วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 18:40  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2012, 20:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 09:07
โพสต์: 761

แนวปฏิบัติ: อานาปาฯ
งานอดิเรก: ศึกษาพุทธธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม
ชื่อเล่น: ปลีกวิเวก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่า พรรษา แปลว่า ฤดูฝน ปีหนึ่งก็ผ่านฤดูฝนครั้งหนึ่ง คนที่อยู่มาเท่านั้นฝนเท่านี้ฝนก็คืออยู่มาเท่านั้นปี ดังนั้น ในที่ทั่วๆ ไปจึงแปลพรรษากันว่า ปี คำว่า เข้าพรรษา ก็คือ เข้าฤดูฝน คือถึงเวลาที่จะต้องหยุดการเดินทางในฤดูฝน พักอยู่ในที่ใดที่หนึ่งเป็นประจำ โดยไม่ไปแรมคืนที่อื่น เพราะเหตุนี้ จึงมีคำเกิดขึ้นอีกคำหนึ่งคือคำว่า จำพรรษา คำว่า จำพรรษา ก็คือ อยู่วัดประจำในฤดูฝน หมายความว่าพระสงฆ์จะต้องอยู่ในวัดที่ตนอธิษฐานพรรษา ตลอดสามเดือนในฤดูฝน จะไปแรมคืนที่อื่นไม่ได้ นอกจากมีเหตุจำเป็น คำว่า วันเข้าพรรษา ก็คือ วันที่พรสงฆ์ทำพิธีอธิฐานพรรษาซึ่งเป็นวันแรกของการจำพรรษานั่นเอง "อธิษฐาน" แปลว่า ตั้งใจกำหนดแน่นอนลงไป "อธิษฐานพรรษา" ก็คือตั้งใจกำหนดแน่นอนลงไปว่าจะอยู่ประจำ ณ ที่นั้นตลอด ๓ เดือนในฤดูฝน กาลที่นิยมว่าเป็นฤดูฝน ที่เรียกในบาลีว่า วสฺสาน นั้นมีกำหนด ๔ เดือนคือตั้งแต่แรม ๑ ค่ำเดือน ๘ จนถึง ขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒ การจำพรรษาของพระสงฆ์มีกำหนด ๓ เดือน การจำพรรษานั้นมี ๒ ระยะ ระยะแรก เรียกว่า ปุริมพรรษา แปลว่า พรรษาแรก หรือพรรษาต้น เริ่มตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ จนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ระยะหลังเรียกว่า ปัจฉิมพรรษา แปลว่า พรรษาหลัง เริ่มตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๙ จนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒

.....................................................
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุสเส
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่ความดี คือผู้ที่ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์และเทวดา
วรรคทอง วรรคธรรม โดยท่าน ว.วชิรเมธี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2012, 21:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 09:07
โพสต์: 761

แนวปฏิบัติ: อานาปาฯ
งานอดิเรก: ศึกษาพุทธธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม
ชื่อเล่น: ปลีกวิเวก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วันแรม ๑ ค่ำเดือน ๘ เป็นวันเข้าปุริมพรรษา วันแรม ๑ ค่ำเดือน ๙ เป็นวันเข้าปัจฉิมพรรษา

การที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตวันเข้าพรรษาไว้ ๒ วันคือ วันเข้าปุริมพรรษาและวันปัจฉิมพรรษานั้น ก็เพื่อให้พระสงฆ์ที่จำพรรษาในวันเข้าปุริมพรรษาไม่ทันด้วยเหตุจำเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง สามารถเลื่อนไปเริ่มจำพรรษาในวันเข้าปัจฉิมพรรษา

การจำพรรษา และวันเข้าพรรษา ถึงจะมีเป็นสองอย่างก็จริงแต่ที่ถือเป็นสำคัญและปฏิบัติกันโดยทั่วไปนั้น ก็คือ วันเข้าปุริมพรรษาซึ่งเป็นวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ และไปครบสามเดือนในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ซึ่งเป็นวันออกพรรษา ยังเหลือเวลาอีก ๑ เดือน ท้ายฤดูฝน สำหรับเตรียมตัวเพื่อเดินทางไปในที่ต่างๆ ต่อไป ฉะนั้นในทางปฏิบัติ เมื่อพูดถึงวันเข้าพรรษา ก็หมายถึงวันเข้าปุริมพรรษานั้นเอง

มูลเหตุที่พระสงฆ์ต้องจำพรรษา กล่าวความตามบาลี วัสสูปนายิกาขันธกะ คัมภีรค์มหาวรรค พระวินัยปิฎก ๑ ว่า ในม้ชฌิมประเทศสมัยโบราณคืออินเดียตอนเหนือ เมื่อถึงฤดูฝนพื้นที่ย่อมเป็นโคลนเลนทั่วไป ไม่สะดวกแก่การเดินทาง คราวหนึ่ง มีพระพวกที่เรียกว่าฉัพพัคคีย์ คือเป็นกลุ่มมี ๖ รูปด้วยกัน ไม่รู้จักกาล เที่ยวไปมาทุกฤดูกาล ไม่หยุดพักเลย แม้ในฤดูฝนก็ยังเดินทางเที่ยวเหยียบย่ำข้าวกล้าหญ้าระบัดและสัตว์เล็กๆ ตาย คนทั้งหลายพากันติเตียนว่า ในฤดูฝนแม้พวกเดียรถีร์และปริพาชกเขาก็ยังหยุด ที่สุดจนนกก็ยังรู้จักทำรังบนยอดไม้เพื่อหลบฝน แต่พระสมณศากยบุตรทำไมจึงยังเที่ยวอยู่ทั้งสามฤดู เหยียบย่ำข้าวกล้าและต้นไม้ที่เป็นของเป็นอยู่ และทำสัตว์ให้ตายเป็นอันมาก ความทราบถึงพระพุทธเจ้า พระองค์จึงทรงอนุญาตให้พระสงฆ์อยู่ประจำที่ในฤดูฝนในที่แห่งเดียวเป็นเวลา ๓ เดือน เรียกว่า จำพรรษา ด้วยเหตุนี้พระสงฆ์จึงต้องจำพรรษา และมีวันเข้าพรรษาสืบมาจนบัดนี้

สถานที่ที่พระสงฆ์จำพรรษานั้น พระพุทธเจ้าทรงห้ามไม่ให้จำพรรษาในที่กลางแจ้ง ในโพรงไม้ และในตุ่มหรือในหลุมขุดซึ่งไม่ใช่เสนาสนะคือไม่ใช่ที่อยุ่ที่อาศัย ทรงอนุญาตให้จำพรรษาในกุฏิที่มุงที่บังมีหลังคาและฝารอบขอบชิด อยู่ให้ครบ ๓ เดือน ถ้าอยู่ไม่ครบ ๓ เดือน หลีกไปเสีย พรรษาขาดและต้องอาบัติคือมีโทษ แต่เป็นโทษขนาดเบา เรียกว่าอาบัติทุกกฎ ถ้ามีภัยอันตรายเกิดขึ้น จะอยู่ในที่นั้นไม่ได้ เช่น น้ำท่วม หรือชาวบ้านถิ่นนั้นอพยพไปอยู่ที่อื่น เป็นต้น อนุญาตให้ไปในระหว่างพรรษาได้ ไม่เป็นอาบัติหรือมีกิจจำเป็นที่จะต้องไปแรมคืนที่อื่น เช่น กิจนิมนต์ กิจเกี่ยวกับพระศาสนา ตลอดจนอุปัชฌาย์อาจารย์อาพาธ เป็นต้น อนุญาตให้ไปด้วยสัตตาหกรณียะ คือกิจที่ไปทำแล้วกลับมาให้ทันภายใน ๗ วัน พรรษาไม่ขาด

(จากหนังสือ วันสำคัญของชาวพุทธไทย พิมพ์ครั้งที่ ๓)

.....................................................
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุสเส
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่ความดี คือผู้ที่ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์และเทวดา
วรรคทอง วรรคธรรม โดยท่าน ว.วชิรเมธี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2012, 17:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2758


 ข้อมูลส่วนตัว


onion :b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 4 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร