วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 07:47  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 56 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2011, 05:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


rolleyes กรัชกาย อนุโมทนา คับ :b4:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2011, 18:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ในสติปัฏฐานสูตร ท่านอธิบายผลของการบรรลุมรรคผลขั้นต้น คือ โสดาฯ สกิทาฯ และแสดงต่อถึงวิธีการพิจารณากิเลสที่เหลือ เพื่อเป็นตัวช่วยในการวิปัสสนา ไม่ได้ให้ดูเฉยๆ ดูแล้ว ถ้ายังมีความกำหนัดในรูปกาย ถ้ายังมีเวทนา ยังมีอกุศลจิต ยังมีกำหนัดในวัตถุกาม หรือยังอาลัยอาวรโลกอยู่ ก็คือ ยังไม่บรรลุอรหัต์ สิ่งที่ต้องทำต่อไป คือ กลับไปวิปัสสนาด้วยความเพียร ทำตลอดทั้งวันตั้งแต่ตื่นจนหลับ

เอกายนมัคโค เพื่อความสิ้นโสกะปริวาทะฯ หมายถึง การบรรลุอรหันตผล เพราะ โสดาฯ สกิทาฯ ยังไม่พ้นโสกะปริวาทะฯ หรอกนะครับ พระเจ้าพิมพิสารเป็นโสดาบันบุคคล ยังร้องให้ ๗ วันเพราะเมียตาย

ในมหาสติปัฏฐานสูตร สรุปได้เพียงเท่านี้ รบกวนท่านกลับไปพิจจารณาพระสูตรนี้ดูอีกสักรอบนะครับ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2011, 18:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ว่าด้วยการอบรมตน
คำว่า อบรมตนอยู่ ในคำว่า เมื่อภิกษุอบรมตนอยู่ ความว่า ปรารภความเพียรมีความเพียรแรงกล้า มีความบากบั่นมั่นคง มิได้ปลงฉันทะ มิได้ทอดธุระ ในธรรมทั้งหลายฝ่ายกุศล. อีกอย่างหนึ่ง ผู้ส่งตนไป คือ ตนอันภิกษุส่งไปในอรหัตผลอันเป็นประโยชน์ของตนในอริยมรรค ในลักษณะ ในเหตุ ในฐานะ และอฐานะ คือ ส่งตนไปว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยงส่งตนไปว่า สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ส่งตนไปว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ส่งตนไปว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร ฯลฯ ส่งตนไปว่า เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงมีชราและมรณะ ส่งตนไปว่า เพราะอวิชชาดับสังขารจึงดับ ฯลฯ ส่งตนไปว่า เพราะชาติดับชราและมรณะจึงดับ ส่งตน ว่าด้วยการอบรมตน

คำว่า อบรมตนอยู่ ในคำว่า เมื่อภิกษุอบรมตนอยู่ ความว่า ปรารภความเพียรมีความเพียรแรงกล้า มีความบากบั่นมั่นคง มิได้ปลงฉันทะ มิได้ทอดธุระ ในธรรมทั้งหลายฝ่ายกุศล. อีกอย่างหนึ่ง ผู้ส่งตนไป คือ ตนอันภิกษุส่งไปในอรหัตผลอันเป็นประโยชน์ของตนในอริยมรรค ในลักษณะ ในเหตุ ในฐานะ และอฐานะ คือ ส่งตนไปว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยงส่งตนไปว่า สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ส่งตนไปว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ส่งตนไปว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร ฯลฯ ส่งตนไปว่า เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงมีชราและมรณะ ส่งตนไปว่า เพราะอวิชชาดับสังขารจึงดับ ฯลฯ ส่งตนไปว่า เพราะชาติดับชราและมรณะจึงดับ ส่งตนไปว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ ส่งตนไปว่า นี้ปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับทุกข์ ส่งตนไปว่า เหล่านี้อาสวะฯลฯ ส่งตนไปว่า นี้ปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับอาสวะ ส่งตนไปว่า ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง ฯลฯธรรมเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง ส่งตนไปถึงความเกิด ความดับ คุณโทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตะ ๖ ส่งตนไปถึงความเกิด ความดับ คุณโทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ แห่งมหาภูตรูป ๔ ส่งตนไปว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา.

คำว่า เมื่อภิกษุ ความว่า เมื่อภิกษุที่เป็นกัลยาณปุถุชน หรือเมื่อภิกษุที่เป็นพระเสขะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อภิกษุอบรมตนอยู่. เพราะเหตุนั้น พระสารีบุตรเถระจึงทูลถามว่า

เมื่อภิกษุอบรมตนอยู่ เธอพึงเป็นผู้มีคลองแห่งถ้อยคำอย่างไร? พึงเป็น ผู้มีโคจรในศาสนานี้อย่างไร? พึงเป็นผู้มีศีลและวัตรอย่างไร?

ภิกษุนั้นสมาทานสิกขาอะไร? จึงเป็นผู้มีสมาธิ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น มีปัญญารักษาตน มีสติ พึงกำจัดมลทินของตน เหมือนช่างทองกำจัด มลทินแห่งทอง ฉะนั้น.

ว่าด้วยสมาทานสิกขา ๓
คำว่า ภิกษุนั้นสมาทานสิกขาอะไร?
ความว่า ภิกษุนั้นถือเอา สมาทาน ยึดถือยึดมั่น ถือมั่น ซึ่งสิกขาอะไร? เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุนั้นสมาทานสิกขาอะไร?.

คำว่ามีสมาธิเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ในคำว่า จึงเป็นผู้มีสมาธิเป็นธรรมเอกผุดขึ้น มีปัญญารักษาตน มีสติความว่า มีจิตมีอารมณ์เดียว มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน มีใจไม่ถูกอารมณ์ร้ายกระทบ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่ามีสมาธิเป็นธรรมเอกผุดขึ้น.

คำว่า มีปัญญารักษาตน ความว่า มีปัญญารักษาตน เป็นบัณฑิตมีปัญญา มีความรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาทำลายกิเลส.

คำว่า มีสติ ความว่า มีสติด้วยเหตุ ๔ ประการ คือ ภิกษุเมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณาเห็นกายในกาย ก็ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ก็ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณาเห็นจิตในจิต ก็ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย ก็ชื่อว่ามีสติ.ภิกษุนั้น เรียกว่าสติ.

พระเถระย่อมทูลถามถึงอธิศีลสิกขาด้วยคำว่า ภิกษุนั้น สมาทานสิกขาอะไร? ทูลถามถึงอธิจิตสิกขาด้วยคำว่า มีสมาธิเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ทูลถามถึงอธิปัญญาสิกขาด้วยคำว่า มีปัญญารักษาตน. ทูลถามถึงความบริสุทธิ์แห่งสติด้วยคำว่า มีสติ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ภิกษุนั้นสมาทานสิกขาอะไร? จึงเป็นผู้มีสมาธิเป็นธรรมเอกผุดขึ้น มีปัญญารักษาตนมีสติ.


แก้ไขล่าสุดโดย ปฤษฎี เมื่อ 26 มิ.ย. 2011, 18:53, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2011, 18:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ภิกษุที่เป็นพระเสขะ หมายถึง พระโสดาบัน ถึงพระอนาคามี เพราะฉะนั้น สูตรนี้จริงๆ สอนพระอริยสงฆ์ ไม่ได้สอนพระสมมุติสงฆ์ ไม่ได้สอนฆราวาสอุบาสกอุบาสิกา

ผู้ส่งตนไป คือ ตนอันภิกษุส่งไปในอรหัตผล

เพราะฉะนั้น คำว่า สิกขา ๓ นี้ เป็นหลักสูตรพระอริยะที่เป็นพระเสขะ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2011, 19:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


บุคคลเท่าไรเจริญอินทรีย์ บุคคลเท่าไรเจริญอินทรีย์แล้วบุคคล ๘ เจริญอินทรีย์ บุคคล ๓ เจริญอินทรีย์แล้ว ฯ

บุคคล ๘ เป็นไฉนเจริญอินทรีย์ พระเสขบุคคล ๗ กัลยาณปุถุชน ๑ บุคคล ๘ เหล่านี้เจริญอินทรีย์ ฯ

บุคคล ๓ เป็นไฉนเจริญอินทรีย์แล้ว พระขีณาสพสาวกพระตถาคตชื่อว่าพุทโธ ด้วยสามารถความเป็นผู้เจริญอินทรีย์แล้ว ชื่อว่าเจริญอินทรีย์แล้วพระปัจเจกพุทธะ ชื่อว่าพุทโธ ด้วยอรรถว่าตรัสรู้เอง ชื่อว่าเจริญอินทรีย์แล้วพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ชื่อว่าพุทโธ ด้วยอรรถว่ามีพระคุณประมาณไม่ได้ ชื่อว่าเจริญอินทรีย์แล้ว บุคคล ๓ เหล่านี้เจริญอินทรีย์แล้ว บุคคล ๘เหล่านี้เจริญอินทรีย์ บุคคล ๓ เหล่านี้เจริญอินทรีย์แล้ว ด้วยประการดังนี้ ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2011, 19:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่า ภิกษุ คือ ภิกษุผู้เป็นกัลยาณปุถุชน เป็นพระเสขะหรือเป็นพระอรหันต์ผู้มีธรรมไม่กำเริบ ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2011, 19:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


FLAME เขียน:
คำว่า ภิกษุ คือ ภิกษุผู้เป็นกัลยาณปุถุชน เป็นพระเสขะหรือเป็นพระอรหันต์ผู้มีธรรมไม่กำเริบ ฯ
ภิกษุหมายถึงนักบวช ไม่ใช่ปุถุชน หมายถึงผู้รักษาศีล ๒๒๗ ข้อ พวกไม่เข้าใจความต่างภูมนัยบุคคล พวกที่ยกเอาพระสูตรของพระอริยมาปฏิบัติ พวกนี้พยายามหาข้ออ้างเพื่อสนับสนุนว่า ฉันไม่ได้บวช ฉันก็เป็นภิกษุนะ ... ภิกษุส่วนภิกษุ กัลยาณปุถุชนส่วนกัลยาณปุถุชน ... แปลเป็นภาษาชาวบ้านว่า มั่วนิ่ม

ภิกษุ รักษาศีล ๒๒๗ ข้อ มีปัญญาชื่อเนกขัมมะ มีสมาธิชื่อเนกขัมมะ มีบารมีชื่อเนกขัมมะ ดำรงชีพด้วยการขอ ปุถุชนไม่มี

คำว่าผู้เจริญอินทรีย์แล้ว คือ เสขะบุคคล มีสติปัฏฐาน เพราะการเจริญอินทรีย์ คือ การฝึกพิจารณาขันธ์ ๕ อินทรีย์ ๖ หรือ การปฏิบัติวิปสสนาภาวนา

เสขะบุคคล มีทั้งผู้ที่บวช กับผู้ที่ไม่บวช ถ้าบวช เรียก พระอริยสงฆ์ ถ้าไม่บวช เรียก อริยบุคคล

เสขะบุคคล คือ อริยบุคคล ๗ คือ โสดาปัติมรรค โสดาปัติผล สกิทาคามีมรรค สกิทาคามีผล อนาคมมีมรรค อนาคมมีผล และอรหันตมรรค

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2011, 20:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


มหาวรรค อินทรียกถา
ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้วพระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ สัทธินทรีย์ ๑ วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ ๑สมาธินทรีย์ ๑ปัญญินทรีย์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล ฯ

อินทรีย์ ๕ ประการนี้ย่อมหมดจดด้วยอาการเท่าไร ฯ
อินทรีย์ ๕ ประการนี้ย่อมหมดจดด้วยอาการ ๑๕ เมื่อบุคคลงดเว้นพวกบุคคลผู้ไม่มีศรัทธาสมาคม คบหา นั่งใกล้พวกบุคคลผู้มีศรัทธา (และ)พิจารณาพระสูตรอันเป็นเหตุนำมาซึ่งความเลื่อมใส สัทธินทรีย์ย่อมหมดจดด้วยอาการ ๓ เหล่านี้ เมื่อบุคคลงดเว้นพวกบุคคลผู้เกียจคร้านสมาคม คบหานั่งใกล้พวกบุคคลผู้ปรารภความเพียร (และ) พิจารณาสัมมัปปธาน วิริยินทรีย์ย่อมหมดจดด้วยอาการ ๓ เหล่านี้ เมื่อบุคคลงดเว้นพวกบุคคลผู้มีสติหลงลืมสมาคม คบหา นั่งใกล้พวกบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น (และ) พิจารณาสติปัฏฐานสตินทรีย์ย่อมหมดจดด้วยอาการ ๓ เหล่านี้ เมื่อบุคคลเว้นพวกบุคคลผู้มีใจไม่มั่นคงสมาคม คบหา นั่งใกล้พวกบุคคลมีใจมั่นคง (และ) พิจารณาฌานและวิโมกข์สมาธินทรีย์ ย่อมหมดจดด้วยอาการ ๓ เหล่านี้ เมื่อบุคคลงดเว้นพวกบุคคลทรามปัญญา สมาคม คบหา นั่งใกล้พวกบุคคลผู้มีปัญญา (และ) พิจารณาญาณจริยาอันลึกซึ้ง ปัญญินทรีย์ย่อมหมดจดด้วยอาการ ๓ เหล่านี้ เมื่อบุคคลงดเว้น ๕จำพวก สมาคม คบหา นั่งใกล้บุคคล ๕ จำพวก (และ) พิจารณาจำนวนพระสูตร ๕ ประการดังกล่าวมานี้ อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ย่อมหมดจดด้วยอาการ ๑๕เหล่านี้ ฯ

บุคคลย่อมเจริญอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร การเจริญอินทรีย์ ๕ ย่อมมีด้วยอาการเท่าไร ฯ
บุคคลย่อมเจริญอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๑๐ การเจริญอินทรีย์ ๕ ย่อมมีด้วยอาการ ๑๐ บุคคลเมื่อละความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ชื่อว่าเจริญสัทธินทรีย์ เมื่อเจริญสัทธินทรีย์ ชื่อว่าละความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา เมื่อละความเป็นผู้เกียจคร้าน ชื่อว่าเจริญวิริยินทรีย์ เมื่อเจริญวิริยินทรีย์ชื่อว่าละความเป็นผู้เกียจคร้าน เมื่อละความประมาท ชื่อว่าเจริญสตินทรีย์ เมื่อเจริญสตินทรีย์ ชื่อว่าละความประมาท เมื่อละอุทธัจจะ ชื่อว่าเจริญสมาธินทรีย์ เมื่อเจริญสมาธินทรีย์ ชื่อว่าละอุทธัจจะ เมื่อละอวิชชา ชื่อว่าเจริญปัญญินทรีย์ เมื่อเจริญปัญญินทรีย์ ชื่อว่าละอวิชชา บุคคลย่อมเจริญอินทรีย์ ๕ด้วยอาการ ๑๐ เหล่านี้ การเจริญอินทรีย์ ๕ ย่อมมีด้วยอาการ ๑๐เหล่านี้ ฯ

อินทรีย์ ๕ เป็นอินทรีย์อันบุคคลเจริญแล้ว อบรมแล้วด้วยอาการเท่าไร ฯ
อินทรีย์ ๕ เป็นอินทรีย์อันบุคคลเจริญแล้ว อบรมแล้วด้วยอาการ ๑๐ คือ สัทธินทรีย์เป็นคุณชาติอันบุคคลเจริญแล้ว อบรมแล้ว เพราะเป็นผู้ละแล้วละดีแล้วซึ่งอสัทธินทรีย์ ความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา เป็นโทสชาติอักบุคคลละแล้วละดีแล้ว เพราะความเป็นผู้เจริญแล้ว อบรมแล้วซึ่งสัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์เป็นคุณชาติอันบุคคลเจริญแล้ว อบรมแล้ว เพราะความเป็นผู้ละแล้วละดีแล้วซึ่งความประมาท ความประมาทเป็นโทสชาติอันบุคคลละแล้ว ละดีแล้ว เพราะความเป็นผู้เจริญแล้ว อบรมแล้วซึ่งสตินทรีย์ สมาธินทรีย์เป็นคุณชาติอันบุคคลเจริญแล้วอบรมแล้ว เพราะความเป็นผู้ละแล้ว ละดีแล้วซึ่งอุทธัจจะ อุทธัจจะเป็นโทสชาติอันบุคคลละแล้ว ละดีแล้ว เพราะความเป็นผู้เจริญแล้ว อบรมแล้วซึ่งสมาธินทรีย์ปัญญินทรีย์เป็นคุณชาติอันบุคคลเจริญแล้ว อบรมแล้ว เพราะความเป็นผู้ละแล้วละดีแล้วซึ่งอวิชชา อวิชชาเป็นโทสชาติอันบุคคลละแล้ว ละดีแล้ว เพราะความเป็นผู้เจริญแล้ว อบรมแล้วซึ่งปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ เป็นอินทรีย์อันบุคคลเจริญแล้ว อบรมแล้วด้วยอาการ ๑๐ เหล่านี้ ฯ

อินทรีย์ บุคคลย่อมเจริญด้วยอาการเท่าไร เป็นอินทรีย์อันบุคคลเจริญแล้ว อบรมแล้ว ระงับแล้ว และระงับดีแล้ว ด้วยอาการเท่าไร ฯ
อินทรีย์ ๕ บุคคลย่อมเจริญด้วยอาการ ๔ เป็นอินทรีย์อันบุคคลเจริญแล้ว อบรมแล้วระงับแล้ว และระงับดีแล้วด้วยอาการ ๔ อินทรีย์ ๕ บุคคลย่อมเจริญในขณะโสดาปัตติมรรคเป็นอินทรีย์อันบุคคลเจริญแล้ว อบรมแล้วระงับแล้ว และระงับดีแล้วในขณะโสดาปัตติผล อินทรีย์ ๕ บุคคลย่อมเจริญในขณะสกทาคามิมรรค เป็นอินทรีย์อันบุคคลเจริญแล้ว อบรมแล้ว ระงับแล้วและระงับดีแล้วในขณะสกทาคามิผล อินทรีย์ ๕ บุคคลย่อมเจริญในขณะอนาคามิมรรค เป็นอินทรีย์อันบุคคลเจริญแล้ว อบรมแล้ว ระงับแล้ว และระงับดีแล้วในอนาคามิผล อินทรีย์ ๕ บุคคลย่อมเจริญในขณะอรหัตมรรค เป็นอินทรีย์อันบุคคลเจริญแล้ว อบรมแล้ว ระงับแล้ว และระงับดีแล้วในขณะอรหัตผล ฯ

มรรควิสุทธิ ๔ ผลวิสุทธิ ๔ สมุจเฉทวิสุทธิ ๔ ปฏิปัสสัทธิวิสุทธิ ๔ ด้วยประการดังนี้
อินทรีย์ ๕ บุคคลย่อมเจริญด้วยอาการ ๔ เหล่านี้ เป็นอินทรีย์อันบุคคลเจริญแล้ว อบรมแล้ว ระงับแล้ว และระงับดีแล้วด้วยอาการ ๔ เหล่านี้ ฯ

บุคคลเท่าไรเจริญอินทรีย์ บุคคลเท่าไรเจริญอินทรีย์แล้วบุคคล ๘ เจริญอินทรีย์ บุคคล ๓ เจริญอินทรีย์แล้ว ฯ

บุคคล ๘ เป็นไฉนเจริญอินทรีย์ พระเสขบุคคล ๗ กัลยาณปุถุชน ๑ บุคคล ๘เหล่านี้เจริญอินทรีย์ ฯ

บุคคล ๓ เป็นไฉนเจริญอินทรีย์แล้ว พระขีณาสพสาวกพระตถาคตชื่อว่าพุทโธ ด้วย
สามารถความเป็นผู้เจริญอินทรีย์แล้ว ชื่อว่าเจริญอินทรีย์แล้วพระปัจเจกพุทธะ ชื่อว่าพุทโธ ด้วย
อรรถว่าตรัสรู้เอง ชื่อว่าเจริญอินทรีย์แล้วพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ชื่อว่าพุทโธ ด้วย
อรรถว่ามีพระคุณประมาณไม่ได้ ชื่อว่าเจริญอินทรีย์แล้ว บุคคล ๓ เหล่านี้เจริญอินทรีย์แล้ว บุคคล ๘
เหล่านี้เจริญอินทรีย์ บุคคล ๓ เหล่านี้เจริญอินทรีย์แล้ว ด้วยประการดังนี้ ฯ


พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค หัวข้อที่ ๔๒๓ - ๔๒๘


แก้ไขล่าสุดโดย ปฤษฎี เมื่อ 26 มิ.ย. 2011, 21:04, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2011, 20:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


องค์ธรรมในโพธิปักฯ เป็นเหตุเป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน

มรรค ๘ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดสติปัฏฐาน ๔
สติปัฏฐาน ๔ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดสัมมปทาน ๔
สัมมปทาน ๔ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดอิทธิบาท ๔
อิทธิบาท ๔ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดอินทรีย์ ๕
อินทรีย์ ๕ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดพละ ๕
พละ ๕ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดโพชฌงค์ ๗

มหาวรรค อินทรียกถา ก็เป็นการอธิบายผลการปฏิบัติ ท่านไม่ได้แสดงเหตุของการเกิดอินทรีย์ ๕ เลยในสูตรนี้

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2011, 21:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


บุคคล ๘ เป็นไฉนเจริญอินทรีย์ พระเสขบุคคล ๗ กัลยาณปุถุชน ๑ บุคคล ๘ เหล่านี้เจริญอินทรีย์ ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2011, 21:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่าเจริญ เป็นมรรค หรือ เป็นผล
แล้วคำว่าเจริญแล้ว อบรมแล้ว ระงับแล้ว และระงับดีแล้ว เป็นมรรค หรือ เป็นผล

มรรควิสุทธิ ๔ ผลวิสุทธิ ๔ สมุจเฉทวิสุทธิ ๔ ปฏิปัสสัทธิวิสุทธิ ๔ ด้วยประการดังนี้
อินทรีย์ ๕ บุคคลย่อมเจริญด้วยอาการ ๔ เหล่านี้
เป็นอินทรีย์อันบุคคลเจริญแล้ว อบรมแล้ว ระงับแล้ว และระงับดีแล้วด้วยอาการ ๔ เหล่านี้ ฯ


แก้ไขล่าสุดโดย ปฤษฎี เมื่อ 26 มิ.ย. 2011, 21:13, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2011, 21:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


FLAME เขียน:
คำว่าเจริญ เป็นมรรค หรือ เป็นผล

เจริญหรือภาวนา เป็นมรรค แต่มรรค ก็มี ๔ ระดับคือ โสดาปัติมรรค สกิทาคามีมรรค อนาคามีมรรค และอรหันตมรรค

การเจริญ อินทรีย์ ๕ ต้องมีอินทรีย์เกิดขึ้นมาก่อน ด้วยการไปสร้างที่เหตุ คือ การพิจารณาขันธ์ ๕ อินทรีย์ ๖ อยู่ดีๆ จะมีอินทรีย์ ๕ เกิดขึ้นมาลอยๆ ไม่ได้ เหมือนผลมะม่วงย่อมได้จากต้นมะม่วง

ต้นตอขององค์ธรรมทั้งหมดของโพธิปักฯ คือ ปัญญา เพราะฉะนั้น ถ้ายังไม่เกิดปัญญา ก็ยังไม่มีองค์ธรรมใดๆ ในโพธิปักฯ เกิดกับบุคคล

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2011, 21:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


บุคคล ๘ เป็นไฉนเจริญอินทรีย์ พระเสขบุคคล ๗ กัลยาณปุถุชน ๑ บุคคล ๘ เหล่านี้เจริญอินทรีย์ ฯ
แล้วอย่างนี้ เป็นมรรค หรือ เป็นผล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2011, 21:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


เป็นมรรคทั้งหมด

ในขณะโสดาปัตติมรรค ปฏิบัติเพื่อบรรลุ โสดาปัตติผล
ในขณะสกิทาคามีมรรค ปฏิบัติเพื่อบรรลุ สกิทาคามีผล
ในขณะอนาคามีมรรค ปฏิบัติเพื่อบรรลุ อนาคามีผล
ในขณะอรหันตมรรค ปฏิบัติเพื่อบรรลุ อรหันตผล

อินทรีย์ ๕ เกิดขึ้นทันทีที่มีดวงตาเห็นธรรม คือเห็นความจริงของโลกและชีวิต จากการได้รับความจริง แต่ขณะโสดาปัติมรรค อินทรีย์ยังอ่อนอยู่มาก อินทรีย์ของโสดาปัตติมรรคบุคคลจะชัดเจนเฉพาะตอนวิปัสสนา

ถ้ากล่าวถึงอินทรีย์ที่เจริญแล้ว หรือ ผู้เจริฐอินทรีย์แล้ว หมายถึง อริยบุคคลตั้งแต่โสดาปัตติผลเป็นต้นไป

ความจริง เป็นรากเหง้าของปัญญา ความเชื่อเป็นรากเหง้าของอวิชชา

การมีดวงตาเห็นธรรม ได้ชื่อว่า ก้าวล่วงสมมุตินิยามไปได้แล้ว ล่วงภูมิปุถุชน เป็นอริยสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือ เป็นกลุ่มผู้ที่รู้แล้ว จึงได้ชื่อว่า เป็นชาวพุทธ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2011, 09:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า ผู้มีสติ เป็นผู้ล่วงตัณหาชื่อ วิสัติติกานี้ได้

คำว่า สติในที่นี้ เป็นการกล่าวคำย่อ หมายถึง สติปัฏฐาน ซึ่งเป็นอุตริมนุษธรรมอย่างหนึ่ง ไม่มีปรากฏในปุถุชน มีปรากฏในเสขบุคคล และอเสขะบุคคล

สติปัฏฐาน เป็นผลจาก ปัญญา หรือ ปัญญินทรีย์ ของอริยบุคคล เมื่อระลึกถึงกาย ก็เห็นกายตามความเป็นจริงว่ามันไม่เที่ยงฯ เมื่อระลึกถึงเวทนา ก็เห็นเวทนาตามความเป็นจริงว่ามันไม่เที่ยงฯ เมื่อระลึกถึงจิต ก็เห็นจิตตามความเป็นจริงว่ามันไม่เที่ยงฯ เมื่อระลึกถึงธรรมทั้งปวง ก็เห็นธรรมตามความเป็นจริงว่ามันไม่เที่ยงฯ เป็นผลของปัญญาที่ตั้งมั่นดีแล้ว เป็นคุณสมบัติของอริยบุคคล ที่ทรงคุณอย่างน้อยโสดาปัตติผล

การเจริญสติปัฏฐาน ในมหาสติปัฏฐานสูตร พระพุทธองค์ตรัสสอนพระอริยะบุคคล ถ้าปุถุชน หรือแม้ดต่พระสมมุติสงฆ์นำไปปฏิบัติ ไม่ได้มีปัญญามาก่อนหน้านี้แล้ว ผลที่ได้จะมีอย่างเดียว คือ มิจฉาสมาธิ กลายเป็นการบังคับตัวเองให้ไปดูอากับกริยาของกาย เวทนา จิต ธรรม หรือเป็นลักษณะของการเพ่งจ้อง ไม่มีผลต่อการประหารกิเลสตัณหาใดๆ เลย

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 56 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 30 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร