วันเวลาปัจจุบัน 17 เม.ย. 2024, 06:51  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 56 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2011, 18:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ภิกษุผู้เป็นธีรชน มีสติ ประพฤติในธรรมเป็นส่วนสุดรอบ ไม่พึงกลัว ต่อภัย ๕ ประการ คือ ตัวเหลือบ สัตว์ไต่ตอม สัตว์เลื้อยคลาน สัมผัสแต่มนุษย์ และภัยแต่สัตว์สี่เท้า.

ว่าด้วยภิกษุผู้เป็นธีรชน

คำว่า ผู้เป็นธีรชน ในคำ ผู้เป็นธีรชน ... ไม่พึงกลัวต่อภัย ๕ ประการความว่า ผู้เป็นธีรชน เป็นบัณฑิต มีปัญญา มีปัญญาตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาทำลายกิเลส ไม่พึงกลัว ไม่พึงสะดุ้ง ไม่พึงหวาดเสียวไม่พึงครั่นคร้าม ไม่พึงถึงความสยดสยอง ต่อภัย ๕ ประการ คือ เป็นผู้ไม่ขลาด ไม่ครั่นคร้าม ไม่หวาดเสียว ไม่หนี เป็นผู้ละ ความกลัวความขลาดเสียแล้ว ปราศจากความเป็นผู้มีขนลุกอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้เป็นธีรชน ... ไม่พึงกลัวต่อภัย ๕ ประการ.

คำว่า ภิกษุ ในคำว่า ภิกษุ ... มีสติ ประพฤติในธรรมเป็นส่วนสุดรอบคือ ภิกษุที่เป็นกัลยาณปุถุชน หรือภิกษุที่เป็นพระเสขะคำว่า มีสติ ความว่า มีสติด้วยเหตุ ๔ ประการ คือ เมื่อเจริญสติปัฏฐานคือพิจารณาเห็นกายในกาย ก็ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานคือพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ก็ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานคือพิจารณาเห็นจิตในจิต ก็ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานคือพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย ก็ชื่อว่ามีสติ ภิกษุนั้นท่านเรียกว่า เป็นผู้มีสติ.

ธรรมเป็นส่วนสุดรอบในคำว่า ประพฤติธรรมเป็นส่วนสุดรอบ มี ๔ ประการ คือ
ธรรมเป็นส่วนสุดรอบคือ ศีลสังวร ๑
ธรรมเป็นส่วนสุดรอบคืออินทรียสังวร ๑
ธรรมเป็นส่วนสุดรอบคือโภชเนมัตตัญญุตา ๑
ธรรมเป็นส่วนสุดรอบคือชาคริยานุโยค ๑.

ธรรมเป็นส่วนสุดรอบคือศีลสังวรเป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมอยู่ในปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร เป็นผู้เห็นภัยในโทษทั้งหลายมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย พิจารณาถึงความเสีย ณ ภายใน ชื่อว่าประพฤติในธรรมเป็นส่วนสุดรอบคือศีลสังวร ณ ภายใน มิได้ทำลายศีลอันเป็นเขตแดน นี้ชื่อว่า ธรรมเป็นส่วนสุดรอบคือศีลสังวร.

ธรรมเป็นส่วนสุดรอบคืออินทรียสังวรเป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้วจะพึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามกคือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ย่อมรักษาจักขุนทรีย์ย่อมถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงด้วยหู ดมกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ย่อมรักษามนินทรีย์ ย่อมถึงความสำรวมในมนินทรีย์ พิจารณาอาทิตตปริยายเทศนา ชื่อว่าประพฤติในธรรมเป็นส่วนสุดรอบคืออินทรียสังวรในภายใน มิได้ทำลายนทรียสังวรอันเป็นเขตแดน นี้ชื่อว่าธรรมเป็นส่วนสุดรอบคืออินทรียสังวร.

ธรรมเป็นส่วนสุดรอบคือโภชเนมัตตัญญุตาเป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยอุบายอันแยบคายแล้ว ฉันอาหาร ไม่ฉันเพื่อเล่น ไม่ฉันเพื่อมัวเมา ไม่ฉันเพื่อประดับไม่ฉันเพื่อตกแต่ง ฉันเพื่อความตั้งอยู่แห่งกายนี้ เพื่อจะให้กายนี้เป็นไป เพื่อเว้นความลำบากแห่งกายนี้ เพื่ออนุเคราะห์แก่พรหมจรรย์ ด้วยมนสิการว่า เราจะบำบัดเวทนาเก่า จักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น และความดำเนินของเรา ความที่เราไม่มีโทษ ความอยู่สบายของเราจักมี ดังนี้อย่างเดียวเท่านั้น พิจารณาอาหารเปรียบด้วยน้ำมันสำหรับหยอดเพลาเกวียน ผ้าสำหรับปิดแผลและเนื้อบุตร (ของคนที่เดินทางกันดาร) ชื่อว่าประพฤติในธรรมเป็นส่วนสุดรอบคือโภชเนมัตตัญญุตา ย่อมไม่ทำลายโภชเนมัตตัญญุตาอันเป็นเขตแดนในภายใน นี้ชื่อว่า ธรรมเป็นส่วนสุด
รอบ คือโภชเนมัตตัญญุตา.

ธรรมเป็นส่วนสุดรอบคือชาคริยานุโยคเป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมทั้งหลายอันเป็นเครื่องกั้นกาง ด้วยการเดิน การนั่งตลอดวัน ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมทั้งหลายอันเป็นเครื่องกั้นกาง ด้วยการเดินการนั่งตลอดปฐมยามแห่งราตรี ย่อมสำเร็จสีหไสยา (นอนอย่างราชสีห์) โดยข้างเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะใส่ใจถึงสัญญาในความลุกขึ้น ตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี กลับลุกขึ้นแล้ว ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมทั้งหลายอันเป็นเครื่องกั้นกาง ด้วยการเดิน การนั่งตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี พิจารณาถึงความอยู่แห่งบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญ ชื่อว่าประพฤติในธรรมเป็นส่วนสุดรอบคือชาคริยานุโยคในภายใน ย่อมไม่ทำลายชาคริยานุโยคอันเป็นเขตแดน นี้ชื่อว่า ธรรมเป็นส่วนสุดรอบคือชาคริยานุโยค เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุ ... มีสติ ประพฤติในธรรมเป็นส่วนสุดรอบ.


ที่พูดถึง กัลยาณปุถุชน
คำว่า ภิกษุ ในคำว่า ภิกษุ ... มีสติ ประพฤติในธรรมเป็นส่วนสุดรอบคือ ภิกษุที่เป็นกัลยาณปุถุชน หรือภิกษุที่เป็นพระเสขะคำว่า มีสติ ความว่า มีสติด้วยเหตุ ๔ ประการ คือ เมื่อเจริญสติปัฏฐานคือ.........

แล้วถามคุณ supareak กลับว่า ผู้ใดเป็นคนกล่าวประโยคเหล่านี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2011, 20:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ก่อนอื่น ต้องของชีแจงว่า อินทรีย์สังวร กับอินทรีย์ ๕ ไม่ใช่เรื่องเดียวกัน

อินทรีย์สังวร หรือ การสำรวมอินทรีย์ หมายถึง อินทรีย์ ๖ ได้แก่ การสำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้หลงไปกับอารมณ์ ด้วยการกำหนดรู้ผัสสะด้วยปัญญา คำว่าปัญญา คือ ปริญญา ๓

การขยายความในมหานิเทส ซึ่งเดิมเป็นบทกวี รจณาขยายความโดยพระเถระภายหลัง

คำว่า ภิกษุ คือ ผู้ต้องผ่านการฝึก จนมีคุณสมบัติตามนี้;

๑) ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องได้รับการฝึกฝนจนมีศีล(สมทานในสิกขาบท) รักษาศีล ๒๒๗ ข้อได้ รวมไปทั้งศึกษาพระปาติโมกข์ สำรวมในพระปาติโมกข์ (รายละเอียดมีในพระวินัยเล่ม ๑ ถึง ๘)

๒) ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อฝึกจนมีศีลแล้ว ต้องฝึกสำรวมอินทรีย์ ๖ จนไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ ในผัสสะสฬาตยนะทั้ง ๖ หรือปฏิบัติปัสสนาภาวนา (เหตุของสติปัฏฐาน) (รายละเอียดอยู่ใน สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค ทั้งเล่ม)

๓) ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อฝึกจนสำรวมอินทรีย์ได้แล้ว จึงมาฝึกฉันอาหารมื้อเดียว หรือ รู้จักประมาณในโภชนะ

๔) ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อฝึกจนประมาณในโภชนะได้แล้ว ก็ต้องมาฝึกสติสัมปชัญญะ (ที่มาของยุบหนอพองหนอ)

๕) ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อฝึกจนเกิดสติสัมปชัญญะ ก็ฝึกดูกาย ดูเวทนา ดูจิต (ที่มาของพวกดูจิต) ดูโลก (ธรรม) เพื่อพิจารณากิเลสที่เหลือ และใช้ปัญญาประหารกิเลสที่เหลือ จนกว่ากิเลสจะสิ้น คำว่าปัญญา ก็คือ ปริญญา ๓

ภิกฺขุโนติ กลฺยาณปุถุชฺชนสฺส ก็จึงยังหมายถึงพระเสขะ หรือพระนักบวช ไม่ได้หมายถึงฆราวาส .... ในสมัยพุทธกาล ก่อนที่จะบวชได้ ก็ต้องมีดวงตาเห็นธรรมก่อน

ทุกสำนักในโลกที่บอกว่า วิปัสสนา เขาให้ปุถุชนกระโดดไปฝึกขั้นที่ ๔, ๕ โดยอ้างว่า เอามาจากพระไตรปิฏก ซึ่งก็จริงของพวกเขา แต่มันผิดบุคคล ผิดขั้นตอน ก็เลยผิดธรรม เพราะตัดเอามาแต่บางส่วน

ในพระำไตปิฏก ยังมีอีก ๓ จุด ที่แสดงหลักสูตรของพระภิกษุตามลำดับขั้น คือ มูลปริยายวรรคทั้ง ๑๐ สูตร, ทัณตภูมิสูตร และ คณกโมคคัลลานสูตร (๑๐๗)

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2011, 23:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ภิกฺขุโนติ กลฺยาณปุถุชฺชนสฺส ก็จึงยังหมายถึงพระเสขะ หรือพระนักบวช ไม่ได้หมายถึงฆราวาส .... ในสมัยพุทธกาล ก่อนที่จะบวชได้ ก็ต้องมีดวงตาเห็นธรรมก่อน


ถามคุณ กลับ ก่อนที่จะบวชต้องมีดวงตาเห็นธรรมก่อน ทุกคนเลยหรือไม่
ผู้ที่แต่ก่อนเป็นปุถุชนแล้วมาบวชได้บรรลุอรหันต์ในภายหลังมีหรือไม่
แล้วถามกลับ ฆารวาสในสมัยพุทธกาล มีการให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ฝึกสติ ฝึกสมาธิหรือไม่
พระสูตรที่พระพุทธองค์กล่าวกะพระภิกษุ ฆารวาสจะมีโอกาสสดับบ้างหรือไม่
และที่สำคัญ พระพุทธเจ้าเคยห้าม ฆารวาส ปฏิบัติสติปัฏฐานสี่หรือไม่
แต่ก่อนพระพุทธเจ้าครั้งยังเป็นพระโพธิสัตว์ ได้ปฏิบัติ สติปัฏฐานสี่ก่อนบรรลุธรรมหรือไม่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2011, 23:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


กัลยาณปุถุชน กับพระเสขะ เป็น บุคคลพวกเดียวกันหรือ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2011, 08:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


FLAME เขียน:
อ้างคำพูด:
ภิกฺขุโนติ กลฺยาณปุถุชฺชนสฺส ก็จึงยังหมายถึงพระเสขะ หรือพระนักบวช ไม่ได้หมายถึงฆราวาส .... ในสมัยพุทธกาล ก่อนที่จะบวชได้ ก็ต้องมีดวงตาเห็นธรรมก่อน


ถามคุณ กลับ ก่อนที่จะบวชต้องมีดวงตาเห็นธรรมก่อน ทุกคนเลยหรือไม่
ผู้ที่แต่ก่อนเป็นปุถุชนแล้วมาบวชได้บรรลุอรหันต์ในภายหลังมีหรือไม่
แล้วถามกลับ ฆารวาสในสมัยพุทธกาล มีการให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ฝึกสติ ฝึกสมาธิหรือไม่
พระสูตรที่พระพุทธองค์กล่าวกะพระภิกษุ ฆารวาสจะมีโอกาสสดับบ้างหรือไม่
และที่สำคัญ พระพุทธเจ้าเคยห้าม ฆารวาส ปฏิบัติสติปัฏฐานสี่หรือไม่
แต่ก่อนพระพุทธเจ้าครั้งยังเป็นพระโพธิสัตว์ ได้ปฏิบัติ สติปัฏฐานสี่ก่อนบรรลุธรรมหรือไม่

สมมุติสงฆ์เกิดปลายสมัยพุทธกาล ไม่มีรายละเอียดมากในพระไตรปิฏก พวกนี้ยังไม่มีดวงตาเห็นธรรม แต่มีศรัทรา เข้ามาแล้วค่อยมาเรียนกันทีหลัง

ฆราวาส ที่เป็นชาวพุทธ นับได้ตั้งแต่มีดวงตาเห็นธรรม พุทธ แปลว่าผู้รู้ คือได้สดับความจริงมาแล้วจากผู้รู้ ถึงมาปฏิบัติ ทาน ศีล วิปัสสนาภาวนา (ไม่ใช่สมาธิภาวนา) เป็นศรัทรานุสารี ธัมมานุสารี โสดาปัตติมรรค หรือโสดาปัตติผล เป็นเสขะบุุคล ไม่ถือว่าเป็นปุถุชน

ที่พระพุทธองอค์ตรัสสอนพระภิกษุ ก็มีฆราวาสฟัง แต่เขาไม่เอาไปปฏิบัติ เพราะเขารู้ว่ามันเป็นเรื่องของพระอริยเจ้า

พระพุทธเจ้าครั้งยังเป็นพระโพธิสัตว์ ไม่ได้ปฏิบัติสติปัฏฐาน เมื่อนท่านพบความจริง พบวิปัสสนาญาน ความเห็นหรือปัญญาของท่านก็ยกจิตสู่สภาวะที่พ้นอาสวะได้เลย เหมือนสาวกผู้ได้ฟังความจึงแล้วบรรลุอรหันต์ เป็นปัญญาที่มีกำลัง เกิดมาจากบุญญาบารมี

ฆารวาสปฏิบัติสติปัฏฐานได้ แต่ต้องทรงคุณอย่างน้อยโสดาปัตติผล และไม่ได้ทำเหมือนพระอริยะ เพราะพระอริยะทำตั้งแต่ตื่นจนหลับ

FLAME เขียน:
กัลยาณปุถุชน กับพระเสขะ เป็น บุคคลพวกเดียวกันหรือ
ภิกษุที่เป็นพระเสขะ กับภิกษุปุถุชน ถือศีล ๒๒๗ ข้อเหมือนกัน

กัลยาณปุถุชน ไม่มีอธิบายใบุคคลบัญญัติ น่าจะหมายถึงเสขะบุคคลที่ยังไม่บวช หรือเป็นพวกที่มีศรัทราแต่ยังไม่มีดวงตาเห็นธรรม

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2011, 23:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


กระทู้นี้ผมตั้งใจจะมาเผยแพร่เรื่องสติปัฏฐาน ๔
เมื่อฆารวาสในสมัยพุทธกาลยังมีโอกาสสดับ ฆารวาสในสมัยนี้ก็ต้องมีโอกาสสดับเช่นกัน
ส่วนเรื่องจะนำไปปฏิบัติหรือไม่นั้น เป็นเรื่องของศรัทธา สัมมาทิฏฐิ และความเพียรของแต่ละบุคคล

เจริญในธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2011, 09:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ไม่ใช่ปฏิบัติเพราะศรัทรา .. เพราะธรรมชาติมีเหตุปัจจัยเป็นแดนเกิด ตั้งอยู่เพราะเหตุปัจจัย ดับเพราะเหตุปัจจัย ฯ

เมื่อได้สดับว่า สิ่งนี้คือสงสารวัฏร สิ่งนี้คือเหตุของการเวียนว่ายตายเกิด สิ่งนี้คือการดับเหตุฯ สิ่งนี้คือการปฏิบัติเพื่อดับการเวียนว่ายตายเกิด เกิดปัญญาจากการฟังแล้ว ก็ปฏิบัติเพื่อดับความเห็นผิด เมื่อความเห็นผิดดับลงไป เห็นความจริงเป็นปกติ ก็มาเจริญความจริงให้ยิ่งๆ ขึ้นไป จนดับความเห็นสิ้นซากไม่มีส่วนเหลือ

จะเจริญสติปัฏฐานได้ ความเห็นผิด(อย่างหยาบ)ต้องดับลงไปก่อน ทำสติปัฏฐานให้เกิดขึ้นมาให้ได้ก่อนจึงจะเจริญต่อได้ สัมมาทิฐิที่นับเนื่องเป็นองค์แห่งมรรคต้องเกิดขึ้นมาก่อน ไม่ใช่สัมมาทิฐิที่ยังเป็นโลกกียะ ยังมีอาสาวะ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2011, 11:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่องความเห็นต่างเป็นเรื่องปกติ คนที่เข้ามาอ่านและผู้ที่นำมาโพส มีจุดประสงค์แตกต่างกันไป

แต่ผู้โพส และผู้ที่เข้ามาอ่าน ต้องดูจิตตัวเองให้ทัน ว่าเกิดความรู้สึกอย่างไร ขณะที่ผัสสะเกิดขึ้น

เราปฏิบัติเพื่อดับที่ต้นเหตุของการเกิด

ต้นเหตุของการเกิด ได้แก่ กิเลสที่เกิดขึ้นในจิต


นี่คือ ประโยชน์ของการสนทนา ทั้งการที่มีความเห็นด้วย และ ไม่เห็นด้วย

เป็นเพียงอีกหนึ่งมุมมอง :b1:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2011, 18:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เรื่องความเห็นต่างเป็นเรื่องปกติ
แต่ความจริง หรือ สัจจะ มีหนึ่งเดียว ตั้งอยู่อย่างนั้น รอการเข้าถึง

สิ่งที่นำมาแสดง ไม่ว่าผู้แสดงจะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม ถ้าตรงกับความจริง เรียก ธรรมวาที ถ้าผิดไปจากความจริง เรียก อธรรมวาที

กฏธรรมชาติ ๒ กฏนี้ จะทำให้ผู้ศึกษาไม่หลุดไปจากความจริง คือ กฏไตรลักษณ์๋ และกฏของเหตุปัจจัย

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2011, 20:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าจะกรุณา ยกสิ่งที่ผมกล่าวเป็น อธรรมวาทีมา ก็จะขอบพระคุณอย่างสูงครับ
หรือสิ่งที่ผมกล่าวเป็นความเท็จอย่างไรก็บอกมา จะได้แก้ไขปรับปรุง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2011, 21:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


FLAME เขียน:
ถ้าจะกรุณา ยกสิ่งที่ผมกล่าวเป็น อธรรมวาทีมา ก็จะขอบพระคุณอย่างสูงครับ
หรือสิ่งที่ผมกล่าวเป็นความเท็จอย่างไรก็บอกมา จะได้แก้ไขปรับปรุง

ผู้ที่รู้แล้วเท่านั้นถึงจะรู้ว่าผู้อื่นรู้หรือไม่รู้ สำหรับผู้ที่ยังไม่รู้ จะหาว่า ใครคือผู้รู้ ก็ยังเป็นเรื่องยาก และมันก็เป็นเรื่องลำบากใจที่จะแสดงว่า ฉันรู้แล้ว หรือ ฉันเป็นพุทธ เพราะไม่รู้ว่าจะเอาอะไรมาชี้วัด แล้วมันก็จะลงที่ การยกตน อวดตน

ถ้าคุณเชื่อมั่นในกฏธรรมชาติ ๒ กฏ ศึกษาธรรมโดยมีกฏทั้ง ๒ กฏนี้เป็นบรรทัดฐาน คุณก็จะได้รู้เองเห็นเองทุกเรื่องโดยไม่ต้องมีใครมาบอก ความรู้หรือความจริงที่คุณจะต้องได้สดับ หรือเป็นสิ่งที่คุณไม่มีทางรู้เองได้โดยง่าย จะรู้ตามได้ก็ยังยาก ก็คือ ความรู้ในกฏธรรมชาติ ๒ กฏนี้เท่านั้น

ผมได้เสวนากับคุณมาไม่นาน ครั้งแรก คุณเชื่อตามคติมหายาน ฝึกจะไปเป็นพระโพธิสัตว์ พยายามหาปัญญาในสมาธิ ถ้าคุณบอกว่า นี่เป็นคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สิ่งนี้ก็ถือว่าเป็นอธรรมวาที เพราะพระพุทธองค์ไม่เคยสอนแบบนี้

ถ้าคุณแสดงว่า การปฏิบัติสติปัฏฐาน ปุถุชนปฏิบัติจะทำใหเเกิดปัญญา (ผมเห็นแนวโน้มว่า คุณจะแสดงอย่างนั้น จึงเข้ามาเสวนาด้วย) ก็เป็นอธรรมวาที เพราะสติปัฏฐาน คือ การเจริญปัญญาของผู้ที่มีปัญญาอยู่แล้ว ไม่ใช่เหตุทำให้เกิดปัญญา

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2011, 21:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


กล่าวหาใครต้องมีหลักฐาน เอา ที่ผมกล่าวเป็น อธรรมวาที มาอ้างอิงด้วยจะเป็นการดี
ยกมาเป็นข้อๆ แจกแจงให้ละเอียด

หากผมกล่าวสิ่งที่เป็นอธรรม ผมยินดี ลบข้อความ กล่าวขออภัย และยอมรับความผิดแต่โดยดี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2011, 22:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่ท่านแสดงมาผมคงไม่ไปสอบทวนให้ทั้งหมด ในกระทู้นี้ยังไม่มีอะไรเพราะท่านยังไม่ได้ออกความเห็น แต่ก็ต้องขออภัยถ้าทำให้คิดไปว่ามาหาที่ผิด ผมแสดงสิ่งที่ถูก และกล่าวว่า การกล่าวในสิ่งที่ไม่จริง แล้วบอกว่าจริง เป็น อธรรมวาที เพราะ ธรรมคือความจริง

เพียงแต่เป็นการแสดงด้วยความหวังดี เพราะการผิดพลาดทางธรรม เป็นเรื่องละเอียด ผิดแล้วลำบากต้องมาแก้ตัว บางทีก็ไม่ทันได้แก้ตัว

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2011, 22:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ผมเสนอให้คุณ supareak ตั้งกระทู้การปฏิบัติธรรมตามแนวทางของท่านหรืออาจารย์ท่านก็ได้ จะได้เป็นประโยชน์แก่ผู้ที่มาศึกษา

ผมก็ยังยืนยันคำเดิมถ้าผิดก็กรุณาบอกด้วยครับ เพราะบางครั้งเราก็ไม่รู้ว่าเราผิด การที่มีผู้ชี้โทษ บอกโทษก็เป็นสิ่งที่ดีครับ

:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2011, 00:21 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ตัวอย่าง...อธรรมวาที

Supareak Mulpong เขียน:
......
เพราะสติปัฏฐาน คือ การเจริญปัญญาของผู้ที่มีปัญญาอยู่แล้ว ไม่ใช่เหตุทำให้เกิดปัญญา


ก็ปุถุชนจะละสักกายทิฐิได้อย่างไรเล่า...หากไม่เดินตามมรรค

จริงอยู่ที่ว่า...คนที่จะตัดสินใจกระทำตนให้พ้นทุกข์...ย่อมต้องมีปัญญาอยู่บ้าง

แต่ปัญญาตัวนี้...ไม่ใช่ตัวที่จะตัดสินว่าผู้นั้น..เข้าสู่โสดาปัตติมรรค..แล้ว

ยัง...ยังไม่ใช่


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 56 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 10 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร