วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 17:07  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 32 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2011, 08:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รวบรวมไว้ตามลิงค์ด้านล่างมากมาย เอามาให้ดูตัวอย่างนึ่ง

ดิฉันฝึกหัดนั่งสมาธิ วิปัสสนาแนวทางท่านอาจารย์โกเอ็นก้า คือนั่งดูลมหายใจเข้าออก เฉยๆไม่บริกรรม และให้ดูเวทนาที่เกิดในร่างกายแล้วให้มีอุเบกขา
คอร์สแรกที่ดิฉันไปศึกษาเรียนรู้เป็นเวลา10วัน และหลังจากนั้นดิฉันก็กลับมาปฎิบัติที่บ้าน สม่ำเสมอ วันละหลายครั้ง บางทีก็หลายชั่วโมงติดต่อกัน

ล่วงเข้ามาประมาณเดือนที่ 3 ดิฉันมีอาการ ร้อนที่ร่างกาย ทุกส่วน และเกิดอาการปวดศีรษะ เหมือนมีเข็มเป็นร้อยๆเล่มอยู่ในห้ว บางที แข็ง ตึง มึน ทึบอยู่ในหัว จนยากที่จะอธิบาย จนขนาดต้องไปเอกซ์เรย์แต่ไม่มีอะไรผิดปรกติ
อาการมันลงมาที่มือข้างซ้าย และ กรามบน ขมับ 2 ข้าง เหมือนมีกระแสไฟฟ้าวิ่งอยู่ตลอดเวลาเป็นที่ทรมานมาก

ระยะหลังมาดิฉันก็เลยนั่งบ้างไม่นั่งบ้าง เพราะปวดหัวเหลือเกิน บางอาการไม่สามารถบอกมาเป็นตัวอักษรได้ว่ารุ้สึกอย่างไร อาการเป็นตลอดเวลา2 4 ชั่วโมง ทั้งหลับทั้งตื่น ไม่รู้จะทำอย่างไร ก็ไปหาหมอฝังเข็ม ฝังมา 9 ครั้ง ไม่มีทีท่าว่าจะทุเลา อาการยังมีตลอด ดิฉันก็ได้แต่อุเบกขา ทำใจไป คิดไปต่างๆนานา เวลานั่งก็ขออุทิศให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวง
ตอนนี้นับระยะเวลาเป็นมากว่า 2 ปี ได้แต่หวังว่าผู้รู้ทั้งหลายคงช่วยอนุเคราะห์คนมีกรรมคนนี้ด้วย ขอได้โปรดเมตตาช่วยด้วยนะคะ

http://fws.cc/whatisnippana/index.php?t ... 480#msg480

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2011, 15:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


รินรส เขียน:
ปัจจุบันนี้การเจริญกรรมฐานแบบอานาปานสติเป็นที่นิยม แต่จริงๆ แล้ว น่าจะมีคนที่ไม่เหมาะบ้างไหมคะ
หรืออาจจะเหมาะแต่วิธีการปฏิบัติผิดเพี้ยนไป จึงเกิดปัญหา

จริงๆ แล้ว ตัวเองเป็นที่มีหลายจริตผสมกันอยู่
แต่ตั้งแต่เริ่มฝึกกรรมฐานมา ก็ไม่มีปัญหาอะไรที่ทำให้ต้องเปลี่ยนไปทำแนวอื่น
แต่ตอนที่ฝึกกรรมฐานไปได้ช่วงหนึ่ง มีความรู้สึกว่าเราจะเปลี่ยนแนวปฏิบัติไม่ได้นะ
แค่คิดว่าจะลองไปปฏิบัติที่วัดซึ่งเป็นแนวอานาปานสติเหมือนกัน (แต่ไม่รู้ว่าวิธีปฏิบัติจะเหมือนกันเป๊ะไหม)
ก็ยังรู้สึกว่าเราจะไปที่อื่นไม่ได้ ต้องทำตามแนวที่เคยทำเท่านั้น
เป็นความรู้สึกที่รุนแรงมาก เหมือนฝังลึกอยู่ในใจ (ไม่รู้ว่าคนอื่นจะเป็นเหมือนกันหรือเปล่า)



ถ้าทำแล้วกุศลเจริญขึ้น อกุศลเสื่อมไปก็ทำไปเถอะครับ ไม่ต้องไปสนใจจริตให้วุ่นวาย
การปฏิบัติธรรมต้องใช้สัมมาทิฏฐินำหน้าเป็นประธาน มีสัมมาสติ และสัมมาวายามะประกอบกัน
ต้องอาศัยการสดับตรับฟังพุทธวจนะ และโยนิโสมนสิการให้มาก
ต้องรู้จักเลือกเฟ้นธรรมที่เหมาะสมกับตน และปฏิบัติสมควรแก่ธรรม
ธรรมะนั้นแสดงตัวให้เห็นอยู่ทุกขณะ อยู่ที่ว่าจะเห็นได้หรือไม่
กองแห่งสังขารล้วนนี้ ไม่ใช่เราเลย การปฏิบัติธรรมก็เพียงเพื่อให้ยอมรับความจริงให้ได้เท่านั้นเอง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ส.ค. 2011, 19:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
sriariya เขียน:

พวกที่สอนให้ฝึกอะไรก็ได้เพียงอย่างเดียว ส่วนใหญ่แล้วเป็นพวก ชอบบิดเบือนหลักคำสอนขอรับ นี้ไม่ใช่การกล่าวร้ายให้พวกเขานะขอรับ พวกเขาเข้าใจผิด แถมยังอวดฉลาด ยกตัวอย่างเช่น หมวด อนุสติ มี ๑๐ แต่อวดรู้อวดฉลาดไปสอนให้ผู้ไม่รู้ว่า อานาปานสติ เหมาะกับจริตนั้นจริตนี้ สอนอย่างนั้นผิดอย่างมหันต์ขอรับ เพราะใน ๑๐ กอง แห่ง อนุสติ ต้องฝึกทุกกองขอรับ เป็นการใส่ข้อมูลเพื่อให้จิตใจผ่องไส ไม่ฟุ้งซ่านขอรับ


ใส่ข้อมูลเข้ากองเดียว ก็เห็นรำพึงรำพันกันว่า ปวดหว่างคิ้ว ปวดขะหมับปวดหัวกันสนั่นหวั่นไหวอยู่แล้ว ขืนใส่เข้าไปทั้ง ๑๐ กอง เห็นจะบ้ากันเป็นตับนะขอรับนะ :b1: :b32:


ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า สมควรบ้าอย่างที่เจ้าว่าละขอรับ ....คนไม่มีสติสัมปชัญญะ....อย่างเจ้า ก็สมควรละขอรับ ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2011, 19:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


sriariya เขียน:
ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า สมควรบ้าอย่างที่เจ้าว่าละขอรับ ....คนไม่มีสติสัมปชัญญะ....อย่างเจ้า ก็สมควรละขอรับ ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า


คิก คิก คิก :b1: พี่ เท ฯ


http://daraoke.gmember.com/song-%E0%B9% ... 0400706402

รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2011, 15:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 21:22
โพสต์: 264

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา ได้มีโอกาสไปบวชอุบาสิกาแก้วหน่ออ่อน
เหตุที่ไปเพราะตัวเองไม่เคยไปปฏิบัติกรรมฐานที่วัดหรือสำนักใดมาก่อน ได้แต่ปฏิบัติเองที่บ้าน
เลยอยากไปดูว่าในวันหนึ่งๆ เขาทำอะไรกันบ้าง

แนวปฏิบัติต่างจากที่เคยฝึกปฏิบัติมา คือ ไม่มีการเดินจงกรม มีแต่นั่งภาวนาอย่างเดียว
ขณะปฏิบัติให้นึกถึงสิ่งที่มีลักษณะกลมที่เราคุ้นเคย เช่น ผลส้ม หรือนึกถึงดอกบัว หยดน้ำ
และบริกรรมด้วยคำว่า “สัมมาอรหัง” (แต่ตัวเองก็ปฏิบัติตามที่เคยฝึกมา ไม่ได้ทำตามแนวนี้)
ถ้าผลการปฏิบัติก้าวหน้าไปเรื่อยๆ ก็จะเห็นองค์พระ และจะขยายใหญ่ขึ้น
ระหว่างที่บวช ๑ สัปดาห์ พระอาจารย์หรือพี่เลี้ยงก็จะถามอยู่เสมอว่า มีใครเห็นองค์พระแล้วบ้าง
ถ้ามีคนเห็นองค์พระ จะมีการส่งจดหมายถึงหลวงพ่อธัมมชโย
แล้วจดหมายจะถูกอ่านออกช่อง DMC เป็นที่ชื่นชม โจษจันกัน
และเขาก็สอนอีกว่าในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะทำอะไร ให้นึกถึงองค์พระไปด้วย

แต่ก็ไม่ได้บอกว่าถ้าเกิดองค์พระหายไปแล้วต้องทำยังไงต่อ
หรือต้องประคองให้องค์พระมีอยู่อย่างงั้นตลอดไป

การนั่งภาวนาอย่างเดียว ไม่ได้เดินจงกรม ทำให้รู้สึกว่าไม่พอดี
และขัดความรู้สึก เพราะปกติเดินจงกรมด้วยอยู่แล้ว

สมมติว่าถ้าเรามีแนวปฏิบัติของตนเองอยู่แล้ว แล้วอยากจะเปลี่ยนมาปฏิบัติแนวธรรมกาย
ก็เหมือนกับว่าเราต้องเริ่มต้นใหม่ไหมคะ หรือว่ายังไง

แต่ที่นี่เขามีความเป็นระเบียบเรียบร้อยดีนะคะ เช่น สอนให้พับกล่องปานะ
ช่วยลดปริมาณขยะไปได้ถึง ๕ เท่า (๑ กล่องที่ไม่ได้พับ = ๕ กล่องที่พับแล้ว)
เวลาเข้าห้องน้ำต้องตรวจดูความเรียบร้อย และให้เปิดน้ำไว้ ๓/๔ ของถัง
คือให้ทำให้คนที่ใช้ห้องน้ำต่อจากเรารู้สึกว่าเขาเข้ามาใช้เป็นคนแรก เป็นต้น
ซึ่งเป็นสิ่งที่เอามาใช้ในชีวิตประจำวันได้เลย

.....................................................
"เราไม่สรรเสริญแม้แต่ความตั้งอยู่ได้ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ต้องพูดถึงความเสื่อมถอยจากกุศลธรรมทั้งหลาย
เรายกย่องสรรเสริญอย่างเดียว แต่ความก้าวหน้าต่อไปในกุศลธรรมทั้งหลาย"

(องฺ. ทสก. ๒๔/๕๓/๑๐๑)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2011, 15:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 21:22
โพสต์: 264

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อวันพระที่ผ่านมา (วันอาทิตย์) ก็ได้ไปนอนค้างคืนที่วัดแห่งหนึ่ง
เหตุที่ไปนอนค้างที่วัดเพราะอยากรู้แนวปฏิบัติของวัดนี้อีกเหมือนกันค่ะ
วัดนี้ปฏิบัติแนวพุธโธ ตอนที่ไปถึง หลวงพ่อท่านให้นั่งภาวนา ๑ ชม.
ท่านสอนว่าให้ตามดูลมหายใจ ไม่ได้บอกอย่างอื่นอีก
ไม่แน่ใจว่าเพราะที่นี่สอนเท่านี้หรือเป็นเพราะท่านเห็นว่า
คนที่มาปฏิบัติก็เป็นคนที่มาเป็นประจำอยู่แล้ว (แต่ตัวเองเพิ่งไปเป็นครั้งแรก)
ก็นั่งภาวนาตามที่เคยปฏิบัติมา แต่สงสัยว่าไม่ให้เดินจงกรมก่อนเหรอ
เพราะเห็นเขาทำที่สำหรับเดินจงกรมเอาไว้

พอถึงเวลาทำวัตรเย็น หลวงพ่อสั่งให้เดินจงกรม ๒๐ นาที แล้วจึงไปทำวัตรเย็น
หลังจากนั้นก็นั่งภาวนา ๑ ชม. ไม่แน่ใจว่าที่หลวงพ่อสั่งให้เดินจงกรมก่อนทำวัตรเย็นนี้
เพื่อรอหลวงพ่อ เพราะหลวงพ่อทำธุระไม่เสร็จหรือเพราะอะไรแน่

ตอนเช้าก่อนกลับบ้าน ก็นั่งภาวนา ๑ ชม. แล้วทำวัตรเช้า ไม่มีการเดินจงกรม
เอาไว้ถ้าได้ไปอีก จะถามป้าๆ ว่าที่นี่สอนให้เดินจงกรมอย่างไร
เพราะตอนที่เดินจงกรม ๒๐ นาทีนั้น เห็นเขาเดินเร็ว คิดว่าคงเป็นระยะที่ ๑
คิดอยู่ว่าปกติป้าเขาก็มานอนที่วัดทุกวันพระอยู่แล้ว ทำไมถึงเดินจงกรมระยะต่ำอยู่
โดยทั่วไปเวลามีคนไปนอนที่วัดในวันพระ หลังจากปฏิบัติกรรมฐานแล้ว
มีการสอบอารมณ์หรือเปล่าคะ หรือเพียงแต่สอนให้ญาติโยมปฏิบัติเท่านั้น

.....................................................
"เราไม่สรรเสริญแม้แต่ความตั้งอยู่ได้ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ต้องพูดถึงความเสื่อมถอยจากกุศลธรรมทั้งหลาย
เรายกย่องสรรเสริญอย่างเดียว แต่ความก้าวหน้าต่อไปในกุศลธรรมทั้งหลาย"

(องฺ. ทสก. ๒๔/๕๓/๑๐๑)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2011, 12:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


น่าจะมาเล่าต่อ กำลังอ่านอยู่ครับ เลยเหนความสำคัญของความสงบในจิตขึ้นมา
จะฝึกที่ไหนก้ฝึกได้ แต่พอจะให้สงบนี่นะสิ บางครั้งสถานที่สัปปายะยังไม่พอ ต้องธรรมะสัปปายะ
ไปด้วย :b40:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2011, 17:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รินรส เขียน:
เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา ได้มีโอกาสไปบวชอุบาสิกาแก้วหน่ออ่อน
เหตุที่ไปเพราะตัวเองไม่เคยไปปฏิบัติกรรมฐานที่วัด หรือสำนักใดมาก่อน ได้แต่ปฏิบัติเองที่บ้าน
เลยอยากไปดูว่าในวันหนึ่งๆ เขาทำอะไรกันบ้าง


ดีแล้วครับ

การได้ยินได้ฟังได้เห็นภาพหลายๆมุมทำให้เราได้ข้อคิดมุมมองลงตัวสำหรับเราเหมือนกัน ไม่เสียหายอะไร

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2011, 18:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รินรส เขียน:

แต่ที่นี่เขามีความเป็นระเบียบเรียบร้อยดีนะคะ เช่น สอนให้พับกล่องปานะ
ช่วยลดปริมาณขยะไปได้ถึง ๕ เท่า (๑ กล่องที่ไม่ได้พับ = ๕ กล่องที่พับแล้ว)
เวลาเข้าห้องน้ำต้องตรวจดูความเรียบร้อย และให้เปิดน้ำไว้ ๓/๔ ของถัง
คือให้ทำให้คนที่ใช้ห้องน้ำต่อจากเรารู้สึกว่าเขาเข้ามาใช้เป็นคนแรก เป็นต้น
ซึ่งเป็นสิ่งที่เอามาใช้ในชีวิตประจำวันได้เลย


ความหมายเดิมคำว่า "ปฏิบัติธรรม" ได้แก่ การนำเอาธรรมไปใช้ในการดำเนินชีวิต หรือการดำเนินชีวิตตามธรรม

การเลือกสรรนำสิ่ง ที่เห็น ได้ยิน ทางตา ทางหู ฯลฯ ซึ่งตนเห็นว่า เป็นประโยชน์มาใช้พัฒนาตนได้ ก็เปรียบเหมือนคนทอดแหที่ฉลาด ทอดแหหาปลา ติดสิ่งกินได้บ้างไม่ได้บ้าง เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา กิ่งไม้ หญ้าแห้ง สิ่งปฏิกูลเน่าเหม็น เขาลากมันขึ้นบนบกแล้วสลัดแห จับสิ่งที่กินได้ใส่ตะข้อง นำกลับกลับบ้านเลี้ยงตนเองและครอบครัว ส่วนสิ่งที่กินไม่ได้ ไม่เป็นประโยชน์ เขาก็สลัดมันทิ้งที่ฝั่งนั้นเองฉันใด

ในแต่ละวันๆ ทางตาเราได้เห็น ทางหูได้ยิน ฯลฯ สิ่งที่เป็นมงคลบ้าง ไม่เป็นมงคลบ้าง ผู้ฉลาดจะเก็บสิ่งที่เป็นมงคลเข้าไว้ ส่วนสิ่งอัปมงคล ไม่เป็นประโยชน์ ก็สลัดมันทิ้งตรงที่เห็น ตรงที่ได้ยินนั่นเองฉันนั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2011, 18:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รินรส เขียน:

แนวปฏิบัติต่างจากที่เคยฝึกปฏิบัติมา คือ ไม่มีการเดินจงกรม มีแต่นั่งภาวนาอย่างเดียว
ขณะปฏิบัติให้นึกถึงสิ่งที่มีลักษณะกลมที่เราคุ้นเคย เช่น ผลส้ม หรือนึกถึงดอกบัว หยดน้ำ
และบริกรรมด้วยคำว่า “สัมมาอรหัง” (แต่ตัวเองก็ปฏิบัติตามที่เคยฝึกมา ไม่ได้ทำตามแนวนี้)
ถ้าผลการปฏิบัติก้าวหน้าไปเรื่อยๆ ก็จะเห็นองค์พระ และจะขยายใหญ่ขึ้น
ระหว่างที่บวช ๑ สัปดาห์ พระอาจารย์หรือพี่เลี้ยงก็จะถามอยู่เสมอว่า มีใครเห็นองค์พระแล้วบ้าง
ถ้ามีคนเห็นองค์พระ จะมีการส่งจดหมายถึงหลวงพ่อธัมมชโย
แล้วจดหมายจะถูกอ่านออกช่อง DMC เป็นที่ชื่นชม โจษจันกัน
และเขาก็สอนอีกว่าในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะทำอะไร ให้นึกถึงองค์พระไปด้วย

แต่ก็ไม่ได้บอกว่าถ้าเกิดองค์พระหายไปแล้วต้องทำยังไงต่อ
หรือต้องประคองให้องค์พระมีอยู่อย่างงั้นตลอดไป


มีหลักคลุมกว้างๆ ดังนี้

เมื่อมองในแง่ปรมัตถ์ ศีล สมาธิ และปัญญา ต่างก็มีจุดหมายสุดท้ายเพื่อนิพพาน (นิโรธ) เหมือนกัน
แต่เมื่อมองจำกัดเฉพาะตัวแต่ละอย่าง มีขีดขั้นขอบเขตของตนที่จะต้องไปเชื่อมต่อกับอย่างอื่น จึงจะให้บรรลุจุดหมายสุดท้ายได้ ลำพังอย่างหนึ่งอย่างเดียวหาสำเร็จผลล่วงตลอดไม่ แต่จะขาดอย่างหนึ่งอย่างใดเสียทีเดียวก็ไม่ได้
จึงมีหลักว่า ศีลเพื่อสมาธิ สมาธิเพื่อปัญญา ปัญญาเพื่อวิมุตติ

ถ้าปฏิบัติศีลขาดเป้าหมายก็อาจกลายเป็นสีลัพพตปรามาส ช่วยส่งเสริมอัตตกิลมถานุโยคบางอย่าง

ถ้าบำเพ็ญสมาธิ โดยไม่คำนึงถึงอรรถ ก็อาจหมกติดอยู่ในฤทธิ์ปาฏิหาริย์ ส่งเสริมมิจฉาทิฏฐิบางอย่างหรือส่งเสริมดิรัจฉานวิชาบางประเภท

ถ้าเจริญปัญญา ชนิดที่ไม่เป็นไปเพื่อวิมุตติ ก็เป็นอันคลาดออกนอกมัชฌิมาปฏิปทา ไม่ไปสู่จุดหมายของพุทธศาสนา อาจหลงอยู่ข้างๆระหว่างทาง หรือติดค้างในมิจฉาทิฏฐิแบบใดแบบหนึ่ง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2011, 18:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สัตว์ทั้งหลายเจริญอยู่ในขั้นตอนต่างๆ แห่งพัฒนาการในอริยธรรม
เมื่อมองดูการเดินทาง หรือพัฒนาการ ก็จะเห็นลำดับขั้นแห่งพัฒนาการ เป็น 3 ขั้น คือ

-ขั้นอ้อนวอนหวังพึ่งเทวดา

-ขั้นอยู่ร่วมกันด้วยไมตรีกับเทวดา และ

-ขั้นได้รับความเคารพบูชาจากเทวดา

ขั้นที่ 1 จัดว่าเป็นขั้นก่อนพัฒนา

ขั้นที่ 2 คือจุดเริ่มต้นของชุมชนแบบพุทธหรือชุมชนอารยะ

ขั้นที่ 3 เป็นระดับพัฒนาการของผู้เข้าถึงจุดหมายของพระพุทธศาสนา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2011, 18:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อมองพัฒนาการในแง่ที่เกี่ยวกับอิทธิปาฏิหาริย์ (รวมถึงอำนาจศักดิ์สิทธิ์เร้นลับอื่นๆ) ก็จะมีลำดับ 3 ขั้นเหมือนกัน คือ

-ขั้นหวังพึ่ง

-ขั้นเสริมกำลัง และ

-ขั้นเป็นอิสระสิ้นเชิง

ขั้นที่ 1 เป็นขั้นรอคอยอำนาจภายนอกดลบันดาล ทำให้หมกมุ่นฝักใฝ่ ปล่อยทิ้งเวลาความเพียร
และการคิดเหตุผลของตน จัดเป็นขั้นก่อนพัฒนา หรือนอกชุมชนอารยะ

ขั้นที่ 2 คือขั้นที่ทำอิทธิปาฏิหาริย์ได้เองแล้ว และใช้อิทธิปาฏิหาริย์นั้นเพื่อเสริมกำลังในการทำความดีอย่างอื่น เช่น ในการช่วยเหลือผู้อื่นจากอันตราย ฯลฯ

ขั้นที่ 3 คือการมีชีวิตจิตใจเป็นอิสระ ดำเนินชีวิตที่โปร่งเบาแท้ โดยไม่ต้องอาศัยอิทธิปาฏิหาริย์ หรือสิ่งอื่นมาเสริมกำลังใจของตนเลย เพราะมีจิตใจเข้มแข็งเพียงพอ สามารถบังคับควบคุมจิตใจของตนได้เอง ปราศจากความหวาดหวั่นกลัวภัย

ขั้นที่ 3 นี้ จัดเป็นขั้นเข้าถึงพระพุทธศาสนา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2011, 18:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รินรส เขียน:
สมมติว่าถ้าเรามีแนวปฏิบัติของตนเองอยู่แล้ว แล้วอยากจะเปลี่ยนมาปฏิบัติแนวธรรมกาย
ก็เหมือนกับว่าเราต้องเริ่มต้นใหม่ไหมคะ หรือว่ายังไง


เมื่อเรามีได้แนวทางปฏิบัติที่ลงกันกับสติปัฏฐาน 4 แล้ว ก็ไม่ควรเปลี่ยน แต่ถ้าจะเปลี่ยนไปแนวไหนก็ตามคงต้องเริ่มต้นใหม่ครับ และแล้วทีนี้ล่ะครับ อารมณ์จะตีกันวุ่น จะปวดกระบอกตา ปวดหัว ปวดขะหมับ ตึงหน้าผาก ถึงกับต้องร้องหลวงพ่อเจ้าขาเลยล่ะ :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2011, 18:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รินรส เขียน:
แนวปฏิบัติต่างจากที่เคยฝึกปฏิบัติมา คือ ไม่มีการเดินจงกรม มีแต่นั่งภาวนาอย่างเดียว


อานิสงส์จงกรม มี 5 ประการ ค้นดูนะครับ

ยิ่งกว่านั้น ถ้ารู้เข้าใจวิธีนะครับ ยังช่วยปรับอินทรีย์ (อินทรีย์ 5) แต่ถ้าไม่รู้ไม่เข้าใจก็จี้ครับ :b32:




เอวัง :b1: :b12:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2011, 21:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 21:22
โพสต์: 264

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:

อานิสงส์จงกรม มี 5 ประการ ค้นดูนะครับ

ยิ่งกว่านั้น ถ้ารู้เข้าใจวิธีนะครับ ยังช่วยปรับอินทรีย์ (อินทรีย์ 5) แต่ถ้าไม่รู้ไม่เข้าใจก็จี้ครับ :b32:


ปรับอินทรีย์ ๕ ให้เสมอกัน หรือปรับคุณอินทรีย์ ๕ คะ
(อันนี้ไม่ได้ต้องการคำตอบค่ะ)


ขอบคุณคุณอินทรีย์ ๕ ที่ตามอ่านนะคะ

.....................................................
"เราไม่สรรเสริญแม้แต่ความตั้งอยู่ได้ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ต้องพูดถึงความเสื่อมถอยจากกุศลธรรมทั้งหลาย
เรายกย่องสรรเสริญอย่างเดียว แต่ความก้าวหน้าต่อไปในกุศลธรรมทั้งหลาย"

(องฺ. ทสก. ๒๔/๕๓/๑๐๑)


แก้ไขล่าสุดโดย รินรส เมื่อ 16 ส.ค. 2011, 21:27, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 32 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 28 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร