วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 21:26  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2011, 00:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ก.พ. 2009, 01:02
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว




67631-attachment.jpg
67631-attachment.jpg [ 54.21 KiB | เปิดดู 6777 ครั้ง ]
:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b42: :b42: :b42: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:
cool

แนวทางการเจริญสมาธิ สติและปัญญา ในชีวิตประจำวัน
(คัดย่อ เรียบเรียง จากบางส่วนหนังสือความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรม อาจารย์วศิน อินทสระ)

ความเข้าใจเกี่ยวกับสมาธิ

ถ้าจะถามว่า ตัวสมาธิที่แท้จริงคืออะไร ตอบว่าคือ ความตั้งมั่นของใจ ประเภทของสมาธิมี ๒ ประเภท คือ
๑. สมาธิที่ทุกคนมีอยู่โดยธรรมชาติ ขณะใดที่เราไม่ฟุ้งซ่าน จิตใจสงบอยู่โดยปกติ ขณะนั้นเรียกว่ามีสมาธิ เราจึงทำงานต่าง ๆ ได้ ไม่เป็นบ้า ไม่เป็นโรคจิต
๒. สมาธิที่เกิดจากการฝึก ที่เรียกว่าฝึกสมาธิ ฝึกได้ทั้งสี่อิริยาบถ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน ไม่ใช่ทำได้แต่นั่งอย่างเดียว ควรเปลี่ยนอิริยาบถจะได้ไม่เมื่อย ไม่ง่วง ถ้าจะพูดให้ถูกต้องพูดว่าทำสมถะ

สมถะ แปลว่า อุบายฝึกจิตให้สงบ เมื่อใจตั้งมั่นแล้ว สงบแล้ว จึงเรียกว่า สมาธิ
สมาธิเป็นผลของสมถภาวนา เมื่อเราเริ่มทำทีแรกจิตใจยังไม่ตั้งมั่น วอกแวก เมื่อฝึกไปใจก็ตั้งมั่นเกิดเป็นสมาธิ ตั้งมั่นชั่วขณะเรียกว่า ขณิกสมาธิ ใช้ประโยชน์ในการทำงาน เรียนหนังสือ ประกอบกิจต่าง ๆ ได้ โดยไม่ฟุ้งซ่าน ถ้าจิตตั้งมั่นเฉียด ๆ ฌานก็เป็น อุปจารสมาธิ ถ้าตั้งมั่น แน่วแน่ มั่นคง เป็น อัปปนาสมาธิ
สมาธิซึ่งเป็นผลของการฝึก เรียกว่า สมถกรรมฐาน หรือ สมถภาวนา แล้วจะมีผลเกิดขึ้นคือ สมาหิตํ แปลว่า ตั้งมั่น ปาริสุทธํ คือ บริสุทธิ์ ขาวรอบ กมฺมนิยํ ควรแก่การงาน คือพร้อมที่จะน้อมจิตไปให้ทำอะไรได้ตามที่ต้องการ จิตที่อ่อนเกินไปทำอะไรไม่ได้ จิตที่แข็งกระด้างเกินไปก็ทำอะไรไม่ได้ จิตที่ฝึกให้ดี ได้ตรงที่เป็นสมาธิควรแก่การงาน หมุนนำไปทางไหน เป็นอย่างไรก็เป็นได้ จิตที่ไม่ได้รับการฝึกมักมีโทษมาก ใช้งานอะไรไม่ได้ แต่ถ้าฝึกให้ดีแล้ว จะใช้ประโยชน์ได้คุ้ม การต้องเสียอะไรกับจิตจะมีน้อยลง การลงทุนฝึกจิตจะได้รับผลเกินคุ้ม ไม่ควรเสียดายเวลาที่เสียไปกับการลงทุนเรื่องนี้
โดยธรรมชาติของจิตเมื่อยังไม่ได้รับการฝึกนั้น มันจะดิ้นรน กวัดแกว่ง อยู่นิ่งไม่ได้ จิตจะถูกโยกคลอนด้วยโลกธรรม ๘ โลกธรรมซัดสาดให้หวั่นไหว กวัดแกว่ง ดิ้นรน แสวงหา ต้องการด้วยเรื่องลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ห่อเหี่ยวกับการเสื่อมลาภ เสื่อมยศ ถูกนินทา ทุกข์ จิตถูกโยกโคลงด้วยสิ่งเหล่านี้ตลอดเวลา แต่เมื่อฝึกจิตให้ดีด้วยสมาธิแล้ว จะเห็นโลกธรรมเป็นของเด็กเล่น ไม่มีความหมายอะไรกับเรา รับอารมณ์อะไรมาก็ดูเป็นเรื่องธรรมดา ไม่ตื่นเต้นอะไร จิตใจสงบ ประณีต ทำให้อยู่สบาย เป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเอง ไม่ถูกครอบงำด้วยสิ่งเหล่านี้ จะมีที่พักอะไรที่เกษม ปลอดโปร่ง เป็นที่มั่นของจิตยิ่งไปกว่าสมาธิ ไม่ต้องโยกโคลงด้วยโลกธรรม เหนื่อยก็เหนื่อยเฉพาะกาย แต่ใจไม่เหนื่อย มีภาระหน้าที่อะไรก็ทำหน้าที่ไป

มนุษย์เรามีปัญญาสูงมาก สามารถรวบรวมพลังจิตให้ปัญญาเอาไปใช้ได้โดยสะดวก ที่เอาไปใช้ไม่ได้มากเพราะว่าไม่สามารถรวบรวมพลังได้มากเท่าไร กระแสปัญญาหรือความรู้สึกนึกคิดของแต่ละคนก็มีอยู่มาก ความสามารถที่จะทำงานก็มีมาก แต่ถูกความฟุ้งซ่าน ความย่อท้อ ฯลฯ แบ่งเอาสิ่งเหล่านี้ไป สมาธิคล้ายเป็นการรวมแสง สำหรับให้แสงพุ่งไปทางใดทางหนึ่ง เหมือนดวงปัญญา ซึ่งเมื่อฝึกสมาธิให้ดีแล้วจะใช้ดวงปัญญาได้มาก สามารถเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ หรือทำอะไร ๆ ได้มากมาย ในชีวิตประจำวัน เมื่อมีสมาธิดีแล้ว ปัญญาที่ได้รับการอบรมดีแล้ว จะทำให้การงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ... ... ... (สมาธิ สติ และปัญญาต้องทำงานร่วมกัน)

(ค่อยมาต่อคราวหน้าครับ)


:b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43:

เจริญในธรรมครับ :b8: :b8: :b8: smiley

:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b42: :b42: :b42: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
ราตรีของผู้ตื่นอยู่นาน...โยชน์ของผู้ล้าแล้วไกล
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2011, 04:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มี.ค. 2011, 09:41
โพสต์: 194

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุ สาธุ สาธุ
¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤

.....................................................
เห็นสิ่งใด เอามาคิด พินิจไว้

เพื่อเตือนใจ ตนเอง มิให้หลง

เห็นเขาผิด คิดแก้ตน ให้อาจอง

ใจมั่นคง น้อมมาดู รู้ภายใน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2011, 00:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ก.พ. 2009, 01:02
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว




27699.jpg
27699.jpg [ 52.79 KiB | เปิดดู 6728 ครั้ง ]
:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b42: :b42: :b42: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:


สมาธิ สติ และปัญญาต้องทำงานร่วมกัน

ในเวลาที่เราฝึกทำสมาธิ สิ่งที่ต้องใช้งานมากคือ สติ เราต้องเอาสติมาคอยควบคุมอยู่ตลอดเวลา บางท่านทำอานาปานสติกำหนดลมหายใจเข้าออก เพื่อให้จิตสงบอยู่กับลมหายใจ จึงต้องมีสติควบคุมอยู่ตลอดเวลา สติเผลอเมื่อไร จิตใจฟุ้งเมื่อนั้น สติเป็นเชือก ขาดเมื่อไรสัตว์ที่จับมาผูกไว้จะไปทันที ต้องจับมาผูกใหม่ ต้องหมั่นตั้งสติบ่อย ๆ การที่เราใช้สติมากทำให้เกิดปัญญาทั้งอย่างสามัญและโลกุตระ (super mundane) ปัญญาที่เป็นโลกียะก็มีสมาธิจิตที่ดีงาม ที่มั่นคงเป็นพื้นฐาน ช่วยแก้ไข ขัดเกลา ให้มีนิสัยสันดานสะอาดประณีตขึ้น

การที่เรามีความฟุ้งซ่านบ่อย ทำให้เรามีความก้าวร้าวบ่อยด้วย คือเอาใจไว้ไม่อยู่ ถ้าเราฝึกสติ ฝึกสมาธิ ฝึกปัญญาบ่อย ๆ จะเป็นการขัดเกลาตัวเองให้มีนิสัยสันดานดีขึ้น สงบ โปร่ง เมื่อเรามีปัญญา มีนิสัยสันดานที่สะอาดประณีตขึ้น จะมีความทุกข์น้อยลง ๆ จะมีความรู้สึกว่าเป็นทุกข์ไม่เป็น ไม่รู้ว่าจะเป็นทุกข์ไปทำไม ทำให้เป็นคนมีบุคลิกดี ไม่เหลาะแหละ ไม่มีท่าทีร้อนรน ไม่ฟุ้งซ่าน มองภาพรวมแล้วน่าเลื่อมใส แจ่มใส สงบ ประณีต อยู่เป็นสุข ทำให้ผู้เข้าใกล้พลอยเป็นสุขไปด้วย เพียงแต่ได้เห็น ได้คุยด้วยเพียงเล็กน้อย


คุมกิเลสด้วยสมาธิ ตัดกิเลสด้วยสติปัญญา

เมื่อเราสามารถควบคุมจิตใจไว้ได้ กาย วาจา ก็ถูกควบคุมไปด้วย เมื่อจิตสงบ กาย วาจา ก็สงบ เราต้องเอาปัญญามาช่วยอยู่ตลอดเวลา ปัญญาจะเป็นตัวเห็นแจ้งแทงตลอด เข้าใจอะไรทะลุปรุโปร่งสว่างไสว มองอะไรเกิดภาวะที่เรียกว่า Realization เกิดยถาภูตญาณขึ้น มีความเข้าใจรู้ว่าอะไรเป็นอะไร ใจสงบจะช่วยให้เราประณีต สติปัญญาจะช่วยให้เราสว่างไสว รู้ว่าเมื่อมีปัญหาขึ้นมาควรจะจัดการกับปัญหานั้นอย่างไร จะช่วยเราได้มากในการทำงานทุก ๆ อย่าง เพราะว่าสมาธิจะช่วยควบคุมจิตใจไว้ก่อน เหมือนท่านเจองูจะตัดคองู ท่านจะทำอย่างไร ?
ท่านจะต้องหาอะไรจับงูไว้ก่อน เช่น ใช้ไม้ง่ามจับให้มันนิ่งเสียก่อน ถ้างูยังดิ้นอยู่เราจะตัดหัวได้อย่างไร อาวุธที่จะตัดหัวงูคือตัวปัญญา กระแสของกิเลสเราคุมไว้ได้ด้วยกำลังสมาธิ แต่ที่จะไปทำลายตัวกิเลสคือตัวปัญญา ท่านต้องใช้วิปัสสนาหรือปัญญามาช่วยอยู่ตลอด มิฉะนั้นแล้วจะได้ผลน้อยไป อาจจะดูเป็นคนสงบเสงี่ยม ประณีต เป็นคนดี แต่ว่าพึ่งอะไรไม่ได้ มีปัญหาขึ้นมาก็พึ่งอะไรไม่ได้


ปัญญาเป็นคุณธรรมสูงสุด

พระพุทธศาสนาถือเอาปัญญาเป็นคุณธรรมสูงสุด ซึ่งจะนำไปสู่จุดมุ่งหมายสูงสุด คือความหลุดพ้น (วิมุตติ) ตัวปัญญาเองมิใช่เป็นจุดมุ่งหมายสูงสุด เป็นเพียงเครื่องมือขั้นสุดท้ายเท่านั้น ในการปฏิบัติโดยทั่วไปจึงเริ่มต้นจากศีล คือการควบคุมกาย วาจา ให้อยู่ในระเบียบวินัยอันดี แม้จะมีศีลดีแล้วก็ต้องประคับประคองตนไว้ด้วยความไม่ประมาท ต้องรักษาจิตด้วยสติอยู่เสมอ เช่น ระวังใจมิให้ติดในสิ่งที่ชวนให้ติด มิให้ลุ่มหลงมัวเมาในสิ่งที่ชวนให้ลุ่มหลงมัวเมา ตอนนี้ก้าวเข้ามาสู่แดนแห่งสมาธิ คือความสงบมั่นคงแห่งจิต อันเป็นอุปกรณ์สำคัญในการใช้ปัญญา เหมือนการมองดูวัตถุในน้ำใส นิ่ง ย่อมเห็นชัดเจน ในการใช้ปัญญาก็ทำนองเดียวกัน ขณะที่จิตฟุ้งซ่าน สับสน วุ่นวาย ย่อมใช้ปัญญาไม่ได้ หรือได้ไม่ดีเท่าที่ควร แต่เมื่อจิตบริสุทธิ์ สะอาด สงบ ตั้งมั่น ย่อมใช้ปัญญาได้อย่างดี ปัญญาที่ใช้บ่อย ๆ ทำให้เฉียบคมว่องไว พอกพูนมากขึ้น เป็นปัจจัยให้ศีลและสมาธิดีขึ้นด้วย ทั้ง ๓ อย่างนี้อาศัยกันและกัน ทำให้ชีวิตบริสุทธิ์

พุทธวิธีในการสอนของพระพุทธเจ้าแก่มวลพุทธบริษัทนั้น ก็เพื่อให้พุทธบริษัทขึ้นถึงยอดแห่งคุณธรรม คือมีปัญญาพิจารณาเห็นแจ้งด้วยตนเอง จนสามารถเป็นที่พึ่งแก่ตนได้ พระพุทธศาสนาไม่ต้องการให้บุคคลเชื่อสิ่งใดโดยปราศจากปัญญา หรือโดยที่ไม่ตรองให้เห็นด้วยปัญญาเสียก่อน จุดมุ่งหมายล้วนตะล่อมไปสู่ปัญญา ให้บุคคลประจักษ์แจ้งด้วยตนเอง จนสามารถเป็นที่พึ่งแก่ตนได้ โดยอาศัยพระธรรมเป็นแนวทางดังพุทธดำรัสว่า
“ท่านทั้งหลายจงมีตนและธรรมเป็นที่พึ่งอย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งเลย” แต่ถ้าชาวพุทธส่วนใหญ่ยังสนใจพุทธศาสนาเฉพาะในแง่ที่เป็นพิธีกรรม ไม่ค่อยสนใจพุทธศาสนาในส่วนที่เป็นเนื้อหาสาระอันเป็นเครื่องมือช่วยตนในคราวมีทุกข์ แล้วพอความทุกข์เกิดขึ้นก็พะวักพะวนจับอะไรไม่ถูก บางทีก็ต้องตกเป็นเหยื่อของพวกมิจฉาชีพที่แฝงตนเข้ามาในรูปของนักบุญหรือนักบวช พุทธบริษัทเหล่านี้แหละน่าสงสารมาก ทางที่ดีพุทธบริษัทควรจะเชื่อพระพุทธเจ้า คือพยายามมีตนและมีธรรมเป็นที่พึ่งให้ได้ ในการนี้ ปัญญาเป็นตัวสำคัญอย่างยิ่ง เป็นหลักให้ศรัทธา วิริยะ สมาธิยึดเกาะ หรือทรงตัวอิงอาศัยอยู่ ดังพุทธพจน์ที่ว่า “สำหรับอริยสาวกผู้มีปัญญา ศรัทธาซึ่งเป็นธรรมคล้อยตามปัญญานั้น ย่อมทรงตัวอยู่ได้ วิริยะ สติ สมาธิ ก็เช่นกัน เป็นธรรมคล้อยตามปัญญา ย่อมทรงตัวอยู่ได้”

ปัญญาจึงเป็นคุณธรรมสูงสุดดังกล่าวมา พระพุทธองค์ทรงสอนธรรมเพื่อให้พุทธบริษัท มีปัญญาเป็นเครื่องรักษาตนและคุ้มครองตนได้ และเพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายทุกระดับ ทุกขั้นตอน ..... .... ... .. .


:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

เจริญในธรรมครับ :b8: :b8: :b8:

:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b42: :b42: :b42: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
ราตรีของผู้ตื่นอยู่นาน...โยชน์ของผู้ล้าแล้วไกล
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2011, 13:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ก.พ. 2009, 01:02
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว




1087.jpg
1087.jpg [ 26.36 KiB | เปิดดู 6693 ครั้ง ]
:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b42: :b42: :b42: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

ขอเพิ่ม "สมาธิ" คัดย่อ เรียบเรียง จากบางส่วนหนังสือพุทธธรรม ของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) มาให้ครับ

“สมาธิ” แปลกันว่า ความตั้งมั่นของจิต หรือ ภาวะที่จิตแน่วแน่ต่อสิ่งที่กำหนด คำจำกัดความของสมาธิที่พบเสมอ คือ “จิตตัสเสกัคคตา” หรือเรียกสั้น ๆ ว่า “เอกัคคตา” ซึ่งแปลว่า ภาวะที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง คือ การที่จิตกำหนดแน่วแน่อยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ไม่ฟุ้งซ่านหรือส่ายไป

สมาธิ นั้น แบ่งได้เป็น ๓ ระดับ คือ
๑. ขณิกสมาธิ สมาธิชั่วขณะ (momentary concentration) ซึ่งคนสามัญทั่วไปสามารถนำมาใช้ประโยชน์ ในการปฏิบัติหน้าที่ กิจการงานในชีวิตประจำวันให้ได้ผลดี
๒. อุปจารสมาธิ สมาธิเฉียด ๆ หรือจวนจะแน่วแน่ (neighbourhood concentration)
๓. อัปปนาสมาธิ สมาธิที่แน่วแน่แนบสนิท (attainment concentration) สมาธิในขั้นฌาน เป็นสมาธิระดับสูงสุด ซึ่งถือว่าเป็นความสำเร็จที่ต้องการของการเจริญสมาธิ

“สัมมาสมาธิ” ตามคำจำกัดความในพระสูตรต่าง ๆ เจาะจงว่าได้แก่ ฌาน ๔ อย่างไรก็ดีคำจำกัดความนี้ ถือได้ว่าเป็นการให้ความหมายโดยยกหลักใหญ่เต็มรูปขึ้นมาตั้งเป็นแบบไว้ ให้รู้ว่าการปฏิบัติสมาธิที่ถูก จะต้องดำเนินไปในแนวนี้ ดังที่ผู้ปฏิบัติธรรมสามารถเจริญวิปัสสนาได้โดยใช้สมาธิเพียงขั้นต้น ๆ ที่เรียกว่า “วิปัสสนาสมาธิ” ซึ่งเป็นสมาธิในระดับเดียวกับขณิกสมาธิ และอุปจารสมาธิ (ท่านระดับไว้ระหว่างขณิกสมาธิกับอุปจารสมาธิ)

ผลสำเร็จในระดับต่าง ๆ ของการเจริญสมาธิ

การเจริญสมาธินั้นจะประณีตขึ้นไปเป็นขั้น ๆ โดยลำดับ ภาวะจิตที่มีสมาธิถึงขั้นอัปปนาสมาธิแล้ว เรียกว่า “ฌาน” (absorption) ฌานมีหลายขั้น ยิ่งเป็นขั้นสูงขึ้นไป องค์ธรรมต่าง ๆ ซึ่งทำหน้าที่ประกอบอยู่กับสมาธิ ก็ยิ่งลดน้อยลงไป “ฌาน” โดยทั่วไปแบ่งเป็น ๒ ระดับใหญ่ ๆ และแบ่งย่อยออกไปอีกระดับละ ๔ รวมเป็น ๘ อย่าง เรียก ฌาน ๘ หรือสมาบัติ ๘ คือ
๑. รูปฌาน ๔ ได้แก่
๑.๑ ปฐมฌาน (ฌานที่ ๑) มีองค์ประกอบ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
๑.๒ ทุติยฌาน (ฌานที่ ๒) มีองค์ประกอบ ๓ คือ ปีติ สุข เอกัคคตา
๑.๓ ตติยฌาน (ฌานที่ ๓) มีองค์ประกอบ ๒ คือ สุข เอกัคคตา
๑.๔ จตุตถฌาน (ฌานที่ ๔) มีองค์ประกอบ ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตา

๒. อรูปฌาน ๔ ได้แก่
๒.๑ อกสานัญจายตนะ (ฌานที่กำหนดอากาศ-space อันอนันต์)
๒.๒ วิญญาณัญจายตนะ (ฌานที่กำหนดวิญญาณอันอนันต์)
๒.๓ อากิญจัญญายตนะ (ฌานที่กำหนดวาระที่ไม่มีสิ่งใด ๆ)
๒.๔ เนวสัญญานาสัญญายตนะ (ฌานที่เข้าถึงภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่)

การเพียรพยายามบำเพ็ญสมาธิ โดยใช้วิธีการใด ๆ ก็ตาม เพื่อให้เกิดผลสำเร็จเช่นนี้ท่านรียกว่า “สมถะ” มนุษย์ปุถุชนเพียรพยายามบำเพ็ญสมาธิเพียงใดก็ตาม ย่อมได้ผลสำเร็จอย่างสูงสุดเพียงเท่านี้ หมายความว่า สมถะล้วน ๆ ย่อมนำไปสู่ภาวะจิตที่เป็นสมาธิได้สูงสุดถึงฌาน เพียงเนวสัญญานาสัญญายตนะ เท่านั้น แต่ท่านผู้บรรลุผลสำเร็จควบทั้งฝ่ายสมถะ และวิปัสสนา เป็นพระอนาคามีหรือพระอรหันต์ สามารถเข้าถึงภาวะที่ประณีตสูงสุดอีกขั้นหนึ่ง นับเป็นขั้นที่ ๙ คือ สัญญาเวทยิตนิโรธ หรือ นิโรธสมาบัติ เป็นภาวะที่สัญญาและเวทนาดับ คือหยุดปฏิบัติหน้าที่ และเป็นความสุขขั้นสูงสุด

ขอบเขตความสำคัญของสมาธิ

ประโยชน์ที่แท้ และผลจำกัดของสมาธิ

สมาธิเป็นองค์ธรรมที่สำคัญยิ่งข้อหนึ่งก็จริง แต่ก็มีขอบเขตความสำคัญที่พึงตระหนักว่า สมาธิมีความจำเป็นแค่ไหน เพียงใด ในกระบวนการปฏิบัติ เพื่อเข้าถึงวิมุติ อันเป็นจุดหมายของพุทธธรรม ขอบเขตความสำคัญอาจสรุปได้ดังนี้
๑. ประโยชน์แท้ของสมาธิ ในการปฏิบัติเพื่อเข้าถึงจุดหมายของพุทธธรรมนั้น อยู่ที่ “ทำให้จิตเหมาะแก่งาน” ซึ่งจะนำมาใช้เป็นที่ทำการสำหรับให้ปัญญาปฏิบัติการอย่างได้ผลดีที่สุด และสมาธิที่ใช้เพื่อการนี้ก็ไม่จำเป็นต้องถึงขั้นสูงสุด ในทางตรงข้าม ลำพังสมาธิอย่างเดียวแม้จะเจริญถึงขั้นฌานสูงสุด หากไม่ก้าวไปสู่ขั้นการใช้ปัญญาแล้ว ย่อมไม่สามารถทำให้ถึงจุดหมายของพุทธธรรมได้เป็นอันขาด
๒. ฌานต่าง ๆ ทั้ง ๘ ขั้น แม้จะเป็นภาวะจิตที่ลึกซึ้ง แต่ในเมื่อเป็นผลของกระบวนการปฏิบัติ ที่เรียกว่า “สมถะ” อย่างเดียว ก็ยังเป็นโลกีย์เท่านั้น จะนำไปปะปนกับจุดหมายของพุทธธรรมหาได้ไม่
๓. หลุดพ้นได้ชั่วคราว กล่าวคือ ในภาวะแห่งฌานที่เป็นผลสำเร็จของสมาธินั้น กิเลสต่าง ๆ สงบระงับไป จึงเรียกว่าเป็นความหลุดพ้นเหมือนกัน แต่ความหลุดพ้นนี้มีชั่วคราวเฉพาะเมื่ออยู่ในภาวะนั้นเท่านั้น และถอยกลับสู่สภาพเดิมได้ ไม่ยั่งยืนแน่นอน ท่านจึงเรียกความหลุดพ้นชนิดนี้ว่าเป็นโลกิยวิโมกข์ (ความหลุดพ้นขั้นโลกีย์) และกุปปวิโมกข์ (ความหลุดพ้นที่กำเริบ คือเปลี่ยนแปลง กลับกลายหายสูญได้) และเป็นวิขัมภนวิมุติ (ความหลุดพ้นด้วยข่มไว้ คือ กิเลสระงับไปเพราะกำลังสมาธิข่มไว้ เหมือนเอาแผ่นหินทับหญ้า ยกแผ่นหินออกเมื่อใด หญ้าย่อมกลับงอกงามขึ้นได้ใหม่)

จากข้อพิจารณาที่กล่าวมานี้ จะเห็นว่าในการปฏิบัติเพื่อเข้าถึงจุดหมายของพุทธธรรมนั้น องค์ธรรมหรือตัวการสำคัญที่สุดที่เป็นตัวตัดสินขั้นสุดท้าย จะต้องเป็น “ปัญญา” และปัญญาที่ใช้ปฏิบัติการในขั้นนี้เรียกชื่อเฉพาะได้ว่า “วิปัสสนา” ดังนั้นการปฏิบัติจึงต้องก้าวมาถึงขั้นวิปัสสนาด้วยเสมอ......

:b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43:

เจริญในธรรมครับ :b8: :b8: :b8: smiley

:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b42: :b42: :b42: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
ราตรีของผู้ตื่นอยู่นาน...โยชน์ของผู้ล้าแล้วไกล
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มี.ค. 2011, 18:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.พ. 2011, 10:52
โพสต์: 256

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b43: :b44: :b8: :b8: :b8: :b44: :b43:

.....................................................
ทำดี ดีแล้ว เป็นพร
ทำดี ดีแล้ว เป็นพร ไม่ต้อง อ้อนวอน ขอพร กะใคร ให้กวน
พรที่ ให้กัน ผันผวน เป็นเหมือน ลมหวน อวลไป อวลมา อย่าหลง
พรทำ ดีเอง มั่นคง วันคืน ยืนยง ซื่อตรง ต่อผู้ รู้ทำ
อยากรวย ด้วยพร เพียรบำ - เพ็ญบุญ กุศลนำ ให้ถูก ให้พอ ต่อตน
ทุกคน เกิดมา เป็นคน ชั่วดี มีจน เป็นผล แห่งกรรม ทำเอง
ถือธรรม เชื่อกรรม ยำเยง บาปชั่ว กลัวเกรง ทำแต่ กรรมดี ทวีพรฯ

ท่านพุทธทาสภิกขุ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 เม.ย. 2011, 02:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 14:50
โพสต์: 69

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b43: :b43: :b43: :b8: :b8: :b8: :b43: :b43: :b43:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2011, 12:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www




GEDC1748_resize.JPG
GEDC1748_resize.JPG [ 67.95 KiB | เปิดดู 6401 ครั้ง ]
tongue สาธุ อนุโมทนาเป็นอย่างยิ่งกับคุณ ningnong ครับ

ขอให้เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปครับ
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 36 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร