วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 16:51  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ย. 2011, 00:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2011, 17:33
โพสต์: 85

โฮมเพจ: บล๊อก
แนวปฏิบัติ: กายปสาทรูป และวิสยรูป ๗ คือ สี เสียง กลิ่น รส เย็นร้อน อ่อนแข็ง ตึงไหว สังเกตุการเกิดดับที่ละขณะ
งานอดิเรก: ฟังธรรมะ อ่านหนังสือธรรมะ ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปรมัตถธรรม ๔ โดยสังเขป ของ อ.สุจินต์
อายุ: 0
ที่อยู่: ประเทศไทย

 ข้อมูลส่วนตัว


หลักของสมถะและวิปัสสนา


หลักของสมถะ เรื่องของ สมถะ หรือ สมาธิ โดยย่อ ก็คือ การทำจิตให้สงบนิ่งอยู่ในอารมณ์ที่ต้องการ จะเอาอะไรมาเป็นอารมณ์ เพื่อให้จิตจับสงบนิ่งอยู่ในอารมณ์นั้น โดยไม่กวัดแกว่งไปในอารมณ์อื่น ตามอำนาจของกิเลสนิวรณ์ก็ใช้ได้

ส่วนการที่จะให้รู้อะไรหรือไม่นั้น ไม่ถือเป็นเรื่องสำคัญ ขอเพียงแต่ให้จิตตั้งมั่นนิ่งอยู่ในอารมณ์ที่เพ่งนั้นก็แล้วกัน เมื่อจิตเข้าถึงสมาธิแล้วในด้านความรู้นั้น อย่างดีก็จะมีความรู้สึกเพียง ว่าง ๆ เฉย ๆ หรือ สงบเยือกเย็น เท่านั้น ที่จะให้เกิดความรู้ใน เหตุผล นั้น ไม่มีเลย

หลักของ สมาธิ นั้น ถ้าความรู้ใน เหตุผล ยิ่งน้อยลงไปเท่าใด สมาธิ ก็จะมีกำลังมากขึ้นเท่านั้น หรือ สมาธิ ยิ่งมีกำลังมากขึ้นเท่าใด ความรู้ใน เหตุผล ก็ยิ่งลดน้อยลงไปเท่านั้น จนเกือบจะไม่มีความรู้สึกอะไรเลย นี่คือหลักของ สมถะ หรือ สมาธิ

หลักของวิปัสสนา
ต้องการให้ ปัญญา รู้เหตุผลตามความเป็นจริงของสภาวธรรม ไม่ใช่ต้องการให้ นิ่ง หรือ สงบ หรือ สุขสบาย แต่ต้องการให้รู้ความจริงของธรรมชาติ ที่กำลังปรากฏเป็นอารมณ์เท่านั้น

หลักของปัญญาในทางที่ถูกต้องนั้น ยิ่งเพ่งยิ่งรู้ ยิ่งเพ่งอารมณ์ที่เป็นความจริงได้มากเท่าใด ปัญญาก็จะยิ่งรู้เหตุผลที่ถูกต้องมากยิ่งขึ้นเท่านั้น ยิ่งเกิดความเห็นถูกมากยิ่งขึ้นเท่าใด ความสงสัยและความเห็นผิดก็จะยิ่งหมดไปมากเท่านั้น กิเลส คือ ความเห็นผิด และความสงสัย ถูกละไปหมดมากเท่าใด จิตใจก็จะบริสุทธิ์หมดจดจากกิเลสมากขึ้นเท่านั้น

ฉะนั้น วิปัสสนา จึงเป็นชื่อของ ปัญญา ที่รู้ความจริง แล้วละกิเลสให้บริสุทธิ์หมดจดได้ นี่คือ หลักการของ วิปัสสนา

สมถะเกี่ยวข้องกับวิปัสสนาอย่างไร?


สมถภาวนา เป็นการฝึกอบรมจิตใจให้สงบจากกิเลสนิวรณ์ มิใช่เป็นทางปฏิบัติ เพื่อพ้นความทุกข์โดยตรง ทั้งยังไม่เป็นเหตุให้เข้าถึงอริยสัจ ๔ ประการ เช่น การปฏิบัติของท่านอาฬารดาบส กาลามโคตร และอุทกดาบส รามบุตร ที่สำเร็จอรูปฌาน ถึงอากิญจัญญายตนฌาน และเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน และเคยสอนการทำฌานแก่พระพุทธเจ้ามาก่อน ก็ยังไม่บรรลุมรรค ผล นิพพาน เพราะสมถะไม่อาจหยั่งสู่สภาวะของรูปนามตามความเป็นจริง และไม่อาจทำลายวิปลาส คือ ความเห็นผิดที่คิดว่า รูปนามขันธ์ ๕ เป็นอัตตาตัวตน เป็นเราได้

เมื่อไม่รู้จัก รูปนาม ก็ไม่เห็นไตรลักษณ์ เพราะไตรลักษณ์ คือ ความไม่เที่ยง, เป็นทุกข์, เป็นอนัตตา มีอยู่ที่ รูปนาม แต่พระพุทธองค์ประสงค์จะอนุเคราะห์แก่บรรดาฌานลาภีบุคคล ที่เคยเจริญสมถภาวนามาจนสำเร็จฌาน ชำนิชำนาญแล้ว ก็ให้ยกองค์ฌาน คือ สภาวะของ นามธรรม มีวิตก, วิจาร, ปีติ สุข (เวทนา) เอกัคคตา (สมาธิ) ขึ้นเป็นอารมณ์ของวิปัสสนา โดยต้องออกจากฌานเสียก่อน และมีความชำนาญในวลี ๕ ประการด้วย นามธรรมที่เป็นองค์ฌานเหล่านี้ มีสภาพธรรมที่เป็นความจริง จึงจะแสดงความเป็นไตรลักษณ์ให้ปรากฏได้

อนึ่ง ผู้เจริญสมถภาวนาจนจิตสงบ ข่มกิเลสนิวรณ์ลงได้แล้ว แม้ยังไม่สำเร็จฌาน หรือยังไม่ชำนาญในฌาน แต่การที่สงบจากกิเลสนิวรณ์ลงได้แล้ว แม้ยังไม่สำเร็จฌาน หรือยังไม่ชำนาญในฌาน แต่การที่สงบจากกิเลสนิวรณ์ ก็เป็นปัจจัยช่วยการปฏิบัติวิปัสสนาให้สะดวกขึ้นได้ เพราะอาศัยกิเลสนิวรณ์สงบลง จึงเป็นปัจจัยให้ปัญญารู้นามรูป ตามความเป็นจริงได้ง่ายขึ้น ในวิสุทธิมรรคอรรถกถา จึงได้แสดงฌานเป็นบาทของวิปัสสนาไว้โดยหมายถึงการได้ฌานแล้วจึงมาเจริญวิปัสสนาต่อไป หรือหมายถึง เมื่อเจริญสมถภาวนาจนจิตสงบจากกิเลสนิวรณ์แล้ว จึงมาเจริญวิปัสสนากรรมฐานต่อไป เรียกผู้ปฏิบัติวิปัสสนา โดยอาศัยสมถะนี้เป็นบาทว่า "สมถยานิกกะ" แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายถึงว่า หากไม่ทำสมถกรรมฐานเสียก่อนแล้ว วิปัสสนาย่อมเกิดไม่ได้ ความเข้าใจอย่างนี้ เป็นการไม่ถูกต้อง เพราะวิปัสสนานั้นเป็นชื่อของปัญญา ที่เห็นนามรูป ไม่เที่ยง, เป็นทุกข์, เป็นอนัตตา ผู้ใด เมื่อได้ศึกษารูปนามตามนัยปริยัติแล้ว จะยกรูปนามสู่การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานโดยตรงก็ได้ เรียกผู้นั้นว่า "วิปัสสนายานิกกะ"


แต่ในปัจจุบันนี้ หาผู้ปฏิบัติสมถกรรมฐานจนสำเร็จฌานได้ยาก เพราะจิตใจของบุคคลสมัยนี้ เต็มไปด้วยอำนาจของกิเลสนิวรณ์ และกามคุณอารมณ์ก็อุดมสมบูรณ์

ด้วยเหตุนี้ ถ้าเรามัวแต่จะฝึกอบรมสมาธิ หรือสมถกรรมฐานกัน เพื่อให้ฌานจิตเกิด หรือให้กิเลสนิวรณ์สงบ เพื่อนำไปเป็นบาทในการเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั้น ก็คงฝึกกันได้แต่เพียงทำสมาธิเล็ก ๆ น้อย ๆ เท่านั้น ในที่สุด ก็ตายเปล่า ไม่ได้เจริญวิปัสสนา ตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

เมื่อพากันเสียเวลามาฝึกสมาธิกันมาก ๆ เข้า จนไม่มีใครรู้จักการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้นว่า เป็นอย่างไร? ผลสุดท้ายก็นึกเอาว่า สมถะ กับ วิปัสสนา นี่เป็นอันเดียวกัน

นี่แหละ อันตรายในพระพุทธศาสนา ที่เกิดขึันมาด้วยความเห็นผิด ที่เป็น มิจฉาทิฏฐิ ของผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนาด้วยกันเอง

สมถะ ที่เกี่ยวข้องกับ วิปัสสนา นั้น หมายเอาเฉพาะ สมาธิ ที่ตั้งอยู่ในอารมณ์ของปัญญา คือ ขณะเจริญสติปัฏฐานเท่านั้น หรือที่เรียกกันว่า สมาธิในองค์มรรค คือ ขณะเจริญมรรค ๘ หรือมัชฌิมาปฏิปทา

ส่วนสมถะ หรือสมาธิใด ไม่ได้ตั้งอยู่ในอารมณ์ของปัญญา หรืออารมณ์สติปัฏฐาน ๔ คือ นามรูป แล้ว สมถะ หรือสมาธินั้น ก็ไม่เกี่ยวข้องกับวิปัสสนา ซึ่งจะเรียกว่า สมาธินอกพระพุทธศาสนา ก็ว่าได้

ฉะนั้น สมถะหรือสมาธิที่เป็นไปในอารมณ์ของปัญญา คือนามรูป เท่านั้น จึงจะเกี่ยวข้องกับวิปัสสนา ซึ่งเรียกได้ว่า สมถะหรือสมาธิในพระพุทธศาสนา

ความแตกต่างระหว่าง สมถะ กับ วิปัสสนา


๑. โดยปรารถผล
สมถะ
เพ่ง เมื่อให้จิตสงบ ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์อันเดียว
วิปัสสนา
เพ่ง เพื่อรู้อารมณ์ตามความเป็นจริง
๒. โดยอารมณ์
สมถะ
มีนิมิตบัญญัติเป็นอารมณ์กรรมฐานเป็นส่วนมาก เพราะต้องการความมั่นคง
วิปัสสนา
ต้องมีรูปนามเป็นอารมณ์ เพราะต้องเป็นอารมณ์ที่มีการเกิด-ดับ ตรงตามธรรมชาติที่เป็นความจริง
๓. โดยสภาวธรรม
สมถะ
มีสมาธิ คือ เอกัคคตาเจตสิก ที่ให้จิตตั้งมั่นในอารมณ์
วิปัสสนา
มีปัญญารู้รูปนามว่า ไม่เที่ยง, เป็นทุกข์, เป็นอนัตตา
๔. โดยการละกิเลส
สมถะ
ละกิเลสอย่างกลาง ปริยุฏฐานกิเลส
วิปัสสนา
ละกิเลสอย่างละเอียด อนุสัยกิเลส
๕. โดยอาการที่ละกิเลส
สมถะ
ละด้วยการข่มไว้ เป็น วิกขัมภนปหาน
วิปัสสนา
ละด้วยการขัดเกลาเป็นขณะ ๆ เป็น ตทังคปหาน
๖. โดยอานิสงส์
สมถะ
ให้อยู่สุขด้วยการข่มกิเลส และให้ไปเกิดในพรหมโลก
วิปัสสนา
เพื่อละวิปลาสธรรม และเข้าถึงความพ้นทุกข์ คือพระนิพพาน และถึงความไม่เกิดเป็นที่สุด

คัดลอกจาก คู่มือการศึกษาพระพุทธศาสนาพื้นฐาน โดย นายวรรณสิทธิ ไวทยะเสวี

ธรรมรักษา ขอให้เจริญในธรรมทุกท่าน อนุโมทนาค่ะ

.....................................................
กายอ่อนน้อม ใจระลึกถึงพระคุณ
เปิดตาให้รับแสงแห่งพระธรรม เปิดหูให้ได้ยินเสียงสำเนียงธรรม เปิดปากพูดจาสนทนาธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ย. 2011, 13:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาครับ เราควรฝึกสมาธิ เพื่อความสงบลงของกิเลส
แล้วถือเอาความสงบนั้นกำหนดรู้สภาวะธรรมอันเป็นความจริง
ในปัจจุบัน เช่นหายใจเข้าก็กำหนดรู้ว่ายาว หรือ สั้น อยาบ หรือ
ละเอียด หายใจออกก็กำหนดรู้ว่ายาว หรือสั้น อยาบ หรือ
ละเอียด มีสติอยู่ที่ลมหายใจ ว่าเกิดขึ้นแล้วดับลงตอนหายใจเข้า
มีสติอยู่ที่ลมหายใจว่าเกิดขึ้นแล้วดับลงตอนหายใจออก
มีปัญญาพิจารณาว่า เราหายใจเข้าออก เพื่อสืบต่อและดำรงอยู่ของ
ชีวิต เราพึงพิจารณาว่า ลมที่เข้าออกตอนหายใจนั้นผ่าน
อวัยวะตั้งแต่จมูก ท่อหายใจ ผ่านเข้ามาที่ปอด และสิ้นสุดลง
ที่กระบังลม เราพึงพิจารณาว่า ลมออกจากท่อหายใจ ผ่านออกทาง
จมูก โดยใช้สติกำหนดรู้เท่าทัน

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ย. 2011, 17:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2011, 17:33
โพสต์: 85

โฮมเพจ: บล๊อก
แนวปฏิบัติ: กายปสาทรูป และวิสยรูป ๗ คือ สี เสียง กลิ่น รส เย็นร้อน อ่อนแข็ง ตึงไหว สังเกตุการเกิดดับที่ละขณะ
งานอดิเรก: ฟังธรรมะ อ่านหนังสือธรรมะ ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปรมัตถธรรม ๔ โดยสังเขป ของ อ.สุจินต์
อายุ: 0
ที่อยู่: ประเทศไทย

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมสวัสดีค่ะ คุณ student

พยายามเพียรทั้งปริยัติ และปฏิบัติอยู่ค่ะ จะเรียกว่ายังเป็นเด็กอนุบาลก็ว่าได้นะคะ ทราบว่าการทำปฏิบัติต้องมีสติระลึกรู้สิ่งที่เราทำอยู่ และก็ต้องมีการสังเกตด้วยว่าเป็นเช่นไร อย่างแรก ๆ กำหนดลมหายใจ ลมหายใจเข้าออกยาว หลังจากนั้นลมหายใจออกก็จะเริ่มสั้นลง และก็จะไม่มีลมหายใจเลย (ไม่ใช่ไม่มีลมหายใจเพราะเสียชีวิตนะคะ) ปฏิบัติมาตั้งแต่อายุ 14 แล้วโดยที่ไม่ทราบอะไรเกี่ยวกับพระธรรมเลยสักนิดเดียว นี่ก็ปาเข้าไปหลัก 4 แล้ว ถึงเพิ่งได้มาเริ่มศึกษาพระธรรมค่ะ มีสิ่งที่ดีเกี่ยวกับพระธรรม โปรดกรุณาชี้แนะด้วยนะคะ เพราะตอนแรกก็มีกัลยาณมิตรมาเป็นครูสอน แต่ตอนนี้ต้องศึกษาพระธรรมเอง ก็ไม่ทราบเหมือนกันนะคะว่าจะเดินถูกทางตรงตามคำสั่งสอนของพระพุทธองค์เหรอเปล่าค่ะ ขอบพระคุณสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมนะคะ (แต่เปิ้ลติดสมถะมากค่ะ ตอนนี้พยายามนำเอาวิปัสสนาเข้ามาช่วย ติดการเพ่งมาก ๆ บางครั้งก็สับสนเหมือนกันว่า อะไรคือสมถะ อะไรคือวิปัสสนากันแน่ขณะที่ปฏิบัติ แต่ทราบว่าสมถะเป็นการยึดมั่นในอารมณ์เดียว ดับกิเลสไม่ได้ เพียงแค่ข่มมันไว้เท่านั้น พอเลิกปฏิบัติกิเลสก็เกิดอีก และก็พอจะทราบว่าสมถะทำให้มีพลังที่จะต่อยอดในการปฏิบัติวิปัสสนาได้ ก็คงต้องฟังพระธรรมให้มากยิ่ง ๆ ขึ้นไป ให้เข้าใจให้มากขึ้น ถึงจะนำมาปฏิบัติได้อย่างถูกต้องตามความคิดของตัวเองนะคะ ขอบพระคุณอีกครั้งค่ะ)

ธรรมรักษา ขอให้เจริญในธรรมค่ะ อนุโมทนาค่ะ

.....................................................
กายอ่อนน้อม ใจระลึกถึงพระคุณ
เปิดตาให้รับแสงแห่งพระธรรม เปิดหูให้ได้ยินเสียงสำเนียงธรรม เปิดปากพูดจาสนทนาธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2011, 01:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ใจระลึกพระคุณ เขียน
๑. โดยปรารถผล
สมถะ เพ่ง เมื่อให้จิตสงบ ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์อันเดียว
วิปัสสนา เพ่ง เพื่อรู้อารมณ์ตามความเป็นจริง
๒. โดยอารมณ์
สมถะ มีนิมิตบัญญัติเป็นอารมณ์กรรมฐานเป็นส่วนมาก เพราะต้องการความมั่นคง
วิปัสสนา ต้องมีรูปนามเป็นอารมณ์ เพราะต้องเป็นอารมณ์ที่มีการเกิด-ดับ ตรงตามธรรมชาติที่เป็นความจริง
๓. โดยสภาวธรรม
สมถะ มีสมาธิ คือ เอกัคคตาเจตสิก ที่ให้จิตตั้งมั่นในอารมณ์
วิปัสสนา มีปัญญารู้รูปนามว่า ไม่เที่ยง, เป็นทุกข์, เป็นอนัตตา


อนุโมทนาครับ ขอยกคำกล่าวของพระพุทธเจ้าครับว่า
ผู้ใดเห็นการเกิดดับของนามรูปจากการภาวนากำหนดรู้วันเดียว ดีกว่ามีชีวิต100ปีโดยใช้ชีวิตปล่าวประโยชน์

3 ข้อแรกมีความสำคัญมากเป็นการปูพื้นของวิปัสสนาเป็นอย่างดี คือแยกรูป กับนาม ออกว่า อันไหนรูป อันไหน นาม หายใจเข้าโดยรูป (ระบบการหายใจ จมูก ท่อ ปอด ท้อง) จิตรู้เป็นนาม(สิ่งนี้สำคัญ) รูปเราก็กำหนดรู้แล้ว อยาบ ละเอียด แล้วนามละ ตั้งใจนะครับ เรามีพื้นฐานทางการกำหนดรู้ลมหายใจแล้ว หากเราเห็นจิตรู้(นาม) แม้ใช้ชีวิตตามปกติก็เห็นการเกิดดับของนามรูปครับ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2011, 02:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2011, 17:33
โพสต์: 85

โฮมเพจ: บล๊อก
แนวปฏิบัติ: กายปสาทรูป และวิสยรูป ๗ คือ สี เสียง กลิ่น รส เย็นร้อน อ่อนแข็ง ตึงไหว สังเกตุการเกิดดับที่ละขณะ
งานอดิเรก: ฟังธรรมะ อ่านหนังสือธรรมะ ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปรมัตถธรรม ๔ โดยสังเขป ของ อ.สุจินต์
อายุ: 0
ที่อยู่: ประเทศไทย

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมสวัสดีค่ะ คุณ student

ตอนนี้เปิ้ลก็ปฏิบัติให้มีสติระลึกรู้อิริยาบถอยู่ค่ะ แต่ยอมรับว่าติดสมถะการเพ่งกสิณมากค่ะ เพราะปฏิบัติโดยไม่ทราบอะไรเลยมาตั้งแต่อายุ 14 จนเข้าเลขหน้าหลัก 4 แล้วค่ะ กำลังพยายามนำวิปัสสนามาเสริมค่ะ และตอนนี้ระลึกรู้เกี่ยวกับวิสยรูป ๗ (เขียนถูกหรือเปล่าไม่ทราบนะคะ) สี เสียง กลิ่น รส สัมผัส เย็น-ร้อน อ่อน-แข็ง ตึง-ไหว สังเกตการเกิดดับตลอดเวลาค่ะ รวมทั้งระลึกรู้อิริยาบถใหญ่ นั่ง ยืน นอน เดิน และก็อิริยาบถย่อยในชีวิตประจำวันค่ะ แต่ก็คงต้องใช้เวลาอีกนานแสนนานไม่ทราบกี่ชาติถึงจะประจักษ์แจ้งได้แนะคะ แต่ก็จะไม่ลดความเพียรค่ะ ขอบพระคุณที่แนะแนวทางเพิ่มให้นะคะ เพราะเปิ้ลคิดว่ายังต้องพึ่งพากัลยาณมิตรในทางพระธรรมเพื่อศึกษาพระธรรมให้ถูกต้องตรงตามแนวทางที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนไว้ค่ะ ขอบพระคุณอีกครั้งค่ะ

ธรรมรักษา ขอให้เจริญในธรรม อนุโมทนาค่ะ

.....................................................
กายอ่อนน้อม ใจระลึกถึงพระคุณ
เปิดตาให้รับแสงแห่งพระธรรม เปิดหูให้ได้ยินเสียงสำเนียงธรรม เปิดปากพูดจาสนทนาธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ย. 2011, 04:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาครับ ปัญญาจะเป็นตัวบอกว่าเราปฎิบัติเป็นอย่างไรผ่านขั้นตอนไหน จากที่อ่านดูว่าคุณเปิ้ลได้ฝึกเรื่องอายตนะทั้ง12อยู่ควบคู่กับการเพ่งกสิณ วิปัสสนาญาณ16 หรือญาณ(ต่างกันกับญาณในสมถะ นะครับ)
ญาณในวิปัสสนา16นั้นต้องทำจิตให้ผ่านไปตามลำดับ แม้เราจะคิดเอาว่าเกิดดับเป็นอย่างไร ทุกข์เป็นอย่างไร อนิจจังเป็นอย่างไร อนัตตาเป็นอย่างไร เราไม่กำหนดรู้โดยวิปัสสนาภาวนาโดยเห็นการเกิดดับของรูป และเห็นการเกิดดับของนาม(ในขันธ์5)ก็ไม่เกิดปัญญาขึ้น
1) นามรูปปริจเฉทญาณ ญาณที่กำหนดรู้นามรูป
2) ปัจจยปริคคหญาณ ญาณที่เห็นเหตุปัจจัยของนามรูป

ใครผ่านญาณที่2ท่านกล่าวในวิสุทธิมรรคว่าเป็นจุลโสดาบัน มีทางที่จะบรรลุมรรคผล

3)สัมมสนญาณ ญาณที่เห็นพระไตรลักษณ์ ขึ้นสู่วิปัสนาญาณโดยตรง

ดังนั้นอย่างน้อย ผู้ปฏิบัติควรที่จะผ่านญาณ1 และ2 ให้ได้เพื่อเป็นตัวหนุน
4) อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ญาณที่เห็นการเกิดดับของนามรูปตามความเป็นจริง
5) ภังคานุปัสสนาญาณ ญาณที่เห็นนามรูปดับโดยส่วนเดียว
6) ภยตุปัฏฐานญาณ ญาณเห็นนามรูปเป็นภัยน่ากลัว
7) อาทีนวานุปัสสนาญาณ ญาณที่เห็นนามรูปเป็นโทษ
8) นิพพิทานุปัสสนาญาณ ญาณที่เบื่อหน่ายต่อการครองนามรูป
9) มุญจิตุกัมยตาญาณ ญาณที่อยากพ้นไปจากการครองนามรูป
10) ปฎิสังขานุปัสสนาญาณ ญาณที่ขะมักเขม้นเพื่อให้พ้นไปจากครองนามรูป
11) สังขารุเปกขาญาณ ญาณที่พิจารณานามรูปด้วยความวางเฉย
12) อนุโลมญาณ ญาณรู้นามรูปครั้งสุดท้ายก่อนบรรลุมรรคผล
ญาณ1 ถึง 12 ยังเป็นขั้นปุถุชน ถ้าเข้าอนุโลมญาณ ก็นับว่าเริ่มแทงทะลุเข้าสู่การบรรลุมรรคผล
13) โครตภูญาณ ญาณที่ตัดโครตปุถุชนให้ขาดออกเหมือนคนกำลังเดินข้ามธรณีประตู
14) มรรคญาณ ญาณที่เข้าสู่ความเป็นพระอริยะบุคคล
15) ผลญาณ ญาณรับอารมณ์พระนิพพาน
16) ปัจจเวกขณญาณ ญาณที่พิจารณามรรคผลที่ผ่านมา กิเลสที่ละแล้ว กิเลสที่ยังเหลือ และพระนิพพาน
แล้วผู้ปฏิบัติต้องเข้าใจเรื่อง วิสุทธิ7 ด้วยคือ ศีล สมาธิ ทิฏฐิ กังขาวิตรณวิสุทธิ(ข้ามพ้นความสงสัย) มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ(พบทางที่ถูก ไม่หลงในวิปัสสนูปกิเลส) ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ (รู้เห็นทางปฏิบัติ) และ ญาณทัสสนวิสุทธิ (มรรค 4 ผล 4 นั่นเอง)

หากจะปรึกษาครูบาอาจารย์ เราต้องรู้ตัวเราด้วยปัญญาว่าเราอยู่วิปัสสนาญาณขั้นไหน

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ย. 2011, 09:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2011, 17:33
โพสต์: 85

โฮมเพจ: บล๊อก
แนวปฏิบัติ: กายปสาทรูป และวิสยรูป ๗ คือ สี เสียง กลิ่น รส เย็นร้อน อ่อนแข็ง ตึงไหว สังเกตุการเกิดดับที่ละขณะ
งานอดิเรก: ฟังธรรมะ อ่านหนังสือธรรมะ ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปรมัตถธรรม ๔ โดยสังเขป ของ อ.สุจินต์
อายุ: 0
ที่อยู่: ประเทศไทย

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมสวัสดีค่ะ คุณ student

ตอนนี้เปิ้ลก็พยายามจะเพิกกสิณให้หมดไปให้ได้นะคะ แต่ขณะที่เราเจริญวิปัสสนา มันก็จะมาลงที่สมถะเหมือนเดิม ก่อนหน้าที่เปิ้ลจะมาศึกษาพระธรรมในไม่กี่เดือนนี้ ปัญหาหลักของเปิ้ลคือ เข้าสมาธิโดยที่ตัวเราเองไม่ได้ปฏิบัติ ขณะนั่งทำงาน นั่งคุยกับเพื่อน ๆ (เปิ้ลเรียกว่าหลุมหลบภัยสำหรับเปิ้ลค่ะ) เปิ้ลก็จะเข้าไปในหลุมหลบภัยประจำโดยที่เราไม่ได้ทำ แล้วเวลาเข้าไปก็จะอยู่ในได้มากจนกว่าจะมีคนมาแตะตัวถึงรู้สึกตัว กัลยาณมิตรที่สนิทและเป็นครูผู้สอนเปิ้ลแนะนำให้เปิ้ลอย่าเข้าไปแช่นาน ให้เข้า ๆ ออก ๆ ให้บ่อย ๆ และแนะนำให้หยุดการทำสมาธิ ศึกษาพระธรรมให้เข้าใจก่อน ให้ระลึกรู้อยู่ที่ตัวเอง อย่าส่งออกนอกมาก ตอนนีัก็ได้แต่ฟังธรรม อ่านหนังสือธรรมยามที่ว่างจากงาน ดีขึ้นนะคะ เมื่อก่อนแค่มองพระประธานที่หิ้งพระ เปิ้ลก็เข้าสมาธิได้เลยโดยไม่ต้องใช้เวลานาน แต่เดี๋ยวนี้ เปิ้ลเข้าใจว่าพระพุทธรูปเป็นเพียงตัวแทนของพระพุทธองค์ ให้ระลึกถึงพระคุณของท่าน ก็เลยกลายเป็นว่า เปิ้บมองพระพุทธรูปเหมือนสิ่งประดับเท่านั้น (ไม่ทราบว่าคิดผิดหรือเปล่า) ที่รู้สึกอย่างนั้นเพราะขณะปัจจุบันนี้ เปิ้ลได้น้อมนำพระพุทธองค์มาสถิตย์อยู่ที่ใจเปิ้ลตลอดเวลาไม่ว่าเปิ้ลจะอยู่แห่งหนไหน เวลาที่จะทำอะไรถ้าเป็นสิ่งที่เปิ้ล ก็จะม่คำสั่งสอนของพระพุทธองค์คอยเตือนตลอดเวลา เปิ้ลเคยถามผู้ที่สอนเปิ้ลว่าทำไมเป็นอย่างนั้น ท่านที่สอนเปิ้ลบอกว่าให้เปิ้ลศึกษาไปเรื่อย ๆ และจะทราบเองว่าสภาวะที่เกิดขึ้นคืออะไร อย่าไปสนใจค้นหาว่ามัน ตอนนี้ก็ได้แต่ฟังพระธรรม สังกตุ มีสติ กำหนดรู้ดูจิตของตัวเองค่ะ สังเกตุการเกิดดับตลอดเวลาอย่างเร็วจนเราไม่สามารถรู้ได้ถ้าเราไม่สังเกต จุดหมายปลายทางเพื่อให้บรรลุมรรคผลนิพพานไม่ใช่สำหรับเปิ้ลค่ะ คุณ student แต่จุดหมายของเปิ้ลคือศึกษาพระธรรมให้เข้าใจถึงสภาพธรรมที่แท้จริง เพื่อประจักษ์แจ้งความเป็นจริงว่ามันเป็นแค่ธาตุเท่านั้น ไม่ใช่เรา สัตว์ สิ่งของ ไม่เที่ยง บังคับบัญชาไม่ได้ แต่เปิ้ลจะไม่ศึกษาด้วยโมหะ และจะไม่ไปเจาะจงให้มันเกิด เปิ้ลต้องเรียนรู้ด้วยธรรมชาติของมันที่จะเกิดขึ้นเอง เปิ้ลขอขอบพระคุณ คุณ student ที่ชี้แนะเปิ้ลนะตะ ทุกสิ่งทุกอย่างที่ชี้แนะคือสิ่งมีค่าสำหรับเปิ้ล เพราะคุณ student และทุกท่านก็เปรียบเทียบตัวแทนของพระพุทธองค์ที่นำพระธรรมมาแลกเปลี่ยนมาบอกกล่าวให้สำหรับคนที่ศึกษาพระธรรมใหม่ ๆ อย่างเปิ้ลและอีกหลายท่าน

กุศลจิตอันดีงามของคุณ student เปิ้ลขอให้ส่งผลที่ดีกลับสู่คุณ

ธรรมรักษา ขอให้เจริญในธรรมค่ะ อนุโมทนาค่ะ

.....................................................
กายอ่อนน้อม ใจระลึกถึงพระคุณ
เปิดตาให้รับแสงแห่งพระธรรม เปิดหูให้ได้ยินเสียงสำเนียงธรรม เปิดปากพูดจาสนทนาธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ย. 2011, 10:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2011, 01:57
โพสต์: 324

แนวปฏิบัติ: อริยสัจ4
อายุ: 27
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณเปิ้ลครับ ก่อนอื่นผมขออนุโมทนากับการปฏิบัติธรรม และจุดมุ่งหมายของคุณครับ

แต่โดยความเห็นของผมแล้ว ผมคิดว่าในการปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงจุดหมายที่คุณปรารถนา สมาธิเป็นสิ่งสำคัญที่จะขาดเสียไม่ได้ทีเดียวครับ

การจะเห็นไตรลักษณ์ของกาย และเวทนาที่เป็นกลาง อาจจะสามารถทำได้โดยไม่ต้องใช้กำลังสติมากนัก แต่ว่าการจะเห็นไตรลักษณ์ของทุกขเวทนา สุขเวทนา ซึ่งมักจะมีกิเลสความอยาก ความไม่อยากเกิดร่วม ต้องใช้กำลังสติมากกว่ามาก เพราะโดยปกติ เมื่อเกิดมีอารมณ์ที่เรามีความชอบ-ไม่ชอบอยู่เดิมผ่านเข้ามา กิเลสจะถูกปรุงแต่งขึ้นมาทันที สติที่กำลังอ่อนก็จะถูกกิเลสที่มีกำลังแรงกว่าจูงเข้าหา หรือผลักออก ทำให้ไม่สามารถรู้อารมณ์เหล่านั้นอย่างเป็นกลางได้ เมื่อรู้อารมณ์เหล่านั้นอย่างเป็นกลางไม่ได้ ก็จะไม่เห็นลักษณะตามธรรมชาติของอารมณ์เหล่านั้น ปัญญาที่เราปรารถนาก็เกิดขึ้นไม่ได้

สมาธิ หากเจริญให้ถูกต้อง จะเป็นเครื่องมือเสริมกำลังให้สติอย่างดี ทำให้สติเฉียบคมขึ้น นอกจากนี้ขณะที่จิตมีสมาธิ กิเลสต่างๆที่เกิดขึ้นจะถูกลดทอนแรงลงไปตามความแข็งแรงของสมาธิที่เกิดอยู่ นั่นหมายความว่า ผลจากการที่สติมีกำลังมากขึ้นกับกิเลสที่อ่อนกำลังลงไป จะทำให้จิตใจมีโอกาสมากขึ้นที่จะต้านทานแรงดึงเข้าหา หรือผลักออกโดยอำนาจของกิเลส ก็จะนำไปสู่ความเห็นธรรมชาติของกิเลส และอารมณ์เหล่านั้นอย่างเป็นกลางในที่สุด

พระพุทธองค์ทรงสอนว่า "เมื่อจิตเป็นสมาธิ ก็ให้รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ"

สมาธิ ก็เช่นเดียวกับรูปธรรมและนามธรรมอื่นๆทั้งหลาย คือเป็นอนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ สมาธิก็เกิดขึ้นตามเหตุ ตั้งอยู่ และก็จะดับไปเช่นเดียวกับสิ่งอื่นๆทั้งหมด

ดังนั้นผมเห็นว่าเจริญไปให้มากเถอะครับ เมื่อบุคคลเห็นแล้วเข้าใจแล้วว่าสมาธิไม่ใช่จุดหมาย แต่เป็น1 ใน 8 องค์ประกอบสำคัญของการเข้าถึงจุดหมาย สมาธิก็ไม่ใช่อะไรที่น่ากลัวสำหรับบุคคลนั้นอีกแล้ว

ความเห็นส่วนตัวครับ ควรไม่ควรโปรดพิจารณา

.....................................................
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นคือความจริง การฝืนความจริงทำให้เกิดทุกข์ การเห็นและยอมตามความจริงทำให้หายทุกข์

คนที่รู้ธรรมะ มักจะชอบเอาชนะผู้อื่น แต่คนเข้าใจธรรมะ มักจะเอาชนะใจตนเอง

สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

.....ติลักขณาทิคาถา.....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ย. 2011, 10:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2011, 17:33
โพสต์: 85

โฮมเพจ: บล๊อก
แนวปฏิบัติ: กายปสาทรูป และวิสยรูป ๗ คือ สี เสียง กลิ่น รส เย็นร้อน อ่อนแข็ง ตึงไหว สังเกตุการเกิดดับที่ละขณะ
งานอดิเรก: ฟังธรรมะ อ่านหนังสือธรรมะ ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปรมัตถธรรม ๔ โดยสังเขป ของ อ.สุจินต์
อายุ: 0
ที่อยู่: ประเทศไทย

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมสวัสดีค่ะ คุณคนธรรมดาๆ

เปิ้ลขอบพระคุณคุณคนธรรมดาๆ ด้วยนะคะที่ชี้แนะ เพียงแต่สิ่งที่ผ่านมาตั้งแต่เริ่มทำสมาธิเมื่ออายุ 14 เปิ้ลไม่ทราบเกี่ยวกับพระธรรมอะไรสักอย่าง ที่ทำก็เพื่อจะกรวดน้ำแผ่เมตตาให้กับสรรพสิ่งทั้งหลายเท่านั้น ก็ไม่ทราบว่าอะไรคือ สมถะ อะไรคือวิปสสนา ก็ทำสมาธิโดยการจ้องพระประธานมาตลอด แต่ก็พยายามแก้ไขให้เป็นวิปัสสนาให้ได้ เพราะตอนนี้ทราบแล้วว่าสมถะมันแตกต่างจากวิปสสนามาก ไม่สามารถดับกิเลสได้ ไม่สามารถสร้างปัญญาได้ แล้วเปิ้ลจะไม่เห็นถึงไตรลักษณ์เลย เพราะสมถะยึดมั่นแค่อารมร์สงบอย่างเดียว เลิกทำก็มีกิเลสเหมือนเดิม ตอนนี้อยากศึกษาพระธรรมให้เข้าใจมากขึ้น จะได้ปฏิบัติได้ถูกต้องตามที่พระพุทธองค์สั่งสอนไว้ แต่ก็ไม่ทิ้งการเจริญสติในชีวิตประจำวันกับอิริยาบถของตัวเองนะคะ แต่เปิ้ลโชคดีอย่างตรงที่ว่า เริ่มตั้งแต่รู้ความ ไม่อยากได้ใครมีอะไรกับใคร คือไม่สนใจอะไรว่าได้แล้วจะนำความสุขมาให้ ก็เลยไม่มีโทสะ แม้แต่การให้อภัยกับทุก ๆ คนที่ทำไม่ดีกับเราตลอดมา ก็เลยทำให้เรียนรู้ได้เร็วขึ้นเมื่อมองย้อนอดีตแล้วมองว่า อืมนะ มันคืนสภาพธรรมจริง ๆ แต่ไม่ได้ย้อนอดีตเอามาให้เกิดทุกข์นะคะ แต่เปิ้ลไม่ทิ้งไม่เจริญสมาธิหรอกค่ะ จะทำเวลานอนทุกครั้ง และระลึกรู้สติขณะที่ทำงานในชีวิตประจำวันตลอดทั้งวันค่ะ ขอบพระคุณกัลยาณมิตรท่านนี้อีกหนึ่งท่านที่เมตตาแนะนำค่ะ เปิ้ลเพิ่งเริ่มได้ศึกษาพระธรรมเต็มที่ก็แค่ ๒ เดือนเอง แต่ฟังทุกวันจนรู้สึกว่าขาดไม่ได้แล้ว เวลาที่เรามีทุกข์ เพราะได้ฟังธรรม สนทนาธรรม ความทุกข์ ความเครียดก็หายไปทันที

ธรรมรักษา ขอให้กุศลจิตที่ดีงามส่งผลให้เจริญในธรรมสู่มรรคผลนิพพาน อนุโมทนาค่ะ

.....................................................
กายอ่อนน้อม ใจระลึกถึงพระคุณ
เปิดตาให้รับแสงแห่งพระธรรม เปิดหูให้ได้ยินเสียงสำเนียงธรรม เปิดปากพูดจาสนทนาธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ย. 2011, 12:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


จูฬเวทัลลสูตร
เรื่องสมาธิและสังขาร

วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็ธรรมอย่างไร เป็นสมาธิ ธรรมเหล่าใด เป็นนิมิตของสมาธิ
ธรรมเหล่าใด เป็นเครื่องอุดหนุนสมาธิ การทำให้สมาธิเจริญ เป็นอย่างไร?

ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ความที่จิตมีอารมณ์เป็นอย่างเดียว เป็นสมาธิ
สติปัฏฐาน ๔ เป็นนิมิตของสมาธิ
สัมมัปปธาน ๔ เป็นเครื่องอุดหนุนสมาธิ
ความเสพคุ้น ความเจริญ ความทำให้มากซึ่งธรรมเหล่านั้นแหละ เป็นการทำให้สมาธิเจริญ.


พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค โกสลสูตร
ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐาน ๔

[๖๙๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่
ณ พราหมณคามชื่อโกศล ในแคว้นโกศล
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ
แล้วได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลายที่เป็นผู้มาใหม่ บวชยังไม่นาน เพิ่งมาสู่ธรรมวินัยนี้
อันเธอทั้งหลายพึงให้สมาทาน พึงให้ตั้งอยู่
พึงให้ดำรงมั่นในการเจริญสติปัฏฐาน ๔

สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน?

[๖๙๒] มาเถิด ผู้มีอายุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
จงพิจารณาเห็นกายในกายอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีธรรมเอกผุดขึ้น
มีจิตผ่องใส มีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เดียว
เพื่อรู้กายตามความเป็นจริง

จงพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... เพื่อรู้เวทนาตามความเป็นจริง
จงพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... เพื่อรู้จิตตามความเป็นจริง
จงพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีธรรมเอกผุดขึ้น
มีจิตผ่องใส มีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เดียว
เพื่อรู้ธรรมตามความเป็นจริง.

[๖๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุทั้งหลายที่ยังเป็นเสขะ ยังไม่บรรลุอรหัต
ปรารถนาความเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม
ก็ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีธรรมเอกผุดขึ้น มีจิตผ่องใส มีจิตตั้งมั่น
มีจิตมีอารมณ์เดียว เพื่อกำหนดรู้กาย

ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... เพื่อกำหนดรู้เวทนา
ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... เพื่อกำหนดรู้จิต
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีธรรมเอกผุดขึ้น มีจิตผ่องใส มีจิตตั้งมั่น
มีจิตมีอารมณ์เดียว เพื่อกำหนดรู้ธรรม.

[๖๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุทั้งหลายที่เป็นอรหันตขีณาสพ
อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงแล้ว
มีประโยชน์ตนถึงแล้วโดยลำดับ สิ้นสังโยชน์ที่จะนำไปสู่ภพแล้ว
หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ
ก็ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีธรรมเอกผุดขึ้น มีจิตผ่องใส มีจิตตั้งมั่น
มีจิตมีอารมณ์เดียว พรากจากกายแล้ว

ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... พรากจากเวทนาแล้ว
ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... พรากจากจิตแล้ว
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีธรรมเอกผุดขึ้น มีจิตผ่องใส มีจิตตั้งมั่น
มีจิตมีอารมณ์เดียว พรากจากธรรมแล้ว.

[๖๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายที่เป็นผู้มาใหม่
บวชยังไม่นาน เพิ่งมาสู่ธรรมวินัยนี้
อันเธอทั้งหลายพึงให้สมาทาน พึงให้ตั้งอยู่
พึงให้ดำรงมั่น ในการเจริญสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ย. 2011, 13:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2011, 17:33
โพสต์: 85

โฮมเพจ: บล๊อก
แนวปฏิบัติ: กายปสาทรูป และวิสยรูป ๗ คือ สี เสียง กลิ่น รส เย็นร้อน อ่อนแข็ง ตึงไหว สังเกตุการเกิดดับที่ละขณะ
งานอดิเรก: ฟังธรรมะ อ่านหนังสือธรรมะ ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปรมัตถธรรม ๔ โดยสังเขป ของ อ.สุจินต์
อายุ: 0
ที่อยู่: ประเทศไทย

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาค่ะ คุณ FLAME :b8: :b8:

ขอบพระคุณในกุศลจิตที่มีให้ค่ะ ธรรมรักษา ขอให้เจริญในธรรมค่ะ

.....................................................
กายอ่อนน้อม ใจระลึกถึงพระคุณ
เปิดตาให้รับแสงแห่งพระธรรม เปิดหูให้ได้ยินเสียงสำเนียงธรรม เปิดปากพูดจาสนทนาธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ย. 2011, 21:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


ก็มีคนมากมายหลงไม่เข้าใจว่า ฌานมีก่อน สติปัฏฐานมีหลัง :b6:

Quote Tipitaka:
[๖๙๒] มาเถิด ผู้มีอายุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
จงพิจารณาเห็นกายในกายอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีธรรมเอกผุดขึ้น
มีจิตผ่องใส มีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เดียว
เพื่อรู้กายตามความเป็นจริง


มีธรรมเอกผุดขึ้น.....นี้มีแต่เฉพราะสภาวะของผู้ที่มีสัมมาสมาธินับจากปฐมฌานขึ้นไปเท่านั้น
และต้องทำให้จิตมีอารมณ์เดียว และจิตตั้งมั่นนั้นแหละใช้ในการวิปัสสนาเพราะวิปัสสนาใช้อารมณ์เดียว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2011, 12:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
. โดยปรารถผล
สมถะ เพ่ง เมื่อให้จิตสงบ ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์อันเดียว
วิปัสสนา เพ่ง เพื่อรู้อารมณ์ตามความเป็นจริง


สมถะ เพ่ง เมื่อให้จิตสงบ(เอกัคคตา) ใช้เครื่องมือ: อานาปานสติ เพ่งกสิณ
วิปัสสนา เพ่ง เพื่อรู้จริงในขันธ์5(ภาวนามยปัญญา) ใช้เครื่องมือ: อานาปานสติ สติปัฏฐาน4


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 38 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร