วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 22:04  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มี.ค. 2010, 16:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

ทศบารมีวิภาค - ศีลบารมี
พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจนฺโท จันทร์)
วัดบรมนิวาส ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร


อิทานิ ปณฺณรสี ทิวเส สนฺนิปติตาย พุทฺธปริสาย กาจิ ธมฺมิกถา กถิยเต,
อิโต ปรํ สีลปารมี อนุสนฺธึ ฆฏตฺวา ภาสิสฺสามีติ
sอิมสฺส ธมฺมปริยายสฺส อตฺโถ สาธายสฺมนฺเตหิ สกฺกจฺจํ โสตพฺโพติ


ณ วันนี้เป็นวันปัณรสีดิถีที่ ๑๕ แห่งกาฬปักษ์ เป็นวันอันพุทธบริษัทได้มาสันนิบาต
ในธรรมสวนมณฑล เพื่อจะฟังพระธรรมเทศนา ได้ประกอบกิจในเบื้องต้น
คือได้กระทำอามิสบูชาและปฏิบัติบูชาในพระรัตนตรัย มีดอกไม้ ธูปเทียน
และไหว้พระสวดมนต์ สมาทานศีลเป็นเบื้องต้นเสร็จแล้ว
ต่อนี้เป็นโอกาสที่จักฟังพระธรรมเทศนา พึงตั้งใจฟังให้สำเร็จประโยชน์ของตน ๆ
ด้วยชีวิตที่ได้มาถึงวันนี้ ต้องเห็นว่าเป็นลาภอันสำคัญ
ด้วยชีวิตของสัตว์ไม่มีนิมิตเครื่องหมาย ท่านบรรยายไว้ว่า

อนิมิตฺมนญฺญาตํ มจฺจานํ อิธ ชีวิตํ
ความว่า ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ หานิมิตเครื่องหมายมิได้

กสิรญฺจ ปรฺตญฺจ ตญฺจ ทุกฺเขน สํยุตํ
เป็นของย่อหย่อนคลอนแคลนอยู่ด้วย เป็นของมีประมาณน้อยอยู่ด้วย
เมื่อเป็นกระนั้น ยังต้องระคนปนอยู่ด้วยทุกข์เสียอีก


เมื่อเห็นความข้อนี้ชัดใจแล้ว ไม่ควรประมาท ไม่ควรเพลิดเพลินนัก
ต่อความสุขในโลกอันมีประมาณน้อย
ทางที่จักเดินต่อไปในสังสารวัฏยืดยาวคราวไกลนัก
ควรจะเร่งรีบบำเพ็ญบารมีธรรมให้เต็มเสียในชาตินี้
ตัดทางข้างหน้าอันเป็นทางกันดารให้สั้นเข้ามา

ถ้าได้สำเร็จโลกุตรธรรมชั้นต่ำ เพียงภูมิพระโสดา
อย่างช้าก็ยังจะท่องเที่ยวอยู่อีกเพียง ๗ ชาติ
ก็นับว่าร่นหนทางให้สั้นเข้ามาได้ถนัดใจ น่ายินดีมิใช่น้อย
ถ้าได้สำเร็จพระสกิทาคาก็ยังอีกชาติเดียว
ถ้าได้สำเร็จพระอนาคา ก็ไม่ต้องมาเกิดในกามโลกอีก
จุติจากอัตภาพนี้แล้วไปบังเกิดในสุทธาวาสพรหมโลก สำเร็จพระนิพพานทีเดียว
ถ้าได้สำเร็จพระอรหันต์เสียในชาตินี้ ก็ถึงพระนิพพานทีเดียว
สิ้นภพสิ้นชาติ เสวยนิรามิสสุขเป็นบรมสุขอย่างเกินโลก
จะหาความสุขในโลกแต่สิ่งเดียวมาเปรียบก็ไม่ได้
จึงเป็นที่ปรารถนาของนักปราชญ์ ผู้ฉลาดด้วยปัญญา
ด้วยท่านที่เป็นนักปราชญ์เห็นโทษทุกข์ภัยในวัฏฏสงสารชัดใจ
แลเห็นความสุขแห่งพระนิพพานชัดใจแล้ว
ท่านมิได้อาลัยต่อร่างกายและชีวิต สู้ทรมานตนบำเพ็ญบารมีธรรมให้เต็ม
ถ้าบารมีทั้งสิบประการเต็มเมื่อไรก็ได้สำเร็จเมื่อนั้น

บัดนี้จักแสดง สีลบารมี ต่อไป

สีลํ นาม ชื่ออันว่า ศีล นี้ เป็นเหตุจะให้ผู้รักษาไว้ด้วยดีได้สำเร็จความสุข
ทั้งในชาตินี้ชาติหน้า และให้สำเร็จพระนิพพาน ตามนัยที่ท่านบอกอานิสงส์ไว้ว่า

สีเลน สุคตึ ยนฺติ ผู้จะถึงสุคติทั้งชาตินี้ชาติหน้า ก็ด้วยอำนาจศีล

สีเลน โภคสมฺปทา ผู้จะสมบูรณ์ด้วยโภคสมบัติ ก็ด้วยอำนาจศีล

สีเลน นิพฺพุตึ ยนฺติ ผู้จะถึงพระนิพพาน อันดับเสียได้ซึ่งกองทุกข์ทั้งปวง ก็ด้วยอำนาจศีล

ตสฺมา สีลํ วิโสธเย เพราะเหตุนั้นผู้มีปัญญาปรารถนาความสุขแก่ตน
ทั้งชาตินี้ ชาติหน้า พึงชำระศีลของตนให้บริสุทธิ์ เป็นการชอบยิ่ง


ท่านแสดงอานิสงส์ไว้เช่นนี้ สีลบารมีนี้ พระพุทธเจ้าท่านทรงสร้างมาถึง ๔ อสงไขย
แสนมหากัลปแล้ว จึงได้สำเร็จเป็นพระสยัมภูสัมมาสัมโพธิญาณ
ท่านทรงเอาศีลที่มีในพระองค์นั้นแหละมาแจกให้แก่พุทธบริษัท
ถ้าผู้ดำเนินตามก็ได้สำเร็จมรรคผลนิพพานตามความประสงค์
จะไปคิดเสียว่า พระบารมีท่านทรงสร้างมาเป็นนักเป็นหนา ท่านจึงได้สำเร็จ
คนผู้เช่นเรานี้ ที่ไหนจะได้สำเร็จ จะต้องสร้างบารมีนาน ๆ ให้เต็มเสียก่อนจึงจะสำเร็จได้
ผู้คิดอย่างนี้ผิด ไม่ชอบ เราเป็นพุทธบริษัท ไม่ต้องสร้างนาน
สร้างในชาตินี้และให้เต็มทั้ง ๑๐ ประการแล้วก็สำเร็จในชาตินี้

พวกเราเป็นพุทธบริษัท เปรียบเหมือนราชบริวารของพระราชา
พระราชาเสด็จพระราชดำเนินประพาส ทรงประทับพักร้อนพักแรมในที่ใด
ที่พักที่อาศัยหรืออาหารการบริโภคในที่นั้น ย่อมสำเร็จด้วยบุญญานุภาพของพระราชา
ส่วนราชบริวารไม่ต้องหอบหิ้วหาบขนอะไรไปให้รุงรัง
ตั้งหน้าแต่ปฏิบัติราชการในหน้าที่ของตน ให้ต้องตามพระราชประสงค์เท่านั้น
เมื่อพระราชาทรงสุขสำราญด้วยประการใด
ราชบริวารก็จะต้องได้รับความสุขสำราญในที่นั้น ด้วยประการนั้นเหมือนกัน

พึงเข้าใจว่า การออกทรัพย์มาก ๆ ทำการมาก ๆ นั้น เป็นหน้าที่ของพระราชา
ราชบริวารเป็นแต่ผู้ตามเสด็จเท่านั้น สำเร็จความสุขเท่ากันกับพระราชา
ข้ออุปมานี้ฉันใด การสร้างพระบารมีนับด้วยโกฏิแห่งอสงไขยกัลปเป็นอันมาก
เป็นหน้าที่พระพุทธเจ้า พุทธบริษัทไม่ใช่ผู้สร้างบารมีให้มากเช่นนั้น
เป็นผู้ตามเสด็จพระพุทธเจ้าเท่านั้น ท่านทรงแจกอะไรมาให้ ก็ตั้งหน้ารับประทานเท่านั้น
พระพุทธเจ้าได้เสวยความสุขฉันใด พุทธบริษัทก็ได้รับความสุขเหมือนกันฉันนั้น
มีอุปไมยเหมือนพวกราชบริวารอาศัยพระราชา สำเร็จความสุขตามเสด็จของพระราชาฉันนั้น
เมื่อพุทธบริษัทเข้าใจความโดยนัยนี้แจ้งชัดแก่ใจ ไม่ดูถูกดูหมิ่นตนเอง
เห็นว่าตนก็เป็นพุทธบริษัทผู้หนึ่ง อาจสามารถจะถือเอามรรคผลนิพพานได้โดยแท้
ถ้าเป็นผู้เชื่อจริง แต่สีลบารมีเท่านี้ก็อาจสำเร็จ

(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มี.ค. 2010, 17:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


ด้วยศีลมีประเภทเป็นอันมาก จะแสดงไปก็ไม่มีที่สิ้นสุด
จะแสดงแต่จตุปาริสุทธิศีล คือศีลให้ถึงความบริสุทธิ์ ๔ ประการ
ได้แก่ ปาฏิโมกขสังวรศีล ๑ อินทรียสังวรศีล ๑
ปัจจัยสันนิสิตศีล ๑ อาชีวปาริสุทธิศีล ๑


ปาฏิโมกขสังวรศีล นั้น ได้แก่การระวังรักษาตามพุทธบัญญัติในพระปาฏิโมกข์
ย่นพระปาฏิโมกขสังวรศีลให้สั้น มีสิกขาบทสำคัญอยู่ ๔ ประการ
เป็นสิกขาบทจำต้องรักษาอย่างเคร่งครัด ตั้งวิรัติให้ขาดจากใจทีเดียว
คือ การฆ่าสัตว์ ๑ การลักฉ้อเข้าของที่มีเจ้าของหวงแหน ๑
การเสพอสัทธรรม ๑ การกล่าวคำเท็จ ๑
สี่สิกขาบทนี้พึงตั้งเจตนาให้ขาดลงไปว่า
เราจักไม่ล่วงสิกขาบททั้ง ๔ นี้ตลอดชีวิต โทษในสิกขาบททั้ง ๔ นี้
อย่างสูงเป็นปาราชิก อย่างกลางเป็นสังฆาทิเสส อย่างต่ำเป็นปาจิตตีย์ ทุกกฎ
ถ้าตั้งใจรักษาสิกขาบททั้ง ๔ นี้ให้เป็นสมุจเฉทวิรัติ คือ
เว้นให้ขาดด้วยเจตนาทีเดียว เป็นอันรักษาพระปาฏิโมกขสังวรศีลตลอดไปได้

ใช่แต่พระภิกษุสงฆ์จะพึงรักษาพระปาฏิโมกขสังวรศีลได้โดยฝ่ายเดียวก็หาไม่
แม้สามเณรรักษาศีล ๑๐ อุบาสกอุบาสิกาที่รักษาศีล ๘ อุโบสถศีล
การรักษาสิกขาบททั้ง ๔ คือ ปาณา อทินนา อพรหมจริยา มุสา ให้เป็นของบริสุทธิ์ได้
ก็ชื่อว่ารักษาพระปาฏิโมกขสังวรศีลเหมือนกัน
แต่เพียงศีล ๕ ยังนับเข้าในพระปาฏิโมกขสังวรศีลไม่ได้ เพราะยังขาดอพรหมจริยา
องค์สำคัญที่ ๑ ในพระปาฏิโมกข์ ถ้าผู้รักษาศีล ๘ ศีล ๑๐
อนุโลมเข้าในพระปาฏิโมกขสังวรศีลได้โดยแท้
พึงถือเอาเนื้อความในพระปาฏิโมกขสังวรศีลโดยนัยนี้

ส่วน อินทรียวังวรศีล นั้น พึงระวัง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ที่เรียกว่า อินทรีย์ คือเป็นใหญ่ในอันให้สำเร็จกิจหนึ่ง ๆ จึงเรียกว่าอินทรีย์

การระวังนั้นก็คือให้รู้เท่าต่ออารมณ์ คือ รูป เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัส ธรรมารมณ์
ธรรมารมณ์นั้นไม่ใช่อื่น คือ รูปเสียง กลิ่น รส เครื่องสัผัส ๕ อย่างนั้นเอง
แต่เป็นส่วนสัญญาอดีต เป็นคู่ของใจ จึงเรียกว่า ธรรมารมณ์

การระวังนั้นคือให้รู้ว่า อารมณ์ไม่ใช่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

ตา หู จมูก ลิ้น กาย ไม่ใช่ ใจ

ใจ ไม่ใช่อารมณ์, ใจ ไม่ใช่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย


ใจต่างหาก, ตา หู จมูก ลิ้น กาย ต่างหาก, อารมณ์ ต่างหาก,
อารมณ์เป็นแต่ผู้ผ่านไป ผ่านมาเท่านั้น ตา หู จมูก ลิ้น กาย ก็เป็นแต่ผู้รับสัมผัสเท่านั้น
สำคัญที่ใจเท่านั้นเป็นตัวอิสระ แต่จะทำอะไรด้วยตนเองไม่ได้ คอยแต่บังคับเขาเท่านั้น
แล้วก็คอยแต่รับสุขรับทุกข์ที่เป็นผลเกิดไปจากตนเองเท่านั้น
การที่รักษาอินทรียสังวรศีล ให้รักษาใจอย่างเดียวเป็นพอ
ปล่อยให้อารมณ์เขาผ่านไปผ่านมาอยู่ตามธรรมดาของเขา อย่าเอาเข้ามาหมักไว้ในใจ
ให้รู้สึกว่าใจก็เป็นปกติ อาศัยใจไม่รู้จักใจนี้เอง จึงเห็นเป็นของแปลกประหลาดไปทุกสิ่งทุกอย่าง
ถ้าอารมณ์ขาดจากใจไปเมื่อใด ก็เป็นสีลวิสุทธิเมื่อนั้น คือไม่ใช่นอนหลับ

การที่รักษาอินทรียวังวรศีลภายนอก ก็คือรักษาอุโบสถศีล
วิกาลโภชนะ นัจจะคีตะ อุจจาสยนะ ๓ องค์นี้เป็นการรักษาอินทรียสังวรศีล


วิกาลโภชนะ ระวังลิ้นไม่ให้หลงไปในรส นัจจคีตะ ระวังหู ระวังตา ระวังจมูก
ไม่ให้หลงไปในเสียง ไม่ให้หลงไปในรูป ไม่ให้หลงไปในกลิ่น
อุจจาสยนะ ระวังกาย ไม่ให้หลงไปในสัมผัส คงได้ความว่า
ระวังรักษา ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั้นเอง ส่วนใจให้เป็นผู้ระวัง

การรักษาอุโบสถศีลจึงชื่อว่า รักษาทั้งพระปาฏิโมกขสังวรศีล
และอินทรียสังวรศีล ด้วยประการฉะนี้

ส่วน ปัจจัยสันนิสิตศีล นั้น คือให้รู้ประมาณในการบริโภคปัจจัย
เพราะปัจจัยเป็นของบำรุงร่างกาย ถ้าไม่พิจารณาให้เห็นคุณและโทษเสียก่อนบริโภค
อาจจะเกิดโทษแก่ร่างกายได้ การพิจารณาปัจจัย จึงนับเป็นศีล
ด้วยสัตว์ทั่วโลก อาหารเป็นปัจจัยสำคัญ ส่วนมนุษย์เราพากันตายเสียด้วยอาหารทำพิษ
ปีหนึ่ง ๆ นับไม่ถ้วน ถ้าบริโภคอาหารไม่ต้องกันกับธาตุ
อาจทำท้องให้พิการ ไม่ถึงตายก็ต้องลำบากไปพักหนึ่ง
การพิจารณาปัจจัยเสียก่อนแล้วจึงบริโภค ชื่อว่ารักษาปัจจัยสันนิสิตศีลด้วยประการฉะนี้

ส่วน อาชีวปาริสุทธิศีล นั้น ก็คือให้เลี้ยงชีพด้วยความบริสุทธิ์
แท้จริงอัตภาพร่างกายของเราทั้งหลายนี้ เป้นอยู่ด้วยอาหาร
ถ้าอาหารเป็นบาป คือได้มาด้วยกรรมอันเป็นบาป เป็นต้นว่า
เราไปฆ่า ไปลัก ไปฉ้อ ไปโกงเขามาบริโภคเลี้ยงชีวิต ก็ได้ชื่อว่า กินบาปเข้าไป
อาหารที่เป็นบาปนั้นแหละ จะไปเกิดเป็นเนื้อ เป็นหนัง บุพโพโลหิตสืบต่อร่างกายขึ้น
ร่างกายนั้นก็เป็นกายบาป เพราะเกิดจากของที่เป็นบาป ถ้ากายเป็นบาปแล้ว
ใจก็อาศัยกาย ใจก็ต้องเป็นบาปไปด้วย เมื่อกายและใจเป็นบาปแล้ว
ก็จะก่อให้พืชพันธุ์ที่อาศัยเป็นบาปต่อ ๆ ไป จะเอาบุญมาแต่ที่ไหนเล่า
เพราะเหตุนั้นการเลี้ยงชีพโดยชอบธรรม จึงนับเป็นศีลควรรักษาประเภท ๑
ชื่อว่า อาชีวปาริสุทธิศีล ด้วยประการฉะนี้

ผู้รักษาวิสุทธิศีลได้ทั้ง ๔ ประการนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ดำเนินในมรรคปฏิปทาเป็นทางตรง
ศีลนี้เป็นบาทของสมาธิ คือเป็นเหตุจะให้สำเร็จภูมิสมาธิ คืออารมณ์ขาดจากใจ
ใจก็เป็นปกติ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ก็เป็นปกติ รูป เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัส
ก็เป็นปกติไปตามกันหมด กายและอารมณ์ที่เป็นปกตินั่นแหละ เป็น อธิศีล
ใจที่นิ่งเป็นปกตินั่นแหละเป็นสมาธิ เป็น อธิจิต ความรู้จักปกตินั่นแลเป็นปัญญา
ถ้าปัญญานั้นสอดส่องรู้เท่าสังขารขึ้นก็เป็น อธิปัญญา
การรู้เท่าสังขารก็คือ รู้เท่าสมมติ รู้ว่านามรูปเป็นสมมติ เป็นโลก ไม่ใช่ธรรม
สกลกายนี้เป็นธรรม ไม่ใช่นามรูป นามรูปไม่ใช่ตน ตนไม่ใช่นามรูป
นามรูปไม่ได้อยู่ในตน ตนไม่ได้อยู่ในนามรูป
เท่านี้ก็เป็นอันละสักกายทิฏฐิที่เป็นว่านามรูปเป็นตน สิ้นสงสัยในนามรูป
เห็นว่าไม่ใช่ตัวตนจริงจัง ก็เป็นอันละวิจิกิจฉา เชื่อแน่ว่าศีลและวัตรที่มีในตน
ตรงต่อไตรสิกขา ก็สิ้นลูบคลำศีลและวัตร คือสิ้นสงสัยในศีลและวัตรของตน
ชื่อว่าละ สีลพัตปรามาส เท่านี้ใจของผู้นั้นชื่อว่าตกกระแสธรรม
ได้อจลศรัทธาเพียงเท่านี้ ทางข้างหน้าที่เราจักเดินไปในสังสารวัฏสั้นเข้ามาแล้ว
ถ้าผู้ปฏิบัติได้เพียงชั้นนี้ ก็ชื่อว่าได้ดื่มรสของพรหมจรรย์ชั้นต่ำ ๆ
แต่อย่างนั้นก็จะรู้ตนว่า เราเกิดมาพบพระพุทธศาสนาไม่เสียชาติ จะมีความยินดีมิใช่น้อย
เพียงแต่บำเพ็ญกองศีลอย่างเดียวแต่ให้เต็มขีด ก็อาจสำเร็จมรรคผลนิพพานได้
ถ้าเชื่อจริง ทำจริง คงสำเร็จจริง โดยนัยดังบรรยายมาด้วยประการฉะนี้ ฯ

:b8: :b8: :b8:

ที่มา : หนังสือ ทศบารมีวิภาค-มงคลสุตตวิภาคบรรยาย
ของพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจนฺโท จันทร์) อดีตเจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส

สำเนาเทศน์เช้ากาฬปักษ์ เดือน ๑๒ ขึ้น ๑ ค่ำ (๒๕/๗/๗๐) [ทศบารมีวิภาค - ศีลบารมี]


:b50: :b50: ทศบารมีวิภาค : พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจนฺโท)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=30&t=56279

:b44: รวมคำสอน “พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจนฺโท)”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=47595

:b44: ประวัติและปฏิปทา “พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจนฺโท)”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=26908


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2015, 16:58 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2863


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8: Kiss


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2018, 09:38 
 
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 07:16
โพสต์: 2374

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b39: :b44: ขออนุโมทนา สาธุๆๆ ค่ะ
:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 11 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร