วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 04:56  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 56 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2011, 00:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


พุทโธ ธัมโม สังโฆ
ขอกระทู้นี้จงมีแต่สันติสุข สาธุ สาธุ สาธุ

อย่าฟุ้งไปในอนาคต อย่ามัวอาลัยกับอดีต
เมตตาธรรมค้ำจุนโลก

onion onion onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2011, 09:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่องที่ผ่านไปแล้ว กรรมมันสำเร็จลงไปแล้ว เราแก้มะม่วงสุกให้กลับมาเป็นมะม่วงดิบไม่ได้ แก้เมื่อวานเป็นวันนี้ก็ไม่ได้ เราทำได้ก็คือ ทำวันนี้ให้ดีให้ถูก เพื่อวันพรุ่งนี้ผลจะได้ออกมาถูก กรรมส่วนที่เป็นบาปอกุศลจะได้เป็นอโหสิกรรมไป ... คือ แก้ตัวได้ ถ้ายังมีลมหายใจอยู่

การแสดงธรรม การเข้าถึงธรรม เป็นเรื่องของบุญบาป คนที่ไม่รู้ อย่างไรเขาก็ไม่รู้ ถ้าประกอบด้วยทิฐิมานะ ก็สอนไม่ได้เลย ... มันจึงไม่มีวิธีการทางสอนโลกใดๆ ที่จะทำให้คนบรรลุธรรมได้ ที่ได้เข้ามาบอกท่าน มันก็ไม่ได้เกิดขึ้นมาลอยๆ มันมีเหตุปัจจัยของมัน

มรรค ๘ เป็นเหตุปัจจัยของสติปัฏฐาน การปฏิบัติสติปัฏฐาน เป็นมรรคเบื้องสูงเพื่ออรหันตผล และผู้ที่จะเดินตามมรรคได้ ต้องได้รับฟังความจริงฯ จนเกิดปัญญา มีดวงตาเห็นธรรมเสียก่อน

ความจริง ตามกฏของเหตุปัจจัยมีเพียงเท่านี้ ถ้าเห็นนอกจากนี้ ก็คือ ความเห็นของผู้นั้นคลาดเคลื่อนไปจากความจริง หรือผู้นั้นได้ออกไปแล้วจากธรรมวินัยอันบริสุทธิ์นี้

พระำุทธองค์ตรัสไว้อย่างชัดเจนในพระไตรปิฏกว่า ผู้ที่เอาความจริงไปตั้งรับกระทบสัมผัสทั้ง ๖ ทาง คือ ฝึกตนให้รู้เห็นความจริงของ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ความคิด คือ ผู้ทีี่กำลังเดินตามมรรคอยู่ เมื่อมรรคบริบูรณ์ สติปัฏฐานถึงจะบริบูรณ์ตามมา องค์ธรรมอื่นๆ ในโพธิปักขยิธรรม ก็จะเกิดเจริญตามมาครบทั้ง ๓๗ ประการ ไม่เคยตรัสมัคาปฏิปทาเป็นอื่น

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2011, 12:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


การชักชวนให้เจริญสติปัฏฐาน

" ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงอนุเคราะห์ชนเหล่าใด และชนเหล่าใดพึงสำคัญถ้อยคำที่ควรฟัง ชนเหล่านั้นจะเป็นมิตร อมาตย์ ญาติหรือสายโลหิตก็ตาม เธอทั้งหลายพึงชักชวน ชักนำ ให้ตั้งอยู่ในการเจริญสติปัฏฐาน ๔

สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงอนุเคราะห์ชนเหล่าใด และชนเหล่าใด พึงสำคัญถ้อยคำที่ควรฟัง ชนเหล่านั้นจะเป็นมิตร อมาตย์ ญาติหรือสาโลหิตก็ตาม เธอทั้งหลายพึงชักชวน ชักนำ ให้ตั้งอยู่ในการเจริญสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้. "


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2011, 14:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ผมขอจบการสนทนาในกระทู้นี้แต่เพียงเท่านี้ครับ

ธรรมสวัสดี

onion onion onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2011, 15:53 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้ายังรู้สึกว่ายังวาดลวดลายธรรมไม่อิ่ม ก็มี สติปัฏฐาน 4 อีกกระทู้

viewtopic.php?f=1&t=38804

:b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2011, 23:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


เหมือนช้างป่า ม้าป่า วัวป่า ฯ ที่เขายังไม่ได้ฝึก ย่อมแตกต่างจากช้าง ม้า วัว ฯ ที่เขาฝึกมาดีแล้ว เหมือนกัน ผู้ปกติพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม ตามความเป็นจริง กำจัดอภิชฌาและโทมนัสใน(อายตนะ)โลกเสียได้ คือผู้ที่ฝึกตนมาดีแล้ว

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2011, 19:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


๗. สฬายตนวิภังคสูตร (๑๔๙)

[๘๒๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันเนื่องด้วยอายตนะ ๖ มากมายแก่เธอทั้งหลาย พวกเธอจงฟังธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไปภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้วพระพุทธเจ้าข้า ฯ

[๘๒๖] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นจักษุ ตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นรูป ตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นจักษุวิญญาณ ตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นจักษุสัมผัส ตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นความเสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง ย่อมกำหนัดในจักษุ กำหนัดในรูป กำหนัดในจักษุวิญญาณ กำหนัดในจักษุสัมผัสกำหนัดในความเสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อบุคคลนั้นกำหนัดนักแล้ว ประกอบพร้อมแล้ว ลุ่มหลง เล็งเห็นคุณอยู่ ย่อมมีอุปาทานขันธ์ ๕ ถึงความพอกพูนต่อไป และเขาจะมีตัณหาที่นำไปสู่ภพใหม่ สหรคตด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความยินดี อันมีความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ เจริญทั่ว จะมีความกระวนกระวายแม้ทางกาย แม้ทางใจเจริญทั่ว จะมีความเดือดร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจเจริญทั่ว จะมีความเร่าร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจเจริญทั่ว เขาย่อมเสวยทุกข์ทางกายบ้าง ทุกข์ทางใจบ้าง ฯ

[๘๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นโสตะ ตามความเป็นจริง...ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นฆานะ ตามความเป็นจริง...ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นชิวหา ตามความเป็นจริง...ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นกาย ตามความเป็นจริง...ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นมโน ตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไมเห็นธรรมารมณ์ ตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นมโนวิญญาณ ตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นมโนสัมผัส ตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นความเสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง ย่อมกำหนัดในมโน กำหนัดในธรรมารมณ์ กำหนัดในมโนวิญญาณ กำหนัดในมโนสัมผัส กำหนัดในความเสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อบุคคลนั้นกำหนัดนักแล้ว ประกอบพร้อมแล้วลุ่มหลง เล็งเห็นคุณอยู่ ย่อมมีอุปาทานขันธ์ ๕ ถึงความพอกพูนต่อไป และเขาจะมีตัณหาที่นำไปสู่ภพใหม่ สหรคตด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความยินดี อันมีความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ เจริญทั่ว จะมีความกระวนกระวายแม้ทางกายแม้ทางใจเจริญทั่ว จะมีความเดือดร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจเจริญทั่ว จะมีความเร่าร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจเจริญทั่ว เขาย่อมเสวยทุกข์ทางกายบ้าง ทุกข์ทางใจบ้าง ฯ


[๘๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นจักษุ ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นรูป ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นจักษุวิญญาณ ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นจักษุสัมผัส ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นความเสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง ย่อมไม่กำหนัดในจักษุ ไม่กำหนัดในรูป ไม่กำหนัดในจักษุวิญญาณ ไม่กำหนัดในจักษุสัมผัส ไม่กำหนัดในความเสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อบุคคลนั้นไม่กำหนัดนักแล้ว ไม่ประกอบพร้อมแล้ว ไม่ลุ่มหลง เล็งเห็นโทษอยู่ ย่อมมีอุปาทานขันธ์ ๕ ถึงความไม่พอกพูนต่อไป และเขาจะละตัณหาที่นำไปสู่ภพใหม่ สหรคตด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความยินดี อันมีความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ ได้ จะละความกระวนกระวายแม้ทางกาย แม้ทางใจได้ จะละความเดือดร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจได้ จะละความเร่าร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจได้ เขาย่อมเสวยสุขทางกายบ้าง สุขทางใจบ้าง บุคคลผู้เป็นเช่นนั้นแล้ว มีความเห็นอันใด ความเห็นอันนั้นย่อมเป็นสัมมาทิฐิ มีความดำริอันใด ความดำริอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสังกัปปะ มีความพยายามอันใด ความพยายามอันนั้นย่อมเป็นสัมมาวายามะ มีความระลึกอันใดความระลึกอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสติ มีความตั้งใจอันใด ความตั้งใจอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสมาธิ ส่วนกายกรรม วจีกรรม อาชีวะของเขา ย่อมบริสุทธิ์ดีในเบื้องต้นเทียว ด้วยอาการอย่างนี้ เขาชื่อว่ามีอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐถึงความเจริญบริบูรณ์

[๘๒๙] เมื่อบุคคลนั้นเจริญอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐนี้อยู่อย่างนี้ ชื่อว่ามีสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ ถึงความเจริญบริบูรณ์ บุคคลนั้นย่อมมีธรรมทั้งสองดังนี้ คือสมถะและวิปัสสนาคู่เคียงกันเป็นไป เขาชื่อว่ากำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ละธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง เจริญธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน มีข้อที่เรากล่าวไว้ว่า อุปาทานขันธ์ ๕ ได้แก่อุปาทานขันธ์ คือรูป คือเวทนา คือสัญญาคือสังขาร คือวิญญาณ เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน คืออวิชชาและภวตัณหา เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน คือสมถะและวิปัสสนา เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน คือวิชชาและวิมุตติ เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯ

[๘๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นโสตะ ตามความเป็นจริง ...ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นฆานะ ตามความเป็นจริง ...ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นชิวหา ตามความเป็นจริง ...ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นกาย ตามความเป็นจริง ...ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นมโน ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นธรรมารมณ์ ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นมโนวิญญาณ ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นมโนสัมผัส ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นความเสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง ย่อมไม่กำหนัดในมโน ไม่กำหนัดในธรรมารมณ์ ไม่กำหนัดในมโนวิญญาณ ไม่กำหนัดในมโนสัมผัส ไม่กำหนัดในความเสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง เมื่อบุคคลนั้นไม่กำหนัดนักแล้ว ไม่ประกอบพร้อมแล้ว ไม่ลุ่มหลง เล็งเห็นโทษอยู่ ย่อมมีอุปาทานขันธ์ ๕ถึงความไม่พอกพูนต่อไป และเขาจะละตัณหาที่นำไปสู่ภพใหม่ สหรคตด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความยินดี อันมีความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ ได้จะละความกระวนกระวายแม้ทางกาย แม้ทางใจได้ จะละความเดือดร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจได้ จะละความเร่าร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจได้ เขาย่อมเสวยสุขทางกายบ้าง สุขทางใจบ้าง บุคคลผู้เป็นเช่นนั้นแล้ว มีความเห็นอันใดความเห็นอันนั้นย่อมเป็นสัมมาทิฐิ มีความดำริอันใด ความดำริอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสังกัปปะ มีความพยายามอันใด ความพยายามอันนั้นย่อมเป็นสัมมาวายามะมีความระลึกอันใด ความระลึกอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสติ มีความตั้งใจอันใดความตั้งใจอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสมาธิ ส่วนกายกรรม วจีกรรม อาชีวะของเขาย่อมบริสุทธิ์ในเบื้องต้นเทียว ด้วยอาการอย่างนี้ เขาชื่อว่ามีอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐถึงความเจริญบริบูรณ์ ฯ

[๘๓๑] เมื่อบุคคลนั้นเจริญอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐอยู่อย่างนี้ ชื่อว่ามีสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ถึงความเจริญบริบูรณ์ บุคคลนั้นย่อมมีธรรมทั้งสองดังนี้ คือ สมถะและวิปัสสนาคู่เคียงกันเป็นไป เขาชื่อว่ากำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ละธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง เจริญธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯ


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน มีข้อที่เรากล่าวไว้ว่า อุปาทานขันธ์ ๕ ได้แก่อุปาทานขันธ์คือรูป คือเวทนา คือสัญญาคือสังขาร คือวิญญาณ เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน คืออวิชชาและภวตัณหา เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน คือสมถะและวิปัสสนา เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน คือวิชชาและวิมุตติ เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2011, 11:12 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


สติปัฏฐานกถา
[๔๒๖] สกวาที ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว
ส. ธรรมทั้งปวงเป็นสติ เป็นสตินทรีย์ เป็นสติพละ เป็นสัมมาสติ เป็นสติ-
สัมโพชฌงค์ เป็นเอกายนมรรค เป็นเหตุให้ถึงความสิ้นไป เป็นเหตุให้
ถึงความตรัสรู้ เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ไม่
เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ ไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ ไม่เป็นอารมณ์ของ
โอฆะ ไม่เป็นอารมณ์ของโยคะ ไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ ไม่เป็น
อารมณ์ของปรามาสะ ไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ไม่เป็นอารมณ์ของ
สังกิเลส ธรรมทั้งปวงเป็นพุทธานุสสติ เป็นธัมมานุสสติ เป็น
สังฆานุสสติ เป็นสีลานุสสติ เป็นจาคานุสสติ เป็นเทวดานุสสติ
เป็นอานาปานสติ เป็นมรณานุสสติ เป็นกายคตาสติ เป็นอุปสมานุสสติ
หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๒๗] ส. ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. จักขายตนะเป็นสติปัฏฐาน หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. จักขายตนะเป็นสติปัฏฐาน หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. จักขายตนะ เป็นสติ เป็นสตินทรีย์ เป็นสติพละ เป็นสัมมาสติ เป็นสติ-
สัมโพชฌงค์ เป็นเอกายนมรรค เป็นเหตุให้ถึงความสิ้นไป เป็นเหตุให้
ถึงความตรัสรู้ เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ไม่เป็น
อารมณ์ของสัญโญชน์ ฯลฯ ไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส จักขายตนะ
เป็นพุทธานุสสติ เป็นธัมมานุสสติ เป็นสังฆานุสสติ เป็นสีลานุสสติ
เป็นจาคานุสสติ เป็นเทวดานุสสติ เป็นอานาปานสติ เป็นมรณานุสสติ
เป็นกายคตาสติ เป็นอุปสมานุสสติ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. โสตายตนะ ฯลฯ ฆานายตน ชิวหายตนะ กายายตนะ ฯลฯ รูปายตนะ
สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ราคะ ฯลฯ
โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ ฯลฯ
อโนตตัปปะ เป็นสติปัฏฐาน หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. อโนตตัปปะ เป็นสติปัฏฐาน หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. อโนตตัปปะ เป็นสติ เป็นสตินทรีย์ เป็นสติพละ เป็นสัมมาสติ ฯลฯ
เป็นกายคตาสติ เป็นอุปสมานุสสติ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๒๘] ส. สติเป็นสติปัฏฐาน และสตินั้นเป็นสติ หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. จักขายตนะเป็นสติปัฏฐาน และจักขายตนะนั้นเป็นสติ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. สติเป็นสติปัฏฐาน และสตินั้นเป็นสติ หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. โสตายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ ราคะ
โทสะ โมหะ มานะ ฯลฯ อโนตตัปปะ เป็นสติปัฏฐาน และ
อโนตตัปปะนั้นเป็นสติ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๒๙] ส. จักขายตนะ เป็นสติปัฏฐาน แต่จักขายตนะนั้นไม่เป็นสติ หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. สติเป็นสติปัฏฐาน แต่สตินั้นไม่เป็นสติ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. โสตายตนะ ฯลฯ กายตนะ รูปายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ ราคะ
โทสะ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะ เป็นสติปัฏฐาน แต่อโนตตัปปะนั้น
ไม่เป็นสติ หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. สติเป็นสติปัฏฐาน แต่สตินั้นไม่เป็นสติ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๓๐] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน หรือ?
ส. ถูกแล้ว
ป. สติปรารภธรรมทั้งปวงตั้งมั่นได้ มิใช่หรือ?
ส. หากว่าสติ ปรารภธรรมทั้งปวง ตั้งมั่นได้ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้อง
กล่าวว่า ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน
[๔๓๑] ส. เพราะสติปรารภธรรมทั้งปวงตั้งมั่นได้ ฉะนั้นธรรมทั้งปวงจึงชื่อว่า สติ
ปัฏฐาน หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. เพราะผัสสะปรารภธรรมทั้งปวงตั้งมั่นได้ ฉะนั้นธรรมทั้งปวงจึงชื่อว่า
ผัสสปัฏฐาน หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๓๒] ส. เพราะสติปรารภธรรมทั้งปวงตั้งมั้นได้ ฉะนั้นธรรมทั้งปวงจึงชื่อว่า สติ
ปัฏฐาน หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. เพราะเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ จิตปรารภธรรมทั้งปวง
ตั้งมั่นได้ ฉะนั้นธรรมทั้งปวงจึงชื่อว่า จิตตปัฏฐาน หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๓๓] ส. ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. สัตว์ทั้งปวงเป็นผู้ตั้งสติมั่น เป็นผู้ประกอบด้วยสติ เป็นผู้มั่นคงด้วยสติ
สติเป็นธรรมชาติเข้าไปตั้งมั่นแก่สัตว์ทั้งปวง หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๓๔] ส. ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดไม่ได้
บริโภคกายคตาสติ ชนเหล่านั้นไม่ได้บริโภคอมตะ ชนเหล่าใด
บริโภคกายคตาสติ ชนเหล่านั้นได้บริโภคอมตะ ดังนี้ ๑- เป็นสูตรมี
อยู่จริง มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. สัตว์ทั้งปวงเจริญ ปฏิบัติ เสพ อบรม ทำให้มาก ซึ่งกายคตาสติ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
@๑. อํ. เอก. ข้อ ๒๓๕ หน้า ๕๙
[๔๓๕] ส. ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้มรรคเป็นเอกายนะ
ทางอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อความก้าวล่วง
ซึ่งโสกะ ปริเทวะ เพื่อความสาบสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อ
บรรลุอริยมรรคเครื่องออกไปจากทุกข์ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน
นี้คือสติปัฏฐานทั้ง ๔ ดังนี้ ๑- เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. ธรรมทั้งปวงเป็นเอกายนมรรค หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๓๖] ส. ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย รัตนะ ๗ ประการ
ย่อมปรากฏ เพราะความปรากฏแห่งพระเจ้าจักรพรรดิ ๗ ประการ
เป็นไฉน จักรรัตนะ (จักรแก้ว) ปรากฏ ๑ หัตถิรัตนะ (ช้างแก้ว)
ปรากฏ ๑ อัสสรัตนะ (ม้าแก้ว) ปรากฏ ๑ มณีรัตนะ (ดวงมณีแก้ว)
ปรากฏ ๑ อิตถีรัตนะ (นางแก้ว) ปรากฏ ๑ คหปติรัตนะ
(คหบดีแก้ว) ปรากฏ ๑ ปริณายกรัตนะ (ขุนพลแก้ว) ปรากฏ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย รัตนะ ๗ ประการเหล่านี้ ย่อมปรากฏ เพราะความ
ปรากฏแห่งพระเจ้าจักรพรรดิ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย รัตนะคือโพชฌงค์ ๗ ประการ ย่อม
ปรากฏ เพราะความปรากฏแห่งพระตถาคตผู้อรหันตสัมมาพุทธะ
๗ ประการเป็นไฉน รัตนะคือสติสัมโพชฌงค์ ปรากฏ ๑ รัตนะคือ
วิริยสัมโพชฌงค์ปรากฏ ๑ รัตนะคือปีติสัมโพชฌงค์ปรากฏ ๑ รัตนะ
@๑. ม.ม. ข้อ ๑๓๒ หน้า ๑๐๓
คือปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ปรากฏ ๑ รัตนะคือสมาธิสัมโพชฌงค์
ปรากฏ ๑ รัตนะคืออุเบกขาสัมโพชฌงค์ปรากฏ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
รัตนะคือโพชฌงค์ ๗ ประการเหล่านี้ ย่อมปรากฏ เพราะความ
ปรากฏแห่งพระตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ ดังนี้ ๑- เป็นสูตรมี
อยู่จริง มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. ธรรมทั้งปวงเป็นรัตนะคือสติสัมโพชฌงค์ปรากฏ เพราะความปรากฏแห่ง
พระตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. ธรรมทั้งปวงเป็นสัมมัปปธาน ฯลฯ เป็นอิทธิบาท ฯลฯ เป็นอินทรีย์ ฯลฯ
เป็นพละ ฯลฯ เป็นโพชฌงค์ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สติปัฏฐานกถา จบ.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2011, 12:53 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


อรรถกถา ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค ปัญญาวรรค
๘. สติปัฏฐานกถา

อรรถกถาสติปัฏฐานกถา
บัดนี้จะพรรณนาตามความที่ยังไม่เคยพรรณนาแห่งสติปัฏฐานกถา อันมีพระสูตรเป็นเบื้องต้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอนุปัสสนาวิเศษ ๗ อย่าง ยกอิทธิปาฏิหาริย์ที่พระองค์ตรัสแล้วในลำดับแห่งสมสีสกถาเป็นตัวอย่างตรัสแล้ว.
พึงทราบความในพระสูตรนั้นก่อน.
บทว่า จตฺตาโร สติปัฏฐาน ๔ เป็นการกำหนดจำนวน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงการกำหนดสติปัฏฐานไว้ว่า ไม่ต่ำกว่านั้น ไม่สูงกว่านั้น.
บทว่า อิเม นี้เป็นบทชี้ให้เห็นสิ่งที่ควรชี้ให้เห็น.
บทว่า ภิกฺขเว เป็นคำร้องเรียกบุคคลผู้รับธรรม.
บทว่า สติปฏฺฐานา คือ สติปัฏฐาน ๓ อย่าง ได้แก่ สติเป็นโคจร ๑ ความที่พระศาสดาผู้ประพฤติล่วงความยินดียินร้าย ในสาวกทั้งหลายผู้ปฏิบัติ ๓ อย่าง ๑ และสติ ๑.
สติโคจร ท่านกล่าวว่าสติปัฏฐาน มาในพระบาลีมีอาทิว่า๑- ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความเกิดและความดับของสติปัฏฐาน ๔.
บทนั้นมีอธิบายว่า ชื่อว่าปัฏฐาน เพราะมีที่ตั้ง อะไรตั้ง สติตั้ง การตั้งสติชื่อว่าสติปัฏฐาน.
____________________________
๑- สํ. มหา. เล่ม ๑๙/ข้อ ๘๑๙

ความละเมิดคำแนะนำด้วยความข้องใจของศาสดา ในสาวกผู้ปฏิบัติ ท่านกล่าวว่า สติปฏฺฐานํ ในพระบาลีนี้ว่า๒- พึงทราบการตั้งสติ ๓ ประการที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพชื่อว่าเป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนหมู่.
บทนั้นมีอธิบายว่า ชื่อว่าปัฏฐาน เพราะควรตั้งไว้. อธิบายว่า ควรประพฤติ ควรตั้งไว้ด้วยอะไร ด้วยสติ การตั้งไว้ด้วยสติ ชื่อว่าสติปัฏฐาน.
____________________________
๒- ม. อุ. เล่ม ๑๔/ข้อ ๖๑๘, ๖๓๓

อนึ่ง สตินั่นแหละท่านกล่าวว่า สติปัฏฐาน มาในพระบาลีมีอาทิว่า๓- สติปัฏฐาน ๔ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์.
บทนั้นมีอธิบายว่า ชื่อว่า ปฏฺฐานํ เพราะย่อมตั้งไว้. ความว่า ตั้งไว้ ก้าวไป แล่นไปแล้วเป็นไปอยู่ สตินั่นแหละตั้งไว้ชื่อว่าสติปัฏฐาน.
____________________________
๓- ม. อุ. เล่ม ๑๔/ข้อ ๒๘๗

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าสติ เพราะอรรถว่าเป็นที่ระลึก ชื่อว่าอุปัฏฐาน เพราะอรรถว่าเป็นที่เข้าไปตั้งไว้ เพราะเหตุนั้น ชื่อว่าสติปัฏฐาน เพราะสติเข้าไปตั้งไว้บ้าง.
นี้เป็นความประสงค์ในที่นี้.
ผิถามว่า เพราะเหตุไร จึงทำเป็นพหุวจนะว่า สติปฏฺฐานา. เพราะสติมีมาก.
จริงอยู่ ว่าโดยประเภทของอารมณ์ สติเหล่านั้นมีมาก.
บทว่า กตเม จตฺตาโร ๔ ประการเป็นไฉน เป็นกเถตุกัมยตาปุจฉา ถามตอบเอง.
บทว่า อิธ คือ ในพระศาสนานี้.
บทว่า ภิกฺขุ ชื่อว่าภิกขุ เพราะเห็นภัยในสงสาร.
ก็การพรรณนาความแห่งบทที่เหลือในคาถานี้ ท่านกล่าวไว้แล้วในอรรถกถามรรคสัจจนิเทศ ในสุตมยญาณกถา.
ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสสติปัฏฐาน ๔ ไม่หย่อนไม่ยิ่ง.
เพราะเพื่อเป็นประโยชน์แก่เวไนยสัตว์ เพราะเมื่อตัณหาจริต ทิฏฐิจริต สมถยานิก วิปสฺสนายานิก เป็นไปแล้วโดยสองส่วนๆ ด้วยความอ่อนและความเฉียบแหลม.

กายานุปัสสนาสติปัฏฐานอย่างหยาบ เป็นทางหมดจดของผู้มีตัณหาจริตอ่อน.
เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานอย่างละเอียด เป็นทางหมดจดของผู้เฉียบแหลม.
เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานอย่างละเอียด เป็นทางหมดจดของผู้มีทิฏฐิจริตอ่อน.
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานอันมีประเภทยิ่งเกิน เป็นทางบริสุทธิ์ของผู้มีทิฏฐิจริตเฉียบแหลม.

สติปัฏฐานข้อที่ ๑ เป็นนิมิตควรถึงโดยไม่ยาก เป็นทางบริสุทธิ์ของผู้เป็นสมถยานิกอ่อน.
สติปัฏฐานข้อที่ ๒ เป็นทางหมดจดของผู้เป็นสมถยานิกเฉียบแหลม เพราะไม่ดำรงอยู่ในอารมณ์หยาบ.
สติปัฏฐานข้อที่ ๓ มีประเภทไม่ยิ่งเกินเป็นอารมณ์ เป็นทางหมดจดของผู้เป็นวิปัสสนายานิกอ่อน.
สติปัฏฐานข้อที่ ๔ มีประเภทยิ่งเกินเป็นอารมณ์ เป็นทางหมดจดของผู้เป็นวิปัสสนายานิกเฉียบแหลม.

เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสสติปัฏฐาน ๔ ไว้ไม่หย่อนไม่ยิ่ง.
อีกอย่างหนึ่ง เพื่อละความสำคัญผิดว่าเป็นของงาม เป็นสุข เป็นของเที่ยงและเป็นตัวตน เพราะว่ากายเป็นของไม่งาม.
อนึ่ง สัตว์ทั้งหลายมีความสำคัญผิดๆ ในกายนั้นว่าเป็นของงาม เพื่อละความสำคัญผิดนั้นของสัตว์เหล่านั้น ด้วยเห็นความเป็นของไม่งามในกายนั้น จึงตรัสสติปัฏฐานข้อที่ ๑.
อนึ่ง พระองค์ตรัสถึงทุกขเวทนาในเวทนาเป็นต้นที่สัตว์ถือว่าเป็นสุข เป็นของเที่ยง เป็นตัวตน พระองค์ตรัสว่า จิตเป็นธรรมชาติไม่เที่ยง ธรรมเป็นอนัตตา สัตว์ทั้งหลายยังมีความสำคัญผิดๆ ในสิ่งเหล่านั้นว่าเป็นสุข เป็นของเที่ยง เป็นตัวตน เพื่อละความสำคัญผิดเหล่านั้นของสัตว์เหล่านั้นด้วยแสดงถึงความเป็นทุกข์เป็นต้นในสิ่งนั้น พระองค์จึงตรัสสติปัฏฐาน ๓ ที่เหลือ.
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสสติปัฏฐาน ๔ เพื่อละความสำคัญผิดๆ ว่าเป็นของงาม เป็นของเที่ยง เป็นตัวตน ด้วยประการฉะนี้ มิใช่เพื่อละความสำคัญผิดอย่างเดียวเท่านั้น เพื่อละโอฆะ ๔ โยคะ ๔ อาสวะ ๔ คันถะ ๔ อุปาทาน ๔ และอคติ ๔ บ้าง เพื่อกำหนดรู้อาหาร ๔ อย่างบ้าง พึงทราบว่า พระองค์จึงตรัสสติปัฏฐาน ๔.
พึงทราบวินิจฉัยในสุตตันตนิเทศดังต่อไปนี้.
บทว่า ปฐวีกายํ กองปฐวีธาตุ คือธาตุดินในกายนี้.
เพื่อสงเคราะห์ปฐวีธาตุทั้งหมด เพราะปฐวีธาตุในกายทั้งสิ้นมีมากท่านจึงใช้กายศัพท์ ด้วยอรรถว่าเป็นที่รวม.
แม้ในกองวาโยธาตุเป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
ท่านใช้กองผมเป็นต้น เพราะกองผมเป็นต้นมีมาก.
อนึ่ง บทว่า วักกะ ไตเป็นต้น เพราะกำหนดไว้แล้วจึงไม่ใช้กาย เพราะเหตุนั้น พึงทราบว่าท่านจึงไม่ใช้กายแห่งวักกะเป็นต้นนั้น.
พึงทราบความในบทมีอาทิว่า สุขํ เวทนํ ดังต่อไปนี้.
บทว่า สุขํ เวทนํ สุขเวทนา ได้แก่ สุขเวทนาทางกายหรือทางจิต.
ทุกขเวทนาก็อย่างนั้น.
ส่วนบทว่า อทุกฺขมสุขํ เวทนํ ได้แก่ อุเบกขาเวทนาทางจิตเท่านั้น.
บทว่า สามิสํ สุขํ เวทนํ สุขเวทนาเจืออามิส คือโสมนัสเวทนาอาศัยเรือน ๖.
บทว่า นิรามิสํ สุขํ เวทนํ สุขเวทนาไม่เจืออามิส ได้แก่โสมนัสเวทนาอาศัยเนกขัมมะ ๖.
บทว่า สามิสํ ทุกฺขํ เวทนํ ทุกขเวทนาเจืออามิส ได้แก่โทมนัสเวทนาอาศัยเรือน ๖.
บทว่า นิรามิสํ ทุกขํ เวทนํ ทุกขเวทนาไม่เจืออามิส ได้แก่โทมนัสเวทนาอาศัยเนกขัมมะ ๖.
บทว่า สามิสํ อทุกฺขมสุขํ เวทนํ อทุกขมสุขเวทนาเจืออามิส ได้แก่อุเบกขาเวทนาอาศัยเรือน ๖.
บทว่า นิรามิสํ อทุกฺขมสุขํ เวทนํ อทุกขมสุขเวทนาไม่เจืออามิส ได้แก่อุเบกขาเวทนาอาศัยเนกขัมมะ ๖.
บทมีอาทิว่า สราคํ จิตฺตํ จิตมีราคะมีอรรถดังกล่าวแล้วในญาณกถา.
บทว่า ตทวเสเส ธมฺเม ในธรรมที่เหลือจากนั้น คือในธรรมเป็นไปในภูมิ ๓ ที่เหลือจากกาย เวทนาและจิตเท่านั้น.
อนึ่ง ในบททั้งปวงบทว่า เตน ญาเณน คือ ด้วยอนุปัสสนาญาณ ๗ อย่างนั้น.
อนึ่ง บทเหล่าใดมีอรรถมิได้กล่าวไว้ในระหว่างๆ ในกถานี้ บทเหล่านั้นมีอรรถดังได้กล่าวแล้วในกถานั้นๆ ในหนหลังนั่นแล ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาสติปัฏฐานกถา


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 12 ก.ค. 2011, 13:08, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2011, 12:55 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 426


สติปัฏฐาน ย่อมได้ด้วยอรรถว่า สติยา ว ปฏฺฐานา สติปฏฺฐานา
แปลว่า ปัฏฐาน คือ สติ ชื่อว่า สติปัฏฐาน นี้ เหตุใด เพราะ
เหตุนั้น วาทะแม้ทั้ง ๒ คือวาทะของสกวาทีและปรวาที ย่อมถูกต้อง
โดยปริยาย.
อนึ่ง ชนเหล่าใดละปริยายนี้แล้วย่อมกล่าวว่า ธรรมทั้งปวง
เป็นสติปัฏฐาน โดยส่วนเดียวเท่านั้น
คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น
คำตอบรับรองด้วยสามารถแห่งอารมณ์เป็นของปรวาที.
แต่เมื่อสกวาทีซักว่า ธรรมทั้งปวงเป็นสติ เป็นต้น
ปรวาทีก็ตอบ ปฏิเสธเพราะความที่ธรรมทั้งปวงไม่เป็นสติทั้งหมด.

บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า ขยคามี เป็นเหตุให้ถึงความสิ้นไป เป็นต้น
เป็นชื่อพิเศษแห่งมรรค จริงอยู่
เอกายนมรรคชื่อว่า ขยคามี เพราะอรรถว่า
บรรลุพระนิพพานอันเป็นเหตุสิ้นไปแห่งกิเลสทั้งหลาย.
ชื่อว่า โพธคามี เป็นเหตุให้ถึงการตรัสรู้เพราะอรรถว่า
ถึงการตรัสรู้สัจจะ ๔.
ชื่อว่า อปจยคามี เป็นเหตุให้ถึงพระนิพพาน เพราะอรรถว่า ถึงการทำลายวัฏฏะ.

สกวาทีถามด้วยบทเหล่านี้โดยหมาย
เอาอย่างนี้ว่า ธรรมทั้งปวงเป็นเอกายนมรรคมีอยู่ตามลัทธิของท่าน
อย่างนี้หรือ คำทั้งหลายแม้มีคำว่า ธรรมอันไม่เป็นอารมณ์ของ
อาสวะ อันไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ เป็นต้น
สกวาทีกล่าวเพื่อ
ต้องการถามโดยความเป็นโลกุตตระ.
คำทั้งหลายว่า พุทธานุสสติ เป็นต้น ท่านกล่าวโดยคำที่แยกประเภท จากโลกุตตระ.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2011, 13:21 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสสติปัฏฐาน ๔ ไม่หย่อนไม่ยิ่ง.
เพราะเพื่อเป็นประโยชน์แก่เวไนยสัตว์ เพราะเมื่อตัณหาจริต ทิฏฐิจริต สมถยานิก วิปสฺสนายานิก
เป็นไปแล้วโดยสองส่วนๆ ด้วยความอ่อนและความเฉียบแหลม.

:b6: เอกอนเป็น เวไนยสัตว์ ดังนั้น ศึกษาได้ ศึกษาได้

:b17: :b17: :b17:

:b6: ขึ้นสังเวียนมาเป็น คู่ :b6:

rolleyes rolleyes rolleyes


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 56 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 26 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร