ลานธรรมจักร
http://dhammajak.net/forums/

มีข้อสงสัยในการปฏิบัติ
http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=47939
หน้า 17 จากทั้งหมด 19

เจ้าของ:  เช่นนั้น [ 24 ก.ค. 2014, 13:04 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: มีข้อสงสัยในการปฏิบัติ

idea เขียน:
คุณเช่นนั้น
วันนี้ทำสมาธิ ศึกษา
ผัสสะ ทำให้เกิดเวทนา ก่อสัญญา แล้ววิตก มาถึงตรงนี้คือทุกข์ใช่ใหม
หากเรารู้เท่าทันผัสสะ ละได้ตั้งแต่จะมากระทบ เวทนา สัญญา วิตกก็จะไม่เกิด ใช่รึเปล่า
ขอขยายคำว่าผัสสะ ให้พอเข้าใจง่ายๆ ชัดเจน หน่อยค่ะ Kiss
:b16: :b16: :b16:

คุณ idea อยู่ในช่วงการศึกษา สิ่งที่ปรากฏ ในรูปในนาม อันปรากฏแก่ตัวคุณ idea
ด้วยการพิจารณาประจักษ์แก่ตนเองอยู่ครับ.
มีการแสดงว่า ผัสสะ มีองค์ประกอบอยู่สามส่วน คือ
อายตนะภายใน อายตนะภายนอก มาประจบกัน และวิญญาณไปรู้พร้อม ผัสสะจึงเกิดขึ้น
คำว่า พร้อม คือ สามสิ่งต้องประจวบพร้อมๆกันไม่หน้าไม่หลัง ไม่ก่อนไม่หลัง.

การศึกษาจึง สังเกตุ สภาวะนี้ให้เกิดความรู้ชัดเจน
เริ่มตั้งแต่ สังเกตุที่จุดกระทบ
ลมหายใจเข้าลมหายใจออก การรับรู้ทางกาย และการเข้าถึงความรู้ด้วยใจ
ผัสสะรู้ที่ใจ ก่อเป็นเวทนาขึ้นโดยธรรมชาติของใจ

เวทนานั้นจะเป็น ธรรมมารมณ์ ซึ่งกระทบใจอยู่ และใจก็รู้อีกชั้นหนึ่ง
ใจจะหน่วงเอาเวทนานั้นไปสัมพันธ์กับสิ่งอันเนื่องด้วยเวทนานั้นด้วยความแยกแยะด้วยความทำความมั่นหมายลงไป สัญญาจึงเกิดขึ้น

สัญญา จะเป็นธรรมารมณ์ของใจ กระทบใจอยู่ และใจก็รู้อีกชั้นหนึ่ง การหน่วงเอาสัญญาไว้เนืองเป็นรูปเรื่อง
วิตกจึงเกิดขึ้น วิตกจึงเป็นเรื่องของความคิด

ดังนั้นโดยโครงสร้างของ ผัสสะ เวทนา สัญญา วิตก ยังไม่ใช่ทุกข์
การรู้เท่าทันผัสสะ คือการละเหตุแห่งทุกข์ ไม่ใช่ละเวทนา สัญญา วิตก
การรู้เท่าทันผัสสะจะทำการศึกษา ในหมวดจิตตานุปัสสนา ธรรมานุปัสสนาครับ

ในการศึกษา เวทนานุปัสสนา ในชั้น ระงับจิตตสังขาร
เราศึกษาเพียงความสัมพันธ์ระหว่าง เวทนา สัญญาและ วิตก
และการระงับวิตก ทำได้ด้วยการควบคุมเวทนา ครับ
ประโยชน์ที่ได้ในชั้นนี้ เราจะมีอุบายระงับวิตกที่เกิดขึ้นในการดำเนินชีวิตประจำวันได้โดยพลัน ระงับความกระวนกระวาย ฟุ้งซ่าน ให้จิตสงบตั้งมั่นได้เร็วครับ แม้แต่ความกลัวที่คุณ idea ประสบอยู่นั้นก็จะได้เห็นที่มาที่ไปของความเกิดขึ้นของวิตกนั้น. อย่างน้อยความรู้ในชั้นนี้ ก็มีประโยชน์มากในการใช้ชีวิตแล้วครับ.

การศึกษาในระดับใช้ความคิดพิจารณาโดยเหตุโดยผล
จิตต้องสงบผ่องใส เมื่อใดที่พินิจพิจารณาอยู่แล้วเกิดความว้าวุ่น ก็ให้หยุดพิจารณาแล้วหลบเข้าสมาธิทุกครั้งครับ ค่อยเริ่มพิจารณาใหม่. ปัญญาจะเกื้อกูลสมาธิ สมาธิจะเกื้อกูลปัญญา ด้วยอาการอย่างนี้.

เจ้าของ:  เช่นนั้น [ 24 ก.ค. 2014, 13:11 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: มีข้อสงสัยในการปฏิบัติ

idea เขียน:
วันนี้ระหว่างนั่งสมาธิ มีความสงบดีคะ จนถึงลมหายใจละเอียดเบามากก็เป็นอย่างนั้นคงที่เรื่อย มีสติรู้ตัวเต็มที่
ด้านสภาวะ มีปิติก็ศึกษาตามที่แนะ ก็ไม่นานจะสุข สลับกัน แต่สุขนานกว่า เมื่อสุขละเอียดขึ้นเรื่อยๆ
ท้ายๆจะอยู่ในสภาวะสุขก็ไม่ใช่ ไม่สุขก็ไม่ใช่ ร่างกายจะหายก็ไม่ใช่เหมือนจะไม่มีแต่ระลึกได้อยู่
เสียงก็ยังได้ยิน แต่ไม่รำคาญ ไม่ใส่ใจค่ะ คงอยู่สภาวะนี้ได้นาน
วันนี้มีงานยุ่ง เลยตั้งใจไว้แค่30นาที ก็ตรงเวลาไม่ตกหล่นเลย
:b16: :b16: :b16:

อนุโมทนาครับ
จิตที่สงบตั้งมั่น เป็นอุเบกขา จึงอ่อนควรแก่การงาน แม้ในการใช้ชีวิต.
การปฏิบัติสำเร็จได้เพียงใด ให้ดูจากคุณภาพจิตที่สงบตั้งมั่นอ่อนควรแก่การงานนี้นี่เองครับ

เพียงแต่ว่า ปัญญาในการทำให้จิตไม่หวั่นไหวไปกับ กิเลสต่างๆ นั้นจะมีคุณภาพเพียงพอหรือไม่แก่จิตนั้น ซึ่งยังให้จิตนั้นไม่มีความกำเริบแห่งความดิ้นรนทะยานอยากครับ.

เจ้าของ:  idea [ 25 ก.ค. 2014, 06:41 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: มีข้อสงสัยในการปฏิบัติ

สวัสดีตอนเช้าค่ะ
ขอบคุณสำหรับความรู้ค่ะ คุณเช่นนั้น
:b8: :b8: :b8:

เจ้าของ:  เช่นนั้น [ 25 ก.ค. 2014, 13:58 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: มีข้อสงสัยในการปฏิบัติ

idea เขียน:
สวัสดีตอนเช้าค่ะ
ขอบคุณสำหรับความรู้ค่ะ คุณเช่นนั้น
:b8: :b8: :b8:


:b8: สวัสดีครับ คุณ idea

อานาปานสติสมาธิภาวนา 9-10
จิตตานุปัสสนา

Quote Tipitaka:
ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักทำจิตให้ร่าเริงหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักทำจิตให้ร่าเริงหายใจเข้า


สังเกตุ จิต คือสังเกตุ นามรูป ขันธ์ 5 ทั้งหมด ณ. ขณะนั้น เพราะ เมื่อวิญญาณ เป็นปัจจัยแก่นามรูป
จิต เห็นไม่ได้ แต่รู้ได้ โดยสังเกตุผ่าน ขันธ์5.

ในลำดับที่ 9 จึงกล่าวได้ว่า เป็นการกำหนดรู้ทุกข์ โดยตรงทีเดียว
จิตที่ไม่เคยอบรมให้รู้จักความสงบ อย่ากำหนดรู้จิต เพราะไม่มีกำลังเพียงพอจะถูกทุกข์กลุ้มรุมจิต ถึงแก่ความฟุ้งซ่านไปตามนามรูปได้ง่าย.

ในชั้นที่ 9 จึงเป็นเจตนาตั้งสติ เรียนรู้จิต โดยจิตเอง ตามรู้จิต ที่มันเป็น ด้วยสติ. ขณะที่การรู้ลมหายใจออกเข้าเป็นอนุสติ.

Quote Tipitaka:
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุย่อมจงใจ ย่อมดำริ และครุ่นคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นเป็นอารัมณปัจจัย
เพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่อมีอารัมณปัจจัย ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงมี
เมื่อวิญญาณนั้นตั้งมั่นแล้ว เจริญขึ้นแล้ว ความบังเกิดคือภพใหม่ต่อไปจึงมี เมื่อ
มีความบังเกิดคือภพใหม่ต่อไป ชาติ ชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัส
และอุปายาส จึงมีต่อไป ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการ
อย่างนี้


คุณ idea ถ้าสังเกตุและเข้าใจ วิตกแล้ว จึงจะศึกษาจิตของตนได้ชัดแจ้ง
ว่า
จิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่าน
จิตมีกังวล หรือจิตไม่มีกังวล
จิตมีโทสะ หรือไม่มีโทสะ
จิตมีราคะ หรือไม่มีราคะ
จิตหลงอยู่ หรือไม่หลงอยู่
จิตเป็นเอกัคคตา หรือไม่เป็นเอกัคคตา
จิตปล่อย หรือจิตไม่ปล่อย

ขณะที่ สังเกตุ จิต ย่อมรู้ รูป คืออายตนะภายใน อายตนะภายนอก ที่มากระทบกัน
ย่อมรู้เวทนา ที่มีผัสสะเป็นปัจจัย
ย่อมรู้ว่าสัญญา ที่มีผัสสะเป็นปัจจัย
ย่อมรู้ วิตก คือสังขาร ที่มีเพราะ ผัสสะเป็นปัจจัย
ย่อมรู้การเคล้าอารมณ์ การประมวลของจิตเป็นสภาพที่จิตรู้ (สังขาร)
ขันธ์ 5 ย่อมเกิดด้วยประการอย่างนี้
และให้สังเกตุ ว่า มีความคิดว่ามีตัวเรามีผู้รู้คือตัวเรา เจือลงไปด้วยเสมอหรือไม่
มีตัวเราเป็นที่ตั้งของรูปภายใน อายตนะภายใจ เช่นที่ตั้งของความรู้สึกรับรู้
มีตัวเราผู้รู้กระทบ
มีตัวเราเป็นผู้มีผัสสะ
มีความรู้สึก สุข ทุกข์ อทุกขมสุข เป็นสิ่งที่เกิดกับตัวเรา
มีความยินดีพอใจ ในสุข เพลินในสุข
มีตัวเราผู้รู้จำผู้คิดคำนึงเนืองๆ ไหม

เฝ้าดูจิตดั่งนี้ ทุกๆ ขณะ และหยุดดูระหว่างขณะ ตั้งสติพิจารณา
เมื่อ หยุด ตั้งสติพิจารณาทุกครั้ง ก็ให้รู้ว่าจิตหยุด ตั้งสติพิจารณา ไร่เรียงไป.
จิตจะไม่ถึงความฟุ้งซ่าน.

ในชั้นที่ 10.
เมื่อทำได้ถึงจุดที่รู้ว่า จิตไม่ถึงความฟุ้งซ่านด้วยการภาวนาเช่นนี้ จิตจะเกิดความปราโมทย์ คือความยินดี ความร่าเริง. ก็ให้สังเกตุรู้.

ในชั้นที่ 9-10 จะดำเนินกลับไปกลับมา เพราะอารมณ์ที่จิตวิตกถึง มีหลากหลายมาก จะเกิดขึ้นมากมาย
อารมณ์ไหนเกิดก่อน ก็ให้พิจารณาก่อน. แล้วเมื่อจิตเกิดความเหน็ดเหนื่อยก็ให้พักที่ความสงบตั้งมั่นของจิตดั่งที่เคยทำมา.

การถึงความกำหนดได้ โดยเห็นอัตตสัญญา อัตตสังขารที่เจืออยู่ในจิตเป็นความปรุงแต่งเอาขันธ์ 5 ว่ามีตัวมีตนเจืออยู่ในภายในเสมอ จึงเป็นการกำหนดทุกข์ได้.
ความกลัวความกังวล ความสุข ความทุกข์ ที่น่ารักใคร่น่ายินดี ไม่น่ารักใคร่ไม่น่ายินดี เพราะมีตัวมีตนเจืออยู่.

เจ้าของ:  idea [ 28 ก.ค. 2014, 08:47 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: มีข้อสงสัยในการปฏิบัติ

สวัสดีค่ะ
ช่วงนี้อยู่ในช่วงรักษาตัว ทุกข์ทางกายบั่นทอนสุขภาพจิตมากพอสมควร
ยาที่ได้ออกฤทธิ์ง่วงเกือบจะทั้งวันค่ะ
เห็นความฟุ้งซ่าน ทุรนทุรายของตัวเองเกี่ยวกับความเจ็บปวดยังไม่เท่าไหร่ แต่คิดมากคิดปรุงแต่งนี้ใจหดหู่สุดๆ
ก็เข้ามาอ่านซ้ำๆในกระทู้นี้ ตามบทพิจารณาที่คุณเช่นนั้นแนะนำ เพราะไม่อยากจะขาดช่วงไป
แล้วเริ่มไล่เรียงถึงความทุกข์ที่เรากำหนดไม่ได้ เช่นทุกข์มาทางกาย แต่ใจก็ทุกข์ด้วย
หรือไล่หาสาเหตุที่แท้จริง ณ ตอนนี้ เป็นแบบนี้ เหตุใดจึงทุกข์
แต่ที่แน่ๆ ตอนนี้อยู่กับปัจจุบันอารมณ์ได้มากขึ้นค่ะ ค่อยเรียนรู้ปรับตัวไป ตอนนี้ก็สบายใจ
หากทุกข์มันก่อตัวมาก็ปล่อย ไม่ปรุงแต่ง ก็เหมือนไม่เอามัน
หรือหากทางกายมาก ก็กำหนดลม หลบเข้าสมาธิ
สรุปแล้วตอนนี้ดีขึ้นค่ะ แต่บทที่กำลังศึกษา เป็นขั้นที่ยังต้องทำความเข้าใจมากขึ้นมากๆ
บวกกับชะงักไปหน่อยกับทุกขเวทนาที่เข้ามา แต่นี่คือสิ่งที่ต้องเรียนรู้ค่ะ
:b4: :b4: :b4:

เจ้าของ:  เช่นนั้น [ 28 ก.ค. 2014, 11:30 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: มีข้อสงสัยในการปฏิบัติ

idea เขียน:
แต่ที่แน่ๆ ตอนนี้อยู่กับปัจจุบันอารมณ์ได้มากขึ้นค่ะ ค่อยเรียนรู้ปรับตัวไป ตอนนี้ก็สบายใจ
หากทุกข์มันก่อตัวมาก็ปล่อย ไม่ปรุงแต่ง ก็เหมือนไม่เอามัน
หรือหากทางกายมาก ก็กำหนดลม หลบเข้าสมาธิ
:b4: :b4: :b4:


สวัสดีครับ คุณidea
ดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเร็ววันครับ หายไวๆครับ.

เมื่อแยก ทุกข์ทางกาย กับทุกข์ทางใจได้ ว่าต่างกัน การหมายรู้อย่างนี้คือการแยกรูป และนามได้.
เมื่อแยกได้ ก็จะกำหนดรู้ทุกข์ได้ง่ายขึ้นในขณะพิจารณา จิตในจิต.

จิตที่ มีสติ สงบตั้งมั่น มีปัญญาเข้าใจสภาพตามเป็นจริง เป็นจิตที่มีคุณภาพดี.

การปฏิบัติก็เพื่อสิ่งๆ นี้ ให้ยิ่งๆ ขึ้นไป. :b8:

เจ้าของ:  idea [ 28 ก.ค. 2014, 19:21 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: มีข้อสงสัยในการปฏิบัติ

ขอบคุณค่ะคุณเช่นนั้น
:b8:
วันนี้เริ่มกลับมานั่งสมาธิ กำหนดลม ตั้งมั่นได้ดีมากค่ะ แต่เอาความสงบ รู้อยู่ที่ลม
กำหนดดูสภาวะต่างๆไปเรื่อยๆ รู้สึกสบาย วันนี้มีความรู้สึกไม่อยากออกจากสมาธิเลย
ตอนนี้เริ่มเข้ามานั่งทำสมาธิในห้องพระแล้วค่ะ เริ่มหลับตาอยู่ในห้องกว้างได้แล้ว :b1:
คิดว่าสักพักคงกล้านั่งตอนค่ำด้วย ถ้าเป็นงั้นเวลาปฏิบัติจะมีเยอะขึ้น
เรื่องบทศึกษา คงต้องตั้งหลักสักหน่อยค่ะ :b12:

มีเรื่องอยากถามค่ะ
ช่วงไม่สบาย เวลานั่งรถ กำหนดลม แล้วนึกถึงสุข สภาวะนั้นก็เกิดจริงๆค่ะ เป็นไปได้ใหม
ทำไมมันง่ายขึ้นเยอะเลย
tongue

เจ้าของ:  เช่นนั้น [ 28 ก.ค. 2014, 19:57 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: มีข้อสงสัยในการปฏิบัติ

idea เขียน:
มีเรื่องอยากถามค่ะ
ช่วงไม่สบาย เวลานั่งรถ กำหนดลม แล้วนึกถึงสุข สภาวะนั้นก็เกิดจริงๆค่ะ เป็นไปได้ใหม
ทำไมมันง่ายขึ้นเยอะเลย
tongue

เป็นไปได้ครับ คุณ idea

Quote Tipitaka:
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้สมาธิในอานาปานสตินี้แล
อันภิกษุอบรมทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นคุณสงบ ประณีต เยือกเย็น อยู่เป็นสุข และยังบาป
อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วๆ ให้อันตรธานสงบไปโดยฉับพลัน ดุจละอองและฝุ่นที่ฟุ้ง ขึ้นใน
เดือนท้ายฤดูร้อน ฝนใหญ่ที่ตกในสมัยมิใช่ฤดูกาล ย่อมยังละอองและฝุ่นนั้นๆ ให้อันตรธาน
สงบไปได้ โดยฉับพลัน ฉะนั้น


ที่ง่ายขึ้น เพราะ จิตได้รับการอบรมด้วยดีครับ
จิตจึงมี กำลังด้วย สติพละ และ สมาธิพละ
แต่อย่าประมาทครับ เพราะขณะนี้การสงบกิเลสต่างๆ นั้นอาศัยกำลังของสมถะอยู่ครับ.
ต่อเมื่อทำความศึกษา ด้วยกำลังปัญญาอีกชั้นหนึ่ง
จิตจึงจะตั้งมั่น คงที่ ไม่หวั่นไหวครับ.

อนุโมทนาครับ กับความเพียรที่ทำให้มีผลสำเร็จได้ครับ :b8:

เจ้าของ:  เช่นนั้น [ 29 ก.ค. 2014, 05:08 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: มีข้อสงสัยในการปฏิบัติ

อานาปานสติสมาธิภาวนา ชั้นที่ 11

Quote Tipitaka:
ย่อมสำเหนียกว่า จักดำรงจิตมั่นหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักดำรงจิตมั่นหายใจเข้า.


ย่อมทำความสำเหนียก สังเกตุสภาวะแห่งตัวสมาธิ คือความดำรงจิตมั่นนั่นเอง
ความดำรงจิตมั่น เกิดขึ้นด้วยสามอาการ เป็นอานันตริกสมาธิญาณ
กล่าวคือ
เอกัคคตาจิตอันไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถ แห่งความกำหนดธรรม
เอกัคคตาจิตด้วย ฌานจิตต่างๆ
เอกัคคตาจิต ด้วยวิปัสสนาพิจารณาสภาวะธรรมตามเป็นจริง

Quote Tipitaka:
เอกัคคตาจิตอันไม่ฟุ้งซ่านด้วยสามารถแห่งการหายใจออกยาว
ด้วยสามารถแห่งการหายใจเข้ายาว
ด้วยสามารถแห่งการหายใจออกสั้น ด้วยสามารถแห่งการหายใจเข้าสั้น
ด้วยสามารถแห่งความเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจออก
ด้วยสามารถแห่งความเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจเข้า
ด้วยสามารถแห่งความระงับกายสังขารหายใจออก
ด้วยสามารถแห่งความระงับกายสังขารหายใจเข้า
ด้วยสามารถแห่งความรู้แจ้งปีติหายใจออก
ด้วยสามารถแห่งความรู้แจ้งปีติหายใจเข้า
ด้วยสามารถแห่งความรู้แจ้งสุขหายใจออก
ด้วยสามารถแห่งความรู้แจ้งสุขหายใจเข้า
ด้วยสามารถแห่งความรู้แจ้งจิตตสังขารหายใจออก
ด้วยสามารถแห่งความรู้แจ้งจิตตสังขารหายใจเข้า
ด้วยสามารถแห่งความระงับจิตตสังขารหายใจออก
ด้วยสามารถแห่งความระงับจิตตสังขารหายใจเข้า
ด้วยสามารถแห่งความรู้แจ้งจิตหายใจออก
ด้วยสามารถแห่งความรู้แจ้งจิตหายใจเข้า
ด้วยสามารถแห่งความทำจิตให้บันเทิงหายใจออก
ด้วยสามารถแห่งความทำจิตให้บันเทิงหายใจเข้า
ด้วยสามารถแห่งความตั้งจิตไว้หายใจออก
ด้วยสามารถแห่งความตั้งจิตไว้หายใจเข้า
ด้วยสามารถแห่งความเปลื้องจิตหายใจออก
ด้วยสามารถแห่งความเปลื้องจิตหายใจเข้า
ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงหายใจออก
ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงหายใจเข้า
ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาเห็นความคลายกำหนัดหายใจออก
ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาเห็นความคลายกำหนัดหายใจเข้า
ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาเห็นความดับหายใจออก
ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาเห็นความดับหายใจเข้า
ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออก
ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้า

เป็นสมาธิแต่ละอย่างๆ ญาณย่อมเกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งสมาธินั้น
อาสวะทั้งหลายย่อมสิ้นไปด้วยญาณนั้น
สมถะมีก่อน ญาณมีภายหลัง ด้วยประการดังนี้

ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายย่อมมีได้ด้วยญาณนั้น
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
ปัญญาในการตัดอาสวะขาดเพราะความบริสุทธิ์แห่งสมาธิอันเป็นเหตุไม่ฟุ้งซ่าน
เป็นอานันตริกสมาธิญาณ ฯ


ซึ่งหมายความว่า ทำความสังเกตุที่มีจิตตั้งมั่น ตั้งแต่การกำหนดสติรู้ลมหายใจ ตั้งต้นไป
ลักษณะสภาวะของจิตที่ตั้งมั่น การเปลี่ยนแปลงไป ความแตกต่างไปของสภาวะที่จิตตั้งมั่น.

เจ้าของ:  เช่นนั้น [ 29 ก.ค. 2014, 05:51 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: มีข้อสงสัยในการปฏิบัติ

อานาปานสติสมาธิภาวนา ชั้นที่ 12

Quote Tipitaka:
ย่อมสำเหนียกว่า จักเปลื้องจิตหายใจออก ย่อม
สำเหนียกว่า จักเปลื้องจิตหายใจเข้า.


ในการทำความศึกษา การเปลื้องจิต คือกำหนดความเปลื้องจิต ปล่อยจิต
สังเกตุการเปลื้องจิตจาก ราคะ จากโทสะ จากโมหะ จากนิวรณ์ต่างๆ ที่พิจารณาในชั้นที่ 10 นั้นๆ ด้วยอาการอย่างไร. อารมณ์ไหนที่เข้ามาก่อน ก็พิจารณาอารมณ์นั้นๆ ก่อน. การเปลื้องจิตจึงเป็นการกำหนดปล่อยจิตจากความยึดถือ.

จะทำความสังเกตุตั้งแต่แรกเริ่มที่ สติมีบ้างไม่มีบ้างเพราะหลงไปกับอารมณ์ต่างๆ แล้วแล้วกลับมาตั้งมั่นได้อย่างไร การกลับมาตั้งมั่นนั้นเพราะได้เปลื้องจิตออกจากนิวรณ์นั้นๆ และให้กำหนดเพิ่มเติมว่า นิวรณ์นั้นๆ ที่เปลื้องได้เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ถ้าเป็นสิ่งที่เที่ยงก็คงเปลื้องออกไม่ได้ เพราะนิวรณ์นั้นเกิดเพราะจิตโน้มเข้ามา ดับเพราะจิตเปลื้องออกไม่พัวพัน นิวรณ์จึงมีความเปลี่ยนแปลงในตัวตั้งอยู่ไม่ได้ เป็นอนัตตาต้องเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุตามปัจจัย ถ้าจิตตั้งอยู่ด้วยสติด้วยสมาธิ นิวรณ์ก็ดับไป.

การกำหนด โดยอนิจจสัญญา ทุกขสัญญา อนัตตสัญญา ต่อรูป ต่อเวทนา สัญญา วิตก และฌานจิตต่างๆ
ย่อมช่วยให้จิตเปลื้องออกจากความยึดมั่นถือมั่น ด้วยตัณหาอันก่ออัตตาถือมั่นตั้งอยู่นั้นได้.
กล่าวได้ว่า เป็นวิมุติจิตด้วยกำลังสมถะ.

แม้การเจริญอัปปมัญญาภาวนา เพื่อเปลื้องจิตออกจากโทสะ ,ความเบียดเบียน,ความไม่พลอยยินดี, ความกังวล โดยมีลมหายใจเข้าลมหายใจออก เป็นอนุสติ ก็สามารถทำได้ในตอนนี้ และสังเกตุ การเปลื้องจิตปล่อยจิตออกจากโทสะ นั้นด้วยเป็นต้น.

การทำความศึกษาการเปลื้องจิต ปล่อยจิต กล่าวได้ว่าเป็นเจโตวิมุติ ด้วยการเข้าไปเผชิญกับกิเลสโดยตรง จึงเป็นความหลุดพ้นด้วยกำลังสมถะมาก่อนญาณมาภายหลัง เพราะกำหนดสัญญาอันเป็นคู่ปรับของ กิเลสต่างๆ และกำหนดตามด้วย อนิจจสัญญา ทุกขสัญญา อนัตตสัญญา.

ซึ่งการเปลื้องจิตในที่สุดจิตจะตั้งมั่นเป็นอุเบกขา ไม่หวั่นไหว อ่อนควรแก่งาน ซึ่งอาศัยกำลังของ สติ สมาธิ.

เจ้าของ:  idea [ 29 ก.ค. 2014, 09:25 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: มีข้อสงสัยในการปฏิบัติ

สวัสดีค่ะ
เพิ่งออกจากสมาธิ
วันนี้มีแต่สภาวะสว่างโล่งเบาสบาย ปลอดโปล่งในจิตเป็นที่สุด
เฝ้ามองจิตมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง หลายอารมณ์
มากเหลือเกิน หากเป็นสิ่งของคงเหมือนวิ่งไล่จับกันไม่ทันได้เลยจริงๆ
ผ่านไปสักพักจึงเริ่มชะลอตัว ช้าลง และปล่อยวาง
คงจะเพราะเห็นว่ามีความเกิดขึ้นเปลี่ยนไป ไม่แน่นอน จิตมีการเกิดดับตลอดเวลา
รู้สึกถึงรูปร่างกาย สิ่งใดเป็นรูปล้วนเป็นสิ่งที่หาความแน่นอนไม่ได้
ในระหว่างนี้ มีบ้างที่เหมือนสมาธิอ่อนกำลังลง โดยรู้สึกถึงลมที่เริ่มหยาบขึ้น
แต่ก็ประคองไว้ได้
การได้พิจารณาแบบนี้ เรียกว่าการฝึกปัญญา หรือคะ

เจ้าของ:  เช่นนั้น [ 29 ก.ค. 2014, 12:34 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: มีข้อสงสัยในการปฏิบัติ

idea เขียน:
สวัสดีค่ะ
เพิ่งออกจากสมาธิ
วันนี้มีแต่สภาวะสว่างโล่งเบาสบาย ปลอดโปล่งในจิตเป็นที่สุด
เฝ้ามองจิตมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง หลายอารมณ์
มากเหลือเกิน หากเป็นสิ่งของคงเหมือนวิ่งไล่จับกันไม่ทันได้เลยจริงๆ
ผ่านไปสักพักจึงเริ่มชะลอตัว ช้าลง และปล่อยวาง
คงจะเพราะเห็นว่ามีความเกิดขึ้นเปลี่ยนไป ไม่แน่นอน จิตมีการเกิดดับตลอดเวลา
รู้สึกถึงรูปร่างกาย สิ่งใดเป็นรูปล้วนเป็นสิ่งที่หาความแน่นอนไม่ได้
ในระหว่างนี้ มีบ้างที่เหมือนสมาธิอ่อนกำลังลง โดยรู้สึกถึงลมที่เริ่มหยาบขึ้น
แต่ก็ประคองไว้ได้
การได้พิจารณาแบบนี้ เรียกว่าการฝึกปัญญา หรือคะ

สวัสดีครับ คุณ idea
การเริ่มที่ดีครับ ให้จิตผ่องใสก่อนพิจารณา

จิตไวมากครับ การพิจารณา จึงต้องมีสติ มีสมาธิที่แข็งแรงเพียงพอ เพื่อไม่ให้จิตฟุ้งไป
พอสติ หรือสมาธิอ่อนกำลังลง จึงต้องหยุดพิจารณาแล้ว มาพักที่สมาธิครับ
ฝึกสติ สมาธิ ปัญญาในชั้นที่ 10-11-12
เป็นการฝึกการพิจารณา และเพิ่มพูนวิริยะ สติ และสมาธิ.

ส่วนการฝึกสังเกตุ กายทั้งปวง ให้ตั้งการศึกษาลงไปว่าจะพิจารณาเห็นโดยความเป็นธาตุที่มาประชุมกันครับ
ไม่อย่างนั้นแล้ว จะพิจารณาเรื่อยๆ ไป แล้วจะเริ่มเลื่อนลอยนะครับ เมื่อพิจารณาโดยความเป็นธาตุที่มาประชุมกัน จึงพิจารณาเห็นความเกิดความดับของกาย ด้วยการรับรู้ว่า กายเกิดได้ได้โดยความประกอบกันของธาตุ และดับไปด้วยการไม่ประกอบกันของธาตุ โดยใช้ลมหายใจเข้าลมหายใจออกเป็นตัวพิจารณา เมื่อพิจารณาจนคล่องแล้วจะขยายไปกายอื่นก็จะสะดวกเร็วขึ้นครับ

ปัญญาเกิดเพราะการพิจารณา :b8:

การพิจารณา เพื่อเกื้อหนุนการปล่อย การวาง ให้จิตสงบตั้งมั่นเป็นอุเบกขา ไม่กระวนกระวายเพราะทิฏฐิตัณหา. :b8:

เจ้าของ:  กล้วยไม้ม่วง [ 29 ก.ค. 2014, 17:06 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: มีข้อสงสัยในการปฏิบัติ

cool

มาร่วมศึกษาด้วยค่ะ.......
...ของตนเองอยู่ในขั้นต้นมากเลยค่ะ....
ไม่แน่ใจเหมือนกันว่า ฝึกสมาธิ สติอยู่ ยังไม่ได้วิปัสนา.....
เวลานั่งก็มี วิตก วิจารณ์บ้าง...มีขนลุกขนพอง เกิดปิติ วูบ ฯลฯ
..แล้วก็ดึงกลับมาที่ลมหายใจ กำหนด พุทโธ....ค่ะ....
ยังสับสนค่ะ..... :b10: :b10:

เจ้าของ:  เช่นนั้น [ 29 ก.ค. 2014, 17:49 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: มีข้อสงสัยในการปฏิบัติ

กล้วยไม้ม่วง เขียน:
cool

มาร่วมศึกษาด้วยค่ะ.......
...ของตนเองอยู่ในขั้นต้นมากเลยค่ะ....
ไม่แน่ใจเหมือนกันว่า ฝึกสมาธิ สติอยู่ ยังไม่ได้วิปัสนา.....
เวลานั่งก็มี วิตก วิจารณ์บ้าง...มีขนลุกขนพอง เกิดปิติ วูบ ฯลฯ
..แล้วก็ดึงกลับมาที่ลมหายใจ กำหนด พุทโธ....ค่ะ....
ยังสับสนค่ะ..... :b10: :b10:

สวัสดีครับ คุณกล้วยไม้ม่วง
ขออธิบาย ตรงที่ไม่แน่ใจครับ
องค์ธรรม 3 ประการ ประกอบกัน เป็น สมาธิขันธ์ ที่มี สัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ เป็นปัญญาขันธ์ และความสำรวมระวัง ทางกาย วาจา และการประพฤติปฏิบัติด้วยอาการสงบ เป็นศีลขันธ์

องค์ธรรม 3 ประการ คือ
ความเพียร
สติ
และ ความตั้งมั่นแห่งใจ

ผู้ปฏิบัติ ต้องรู้จักกำหนดจิตด้วยสติ เพื่อให้จิตตั้งมั่นในภายในไม่ไหลเลื่อนไปกับกิเลส

ในการปฏิบัติแรกเริ่ม ถ้ามุ่งหวังเพียงความสุขอันเกิดแต่วิเวก
ให้มีสติกำหนด "พุทโธ"
เพื่อให้จิตสงบตั้งมั่นอยู่กับ พุทโธ หรือ อยู่กับลมหายใจเข้าลมหายใจออก อันเป็นที่พักใจ.

บางท่าน ฝึกสมาธิแต่ไม่ได้เข้าใจสติ
บังคับเอาข่มจิตเอา ให้ตั้งมั่นเป็นสำคัญ โดยลืมเลือนตัวสติไป เพราะนึกว่า เป็นองค์ธรรมเดียวกันกับสมาธิก็มี เมื่อฝึกเอาสมาธิเป็นใหญ่โดดเด่น ก็มักจะมีอาการแปลกๆ อันเป็นนิวรณ์ เป็นอุปกิเลส เกิดขึ้นทำให้มีอาการฟุ้งซ่าน ฟั่นเฟือน หลงไปกับการเห็นอะไรแปลกๆ รู้สึกอะไรแปลกๆ เป็นต้น อาการต่างๆ เหล่านั้นเพราะสติถอยกำลังหรือ เป็นผู้ไม่มีสติ.

ถ้าจิตอยู่กับ พุทโธ อย่างน้อย ก็ต้องศึกษาพุทธคุณต่างๆ อันมีองค์ 9 ของพระพุทธองค์เสียก่อน
เพื่อให้เกิดความต้องการมีพระพุทธองค์เป็นต้นแบบการดำเนินชีวิต. ยกตัวอย่างเช่น คนปัจจุบันมีนักแสดงในดวงใจ มีนักกีฬาในดวงใจ ก็พยายามเลียนแบบนักแสดงผู้นั้น นักกีฬาผู้นั้น เวลาทำอะไรแต่งตัว ใช้ชีวิตอย่างไร ก็มีชื่อนักแสดงผู้นั้น นักกีฬา คนนั้นเป็นวิตก เป็นวิจาร. ดังนั้น พุทโธ จะสำเร็จประโยชน์ก็ด้วยอาการเช่นเดียวกันดังนี้. เมื่อบริกรรมพุทโธ ก็จะทำให้จิตมีสติ มีกำลังตั้งมั่นในจิตในใจได้.
ปิติสุขอันเกิดจากพุทโธ ก็จะตามมาเองก็ให้กำหนดรู้บังคับด้วยพุทโธ ทิ้งปิติด้วยพุทโธ เพื่อเสวยสุขทางใจอันเป็นที่พักใจ เมื่อพุทโธหายไปไม่ต้องตกใจ เพราะจิตเข้าสู่สภาพรู้อยู่อย่างนั้น. แต่จะไปต่อก็ต้องทำวิปัสสนาต่อไป.

เจ้าของ:  idea [ 29 ก.ค. 2014, 19:34 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: มีข้อสงสัยในการปฏิบัติ

cool
สวัสดีค่ะคุณกล้วยไม้ม่วง
เจริญในธรรมนะคะ :b19:

หน้า 17 จากทั้งหมด 19 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/