วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 12:01  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2018, 08:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
วัดหินหมากเป้ง
อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย


:b44: ประวัติและคำสอน “หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=43000


อารมณ์ของกรรมฐาน ท่านเรียกอารมณ์ เดี๋ยวจะไม่เข้าใจถึงเรื่องอารมณ์ อารมณ์นั้นมีทั้งดีมีทั้งชั่วที่เรียกว่า กรรมฐาน ๔๐ นั่นท่านเรียก “อารมณ์ของกรรมฐาน” ทีนี้อารมณ์ที่ทั่วๆ ไป เช่น ความคิดความนึก ความปรุงความแต่ง ในที่สุดแต่ความโทมนัสน้อยใจเสียอกเสียใจหรือดีอกดีใจ ซึ่งมันติดอยู่กับจิต มันห้อยแขวนอยู่กับจิตนั้น สละไม่ได้ ละไม่วาง อันนั้นก็เรียกว่า อารมณ์เหมือนกัน อารมณ์ในทางที่ชั่วที่ไม่ดี

อารมณ์นี้ล่ะเป็นอุปสรรคของการภาวนาทำสมาธิ เป็นตัวภัยร้ายกาจ ห้ามมรรคห้ามผลห้ามพระนิพพาน เหตุนั้นในการทำความเพียรภาวนาจะต้องต่อสู้อารมณ์ทั้งหลายเหล่านี้ เรียกว่า ต่อสู้ข้าศึก เป็นข้าศึกเป็นภัยร้ายกาจ การสู้ต่อสู้อารมณ์ก็จะต้องเอาอารมณ์นั้นแหละมาต่อสู้กัน อารมณ์ทางชั่วเป็นภัยอันตรายแก่ความสงบ คือ สมาธิภาวนา อารมณ์ของความชั่วเป็นภัยอันตรายของมรรคผลนิพพาน เรียกว่า สัคคาวรณ์ (ห้าม-ปิดกั้นสวรรค์) มัคคาวรณ์ (ห้าม-ปิดกั้นมรรค) สัคคาวรณ์ มันเข้าทำนองที่ว่า หนามปักเอาหนามบ่ง ครานี้เมื่ออารมณ์อันชั่วเข้ามาพัวพันอยู่กับจิตกับใจ ทำจิตใจให้สงบได้แล้วก็จำเป็นจะต้องแซะอารมณ์ทางดีต่อสู้ ให้เข้าทางตำรับที่ว่า ชนะความชั่วด้วยความดีของเรา

อารมณ์ในทางที่ดี พระพุทธเจ้าตรัสเทศน์ไว้หลายอย่างนัย ที่เราพากันอบรมมาทั้งปวงหมดเรียกว่า อารมณ์ในทางดี เอาพระพุทธคุณมาเป็นอารมณ์ จะนึกถึงพระพุทธเจ้า พุทโธๆ ธัมโม สังโฆ อะไรทั้งหมดทั้งหลายนั้นแหละเรียกว่า “อนุสสติ ๑๐” กายานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ สีลา-จาคานุสสติ มรณานุสสติ อนุสสติทั้งหมดเป็นอารมณ์ทางดีสำหรับแก้-ต่อสู้เอาชนะอารมณ์อันชั่ว นอกจากนั้นอีกท่านอธิบายกว้างขวางเรียกว่า กรรมฐาน ๔๐ มีมากมาย

ที่อธิบายวันนี้ต้องการให้เข้าใจถึงเรื่องอารมณ์ พูดโดยเฉพาะถึงเรื่องอารมณ์ รู้จักอารมณ์และรู้จักโทษของอารมณ์ คนเราถ้าหากไม่เบื่อ ไม่เห็นโทษของอารมณ์ก็สดับได้แสนยาก โดยมากเข้าใจว่าอารมณ์เป็นความสุข ติดเหลือเกิน สนุกไปตามเรื่องตามราว ชอบอันใดก็เพลินไปกับอันนั้น ชอบเรื่องขับเรื่องเพลงก็เพลินไปตามขับตามเพลง ได้ยินแล้วก็เพลินส่งไป นั่นเรียกว่า ส่งไปตามอารมณ์ได้ยิน เห็นรูปก็ส่งไปตามรูป ปรุงแต่งไปตามเรื่อง รูปดีรูปไม่ดี รูปชั่วรูปเลว รูปสวยรูปงาม รูปกิเลสปรุงแต่งไปตามอารมณ์

คำว่า “ปรุงแต่ง” คำว่า “ส่งไป” นั้นคือมันออกจากหลักเดิมจึงไม่เป็นสมาธิ ถ้าหากเราไม่เห็นโทษ เห็นแต่เป็นคุณอยู่ตราบใด อารมณ์อันนั้นก็เป็นกามคุณ อารมณ์อันนั้นก็เป็นกามโทษเป็นกามคุณ พอเห็นโทษเห็นของน่าเบื่อหน่าย ทำจิตใจให้เพลินเคยมัวเมาลุ่มหลง ส่งนอกออกไกล และเข้าใจอย่างนี้ เห็นโทษแล้วสดับได้ง่ายปล่อยวางได้เร็ว

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ส.ค. 2018, 19:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


อารมณ์มีทุกคน ที่จะเกิดอารมณ์ ที่จะเป็นอารมณ์ในทางชั่วก็เพราะตัวของเรานี่มีตัวกิเลสภายใน ความรักความใคร่ความชอบใจหรือความเกลียดความโกรธ ความยินดีและไม่ยินดี มันมีอยู่ในใจคนทุกทุกคน เหตุนั้นมันค่อยจึงเป็นอารมณ์ อารมณ์นั้นพูดกันง่ายๆ เลยว่าเป็นตัวกิเลส แต่ครานี้เราสู้อะไร ? เราชนะอะไร ? ถ้ามันมีกิเลสเมื่อมันไม่เห็นโทษเราก็ไม่พยายามที่จะทำดี ไม่พยายามที่จะชำระสะสาง พอมีกิเลส เห็นโทษเราก็จะตั้งหน้าลงไปเพื่อชำระสะสาง ดีกว่าผู้ที่ไม่เห็นโทษ ผู้ไม่เห็นโทษ เห็นเป็นคุณทั้งหมดแล้วก็ไม่หาหนทางที่จะชำระสะสาง ไม่หาทางรีบแก้ไข

ดังนั้น อารมณ์ทั้งหลายนั้นถ้าหากผู้มีสติปัญญาพิจารณาเห็นโทษไม่ใช่เป็นของเลว เป็นของชั่วจริงล่ะอารมณ์นี้กิเลสแต่ไม่ใช่เป็นของชั่วในตัวของเรา คือถ้าเราเห็นโทษเราต้องสละและพยายามกำจัด เลยกลับเป็นของดี เลยเป็นเหตุให้เราเห็นภัย ได้ความรู้..ตื่นตัว ไม่มัวเมาด้วยลุ่มหลงโทษตัวเดียวกับอารมณ์ทั้งหลายนั้น มันดีตรงนี้ที่ว่าดี เหมือนอย่างกับคนเป็นโรค ไม่มีโรคก็ไม่มียา เพราะเกิดโรคถึงค่อยแสวงหายากำจัด ได้วิชาเพราะโรค ได้ความรู้เพราะโรคเกิดขึ้น กิเลสมันเผาตัวของคนเรา ทุกคนได้เคยเผามาแล้ว เคยเดือดร้อนมาแล้ว เมื่อเราเห็นโทษในการที่มันเผาและเดือดร้อนมาแล้ว เราเห็นโทษเห็นภัยและพยายามที่จะกำจัดเผาผลาญให้วอดวายหายไป อาการพยายามที่จะกำจัดให้มันวอดวายหายไป ตัวนี้แหละเป็นตัว “ปัญญา” นี้แหละเป็นของดี ดีตรงนี้

อยู่เฉยๆไม่รู้เรื่อง ก็ไม่รู้สึกนึกคิดเห็นโทษเห็นภัยอะไรเลย อยู่ด้วย "โมหะ-อวิชชา" ไม่มีหนทางที่จะแก้ไข จมนานนัก ถ้าหากเราเห็นโทษเห็นภัยมันแล้ว..ตื่นตัว รู้สึก นึกคิดได้ ระวังภัยต่อไป อาการที่ระวังไม่ให้มันมาเผาผลาญสันดานของเราอีกนั้นจึงควรดี ดีเลยกลายเป็นคุณ เลยทำให้เกิดคุณประโยชน์แก่ตัวของเราขึ้นมา ถึงว่าอารมณ์มีทุกคนทั้งอดีต อนาคต ทั้งปัจจุบัน เพราะเหตุที่เรามีปัญญาน้อย เราไม่มีอุบายสามารถที่จะกำจัดมันจึงคอยรบกวนเราอยู่ตลอดเวลา การที่เราพยายามทำความดีและพยายามกำจัดกิเลสอันที่มันทำให้เราเดือดร้อนเป็นทุกข์ ตามภาษาสมมติเขาเรียกว่า "ทำกัมมัฏฐาน" หรืออีกนัยหนึ่งที่เรียกว่า "เพื่อชำระกิเลส" ถ้าพูดให้มันสวยหน่อยก็ให้มันงดงามขึ้นหน่อยเรียกว่า "ตปธรรม" คือ "การแผดเผา"





มีต่อค่ะ

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 8 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร