ลานธรรมจักร
http://dhammajak.net/forums/

ความหมาย ทุกรกิริยา หรือ อัตตกิลมถานุโยค
http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=34878
หน้า 1 จากทั้งหมด 4

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 06 ต.ค. 2010, 17:07 ]
หัวข้อกระทู้:  ความหมาย ทุกรกิริยา หรือ อัตตกิลมถานุโยค

ความหมายคำว่า ทุกรกิริยา

1.ทรงกดพระทนต์ด้วยพระทนต์ กดพระตาลุด้วยพระชิวหาไว้ให้แน่น จนพระเสโทไหลออกจากพระกัจฉะ ทรงได้รับทุกขเวทนาอันกล้า เหมือนมีใครมาบีบคอไว้แน่น แต่ในที่สุดก็ทรงเห็นว่าไม่ใช่ทาง จึงเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น

2.ทรงผ่อนกลั้นอัสสาสะปัสสาสะ เมื่อลมเดินทางช่องพระนาสิกและช่องพระโอษฐ์ไม่ได้สะดวก ก็เกิดเสียงดังอู้ทางช่องพระกรรณทั้งสองข้าง ทำให้เสียดพระอุทร ร้อนพระวรกายเป็นกำลัง แต่ก็ยังไม่สำเร็จ จึงทรงเปลี่ยนเป็นวิธีอื่น

3.ทรงอดพระกระยาหาร โดยเสวยวันละเล็กละน้อย จนไม่เสวยอะไรเลย จนพระวรกายเหี่ยวแห้ง พระฉวีวรรณเศร้าหมอง พระอัฐิปรากฏทั่วพระวรกาย เมื่อลูบพระวรกาย เส้นพระโลมาร่วงติดมือมา มีพระกำลังถดถอย จะเสด็จไปไหนก็ซวนเซล้ม แต่ก็ยังไม่สำเร็จอีก ทรงทำถึงขั้นนี้นับว่าถึงที่สุดแล้ว ก็ยังไม่บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณที่ทรงมุ่งหวัง

ไฟล์แนป:
200px-%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%B22.jpg
200px-%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%B22.jpg [ 12.45 KiB | เปิดดู 9483 ครั้ง ]

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 06 ต.ค. 2010, 17:13 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความหมาย ทุกรกิริยา หรือ อัตตกิลมถานุโยค

“ภิกษุทั้งหลาย ที่สุดสองอย่างนี้ บรรพชิตไม่ควรเสพ กล่าวคือการหมกมุ่นด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย

อันเป็นการชั้นต่ำ ชั้นตลาด ของปุถุชน มิใช่อริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์อย่างหนึ่ง และการ

ประกอบความลำบากเดือดร้อนแก่ตน อันเป็นทุกข์ มิใช่อริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์อย่างหนึ่ง”

:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

1.กามสุขัลลิกานุโยค การหมกมุ่นอยู่ด้วยกามสุข

2. อัตตกิลมถานุโยค การประกอบความลำบากเดือดร้อนแก่ตนเอง

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 06 ต.ค. 2010, 17:50 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความหมาย ทุกรกิริยา หรือ อัตตกิลมถานุโยค

“ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว ซึ่งทางสายกลางที่ไม่ข้องแวะที่สุดสองอย่างนั้น อันเป็นทางที่สร้างจักษุ (การ

เห็น) สร้างญาณ (การรู้) เป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน”

“ก็ทางสายกลางนั้น เป็นไฉน ? ทางนั้นคือมรรคาอันเป็นอริยะ มีองค์ประกอบ 8 ประการ ได้แก่

สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ

สัมมาสมาธิ”

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 06 ต.ค. 2010, 17:52 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความหมาย ทุกรกิริยา หรือ อัตตกิลมถานุโยค

ทางสายกลางที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทานี้ มีจุดหมายที่แน่นอนคือความดับทุกข์หรือภาวะหลุดพ้นเป็น

อิสระไร้ปัญหา

มรรค คือ ระบบความคิดและการกระทำหรือการดำเนินชีวิตที่ตรงจุดพอเหมาะพอดีให้ได้ผลสำเร็จตาม

เป้าหมายคือความดับทุกข์นี้ จึงเป็นทางสายกลาง หรือ มัชฌิมาปฏิปทา

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 06 ต.ค. 2010, 17:56 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความหมาย ทุกรกิริยา หรือ อัตตกิลมถานุโยค

ทางดำเนินชีวิตที่เป็นสายกลางนั้น นอกจากไม่เอียงสุดทางวัตถุ จนเป็นทาสของวัตถุหรือขึ้นต่อวัตถุ

สิ้นเชิงแล้ว ก็ไม่เอียงสุดทางจิตด้วย คือมิได้เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่าง ขึ้นต่อการบำเพ็ญเพียรและผล

สำเร็จทางจิตฝ่ายเดียว จนปล่อยปละละเลยไม่เอาใจใส่สภาพทางวัตถุและร่างกาย กลายเป็นการ

ประกอบความลำบากเดือนร้อนแก่ตนเอง

ทางดำเนินชีวิตนี้มีลักษณะไม่เบียนเบียนตนเองและผู้อื่น เป็นไปด้วยการรู้เข้าใจสภาพที่เป็นอยู่ตามที่

เป็นจริงทั้งทางวัตถุและทางจิตใจ แล้วปฏิบัติด้วยความรู้เท่าทัน พอสมแก่เหตุปัจจัย และสอดคล้อง

พอเหมาะพอดี ที่จะได้ผลตามจุดหมาย มิใช่ทำพอสักว่าจะให้ได้เสพเสวยเวทนาอันอร่อยของอามิส

หรือสักว่าถือตามๆ กันมา โดยสำคัญมั่นหมายว่าจะต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้โดยงมงาย


หากผู้ใดจะกล่าวอ้างถึงทางสายกลาง หรือเดินสายกลาง อย่างหนึ่งอย่างใด ก็พึงถามท่านผู้นั้นว่าเขา

ได้เข้าใจสภาพปัญหาที่มีอยู่และจุดหมายของทางสายกลางที่จะเดินนั้นแล้วหรือไม่

เจ้าของ:  อายะ [ 19 ต.ค. 2010, 09:38 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความหมาย ทุกรกิริยา หรือ อัตตกิลมถานุโยค

ท่านกรัชกายครับ
นั่งภาวนาแล้วปวด แล้วอดทนกำหนดเวทนา เป็นการทรมานตนให้ลำบากหรือเปล่าครับ
ช่วยวิสัสชนาให้หายสงสัยทีครับ

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 19 ต.ค. 2010, 09:57 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความหมาย ทุกรกิริยา หรือ อัตตกิลมถานุโยค

อยู่ในเงื่อนไขนี้ไหมครับ

1.ทรงกดพระทนต์ด้วยพระทนต์ กดพระตาลุด้วยพระชิวหาไว้ให้แน่น จนพระเสโทไหลออกจากพระกัจฉะ ทรงได้รับทุกขเวทนาอันกล้า เหมือนมีใครมาบีบคอไว้แน่น แต่ในที่สุดก็ทรงเห็นว่าไม่ใช่ทาง จึงเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น

2.ทรงผ่อนกลั้นอัสสาสะปัสสาสะ เมื่อลมเดินทางช่องพระนาสิกและช่องพระโอษฐ์ไม่ได้สะดวก ก็เกิดเสียงดังอู้ทางช่องพระกรรณทั้งสองข้าง ทำให้เสียดพระอุทร ร้อนพระวรกายเป็นกำลัง แต่ก็ยังไม่สำเร็จ จึงทรงเปลี่ยนเป็นวิธีอื่น

3.ทรงอดพระกระยาหาร โดยเสวยวันละเล็กละน้อย จนไม่เสวยอะไรเลย จนพระวรกายเหี่ยวแห้ง พระฉวีวรรณเศร้าหมอง พระอัฐิปรากฏทั่วพระวรกาย เมื่อลูบพระวรกาย เส้นพระโลมาร่วงติดมือมา มีพระกำลังถดถอย จะเสด็จไปไหนก็ซวนเซล้ม แต่ก็ยังไม่สำเร็จอีก ทรงทำถึงขั้นนี้นับว่าถึงที่สุดแล้ว ก็ยังไม่บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณที่ทรงมุ่งหวัง

เจ้าของ:  อายะ [ 19 ต.ค. 2010, 10:11 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความหมาย ทุกรกิริยา หรือ อัตตกิลมถานุโยค

น่าจะไม่อยู่ในเงื่อนไขนะครับเพราะที่ท่านยกตัวอย่างของพระพุทธองค์มาเป็นการจงใจให้เวทนาเกิด
แต่ที่ผมถามคือตอนแรกนั่งไปก็ไม่ได้ปวด แต่พอนั่งไปสักพักมันก็ปวด
คำถามคือ พอปวดแล้วจะเลิก หรือทนต่อ
ถ้าเลิกมันไม่เป็นการหนีเวทนาหรือ เป็น กามสุขัลลิกานุโยค เอาแต่สุขอย่างเดียว
ถ้าทนมันไม่เป็นการทรมานตนให้ลำบาก หรือ อัตตกิลมถานุโยค
ท่านกรัชกายช่วยขยายความทีนะครับ

เจ้าของ:  อนัตตาธรรม [ 19 ต.ค. 2010, 10:32 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความหมาย ทุกรกิริยา หรือ อัตตกิลมถานุโยค

tongue คุณอายะพูด ท่านกรัชกายครับ
นั่งภาวนาแล้วปวด แล้วอดทนกำหนดเวทนา เป็นการทรมานตนให้ลำบากหรือเปล่าครับ
ช่วยวิสัสชนาให้หายสงสัยทีครับ


ความเห็น

นั่งภาวนาแล้วเจอปวด เป็นการพบทุกขสัจจะ

อดทนกำหนดความปวด เป็นสมถะ และการฝึกสติกับขันติ

อดทน สังเกต พิจารณาความปวด เป็น วิปัสสนาภาวนา

ตั้งสัจจะว่าจะนั่งภาวนาโต้รุ่ง เป็น อัตตกิลมถานุโยค
:b8: :b12: :b1:

ไฟล์แนป:
Resize of aa035.jpg
Resize of aa035.jpg [ 92.05 KiB | เปิดดู 9396 ครั้ง ]

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 19 ต.ค. 2010, 12:58 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความหมาย ทุกรกิริยา หรือ อัตตกิลมถานุโยค

ทำความเข้าใจข้อนี้กันก่อน

อิริยาบถ บังทุกขลักษณะ

2. ท่านกล่าวว่าเพราะมิได้มนสิการความบีบคั้นกดดันที่มีอยู่ตลอดเวลา ก็ถูก อิริยาบถ คือความยักย้าย

เคลื่อนไหว ปิดบังไว้ ทุกขลักษณะจึงไม่ปรากฏ


ภาวะที่ทนอยู่มิได้ หรือภาวะที่คงสภาพเดิมอยู่มิได้ หรือ ภาวะที่ไม่อาจคงอยู่ในสภาพเดิมได้ ด้วยมี

แรงบีบคั้นกดดันขัดแย้งเร้าอยู่ภายในส่วนประกอบต่างๆนั้น จะถึงระดับที่ปรากฏแก่สายตาหรือความรู้สึก

ของคน มักจะต้องกินเวลาระยะหนึ่ง แต่ในระหว่างนั้น ถ้ามีการคืบเคลื่อน ยักย้าย หรือ ทำให้แปรรูป

เป็นอย่างอื่นไปเสียก่อนก็ดี สิ่งที่ถูกสังเกตเคลื่อนย้ายพ้นจากผู้สังเกตไปเสียก่อน หรือผู้สังเกตแยก

พรากจากสิ่งที่ถูกสังเกตไปเสียก่อนก็ดี ภาวะที่บีบคั้น กดดัน ขัดแย้งนั้น ไม่ทันปรากฏให้เห็น

ปรากฏการณ์ส่วนใหญ่มักเป็นเช่นนี้ ทุกขลักษณะ จึงไม่ปรากฏ


ตัวอย่างง่ายๆ ก็คือ ในร่างกายของมนุษย์นี้แหละไม่ต้องรอให้ถึงขั้นชีวิตแตกดับดอก แม้ในชีวิตประจำ

วันนี้เองความบีบคั้น กดดัน ขัดแย้งก็มีอยู่ตลอดเวลา ทั่วองคาพยพ จนทำให้มนุษย์ไม่อาจอยู่นิ่งเฉย

ในท่าเดียวได้ถ้าเราอยู่ หรือต้องอยู่ในท่าเดียวนานมากๆ เช่น ยืนอย่างเดียว นั่งอย่างเดียว เดินอย่าง

เดียว นอนอย่างเดียว ความบีบคั้น กดดันตามสภาวะจะค่อยๆเพิ่มมากขึ้นๆ จนถึงระดับที่เกิดเป็นความ

รู้สึกบีบคั้น กดดัน ที่คนทั่วไปเรียกว่าทุกข์ เช่น เจ็บ ปวด เมื่อยจนในที่สุดก็จะทนไม่ไหวและต้องยักย้าย

เปลี่ยน ไปสู่ท่าอื่นที่เรียกว่า อิริยาบถอื่น เมื่อความบีบคั้น กดดัน อันเป็นทุกข์ตามสภาวะนั้นสิ้นสุดลง

ความบีบคั้น กดดัน ที่เรียกว่า ความรู้สึกทุกข์ (ทุกขเวทนา) ก็หายไปด้วย

(ในตอนที่ความรู้สึกทุกข์หายไปนี้ มักจะมีความรู้สึกสบาย ที่เรียกว่า ความสุขเกิดขึ้นมาแทนด้วย

แต่อันนี้เป็นเพียงความรู้สึกเท่านั้น ว่าโดยสภาวะแล้ว มีแต่ความทุกข์หมดไปอย่างเดียว เข้าสู่ภาวะ

ปราศจากทุกข์)

ในความเป็นอยู่ประจำวันนั้น เมื่อเราอยู่ในท่าหนึ่ง หรืออิริยาบถหนึ่งนานๆ พอจะรู้สึกปวดเมื่อยเป็นทุกข์

เราก็ชิงเคลื่อนไหว เปลี่ยนไปสู่ท่าอื่น หรืออิริยาบถอื่นเสีย หรือเรามักจะเคลื่อนไหว เปลี่ยนท่า เปลี่ยน

อิริยาบถอยู่เสมอ จึงหนีรอด จากความรู้สึกทุกข์ไปได้ เมื่อไม่รู้สึกทุกข์ก็เลยพลอยมองข้าม ไม่เห็น

ความทุกข์ที่เป็นความจริงตามสภาวะ ไปเสียด้วย ท่านจึงว่าอิริยาบถ บังทุกขลักษณะ

http://fws.cc/whatisnippana/index.php?topic=495.0

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 19 ต.ค. 2010, 13:10 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความหมาย ทุกรกิริยา หรือ อัตตกิลมถานุโยค

รูปภาพ


คุณอายะ และ คุณอนัตตาธรรมเคยเห็นนายช่างไม้หรือช่างเหล็กเจาะไม้หรือเหล็กไหม หรือ เคยลงมือเจาะเองไหมครับ

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 19 ต.ค. 2010, 13:49 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความหมาย ทุกรกิริยา หรือ อัตตกิลมถานุโยค

รูปภาพ

ดอกสว่านขนาดต่างๆ

เจ้าของ:  ploypet [ 19 ต.ค. 2010, 14:00 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความหมาย ทุกรกิริยา หรือ อัตตกิลมถานุโยค

อนัตตาธรรม เขียน:
tongue คุณอายะพูด ท่านกรัชกายครับ
นั่งภาวนาแล้วปวด แล้วอดทนกำหนดเวทนา เป็นการทรมานตนให้ลำบากหรือเปล่าครับ
ช่วยวิสัสชนาให้หายสงสัยทีครับ


ความเห็น

นั่งภาวนาแล้วเจอปวด เป็นการพบทุกขสัจจะ

อดทนกำหนดความปวด เป็นสมถะ และการฝึกสติกับขันติ

อดทน สังเกต พิจารณาความปวด เป็น วิปัสสนาภาวนา

ตั้งสัจจะว่าจะนั่งภาวนาโต้รุ่ง เป็น อัตตกิลมถานุโยค
:b8: :b12: :b1:


ขอถามหน่อย เวลาปวด เอาจิตไปตามดู ตามรู้ ว่ารูปเป็นทุกข์เวทนา แล้วความปวดมันคงอยู่ สมมติซักสิบนาที ช่วงระหว่างนี้จิตเราก็ไปดูอย่างอื่นแล้ว ค่อยกลับมาดูความปวดเดิมอ๋อมันคงอยู่ ไปดูอย่างอื่นอีกกลับมาดูอ๋อมันดับไปแล้ว ถามว่าจิตเกิดดับกี่ครั้งคะ ไม่เข้าใจคะ แล้วจิตที่ละไปดูอย่างอื่นเป็นจิตตัวใหม่ใช่มั้ยคะ แล้วจิตที่กลับไปดูความปวดที่เดิมนั้นมันจิตตัวเดิมที่ดูความปวดหรือจิตตัวใหม่คะ :b10:

เจ้าของ:  อายะ [ 19 ต.ค. 2010, 14:10 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความหมาย ทุกรกิริยา หรือ อัตตกิลมถานุโยค

กรัชกาย เขียน:
คุณอายะ และ คุณอนัตตาธรรมเคยเห็นนายช่างไม้หรือช่างเหล็กเจาะไม้หรือเหล็กไหม หรือ เคยลงมือเจาะเองไหมครับ


ผมเจาะอย่างนี้ ครับท่านกรัชกาย
เจาะแบบครบยก นั่งกำหนดจนครบเวลาที่ตั้งใจไว้ แม้เหมือนมีดอกสว่านมาไชก็ไม่หนี
เจาะจนหมดม้วน นั่งกำหนดจนเวทนาหายไป

ที่ถามท่านกรัชกายนี่ก็อยากให้ขยายความ การทรมานตนกับการหลงไหลในกาม ที่ไปเทียบเคียงการปฏิบัติ เพราะผู้ปฏิบัติส่วนมากมักเข้าเกียร์รีเวิร์ส เมื่อเจอเวทนา แล้วบอกว่าจะได้ไม่เป็นการทรมานตนให้ลำบาก เช่น
อ้างคำพูด:
ตั้งสัจจะว่าจะนั่งภาวนาโต้รุ่ง เป็น อัตตกิลมถานุโยค
เพราะไม่เคยทำ ไม่คิดจะทำ คิดจะทำแต่ทำไม่ได้ เมื่อทำไม่ได้ซักทีก็เลยคิดว่าเป็นอัตตกิลมถานุโยค
ก็อยากรบกวนให้ท่านกรัชกายช่วยวิสสัชนาที่ว่า


อ้างคำพูด:
คำถามคือ พอปวดแล้วจะเลิก หรือทนต่อ
ถ้าเลิกมันไม่เป็นการหนีเวทนาหรือ เป็น กามสุขัลลิกานุโยค เอาแต่สุขอย่างเดียว
ถ้าทนมันไม่เป็นการทรมานตนให้ลำบาก หรือ อัตตกิลมถานุโยค


ยกตัวอย่างหลวงตา

หลวงตามหาบัว เขียน:
กิเลสตัวเดียวนี้ละมันสำคัญมากมันทำให้ยุ่งเหยิงวุ่นวาย ฟาดให้มันขาดสะบั้นลงไปทีนี้เป็นคนว่างงาน ไม่มีงานทำ ฆ่ากิเลสเสร็จแล้วว่างเลย ว่างงาน ถ้ากิเลสยังไม่หมดจากใจแล้วไม่ว่างงาน ยุ่งมาก ฟาดจนก้นแตกเลยเรา นั่งภาวนาจนก้นแตก เอามันปานนั้น ทำเหยาะๆแหยะๆ มันไม่เห็นผล ทำอะไรเอาจริงเอาจังมากแล้วก็เห็นผลขึ้นมา อย่างว่านั่งภาวนาจนก้นแตก ไม่เอาจริงเอาจังมันจะก้นแตกเหรอ ฟาดมันตลอดรุ่งเลยนะ ซัดตลอดรุ่งๆ เลย เว้นสองคืนสามคืนนั่งตลอดรุ่ง สุดท้ายก้นแตก เอามันขนาดนั้นละ

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 19 ต.ค. 2010, 14:48 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความหมาย ทุกรกิริยา หรือ อัตตกิลมถานุโยค

การบำเพ็ญเพียรทางจิต เพื่อให้เกิดความรู้เข้าใจสัจธรรมของชีวิตหรือของกายกับใจหรือของรูปธรรมกับนามธรรม พึงค่อยทำค่อยปรับให้พร้อมทั้งสองด้านคือทั้งกายและทั้งจิตใจ จึงจะสำเร็จสมประสงค์

หากเพียรหย่อนไปหรือแรงไปก็ไม่สำเร็จผล ตัวอย่างพระโสณะกับพระอานนท์ พระโสณะจงกรมจนเท้าแตกทั้งสองข้างก็ไม่ประสบความสำเร็จ พระอานนท์ก็เช่นกันเพียรแรงไปก็ไม่ประสบผล เพราะว่าอินทรีย์ไม่สม่ำเสมอกัน

ดังนั้น ขณะโยคีทำความเพียรพึงรู้ว่า ขณะนั้นๆอินทรีย์ตัวใดตึงตัวใดหย่อนแล้วฉลาดปรับ เหมือนกับการช่างไม้ผู้ฉลาดพึงกำหนดว่า ไม้หนาเท่านี้ควรใช้ดอกสว่านขนาดนี้เจาะ แม้กำหนดรู้อย่างนั้นแล้วขณะที่ตนกำลังเจาะอยู่ก็รู้จักผ่อนหนักผ่อนเบา กดบ้างผ่อนบ้าง ครั้นรู้ว่า ใกล้ทะลุแล้วกดเต็มกำลัง จึงปลอดภัยดอกสว่านก็ไม่หัก งานก็สำเร็จเรียบร้อยสมดังเจตนา

ส่วนในรายที่ความเพียรหย่อนยานไม่จำต้องพูดถึง

และแล้วที่ว่า

อ้างคำพูด:
หลวงตามหาบัว เขียน:
กิเลสตัวเดียวนี้ละมันสำคัญมากมันทำให้ยุ่งเหยิงวุ่นวาย ฟาดให้มันขาดสะบั้นลงไปทีนี้เป็นคนว่างงาน ไม่มีงานทำ ฆ่ากิเลสเสร็จแล้วว่างเลย ว่างงาน ถ้ากิเลสยังไม่หมดจากใจแล้วไม่ว่างงาน ยุ่งมาก ฟาดจนก้นแตกเลยเรา นั่งภาวนาจนก้นแตก เอามันปานนั้น ทำเหยาะๆแหยะๆ มันไม่เห็นผล ทำอะไรเอาจริงเอาจังมากแล้วก็เห็นผลขึ้นมา อย่างว่านั่งภาวนาจนก้นแตก ไม่เอาจริงเอาจังมันจะก้นแตกเหรอ ฟาดมันตลอดรุ่งเลยนะ ซัดตลอดรุ่งๆ เลย เว้นสองคืนสามคืนนั่งตลอดรุ่ง สุดท้ายก้นแตก เอามันขนาดนั้นละ


นั่งจนก้นแตก ก็คงประมาณพระโสณะเดินจนเท้าแตก :b1: :b32:

หน้า 1 จากทั้งหมด 4 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/