วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 20:31  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 49 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ต.ค. 2010, 15:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลากลงมาให้อ่านกันอีกครั้งดูว่าอิริยาบถบังทุกข์ลักษณะยังไง แล้วเทียบความรู้สึกนึกคิดกับการปฏิบัติของตนด้วย ว่าถึงขนาดนั้นแล้วรู้เห็นทุกขสัจคือความจริงข้อนี้แล้วหรือไม่


อิริยาบถ บังทุกขลักษณะ

2. ท่านกล่าวว่าเพราะมิได้มนสิการความบีบคั้นกดดันที่มีอยู่ตลอดเวลา ก็ถูก อิริยาบถ คือความยักย้าย

เคลื่อนไหว ปิดบังไว้ ทุกขลักษณะจึงไม่ปรากฏ


ภาวะที่ทนอยู่มิได้ หรือภาวะที่คงสภาพเดิมอยู่มิได้ หรือ ภาวะที่ไม่อาจคงอยู่ในสภาพเดิมได้ ด้วยมี

แรงบีบคั้นกดดันขัดแย้งเร้าอยู่ภายในส่วนประกอบต่างๆนั้น จะถึงระดับที่ปรากฏแก่สายตาหรือความรู้สึก

ของคน มักจะต้องกินเวลาระยะหนึ่ง แต่ในระหว่างนั้น ถ้ามีการคืบเคลื่อน ยักย้าย หรือ ทำให้แปรรูป

เป็นอย่างอื่นไปเสียก่อนก็ดี สิ่งที่ถูกสังเกตเคลื่อนย้ายพ้นจากผู้สังเกตไปเสียก่อน หรือผู้สังเกตแยก

พรากจากสิ่งที่ถูกสังเกตไปเสียก่อนก็ดี ภาวะที่บีบคั้น กดดัน ขัดแย้งนั้น ไม่ทันปรากฏให้เห็น

ปรากฏการณ์ส่วนใหญ่มักเป็นเช่นนี้ ทุกขลักษณะ จึงไม่ปรากฏ


ในความเป็นอยู่ประจำวันนั้น เมื่อเราอยู่ในท่าหนึ่ง หรืออิริยาบถหนึ่งนานๆ พอจะรู้สึกปวดเมื่อยเป็นทุกข์

เราก็ชิงเคลื่อนไหว เปลี่ยนไปสู่ท่าอื่น หรืออิริยาบถอื่นเสีย หรือเรามักจะเคลื่อนไหว เปลี่ยนท่า เปลี่ยน

อิริยาบถอยู่เสมอ จึงหนีรอด จากความรู้สึกทุกข์ไปได้ เมื่อไม่รู้สึกทุกข์ก็เลยพลอยมองข้าม ไม่เห็น

ความทุกข์ที่เป็นความจริงตามสภาวะ ไปเสียด้วย ท่านจึงว่าอิริยาบถ บังทุกขลักษณะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 19 ต.ค. 2010, 15:13, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ต.ค. 2010, 15:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ผมเจาะอย่างนี้ ครับท่านกรัชกาย
เจาะแบบครบยก นั่งกำหนดจนครบเวลาที่ตั้งใจไว้ แม้เหมือนมีดอกสว่านมาไชก็ไม่หนี
เจาะจนหมดม้วน นั่งกำหนดจนเวทนาหายไป


ยกหนึ่งๆ คุณอายะใช้เวลาเจาะกี่นาทีครับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ต.ค. 2010, 15:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ที่ถามท่านกรัชกายนี่ก็อยากให้ขยายความ การทรมานตนกับการหลงไหลในกาม ที่ไปเทียบเคียงการปฏิบัติ เพราะผู้ปฏิบัติส่วนมากมักเข้าเกียร์รีเวิร์ส เมื่อเจอเวทนา แล้วบอกว่าจะได้ไม่เป็นการทรมานตนให้ลำบาก



ความหมายคำว่า กาม ชาวพุทธบ้านเรายังเข้าใจแคบไปครับ ศึกษาความหมายกว้างๆที่

http://fws.cc/whatisnippana/index.php?topic=518.0

ผู้ปฏิบัติส่วนมากมักเข้าเกียร์รีเวิร์ส เมื่อเจอเวทนา แล้วบอกว่าจะได้ไม่เป็นการทรมานตนให้ลำบาก

ตัดประเด็นอัตตกิลมถานุโยคออกครับ

เรื่องเวทนา โดยเฉพาะทุกขเวทนาด้วยแล้ว ไม่มีใครต้องการครับ มีแต่เลี่ยงๆหลบๆไป บางกลุ่มบางคนเลี่ยงแล้วก็คิดปลอบใจตนเองว่า ตนกำลังปฏิบัติธรรม เพื่อไม่ให้เสียขวัญ

แต่ก็อีกมุมหนึ่ง แม้ในรายที่ประสบเวทนาแล้ว สู้กันเหมือนคนเจาะไม้หนาๆแต่ดอกสว่านเล็ก กดเอาดันเอา ดอกสว่านหักได้ ก่อนหน้าจึงว่า ควรรู้ความพอเหมาะพอดีฉลาดในเวทนา รู้โทษแต่ก็เห็นเห็นทางออก มิใช่กัดริมฝีปากจนปากเป็นแผล (เหมือนบางคน เคยเห็นมาแล้วครับ) จะต้องค่อยๆขยับปรับเวลาขึ้นไปทีละน้อยๆ จนพร้อมหมดทั้งกายและใจ ที่สำคัญหมั่นกำหนดรู้เวทนาทุกๆขณะที่มันเกิด จนรู้เห็นจุดเกิดของมัน เหมือนช่างไม้รู้ว่า ใกล้ทะลุแล้ว แล้วค่อยกดค่อยดันให้เต็มกำลัง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2010, 08:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 406

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัช เขียน:
นั่งจนก้นแตก ก็คงประมาณพระโสณะเดินจนเท้าแตก

ตรงนี้คงเห็นไม่ตรงกันคับท่านกรัชกาย เหล็กกำลังร้อนต้องรีบตี ดังที่หลวงตาว่าฟาดให้มันขาดสะบั้นไป

กรัช เขียน:
ควรรู้ความพอเหมาะพอดีฉลาดในเวทนา รู้โทษแต่ก็เห็นเห็นทางออก มิใช่กัดริมฝีปากจนปากเป็นแผล (เหมือนบางคน เคยเห็นมาแล้วครับ) จะต้องค่อยๆขยับปรับเวลาขึ้นไปทีละน้อยๆ จนพร้อมหมดทั้งกายและใจ


ผมว่าถ้าอินทรีย์มันยังไม่ได้ที่ ต่อให้อยากทนอย่างไรมันก็ทนบ่ได้ครับบ่ต้องห่วงมันถอยหนีเองแหละครับไม่เชื่อลองได้ครับ เช่น ตั้งใจจะนั่งกำหนดให้ได้ซัก 4 ชม ถ้าไม่เคยนั่งถึง 3 ชม คงจะยากมากๆ กระบวนการมันต้องเป็นไปดังท่านบอกอยู่แล้ว
กรัช เขียน:
จะต้องค่อยๆขยับปรับเวลาขึ้นไปทีละน้อยๆ


อ้างคำพูด:
ยกหนึ่งๆ คุณอายะใช้เวลาเจาะกี่นาทีครับ


ตอนที่บวชค่อยๆ เพิ่มจาก 1, 1.5, 2, 2.5, 3.5 จนมาอยู่ที่ 4 ชม
สึกมาแล้วก็แล้วแต่เวลาจะอำนวย


แก้ไขล่าสุดโดย อายะ เมื่อ 20 ต.ค. 2010, 09:19, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2010, 09:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อายะ เขียน:
กรัช เขียน:
นั่งจนก้นแตก ก็คงประมาณพระโสณะเดินจนเท้าแตก


ตรงนี้คงเห็นไม่ตรงกันคับท่านกรัชกาย เหล็กกำลังร้อนต้องรีบตี ดังที่หลวงตาว่าฟาดให้มันขาดสะบั้นไป

กรัช เขียน:
ควรรู้ความพอเหมาะพอดีฉลาดในเวทนา รู้โทษแต่ก็เห็นเห็นทางออก มิใช่กัดริมฝีปากจนปากเป็นแผล (เหมือนบางคน เคยเห็นมาแล้วครับ) จะต้องค่อยๆขยับปรับเวลาขึ้นไปทีละน้อยๆ จนพร้อมหมดทั้งกายและใจ


ผมว่าถ้าอินทรีย์มันยังไม่ได้ที่ ต่อให้อยากทนอย่างไรมันก็ทนบ่ได้ครับ บ่ต้องห่วงมันถอยหนีเองแหละครับไม่เชื่อลองได้ครับ เช่น ตั้งใจจะนั่งกำหนดให้ได้ซัก 4 ชม ถ้าไม่เคยนั่งถึง 3 ชม คงจะยากมากๆ กระบวนการมันต้องเป็นไปดังท่านบอกอยู่แล้ว

อ้างคำพูด:
จะต้องค่อยๆขยับปรับเวลาขึ้นไปทีละน้อยๆ


ยกหนึ่งๆ คุณอายะใช้เวลาเจาะกี่นาทีครับ



ไม่เป็นไรนี่ครับ จะเห็นต่างหรือเห็นตามถือว่าแลกเปลี่ยนมุมมองกัน

ธรรมชาติของเวทนา จะเป็นสุขเวทนาก็ดี ทุกขเวทนาก็ตาม เป็นไตรลักษณ์เหมือนธรรมอื่นๆทั้งหมด
คือเกิดๆดับๆตามธรรมดาของมันอยู่เองแล้ว ใครจะรู้เห็นหรือไม่ธรรมชาติมันก็เป็นอย่างนั้นมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว
แล้วผู้ปฏิบัติธรรมเห็นความเป็นธรรมดาของมันหรือยัง เห็นการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปของเวทนาและธรรมอื่นๆหรือยัง หรือว่ากัดฟันกัดริมฝีปาก ขมิบก้นตัวบิดไปบิดมา เมื่อประสบทุกข์เวทนาแบบว่าต้องการเอาชนะมัน เหมือนว่ามันมีตัวตน เรา เขาที่ต้องทำอย่างนั้น

ตรงนี้คงเห็นไม่ตรงกันคับท่านกรัชกาย เหล็กกำลังร้อนต้องรีบตี ดังที่หลวงตาว่าฟาดให้มันขาดสะบั้นไป

มุมมองกรัชกายว่า นี่ไม่ใช่การตีเหล็ก

ยกหนึ่งๆ คุณอายะใช้เวลาเจาะกี่นาทีครับ

ไม่เข้าใจประโยคคำถามนี้ครับ คุณอายุถามตนเองหรือจะถามกรัชกายแต่พิมพ์ผิดครับน่า

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2010, 09:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณอายะจงกรมบ้างไหมครับ ทำยังไงในแต่ละชั่วๆดังกล่าวนั่น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2010, 11:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อายะ เขียน:
ยกหนึ่งๆ คุณอายะใช้เวลาเจาะกี่นาทีครับ

ตอนที่บวชค่อยๆ เพิ่มจาก 1, 1.5, 2, 2.5, 3.5 จนมาอยู่ที่ 4 ชม
สึกมาแล้วก็แล้วแต่เวลาจะอำนวย


คุณอายะปฏิบัติธรรมเพื่ออะไรครับ คือว่าตนมีเป้าหมายในการทำอย่างนี้เพื่อจุดประสงค์ใดครับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 20 ต.ค. 2010, 11:40, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2010, 12:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 406

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
คุณอายะปฏิบัติธรรมเพื่ออะไรครับ คือว่าตนมีเป้าหมายในการทำอย่างนี้เพื่อจุดประสงค์ใดครับ


เพื่อนิพพาน
บรรเทาทุกข์(ผลพลอยได้ในชีวิตประจำวัน)

กรัชกาย เขียน:
คุณอายะจงกรมบ้างไหมครับ ทำยังไงในแต่ละชั่วๆดังกล่าวนั่น


เดิน: นั่ง -> 1:1, 1:2 , 1:3, 1: 4 แล้วแต่เวลาจะอำนวย

กรัชกาย เขียน:
มุมมองกรัชกายว่า นี่ไม่ใช่การตีเหล็ก


เคยได้ยินได้ฟังบางท่านแนะนำ
เช่น ปวดหัว, อาเจียน, ฯ ให้หยุดไปไหว้พระสวดมนต์ก่อนซักอาทิตย์ แล้วมาปฏิบัติใหม่
แทนที่จะกำหนดตามสภาวะปัจจุบันไป กลับหยุดปฏิบัติ ไม่แก้ไปตามสภาวะ
ซึ่งอาจเป็นสิ่งที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง เช่น หากทนได้อีกเพียง 10 นาที ก็อาจจะอยู่กับเวทนาได้ แต่ถอยเสียก่อน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2010, 15:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มี.ค. 2010, 10:10
โพสต์: 104

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนัตตาธรรม เขียน:

ตั้งสัจจะว่าจะนั่งภาวนาโต้รุ่ง เป็น อัตตกิลมถานุโยค
:b8: :b12: :b1:

ถือว่าขอความรู้กันนะค่ะ ติดใจประโยคข้างบน
ก่อนตรัสรู้พระองค์ ตั้งสัจจะว่า "แม้เลือดเนื้อเหือดแห้งไป เราก็จะไม่ลุกจากที่นี่"
อย่างนี้จัดเป็น อัตตกิลมถานุโยค หรือเปล่า แล้วแตกต่างกันอย่างไรบ้างค่ะ

สาธุคะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2010, 15:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
อายะเขียน
เพื่อนิพพาน
บรรเทาทุกข์ (ผลพลอยได้ในชีวิตประจำวัน)



ขอความเห็นเกี่ยวกับความหมายนิพพานที่พูดถึงสักนิดนะครับ ว่าต้องแบบไหน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2010, 16:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
อายะเขียน
เคยได้ยินได้ฟังบางท่านแนะนำ
เช่น ปวดหัว, อาเจียน, ฯ ให้หยุดไปไหว้พระสวดมนต์ก่อนซักอาทิตย์ แล้วมาปฏิบัติใหม่
แทนที่จะกำหนดตามสภาวะปัจจุบันไป กลับหยุดปฏิบัติ ไม่แก้ไปตามสภาวะ
ซึ่งอาจเป็นสิ่งที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง เช่น หากทนได้อีกเพียง 10 นาที ก็อาจจะอยู่กับเวทนาได้ แต่ถอยเสียก่อน


เรื่องที่คุณอายะพูดมาก็น่าฟังครับ แต่กรัชกายขอพูดเป็นกลางๆ เพราะว่าอยู่ในที่สาธารณะมีผู้ปฏิบัติกรรมฐานอยู่ด้วย ก็คือว่าผู้ที่ดูแลผู้ปฏิบัติธรรมหรือปฏิบัติกรรมฐาน ควรรู้เข้าใจเรื่องนี้ดีพอ เมื่อภาวะอย่างนี้อย่างนั้นปรากฏแก่เขา ควรทำอย่างไรจึงจะผ่านสภาวะได้ เรื่องนี้สำคัญมีผลกระทบแก่ผู้ปฏิบัติโดยตรง

ลิงค์นี้ได้รวบรวมสิ่งที่นักภาวนาประสบพบเจอแล้วยังไม่เห็นทางรอด

http://fws.cc/whatisnippana/index.php?board=3.0

ความจริงก็เป็นธรรมดาของมัน เมื่อกำหนดรู้ตามนั้น ตามที่ธรรมชาติมันเป็นเสียก็จบ คือมันเป็นยังไงกำหนดยังงั้น เพื่อที่จิตใจไม่ปรุงแต่งเป็นนั่นเป็นนี่วนอยู่

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2010, 17:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www




Resize of aa029.jpg
Resize of aa029.jpg [ 93.59 KiB | เปิดดู 3125 ครั้ง ]
tongue คุณพลอยเพชร กล่าว
ขอถามหน่อย เวลาปวด เอาจิตไปตามดู ตามรู้ ว่ารูปเป็นทุกข์เวทนา แล้วความปวดมันคงอยู่ สมมติซักสิบนาที ช่วงระหว่างนี้จิตเราก็ไปดูอย่างอื่นแล้ว ค่อยกลับมาดูความปวดเดิมอ๋อมันคงอยู่ ไปดูอย่างอื่นอีกกลับมาดูอ๋อมันดับไปแล้ว ถามว่าจิตเกิดดับกี่ครั้งคะ ไม่เข้าใจคะ แล้วจิตที่ละไปดูอย่างอื่นเป็นจิตตัวใหม่ใช่มั้ยคะ แล้วจิตที่กลับไปดูความปวดที่เดิมนั้นมันจิตตัวเดิมที่ดูความปวดหรือจิตตัว ใหม่คะ

อนัตตาธรรม ตอบ

เรื่องที่ถามนี้ คุณพลอยเพชรจะต้องมีหลักหรือรู้หลักสำคัญของวิปัสสนาภาวนา หรือการเจริญสติปัญญาว่า
ต้องยึดปัจจุบันอารมณ์เป็นที่ระลึกของสติ เป็นที่ รู้ และสังเกต พิจารณาของจิต


การที่ สติ ปัญญา ย้ายไป เปลี่ยนมา รู้และสังเกตตามอารมณ์ปัจจุบัน เป็นวิปัสสนาภาวนา อารมณ์ใหม่ก็เป็นจิตดวงใหม่อยู่เสมอ

การเกิดดับของจิต คล้ายดั่งการไหลของน้ำในแม่น้ำ น้ำแต่ละหยดที่ไหลผ่านหน้าเราไป เป็นน้ำหยดใหม่อยู่เสมอ บ่ห่อนไหลกลับคืน

ความปวดครั้งแรก กลับความปวดครั้งหลัง เป็นคนละอันกัน แต่เป็นเวทนา ปวด ชื่อเดียวกันเท่านั้น
การจะรู้ว่าจิตเกิด ดับ กี่ครั้ง ใน 1 อารมณ์นั้น ต้องไปศึกษาอภิธรรมดูนะครับ

จิตที่ไปดูอย่างอื่นเป็นจิตตัวใหม่

จิตที่กลับไปดูความปวด ก็เป็นจิตดวงใหม่ ความปวดก็เป็นความปวดอันใหม่ อย่างนี่เสมอไป

เหมือนดังเวลา ปี เดือน วัน ชั่วโมง นาที วินาที ที่ผ่านเราไป ไม่มีหวนกลับคืนฉันนั้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2010, 17:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www




Resize of aa031.jpg
Resize of aa031.jpg [ 93.65 KiB | เปิดดู 3119 ครั้ง ]
tongue น้องต้อยตีวิด สงสัย
ถือว่าขอความรู้กันนะค่ะ ติดใจประโยคข้างบน
ก่อนตรัสรู้พระองค์ ตั้งสัจจะว่า "แม้เลือดเนื้อเหือดแห้งไป เราก็จะไม่ลุกจากที่นี่"
อย่างนี้จัดเป็น อัตตกิลมถานุโยค หรือเปล่า แล้วแตกต่างกันอย่างไรบ้างค่ะ

อนัตตาธรรม ตอบ

ตอนบำเพ็ญทุกกรกิริยา เป็นอัตตกิลมมัตถานุโยค

ตอนอธิษฐาน ตั้งสัจจะว่า "แม้เลือดเนื้อเหือดแห้งไป เราก็จะไม่ลุกจากที่นี่" เป็นสัจจะ อธิษฐานและวิริยะบารมี

ทั้งนี้เพราะ พระพุทธองค์ทรงประมาณกำลังและรู้กำลังของพระองค์แน่นอนแล้ว จึงทรงตั้งสัจจะอย่างนั้นได้

คนธรรมดาสามัญ ไม่เคยนั่งปฏิบัติภาวนา พอเริ่มนั่งปั๊บ อธิษฐานอย่างที่ว่า ก็เดี้ยงลูกเดียว เพราะไม่รู้จักประมาณตน เห็นชัางขี้ก็ขี้ตามช้าง อย่างนี้เป็น อัตตกิลมมัตถานุโยค

แต่ผู้ที่บำเพ็ญเพียรภาวนา ฝึกหัดวิปัสสนามาเป็นเวลานาน รู้กำลังตนเองดีแล้ว วันหนึ่งเกิดแรงบันดาลใจอย่างแรงกล้า เพราะสถานการณ์ ธาตุขันธ์และสิ่งวดล้อมอำนวยให้ จึงตั้งจิตอธิษฐานเช่น คืนวันวิสาขะบูชานี้ข้าพเจ้าจะทำภาวนาโต้รุ่ง อย่างนี้เป็นวิริยะเป็นสัมมาวายามะ

การทรมาณตน บังคับ กดดันธรรมชาติให้เป็นไปตามใจตนปารถนา ถือเป็นอัตกิลมถานุโยคทั้งสิ้น

การเอาสติปัญญา มาเฝ้าดู เฝ้ารู้ เฝ้าสังเกต พิจารณา ศึกษาธรรมชาติของกายใจ โดยไม่ไปยุ่ง ไม่ไปแทรกแซงกระบวนการตามธรรมชาติของกายและจิต จนเห็นความจริง ถอนความเห็นผิด ยึดผิด ว่าเป็น อัตตา ตัวกู ของกู เสียได้ จึงจะถือเป็นมัชฌืมาปฏิปทา
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ต.ค. 2010, 08:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอถามความเห็นท่านอนัตตาธรรมด้วยครับ

แล้วคำว่า นิพพาน ตามความเข้าใจของท่านอนัตตาฯเล่าครับ เป็นยังไงต้องไง จึงเรียกว่า นิพพาน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ต.ค. 2010, 08:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www




Resize of aa034.jpg
Resize of aa034.jpg [ 92.38 KiB | เปิดดู 3090 ครั้ง ]
tongue ท่านกรัชกาย ถาม
ขอถามความเห็นท่านอนัตตาธรรมด้วยครับ
แล้วคำว่า นิพพาน ตามความเข้าใจของท่านอนัตตาฯเล่าครับ เป็นยังไงต้องไง จึงเรียกว่า นิพพาน

อนัตตาธรรม ตอบ

นิพพาน เป็น 1 ไม่มี 2 ไม่มีคู่ เป็นปรมัตถธรรม เป็นอมตะธรรม เป็นที่สิ้นสุดความเวียนว่ายตายเกิด เป็นอสังขตะธรรม ที่สิ้นสุดแห่งความปรุงแต่ง เป็นที่หมดสิ้นทุกข์ เป็นสุขอย่างยิ่ง

ไม่อาจบรรยายให้รู้ด้วยบัญญัติ คำพูด รู้ได้ด้วยใจ ใครถึง คนนั้นรู้

ทางไปสู่นิพพานโดยคำสอนจากพุทธโอษฐ์์ มี 21.000 วิธี ดังมีแสดงไว้ในพระไตรปิฎก
วิธีมาตรฐานที่พระพุทธเจ้าทรงรับรองคือ มัชฌิมาปฏิปทา มรรค มีองค์ 8 ปัญญา ศีล สมาธิ
รวมเรียก "วิปัสสนาภาวนา" มีสอนเฉพาะในพุทธศาสนา เป็นเอกลักษณ์ของพุทธศาสนา
พุทธดำรัสรับรองกล่าวว่า

"สัมมาวิหาเรยุง อสุญโญโลโก อรหันเตหิ" ตราบใดที่ยังมีผู้ปฏิบัติตามสัมมาทั้ง 8 ข้อ (มรรค 8) ตราบนั้นโลกนี้จักไม่ว่างจากพระอรหันต์

การเจริญมรรค 8 หรือวิปัสสนาภาวนาที่ย่อลงมาให้สั้นและง่ายที่สุด คือ การเจริญสติ ปัญญา เฝ้าดู เฝ้ารู้ เฝ้าสังเกต พิจารณาอยู่ที่ "ปัจจุบันธรรม หรือ ปัจจุบันอารมณ์"

ปัจจุบันอารมณ์ เป็นที่รวมของโพธิปักขิยธรรมทั้ง 37 ประการ

โพธิปักขิยะธรรม ทั้ง 37 ประการ เป็นปีก เป็นการติดปีกให้กับผู้ปฏิบัติธรรม นำพาบินเข้าสู่นิพพาน

เพียงพอไหมครับ ท่านกรัชกาย เกินคำถามไปมากหรือเปล่าครับ
ขอให้เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปทุกท่านทุกคนเทอญ

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 49 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 16 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร