วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 12:24  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 เม.ย. 2012, 00:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 13:20
โพสต์: 821


 ข้อมูลส่วนตัว


การเจริญสติปัฏฐาน ๔

การเจริญสติปัฏฐาน ๔ ก็คือ การเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั่นเอง อารมณ์ของวิปัสสนากรรมฐาน ได้แก่ วิปัสสนาภูมิทั้ง ๖ คือ

๑. ขันธ์ ๕
๒. อายตนะ ๑๒
๓. ธาตุ ๑๘
๔. อินทรีย์ ๒๒
๕. อริยสัจจ์ ๔
๖. ปฏิจจสมุปบาท ๑๒

ย่อให้สั้น ได้แก่รูปกับนาม รูปกับนามนี้เกิดที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และกิเลสก็เกิดที่ตรงนี้ เช่น เวลาตาเห็นรูป รูปนามเกิดแล้ว สีเป็นรูป เห็นเป็นนาม ถ้าเห็นรูปดีใจชอบ เป็นโลภะ เห็นรูปไม่ดี ไม่ชอบใจ เป็นโทสะ เห็นแล้วเฉยๆ ไม่มีสติกำหนดรู้ เป็นโมหะ

ทางหูก็เหมือนกัน เช่น เสียง เป็น รูป หู (หมายเอาโสตประสาท) เป็นรูป ได้ยินเป็นนามได้ยินเสียงเพราะชอบใจเป็นโลภะ ได้ยินเสียงไม่เพราะ ไม่ชอบใจ เป็นโทสะ ได้ยินเสียงแล้วใจเฉยๆ และไม่มีสติกำหนดรู้ เป็นโมหะ

ทางจมูก ลิ้น กาย ใจ ก็เป็นรูปนาม และเป็นเหตุ ให้ โลภะ โทสะ โมหะ เกิดขึ้นในทำนองเดียวกันนี้

ตามธรรมดาของชาวโลกทั่วๆ ไป แล้ว เวลาจะดับไฟต้องเอาน้ำไปสาดหรือเทลงตรงไฟที่ไหม้นั้น จึงดับได้ เช่น ไฟกำลังไหม้บ้าน ต้องเอาน้ำไปเทรดที่บ้านนั้น ไฟจึงจะดับได้ ฉันใด ผู้ที่จะดับกิเลส ก็ฉันนั้น กิเลสเกิดทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็ให้ดับตรงที่ ตา หู เป็นต้นนั้น เช่นกัน

วิธีที่จะดับได้นั้น ต้องพร้อมด้วยองค์ ๓ คือ

๑. อาตาปี มีความเพียรเผากิเลสให้ร้อนทั่ว ได้แก่ หมั่นขยันทำกรรมฐานมิให้ขาด
๒. สติมา มีสติกำหนดรูปนามเสมอ
๓. สมฺปชาโน มีสัมปชัญญะ คือ รู้รูปนามอยู่ทุกๆ ขณะ เมื่อปฏิบัติถูกต้องตามองค์เช่นนี้ ติดต่อกันไป ภายใน ๗ วัน ๑๕ วัน ๑ เดือน หรือ ๒ เดือน เป็นต้น จึงจะสามารถละกิเลส คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ได้

ภาคปฏิบัตินั้นตามสติปัฏฐาน ๔ นั้น ทำดังนี้ คือ

๑. ให้เดินจงกรม ใช้สติจับอยู่ที่เท้า เวลายกเท้าขวาขึ้นให้ภาวนาในใจว่า “ขวาย่างหนอ” ให้สติรู้ตั้งแต่เริ่มยก กลางยก สุดยก มิให้เผลอ ประมาณสัก ๓ นาที หรือ ๑ ชั่วโมง
๒. เดินแล้วนั่งลง นั่งขัดสมาธิ ขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย ตั้งตัวให้ตรงพอสมควร หลับตามให้เอาสติจับอยู่ที่ท้องเวลาท้องพองขึ้น ให้ภาวนาตามว่า “พองหนอ” เวลาท้องยุบให้ภาวนาว่า “ยุบหนอ”

๓. ในขณะที่นั่งอยู่นั้น ถ้ามีเวทนาเกิดขึ้น เช่น เจ็บ ปวด เมื่อย คัน ก็ให้ใช้สติกำหนดอารมณ์นั้นๆ คือ ให้ทิ้งพอง ยุบ ก่อน แล้ว กำหนดอาการเจ็บว่า “เจ็บหนอๆ” จนหว่าจะหายไป ถ้าอาการปวดเกิดขึ้น ก็ให้กำหนดว่า “ปวดหนอๆ” ถ้าอาการเมื่อยเกิดขึ้น ก็ให้กำหนดว่า “เมื่อยหนอๆ” ถ้าอาการคันเกิดขึ้น ก็ให้กำหนดว่า “คันหนอๆ” จนกว่าจะหายไป เมื่อเวทนาหายไปแล้ว ให้กลับมากำหนด “พองหนอ” “ยุบหนอ” ต่อไป นั่งให้ได้ประมาณสัก ๓๐ นาที ถึง ๑ ชั่วโมง แรกทำจะนั่งเพียงวันละ ๕ นาทีก่อนแล้วค่อยเพิ่มขึ้นเป็น ๑๐–๑๕–๒๐–๓๐ นาที ก็ได้

๔. เวลาใจคิดไปถึงเรื่องต่างๆ เช่น นึกถึงบ้าน นึกถึงการงาน ลูกหลานเป็นต้น ให้ใช้สติปักลงไปที่หัวใจ พร้อมกับภาวนาว่า “คิดหนอๆ” จนกว่าจะหยุดคิด
เวลาโกรธ ก็ให้กำหนดว่า “โกรธหนอๆ” จนกว่าจะหายไป เวลาดีใจ ก็ให้กำหนดว่า “ดีใจหนอๆ” เวลาเสียใจ ก็ให้กำหนดว่า “เสียใจหนอๆ” เช่นกัน

๕. เวลานอน ให้เอาสติจับอยู่ที่ท้อง ภาวนาว่า “พองหนอ” “หยุบหนอ” จนหลับไปด้วยกัน ให้คอยสังเกตดูให้ดีว่าจะหลับไปตอนพอง หรือจะหลับไปตอนยุบ ถ้าใครจับนับว่าดีมาก

แสดงเหตุแห่งการปฏิบัติเป็นข้อๆ ดังนี้ คือ

๑. ผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ชื่อว่า ได้เจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ ตามพระบาลีในพระไตรปิฏก
๒. ผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ได้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
๓. ผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ไม่ประมาท เพราะไม่อยู่ปราศจากสติ
๔. ผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ปฏิบัติตรงและถูกต้องครบทั้ง ๓ ปิฎก ดังหลักฐานเป็นเครื่องสาธกมีอยู่ว่า

สกลํปิ หิ เตปิฏกํ พุทฺธวจนํ อาหริตฺวา
กถิยมานํ อปฺปมาทํเอว โอตรติ.

จริงอยู่ พระพุทธพจน์จบทั้งพระไตรปิฎกแม้ทั้งสิ้นที่พระนักเทศน์ พระธรรมถึก นำมาชี้แจงแสดงไขอยู่นั้นย่อมรวมลงสู่ที่แห่งเดียว คือความไม่ประมาทเท่านั้น

๕. ผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ชื่อว่า ได้บำเพ็ญอัฏฐังคิกมรรคทั้ง ๘ อันเป็น มัชฌิมาปฏิปทา หรือ ทางสายกลาง

๖. ผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ชื่อว่า ได้บำเพ็ญไตรสิกขาครบบริบูรณ์ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ขณะเดินจงกรมหรือนั่งกำหนดอยู่นั้น กายกรรม ๓ วจีกรรม ๔ มโนกรรม ๓ บริสุทธิ์ จัดเป็นศีล ใจไม่เผลอจากรูปนาม จัดเป็นสมาธิเห็นรูปนาม เห็นพระไตรลักษณ์จัดเป็นปัญญา

๗. ผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ชื่อว่า ได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยปฏิปัตติบูชา ดังที่ได้ตรัสแกพระอานนท์เถระ ในคราวจะปรินิพพาน ซึ่งปรากฏอยู่ในพระไตรปิฏก เล่มที่ ๑๐ มหาปรินิพพานสูตร ว่า

“โย โย อานนฺท ภิกฺขุ วา ภิกฺขุนี วา อุปาสโก วา อุปาสิกา วา ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺโน วิหรติ” เป็นต้น แปลเป็นใจความว่า

“ดูกรอานนท์ บุคคลใด เป็นภิกษุก็ตาม เป็นภิกษุณีก็ตาม เป็นอุบาสกก็ตามเป็นอุบาสิการก็ตาม ถ้าปฏิบัติธรรมสมควรแก่นวโลกุตรธรรมทั้ง ๙ ปฏิบัติชอบยิ่งกว่าปฏิบัติตามธรรม คือ เจริญสติปัฏฐาน ๔ ได้แก่ เจริญวิปัสสนากรรมฐาน นั่นเอง จนได้บรรลุ มรรค ผล นิพพาน บุคคลนั้นชื่อว่า ได้สักการะ ได้เคารพ ได้นับถือ และได้บูชาเรา ด้วยการบูชาอย่างสูงสุด” ดังนี้

๘. ผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ชื่อว่า ได้เป็นผู้มีความจงรักภักดีต่อพระองค์มาก ดังที่ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายในเมือง ไพสาลีว่า

ภิกฺขเว มยิ สสิเนโห ติสฺสสทิโสว เป็นต้น ใจความว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดมีความรักใคร่ในเรา ผู้นั้นจงเจริญวิปัสสนากรรมฐาน เช่นกับพระติสสะนี้เถิด ถึงแม้พุทธบริษัทจะทำการบูชาด้วยของหอม และดอกไม้ ธูปเทียน เป็นต้น ก็ยังไม่เชื่อว่า ได้บูชาเราอย่างแท้จริง เฉพาะผู้ที่เจริญวิปัสสนากรรมฐานสมควรแก่มรรค ผล นิพพานเท่านั้น จึงจะชื่อว่าได้บูชาเราอย่างแท้จริง

ที่มา http://board.palungjit.com


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 46 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร