าให้ฟัง ผมว่าอาจจะฝึกหลายแบบไปครับ ก็เลยสับสน ถ้ายึดลมหายใจก็เอาลมหายใจอย่างเดียวเลยครับ ไม่ต้องดูจิต ไม่ต้องเพ่ง .. แล้วทำบนที่นอนหรือเตียงในห้องนอน รู้สึกไม่เกิดผลเท่าที่ควรครับ น่าจะมีที่เฉพาะ เช่นห้องพระ หรือที่อื่นที่ไม่ใช่เตียงนอน.. ผมว่าศีลก็สำคัญครับ ถ้าศีลเรายังพร่อง สมาธิก็ลำบาก... กัลยาณมิตรก็สำคัญครับ ถ้าเป็นพระผู้ปฏิบัติผ่านมาแล้วท่านจะแนะนำไม่ผิด(ท่านสอนไม่มาก) ถ้าฟังปุถุชนทั่วไป(บอกคลุมเครือไป) จะให้เกิดความสงสัยตามมา .. ที่สำคัญที่สุด ผมคิดว่า ศรัทธาที่ถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญครับ ต้องเพิ่มพูนศรัทธาให้มากเสียก่อน เช่น สวดมนต์ทำวัตร ร่วมงานบุญ ตักบาตร ฟังเทศน์ .. บุญกิริยาวัตถุ๑๐ นะครับ ก็น่าจะทำให้การปฏิบัติของเราก้าวหน้าขึ้นนะครับ ก็ไม่ทราบว่า จะเห็นควรอย่างไร ก็ลองพิจารณาดูครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 19 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 45 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร