วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 21:46  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 40 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ธ.ค. 2015, 19:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ
:b44: :b44: :b44:

:b8: ขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่านกันนะคะ

ท่านใดที่ทำอานาปานสติ แต่ทำสมาธิ(สมถะ) สลับกับวิปัสสนานั้น จะไม่ถึงอุปจารสมาธิค่ะ

คือการทำอานาปาฯนั้น เราจะกำหนดอยู่ที่จุดกระทบที่ปลายจมูก
ที่นี้ท่านใดที่มีสติกำหนดให้รู้กองลมบ้าง(สมถะ) ให้รู้ร้อนเย็นบ้าง(วิปัสสนา) กลับไปกลับมาแบบนี้
ใครที่ทำแบบนี้นั้นก็ไม่ผิด แต่ไม่ก้าวหน้า คือ สมาธิจะไม่ถึงอุปจารสมาธิ
เพราะไม่กำหนดเอากรรมฐานระหว่างสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่งให้ชัดเจนอย่างเดียว ทำให้ไม่เจริญก้าวหน้า ควรกำหนดในฝ่ายสมถะก่อน คือทำสมาธิให้ชัดเจนเพียงอย่างเดียว อย่าทำกลับไปกลับมาระหว่างสมถะและวิปัสสนา สมาธิจะโดดไปมา ทำให้การทำสมาธิไม่ก้าวหน้า จะไปถึงขั้นอุปจารสมาธิไม่ได้

ควรทำอานาปาฯในฝ่ายสมถะทำสมาธิ มีสติรู้กองลมเข้า-ออก และเมื่อจบกรรมฐานกองนี้จบแล้ว เช่น ๑ ชั่วโมง หรือแล้วแต่ท่านจะกำหนด แล้วก็ค่อยต่อด้วยการเจริญวิปัสสนา มีสติดูรูปนามต่อไป

เมื่อสมาธิก้าวหน้าจากการเจิรญอานาปาฯในฝ่ายสมถะ ที่ทำได้ดี ก็จะเป็นเหตุให้เกิดปัญญาตามมา
สมาธิดีปัญญาก็ดีตามค่ะ

อย่าทำกลับไปกลับมา เดี๋ยวรู้กองลม เดี๋ยวรู้ร้อนเย็น สมาธิจะกระโดดไปมาระหว่างสมถะกับวิปัสสนา
จะทำให้สมาธิแตกไม่ถึงขั้นอุปจารสมาธินะคะ

เมื่อสมาธิดี การทำวิปัสสนาก็จะได้ผลดีขึ้นตาม
การทำวิปัสสนานั้นก็ควรมีสติกำหนด และทำให้ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ค่ะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2015, 12:08 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 เม.ย. 2013, 11:12
โพสต์: 421

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

กำลัง ทำเช่นนี้จริงๆๆ ค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ธ.ค. 2015, 10:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


กล้วยไม้ม่วง เขียน:
:b8: :b8: :b8:

กำลัง ทำเช่นนี้จริงๆๆ ค่ะ


:b8: สาธุค่ะ

ถ้าทำในรูปแบบ คือ
ทำกิจอะไรก็ต้องทำกิจนั้นให้ดี ต้องมีสติรู้ว่าเรากำลังทำงานอะไรอยู่ ก็ทำงานนั้นให้จบค่ะ

แต่ถ้าจะเก็บแต้มระหว่างวัน ระหว่างทำงาน ซึ่งเราไม่ได้อยู่ในรูปแบบ บางทีก็ดีกว่าไม่ทำนะคะ
จะโดดไปโดดมาระหว่างสมถะกับวิปัสสนาบ้างก็ไม่มีความผิดนะคะ เพราะช่วงนั้นเราเก็บกุศลได้เราก็เก็บค่ะ การมีกุศลเกิดบ่อยๆ นั้น เราก็สะสมไป ดีกว่าปล่อยจิตไปตามยถากรรมนะคะ เพราะการเสพอารมณ์ของเรานั้น คราวใดกุศลไม่เกิดคราวนั้นอกุศลเกิดค่ะ ในระหว่างวันการเกิดกุศลบ่อยๆ ย่อมเป็นสิ่งที่ดีมากๆ ค่ะ

แต่ต้องจัดระเบียบตนเองให้ได้ยามที่กลับมาบ้าน และทำในรูปแบบ คือจะนั่งสมาธิ ก็นั่งสมาธิทำสมาธิไป

ออกมาแล้วจะมีสติดูรูปนามก็ทำต่อไป คืองานในบัลลังค์ใดก็ทำในบังลังค์นั้น อย่าไปกระโดดข้ามกันไปมาค่ะ เพราะการมีสติตามดูรูปนามนั้น เราต้องมีสติดูรูปนามสืบต่อไปเรื่อยๆเนืองๆจึงจะดีต่อการปฏิบัติวิปัสสนาค่ะ จัดระเบียบตนเองให้ได้ยามทำในรูปแบบนะคะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ธ.ค. 2015, 10:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ

ศรัทธา คือความเชื่อ ถ้าหากว่ายามใดที่เรามีศรัทธามากๆ เราจะสำรวจดูได้ว่าเรางมงายหรือไม่
การเป็นผู้ที่มีศรัทธาอันมากต่อพระพุทธศาสนานั้นจะกลายเป็นความงมงายไปหากว่าขาดปัญญา คือความเข้าใจมีน้อยในพระธรรม เป็นผู้มีสุตะน้อย ย่อมหลงงมงายไปในสถานที่ หรือตัวบุคคล ก็จะมีมาก แทนที่จะสนใจฝักใฝ่ต่อการเรียน การฟังธรรม ก็กลายเป็นติดพระรูปนั้นรูปนี้ อาจารย์นั้นอาจารย์นี้ ติดสถานที่ว่าที่นั่นดีที่นี้ดี ถึงจะติดในบุคคลและสถานที่ดีทำให้เกิดกุศลได้บ้าง แต่ก็มีความหลงงมงายเกิดขึ้น กุศลที่เกิดย่อมมีน้อยค่ะ

เพราะฉะนั้น เมื่อท่านมีศรัทธา ท่านต้องหาปัญญา ขั้นแรกคือการศึกษาอย่างถูกต้องจริงจัง
บางท่านบอกว่า ฟังเพื่อให้เข้าใจเป็นพอ ระดับนี้ยังไม่เกิดปัญญาขั้นสุตมยปัญญา ซึ่งเป็นปัญญาขั้นแรก
ของเส้นทางเพื่อการหลุดพ้นค่ะ สุตมยปัญญาไม่ได้เกิดขึ้นได้ง่ายๆ แค่นั้นค่ะ การได้มาซึ่งของยากไม่ได้เกิดจากการทำงานง่ายๆ สบายๆ การได้ของยากก็ต้องทำในสิ่งที่ยากก่อน เมื่อทำได้แล้วก็จะได้ของที่ยากมาด้วยความง่ายดาย

การบรรลุมรรค ผล นิพพานได้นั้น สุตมยปัญญาต้องบริบูรณ์ จินตมยปัญญาต้องบริบูรณ์ ก่อนค่ะ

เมื่อมีความเข้าใจที่ถูกต้องในพระธรรมมีน้อย อวิชชาก็จะมาก
อวิชชาจะปิดกั้นทั้งภายในและภายนอก
ภายในก็จะเป็นคนที่เกิดกิเลสมาก ส่วนภายนอกคือจะเปิดโอกาสให้อกุศลกรรมส่งผลเป็นอุปสรรคเยอะ

ต่อไปนี้เป็นข้อความจากปกหลังของหนังสือ คัมภีร์มหาปัฏฐาน
สำหรับชั้น มหาอาภิธรรมิกะเอก พระสุรชัย ปณฺฑิตธมฺโม เป็นผู้รวบรวม

ความเพียรเปรียบประหนึ่งศัตรูในตอนต้น
แต่เป็นญาติสนิทในบั้นปลาย
ความเกียจคร้านเปรียบประหนึ่งญาติสนิทในตอนต้น
แต่เป็นศัตรูในบั้นปลาย
ท่านทั้งหลาย จะเลือกอย่างไรก็จงเลือกเถิด

อตฺตนเมว ปฐมํ ปฏิรูป นิเวสเย.
อย่าเกี่ยงให้คนอื่นดี โดยเราไม่สนใจจัดการกับตัวเราเอง

น หิ ปริยตฺติยา อสติ ปฏิเวโธ อตฺถิ,
นาปิ ปริตฺติยา สติ ปฏิเวโธ น โหติ.
เพราะเมื่อไม่มีปริยัติ ปฏิเวธจะมีไม่ได้เลย
เพราะเมื่อมีปริยัติ ปฏิเวธมีแน่นอน

" ปริยตฺติสาสนมูลํ "
พระพุทธศาสนานี้มีปริยัติเป็นมูล การปฏิบัติธรรมก็มีปริยัติเป็นมูลเหมือนกัน
ฉะนั้น ปริยัตินี้ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อพระพุทธศาสนา
ท่านทั้งหลายจงอย่าได้ละเลยในปริยัตินี้


อรรถกถาวินัย ภิกขุณีขันธกวรรณนา
:b8: :b8: :b8:


อย่ามุ่งแต่ปฏิบัติโดยฟังแต่คำแนะนำจากอาจารย์ของตนอย่างเดียว เพราะแค่นั้นยังไม่พอค่ะ
เกิดมาชาติหนึ่ง ฟังพระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นพระศาสดาด้วยค่ะ พระพุทธองค์เป็นพระอาจารย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด
ฟังคำสอนของพระพุทธองค์ก่อน แล้วเราจะรู้ว่าเราควรฟังคำสอนของพระอาจารย์หรืออาจารย์ท่านใด
จากสำนักใด และจะรู้ด้วยว่าใครสอนผิด ซึ่งท่านก็สามารถหยิบสิ่งที่ถูกต้องที่เป็นประโยชน์แก่ท่านมา
ส่วนใดที่ิผิดท่านก็ไม่ต้องเอามา เอาเฉพาะส่วนที่ถูกต้องมาเท่านั้นพอ และเมื่อนั้นท่านจะเห็นได้ว่า ในบางสำนักที่มีชื่อเสียงมานาน อาจจะสอนผิดแบบเนียนๆ มานานแล้ว แต่ท่านยังไม่รู้เท่าทันเพราะขาดความรู้ในคำสอนที่ถูกต้อง จึงไม่สามารถรู้เท่าทันว่าที่สำนักนั้นสอนผิดๆ มานานนั้นคือคำสอนในเรื่องใด

ดังนั้น ให้พระพุทธเจ้าสอนท่านก่อน ถึงแม้จะยาก แต่เมื่อท่านได้ฟังแล้ว ท่านไม่หลงทาง
คำสอนของพระพุทธองค์นั้น ก็คือเส้นทางการปฏิบัติ เพื่อความหลุดพ้นนั่นเอง ซึ่งเป็นพระปัญญาของ
พระองค์ทั้งสิ้นที่ทรงค้นพบแล้ว ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น หลังจากที่พระองค์เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว
พระอรหันตสาวกที่ได้เคยฟังคำสอนของพระพุทธองค์ได้ทำการสังคายนาไว้ให้เราเดินตาม ต่อมาก็
มีการบันทึกไว้เป็นตำรา เราเชื่อถือได้ค่ะ ถึงจะผ่านกาลเวลามาเนิ่นนานก็ตาม

เพราะผลการปฏิบัติของท่านจะเป็นเครื่องพิสูจน์อยู่แล้วว่าจริงหรือไม่จริง

อย่าคิดว่าคนเรียนปริยัติแล้วจะเสียเวลาในการปฏิบัติค่ะ คนที่เรียนปริยัตินั้นมีการปฏิบัติอยู่ในตัวแล้วคือ
จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน และ ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ท่านลองมาท่องตำราดูนะคะ เหมือนท่านที่เคยท่องบทสวดมนต์
เมื่อท่านท่องย้ำไปย้ำมา จะเกิดความก้าวหน้าใดเกิดขึ้น การท่องปริยัติก็มีเกิดขึ้นได้ค่ะ
การท่องปริยัตินั้นจะปรากฏสภาวธรรมของปัญญาปรากฏออกมาให้ท่านได้เห็นสภาวธรรมของปัญญาเป็นอย่างไร แต่ต้องอาศัยการท่องที่จริงจัง ไม่ใช่แค่ครู่เดียว ต้องมีความขยันท่องและเข้าใจอย่างจริงจังต่อเนื่อง มีสติท่องอย่างเข้าใจและต่อเนื่อง สภาวะความใสของปัญญาจะแล่นพุ่งขึ้นมาในจิตสว่างโล่งและจะเกิดความเข้าใจยิ่งกว่าความเข้าใจเดิม

การท่องปริยัตินั้น ต่อให้ท่านท่องแบบขาดปัญญาด้วยเถอะ
ถ้าท่านท่องไปเรื่อยไม่ย่อท้อ ในที่สุดท่านจะเกิดความเข้าใจเกิดขึ้นได้เองก็มี
หรือเมื่อท่านได้ฟังพระอาจารย์หรืออาจารย์สอนท่านอีกครั้งในภายหลัง ท่านก็จะเข้าใจได้อย่างรวดเร็ว

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ธ.ค. 2015, 11:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 เม.ย. 2013, 11:12
โพสต์: 421

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ธ.ค. 2015, 09:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ

จะรู้ได้อย่างไรว่าท่านได้ญาณเบื้องสูงแล้ว เมื่อท่านปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน

มี ๘ ข้อ ให้ท่านเช็คตัวของท่านเองค่ะ

๑. ละภวทิฏฐิ คือความยินดีในชาติภพ

๒. สละความรักใคร่ในชีวิต

๓. มีความเพียรตั้งมั่นในการปฏิบัติ

๔. ถ้าเป็นพระภิกขุก็ไม่ทำผิดพระวินัย ถ้าเป็นฆราวาสก็ไม่ทำผิดศีล

๕. ละความทะเยอทะยาน

๖. ปราศจากความกลัว

๗. มีขันติโสรัจจะ

๘. อดทนต่อสิ่งที่ไม่พอใจได้


และจะรู้ได้อย่างไรว่าท่านได้สังขารุเปกขาญาณแล้ว
ยอดแห่งวิปัสสนา คือ
๑. สิกขาปัตตะ
๒. วุฏฐานคามินี


ดูที่สิกขาปัตตะก่อนค่ะ มี ๖ ข้อ คือ

๑. ไม่มีความกลัว ไม่ยินดียินร้าย

๒. ดีใจก็ไม่มี เสียใจก็ไม่มี มีแต่สติสัมปชัญญะ (ดีใจก็็ไม่ดีใจ เสียใจก็ไม่เสียใจ)

๓. ไม่ยึคว่าสังขารุเปกขาญาณเป็นของเรา

๔. วางเฉยได้เป็นเวลานาน

๕. มีใจเป็นกลางในการตรวจสอบสังขาร

๖. ไม่หวนคืน ไม่หดกลับไปในภพ๓ กำเนิด๔ คติ๕ วิญญาณฐิติ๗ สัตตวาส๙

(นำมาจากเนื้อหาที่เรียนในชั้น มัช-โท)

:b8: :b8: :b8:

เพราะสุตมยปัญญามีน้อยหรือไม่มีเลย จึงกล้าพูดว่าง่าย คิดว่าง่าย ถึงขนาดที่ว่าไม่ศึกษาก็ได้
แต่ถ้าศึกษาให้ดีแล้ว จะรู้ว่าไม่ได้ง่ายเลย

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2016, 10:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ

:b8: http://www.puthakun.org/puthakun/index. ... 2-23-56-41
หนังสือ อภิธัมมัตถสังคหะ และปรมัตถทีปนี - วัดท่ามะโอ
ในเวปชมรมพุทธคุณ หน้า ๘๖๐ , ในหนังสือหน้า ๙๒๗

คำว่า ลกฺขณตฺตยํ สมฺมสนฺตสฺส (พิจารณาไตรลักษณ์) มีความหมายว่า เมื่อบุคคลยกไตรลักษณ์ขึ้นในสังขารธรรมอันเกิดในภูมิ๓ แล้วพิจารณาธรรมเหล่านั้นอยู่เสมอ หมายความว่า ููเมื่อทำให้ธรรมดังกล่าวปรากฏชัดว่ามีสภาพไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

โดยทั่วไปการรู้เห็นลักษณะของความไม่เที่ยงเป็นประธานในญาณนี้
เมื่อบุคคลรู้เห็นความไม่เที่ยงแล้วลักษณะอื่นก็จะปรากฏตามลำดับ แต่เมื่อไม่รู้เห็นลักษณะของความไม่เที่ยงลักษณะอื่นก็ไม่ปรากฏ ดังนั้น พระอนรุทธาจารย์จึงประสงค์ความปรากฏชัดแห่งอนิจจลักษณะก่อน [ โดยกล่าวว่า เมื่อหยั่งเห็นความเกิดดับด้วยอุทยัพพยญาณ ]

[ คำธิบายข้างต้นคล้อยตามพระพุทธวจนะในอังคุตตรนิกาย สัมโพธิสูตร ว่า
อนิจฺจสญฺญิโน ภิกฺขเว อนตฺตสญฺญา สญฺฐาติ. อนตฺตสญฺญี อสฺมิมานสมุคฺฆาฏํ ปาปุณาติ ทิฉฺเฐว ธมฺเม นิพฺพานํ
" ดูกรภิกขุทั้งหลาย ความสำคัญว่า ไม่ใช่ตัวตนย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้สำคัญว่าไม่เที่ยง ผู้สำคัญว่าไม่ใช่ตัวตนย่อมถึงความเพิกถอนอัสมิมานะ และบรรลุนิพพานในปัจจุบันภพ

ในคัมภีร์อรรถกถากล่าวว่า
อนิจฺจลกฺขเณ ทิฏฺเฐ อนตฺตลกฺขณํ ทิฏฺฐเมว โหติ. เตสุ หิ ตีสุ ลกฺขเณสุ เอกสฺมึ ทิฏฺเฐ อิตรทฺวยํ ทิฏฺฐเม โหติ.
" เมื่อรู้เห็นอนิจจลักษณะก็เป็นอันรู้เห็นอนัตตลักษณะ โดยแท้จริงแล้ว เมื่อรู้เห็นลักษณะหนึ่งในลักษณะ๓ เหล่านั้นก็เป็นอันรู้เห็นลักษณะอื่นได้ "

เมื่อนักปฏิบัติรู้เห็นความไม่เที่ยงของรูปนามโดยรับรู้ว่า มีสภาพเกิดดับอย่างรวดเร็วแล้ว เวลาต่อมาก็จะรู้สึกอึดอัดใจ แต่บอกไม่ได้ว่าอึดอัดใจเกี่ยวกับเรื่องอะไร หรือรู้สึกว่าน่ากลัวมากโดยไม่รับรู้บัญญัติว่าอะไรน่ากลัว ความรู้สึกเช่นนี้ คือ ทุกขลักษณะของรูปนาม

ในบางขณะจะรู้สึกว่า สภาพธรรมที่กำหนดอยู่นั้นเหมือนกับเครื่องจักรหรืออะไรบางอย่่างที่ไม่ใช่ตัวเรา หรือว่าร่างกายบางส่วนหรือทั้งหมดหายไป ความรู้สึกเช่นนี้ คือ อนัตตลักษณะที่ปรากฏในขณะปฏิบัติธรรม ]

:b8: :b8: :b8:

เวลาที่พระพุทธองค์ตรัสสอนปุถุชน พระองค์ทรงยกความไม่เที่ยงคืออนิจจังขึ้นสอนก่อน แล้วตามด้วยทุกขัง อนัตตา แต่เมื่อเวลาพระองค์ตรัสสอนพระอริยะ จะทรงยกอนัตตาขึ้นก่อน เพราะพระอริยะมากด้วยปัญญาแล้ว เคยเห็นมรรคผลนิพพานมาแล้ว อย่างน้อยพระโสดาบันบุคคลก็เห็นมาแล้วหนึ่งรอบ จึงเป็นผู้มีปัญญามากกว่าปุถุชนคนธรรมดา ดังนั้น ถ้าเราเป็นคนธรรมดากัน ก็ยกความไม่เที่ยงขึ้นเป็นประธานก่อนจะดีกว่าค่ะ อย่ามีโลภะอยากเป็นผู้มีปัญญามาก ยกอนัตตาขึ้นเป็นประธานก่อน อย่าเพิ่งแสดงตัวตนว่าเป็นผู้มีปัญญามาก เพราะยังไม่ใช่ฐานะค่ะ

สติที่มีกำลังกำหนดรู้รูปที่มีอารมณ์แรงๆ รู้อารมณ์เดียวดับๆๆๆฯบ้าง แม้จะรู้ในอารมณ์เดียวแต่รู้แล้วดับ รู้แล้วดับ ไปเรื่อยๆ แบบนี้ก็คือรู้หลายอารมณ์ หรือจะรู้แล้วดับสลับไปมาสองอารมณ์อย่างรวดเร็วก็ตาม แต่ก็มีการรู้อารมณ์เดียวแล้วดับไปมากมายก่อนจะรู้ได้อีกหนึ่งอารมณ์เข้ามา ฝ่าเท้าที่เหยียบพื้นแล้วเย็น ความเย็นเกิดดับไปมากมายแต่เราไม่รู้ เรารับรู้ได้แต่ว่าเย็นอยู่อย่างนั้นตลอดเวลา เพราะสติที่ยังกำหนดรู้ไม่ทันว่า ความเย็นนั้นมีดับไปแล้วก็เกิดขึ้นมาใหม่อีก เกิดดับอย่างรวดเร็วตลอดเวลา แต่ถ้ามีสติกำหนดรู้ได้ เช่น ในขณะกินอาหารที่ร้อนและรสจัด เมื่ออาหารเข้าปากจะรู้ร้อนปรากฏชัด รู้ร้อนดับๆๆฯไปเรื่อยๆ พอร้อนลดลง ทำให้อารมณ์อื่นสามารถปรากฏให้รับรู้ได้ รสก็ปรากฏต่อรู้รสแล้วดับๆๆๆฯ แล้วจะสลับไปมาบ้าง เมื่อสติกำหนดรู้ตามดูไปอย่างนี้ตลอดการกินอาหารหนึ่งจาน ไตรลักษณ์อาจจะปรากฏให้เห็น ซึ่งจะปรากฏให้เห็นได้นั้น ต้องเป็นสติที่มีกำลังในการกำหนดรู้ และการรู้ในอารมณ์ที่แรงกับรู้ด้วยความรวดเร็ว รู้แล้วดับๆๆฯอย่างรวดเร็วในอารมณ์เดียว รู้แล้วดับสลับกับอารมณ์อื่น ท่านก็อาจจะเห็นไตรลักษณ์ ก่อนที่่ไตรลักษณ์จะปรากฏนั้นจะมีลักษณะความใสของปัญญาปรากฏขึ้นในจิตก่อน การนับว่าเป็นไตรลักษณ์นั้น นับที่อาการดับ แต่ไตรลักษณ์ที่ท่านจะได้เห็นนั้นจะบอกลักษณะใดลักษณะหนึ่งในลักษณะ ๓ อย่าง จิตของท่านจะรับรู้ได้ว่าเองทันทีว่าเป็นลักษณะใด เมื่อเห็นลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ก็ถือว่าได้เห็นครบทั้ง ๓ อย่าง เห็นหนึ่งแต่ได้สาม ถ้าปัญญาเห็นไตรลักษณ์ในญาณแรกของการวิปัสสนาคือ สัมมสนญาณนั้น ยังเป็นการเห็นที่ไม่เป็นปัจจุบัน คือเห็นแบบลูบไล้ แต่จะเป็นปัจจัยให้เกิดญาณในลำดับต่อไปค่ะ

บางท่านทำสมาธิ จิตจะยกขึ้นวิปัสสนาสืบต่อมาเอง จะเนื่องด้วยการสะสมมาจากอดีตชาติ ที่ค่อนข้างแรงในทางด้านวิปัสสนา เมื่อนั่งสมาธิไป จิตจะมีกำลังและยกขึ้นวิปัสสนาต่อจะเห็นว่าร่างกายหายไปหมดทั้งตัว และปรากฏชัดแค่สมองกับหัวใจเป็นสายต่อเชื่อมถึงกัน คือปรากฏแค่นั้นในความรู้สึก จะได้ยินเสียงหัวใจเต้นดังสนั่นหวั่นไหวเหมือนโรงงานกำลังเดินเครื่องจักรผลิต

และในบางคนก็ไปไกลกว่านั้นคือ เมื่อสติกำหนดตามดูรูปนามไปบ่อยๆเนืองๆก็จะเห็นตนเองกลายเป็นซากศพ เกิดความรู้สึกกลัวและพยายามหนีออกจากตนเอง (ความกลัวนี้เกิดจากปัญญาไม่ใช่โทสะกลัว)

ทั้งหมดทั้งปวงนี้ไตรลักษณ์จะปรากฏได้ จะต้องเป็นสติที่มีกำลัง และเป็นสติที่ตามดูรูปนามอย่างต่อเนื่อง บ่อยๆ เนืองๆ จะต้องมีช่วงระยะเวลาเข้ามาเกี่ยวข้องสำหรับคนที่ยังเป็นปุถุชนคนธรรมดา คือต้องปฏิบัติไปเป็นระยะเวลาอย่างต่อเนื่องกัน มีพระคุณเจ้ารูปหนึ่งท่านมีสติตามดูรูปนาม โดยเก็บตัวอยู่อย่างสันโดษและสัปปายะด้วย เมื่อ ๗ วันผ่านไป ท่านส่องกระจกเห็นตัวท่านเองกลายเป็นซากศพที่เน่าเปื่อย

ในการปฏิบัติวิปัสสนานี้มีอยู่อย่างหนึ่งที่แปลกคือ ในขณะที่กำลังปฏิบัตินั้น เมื่อปฏิบัติไปได้สักระยะ หากว่าท่านส่องกระจก ท่านอาจจะพบกับความแปลกคือ มองกระจกแล้วท่านจะไม่รู้จักตนเอง มองไปในกระจกจะเหมือนพบใครก็ไม่รู้ ภาพของตนเองในกระจกคือใครก็ไม่รู้ จะไม่รู้จักตนเองแล้วปะปนไปด้วยความวังเวง

เมื่อมีสติตามดูรูปนาม แล้วรูปนามจะบอกความเป็นไตรลักษณ์แก่ปัญญาเอง
เมื่อไตรลักษณ์ปรากฏ จะกลับไปเบื่อหน่ายในรูปนาม อยากหนี อยากพ้นไปจากรูปนาม

นามรูปปริจเฉทญาณ และปัจจยปริคหญาณ นั้นเป็นปัญญาขั้นจินตาฯ
ส่วนวิปัสสนาญาณนั้นมีปัญญาเห็นได้ ๑๐ ญาณ คือ สัมมสนญาณ ถึง อนุโลมญาณ

(ในสายยุบหนอพองหนอนั้น ดิฉันเคยแนะนำไว้ว่า เมื่อท่านเลิกปฏิบัติแล้วนั้น ให้นอนหงายลงช้าๆ
ท่านอาจจะพบว่ามีลมเป็นระลอกคลื่นในท้อง เริ่มเป็นคลื่นจากฝั่งหนึ่งเข้าหาอีกฝั่งหนึ่งแล้วดับลง แล้วก็เกิดขึ้นใหม่อีก เป็นอย่างนี้อยู่นานให้ท่านได้ดู แค่เปลี่ยนอิริยาบถก็จะหมดไปค่ะ)

และเมื่อถึงนามรูปปริจเฉทญาณ ท่านจะเห็นร่างกายของท่านเหมือนหุ่นยนต์อย่างชัดเจน จะมีความน่ากลัวเกิดขึ้นในระดับหนึ่ง ซึ่งบางท่านกว่าจะผ่านในญาณต้นนี้ต้องผจญกับภาวะในจิตใจตนเอง กว่าจะสามารถเสพคุ้นกับความกลัว ให้ผ่านความกลัวนี้ไปได้ ก็จะสลัดทิ้งการเริ่มเข้าสู่ญาณนี้ไปหลายต่อหลายครั้ง บางครั้งเป็นปีกว่าจะหลุดพ้นจากความกลัวของญาณนี้ไปได้ แล้วปฏิบัติต่อไปจนเลยญาณนี้ไปได้ การปฏิบัติวิปัสสนานั้นจะพบแต่ความน่ากลัวตลอดของเส้นทาง ไม่ใช่ว่าปัญญาเกิดแล้วต้องจิตใจแจ่มใส มีความสุข ถ้าจะได้อย่างนั้นต้องทำสมถะ จะพบแต่ความสุข แต่การปฏิบัติวิปัสสนานั้นตลอดเส้นทางการปฏิบัติจะพบแต่ความน่ากลัว เมื่อเลยไปญาณที่สูงยิ่งน่ากลัว ดังนั้นถ้าท่านไม่เคยดูแผ่นที่ ไม่เคยรู้เส้นทาง ท่านก็จะเกิดความเข้าใจอะไรผิดๆได้ค่ะ และเมื่อปฏิบัติพบเจอความทุกข์จนถึงที่สุด สามารถดับทุกข์ได้แล้วก็จะพบแต่ความสุขโดยส่วนเดียวค่ะคือพระนิพพาน ในการปฏิบัติวิปัสสนานั้นเมื่อถึงญาณๆหนึ่งจะสามารถเข้าถึงคุณของพระนิพพานได้ด้วยการที่พอจะอนุมานได้ถึงคุณของพระนิพพาน คือตั้งแต่ อาทีนวญาณเป็นต้นไป เห็นโทษของรูปนามมากขึ้นเท่าไร ก็เห็นคุณของพระนิพพานมากขึ้นเท่านั้นด้วยการอนุมาน ซึ่งสามารถไปเจริญสมถกรรมฐานคือ อุปสมานุสสติ การระลึกถึงคุณของพระนิพพานได้ดี ในการเห็นคุณของพระนิพพานแม้จะยังไม่เคยบรรลุมรรคผลนิพพานมาก่อนเลยก็ตาม แต่พอจะอนุมานได้ ทำให้การปฏิบัติสมถะกองนี้เป็นไปได้ดีขึ้น ญาณของวิปัสสนาก็สามารถเอื้อต่อการปฏิบัติสมถกรรมฐานได้ และการปฏิบัติสมถกรรมฐานก็สามารถส่งผลดีต่อการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานได้ด้วย เราอยู่ในยุคที่ไม่มีใครบอกเราได้แล้วว่าควรเดินไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งเท่านั้น มีแต่การทำเหตุไว้ให้ดีเข้าไว้ การมีชีวิตอยู่ที่เอื้ออำนวยเหตุใดให้มากให้เร่งทำเหตุนั้นด้วย เช่น การเรียนพระอภิธรรม ไม่ใช่ว่าการเกิดมาแล้วจะได้เจอในทุกครั้งที่เกิดมา ครั้งนี้เกิดมาแล้วได้เจอแล้วว่ามีอยู่ ก็อย่าให้เสียทีที่เกิดมาพบเจอ ก็ขอฝากไว้ให้พยายามเข้าไปศึกษาเล่าเรียนพระบาลี พระอภิธรรม เพราะสิ่งเหล่านี้จะช่วยขจัดวิจิกิจฉาที่เป็นนิวรณ์กลุ้มรุมทำร้ายต่อการปฏิบัติ การขจัดวิจิกิจฉาเป็นสิ่งสำคัญในการไปสู่มรรคแรกคือ โสดาปัตติมรรค เป็นมรรคแรกที่ต้องทำลายวิจิกิจฉาให้สิ้นซาก การเรียนพระอภิธรรมทำให้เกิดเหตุผล แก้วิจิกิจฉาที่เกิดในระหว่างการปฏิบัติได้

ให้เห็นทั้งปริยัติ และ ปฏิบัติ แล้วผลคือ ปฏิเวธก็จะตามมาค่ะ
บางท่านคิดว่าการมามัวนั่งเรียนให้เสียเวลา จะเกี่ยวอะไรกับการปฏิบัติกรรมฐาน
เกี่ยวค่ะ เพราะการรู้ปริยัติ รู้หลักเหตุผลเช่นนี้บ่อยๆ เน้นย้ำในขันธสันดาน การเรียนพระอภิธรรมนี้ทำให้เกิด
ทิฏฐิสามัญญตา ซึ่งเป็นการขจัดปัญหา ขจัดข้อสงสัย จึงต้องเกิดขึ้นควบคู่กันไปกับการปฏิบัติจนกว่าจะเห็นพระนิพพานครั้งแรก บรรลุมรรคแรกเป็นโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล จึงจะหมดสิ้นความสงสัย ทำลายวิจิกิจฉาให้สิ้นไป และก็ยังต้องศึกษากันอีกต่อไปเพื่อให้บรรลุโลกุตตรธรรม ๙ ให้ถึงที่สุดให้ได้ มีแต่พระอรหันต์เท่านั้นที่ชื่อว่า อเสกขบุคคล นอกนั้นยังได้ชื่อว่า เสกขบุคคล ยังเป็นผู้ที่ต้องได้รับการศึกษาต่อไปเรื่อยไป จนกว่าจะเห็นนิพพานในครั้งสุดท้าย บรรลุอรหัตตมรรค และจะเป็นอรหัตตผลบุคคล เป็นบุคคลที่จบการศึกษาโดยสมบูรณ์ ไม่ต้องศึกษาอีกต่อไปแล้ว แล้วท่านล่ะ ถามตัวของท่านดูว่าท่านควรต้องศึกษาต่อไปอีกหรือไม่ ควรทำการศึกษาควบคู่ไปกับการปฏิบัติหรือไม่ คิดตรองดูเถิด
อ่าน ทิฏฐิสามัญญตา ที่ http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=273

ผู้ที่ศึกษาปริยัติอย่างเดียวไม่ลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง ก็เสียหายไปอย่างมากมาย สอบตกกับการปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับสมณเพศก็มีมากมาย ผู้ที่จริงจังกับการปฏิบัติอย่างเดียวก็ยังวนเวียนกับการปฏิบัติอยู่อย่างเดิมๆ จนถึงเวลาสิ้นสุดลมหายใจสุดท้ายไปอย่างมากมาย ยังไม่สามาถเข้าใกล้มรรคผลนิพพานจริงๆ ก็มากมาย วนเวียนกับการติดหลุมกับดักระหว่างเส้นทางปฏิบัติวิปัสสนา บางท่านถึงกับประกาศออกมาประหนึ่งว่าได้บรรลุมรรคผลนิพพานแล้วก็มี ก็ไม่พ้นไปได้จริง ถ้าพ้นทุกข์เห็นมรรคผลนิพพานจริง จะเงียบกริบไม่ประกาศออกมาหรอกค่ะ มีแต่ผู้ที่อยู่ในระดับเดียวกันหรือสูงกว่าจะเห็นได้ว่าเกิดอะไรขึ้นจริง บรรลุมรรคผลนิพพานขั้นใดกันแล้ว ปัจจุบันก็เห็นมีแต่อรหันต์ที่ศิษย์แต่งตั้ง เพื่อหากินกับการมรณภาพของท่านอาจารย์ ของจริงนั้นคนธรรมดาอย่างเราๆก็ไม่อาจล่วงรู้ได้ แต่ของปลอมเราพอเดากันออกจริงหรือไม่

ลองตรองดูว่า ควรหรือไม่ที่ต้องศึกษา ควบคู่ไปกับการปฏิบัติ ลองเดินเส้นทางนี้ดูสักครั้งสิคะ
ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ

น หิ ปริยตฺติยา อสติ ปฏิเวโธ อตฺถิ,
นาปิ ปริตฺติยา สติ ปฏิเวโธ น โหติ.

เพราะเมื่อไม่มีปริยัติ ปฏิเวธจะมีไม่ได้เลย
เพราะเมื่อมีปริยัติ ปฏิเวธมีแน่นอน

" ปริยตฺติสาสนมูลํ "

พระพุทธศาสนานี้มีปริยัติเป็นมูล การปฏิบัติธรรมก็มีปริยัติเป็นมูลเหมือนกัน
ฉะนั้น ปริยัตินี้ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อพระพุทธศาสนา
ท่านทั้งหลายจงอย่าได้ละเลยในปริยัตินี้


อรรถกถาวินัย ภิกขุณีขันธกวรรณนา
:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มี.ค. 2016, 19:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ


วิธีฝึกฝนจิตด้วยหลักสมถกัมมัฏฐาน
:b8: http://www.mcu.ac.th/mcutrai/menu2/Arti ... cle_02.htm

๑.วิธีฝึกจิตไม่ให้ลุ่มหลง อยากได้รูป เสียง กลิ่น รส ผัสสะ ที่น่าพอใจ ผู้ปฏิบัติต้องฝึกหัดมองสิ่งที่น่าใคร่น่าพอใจเหล่านี้ว่า เป็นของไม่มีความสวยงามที่แท้จริง ไม่คงทนถาวรอย่างที่เราคิดไว้ เมื่อเราฝึกฝนความคิดมองให้เห็นความจริงเช่นนี้ จิตที่เคยยึดมั่นถือมั่นก็จะค่อย ๆ คลายจากความยึดถือน้อยลงไปบ้าง การปล่อยวางจะทำได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม เพราะการฝึกหัดมองให้เห็นความจริง จะทำให้เราได้ประสบกับความจริงด้วยตนเอง

๒.วิธีฝึกจิตไม่ให้มีความขัดเคือง ไม่มองคนอื่นในแง่ร้าย ผู้ปฏิบัติจะต้องปลูกจิตที่มีแต่เมตตา รู้จักรักผู้อื่น อีกทั้งเพ่งกสิณที่มีสีต่าง ๆ เช่น สีเขียว (นีลกสิณ) สีเหลือง (ปีตกสิณ) สีแดง (โลหิตกสิณ) สีขาว (โอทาตกสิณ) จะทำให้จิตที่ชอบขัดเคือง มีปีติ (เอิบอิ่มใจ) โสมนัส (ความยินดี) เพิ่มขึ้น ความโกรธ ความขัดเคืองที่เคยมีมาก่อนก็จะค่อย ๆ จางหายไป

๓.วิธีฝึกจิตไม่ให้ถูกถีนมิทธะอันเป็นภาวะที่จิตง่วงนอนเศร้าซึมเข้าครอบงำ ผู้ปฏิบัติต้องฝึกหัดการกำหนดลมหายใจเข้าหายใจออก (อานาปานสติ) เมื่อฝึกบ่อย ๆ จิตใจก็จะเข้มแข็ง ไม่ง่วงนอน ไม่เศร้าซึม เป็นจิตมีสมาธิเพิ่มขึ้น

๔.วิธีฝึกจิตไม่ให้ความฟุ้งซ่านรำคาญ ผู้ปฏิบัติต้องฝึกหัดกำหนดลมหายใจเข้าหายใจออก (อานาปานสติ) เช่นเดียวกับผู้ถูกถีนมิทธะเข้าครอบงำ สภาวะจิตที่มีความเข้มแข็ง ก็จะมีสมาธิมากขึ้น ความฟุ้งซ่านหายไป มีแต่สมาธิเข้ามาแทนที่

๕.วิธีฝึกจิตไม่ให้ความสงสัย (วิจิกิจฉา) เข้าครอบงำ ผู้ปฏิบัติจะต้องฝึกหัดให้เป็นคนมีเหตุผลตามหลักที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ การที่เราจะพัฒนาความสามารถทางปัญญาตามแบบอย่างของพระพุทธเจ้า ก็จะทำให้เราพบอุปสรรคน้อยลงจนหมดอุปสรรคในที่สุด

ดังนั้น ตามหลักพระพุทธศาสนา การที่จิตถูกนิวรณ์ตัวใดตัวหนึ่งในนิวรณ์ ๕ เข้าครอบงำ ถือว่าจิตถูกรบกวนไม่เป็นสมาธิแล้ว ในความรู้สึกของคนทั่วไป การฝึกสมาธิต้องให้มีสมาธิมาก ๆ (ขั้นอัปปนาสมาธิ) จึงจะถือได้ว่า ประสบความสำเร็จในการฝึกสมาธิ หากฝึกสมาธิได้เพียงชั่วขณะ (ขณิกสมาธิ) ไม่ถือว่าประสบความสำเร็จ แต่ตามหลักวิปัสสนากัมมัฏฐาน จิตที่เป็นขณิกสมาธิ ก็เป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาวิปัสสนาปัญญา อย่างไรก็ตาม การที่จะใช้หลักสมถกัมมัฏฐาน เป็นเครื่องมือฝึกจิตให้ระงับนิวรณ์ตัวใดตัวหนึ่งหมดในทันทีทันใดนั้น นับว่าเป็นสิ่งที่ทำได้ยากยิ่ง


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 เม.ย. 2016, 10:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ

จากคัมภีร์วิสุทธิมรรค ปริจเฉทที่ ๑๘ ทิฏฐิวิสุทธินิเทศ ในหน้าที่ ๙๘๘ - ๙๘๙

[๖๗๕] เพราะฉะนั้นตัวหุ่นเป็นของว่างเปล่า ไม่มีชีวิต เคลื่อนไหวไม่ได้ ก็แต่ว่าด้วยการประกอบไม้และเส้นเชือกชัก ตัวหุ่นนั้นก็เดินบ้าง ยืนบ้าง มีการเคลื่อนไหวปรากฏคล้ายกับมีชีวิตชีวาขึ้นในขณะนั้น ฉันใด ถึงแม้นามและรูปนี้ก็พึงเห็นว่าฉันนั้นเช่นกัน เป็นของว่างเปล่า ไม่มีชีวิต ไม่มีความเคลื่อนไหว ก็แต่ว่า ด้วยการประกอบร่วมกันและกัน นามและรูปนั้น ก็เดินบ้าง ยืนบ้าง มีการเคลื่อนไหว ปรากฏมีชีวิตชีวาขึ้นในขณะนั้น เพราะฉะนั้น ท่านผู้รู้แต่โบราณทั้งหลายจึงกล่าวไว้ว่า

นามมญฺจ รูปญฺจ อิธตฺถิ สจฺจโต
น เหตุถ สตฺโต มนุโช จ วิชฺชติ
สุญฺญํ ปุญฺโช ติณกฏฺฐสาทิโส.

แปลความว่า
ว่าโดยสัจจะแล้ว นามและรูป มีอยู่ในโลกนี้ แต่ทว่าสัตว์และมนุษย์หามีอยู่ในโลกนี้ไม่
นามและรูปนี้เป็นของว่างเปล่า ถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้น เหมือนตัวหุ่น เป็นกองทุกข์
เช่นเดียวกับกองหญ้าและกองไม้


อนึ่ง นามและรูปนี้ มิใช่จะพึงเปรียบเทียบให้รู้ชัดแจ้งด้วยอุปมาด้วยตัวหุ่นเท่านั้น พึงเปรียบเทียบให้รู้ชัดแจ้งด้วยการอุปมาแม้ข้ออื่นๆ เช่น ฟ่อนต้นอ้อเป็นต้นด้วย

อันที่จริง เมื่อวางฟ่อนต้นอ้อ ๒ มัดพิงกันไว้ ฟ่อนต้นอ้อมัดหนึ่งก็ค้ำฟ่อนต้นอ้ออีกมัดหนึ่งไว้ เมื่อฟ่อนต้นอ้อมัดหนึ่งล้มลง ฟ่อนต้นอ้ออีกมัดหนึ่งก็ล้มลงด้วยฉันใด นามและรูปในปัญจโวการภพ (ภพมีขันธ์ ๕) ก็ฉันนั้นเช่นกัน ต่างอาศัยกันและกันเป็นไป สิ่งหนึ่งเป็นผู้ค้ำจุนอีกสิ่งหนึ่งไว้ เมื่อสิ่งหนึ่งล้มไปด้วยการตาย อีกสิ่งหนึ่งก็ล้มลงด้วย เพราะฉะนั้น ท่านผู้รู้แต่โบราณทั้งหลายจึงกล่าวไว้ว่า:-

ยมกํ นามรูปญฺจ อุโภ อญฺโญญฺญนิสฺสิตา
เอกสฺมึ ภิชฺชมานสฺมึ อุโภ ภิชฺชนฺติ ปจฺจยา.

แปลความว่า
อันว่านามและรูปเป็นของคู่กัน ทั้งสองอย่างต่างอาศัยกันและกัน
เมื่ออย่างหนึ่งแตกทำลายไป สิ่งอาศัยกันทั้งสองอย่างก็แตกทำลายด้วย



:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ค. 2016, 11:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ


จะขอนำข้อความบางตอนจากหนังสือ ตื่นเถิด ชาวโลก!
โดยท่านเรวตภิกขุได้บรรยายไว้ มาให้อ่านกันค่ะ

คนสมัยปัจจุบันยังสั่งสมบารมีได้ไม่สูงเท่าคนระดับสมัยพุทธกาล ในสมัยนั้น มีชนเป็นอันมากได้บรรลุเป็นพระอริยบุคคล ได้แก่ พระโสดาบัน เป็นต้น หลังจากเพียงสดับคำตรัสสอนของพระศาสดา ในปัจจุบันนี้ยากที่จะพบผู้เปี่ยมบารมีเช่นนั้นจริงๆ ถ้ากล่าวในเชิงปฏิบัติแล้วหมายความว่า บรรพชิตและคฤหัสถ์ในยุคนี้ไม่อาจจะบรรลุมัคคญาณ และผลญาณโดยแค่การสดับพระธรรมเทศนา คนสมัยปัจจุบันจำเป็นต้องปฏิบัติกัมมัฏฐานไปทีละขั้นอย่างเป็นระบบ

เมื่ออาตมาไปสอนกัมมัฏฐานที่สิงคโปร์ ฆราวาสชายท่านหนึ่งถามว่า "จำเป็นต้องเจริญกัมมัฏฐานอย่างเป็นระบบ แบบนี้ด้วยหรือครับ? ในสมัยพุทธกาลชนเป็นอันมากได้บรรลุเป็นพระอริยะหลังจากสดับคำตรัสสอนสั้นๆ ท่านเหล่านั้นได้ปฏิบัติธรรมทีละขั้นอย่างเป็นระบบหรือครับ?
จำเป็นต้องปฏิบัติ ศีลสิกขา สมาธิสิกขา และปัญญาสิกขา อย่างเป็นระบบหรือครับ?

อาตมาตอบว่า "ใช่" และอธิบายว่า เราไม่เหมือนกับคนสมัยพุทธกาลเราอยู่ในยุคปัจจุบัน นี่เป็นยุคที่เราจำต้องทำให้ถูกต้อง ตามปฏิปทาอันแท้จริงของพระไตรสิกขา และปฏิบัติไปทีละขั้น อย่างเป็นระบบ
แม้แต่ที่พะอ็็อก ตอยะ ลูกศิษย์บางท่านก็ถามอาตมาว่า "จำเป็นต้องปฏิบัติรูปกัมมัฏฐานด้วยหรือครับ? ไม่เห็นมีใครสอน นอกจากที่พะอ็อก" ผู้ที่เคยตั้งคำถามนี้ ขณะนี้กำลังยิ้มและตอนนี้เขากำลังปฏิบัติรูปกัมมัฏฐาน

คำตอบก็เป็นเช่นเดิมอีกคือ "ใช่" ในยุคปัจจุบันโปรดอย่าหวังจะได้เห็นพระนิพพานโดยปราศจากการปฏิบัติตามคำสอนทีละขั้นอย่างเป็นระบบ

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 40 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 12 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร