วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 05:53  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 40 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ย. 2010, 22:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2010, 07:19
โพสต์: 89


 ข้อมูลส่วนตัว


การทำลายสักกายทิฐิของเสขะบุคคล ต่างกับ ปุถุชน อย่างไร?


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ย. 2010, 23:27 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


ปุถุชน..ชนที่ยังติดอยู่ในโลก
อริยะบุคคล..ตั้งแต่..โสดา..สกิทาคา..อนาคามี..ถึงอรหันตผล
เสขะบุคคล..ตั้งแต่..โสดา..สกิทาคา..อนาคามี..ถึง..อรหันตมรรค
อเสขะบุคคล..หมายถึง..อรหันตผล

ครูบาอาจารย์เคยกล่าวใว้ว่า..

ลักษณะ..การละสักกายะทิฐิ..ของโสดา..สกิทาคามี..มีอารมณ์ใจระลึกถึงความตายเป็นอารมณ์..เสมอ

ลักษณะ..การละสักกายะทิฐิ..ของอนาคามี..มีอารมณ์ใจระลึกเห็นร่างกายเป็นของสกปรกเน่าเหม็น..เป็นของปฏิกูล..เสมอ

ลักษณะ..การละสักกายะทิฐิ..ของอรหันต์เจ้า..มีอารมณ์ใจระลึกเห็นว่าร่างกายนี้ไม่ใช่เรา..เราไม่มีในกายนี้..เราไม่ใช่ขันธ์ 5...ขันธ์ 5 ไม่ใช่เรา

ลักษณะ..การละสักกายะทิฐิ..ของปุถุชน..ไม่มี..มีแต่ความเห็นว่า..ร่างกายนี้เป็นเรา..นี้คือเรา..นี้คือของๆเรา..อยู่เสมอ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ย. 2010, 23:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
การทำลายสักกายทิฐิของเสขะบุคคล ต่างกับ ปุถุชน อย่างไร?

ขอปูพื้นเสริมคุณกบฯ เพื่อเพิ่มความเข้าใจสำหรับผู้อ่านที่พึ่งเริ่มต้นสักเล็กน้อยครับ (แก่วัดข้ามได้เลยครับ :b12: ) :b46: :b46: :b46:

ระดับขั้นการพัฒนาของบุคคลในทางพุทธ เริ่มจากปุถุชน ซึ่งแปลว่าคนที่หนาแน่นไปด้วยกิเลส ไปยังเสขบุคคล ซึ่งแปลว่า บุคคลที่ยังต้องศึกษาอยู่ ได้แก่ โสดาบัน, สกทาคามี, และอนาคามี ไปสิ้นสุดที่ อเสขบุคคล ซึ่งแปลว่า บุคคลผู้ไม่ต้องศึกษาแล้ว ได้แก่ พระอรหันต์ :b8: :b46: :b41:

การทำลายสักกายทิฏฐิ เริ่มตั้งแต่เสขบุคคลขั้นแรก คือโสดาบัน และคงอยู่ (หมายถึง การไม่มีซึ่งสักกายทิฏฐิ แต่ระดับการเห็นแจ้งจะต่างกันบ้างในแต่ละขั้น) ไปจนถึงขั้นอรหันต์ ซึ่งเป็นอเสขบุคคล :b48: :b45:

ความหมาย :
สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน, ความเห็นเป็นเหตุถือตัวตน เช่น เห็นรูปเป็นตน เห็นเวทนาเป็นตน เป็นต้น (พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต))

ว่าด้วยเหตุเกิดสักกายทิฏฐิ
[๑๘๘] ภิกษุนั้น ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า แล้ว
ได้ทูลถามปัญหาที่ยิ่งขึ้นไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สักกายทิฏฐิมีได้อย่างใดหนอ?
พ. ดูกรภิกษุ ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ยังมิได้สดับ เป็นผู้ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า ไม่ฉลาด
ในอริยธรรม ไม่ได้รับแนะนำในอริยธรรม เป็นผู้ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในสัปปุริสธรรม
ไม่ได้รับแนะนำในสัปปุริสธรรม ย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตน ย่อมเห็นตนมีรูป ย่อมเห็นรูป
ในตน ย่อมเห็นตนในรูป ย่อมเห็นเวทนา โดยความเป็นตน ย่อมเห็นตนมีเวทนา ย่อมเห็น
เวทนาในตน ย่อมเห็นตนในเวทนา ย่อมเห็นสัญญา โดยความเป็นตน ย่อมเห็นตนมีสัญญา
ย่อมเห็นสัญญาในตน ย่อมเห็นตนในสัญญา ย่อมเห็นสังขาร โดยความเป็นตน ย่อมเห็น
ตนมีสังขาร ย่อมเห็นสังขารในตน ย่อมเห็นตนในสังขาร ย่อมเห็นวิญญาณ โดยความเป็นตน
ย่อมเห็นตนมีวิญญาณ ย่อมเห็นวิญญาณในตน ย่อมเห็นตนในวิญญาณ
. ดูกรภิกษุ สักกาย-
*ทิฏฐิมีได้ด้วยอาการเช่นนี้แล.
ว่าด้วยเหตุจะไม่มีสักกายทิฏฐิ
[๑๘๙] ภิกษุนั้น ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า
แล้วได้ทูลถามปัญหาที่ยิ่งขึ้นไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สักกายทิฏฐิย่อมไม่มีได้อย่างไร?
พ. ดูกรภิกษุ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ผู้ได้สดับแล้ว เป็นผู้ได้เห็นพระอริยเจ้า
ฉลาดในอริยธรรม ได้รับแนะนำแล้วเป็นอย่างดีในอริยธรรม เป็นผู้ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดใน
สัปปุริสธรรม ได้รับแนะนำแล้วเป็นอย่างดีในสัปปุริสธรรม ย่อมไม่เห็นรูป โดยความเป็นตน
ไม่เห็นตนมีรูป ไม่เห็นรูปในตน หรือไม่เห็นตนในรูป ย่อมไม่เห็นเวทนา โดยความเป็นตน
ไม่เห็นตนมีเวทนา ไม่เห็นเวทนาในตน หรือไม่เห็นตนในเวทนา ย่อมไม่เห็นสัญญา โดยความ
เป็นตน ไม่เห็นตนมีสัญญา ไม่เห็นสัญญาในตน หรือไม่เห็นตนในสัญญา ย่อมไม่เห็นสังขาร
โดยความเป็นตน ไม่เห็นตนมีสังขาร ไม่เห็นสังขารมีในตน หรือไม่เห็นตนในสังขาร ย่อมไม่
เห็นวิญญาณ โดยความเป็นตน ไม่เห็นตนมีวิญญาณ ไม่เห็นวิญญาณในตน หรือไม่เห็นตนใน
วิญญาณ
. ดูกรภิกษุ สักกายทิฏฐิ ย่อมไม่มีด้วยอาการเช่นนี้แล.

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙
สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B= ... agebreak=0


สรุปของสักกายทิฏฐิคือ เห็นขันธ์ ๕ โดยความเป็นตน ย่อมเห็นตนมีขันธ์ ๕ ย่อมเห็นขันธ์ ๕ ในตน ย่อมเห็นตนในขันธ์ ๕ ซึ่งรวมความคือ อุปาทานขันธ์ ๕ นั่นเอง

ให้ความหมายไว้ก่อนครับ ตอนนี้ดึกแล้วและพรุ่งนี้ต้องตื่นทำกิจแต่เช้า ขออนุญาตหลีกให้ท่านอื่นแสดงความเห็นก่อนและมาต่อกันพรุ่งนี้ครับ (เผื่อมีความเห็นดีๆเหมือนคุณกบฯจะได้ช่วยเสริมครับ :b12: )

เจริญในธรรมครับ :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทธิปาละ เมื่อ 21 ก.ย. 2010, 08:12, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ย. 2010, 23:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2010, 07:19
โพสต์: 89


 ข้อมูลส่วนตัว



ปุถุชน ที่เพียรปฏิบัติธรรม..สามารถเข้าใจปัญญาเบื้องต้น นามรูปปริเฉทญาน ได้อย่างไร?
เเละ สามารถมองเห็นปรมัตถธรรม(ยกเว้นนิพพาน)ได้หรือไม่ ด้วยวิธีอะไร?


แก้ไขล่าสุดโดย อานาปานา เมื่อ 21 ก.ย. 2010, 00:27, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ย. 2010, 22:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อจาก post ที่แล้วครับ :b46: :b46: :b46:

ด้วยเหตุที่ว่า สักกายทิฏฐิถูกทำลายตั้งแต่ระดับโสดาบัน ดังนั้น ในระดับปุถุชนผู้หนาแน่นไปด้วยกิเลส จึงยังไม่สามารถทำลายความเห็นผิดยึดติดในขันธ์ ๕ ได้ มีแต่ความเห็นผิดว่า “..ร่างกายนี้เป็นเรา..นี้คือเรา..นี้คือของๆเรา..อยู่เสมอ” เช่นที่คุณกบฯกล่าว :b4: :b53:

แต่ถ้ามีปุถุชนใดก็ตาม กล่าวอ้างว่าตนเองนั้นไม่ยึดมั่นถือมั่นในตน ทำอะไรก็ทำด้วยจิตที่ว่าง แต่สังเกตแล้วยังมีกิเลสที่หนาแน่นเป็นตัวขับเคลื่อนการกระทำทางกาย-วาจา-ใจ อยู่ เช่น ใครเห็นแย้งความคิดเห็นหรือทิฏฐิของตนก็ตอบโต้กลับด้วยโทสะและโมหะ ขอให้เข้าใจว่า เป็นความยึดมั่นในความไม่ยึดมั่น ซึ่งก็เป็นความยึดมั่นในรูปแบบหนึ่งที่มาจากความคิด (จินตามยปัญญา) ว่าไม่ยึดมั่น แต่ด้วยอาการที่แสดงออกด้วยการปกป้องทิฏฐิ “ของตน” นั่นก็แสดงถึงการที่ยังมี “ตัวตน” และยังยึดถือใน “ตัวตน” นั้นอยู่แล้วด้วยอาการที่แสดงออกนั้นเอง (ซึ่งเป็นอาการที่ต่างกับการปกป้อง “พระสัทธรรม” โดยบริสุทธิ์ใจ ไม่ได้ปกป้องซึ่ง “ตัวกู - ความคิดกู” ซึ่งเจือปนไปด้วยโทสะและโมหะนะครับ) :b12: :b46: :b46: :b46:

(ขอโทษด้วยครับที่ใช้ภาษาพ่อขุนฯเพื่อให้เห็นภาพ :b8: )

ด้วยอาการเหล่านี้ แสดงว่า ปุถุชนผู้นั้น ยังไม่เห็นแจ้งด้วยการปฏิบัติจนจิตยอมรับความจริงในสามัญลักษณะของตน จนแจ้งในความไม่มีซึ่งตัวตน (ภาวนามยปัญญา) ซึ่งมี indicator ในการพัฒนาของปัญญาประเภทนี้ตามที่กล่าวไว้โสฬสญาณ ไม่ใช่ปุปปั๊ปมาได้เองจากความคิดจนยึดติดเห็นผิดว่าตนเองบรรลุโสดาบันแล้ว :b46: :b48: :b51:

ดังนั้น การทำลายสักกายทิฏฐิของเสขบุคคล จะเป็นการทำลายด้วยการปฏิบัติ (ภาวนามยปัญญา) จนรู้แจ้งในไตรลักษณ์ของสิ่งที่เคยเรียกว่า “ตน” จนไม่เห็นขันธ์ ๕ เป็นตน ... ฯลฯ ซึ่งเป็นการทำลายสักกายทิฏฐิที่แท้จริง :b8: :b46: :b46:

แต่ปุถุชน ถ้ามีการกล่าวอ้างว่าทำลายสักกายทิฏฐิได้แล้ว แต่ยังมีอาการแสดงออกทางกายวาจาใจด้วยการขับเคลื่อนของกิเลสอยู่เนืองๆแล้ว จะเป็นการทำลายแบบของปลอมด้วยการคิดเอา (จินตามยปัญญา) ซึ่งไม่เป็นการช่วยให้พ้นทุกข์ได้เลย แถมยังเป็นการเพิ่มทุกข์ให้ตนเองเมื่อเกิดโทสะที่ต้องออกมาปกป้องขันธ์ ๕ ของตนเอง โดยเฉพาะสังขารขันธ์ (ความคิดความเห็นที่แสดงออกมา) อยู่เสมอๆ :b46: :b46: :b46:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ย. 2010, 00:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอเพิ่มเติมเรื่องการปฏิบัติเพื่อบรรลุโสดาบันสักเล็กน้อยครับ :b46: :b46: :b46:

สังโยชน์ที่โสดาบันละได้ คือ
๑. สักกายทิฏฐิ – ความเห็นว่าเป็นตัวของตน
๒. วิจิกิจฉา - มีความสงสัยในคุณของพระรัตนตรัย คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
๓. สีลัพพตปรามาส - ความถือมั่นศีลพรต โดยสักว่าทำตามๆ กันไปอย่างงมงาย

แถมด้วยสิ่งที่ปรากฏในพระไตรปิฎกที่ว่า พระโสดาบันมีศีลสมบูรณ์ ไม่ตกไปในอบายอีก

(อ้างอิงจาก http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0 http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0 )

สิ่งเหล่านี้ เป็นทั้งปัจจัย และเป็นทั้ง “ผล” ของการบรรลุโสดาบัน (แต่ไม่ใช่ “เหตุ” ที่แท้จริง) นะครับ :b51: :b41:

อธิบายดังนี้ครับ :b51: :b53: :b46:

ถ้าเรา

๑. “คิด” หรือ “ทำใจให้เชื่อ” ว่าไม่มีซึ่งตัวกูของกู +
๒. “คิด” หรือ “ทำใจให้เชื่อ (ศรัทธา)” ในพระรัตนตรัย +
๓. “คิด” หรือ “ทำใจให้ไม่เชื่อ” ในศีลพรตงมงาย +
๔. บังคับกาย วาจา ด้วยการถือศีล ๕ อย่างเคร่งครัด

ด้วยคิดว่า แค่นี้ ก็ทำให้บรรลุโสดาบันได้แล้ว เพราะเข้าใจว่า เป็นการปฏิบัติในคุณสมบัติของพระโสดาบันอย่างครบถ้วนสมบูรณ์อย่างเคร่งครัด :b5: :b10:

อย่างนี้ เป็นการปฏิบัติที่ “ผล” ซึ่งไม่อาจทำให้บรรลุโสดาบันได้ เพราะไม่ได้ปฏิบัติที่ “เหตุ” ที่จะทำให้บรรลุโสดาบันนะครับ สิ่งที่ทำในข้อ ๑ - ๔ เป็นแค่ปัจจัยเกื้อหนุนเท่านั้น เพราะเป็นเรื่องของการคิด (จินตามยปัญญา) ยังไม่ใช่การปฏิบัติเพื่อให้เห็นแจ้งสภาวธรรมที่แท้จริง (ภาวนามยปัญญา) :b42: :b43: :b46: :b48:

โดยสิ่งที่เป็น “เหตุ” ที่แท้จริง เพื่อใช้ในการปฏิบัติเพื่อบรรลุโสดาบัน (และระดับขั้นอื่นๆยิ่งขึ้นไป) นั้น ได้แก่ องค์คุณเครื่องบรรลุโสดาบัน ๔ (โสตาปัตติยังคะ ๔ หรือ วุฑฒิธรรม ๔) คือ

๑. เสวนาสัตบุรุษ, คบหาท่านผู้ทรงธรรมทรงปัญญาเป็นกัลยาณมิตร (สัปปุริสสังเสวะ)
๒. สดับสัทธรรม, ใส่ใจเล่าเรียนฟังอ่านหาความรู้ให้ได้ธรรมที่แท้ (สัทธัมมัสสวนะ)
๓. ทำในใจโดยแยบคาย, รู้จักคิดพิจารณาหาเหตุผลโดยถูกวิธี (โยนิโสมนสิการ)
๔. ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม (ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ)
http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=193

โดยในข้อ ๑ – ๓ นั้น เป็นเหตุเกื้อหนุนให้การปฏิบัติในข้อ ๔ เจริญงอกงาม ซึ่งในข้อ ๔ นั้น ขยายความได้คือ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการนั่นเอง :b46: :b48: :b51:

ซึ่งถ้าปฏิบัติเหตุให้ถูกต้อง โดยเฉพาะการปฏิบัติ “ธรรมสมควรแก่ธรรม” เช่น เจริญสมถะและวิปัสสนา เห็นการเกิดดับจนมีความก้าวหน้าตามลำดับแห่งโสฬสญาณแล้ว “ผล” ของคุณสมบัติแห่งโสดาบันที่จะปรากฏประการแรกคือ เห็นแจ้งในกายและใจว่าไม่ใช่เรา (ละซึ่งสักกายทิฏฐิ) ซึ่งจะเกิดในมัคคจิต และผลจิต (มัคคญาณ และผลญาณ ในโสฬสญาณ เป็นโลกุตตร อัปปนาชวนะจิตที่มีนิพพานเป็นอารมณ์) เพียงไม่กี่ขณะจิต ซึ่งเป็นการเห็นนิพพานครั้งแรก หลังจากการเวียนว่ายในสังสารวัฏมาอย่างยาวนาน จากนั้น จิตจะตกจากโลกุตตระมาสู่กามาวจร และพิจารณาทบทวนสิ่งที่พึ่งรู้แจ้งเข้ามา และกิเลสที่ยังเหลืออยู่ (ปัจจเวกขณญาณ ในโสฬสญาณ) :b46: :b46: :b46:

ซึ่งหลังจากละซึ่งสักกายทิฏฐิได้แล้ว คุณสมบัติต่อมาที่เกิดขึ้นคือ จะหมดสิ้นซึ่งความสงสัยในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เพราะ “ รู้” และ “เห็นนิพพาน” แล้วด้วยตนเองว่า สิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในพระไตรปิฎกนั้นคือ “ของจริง” ศีลพรต หรือแนวทางที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศไว้ เป็นแนวทางเดียวที่ทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานได้ ไม่มีศีลพรตอื่นให้งมงายอีก นั่นคือ สังโยชน์ข้อวิจิกิจฉาและสีลัพพตปรามาส ได้ถูกทำลายตามลงไปด้วยโดยอัตโนมัติด้วยเหตุและผลดังนี้ครับ :b8: :b46: :b46: :b46:

ต่อจากนั้น หลังจากแจ้งแล้วซึ่งพระนิพพานในครั้งแรก จิตซึ่งเคยรู้ในสภาวะแห่งความหลุดพ้น จะละสิ่งที่เป็นปฏิปักษ์กับการหลุดพ้นในขั้นหยาบโดยอัตโนมัติ นั่นคือ จิตจะละกิเลสอย่างหยาบที่ออกมาทางกายวาจา (วีติกกมกิเลส) โดยมีศีล ๕ ที่สมบูรณ์เป็นอินทรีย์สังวรศีลโดยอัตโนมัติ (หมายถึง ไม่ต้องกดข่มฝืนใจที่จะรักษาศีล เพราะเห็นว่า การละเมิดศีล ๕ เป็นของร้อนและเป็นปฏิปักษ์กับการหลุดพ้นเสียแล้ว จิตจะไม่ไปจับของร้อนนั้นเองโดยไม่ต้องฝืนบังคับ) :b46: :b48:

คร่าวๆประมาณนี้ น่าจะตอบคำถามของคุณอานาปานาได้บางส่วนนะครับ :b46: :b46: :b46:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ย. 2010, 02:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


วิสุทธิปาละ เขียน:


แต่ถ้ามีปุถุชนใดก็ตาม กล่าวอ้างว่าตนเองนั้นไม่ยึดมั่นถือมั่นในตน ทำอะไรก็ทำด้วยจิตที่ว่าง แต่สังเกตแล้วยังมีกิเลสที่หนาแน่นเป็นตัวขับเคลื่อนการกระทำทางกาย-วาจา-ใจ อยู่ เช่น ใครเห็นแย้งความคิดเห็นหรือทิฏฐิของตนก็ตอบโต้กลับด้วยโทสะและโมหะ ขอให้เข้าใจว่า เป็นความยึดมั่นในความไม่ยึดมั่น ซึ่งก็เป็นความยึดมั่นในรูปแบบหนึ่งที่มาจากความคิด (จินตามยปัญญา) ว่าไม่ยึดมั่น แต่ด้วยอาการที่แสดงออกด้วยการปกป้องทิฏฐิ “ของตน” นั่นก็แสดงถึงการที่ยังมี “ตัวตน” และยังยึดถือใน “ตัวตน” นั้นอยู่แล้วด้วยอาการที่แสดงออกนั้นเอง (ซึ่งเป็นอาการที่ต่างกับการปกป้อง “พระสัทธรรม” โดยบริสุทธิ์ใจ ไม่ได้ปกป้องซึ่ง “ตัวกู - ความคิดกู” ซึ่งเจือปนไปด้วยโทสะและโมหะนะครับ) :b12: :b46: :b46: :b46:

(ขอโทษด้วยครับที่ใช้ภาษาพ่อขุนฯเพื่อให้เห็นภาพ :b8: )


สาธุ..

อ่านตรงนี้แล้ว..ทำให้ใจมันไปคิดถึง..เรื่อง ๆ หนึ่งเข้า

คนที่ว่า..เขาจิตว่าง..แต่ไม่ใว้ใจที่จะใส่ชื่อคณะที่เขาบริจาคเงินให้ซื้อที่..

คนที่ว่า..เขาจิตว่าง..แต่พูดเพื่อให้ผู้คน..กลุ่มตน..เข้าใจในตน..(ไม่อยากเห็นกลุ่มของตน..เข้าใจ..ตนเองผิด)

หากเชื่อมั่นในพระธรรม..แล้ว..ไม่น่าจะไปกลัวอะไรอีกแล้วนะ..

ออกนอกกระทู้ไปนิด...แต่ยังอยู่ในพระธรรม..คงไม่ว่าอะไรนะครับผม smiley


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ย. 2010, 02:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2010, 07:19
โพสต์: 89


 ข้อมูลส่วนตัว



ปุถุชน ผู้ปฏิบัติธรรม..มีความเพียรสั่งสมอินทรีย์พละ..เพื่อที่เจริญองค์ธรรมให้พร้อมในอนาคต
มีความชำนาญในสมถกรรมฐาน จนสามารถเข้าถึงที่สุดของสมถฯ

เเล้วที่สุดของวิปัสสนาญาณขั้นใด??..ที่ปุุถุชนสามารถทำได้ถึง

ขอเชิญท่านผู้รู้ทุกท่าน เอาประสพการณ์จริงร่วมสนทนา เเสดงความคิดเห็น จักเป็นพระคุณยิ่ง :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย อานาปานา เมื่อ 22 ก.ย. 2010, 03:19, แก้ไขแล้ว 5 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ย. 2010, 03:55 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่รู้เรื่องอะไรกะเขา...รอชมดีกว่า :b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ย. 2010, 05:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2010, 07:19
โพสต์: 89


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบพระคุณท่านวิสุทธิปาละ ที่ให้ข้อมูลความรู้ในส่วนของโสดาบัน
หากไม่เป็นการรบกวน
ท่านฯ พอจะทบทวนคำถาม เเล้วให้คำตอบในส่วนของปุถุชนจะได้มั้ย?


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ย. 2010, 06:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2010, 07:19
โพสต์: 89


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ปุถุชน..ชนที่ยังติดอยู่ในโลก
อริยะบุคคล..ตั้งแต่..โสดา..สกิทาคา..อนาคามี..ถึงอรหันตผล
เสขะบุคคล..ตั้งแต่..โสดา..สกิทาคา..อนาคามี..ถึง..อรหันตมรรค
อเสขะบุคคล..หมายถึง..อรหันตผล

ครูบาอาจารย์เคยกล่าวใว้ว่า..

ลักษณะ..การละสักกายะทิฐิ..ของโสดา..สกิทาคามี..มีอารมณ์ใจระลึกถึงความตายเป็นอารมณ์..เสมอ

ลักษณะ..การละสักกายะทิฐิ..ของอนาคามี..มีอารมณ์ใจระลึกเห็นร่างกายเป็นของสกปรกเน่าเหม็น..เป็นของปฏิกูล..เสมอ

ลักษณะ..การละสักกายะทิฐิ..ของอรหันต์เจ้า..มีอารมณ์ใจระลึกเห็นว่าร่างกายนี้ไม่ใช่เรา..เราไม่มีในกายนี้..เราไม่ใช่ขันธ์ 5...ขันธ์ 5 ไม่ใช่เรา

ขอบคุณท่านกบฯ ที่เข้ามาให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์

ลักษณะ..การละสักกายะทิฐิ..ของปุถุชน..ไม่มี..
หากเป็นเช่นนี้..ปุถุชน ที่เพียรปฏิบัติธรรม สะสมอินทรีย์พละ
ก็ไม่สามารถที่จะ ละสังโยชน์ข้อที่ ๑ สักกายะทิฐิ ได้เลย อย่างนั้นหรือ?...


มีแต่ความเห็นว่า..ร่างกายนี้เป็นเรา..นี้คือเรา..นี้คือของๆเรา..อยู่เสมอ
หากปุถุชน ผู้นั้นเจริญวิปัสสนากรรมฐาน สามารถเห็นรูปนามเเยกจากกันได้จะเรียกว่าอะไรดี?...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ย. 2010, 07:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2010, 07:19
โพสต์: 89


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ไม่รู้เรื่องอะไรกะเขา...รอชมดีกว่า :b12: :b12:


สิ่งที่ท่านกบฯรู้...เราอาจจะไม่รู้
สิ่งที่เรารู้.....ท่านอาจจะไม่รู้ ก็ย่อมเป็นไปได้ ฉันใด..

ท่านฯ..ก็อย่าพึงน้อยใจไปเลย....ประโยชน์นั้น..มันมี...ว่าเเต่จะเห็นหรือไม่ ก็เท่านั้นเเหละ

มีอีกสิ่งหนึ่ง..ที่เห็นได้ชัดเจน ในพื้นที่นี้ ก็คือ..กุศลจิต ของกัลยาณมิตร อย่างท่านฯ........เรานับถือ..นับถือ


แก้ไขล่าสุดโดย อานาปานา เมื่อ 22 ก.ย. 2010, 10:40, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ย. 2010, 00:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ปุถุชน ที่เพียรปฏิบัติธรรม..สามารถเข้าใจปัญญาเบื้องต้น นามรูปปริเฉทญาน ได้อย่างไร?
เเละ สามารถมองเห็นปรมัตถธรรม(ยกเว้นนิพพาน)ได้หรือไม่ ด้วยวิธีอะไร?
ปุถุชน ผู้ปฏิบัติธรรม..มีความเพียรสั่งสมอินทรีย์พละ..เพื่อที่เจริญองค์ธรรมให้พร้อมในอนาคต มีความชำนาญในสมถกรรมฐาน จนสามารถเข้าถึงที่สุดของสมถฯ เเล้วที่สุดของวิปัสสนาญาณขั้นใด??..ที่ปุุถุชนสามารถทำได้ถึง
ปุถุชน ที่เพียรปฏิบัติธรรม สะสมอินทรีย์พละ ก็ไม่สามารถที่จะ ละสังโยชน์ข้อที่ ๑ สักกายะทิฐิ ได้เลย อย่างนั้นหรือ?...
หากปุถุชน ผู้นั้นเจริญวิปัสสนากรรมฐาน สามารถเห็นรูปนามเเยกจากกันได้จะเรียกว่าอะไรดี?...
หากไม่เป็นการรบกวน ท่านฯ พอจะทบทวนคำถาม เเล้วให้คำตอบในส่วนของปุถุชนจะได้มั้ย?

อย่าเรียกว่าเป็นการให้คำตอบเลยครับ ถือว่าแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการปฏิบัติแล้วกันนะครับ :b16: :b46: :b46: :b46:

ขอปูพื้นซักเล็กน้อยเผื่อผู้อ่านที่พึ่งจะศึกษาธรรมะแวะเข้ามานะครับ :b38: :b37: :b46:

คำว่า ปุถุชน ตามรากศัพท์ถึงแม้จะแปลว่า คนหนา คือ ผู้ที่หนาแน่นไปด้วยกิเลส แต่ระดับความหนาของกิเลสก็ไม่เท่ากันในแต่ละคน หรือคนเดียวกันก็ไม่เท่ากันในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งต้องอาศัยการปฏิบัติธรรมเป็นเครื่องขูดลอกให้กิเลสค่อยๆบางลงจนเลื่อนชั้นจากปุถุชนเป็นอริยชน :b51: :b53:

การขูดเกลากิเลส พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ให้จำได้ง่ายๆ ๓ ขั้นตามที่เราทราบกันเป็นอย่างดีในโอวาทปาฏิโมกข์ :b46: :b46: :b41: :b42:

สพฺพปาปสฺส อกรณํ การไม่ทำความชั่วทั้งปวง ๑ (ได้แก่ อกุสลกรรมบถ ๑๐)
กุสลสฺสูปสมฺปทา การทำกุศลให้ถึงพร้อม ๑ (ได้แก่ กุสลกรรมบถ ๑๐)
สจิตฺตปริโยทปนํ การทำจิตของตนให้ผ่องใส ๑ (ได้แก่ เจริญสมถะและวิปัสสนา ด้วยปัญญาอันยิ่ง)
เอตํ พุทฺธานสาสนํฯ นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย :b8: :b8: :b8:

ง่ายๆคือ ไม่ทำชั่ว ทำดี และทำจิตใจให้บริสุทธิ์ :b46: :b46: :b46:

อย่างไรก็ตาม การไม่ทำชั่ว และการทำดี เป็นเพียงปัจจัยในการเกื้อหนุนให้พัฒนาจากปุถุชน ไปเป็นอริยชนเท่านั้น (แต่ก็เป็นปัจจัยที่สำคัญและขาดไม่ได้ (necessary but not sufficient) ซึ่งหลายข้อ สะท้อนมาในรูปของทศบารมีนะครับ) ส่วนที่เป็นเหตุจริงๆ ได้แก่ การปฏิบัติภาวนาเพื่อชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ขาวรอบ ด้วยการเจริญสมถะและวิปัสสนา ด้วยปัญญาอันยิ่ง โดยเทียบสมถะ และวิปัสสนาได้ด้วยตัวอย่างจากนิทานเซนที่มีชื่อเสียงบทหนึ่ง (อาจจะไม่ใกล้คียงนัก แต่พอล้อกันไปได้ครับ) :b40: :b44: :b46: :b46:

จิตใจเปรียบเหมือนกระจกใสบานหนึ่งที่มีฝุ่นเข้ามาจับเป็นคราวๆให้หมอง เปรียบฝุ่นได้กับกิเลสคือ นิวรณ์ต่างๆ, โลภ โกรธ หลง ที่จรเข้ามาจับเป็นบางครั้งและทำให้จิตใจขุ่นมัว ไม่ใสบริสุทธิ์ ซึ่งการทำจิตใจให้บริสุทธิ์นั้น ทำได้ใน ๒ ระดับคือ :b41: :b41:

๑) หมั่นเช็ดถูกระจกเนืองๆอย่าให้ฝุ่นจับ คือการดับกิเลสด้วยการใช้องค์ธรรมที่เป็นเครื่องสงบระงับจิต (สมถะ) กดข่มให้ใจเป็นสุข (วิขัมภนะ) เช่น โกรธ, เสียใจก็อย่าเก็บไปคิดให้ใจหมอง หรือการใช้องค์ธรรมตรงข้ามเพื่อให้จิตสงบระงับ (ตทังคะ) เช่น โกรธก็แผ่เมตตาให้อภัย เพื่อให้จิตใจบริสุทธิ์ แช่มชื่นเบิกบาน :b46: :b46: :b46:

๒) ทำให้ไม่เหลือกระจกให้ฝุ่นจับ คือการดับกิเลสอย่างตัดขาด (สมุจเฉทะ) ด้วยการเจริญสติที่พร้อมด้วยธรรมอื่นๆอย่างถูกต้อง (มรรค ๘) จนจิตเกิดปัญญาเห็นว่าไม่มี “เรา” ซึ่งเป็นผู้ทุกข์ (คือ ไม่มีกระจกให้ฝุ่นจับ) จนถึงการหลุดพ้นทางจิตอย่างสิ้นเชิงเพราะไม่ยึดกายใจ (ปฏิปัสสัทธิ + นิสรณะ) จิตใจจะเบา สะอาด สว่าง สงบ เป็นสุขเบิกบาน บริสุทธิ์อย่างแท้จริง :b46: :b46: :b46: :b41:

(แต่วิปัสสนาภาวนา เพื่อให้ไม่เหลือกระจกให้ฝุ่นจับนั้น จะต้องอาศัยกำลังของสมถภาวนา เป็นบาทฐานด้วยนะครับ) :b46: :b46: :b46:


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทธิปาละ เมื่อ 29 ก.ย. 2010, 00:04, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ย. 2010, 00:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มาต่อกันครับ :b46: :b46: :b46:

จุดสำคัญคือ ปฏิบัติและภาวนาอย่างไรเพื่อไม่เหลือกระจกให้ฝุ่นจับ :b1: :b39: :b39:

การปฏิบัติต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ อยู่ในกุณฑลิยสูตร (http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0 ) ซึ่งสรุปโดยย่อได้ดังนี้ครับ :b38: :b37:

๑) ระมัดระวังไม่ให้กิเลสครอบงำจิตใจ เวลารับรู้โลกผ่านตา หู จมูก ลิ้น กาย (อินทรีย์สังวร) จะทำให้

๒) เกิดการประพฤติชอบทาง กาย วาจา ใจ (สุจริต ๓) ซึ่งถ้าทำให้มากแล้ว จะทำให้

๓) เกิดความบริบูรณ์ในธรรม อันเป็นที่ตั้งแห่งสติ หรือ ข้อปฏิบัติมีสติเป็นประธาน ได้แก่วิธีปฏิบัติในการใช้สติกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นเท่าทันตามความเป็นจริง ตามสภาวะของมัน ไม่ถูกครอบงำด้วยความยินดียินร้าย ที่ทำให้มองเห็นเพี้ยนไปตามอำนาจกิเลส (สติปัฏฐาน ๔) ซึ่งถ้าปฏิบัติให้มากแล้ว จะทำให้

๔) เกิดความบริบูรณ์ในธรรม ที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้หรือองค์ของผู้ตรัสรู้ (โพชฌงค์ ๗) อันมี ๗ อย่าง คือ ๑. ความระลึกได้ (สติ) ๒. การสอดส่องเลือกเฟ้นธรรม (ธัมมวิจยะ) ๓. ความเพียรพยายาม (วิริยะ) ๔. ความดื่มด่ำในใจ (ปีติ) ๕. ความสงบกายสงบใจ (ปัสสัทธิ) ๖. ความตั้งมั่นแห่งจิต (สมาธิ) ๗. ความวางใจเป็นกลาง (อุเบกขา) และถ้าปฏิบัติให้มากแล้ว จะทำให้

๕) เกิดความบริบูรณ์ในความรู้แจ้งแห่งโลกตามความเป็นจริง (วิชชา) และถึงซึ่งความหลุดพ้น (วิมุตติ) เกิดความสุขอย่างสมบูรณ์อย่างแท้จริง

ซึ่งการปฏิบัติจริงๆแล้วนั้น จะเน้นอยู่เพียงสามข้อแรก ซึ่งถ้าจะกล่าวให้กระชับลงไปอีกก็คือ เหลือแค่ข้อ ๓ อธิบายได้ว่า ถ้ามีสติและปัญญา (สัมปชัญญะ) แล้ว ก็จะทำให้ข้อ ๑ เกิดขึ้นคือ (มีสติ) ระมัดระวังไม่ให้กิเลสครอบงำจิตใจ เวลารับรู้โลกผ่านตา หู จมูก ลิ้น กาย (อินทรีย์สังวร) ซึ่งจะทำให้ข้อ ๒ เกิดขึ้นตามมา ส่วนข้อที่สี่และห้า จะถูกโน้มน้าวให้เกิดขึ้นได้เองโดยอัตโนมัติ ตามธรรมชาติของจิตที่บ่มเพาะถึงจุดแล้วนะครับ :b41: :b46: :b48:

ซึ่งจริงๆแล้ว สติในข้อที่สาม ถ้าเจริญให้มากแล้ว ก็คือข้อแรกในโพชฌงค์ ๗ (สติสัมโภชฌงค์) และเมื่อมีสติที่ถูกต้องแล้ว จิต จะโน้มเอียงมาพิจารณาองค์ธรรมที่เกิดขึ้นจริงๆในจิตเอง (ซึ่งอาการโน้มเอียงมาพิจารณาองค์ธรรมอย่างเนืองๆนี้ จะเห็นได้ชัดเมื่อจิตพัฒนาจนเป็นจิตผู้รู้ที่มีสติเป็นเจตสิกเด่นอย่างต่อเนื่องแล้ว ซึ่งจะขอขยายความต่ออย่างย่อๆในโสฬสญาณ) และกระตุ้นให้เกิดการสอดส่องเลือกเฟ้นธรรม (ธัมมวิจยะ) ที่สามารถให้จิตพัฒนาต่อไปได้ (เห็นธรรมในธรรม, เห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในธรรม ฯลฯ) :b46: :b46: :b46:

ซึ่งด้วยฉันทะที่เกิดในจิตเองนี้ ทำให้เกิดความเพียรพยายาม (วิริยะ) ในธรรมโดยอัตโนมัติ และเมื่อมีสติสมบูรณ์ขึ้น กิเลสที่แทรกเข้ามาจะถูกจิต (ที่มีองค์สติเด่น) ตรวจจับได้ทันที่ที่เริ่มเกิดขึ้น และตัดวงจรกิเลสขาดในฉับพลัน (รู้ - ตื่น) ทำให้จิตเป็นกลาง เกิดปีติ เกิดความสงบ (ปัสสัทธิ) ซึ่งเป็นเหตุใกล้ (ปทัฏฐาน) ให้เกิดความตั้งมั่นแห่งจิต (สมาธิ) และเกิดความวางใจเป็นกลาง (อุเบกขา) และเบิกบาน โดยต่อเนื่องกันเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่ (Chain Reaction) โดยอัตโนมัติทั้ง ๗ ข้อ ไม่ตั้งใจให้เกิดก็เกิดขึ้นเอง เนื่องมาจากการทำเหตุปัจจัยให้ถึงพร้อม :b46: :b46: :b46:

(รู้สึกจะเริ่มยาวครับ ขอแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ต่อพรุ่งนี้ดีกว่าครับ จะได้เพิ่มรายละเอียดได้ครบถ้วนหน่อย วันนี้ดึกแล้วและต้องตื่นทำกิจแต่เช้า ต้องขออภัยด้วยครับ)

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ย. 2010, 22:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2010, 07:19
โพสต์: 89


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
วิสุทธิปาละ เขียน:


แต่ถ้ามีปุถุชนใดก็ตาม กล่าวอ้างว่าตนเองนั้นไม่ยึดมั่นถือมั่นในตน ทำอะไรก็ทำด้วยจิตที่ว่าง แต่สังเกตแล้วยังมีกิเลสที่หนาแน่นเป็นตัวขับเคลื่อนการกระทำทางกาย-วาจา-ใจ อยู่ เช่น ใครเห็นแย้งความคิดเห็นหรือทิฏฐิของตนก็ตอบโต้กลับด้วยโทสะและโมหะ ขอให้เข้าใจว่า เป็นความยึดมั่นในความไม่ยึดมั่น ซึ่งก็เป็นความยึดมั่นในรูปแบบหนึ่งที่มาจากความคิด (จินตามยปัญญา) ว่าไม่ยึดมั่น แต่ด้วยอาการที่แสดงออกด้วยการปกป้องทิฏฐิ “ของตน” นั่นก็แสดงถึงการที่ยังมี “ตัวตน” และยังยึดถือใน “ตัวตน” นั้นอยู่แล้วด้วยอาการที่แสดงออกนั้นเอง (ซึ่งเป็นอาการที่ต่างกับการปกป้อง “พระสัทธรรม” โดยบริสุทธิ์ใจ ไม่ได้ปกป้องซึ่ง “ตัวกู - ความคิดกู” ซึ่งเจือปนไปด้วยโทสะและโมหะนะครับ) :b12: :b46: :b46: :b46:
(ขอโทษด้วยครับที่ใช้ภาษาพ่อขุนฯเพื่อให้เห็นภาพ :b8: )

สาธุ..
อ่านตรงนี้แล้ว..ทำให้ใจมันไปคิดถึง..เรื่อง ๆ หนึ่งเข้า
พูดเเบบชาวบ้านธรรมดา เขาก็ว่า..ดูหนัง ดูละคร ให้ย้อนดูตัวเอง
พูดเเบบเราๆ ก็ว่า..ดูอะไรๆ ก็ดูให้เห็นเป็นธรรมะ เเล้วสอนตัวเอง


คนที่ว่า..เขาจิตว่าง..แต่ไม่ใว้ใจที่จะใส่ชื่อคณะที่เขาบริจาคเงินให้ซื้อที่..
คนที่ว่า..เขาจิตว่าง..แต่พูดเพื่อให้ผู้คน..กลุ่มตน..เข้าใจในตน..(ไม่อยากเห็นกลุ่มของตน..เข้าใจ..ตนเองผิด)

ลักษณะ..การละสักกายะทิฐิ..ของโสดา....มีอารมณ์ใจระลึกถึงความตายเป็นอารมณ์..เสมอ
จะดูว่าเป็นโสดาหรือไม่..ไม่ต้องไปให้ใครมาการันตีหรอก ดูเองได้เลยตรงนี้
เห็นได้เองชัดเจน..โสดาไม่หวังในสมบัติของโลกหรอก..ไม่นานก็ตาย..จะเอาอะไรไปด้วยได้หรือ??


หากเชื่อมั่นในพระธรรม..แล้ว..ไม่น่าจะไปกลัวอะไรอีกแล้วนะ..
จริงอยู่..หากตั้งมั่น..อยู่ในศีล ในธรรม

~~~อัญมณี..ย่อมมี..วันร้าว
เเต่..สีของอัญมณี..ไม่มี..วันตก~~~




แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 40 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 7 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร