วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 14:28  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ย. 2019, 14:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ก.พ. 2007, 20:39
โพสต์: 174


 ข้อมูลส่วนตัว


การสักว่ารู้ ก็เหมือนกับใจที่เป็นปกติ ที่อายตนะยังไม่ได้กระทบสัมผัสอะไรเลยหรือแม้จะดำริถึงอายตนะต่างๆ ก็ยังไม่มี ดังนั้น กิเลสความพอใจ รักใคร่ กำหนัด ที่เกิดจากอายตนะ ต่างๆ นั้น จึงยังไม่เกิด ให้การสักว่ารู้เป็นใจที่เป็นปกติเช่นนั้น ดังพระสูตรนี้
.
.
ครั้งนั้น ท่านพระมาลุกยบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
.
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่งข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว จะพึงหลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกาย และใจอยู่เถิด”
.
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มาลุกยบุตร ในการขอโอวาทของเธอนี้ ในบัดนี้ เราจักบอกพวกภิกษุหนุ่มอย่างไรว่าเธอเป็นภิกษุผู้ชรา สูงอายุ เป็นผู้เฒ่า ล่วงกาลมามาก ผ่านวัยมามาก ขอโอวาทโดยย่อ”
.
ท่านพระมาลุกยบุตรกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นผู้ชรา สูงอายุ เป็นผู้เฒ่า ล่วงกาลมามาก ผ่านวัยมามากก็จริง ถึงกระนั้น ขอพระผู้มีพระภาคผู้สุคตโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อเถิด ทำอย่างไร ข้าพระองค์พึงรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค พึงเป็นผู้สืบต่อ พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค”
.
“มาลุกยบุตร เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปที่จะพึงรู้แจ้งทางตาเหล่าใด เธอไม่ได้เห็น ไม่เคยเห็นแล้ว ย่อมไม่เห็น ทั้งการกำหนดว่า ‘เราพึงเห็น’ ก็ไม่มีแก่เธอ เธอจะมีความพอใจ กำหนัด หรือรักใคร่ในรูปเหล่านั้นหรือ”
.
“ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า”
.
“เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหูเหล่าใด เธอไม่ได้ฟัง ไม่เคยฟังแล้ว ย่อมไม่ฟัง ทั้งการกำหนดว่า ‘เราพึงฟัง’ ก็ไม่มีแก่เธอ เธอจะมีความพอใจ กำหนัด หรือรักใคร่ในเสียงเหล่านั้นหรือ”
.
“ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า”
.
“กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูกเหล่าใด เธอไม่ได้ดม ไม่เคยดมแล้ว ย่อมไม่ดม ทั้งการกำหนดว่า ‘เราพึงดม’ ก็ไม่มีแก่เธอ เธอจะมีความพอใจ กำหนัด หรือรักใคร่ในกลิ่นเหล่านั้นหรือ”
.
“ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า”
.
“รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้นเหล่าใด เธอไม่ได้ลิ้ม ไม่เคยลิ้มแล้ว ย่อมไม่ลิ้ม ทั้งการกำหนดว่า ‘เราพึงลิ้ม’ ก็ไม่มีแก่เธอ เธอจะมีความพอใจ กำหนัด หรือรักใคร่ ในรสเหล่านั้นหรือ”
.
“ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า”
.
“โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกายเหล่าใด เธอไม่ได้ถูกต้อง ไม่เคยถูกต้อง ย่อมไม่ถูกต้อง ทั้งการกำหนดว่า ‘เราพึงถูกต้อง’ ก็ไม่มีแก่เธอ เธอจะมีความพอใจ กำหนัด หรือรักใคร่ในโผฏฐัพพะเหล่านั้นหรือ”
.
“ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า”
.
“ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจเหล่าใด เธอไม่ได้รู้แจ้งไม่เคยรู้แจ้งแล้ว ย่อมไม่รู้แจ้ง ทั้งการกำหนดว่า ‘เราพึงรู้แจ้ง’ ก็ไม่มีแก่เธอ เธอจะมีความพอใจ กำหนัด หรือรักใคร่ในธรรมารมณ์เหล่านั้นหรือ”
.
“ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า”
.
“มาลุกยบุตร บรรดาธรรมเหล่านี้ คือ รูปที่เธอเห็น เสียงที่เธอฟัง อารมณ์ที่เธอทราบ และธรรมที่เธอพึงรู้แจ้ง ในรูปที่เห็น จักเป็นเพียงสักว่า เห็น ในเสียงที่ฟัง จักเป็นเพียงสักว่า ฟัง ในอารมณ์ที่ทราบ จักเป็นเพียงสักว่า ทราบ ในธรรมที่รู้แจ้ง จักเป็นเพียงสักว่า รู้แจ้ง
.
เมื่อใด บรรดาธรรมทั้งหลาย คือ รูปที่เธอเห็น เสียงที่เธอฟัง อารมณ์ที่เธอทราบ และธรรมที่เธอพึงรู้แจ้ง ในรูปที่เห็นจักเป็นเพียงสักว่าเห็น ในเสียงที่ฟังจัก เป็นเพียงสักว่าฟัง ในอารมณ์ที่ทราบจักเป็นเพียงสักว่าทราบ ในธรรมที่รู้แจ้งจักเป็นเพียงสักว่ารู้แจ้ง
.
เมื่อนั้น เธอจักไม่ถูกสิ่งนั้นครอบงำ เมื่อใดเธอจักไม่ถูกสิ่งนั้นครอบงำ เมื่อนั้นเธอจักไม่พัวพันในสิ่งนั้น เมื่อใดเธอจักไม่พัวพันในสิ่งนั้น เมื่อนั้นเธอจักไม่มีในโลกนี้ ไม่มีในโลกอื่น ไม่มีในระหว่างโลกทั้งสอง นี้เป็นที่สุดแห่งทุกข์”
.
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วอย่างย่อโดยพิสดารอย่างนี้ว่า
.
‘เพราะเห็นรูป จึงหลงลืมสติ เมื่อใส่ใจนิมิตที่น่ารัก ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งติดใจอารมณ์นั้นอยู่ เวทนาที่เกิดจากรูปจำนวนมากก็เจริญแก่เขา และจิตของเขาก็ถูกอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ เมื่อเขาสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ยังห่างไกลนิพพาน
.
เพราะฟังเสียง จึงหลงลืมสติ เมื่อใส่ใจนิมิตที่น่ารัก ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งติดใจอารมณ์นั้นอยู่ เวทนาที่เกิดจากเสียงจำนวนมากก็เจริญแก่เขา และจิตของเขาก็ถูกอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ เมื่อเขาสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ยังห่างไกลนิพพาน
.
เพราะดมกลิ่น จึงหลงลืมสติ เมื่อใส่ใจนิมิตที่น่ารัก ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งติดใจอารมณ์นั้นอยู่ เวทนาที่เกิดจากกลิ่นจำนวนมากก็เจริญแก่เขา และจิตของเขาก็ถูกอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ เมื่อเขาสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ยังห่างไกลนิพพาน
.
เพราะลิ้มรส จึงหลงลืมสติ บุคคลเมื่อใส่ใจนิมิตที่น่ารัก ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งติดใจอารมณ์นั้นอยู่ เวทนาที่เกิดจากรสจำนวนมากก็เจริญแก่เขา และจิตของเขาก็ถูกอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ เมื่อเขาสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ยังห่างไกลนิพพาน
.
เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะ จึงหลงลืมสติ เมื่อใส่ใจนิมิตที่น่ารัก ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งติดใจอารมณ์นั้นอยู่ เวทนาที่เกิดจากโผฏฐัพพะจำนวนมากก็เจริญแก่เขา และจิตของเขาก็ถูกอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ เมื่อเขาสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ยังห่างไกลนิพพาน
.
เพราะรู้ธรรมารมณ์ จึงหลงลืมสติ เมื่อใส่ใจนิมิตที่น่ารัก ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งติดใจอารมณ์นั้นอยู่ เวทนาที่เกิดจากธรรมารมณ์จำนวนมากก็เจริญแก่เขา และจิตของเขาก็ถูกอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ เมื่อเขาสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ยังห่างไกลนิพพาน
.
บุคคลนั้นเห็นรูปแล้ว มีสติไม่กำหนัดในรูป มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่ติดใจอารมณ์นั้นอยู่ เมื่อเขาเห็นรูปและเสวยเวทนาอยู่ ทุกข์ย่อมสิ้นไปไม่ถูกสั่งสมไว้ ฉันใด เขาก็เป็นผู้มีสติเที่ยวไป ฉันนั้น เมื่อเขาไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า อยู่ใกล้นิพพาน
.
บุคคลนั้นฟังเสียงแล้ว มีสติไม่กำหนัดในเสียง มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่ติดใจอารมณ์นั้นอยู่ เมื่อเขาฟังเสียงและเสวยเวทนาอยู่ ทุกข์ย่อมสิ้นไปไม่ถูกสั่งสมไว้ ฉันใด เขาเป็นผู้มีสติเที่ยวไป ฉันนั้น เมื่อเขาไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า อยู่ใกล้นิพพาน
.
บุคคลนั้นดมกลิ่นแล้ว มีสติไม่กำหนัดในกลิ่น มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่ติดใจอารมณ์นั้นอยู่ เมื่อเขาดมกลิ่นและเสวยเวทนาอยู่ ทุกข์ย่อมสิ้นไปไม่ถูกสั่งสมไว้ ฉันใด เขาเป็นผู้มีสติเที่ยวไป ฉันนั้น เมื่อเขาไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า อยู่ใกล้นิพพาน
.
บุคคลนั้นลิ้มรสแล้ว มีสติไม่กำหนัดในรส มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่ติดใจอารมณ์นั้นอยู่ เมื่อเขาลิ้มรสและเสวยเวทนาอยู่ ฯลฯ เมื่อเขาไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า อยู่ใกล้นิพพาน
.
บุคคลนั้นถูกต้องผัสสะแล้ว มีสติไม่กำหนัดในผัสสะ มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่ติดใจอารมณ์นั้นอยู่ เมื่อเขาถูกต้องผัสสะและเสวยเวทนาอยู่ ฯลฯ เมื่อเขาไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า อยู่ใกล้นิพพาน
.
บุคคลนั้นรู้ธรรมารมณ์แล้ว มีสติไม่กำหนัดในธรรมารมณ์ มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่ติดใจอารมณ์นั้นอยู่ เมื่อเขารู้ธรรมารมณ์และเสวยเวทนาอยู่ ทุกข์ย่อมสิ้นไปไม่ถูกสั่งสมไว้ ฉันใด เขาเป็นผู้มีสติเที่ยวไป ฉันนั้น เมื่อเขาไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า อยู่ใกล้นิพพาน’
.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งธรรมที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงแล้วอย่างย่อโดยพิสดารอย่างนี้”
.
“ดีละ ดีละ มาลุกยบุตร ดีแล้วที่เธอรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งธรรมที่เราแสดงแล้วอย่างย่อโดยพิสดารอย่างนี้ว่า
.
‘เพราะเห็นรูป จึงหลงลืมสติ เมื่อใส่ใจนิมิตที่น่ารัก ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งติดใจอารมณ์นั้นอยู่ เวทนาที่เกิดจากรูปจำนวนมากก็เจริญแก่เขา และจิตของเขาก็ถูกอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ เมื่อเขาสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ เรากล่าวว่า ยังห่างไกลนิพพาน ฯลฯ
.
บุคคลนั้นรู้ธรรมารมณ์แล้ว มีสติ ไม่กำหนัดในธรรมารมณ์ มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่ติดใจอารมณ์นั้นอยู่ เมื่อเขารู้ธรรมารมณ์และเสวยเวทนาอยู่ ทุกข์ย่อมสิ้นไปไม่ถูกสั่งสมไว้ ฉันใด เขาเป็นผู้มีสติเที่ยวไป ฉันนั้น เมื่อเขาไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ เรากล่าวว่า อยู่ใกล้นิพพาน’
.
มาลุกยบุตร เธอพึงเห็นเนื้อความแห่งธรรมที่เราแสดงแล้วอย่างย่อโดยพิสดารอย่างนี้เถิด”
.
ครั้งนั้น ท่านพระมาลุกยบุตรชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ลุกขึ้นจากอาสนะ ถวายอภิวาท กระทำประทักษิณแล้วจากไป
.
ต่อมา ท่านพระมาลุกยบุตรก็หลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนัก ได้ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป” อนึ่ง ท่านพระมาลุกยบุตรได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ ทั้งหลาย.
.
http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=18&siri=75

.....................................................
เมื่อเจ้าจักเห็น จงเห็นฉับพลัน พอตั้งต้นคิด หนทางปิดตัน


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 7 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร