วันเวลาปัจจุบัน 24 เม.ย. 2024, 16:34  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 32 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2011, 13:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 21:22
โพสต์: 264

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ได้อ่านเรื่องการเลือกกรรมฐานให้เหมาะกับจริต และมีข้อสงสัยว่า
ทำไมคนโมหจริตและคนวิตกจริตจึงเหมาะกับ อานาปานสติ

คนโทสจริตเหมาะกับ วรรณกสิณ ๔ (ความจริงมีอัปปมัญญา ๔ ด้วย แต่พอจะเดาได้
ว่าที่เหมาะกับคนโทสจริตคงเป็นเพราะช่วยให้โทสะลดลง)

คนพุทธิจริตเหมาะกับ มรณานุสติ อุปสมานุสติ จตุธาตุววัฏฐาน และอาหาเรปฏิกูลสัญญา

ส่วนคนราคจริตเหมาะกับ อสุภะ ๑๐ และกายคตาสติ ก็พอจะเดาได้ว่า
กรรมฐานเหล่านี้ช่วยให้คลายความพอใจในกามคุณ ๕
และคนศรัทธาจริตเหมาะกับ อนุสสติ ๖ คือ พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ
สีลานุสสติ จาคานุสสติ และเทวตานุสสติ พอจะเดาได้ว่าคนที่จะเจริญกรรมฐานเหล่านี้ได้
ต้องมีศรัทธาเป็นพื้นฐาน เช่น ผู้ที่จะเจริญพุทธานุสสติ ต้องมีความศรัทธาในพระพุทธเจ้า เป็นต้น

เลยมาขอความรู้ และอยากรู้ว่าที่เดามาจะถูกไหมค่ะ

.....................................................
"เราไม่สรรเสริญแม้แต่ความตั้งอยู่ได้ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ต้องพูดถึงความเสื่อมถอยจากกุศลธรรมทั้งหลาย
เรายกย่องสรรเสริญอย่างเดียว แต่ความก้าวหน้าต่อไปในกุศลธรรมทั้งหลาย"

(องฺ. ทสก. ๒๔/๕๓/๑๐๑)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2011, 22:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


พุทโธ ธัมโม สังโฆ

onion onion onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2011, 03:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ได้อ่านเรื่องการเลือกกรรมฐานให้เหมาะกับจริต และมีข้อสงสัยว่า
ทำไมคนโมหจริตและคนวิตกจริตจึงเหมาะกับ อานาปานสติ

คนโทสจริตเหมาะกับ วรรณกสิณ ๔ (ความจริงมีอัปปมัญญา ๔ ด้วย แต่พอจะเดาได้
ว่าที่เหมาะกับคนโทสจริตคงเป็นเพราะช่วยให้โทสะลดลง)

คนพุทธิจริตเหมาะกับ มรณานุสติ อุปสมานุสติ จตุธาตุววัฏฐาน และอาหาเรปฏิกูลสัญญา

ส่วนคนราคจริตเหมาะกับ อสุภะ ๑๐ และกายคตาสติ ก็พอจะเดาได้ว่า
กรรมฐานเหล่านี้ช่วยให้คลายความพอใจในกามคุณ ๕
และคนศรัทธาจริตเหมาะกับ อนุสสติ ๖ คือ พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ
สีลานุสสติ จาคานุสสติ และเทวตานุสสติ พอจะเดาได้ว่าคนที่จะเจริญกรรมฐานเหล่านี้ได้
ต้องมีศรัทธาเป็นพื้นฐาน เช่น ผู้ที่จะเจริญพุทธานุสสติ ต้องมีความศรัทธาในพระพุทธเจ้า เป็นต้น

เลยมาขอความรู้ และอยากรู้ว่าที่เดามาจะถูกไหมค่ะ


เรื่องนี้มีกล่าวใน คัมภีร์วิสุทธิมรรคครับ
ที่จริงแล้ว พระพุทธเจ้าสอนวิธีการอบรมเจริญภาวนาหลากหลายกว่านี้มากครับ
และก็ใช่ว่าจะเป็นเพียงสมถะอย่างเดียว หรือแม้แต่เรื่องจริตที่แยกเป็นประเภทๆ
ออกมา ๖ ประเภท ผมก็ไม่เคยพบว่าพระพุทธเจ้าเคยตรัสไว้ที่ไหนในพระไตรปิฎกเช่นกันครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2011, 19:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลองดูที่นี่สิครับ :b1:

http://fws.cc/whatisnippana/index.php?t ... 43#msg9443

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2011, 21:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


รินรส เขียน:
ได้อ่านเรื่องการเลือกกรรมฐานให้เหมาะกับจริต และมีข้อสงสัยว่า
ทำไมคนโมหจริตและคนวิตกจริตจึงเหมาะกับ อานาปานสติ

คนโทสจริตเหมาะกับ วรรณกสิณ ๔ (ความจริงมีอัปปมัญญา ๔ ด้วย แต่พอจะเดาได้
ว่าที่เหมาะกับคนโทสจริตคงเป็นเพราะช่วยให้โทสะลดลง)

คนพุทธิจริตเหมาะกับ มรณานุสติ อุปสมานุสติ จตุธาตุววัฏฐาน และอาหาเรปฏิกูลสัญญา

ส่วนคนราคจริตเหมาะกับ อสุภะ ๑๐ และกายคตาสติ ก็พอจะเดาได้ว่า
กรรมฐานเหล่านี้ช่วยให้คลายความพอใจในกามคุณ ๕
และคนศรัทธาจริตเหมาะกับ อนุสสติ ๖ คือ พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ
สีลานุสสติ จาคานุสสติ และเทวตานุสสติ พอจะเดาได้ว่าคนที่จะเจริญกรรมฐานเหล่านี้ได้
ต้องมีศรัทธาเป็นพื้นฐาน เช่น ผู้ที่จะเจริญพุทธานุสสติ ต้องมีความศรัทธาในพระพุทธเจ้า เป็นต้น

เลยมาขอความรู้ และอยากรู้ว่าที่เดามาจะถูกไหมค่ะ


ก่อนที่ข้าพเจ้าจะตอบคำถามที่่คุณถามไว้ข้างต้นนี้ ต้องทำความเข้าไว้อย่างหนึ่งว่า คำตอบของข้าพเจ้าไม่ใช่ข้อยุติ แต่ข้าพเจ้าจะตอบไปตามความจริง ที่ข้าพเจ้าประสบมา ขอให้ใช้วิจารณญาณ คิดพิจารณาให้ละเอียดถ่องแท้ ดังนี้.-

กัมมัฏฐาน หมายถึง ที่ตั้งแห่งการงาน, อารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งการงานของใจ, อุบายทางใจ, วิธีฝึกอบรมจิต มี ๒ ประเภท คือ สมถกัมมัฏฐาน อุบายสงบใจ ๑ วิปัสสนากัมมัฏฐาน อุบายเรืองปัญญา (พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับพระธรรมปิฎกฯ)
กัมมัฏฐาน แบ่งออกเป็น ๔๐ กอง หรือ ๔๐ หมวดหมู่ ได้แก่ คือกสิณ ๑๐ อย่าง, อสุภะ ๑๐ อย่าง, อนุสติ ๑๐ อย่าง, พรหมวิหาร ๔ , อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑, จตุธาตุววัตถาน ๑ ,อรูป ๔
-กสิณ ๑๐ อย่าง หมายถึง วัตถุอันจูงใจ คือ จูงใจให้เข้าไปผูกอยู่ เป็นชื่อของกัมมัฏฐานที่ใช้วัตถุสำหรับเพ่งเพื่อจูงจิตให้เป็นสมาธิ มี ๑๐ อย่าง คือ ภูตกสิณ ๔ : - ๑) ปฐวี ดิน ๒) อาโป น้ำ ๓) เตโช ไฟ ๔) วาโย ลม วรรณกสิณ ๔ :- ๕) นีลํ สีเขียว ๖) ปีตํ สีเหลือง ๗) โลหิตํ สีแดง ๘) โอทาตํ สีขาว และ ๙) อาโลโก แสงสว่าง ๑๐) อากาโส ที่ว่าง
-อสุภะ ๑๐ อย่าง หมายถึง สภาพที่ไม่งาม, พิจารณาร่างกายของตนและผู้อื่นให้เห็นสภาพที่ไม่งาม; ในความหมายเฉพาะ หมายถึงซากศพในสภาพต่างๆ ซึ่งใช้เป็นอารมณ์กรรมฐาน รวม ๑๐ อย่าง คือ ๑) อุทธุมาตกะ ซากศพที่เน่าพอง ๒) วินีลกะ ซากศพที่มีสีเขียวคล้ำ ๓) วิปุพพกะ ซากศพที่มีน้ำเหลืองไหลออกอยู่ ๔) วิจฉิททกะ ซากศพที่ขาดกลางตัว ๕) วิกขายิตกะ ซากศพที่สัตว์กัดกินแล้ว ๖) วิกขิตตกะ ซากศพที่มีมือ เท้า ศีรษะขาด ๗) หตวิกขิตตกะ ซากศพที่คนมีเวรเป็นข้าศึกษกัน สับฟันเป็นท่อนๆ ๘) โลหิตกะ ซากศพที่ถูกประหารด้วยศัสตรามีโลหิตไหลอาบอยู่ ๙) ปุฬุวกะ ซากศพที่มีตัวหนอนคลานคล่ำไปอยู่ ๑๐) อัฏฐิกะ ซากศพที่ยังเหลืออยู่แต่ร่างกระดูก
-อนุสติ ๑๐ อย่าง หมายถึง ความระลึกถึง, อารมณ์ที่ควรระลึกถึงเนืองๆ มี ๑๐ อย่าง คือ ๑) พุทธานุสติ ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า ๒) ธัมมานุสติ ระลึกถึงคุณของพระธรรม ๓) สังฆานุสสติ ระลึกถึงคุณของพระสงฆ์ ๔) สีลานุสติ ระลึกถึงศีลที่ตนรักษา ๕) จาคานุสติ ระลึกถึงทานที่ตนบริจาคแล้ว ๖) เทวตานุสติ ระลึกถึงคุณที่ทำคนให้เป็นเทวดา ๗) มรณัสสติ ระลึกถึงความตายที่จะต้องมีเป็นธรรมดา ๘) กายคตาสติ ระลึกทั่วไปในกายให้เห็นว่าไม่งาม ๙) อานาปานสติ ตั้งสติกำหนดลมหายใจเข้าออก ๑๐) อุปสมานุสติ ระลึกถึงธรรมเป็นที่สงบระงับกิเลสและความทุกข์ คือ นิพพาน
-พรหมวิหาร ๔ หมายถึง ธรรมเครื่องอยู่ของพรหม, ธรรมประจำใจอันประเสริฐ, ธรรมประจำใจของท่านผู้มีคุณความดียิ่งใหญ่ มี ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
- อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ หมายถึง กำหนดหมายความเป็นปฏิกูลในอาหาร, ความสำคัญหมายในอาหารว่าเป็นของปฏิกูล พิจารณาให้เห็นว่าเป็นของน่าเกลียด โดยอาการต่างๆ เช่น ปฏิกูล โดยบริโภค, โดยประเทศที่อยู่ของอาหาร, โดยสั่งสมอยู่นาน เป็นต้น
- จตุธาตุววัตถาน ๑ หมายถึง การกำหนดธาตุ ๔ คือ พิจารณาร่างกายนี้ แยกแยะออกไปมองเห็นแต่ส่วนประกอบต่างๆ ที่จัดเข้าไปในธาตุ ๔ คือ ปฐวี อาโป เตโช วาโย ทำให้รู้ภาวะความเป็นจริงของร่างกาย ว่าเป็นแต่เพียงธาตุ ๔ ประชุมกันเข้าเท่านั้น ไม่เป็นตัวสัตว์บุคคลที่แท้จริง
- อรูป ๔ หมายถึง ฌานมีอรูปธรรมเป็นอารมณ์ ได้แก่ อรูปฌาน, ภพของสัตว์ผู้เข้าถืออรูปฌาน, ภพของอรูปพรหม มี ๔ คือ ๑) อากาสานัญจายตนะ (กำหนดที่ว่างหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์) ๒) วิญญาณัญจายตนะ (กำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์) ๓) อากิญจัญญายตนะ (กำหนดภาวะที่ไม่มีอะไรๆ เป็นอารมณ์) ๔) เนวสัญญานาสัญญายตนะ (ภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่)
(จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎก ( ป.อ.ประยุตฺโต)
กัมมัฏฐาน ทั้ง ๔๐ กอง เป็นทั้ง อุบายทำให้ใจสงบ และเป็นทั้ง อุบายทำให้เรืองปัญญา หรือจะกล่าวว่า เป็นการฝึกอบรมใจให้สงบ และ เป็นการฝึกอบรมให้เกิดปัญญา เกิดความรู้ ความเข้าใจตามความเป็นจริง ก็ได้เช่นกัน
เมื่อคุณได้อ่านความข้างต้นดีแล้ว และทำความเข้าใจดีแล้ว คำตอบที่คุณถามมาก็คือ การฝึกอบรมกัมมัฏฐาน ไม่จำเป็นต้องสนใจ ในเรื่องของ จริต ซึ่ง
-จริต หมายถึง ความประพฤติ, พื้นนิสัย หรือพื้นเพแห่งจิตของคนทั้งหลายที่หนักไปด้านใดด้านหนึ่ง แตกต่างกันไปคือ ๑.ราคจริต ผู้มีจาคะเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางรักสวยรักงาม มักติดใจ) ๒.โทสจริต ผู้มีโทสะเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางใจร้อนขี้หงุดหงิด) ๓.โมหจริต ผู้มีโมหะเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางเหงาซึม งมงาย) ๔.สัทธาจริต ผู้มีศรัทธาเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางน้อมใจเชื่อ) ๕.พุทธิจริต ผู้มีความรู้เป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางคิดพิจารณา) ๖.วิตกจริต ผู้มีวิตกเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางคิดจับจดฟุ้งซ่าน) (จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎกฯ)
กล่าวคือ จริตอย่างใด ก็ต้องฝึกอบรมใจ เหมือนกันทุกจริต คือต้องอบรมใจให้สงบ และอบรมให้เกิดปัญญา เกิดความรู้ความเข้าใจตามความเป็นจริง จะเลือกฝึก กัมมัฏฐาน ในข้อไหนก่อน ก็แล้วแต่ความสะดวก แล้วแต่พื้นที่หรือสถานที่ แล้วแต่ สถานะการณ์ และสิ่งแวดล้อม แต่ต้องฝึกทุกหมวดกัมมัฏฐาน คือฝึกให้ครบทุกหมวดของกัมมัฏฐาน ก็ย่อมสามารถขัดเกลาจริตทั้งหลายของแต่ละบุคคลได้ เพราะจริตแท้จริงก็คือ การควบคุมความคิดความเข้าใจและพฤติกรรมของตัวเองไม่ได้เท่านั้น จะเรียกว่า ขาดสติสัมปชัญญะ และขาดความรู้ความเข้าใจ หรือมีความรู้ความเข้าใจและสติสัมปชัญญะไม่ดีพอก็ได้เหมือนกัน
ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงขอให้ผู้ถาม และท่านทั้งหลายที่เป็นใฝ่ในการเรียนรู้ หรือเป็นนักปฏิบัติธรรม ครูอาจารย์ พระสงฆ์ นักการศาสนาทั้งหลาย ได้ใช้วิจารณญาณ ได้คิดพิจารณา ตามที่ข้าพเจ้าได้เขียน ให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่า เป็นจริงดังที่ข้าพเจ้าเขียนหรือไม่
สวัสดี ขอให้เจริญยิ่งในธรรมขอรับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2011, 21:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกายพินาแล้วเห็นว่าผู้เขียนนั่น ^ ตัวปลอม ไม่ใช่ตัวจริง ตัวจริงเสียงจริงจะลงชื่อ/วันที่กำกับไว้ด้วย นี่ไม่มีนี่ขอรับ :b10: :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2011, 20:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
กรัชกายพินาแล้วเห็นว่าผู้เขียนนั่น ^ ตัวปลอม ไม่ใช่ตัวจริง ตัวจริงเสียงจริงจะลงชื่อ/วันที่กำกับไว้ด้วย นี่ไม่มีนี่ขอรับ :b10: :b1:


เจ้า สัตว์ตาย เอ๋ย เจ้า กรัชกาย ที่ข้าพเจ้าไม่ใส่ชื่อจริง ก็เพราะ ข้าพเจ้าเพียงเขียน อธิบายเพียงเล็กน้อย นอกนั้น เอามาจากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎกฯ จะใส่ชื่อจริง หน้าไม่ด้านพอ คงไม่เหมือนเจ้าดอกนะ อิ อิ อิ อิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2011, 20:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


sriariya เขียน:
เจ้า สัตว์ตาย เอ๋ย เจ้า กรัชกาย ที่ข้าพเจ้าไม่ใส่ชื่อจริง ก็เพราะ ข้าพเจ้าเพียงเขียน อธิบายเพียงเล็กน้อย นอกนั้น เอามาจากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎกฯ จะใส่ชื่อจริง หน้าไม่ด้านพอ คงไม่เหมือนเจ้าดอกนะ อิ อิ



รูปภาพ


น่าจะบอกแต่ทีแรกปล่อยให้สงสัยอยู่ได้ตั้งนานสองนานนะขอรับ :b1: :b12:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2011, 08:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 09:07
โพสต์: 761

แนวปฏิบัติ: อานาปาฯ
งานอดิเรก: ศึกษาพุทธธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม
ชื่อเล่น: ปลีกวิเวก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
sriariya เขียน:
เจ้า สัตว์ตาย เอ๋ย เจ้า กรัชกาย ที่ข้าพเจ้าไม่ใส่ชื่อจริง ก็เพราะ ข้าพเจ้าเพียงเขียน อธิบายเพียงเล็กน้อย นอกนั้น เอามาจากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎกฯ จะใส่ชื่อจริง หน้าไม่ด้านพอ คงไม่เหมือนเจ้าดอกนะ อิ อิ



รูปภาพ


น่าจะบอกแต่ทีแรกปล่อยให้สงสัยอยู่ได้ตั้งนานสองนานนะขอรับ :b1: :b12:



เจ้าลิงน้อยตัวนี้น่ารักจริง ๆ นะ :b16:

.....................................................
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุสเส
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่ความดี คือผู้ที่ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์และเทวดา
วรรคทอง วรรคธรรม โดยท่าน ว.วชิรเมธี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2011, 12:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 21:22
โพสต์: 264

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณคุณ FLAME ที่มาตอบค่ะ tongue

.....................................................
"เราไม่สรรเสริญแม้แต่ความตั้งอยู่ได้ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ต้องพูดถึงความเสื่อมถอยจากกุศลธรรมทั้งหลาย
เรายกย่องสรรเสริญอย่างเดียว แต่ความก้าวหน้าต่อไปในกุศลธรรมทั้งหลาย"

(องฺ. ทสก. ๒๔/๕๓/๑๐๑)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2011, 13:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 21:22
โพสต์: 264

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีค่ะ คุณ Buddha

ความหมายของศัพท์กรรมฐานทั้ง ๔๐ ที่คุณ Buddha เขียน (คัดลอก) มา ช่วยให้
ผู้อ่านที่อาจจะยังไม่ทราบความหมายของศัพท์เหล่านี้ได้ทราบความหมาย

แต่ที่คุณ Buddha บอกว่าต้องฝึกให้ครบทุกหมวดของกรรมฐาน
ถ้าทำแบบนี้รินคิดว่าจะทำให้สมาธิไม่ตั้งมั่น ไม่ก้าวหน้าต่อไป
ถ้าเจริญกรรมฐานที่เหมาะกับตัวเองแล้วก็ไม่ควรเปลี่ยนอีก

.....................................................
"เราไม่สรรเสริญแม้แต่ความตั้งอยู่ได้ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ต้องพูดถึงความเสื่อมถอยจากกุศลธรรมทั้งหลาย
เรายกย่องสรรเสริญอย่างเดียว แต่ความก้าวหน้าต่อไปในกุศลธรรมทั้งหลาย"

(องฺ. ทสก. ๒๔/๕๓/๑๐๑)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2011, 13:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 21:22
โพสต์: 264

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ลองดูที่นี่สิครับ :b1:

http://fws.cc/whatisnippana/index.php?t ... 43#msg9443


ตามไปอ่านลิ้งค์แล้วค่ะ
ได้ข้อสรุปว่า คนวิตกจริตเหมาะกับอานาปานสติ เพราะชอบครุ่นคิดติดวน นึกคิดจับจดฟุ้งซ่าน
จึงต้องแก้ด้วยสิ่งที่สะกดอารมณ์ เช่น เจริญอานาปานสติ (หรือ เพ่งกสิณ เป็นต้น)
ส่วนคนโมหจริตก็เหมาะกับอานาปานสติเหมือนกัน

ส่วนคนพุทธิจริตเหมาะกับ มรณานุสสติ อุปสมานุสติ จตุธาตุววัฏฐาน อาหาเรปฏิกูลสัญญา
เพราะนิสัยชอบใช้ความคิดพิจารณา และมองไปตามความจริง จึงพึงส่งเสริมด้วยแนะนำให้ใช้ความคิดพิจาณาสภาวธรรม และสิ่งดีงามที่ให้เจริญปัญญา เช่น พิจารณาไตรลักษณ์

แต่ก็ยังสงสัยอยู่ดีว่าทำไมวรรณกสิณจึงเหมาะกับคนโทสจริต คือถ้าเป็นการเจริญเมตตา รวมทั้ง
พรหมวิหารข้ออื่นก็ยังพอจะเข้าใจได้

.....................................................
"เราไม่สรรเสริญแม้แต่ความตั้งอยู่ได้ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ต้องพูดถึงความเสื่อมถอยจากกุศลธรรมทั้งหลาย
เรายกย่องสรรเสริญอย่างเดียว แต่ความก้าวหน้าต่อไปในกุศลธรรมทั้งหลาย"

(องฺ. ทสก. ๒๔/๕๓/๑๐๑)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2011, 13:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 21:22
โพสต์: 264

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัจจุบันนี้การเจริญกรรมฐานแบบอานาปานสติเป็นที่นิยม แต่จริงๆ แล้ว น่าจะมีคนที่ไม่เหมาะบ้างไหมคะ
หรืออาจจะเหมาะแต่วิธีการปฏิบัติผิดเพี้ยนไป จึงเกิดปัญหา

จริงๆ แล้ว ตัวเองเป็นที่มีหลายจริตผสมกันอยู่
แต่ตั้งแต่เริ่มฝึกกรรมฐานมา ก็ไม่มีปัญหาอะไรที่ทำให้ต้องเปลี่ยนไปทำแนวอื่น
แต่ตอนที่ฝึกกรรมฐานไปได้ช่วงหนึ่ง มีความรู้สึกว่าเราจะเปลี่ยนแนวปฏิบัติไม่ได้นะ
แค่คิดว่าจะลองไปปฏิบัติที่วัดซึ่งเป็นแนวอานาปานสติเหมือนกัน (แต่ไม่รู้ว่าวิธีปฏิบัติจะเหมือนกันเป๊ะไหม)
ก็ยังรู้สึกว่าเราจะไปที่อื่นไม่ได้ ต้องทำตามแนวที่เคยทำเท่านั้น
เป็นความรู้สึกที่รุนแรงมาก เหมือนฝังลึกอยู่ในใจ (ไม่รู้ว่าคนอื่นจะเป็นเหมือนกันหรือเปล่า)

.....................................................
"เราไม่สรรเสริญแม้แต่ความตั้งอยู่ได้ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ต้องพูดถึงความเสื่อมถอยจากกุศลธรรมทั้งหลาย
เรายกย่องสรรเสริญอย่างเดียว แต่ความก้าวหน้าต่อไปในกุศลธรรมทั้งหลาย"

(องฺ. ทสก. ๒๔/๕๓/๑๐๑)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2011, 19:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


รินรส เขียน:
สวัสดีค่ะ คุณ Buddha

ความหมายของศัพท์กรรมฐานทั้ง ๔๐ ที่คุณ Buddha เขียน (คัดลอก) มา ช่วยให้
ผู้อ่านที่อาจจะยังไม่ทราบความหมายของศัพท์เหล่านี้ได้ทราบความหมาย

แต่ที่คุณ Buddha บอกว่าต้องฝึกให้ครบทุกหมวดของกรรมฐาน
ถ้าทำแบบนี้รินคิดว่าจะทำให้สมาธิไม่ตั้งมั่น ไม่ก้าวหน้าต่อไป
ถ้าเจริญกรรมฐานที่เหมาะกับตัวเองแล้วก็ไม่ควรเปลี่ยนอีก


ขอให้คุณคิดพิจารณาให้ดีขอรับ กัมมัฎฐาน ๔๐ กอง ๔๐ หมวดหมู่ ไม่ได้มีไว้เพื่อให้บุคคลฝึกอะไรก็ได้เพียงอย่างเดียว
พวกที่สอนให้ฝึกอะไรก็ได้เพียงอย่างเดียว ส่วนใหญ่แล้วเป็นพวก ชอบบิดเบือนหลักคำสอนขอรับ นี้ไม่ใช่การกล่าวร้ายให้พวกเขานะขอรับ พวกเขาเข้าใจผิด แถมยังอวดฉลาด ยกตัวอย่างเช่น หมวด อนุสติ มี ๑๐ แต่อวดรู้อวดฉลาดไปสอนให้ผู้ไม่รู้ว่า อานาปานสติ เหมาะกับจริตนั้นจริตนี้ สอนอย่างนั้น ผิดอย่างมหันต์ขอรับ เพราะใน ๑๐ กอง แห่ง อนุสติ ต้องฝึกทุกกองขอรับ เป็นการใส่ข้อมูลเพื่อให้จิตใจผ่องไสไม่ฟุ้งซ่านขอรับ ฯลฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2011, 08:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


sriariya เขียน:

พวกที่สอนให้ฝึกอะไรก็ได้เพียงอย่างเดียว ส่วนใหญ่แล้วเป็นพวก ชอบบิดเบือนหลักคำสอนขอรับ นี้ไม่ใช่การกล่าวร้ายให้พวกเขานะขอรับ พวกเขาเข้าใจผิด แถมยังอวดฉลาด ยกตัวอย่างเช่น หมวด อนุสติ มี ๑๐ แต่อวดรู้อวดฉลาดไปสอนให้ผู้ไม่รู้ว่า อานาปานสติ เหมาะกับจริตนั้นจริตนี้ สอนอย่างนั้นผิดอย่างมหันต์ขอรับ เพราะใน ๑๐ กอง แห่ง อนุสติ ต้องฝึกทุกกองขอรับ เป็นการใส่ข้อมูลเพื่อให้จิตใจผ่องไส ไม่ฟุ้งซ่านขอรับ


ใส่ข้อมูลเข้ากองเดียว ก็เห็นรำพึงรำพันกันว่า ปวดหว่างคิ้ว ปวดขะหมับปวดหัวกันสนั่นหวั่นไหวอยู่แล้ว ขืนใส่เข้าไปทั้ง ๑๐ กอง เห็นจะบ้ากันเป็นตับนะขอรับนะ :b1: :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 32 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 17 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร