ลานธรรมจักร http://dhammajak.net/forums/ |
|
ความสำคัญแห่งคัมภีร์ในพระพุทธศาสนา (มมร.) http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=21272 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | กุหลาบสีชา [ 25 มี.ค. 2009, 18:49 ] |
หัวข้อกระทู้: | ความสำคัญแห่งคัมภีร์ในพระพุทธศาสนา (มมร.) |
ค ว า ม สำ คั ญ แ ห่ ง คั ม ภี ร์ ใ น พ ร ะ พุ ท ธ ศ า ส น า มหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ พระพุทธวจนะ คือ พระไตรปิฏก รวมเป็นศาสนธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า จัดเป็นองค์ ๙ คือ • สุคตะ ได้แก่ อุภโตวิภังค์ นิทเทส ขันธกะ ปริวาร พระสูตรต่างๆ มี มงคลสูตร เป็นตน • เคยยะ คือ พระสูตรที่ประกอบด้วยพระคาถาทั้งหมด • เวยยากรณะ คือพระอภิธรรมปิฏกทั้งหมด พระสูตรที่ไม่มีคาถา และพุทธวจนะที่ไม่ได้จัดเขาในองค์ ๘ ได้ชื่อว่า เวยยกรณะ ทั้งหมด • คาถา คือพระธรรมบท เถรคาถา เถรีคาถา และคาถาล้วนๆ ที่ไม่มีชื่อว่าสูตรใน สุตตนิบาต • อุทาน คือ พระสูตร ๘๒ สูตร ที่พระพุทธเจ้าทรงเปล่งด้วยโสมนัสญาณ • อตอวุตตกะ คือพระสูตร ๑๑๐ สูตร ที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า ข้อนี้สมจริง ดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ • ชาดก เป็นการแสดงเรื่องในอดีตชาติของพระพุทธเจ้า มี อปัณกชาดก เป็นต้น มีทั้งหมด ๕๕๐ • อัพภูตธรรม คือพระสูตรที่ปฏิสังคยุตด้วยอัจฉริยภูตธรรมทั้งหมด • เวทัลละ คือระเบียบคำที่ผู้ถามได้ความรู้แจ้งและความยินดี แล้วถามต่อๆ ขึ้นไป ดัง จูฬเวทัลลสูตร มหาเวทัลลสูตร สัมมาทิฏฐิสูตร และสักกปัญหสูตร เป็นต้น พระพุทธวจนะเหล่านี้ โดยสภาพแห่งธรรมแล้ว เป็นธรรมที่ลึกซึ้งรู้ได้ยาก รู้ตามเห็นตามได้ยาก สงบ ประณีต ไม่อาจจะรู้ได้ด้วยการตรึกเอง ละเอียดเป็นธรรมอันบัณฑิตจะรู้ได้ เพราะสภาวะแห่งธรรมมีลักษณะดังกล่าว จึงจำต้องชี้แจงให้เกิดความเข้าใจทั้งโดย อรรถะ และพยัญชนะ เพื่อให้หยั่งรู้ธรรมทั้งหลายตามความเป็นจริงในเรื่องนั้น เนื่องจากพื้นเพอัธยาศัยของคนแตกต่างกันในด้านต่างๆ ซึ่งทรงอุปมาไว้เหมือนดอกบัว ๔ เหล่า พระพุทธเจ้าจึงทรงมีวิธีในการแสดงธรรม ตามอาการสอนธรรมของพระองค์ ๓ ประการ คือ (มีต่อ) |
เจ้าของ: | กุหลาบสีชา [ 25 มี.ค. 2009, 18:57 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ความสำคัญแห่งคัมภีร์ในพระพุทธศาสนา : มมร. |
๑. ทรงสอนให้ผู้ฟังรู้ยิ่ง เห็นจริงในสิ่งที่ควรรู้ควรเห็น ๒. ทรงแสดงธรรมมีเหตุที่ผู้ฟังอาจตรองตามให้เห็นจริงๆ ได้ ๓. ทรงแสดงธรรมเป็นอัศจรรย์ คือ ผู้ปฏิบัติตามจะได้รับประโยชน์ตามสมควรแก่การประพฤติปฏิบัติ แต่เพราะพระพุทธเจ้าทรงประกอบด้วยปาฏิหาริย์ ทรงฉลาดในการแสดงโวหาร เพราะทรงเป็นเจ้าแห่งธรรม ก่อนจะทรงแสดงธรรมแก่ใคร ทรงตรวจสอบภูมิหลังด้านต่างๆ ของคนเหล่านั้นด้วยพระญาณแล้ว ผลจากการฟังในพุทธสำนักจึงไม่มีปัญหาว่าคนฟังจะไม่เข้าใจ ผลจากการฟังธรรมสมัยพุทธกาลจึงมีความอัศจรรย์ หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว ทรงตั้งพระธรรมวินัยไว้เป็นพระศาสดาแทนพระองค์ ธรรมที่ทรงแสดงไว้ยังเป็นเช่นเดิม แต่ระดับ สติ ปัญญา บารมี ความสนใจธรรมของคนเปลี่ยนแปลงไป ทำให้การตีความพระธรรมวินัย ตามความเข้าใจของตนเองเกิดขึ้น จนทำให้ สูญเสียความเสมอกันในด้านศีล และทิฏฐิ ครั้งแล้วครั้งเล่า บางสมัยเกิดแยกกันเป็นนิกายต่างๆ ถึง ๑๘ นิกาย พระอรรถกถาจารย์ผู้ทราบพุทธาธิบาย ทั้งโดยอรรถะ และพยัญชนะแห่งพระพุทธวจนะ เพราะการศึกษาจำต้องสืบต่อกันมาตามลำดับ มีฉันทะอุตสาหะอย่างสูงมาก ได้อรรถาธิบายพระพุทธวจนะในพระไตรปิฏกส่วนที่ยากแก่การเข้าใจ ให้เกิดความเข้าใจง่ายขึ้นสำหรับผู้ศึกษาปฏิบัติ ความสำคัญแห่งคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาจึงมีลดหลั่นกันลงมา คือ • พ ร ะ สู ต ร คือ พระพุทธวนะที่เรียกว่า พระไตรปิฏก ทั้ง พระวินัยปฏิก พระสัตตันปิฏก และพระอภิธรรมปิฏก • สุ ต า นุ โ ล ม คือพระคัมภีร์ที่พระอรรถกถาจารย์รจนาขึ้น อธิบายข้อความที่ยากในพระไตรปิฏก • อ า จ า ริ ย ว า ท วาทะของอาจารย์ต่างๆ ตั้งแต่ชั้นฎีกา อนุฎีกา และบุรพจารย์ในรุ่นหลัง • อั ต โ น มั ติ ความคิดเห็นของผู้พูด ผู้แสดงธรรมในพระพุทธศาสนา ในกาลต่อมา มีการอธิบายธรรมประเภทอาจาริยวาท คือ ถือตามที่อาจารย์ของตนสอนไว้ กับอัตโนมัติว่าไปตามคติของตนกันมากขึ้น ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะคัมภีร์พระพุทธศาสนา ที่เป็นหลักสำคัญคือพระไตรปิฏกและอรรถกถามีไม่แพร่หลาย อรรกถาส่วนมากยังคงเป็นภาษาบาลี คนมีฉันทะในภาษาบาลีน้อยลง สำนวนภาษาที่แปลออกมาแล้วยังยากต่อการทำความเข้าใจ ของคนที่ไม่ได้ศึกษามาก่อน จากกัลยาณมิตรที่เป็นสัตตบุรุษในพระพุทธศาสนา เป็นต้น การอธิบายธรรมที่เป็นผลจากการตรัสรู้ ของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น เป็นอันตรายมาก เพราะโอกาสที่จะเข้าใจผิด พูดผิด ปฏิบัติผิดมีได้ง่าย พระไตรปิฏกเป็นเสมือนรัฐธรรมูญ กฎหมายโดยทั่วไปจะขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญไม่ได้ฉันใด การอธิบายธรรมขัดแย้งกับพระไตรปิฏก พุทธศาสนิกชนที่ดีย่อมถือว่าทำไม่ได้เช่นเดียวกันฉันนั้น (คัดลอกบางตอนมาจาก : คำนำ ใน พระสูตร และอรรถกถา แปล ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่มที่ ๑ ภาคที่ ๒ ตอนที่ ๑, มหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ พิมพ์เนื่องในวโรกาส ครบ ๒๐๐ ปี แห่งพระราชวงศ์จักรี กรุงรัตนโกสินทร์ พุทธศักราช ๒๕๒๕) |
เจ้าของ: | อมิตาพุทธ [ 07 มิ.ย. 2009, 02:07 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ความสำคัญแห่งคัมภีร์ในพระพุทธศาสนา : มมร. |
อนุโมทนา สาธุครับ |
เจ้าของ: | น้องพลอย [ 20 ม.ค. 2018, 21:15 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ความสำคัญแห่งคัมภีร์ในพระพุทธศาสนา : มมร. |
เจ้าของ: | Duangtip [ 02 มิ.ย. 2020, 13:36 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ความสำคัญแห่งคัมภีร์ในพระพุทธศาสนา (มมร.) |
อัศจรรย์แห่งธรรมดีแท้ ขออนุโมทนา สาธุๆๆ ค่ะ |
เจ้าของ: | ดาราวรรณ [ 28 มี.ค. 2023, 12:55 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ความสำคัญแห่งคัมภีร์ในพระพุทธศาสนา (มมร.) |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |