วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 18:09  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2009, 00:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.ค. 2009, 08:36
โพสต์: 532

แนวปฏิบัติ: ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
สิ่งที่ชื่นชอบ: กรรมทีปนี , วิมุตติรัตนมาลี , ภูมิวิลาสินี
ชื่อเล่น: เจ้านาง
อายุ: 0
ที่อยู่: อยู่ในธรรม

 ข้อมูลส่วนตัว


:b44: วันลอยกระทง :b44:

:b41: เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของชาวไทย ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย ตามปฏิทินจันทรคติล้านนา "มักจะ" ตกอยู่ในราวเดือนพฤศจิกายน ตามปฏิทินสุริยคติ ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคา บางหลักฐานเชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที และบางหลักฐานก็ว่าเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์หรือพระมหาสาวก สำหรับประเทศไทยประเพณีลอยกระทงได้กำหนดจัดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันไป

:b41: ในวันลอยกระทง ผู้คนจะพากันทำ "กระทง" จากวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ตบแต่งเป็นรูปคล้ายดอกบัวบาน ปักธูปเทียน และนิยมตัดเล็บ เส้นผม หรือใส่เหรียญกษาปณ์ลงไปในกระทง แล้วนำไปลอยในสายน้ำ (ในพื้นที่ติดทะเล ก็นิยมลอยกระทงริมฝั่งทะเล) เชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์ไป นอกจากนี้ยังเชื่อว่าการลอยกระทง เป็นการบูชาพระแม่คงคาด้วย

:b41: เดิมเชื่อกันว่าประเพณีลอยกระทงเริ่มมีมาแต่สมัยสุโขทัย ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง โดยมีนางนพมาศ เป็นผู้ประดิษฐ์กระทงขึ้นครั้งแรก โดยแต่เดิมเรียกว่าพิธีจองเปรียง ที่ลอยเทียนประทีป และนางนพมาศได้นำดอกโคทม ซึ่งเป็นดอกบัวที่บานเฉพาะวันเพ็ญเดือนสิบสองมาใช้ใส่เทียนประทีป[ต้องการแหล่งอ้างอิง] แต่ปัจจุบันมีหลักฐานว่าไม่น่าจะเก่ากว่าสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยอ้างอิงหลักฐานจากภาพจิตรกรรมการสร้างกระทงแบบต่างๆ ในสมัยรัชกาลที่ 3

:b41: ปัจจุบันวันลอยกระทงเป็นเทศกาลที่สำคัญของไทย ที่มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศมาเที่ยวปีละมากๆ ทั้งนี้ในช่วงเวลาดังกล่าวมักจะเป็นช่วงต้นฤดูหนาว และมีอากาศดี

:b41: ในวันลอยกระทง ยังนิยมจัดประกวดนางงาม เรียกว่า "นางนพมาศ"

:b44: ประเพณีในแต่ละท้องถิ่น :b44:

:b41: ภาคเหนือตอนบน นิยมทำโคมลอย เรียกว่า "ลอยโคม" หรือ "ว่าวฮม" หรือ "ว่าวควัน" ทำจากผ้าบางๆ แล้วสุมควันข้างใต้ให้ลอยขึ้นไปในอากาศอย่างบอลลูน ประเพณีของชาวเหนือนี้เรียกว่า "ยี่เป็ง" หมายถึงการทำบุญในวันเพ็ญเดือนยี่(ซึ่งนับวันตามแบบล้านนา ตรงกับวันเพ็ญเดือนสิบสองในแบบไทย)
:b41: จังหวัดตาก จะลอยกระทงขนาดเล็กทยอยเรียงรายไปเป็นสาย เรียกว่า "กระทงสาย"
:b41: จังหวัดสุโขทัย ขบวนแห่โคมชักโคมแขวน การเล่นพลุตะไล ไฟพะเนียง
:b41: ภาคอีสาน จะตบแต่งเรือแล้วประดับไฟ เป็นรูปต่างๆ เรียกว่า "ไหลเรือไฟ"โดยเฉพาะที่จังหวัดนครพนมเพราะมีความงดงามและอลังการที่สุดในภาคอีสาน
:b41: กรุงเทพมหานคร จะมีงานภูเขาทอง เป็นรูปแบบงานวัด เฉลิมฉลองราว 7-10 วัน ก่อนงานลอยกระทง และจบลงในช่วงหลังวันลอยกระทง
:b41: ภาคใต้ อย่างที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ก็มีการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ นอกจากนั้น ในจังหวัดอื่นๆ ก็จะจัดงานวันลอยกระทงด้วยเช่นกัน

:b41: นอกจากนี้ในแต่ละท้องถิ่นยังอาจมีประเพณีลอยกระทงที่แตกต่างกันไป และสืบทอดต่อกันเรื่อยมา

:b44: ความเชื่อเกี่ยวกับวันลอยกระทง :b44:

:b41: เป็นการขอขมาพระแม่คงคา ที่มนุษย์ได้ใช้น้ำ ได้ดื่มกินน้ำ รวมไปถึงการทิ้งสิ่งปฏิกูลต่างๆ ลงในแม่น้ำ
:b41: เป็นการสักการะรอยพระพุทธบาท ที่พระพุทธเจ้าทรงได้ประทับรอยพระบาทไว้หาดทรายแม่น้ำนัมมทานที ในประเทศอินเดีย
:b41: เป็นการลอยความทุกข์ ความโศกรวมถึงโรคภัยต่างๆ ให้ลอยไปกับแม่น้ำ
:b41: ชาวไทยในภาคเหนือมีความเชื่อว่า การลอยกระทงเป็นการบูชาพระอุปคุต ตามตำนานเล่าว่า พระอุปคุตทรงสามารถปราบพญามารได้

:b44: :b44: :b44: :b44: :b44: :b44: :b44: :b44:

.....................................................
...รู้จักทำ รู้จักคิด รู้ด้วยจิต รู้ด้วยศรัทธา...
..................ศรัทธาธรรม..................


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2009, 01:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.ค. 2009, 08:36
โพสต์: 532

แนวปฏิบัติ: ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
สิ่งที่ชื่นชอบ: กรรมทีปนี , วิมุตติรัตนมาลี , ภูมิวิลาสินี
ชื่อเล่น: เจ้านาง
อายุ: 0
ที่อยู่: อยู่ในธรรม

 ข้อมูลส่วนตัว


:b44: พระอุปคุต :b44:

:b41: พระอุปคุต หรือ พระบัวเข็ม เป็นพระที่เป็นที่นิยมของชาวอินเดีย มอญและคนไทยทางเหนือและอีสาน สมัยก่อนพระมอญได้นำพระบัวเข็มมาถวายรัชกาลที่ 4 ในตอนที่พระองค์ทรงผนวชอยู่ แม้รัชกาลที่ 5ก็ยังทรงกล่าวถึงความเป็นมาในพระราชนิพนธ์พระราชพิธีสิบสองเดือนด้วย

:b41: เชื่อกันมาว่า พระบัวเข็มหรือพระอุปคุต เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ที่มีอิทธิฤทธิ์ปรามพระยามาร ชื่อ พระอุปคุตแปลว่า ผู้คุ้มครองรักษา มีเรื่องเล่ามาว่า ท่านเป็นพระอรหันต์หลังจากพุทธกาลแล้ว 200 ปี ท่านจำพรรษาที่สะดือทะเล ท่านเคยปราบพระยามาร (พระยาวัสวดี) จนราบคาบ

:b41: ปัจจุบันยังมีความเชื่อในหมู่ชาวล้านนาว่า พระบัวเข็มหรือพระอุปคุตยังมีชีวิตอยู่ ในทุกวันขึ้น 15 ค่ำที่ตรงกับวันพุธ ชาวล้านนาจะเรียกว่าเป็น วันเพ็งปุ๊ด พระอุปคุตจะออกบิณฑบาตในร่างเณรน้อย และจะออกมาเวลาเที่ยงคืน ด้วยเหตุนี้จึงเกิดประเพณีตักบาตรกลางคืนขึ้น

:b41: ที่ปราจีนบุรี มีผู้พบพระพุทธรูป เป็นพระบัวเข็มที่แกะสลักด้วยไม้ ลอยน้ำมา จึงได้อัญเชิญไปประดิษฐานที่วัดใหม่ท่าพาณิชย์ อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี

:b44: :b44: :b44: :b44: :b44: :b44: :b44: :b44:

.....................................................
...รู้จักทำ รู้จักคิด รู้ด้วยจิต รู้ด้วยศรัทธา...
..................ศรัทธาธรรม..................


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2009, 01:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.ค. 2009, 08:36
โพสต์: 532

แนวปฏิบัติ: ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
สิ่งที่ชื่นชอบ: กรรมทีปนี , วิมุตติรัตนมาลี , ภูมิวิลาสินี
ชื่อเล่น: เจ้านาง
อายุ: 0
ที่อยู่: อยู่ในธรรม

 ข้อมูลส่วนตัว


:b44: พระอุปคุตตเถระ กับ พระยามาร :b44:

พระเจ้าอโศกมหาราชทรงมีพระศรัทธาอย่างแรงกล้าในพระพุทธศาสนา ทรงนำหลักธรรมของพระพุทธเจ้ามาเป็นนโยบายปกครองประเทศ โปรดให้สร้างพระสถูปเจดีย์ และพุทธวิหารทั่วทั้งชมพูทวีป ครั้นสร้างพระสถูปเจดีย์แล้ว จึงปรารภถึงพระบรมสาริกธาตุ ที่จะบรรจุในสถูปเจดีย์นั้น

ต่อมาทรงทราบสถานที่ฝังพระบรมสารีริกธาตุ จึงได้เสด็จไปยังที่นั้น ซึ่งเป็นบริเวณต่ำอยู่ลึกจากพื้นถึง ๘๐ ศอก และทำขึ้นในสมัยพระเจ้าอชาตศัตรู เมื่อ ๒๐๐ ปีกว่าแล้ว พระเจ้าอโศกได้ทรงพบว่าทุกสิ่งทุกอย่างยังคงสภาพเดิม ประทีปส่องสว่างดอกไม้ดูยังสดเหมือนเก็บมาใหม่ๆ กล่องและพระถูป ที่ใช้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ จัดเป็น ๘ ชั้น

พระเจ้าอโศกทรงปลาบปลื้มพระทัยยิ่งนัก ทรงอัญเชิญพระสถูปที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุใส่ในพานทองคำนำออกภายนอก ตรัสสั่งให้ปิดประตูเรือนแก้วจนถึงเรือนชั้นนอกสุด ให้กลบดินและทรายดังเดิม เชิญพระสถูปศิลาชลอมาประดิษฐานไว้ที่เดิม

เมื่อทรงสักการะบูชาพระบรมสารีริกธาตุแล้ว ได้ทรงแจกพระบรมสารีกธาตุไปบรรจุไว้ในพระเจดีย์ทั่วชมพูทวีป และทรงสั่งให้สร้างพระมหาสถูปองค์ใหญ่ขึ้นใหม่องค์หนึ่ง มีความสูงครึ่งโยชน์ ประดับด้วยแก้วมณีต่างๆ ส่องสว่างรุ่งเรืองประดิษฐานอยู่ริมฝั่งแม่น้ำคงคาใกล้กรุงปาฏลีบุตร สร้างสร้างแล้วจึงอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุที่กันไว้ส่วนหนึ่งบรรจุในพระมหาสถูปองค์นั้น

ต่อมาทรงมีพระราชดำริที่จะทำการฉลองพระบรมสารีริกธาตุทั่วทั้งชมพูทวีป รวมทั้งพระมหาสถูปเจดีย์ เป็นเวลา ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน ทรงปริวิตกว่าจะมีวิธีใดที่จะป้องกันอันตรายอันจะเกิดขึ้นในระหว่างงานฉลองครั้งนี้

ได้เสด็จไปปรึกษากับพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระประธานสงฆ์ ในที่สุดได้เป็นที่ตกลงกันในหมู่สงฆ์เพื่อนิมนต์พระอุปคุตตเถระ ซึ่งมีฤทธิ์มากสามารถปราบการร้ายของมารได้

พระอุปคุตตเถระได้เนรมิตรปราสาทแก้วจำพรรษาอยู่ในท้องมหาสมุทร ท่านนั่งเข้าฌานสมาบัติไม่ได้ฉันอาหารเป็นเวลานาน พระอุปคุตตเถระกล่าวว่าถ้าได้ฉันอาหารแล้วก็อาจกำจัดภัยจากพระยามาร ไม่ให้ทำอันตรายต่องานฉลองพระธาตุครั้งนี้

ในวันแรก พระเจ้าอโศกทรงสงสัยว่า พระอุปคุตตจะมีกำลังพอปราบมารได้หรือไม่ เพราะร่างกายซูบผอมมาก ในวันที่สองพระอุปคุตตเถระเข้าไปบิณฑบาตรในพระราชวัง เมื่อกลับออกมาพระเจ้าอโศกตรัสสั่งให้ควาญช้างปล่อยช้างชับมันเพื่อลองกำลังฤทธิ์พระอุปคุต

เมื่อพระเถระเดินออกจากพระราชวัง ช้างพระที่นั่งตกมันตรงรี่เข้าไปใกล้ท่าน ท่านทราบว่าพระราชาทรงทดลองฤทธิ์ จึงได้อธิฐานจิตให้ช้างนั้นเป็นช้างศิลายืนอยู่ที่นั่น แล้วท่านก็เดินจากไปส่วนพระเจ้าอโศกมหาราชทรงเป็นห่วงว่าช้างจะทำอันตรายแก่พระเถระ จึงเสด็จตามพระอุปคุตตเถระ ระหว่างทางได้ทรงพบช้างพระที่นั่งยืนแน่นิ่งไม่ไหวกาย จึงทรงทราบถึงอานุภาพของพระเถระ

เมื่อเสด็จไปทันพระเถระพระราชาตรัสขอขมา และทรงทราบถึงอิทธิฤทธิ์ของพระเถระได้โดยไม่ต้องเชื่อคำบอกเล่าจากผู้อื่น

พระอุปคุตตกราบทูลว่าไม่ได้ถือโทษและขอให้พระองค์ทรงพระเจริญ ช้างทรงก็จงมีความสุขกลับไปสู่ถิ่นฐานของตน เมื่อกล่าวดังนั้นช้างก็เดินกลับไปยังที่ของตน

เมื่อพระเจ้าอโศกทรงได้พระอุปคุตเถระมาช่วยป้องกันอันตรายจากพระยามารได้แล้ว จึงทรงปรารถนาที่จะจัดการบูชาอย่างยิ่งใหญ่ต่อพระมหาสถูปเจดีย์ที่ทรงสร้างไว้ ณ ริมฝั่งแม่น้ำคงคารวมทั้งพระเจดีย์ตามจังหวัดต่างๆ ทั่วชมพูทวีป

ครั้นถึงกำหนดวันฉลองพระเจ้าอโศกพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชบริพารและประชาชนได้ไปร่วมประชุมอย่างคับคั่ง เพื่อสักการะบูชาพระมหาสถูปเจดีย์มีการจุดประทีปดูสว่างไสวไปทั่วดุจเวลากลางวัน

พระยามารทราบว่าพระเจ้าอโศกทรงจัดการบูชาครั้งมโหฬาร จึงหวังทำลายพิธี และได้เหาะลงมาจากสวรรค์ในเทวโลก เพื่อจะทำลายพิธี พระอุปคุตตเถระก็ตอบโต้ได้โดยฉับพลันทุกครั้งไป ทำให้พระยามารแค้นใจมาก ภายหลังพระยามารได้เนรมิตคนให้เป็นสัตว์ที่มีกำลัง พระอุปคุตตเถระก็เนรมิตให้ใหญ่กว่า มีกำลังเข้มแข็งกว่า และมีฤทธิ์กว่า

พระยามารเห็นว่าตนจะพ่ายแพ้แก่พระอุปคุตตเถระ จึงได้แสดงตนให้ปรากฏอยู่ตรงหน้า พระอุปคตตเถระได้คิดหาวิธีปราบพระยามารให้สิ้นฤทธิ์ โดยได้เนรมิตสุนัขเน่าเหม็นเต็มไปด้วยหมู่หนอนไปผูกคอพระยามาร และได้อธิษฐานจิตมิให้ผู้อื่นแก้ไขได้ แล้วไล่พระยามารให้ออกไปจากที่นั้น

พระยามารได้รับความอับอายมากได้เหาะไปขอความช่วยเหลือจากท้าวจตุมหาราชทั้ง ๔ รวมทั้งพระอินทร์และพระพรหม แต่ก็ไม่มีผู้ใดช่วยเหลือแก้ไขให้ได้ ท้าวสหัมบดีพรหมแจ้งแก่พระยามารให้กลับลงไปหาพระอุปคุตตเถระให้ท่านช่วยแก้ไขให้ จึงจะได้ ใครอื่นไม่สามารถช่วยได้

พระยามารจึงต้องจำใจกลับไปหาพระอุปคุตตเถระด้วยอาการนอบน้อมสุภาพตามคำแนะนำของเหล่าเทวราช และขอขมาที่ได้กระทำความชั่วทั้งหลายนั้น และยอมจำนนต่อท่านอุปคุตตเถระ

พระอุปคุตตเถระเห็นว่างานฉลองครั้งยิ่งใหญ่นี้ ยังไม่เสร็จสิ้น จึงต้องควบคุมพระยามารไว้ก่อน โดยให้พระยามารไปที่ภูเขา แล้วแก้เอาสุนัขเน่าออก แต่ก็ยังเห็นว่าควรจะมัดพระยามารไว้ก่อน จึงได้รัดประคตออกจากเอวของท่านอธิษฐานจิตให้รัดประคตยาวพอที่จะมัดพระยามารติดกับภูเขาไว้อย่างมั่นคง

ท่านอุปคุตตได้แจ้งให้พระยามารรออยู่ที่ภูเขานั้นจนกว่าพระเจ้าอโศกมหาราชจะทรงเสร็จสิ้นงานฉลอง งานฉลองจึงสามารถดำเนินไปได้ จนครบกำหนด ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน อย่างราบรื่น เป็นที่ยินดีแก่ชนทั้งหลาย

พระยามารได้หวนระลึกถึงพระพุทธเจ้า ที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อตน แม้ตนจะทำไม่ดีต่อพระพุทธองค์ พระองค์ก็ไม่ได้กระทำโทษตอบ แต่ในบัดนี้พระสาวกของพระพุทธองค์ได้ทำโทษทุกข์แสนสาหัส

เมื่อคิดได้เช่นนี้ พระยามารจึงอธิษฐานว่า หากมีบุญกุศลที่ได้สร้างสมไว้ ขอให้ได้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต เพื่อจะได้เป็นที่พึ่งแก่สัตว์ทั้งหลาย และกระทำประโยชน์โปรดเวไนยสัตว์ทั้งปวง

พระอุปคุตตเถระ ซึ่งอยู่ใกล้บริเวณนั้นและได้ยินเข้า จึงปรากฏกายแล้วเดินเข้าไปแก้มัดออกให้ กล่าวแก่พระยามารว่า ท่านจะสมปรารถนาได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคต ตั้งแต่นี้ต่อไปตัวท่านจักเป็นปูชนียบุคคล คือพระโพธิสัตว์ที่ชาวโลกเคราพบูชาต่อไป ขอให้ตั้งใจละบาป อย่ากระทำกรรมอันหยาบช้าต่อไป ให้

เมื่อพระเถระเห็นว่าพระยามารตั้งใจกระทำความดี มีความปราถนาดี จึงเรียกร้องให้พระยามารเนรมิตพระรูปพระพุทธเจ้า พร้อมทั้งอัครสาวกให้เห็นเป็นประจักษ์ เพราะพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานนานแล้ว ได้เห็นแต่พระธรรมวินัยของพระองค์เท่านั้น

พระยามารมีข้อแม้ว่าถ้าหากตนเนรมิตกายเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ท่านอุปคุตตจะต้องไม่ถวายความเคารพเป็นอันขาด เมื่อเป็นที่ตกลงกันแล้วพระยามารได้เข้าไปในป่า แล้วเนรมิตกายเป็นพระรูปพระพุทธเจ้าประกอบด้วยพระมหาปริสลักษณะสว่างรุ่งเรืองด้วยรัศมีแวดล้อมด้วยหมู่สงฆ์

พระมหาเถระเมื่อแลเห็นพระรูปของพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยเหล่าภิกษุสงฆ์ ก็ได้ถวายนมัสการด้วยความศรัทธาอย่างแน่นแฟ้น ลืมคำสัญญาที่ให้ไว้กับพระยามาร ภิกษุและบุคคลอื่นในที่นั้น รวมทั้งพระเจ้าอโศกมหาราช ต่างก็ได้ถวายนมัสการกันโดยทั่วหน้า พระยามารเห็นท่าไม่ดี จึงบันดาลให้พระรูปพระพุทธเจ้าและสาวกหายไป

และต่อว่าท่านอุปคุตตว่าละเมิดคำสัญญา แต่ท่านอุปคุตตกล่าวว่าท่านตั้งใจถวายความเคราพนอบน้อมพระพุทธเจ้าต่างหาก

เมื่อพระอุปคุตตเถระเห็นความตั้งใจดี และความปราถนาดีของพระยามาร ก็ได้กล่าวอวยพรให้พระยามารกลับไปโดยสุขสวัสดิ์ จากนั้นพระยามารได้ถวายนมัสการท่านอุปคุตตแล้วกลับคืนสู่วิมานในเทวโลกดังเดิม

:b44: :b44: :b44: :b44: :b44: :b44: :b44: :b44:

.....................................................
...รู้จักทำ รู้จักคิด รู้ด้วยจิต รู้ด้วยศรัทธา...
..................ศรัทธาธรรม..................


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2009, 01:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.ค. 2009, 08:36
โพสต์: 532

แนวปฏิบัติ: ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
สิ่งที่ชื่นชอบ: กรรมทีปนี , วิมุตติรัตนมาลี , ภูมิวิลาสินี
ชื่อเล่น: เจ้านาง
อายุ: 0
ที่อยู่: อยู่ในธรรม

 ข้อมูลส่วนตัว


:b44: นางนพมาศ :b44:

:b40: นางนพมาศเกิดในรัชกาลพญาเลอไท กษัตริย์ที่ 4 แห่งราชวงศ์พระร่วง บิดาเป็นพราหมณ์ชื่อ โชติรัตน์ มีราชทินนามว่า พระศรีมโหสถ รับราชการในตำแหน่งปุโรหิต มารดาชื่อ เรวดี ภายหลังนางนพมาศได้ถวายตัวเข้าทำราชการในราชสำนักสมเด็จพระร่วงเจ้า สันนิษฐานว่ารับราชการในแผ่นดินพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) จนกระทั่งได้รับตำแหน่ง "ท้าวศรีจุฬาลักษณ์" พระสนมเอก

:b40: ปรากฎว่า นางนพมาศได้ทำคุณงามความดีเป็นที่โปรดปรานของพระร่วงในกาลต่อมา ที่สำคัญๆ มีอยู่ 3 ครั้ง คือ

:b40: ครั้งที่ 1 เข้าไปถวายตัวอยู่ในวังได้ห้าวัน ก็ถึงพระราชพิธีจองเปรียงลอยพระประทีป นางได้คิดประดิษฐ์โคมเป็นรูปบัวกมุทบาน มีนกเกาะดอกไม้สีสวยต่างๆ กัน เป็นที่โปรดปรานของพระร่วงมาก

:b40: ครั้งที่ 2 ในเดือนห้ามีพิธีคเชนทร์ศวสนาน เป็นพิธีชุมนุมข้าราชการทุกหัวเมือง มีเจ้าประเทศราชขึ้นเฝ้าถวายเครื่องราชบรรณาการด้วย ในพิธีนี้พระเจ้าแผ่นดินทรงรับแขกด้วยเครื่องหมากพลู นางนพมาศได้คิดประดิษฐ์พานหมากสองชั้นร้อยกรองด้วยดอกไม้งดงาม พระร่วงทรงโปรดปรานและรับสั่งว่า ต่อไปผู้ใดจะทำการมงคลก็ดี รับแขกก็ดี ให้ใช้พานหมากรูปดังนางนพมาศประดิษฐ์ขึ้น ซึ่งเป็นต้นเหตุของพานขันหมากเวลาแต่งงาน ซึ่งยังคงใช้จนถึงปัจจุบัน

:b40: ครั้งที่ 3 นางได้ประดิษฐ์พนมดอกไม้ ถวายพระร่วงเจ้าเพื่อใช้บูชาพระรัตนตรัย พระร่วงทรงพอพระทัยในความคิดนั้น ตรัสว่า แต่นี้ต่อไปเวลามีพิธีเข้าพรรษาจะต้องบูชาด้วยพนมดอกไม้กอบัวนี้

:b41: :b44: :b41: :b44: :b41: :b44: :b41: :b44: :b41: :b44: :b41: :b44:

.....................................................
...รู้จักทำ รู้จักคิด รู้ด้วยจิต รู้ด้วยศรัทธา...
..................ศรัทธาธรรม..................


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2009, 01:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.ค. 2009, 08:36
โพสต์: 532

แนวปฏิบัติ: ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
สิ่งที่ชื่นชอบ: กรรมทีปนี , วิมุตติรัตนมาลี , ภูมิวิลาสินี
ชื่อเล่น: เจ้านาง
อายุ: 0
ที่อยู่: อยู่ในธรรม

 ข้อมูลส่วนตัว


:b44: พระราชพิธีจองเปรียง :b44:

:b41: เป็นพระราชพิธีที่จะกระทำในเดือนสิบสอง การพระราชพิธีจองเปรียง ลดชุดโคมลอยนี้ทำในเดือนสิบสอง ซึ่งปรากฏอยู่ในกฎมณเฑียรบาล แต่โบราณมีความเป็นอย่างไรนี้ไม่ได้กล่าวไว้โดยชัดเจน ส่วนการพระราชพิธีที่ทำอยู่ในปัจจุบันเป็นของพราหมณ์ ซึ่งเมื่อถึงพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่า ให้แทรกพิธีทางพุทธศาสนาไว้ ในการพระราชพิธีทั้งปวงด้วยเสมอ โดยโปรดเกล้า ฯ ให้มีการสวดมนต์เย็นฉันเช้าเป็นอย่างน้อย

:b41: ตามคำโบราณกล่าวว่าพิธีจองเปรียงนี้เป็นการพิธียกโคมขึ้นบูชาพระเป็นเจ้าทั้งสาม คือพระอิศวร พระนารายณ์และพระพรหมในศาสนาพราหมณ์ ครั้นเมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงมานับถือพระพุทธศาสนาแล้ว พระราชพิธีนี้จึงเป็นการบูชาพระบรมสารีริกธาตุ พระจุฬามณีในสวรรค์ชั้นดาวดึง และพระพุทธบาท ได้กำหนดการยกโดยไว้ว่า ถ้าปีใดที่มีอธิกามาส ให้ยกโคมขึ้นตั้งแต่วันแรม 14 ค่ำ ถึงวันขึ้น 1 ค่ำ เดือนอ้ายเป็นวันลดโคม หรืออีกนัยหนึ่ง กำหนดตามโหราศาสตร์ว่า พระอาทิตย์ถึงราศรีพฤศจิก พระจันทร์อยู่ราศรีพฤษภ เมื่อใด เมื่อนั้นเป็นกำหนดที่จะยกโคม หรืออีกนัยหนึ่งกำหนดด้วยดวงดาวกฤติกา คือ ดาวลูกไก่ ถ้าเห็นดาวลูกไก่นั้นตั้งแต่หัวค่ำจนรุ่งเมื่อใด เมื่อนั้นเป็นเวลายกโคม

:b41: อนึ่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อเสด็จพระราชดำเนินประพาสตามหัวเมือง มีพระราชวังแห่งใดก็โปรดให้ยกเสาโคมชัย สำหรับพระราชวังนั้นด้วยเสมอ

:b41: วันลอยกระทง ณ กรุงสุโขทัยโบราณนั้น เป็นพิธีใหญ่ และครึกครื้นมาก จัดขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 เรียกว่า พระราชพิธีจองเปรียง โดยบรรดาประชาชนชายหญิงต่างตกแต่งโคมชักแขวน และลอยกันทั่วนคร ข้าราชการและนางสนมกำนัลต่างทำโคม ร้อยด้วยบุปผาชาติเป็นรูปลวดลายวิจิตรพิสดาร เข้าประกวดกัน

:b41: นางนพมาศ ซึ่งเป็นข้าพระบาทสมเด็จพระร่วง จึงได้ทำโคมเข้าประกวด โดยแต่งโคมให้งามประหลาดกว่าโคมพระสนมทั้งปวง โดยประดับเป็นรูปดอกกระมุท สมเด็จพระร่วงเจ้า พอพระทัยมาก จึงประกาศว่า "แต่นี้สืบไปเบื้องหน้า กษัตริย์ในสยามประเทศ ถึงการกำหนดนักขัตฤกษ์ วันเพ็ญเดือน 12 พระราชพิธีจองเปรียง แล้ว ก็ให้กระทำโคมลอยเป็นรูปดอกกระมุท อุทิศสักการะบูชา พระพุทธมหานัมมทานที ตราบเท่ากัลปาวสาน"

:b41: พระราชพิธีจองเปรียงนี้ต่อมาภายหลังจึงเรียกว่าลอยกระทงทรงประทีป และถ้าเป็นพิธีของชาวบ้านราษฎรทั่วไปเรียกว่า ลอยกระทง

:b41: :b44: :b41: :b44: :b41: :b44: :b41: :b44: :b41: :b44: :b41: :b44:

.....................................................
...รู้จักทำ รู้จักคิด รู้ด้วยจิต รู้ด้วยศรัทธา...
..................ศรัทธาธรรม..................


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2009, 01:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.ค. 2009, 08:36
โพสต์: 532

แนวปฏิบัติ: ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
สิ่งที่ชื่นชอบ: กรรมทีปนี , วิมุตติรัตนมาลี , ภูมิวิลาสินี
ชื่อเล่น: เจ้านาง
อายุ: 0
ที่อยู่: อยู่ในธรรม

 ข้อมูลส่วนตัว


:b44: พระราชพิธีคเชนทรัศวสนาน :b44:

:b41: เป็นพิธีของพราหมณ์พฤติบาศทอดเชือก ดามเชือกเป็นกระบวนเรื่องคชกรรมการของหมอช้าง ทำเพื่อให้เจริญสิริมงคลแก่ช้าง ซึ่งเป็นพระราชพาหนะและเป็นกำลังแผ่นดิน และบำบัดเสนียดจัญไรในผู้ซึ่งเกี่ยวข้องอยู่ในการช้างทั้งปวง แต่การพิธีนี้เฉพาะเหมาะกับคราวที่ควรจะประกอบการอื่นหลาย ๆ อย่าง เช่นเดียวกับช้างและม้า เป็นต้น พิธีนี้ทำปีละสองครั้ง คือทำเดือนห้าครั้งหนึ่งกับเดือนสิบอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้พระเจ้าแผ่นดินทอดพระเนตรตรวจตราชมเชยราชพาหนะทั้งปวงปีละสองครั้ง และเป็นการตระเตรียมเครื่องสรรพศาสตราวุธ และพลทหารให้พร้อมมูลอยู่เสมอ :b41: :b41: :b41:

.....................................................
...รู้จักทำ รู้จักคิด รู้ด้วยจิต รู้ด้วยศรัทธา...
..................ศรัทธาธรรม..................


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2009, 01:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.ค. 2009, 08:36
โพสต์: 532

แนวปฏิบัติ: ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
สิ่งที่ชื่นชอบ: กรรมทีปนี , วิมุตติรัตนมาลี , ภูมิวิลาสินี
ชื่อเล่น: เจ้านาง
อายุ: 0
ที่อยู่: อยู่ในธรรม

 ข้อมูลส่วนตัว


:b44: การลอยพระประทีป :b44:

:b41: การลอยพระประทีปลอยกระทงนี้ เป็นนักขัตฤกษ์รื่นเริงทั่วไปไม่เฉพาะแต่การฉลอง และไม่นับว่าเป็นพระราชพิธีเพราะไม่มีพระสงฆ์ หรือพิธีพราหมณ์อันใดเข้ามาเกี่ยวข้อง การลอยพระประทีปนี้มีเนื้อความเข้าเค้าเรื่องนพมาศ ซึ่งได้เกิดขึ้นในแผ่นดินพระร่วงในสมัยกรุงสุโขทัย :b41: :b41: :b41:

.....................................................
...รู้จักทำ รู้จักคิด รู้ด้วยจิต รู้ด้วยศรัทธา...
..................ศรัทธาธรรม..................


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2009, 09:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

สาธุครับ เจ้านาง

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ย. 2009, 13:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ม.ค. 2009, 20:45
โพสต์: 1094

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลอยกระทง ลอยความทุกข์ให้ออกจากจิตกันครับ

:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 26 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร