วันเวลาปัจจุบัน 09 ต.ค. 2024, 08:32  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 50 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 เม.ย. 2010, 10:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


๏ ต้นไม้ที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ๒๙ พระองค์

ต้นไม้ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ที่สามารถนำมาประมวลไว้ ณ ที่นี้ มีต้นไม้ที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ๒๙ พระองค์ โดยต้นไม้ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าองค์ที่ ๑ ถึงองค์ที่ ๓ พบในชินกาลมาลีปกรณ์ และต้นไม้ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าองค์ที่ ๔ ถึงองค์ที่ ๒๙ พบในพุทธวงศ์ อันมีความดังต่อไปนี้

๑. พระตัณหังกร ไม้สัตตปัณณะ (ตีนเป็ดขาว)

๒. พระเมธังกร ไม้กิงสุกะ (ทองกวาว)

๓. พระสรณังกร ไม้ปาตลี (แคฝอย)

๔. พระที่ปังกร ไม้ปิปผลิ (เลียบ)

๕. พระโกณฑ์ญญะ ไม้สาลกัลยาณี (ขานาง)

๖. พระมังคละ ไม้นาคะ (กากะทิง)

๗. พระสุมนะ ไม้นาคะ (กากะทิง)

๘. พระเรวตะ ไม้นาคะ (กากะทิง)

๙. พระโสภิตะ ไม้นาคะ (กากะทิง)

๑๐. พระอโนมทัสสี ไม้อัชชุนะ (รกฟ้าขาว)

๑๑. พระปทุมะ ไม้มหาโสณะ (อ้อยช้าง, คำมอก)

๑๒. พระนารทะ ไม้มหาโสณะ (อ้อยช้าง, คำมอก)

๑๓. พระปทุมุทตระ ไม้สลฬะ (สน)

๑๔. พระสุเมธะ ไม้มหานิมพะ (สะเดาป่า)

๑๕. พระสุชาตะ ไม้มหาเวฬุ (ไผ่ใหญ่)

๑๖. พระปิยทัสสี ไม้กกุธะ (กุ่ม)

๑๗. พระอัตถทัสสี ไม้จัมปกะ (จำปาป่า)

๑๘. พระธัมมทัสสี ไม้พิมพชาละ หรือกุรวกะ (มะพลับ, ซ้องแมว)

๑๙. พระสิทธัตถะ ไม้กัณณิการะ (กรรณิการ์)

๒๐. พระติสสะ ไม้อสนะ (ประดู่ลาย)

๒๑. พระปุสสะ ไม้อามลกะ (มะขามป้อม)

๒๒. พระวิปัสสี ไม้ปาตลิ (แคฝอย)

๒๓. พระสิขี ไม้ปุณฑริกะ (มะม่วงป่า)

๒๔. พระเวสสภู ไม้มหาสาละ (สาละใหญ่)

๒๕. พระกะกุสันธะ ไม้มหาสิริสะ (ซึกใหญ่)

๒๖. พระโกนาคมนะ ไม้อุทุมพระ (มะเดื่อ)

๒๗. พระกัสสปะ ไม้นิโครธ (ไทร, กร่าง)

๒๘. พระโคตมะ คือ พระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน พระพุทธเจ้าพระบรมศาสดาของเราทั้งหลาย ไม้อัสสัตถะ (พระศรีมหาโพธิ)

๒๙. พระเมตไตรย คือ พระพุทธเจ้าในอนาคตกาลข้างหน้า ไม้นาคะ (กากะทิง)



มีต่อ >>> หมวดที่ ๕ - พุทธจริยา

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 เม.ย. 2010, 10:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


หมวดที่ ๕ - พุทธจริยา

๏ พุทธกิจประจำวัน ๕ ประการ
และพุทธจริยา ๓ ประการ


งานการสอนธรรมเพื่อประดิษฐานพระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้า เป็นงานที่ละเอียดประณีต เพราะทรงมุ่งให้เป็นธรรมที่เกื้อกูลแก่คนทั้งปวงและอำนวยผลให้เป็นความสุข พระพุทธเจ้าจึงทรงมีกิจหลักที่เรียกว่า พุทธกิจ ในแต่ละวันทรงมีพุทธกิจหลัก ๕ ประการ เพื่อบำเพ็ญพุทธจริยา ๓ ประการของพระพุทธเจ้าให้สมบูรณ์ คือ

พุทธจริยาประการที่หนึ่ง โลกัตถจริยา ทรงบำเพ็ญประโยชน์แก่โลก ในฐานะที่พระองค์เป็นสมาชิกคนหนึ่งของสังคมโลก ความสำเร็จในจริยาข้อนี้ทรงอาศัยพุทธกิจประจำวัน ๕ ประการคือ

พุทธกิจประการที่ ๑ เวลาเช้าเสด็จออกบิณฑบาต เพื่อเป็นการโปรดสัตว์โลกผู้ต้องการบุญ

พุทธกิจประการที่ ๒ ในเวลาเย็นทรงแสดงธรรมแก่คนผู้สนใจในการฟังธรรม

พุทธกิจประการที่ ๓ ในเวลาค่ำทรงประทานพระโอวาทให้กรรมฐานแก่ภิกษุทั้งหลาย

พุทธกิจประการที่ ๔ ในเวลาเที่ยงคืนทรงแสดงธรรม และตอบปัญหาแก่เทวดาทั้งหลาย

พุทธกิจประการที่ ๕ ในเวลาใกล้รุ่งทรงตรวจดูสัตว์โลกที่อาจจะรู้ธรรมซึ่งประองค์ทรงแสดง แล้วได้รับผลตามสมควรแก่อุปนิสัยบารมีของคนเหล่านั้น

พุทธกิจประการที่ ๕ นี้เอง เป็นจุดเด่นในการทำงานของพระพุทธเจ้า จนทำให้ผู้ศึกษาพระพุทธศาสนา บางคนมีความรู้สึกว่าทำไมคนแต่ก่อนสำเร็จกันง่ายเหลือเกิน ถ้าศึกษารายละเอียดแล้วจะพบว่าไม่มีคำว่าง่ายเลย เพราะนอกจากจะอาศัยวาสนาบารมีของคนเหล่านั้นเป็นฐานอย่างสำคัญแล้ว การแสดงธรรมของพระองค์นั้น เป็นระบบการทำงานที่มีการศึกษาข้อมูล การประเมินผล การสรุปผลในการแสดงธรรมทุกคราว

หลังจากที่บุคคลนั้นๆ ปรากฏในข่ายพระญาณของพระพุทธเจ้า คือ ทรงรู้ว่าเขาเป็นใคร ? มีอุปนิสัยบารมีอย่างไร ? แสดงธรรมอะไรจึงได้ผล ? หลังจากแสดงธรรมแล้วผลจะออกมาเป็นอย่างไร ? ดังนั้น การแสดงธรรมทุกครั้งของพระพุทธองค์ จึงบังเกิดผลเป็นอัศจรรย์เพราะจะทรงแสดงเฉพาะแก่ผู้เป็นพุทธเวไนย คือ สามารถแนะนำให้รู้ได้เป็นหลัก

พุทธจริยาประการที่สอง ญาตัตถจริยา ทรงบำเพ็ญประโยชน์แก่พระญาติ เช่น การทรงมีพระพุทธานุญาตพิเศษให้พรญาติของพระองค์ที่เป็นเดียรถีย์ (นักบวชภายนอกพระพุทธศาสนา) มาก่อน ให้เข้าบวชในพรุพุทธศาสนาได้ โดยไม่ต้องอยู่ติตถิยปริวาสก่อน (ติตถิยปริวาส คือ วิธีอยู่กรรมสำหรับเดียรถีย์ที่ขอบวชในพระพุทธศาสนา จะต้องประพฤติปริวาส (การอยู่ชดใช้หรืออยู่กรรม) ก่อน ๔ เดือน หรือจนกว่าพระสงฆ์พอใจ จึงจะอุปสมาบทได้) หรือการที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดพระญาติที่กรุงกบิลพัสดุ์ ทรงแนะนำให้พระญาติซึ่งกำลังจะทำสงครามกันได้เข้าใจในเหตุผล สามารถปรองดองกันได้

พุทธจริยาประการที่ ๓ พุทธัตถจริยา ทรงทำหน้าที่ของพระพุทธเจ้า เช่น ทรงวางสิกขาบทเป็นพุทธอาณา สำหรับควบคุมความประพฤติของผู้ที่เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา ทรงแนะนำให้บรรพชิตและคฤหัสถ์ปฏิบัติให้ถูกต้องตามหน้าที่ของตน ทรงวางพระองค์ต่อผู้ที่เข้ามาบวชและแสดงตนเป็นอุบาสกอุบาสิกา ในฐานะของบิดากับบุตร ผู้ปกครองกัลยาณมิตร ศาสดาผู้เอ็นดู เป็นต้น ตามสมควรแก่บุคคลและโอกาสนั้นๆ จนสามารถประดิษฐานเป็นรูปสถาบันศาสนาสืบต่อกันมาได้



มีต่อ >>> ๏ หลักในการตอบ ๔ วิธี

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 เม.ย. 2010, 10:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


๏ หลักในการตอบ ๔ วิธี

คนที่เฝ้าพระพุทธเจ้านั้นมีทุกระดับฐานะทางสังคม คือ จากบุคลระดับพระเจ้าแผ่นดินผู้ครองแคว้น ลงไปจนถึงจัณฑาลที่เป็นวรรณะต้องห้ามสำหรับคนในสมัยนั้น เจตนารมณ์ในการมาเฝ้าพระบรมศาสดานั้นก็แตกต่างกันออกไป โดยเฉพาะคนที่ถือตนเองว่าเป็นนักปราชญ์มักจะมาเฝ้าเพื่อต้องการทดสอบทำนองลองดีก็มีอยู่ไม่น้อย แต่ในฐานะพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงชี้แจงแสดงธรรมให้คนเหล่านั้นเข้าใจเหตุผลที่ถูกต้อง กลายเป็นคนอ่อนน้อมยอมตนนับถือพระพุทธเจ้าเป็นอันมาก จนถึงกับสร้างความริษยาอาฆาตให้เกิดขึ้นแก่กลุ่มผลประโยชน์ คือ คณาจารย์เจ้าลักธิที่มีอยู่ก่อน แม้ว่าคนเหล่านั้นเพียรพยายามทำลายพระบรมศาสดาด้วยวิธีการต่างๆ แต่ต้องพ่ายแพ้พุทธานุภาพไปในที่สุด

ในกรณีของคนที่มาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อถามปัญหานั้น พระบรมศาสดาทรงมีหลักในการตอบ ๔ วิธีด้วยกันคือ

๑. เอกังสพยากรณ์ พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ไปโดยส่วนเดียว อย่างเช่น ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นต้น

๒. วิภัชพยากรณ์ พระพุทธเจ้าทรงจำแนกตัวไปตามลักษณะของเรื่องนั้นๆ อย่างเช่น ปัญหาที่ว่าคนตายแล้วเกิดอีกหรือไม่ ? พระบรมศาสดาจะทรงตอบจำแนกไปตามเหตุผล คือ เมื่อเหตุให้เกิดมี อยู่การเกิดก็ต้องมี เมื่อไม่มีการเกิดก็ไม่มี

๓. ปฏิปุจฉาพยากรณ์ พระพุทธเจ้าทรงใช้ปัญหาที่ถามมานั้นเองย้อนถามไปอีกทีแล้วจะออกมาเป็นคำตอบเอง

๔. ฐปนียะ ปัญหาบางเรื่องบางอย่างเป็นเรื่องไร้สาระบ้าง ตั้งคำถามผิดบ้าง พูดไปแล้วไม่เกิดประโยชน์อะไรแก่ผู้ฟังบ้าง พระบรมศาสดาจะทรงนิ่งเสียไม่ตอบ เพราะพระพุทธเจ้าดำรัสทุกคราวของพระพุทธเจ้าวางอยู่บนหลักที่ว่า "ต้องเป็นเรื่องจริง เป็นธรรมมีประโยชน์ เหมาะสมแก่กาล คนฟังอาจจะชอบใจบ้าง ไม่ชอบใจบ้างก็ได้ แต่ถ้าคุณสมบัติ ๔ ประการข้างต้นมีอยู่จะตรัสพระดำรัสนั้น"



มีต่อ >>> ๏ หลักในการแสดงธรรม ๔ วิธี

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 เม.ย. 2010, 10:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


๏ หลักในการแสดงธรรม ๔ วิธี

ชมพูทวีปในสมัยพุทธกาลมีความเจริญก้าวหน้าในด้านศาสนาและปรัชญาอย่างสูง พระพุทธเจ้าจึงเปรียบด้วยประทีปดวงใหญ่ในท่ามกลางดวงประทีปเป็นอันมาก ชนชาวชมพูทวีรอคอยพระศาสดาเช่นพระพุทธองค์มานาน เมื่อบังเกิดขึ้นในโลกจริงๆ จนมีพยานยืนยันการตรัสรู้ของพระองค์เป็นอันมาก และคนที่มายอมตนเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าในยุคแรก ล้วนเป็นคนชั้นนำในสังคมทั้งนั้น คือ คณาจารย์ นักบวช พระราชา เศรษฐี ขุนนางอำมาตย์ และข้าราชการผู้ใหญ่ เป็นต้น การทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระองค์ จึงก้าวหน้าและประสบความสำเร็จในเวลาอันรวดเร็วมาก

ในช่วงตอนต้นพุทธกาลนั้น มีกษัตริย์ระดับมหาราช ๔ ประองค์ คือ พระเจ้าพิมพิสาร (แคว้นมคธ) พระเจ้าปเสนทิโกศล (แคว้นโกศล) พระเจ้าจัณฑปัชโชติ (แคว้นอวันตี) และพระเจ้าอุเทน (แคว้นวังสะ) ทรงแสดงตนเป็นอุบาสกนับถือพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาได้เผยแผ่เข้าสู่แคว้นต่างๆ ในชมพูทวีป เช่น สักกะ วัชชี มัลละ กุรุ ปัญจาละ อังคะ มคธ กาสี โกศล วังสะ อวันตี เป็นต้น ซึ่งเป็นการเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่รวดเร็วมาก โดยที่พระพุทธเจ้าไม่เคยอาศัยพระราชอำนาจของพระราชาเหล่านั้นเข้าช่วยสนับสนุนการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเลย พระพุทธเจ้าทรงมีหลักการในการแสดงธรรมของพระองค์ซึ่งอาจจัดได้เป็น ๔ วิธี คือ

๑. ยอมรับ พระพุทธเจ้าทรงยอมรับนับถือคำสอนของนักปราชญ์ต่างๆ ที่มีมาก่อนหรือร่วมสมัยกับพระองค์ ในกรณีที่คำสอนนั้นเป็นเรื่องจริงในธรรม มีประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัติ

๒. ปฏิวัติ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงแบบตรงกันข้าม เช่น คนในสมัยพุทธกาลถือว่า การทรมานตนให้ได้รับความลำบาก กับการแสวงหาความสุขจากกามคุณ เป็นทางแห่งความสุข ความหลุดพ้น พระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธตั้งแต่พระธรรมเทศนาครั้งแรกว่าเป็นหนทางที่บรรพชิตไม่ควรเสพ หรือเขาถือว่าการทรมานตนเป็นตบะ แต่พระพุทธเจ้าทรงแสดงว่าขันติเป็นบรมตบะ เขาสอนว่า การอยู่ร่วมกับปรมาตมันบรมพรหม พระพรหมว่าเป็นบรมธรรม พระบรมศาสดาทรงแสดงว่านิพพานเป็นบรมธรรม เป็นต้น

๓. ปฏิรูป คือ การเปลี่ยนแปลงหลักการ เจตจำนง และวิธีการที่มีอยู่ก่อนแล้ว อย่างเช่น เรื่องการจำพรรษา การลงอุโบสถ เป็นข้อปฏิบัติที่ทำกันมาก่อน พระพุทธเจ้าทรงปฏิรูปคือการเปลี่ยนแปลงหลักการ เจตจำนง และวิธีการที่มีอยู่ก่อนแล้ว พระพุทธศาสนาว่าภิกษุ สมณะ บรรพชิต นักบวช เป็นต้น ทรงปฏิรูปโดยนิยามความหมายเสียใหม่ เพราะการเผยแผ่ศาสนาจำต้องอาศัยถ้อยคำที่เขาพูดกันในสมัยนั้น จึงต้องใช้ตามโดยการนิยามความหมายเสียใหม่ คำในพระพุทธศาสนาเป็นอันมากที่ทรงแสดง จึงต้องมีการไขความให้เข้าใจตามหลักของพระพุทธศาสนา หลักการปฏิรูปจึงหมายถึงการกระทำความเชื่อนั้นๆ มีส่วนดีอยู่บ้าง แต่ยังมีความบกพร่องอยู่ จึงทรงปรับปรุงให้ดีขึ้นเพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติสมบูรณ์ขึ้น

๔. หลักการใหม่ พระพุทธเจ้าทรงตั้งหลักการขึ้นใหม่ คือ เรื่องนี้ไม่มีการสั่งสอนกันในสมัยนั้นเช่น หลักอริยสัจ ๔ ปฏิจจสมุปบาท อนัตตา นิพพาน เป็นต้น



มีต่อ >>> ๏ พุทธกิจ ๔๕ พรรษา

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 เม.ย. 2010, 12:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


๏ พุทธกิจ ๔๕ พรรษา

เมื่อพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในวันเพ็ญ เดือน ๖ ขณะมีพระชนมายุ ๓๕ พรรษา ในระหว่างเวลา ๔๕ ปี แห่งการบำเพ็ญพุทธกิจ จวบจนทรงดับขันธปรินิพานเมื่อพระชนมายุ ๘๐ พรรษานั้น พระพุทธเจ้าได้เสด็จไปประทับจำพรรษา ณ สถานที่ต่างๆ ซึ่งท่านได้ประมวลไว้พร้อมทั้งเหตุการณ์สำคัญบางอย่างอันควรสังเกตดังนี้

พรรษาที่ ๑ (ปีระกา)
ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้กรุงพาราณสี


ภายหลังจากพระมหาบุรุษตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ แล้วพระองค์ทรงประทับเสวยวิมุตติสุข คือ สุขอันเกิดแต่ความหลุดพ้นจากกิเลส อาสวะ และปวงทุกข์ ณ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เป็นเวลา ๗ สัปดาห์ จากนั้นพระพุทธเจ้าเสด็จดำเนินจากโพธมณฑล ดำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ ไปยังป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้กรุงพาราณสี แคว้นกาสี ใช้เวลาเสด็จพุทธดำเนิน ๑๑ วัน เสด็จถึงป่าอิสิปตนมฤคทายวันในเวลาเย็นวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๘ ปีระกา

พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา "ธัมมจักรกัปปนวัตตนสูตร" ทำให้เกิดมีปฐมสาวกและพระอริยบุคคลคือ พระอัญญาโกณฑัญญะเกิดสังฆรัตนะ คำรบพระรัตนตรัย มีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ขึ้นโดยบริบูรณ์ ในวันเพ็ญ เดือน ๘ อันเป็นที่มาขาองการบูชาในเดือน ๘ คือ "อาสาฬหบูชา"

พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมโปรดปัจจวัคคีย์ ได้บรรลุพระอรหันต์ทั้ง ๕ องค์ จากนั้นทรงแสดงธรรมโปรดพระยสะภิกษุสาวกองค์ที่ ๖ ของพระพุทธเจ้าได้บรรลุพระอรหัตถผล ครั้งนั้นมีบุตรเศรษฐีชาวเมืองพารณสี ๔ คน ซึ่งเป็นสหายรักของพระยสะ เข้าเฝ้าฟังธรรมได้อุปสมบท ๕๐ คน ได้สดับธรรมและอุปสมบทได้บรรลุพระอรหัตถผลด้วยกันทั้งหมด จึงเกิดมีพระอรหันต์รวมทั้งพระบรมศาสดาด้วย ๖๑ องค์

ในตอนปลายพรรษาที่ ๑ พระพุทธเจ้าเสด็จดำเนินไปยังตำบลอุรุเวลา ตำบลใหญ่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา แคว้นมคธ อีกครั้งหนึ่งทรงทรมานอุรุเวลากัสสปด้วยอิทธิปาฏิหาริย์ต่างๆ จนอุรุเวลกัสสปผู้เป็นคณาจารย์ใหญ่ของนักบวชชฏิล ละทิ้งลัทธิบูชาไฟยอมมอบตัวเป็นพุทธสาวกขอบรรพชา ทำให้ชลฎิผู้น้องอีกสองคนพร้อมบริวารออกบวชตามด้วยทั้งหมด ครั้นบวชแล้วได้ฟังเทศนาอาทิตตปริยายสูตรจากพระพุทธเจ้าก็ได้สำเร็จพระอรหัต ทั้งสามพี่น้องคณาจารย์ชฏิลพร้อมด้วยบริวารทั้งหมดรวมหนึ่งพันองค์ จากนั้นพระบรมศาสดาได้เสด็จสู่พระนครราชคฤห์

พรรษาที่ ๒-๓-๔ (ปีจอ-กุน-ชวด)
ณ พระเวฬุวันวิหาร พระนครราชคฤห์


พระพุทธเจ้าเสด็จไปประทับจำพรรษา ณ ลัฏฐิวัน สวนตาลหนุ่ม อยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของพระนครราชกฤห์ พระเจ้าพิมพิสารกษัตริย์ผู้ครองพระนครราชคฤห์ แคว้นมคธ เข้าเฝ้าพร้อมด้วยข้าราชบริพารจำนวนมาก ทรงสดับพระธรรมเทศนาได้ธรรมจักษุ ประกาศพระองค์เป็นอุบาสก และถวายพระเวฬุวัน ซึ่งเป็นป่าไผ่สวนที่ประพาสพักผ่อนของพระเจ้าพิมพิสาร อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากพระนครราชคฤห์ นครหลวงของแคว้นมคธ เป็นที่ร่มรื่นเงียบสงบ มีหนทางไปมาสะดวก พระเจ้าพิมพิสารถวายเป็นสังฆาราม นับเป็นวัดแรกในพระพุทธศาสนา ณ ที่นี้ พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษาที่ ๒-๓-๔ เป็นลำดับการแห่งการประดิษฐานพระพุทธศาสนาให้ตั้งมั่นในชมพูทวีป พระบรมศาสดาพร้อมด้วยพระอรหันต์สาวกทรงทุ่มเทจนพระพุทธศาสนาสามารถสถิตตั้งมั่นหยั่งรากลงลึกและแผ่กิ่งก้านสาขาไปสู่ปริมณฑลด้านกว้างในชมพูทวีป

ในลำดับกาลนี้ พระบรมศาสดาได้ทรงตั้งตำแหน่งคู่แห่งอัครสาวก คือ พรสารีบุตรเถระ เป็นอัครสาวกเบื้องขวา พระโมคคัลลานะ เป็นอัครสาวกเบื้องซ้าย พระพุทธเจ้าทรงเสด็จนครกบิลพัสดุ์เป็นครั้งแรกภายหลังจากตรัสรู้ อนาถบิณฑิกเศรษฐีแห่งนครสาวัตถี ประกาศตนเป็นอุบาสก และเริ่มต้นสร้างพระเชตุวันมหาวิหารเพื่อถวายแด่พระบรมศาสดา

พรรษาที่ ๕ (ปีฉลู)
ณ ป่ามหาวัน นครเวสาลี


ในพรรษานี้ พระพุทธเจ้าทรงจำพรรษาที่กูฏาคาร ณ ป่ามหาวัน นครเวสาลี (ไพศาลี) ในกาลนี้พระองค์ทรงเสด็จจากกูฏาคารไปโปรดพระพุทธบิดาที่กรุงกบิลพัสดุ์ และโปรดพระญาติทั้งฝ่ายศากยวงศ์และโกลิยวงศ์ ที่วิวาทเรื่องแย้งน้ำในแม่น้ำโรหิณีเพื่อการเกษตรกรรม โดยประทับที่นิโครธารามอันเป็นพระอารามที่พระญาติทรงสร้างถวายอยู่ใกล้กรุงกบิลพัสดุ์ พระนางมหาปชาบดีโคตมี พระน้านางของพระพุทธเจ้า ได้เข้าเฝ้าทูลอนุญาตให้สตรีละเรือนออกบวชในพระธรรมวินัย พระบรมศาสดาตรัสห้ามถึง ๓ ครั้ง

ต่อมาพระพุทธเจ้าเสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์กลับไปประทับจำพรรษาที่กูฏาคาร ป่ามหาวัน นครเวสลี ครั้งนี้พระนางมหาปชาบดีโคตรมี ถึงกับปลงผม นุ่งผ้ากาสาวะเอง ออกเดินทางพร้อมด้วยเจ้าหญิงศากยะ ๕๐๐ องค์มายังป่ามหาวัน ณ ที่นี้ พระบรมศาสดาทรงอนุญาตให้มีภิกษุณีสงฆ์ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยประทานอนุญาตให้พระนางมหาปชาบดีโคตมีบวชเป็นภิกษุณีด้วยวิธีรับคุรุธรรม ๘ ประการ ส่วนเจ้าหญิงศากยะที่ตามมาทั้งหมดพระพุทธเจ้าตรัสอนุญาตให้ภิกษุสงฆ์อุปสมบทให้

พรรษาที่ ๖ (ปีขาล)
ณ มกุลบรรพต


ในพรรษานี้พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษาที่มกุลพรรพต (สันนิษฐาว่า ภูเขานี้อยู่ในแคว้นมคธหรือแคว้นโกศล หรือบริเวณใกล้เคียง) แต่ใน "ปฐมสมโพธิกถา" ระบุว่า เสด็จไปสถิตบนมกุฎบรรพต ทรงทรมานหมู่อสูร เทพยดา และมนุษย์ให้ละเสียพยศอันร้ายแล้ว และให้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา

ในพรรษาที่ ๖ นี้ พระพุทธเจ้าทรงเสด็จไปแสดงยมกปาฏิหาริย์ที่นครสาวัตถิ คือ การแสดงน้ำคู่กับไฟ เพื่อสยบพวกเดียรถีย์นักบวชนอกศาสนาพุทธ ในที่สุดแห่งยมกปาฏิหาริย์ ธรรมาภิสมัยได้มีแก่พุทธบริษัทเพราะได้เห็นและได้ฟังธรรมเทศนาเป็นอเนก

พรรษาที่ ๗ (ปีเถาะ)
ณ ดาวดึงส์เทวโลก


เมื่อพระพุทธเจ้าแสดงยมกปาฏิหาริย์เสร็จสิ้นแล้ว พระบรมศาสดาเสด็จขึ้นเทวพิภพชั้นดาวดึงส์ทันที โดยทรงยกพระบาทขวาขึ้นจากจงกรมแก้วก้าวขึ้นเหยียบยอดภูเขายุคันธร แล้วยกพระบาทซ้ายก้าวขึ้นหยียบยอดเขาสิเนรุ ทรงประทับนั่งบนปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ภายใต้ร่มไม้ปาริชาต ท้าวสักกเทวราชจอมภพผู้ปกครองดาวดึงสเทวโลก สวรรค์ชั้นที่ ๒ ของสวรรค์ ๖ ชั้น เสด็จขึ้นสู่สุสิตเทวพิภพสวรรค์ชั้นที่ ๔ เข้าเฝ้าพระมหามายาเทพเจ้าผู้เป็นพระพุทธมารดา ทูลอัญเชิญให้เสด็จไปเฝ้าพระบรมศาสดาตามพุทธประสงค์

พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมโปรดพระพุทธมารดาตลอดสามเดือน เทพยาดาในโลกธาตุที่มาประชุมฟังธรรมอยู่ที่นั้นบรรลุมรรคผลสุดที่จะประมาณ ส่วนพระมหามายาเทพเจ้าผู้เป็นพระพุทธมาดา ได้ทรงบรรลุพระโสดาปัตติผล สมพระประสงค์ของพระบรมศาสดา

พรรษาที่ ๘ (ปีมะโรง)
ณ เภสกลาวัน ใกล้เมืองสุงสุมารคีรี


เมื่อพระพุทธเจ้าทรงเปิดโลกเสด็จลีลาลงจากดาวดึงส์สวรรค์ ในท่ามกลางเทพยาดาและพรหมเป็นอันมาก มหาชนทั้งหลายต่างแซ่ซ้องสาธุการเสียงสนั่นหวั่นไหว พระบรมศาสดาทรงเสด็จดำเนินสู่ป่าไม้สีเสียดเภสกลาวัน ใกล้เมืองสุงสุมารคีรี แคว้นภัคคะ ทรงประทับจำพรรษาที่ ๘ ณ ป่าไม้สีเสียดเภสกลาวัน

ในกาลนั้นมีสองสามีภรรยาคฤหบดีชาวเมืองสุงสุมารคีรี มีนามว่า นกุลบิดา และนกุลมารดา เข้าเฝ้าพร้อมกับชาวเมืองคนอื่นๆ พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมโปรด ทั้งสองสามีภรรยาได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน ท่านนกุลบิดาได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าให้เป็นเอตทัคคะในบรรดาอุบาสกผู้สนิทสนมคุ้นเคย ส่วนท่านนกุลมารดาก็ได้รับยกย่องให้เป็นเอตทัคคะในบรรดาอุบาสิกกาผู้สนิทสนมคุ้นเคย

พรรษาที่ ๙ (ปีมะเส็ง)
ณ วัดโฆษิตาราม เมืองโกสัมพี


ในพรรษที่ ๙ นี้ พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษาที่วัดโฆษิตาราม ซึ่งเป็นวัดสำคัญในกรุงโกสัมพี นครหลวงของแคว้นวังสะ พระบรมศาสดาทรงแสดงธรรมโปรดประชากรให้ตั้งอยู่นมรรคผลเป็นพุทธมามกะ ปฏิญาณตนตั้งอยู่ในพระรัตนตรัยเป็นจำนวนมาก

แต่ในกาลนั้น ภิกษุสงฆ์ในเมืองโกสัมพีเกิดแตกแยกกัน แม้พระพุทธเจ้าประทานโอวาทแล้วก็ยังดื้อดึงตกลงกันไม่ได้ จนถึงกับแบ่งแยกกันทำอุโบสถ ฝ่ายหนึ่งทำอุโบสถทำสังฆกรรมภายในสีมา แต่อีกฝ่ายหนึ่งออกไปทำอุโบสถทำสังฆกรรมภายนอกสีมา ภิกษุสงฆ์ได้เกิดการแตกแยกกันขั้นนี้เรียกว่า "สังฆเภท"

พรรษาที่ ๑๐ (ปีมะเมีย)
ณ ป่ารักขิตวัน ตำบลปาริเลยยกะ


พระพุทธเจ้าทรงปลีกพระองค์จากหมู่ภิกษุสงฆ์ผู้แตกแยกสร้างความวุ่นวายด้วยเหตุสังฆเภท พระบรมศาสดาเสด็จจากวัดโฆษิตาราม กรุงโกสัมพี เสด็จไปยังแดนบ้านแห่งหนึ่งชื่อ "ปาริเลยยกะ" อยู่ใกล้กรุงโกสัมพี พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าไปประทับ ณ ร่มไม้ภัทรสาละพฤกษ์ในป่ารักขิตวัน ตำบลปาริเลยยกะ ทรงประทับจำพรรษาที่ ๑๐ ด้วยความสงบสุข โดยมีพญาช้างปาริเลยยกะคอยบำรุงดูแลพิทักษ์และรับใช้พระบรมศาสดาอย่างใกล้ชิด

พรรษาที่ ๑๑ (ปีมะแม)
ณ ทักขิณาคีรี หมู้บ้านพราหมร์เอกนาลา


ในพรรษาที่ ๑๑ พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษา ณ ทักขิณาคีรี หมู่บ้านพราหมณ์ชื่อว่า เอกนาลา

พรรษาที่ ๑๒ (ปีวอก)
ณ เมืองเวรัญชา


ในพรรษาที่ ๑๒ นี้ พระพุทธเจ้าทรงจำพรรษาที่ปุจิมัณฑมูล ณ ควงไม้สะเดา ที่นเฬรุยักษ์สิงสถิต อยู่ใกล้เมืองเวรัญชา จากนั้นเสด็จออกจากเมืองเวรัญชา จาริกผ่านเมืองโสเรยยะ ผ่านเมืองท่าปยาคะ เสด็จออกจากเมืองโสเรยยะ ผ่านเมืองท่าปายาคะ เสด็จข้ามแม่น้ำคงคาที่เมืองท่าปายาคะ แล้วเสด็จไปยังเมืองพาราณสี จากนั้นเสด็จจาริกไปนครเวสาลี เข้าประทับที่กุฏิสำหรับพระภิกษุเป็นประถม กำหนดเป็นปฐมบัญญัติจัดเข้าในอุเทศแห่งพระปาฏิโมกข์ในพระพุทธศาสนา

พรรษาที่ ๑๓ (ปีระกา)
ณ จาลิยบรรพต


ในพรรษที่ ๑๓ นี้ พระพุทธทรงประทับจำพรรษาที่จาลิยบรรพต

พรรษาที่ ๑๔ (ปีจอ)
ณ พระเชตวันมหาวิหาร นครสาวัตถี


ในพรรษานี้พระพุทธเจ้าทรงประทับที่พระเชตวันมหาวิหารเป็นพรรษาแรก มหาวิหารแห่งนี้อนาถบิณฑิกเศรษฐีผู้เป็นมหาอุบาสกคนสำคัญสร้างถวาย เป็นมหาวิหารที่ใหญ่โต ยังความสะดวกและความสงบได้ยิ่งกว่าวิหารใดในชมพูทวีป พระพุทธเจ้าทรงประทับพรรษาอยู่ ณ มหาวิหารแห่งนี้ ถึง ๑๙ ฤดูฝน พระธรรมส่วนใหญ่แสดงที่มหาวิหารแห่งนี้

พรรษาที่ ๑๕ (ปีกุน)
ณ นิโครธาราม นครกบิลพัสดุ์


ในพรรษาที่ ๑๕ นี้ พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษาที่นิโครธาราม อารามที่พระญาติสร้างถวายอยู่ใกล้นครกบิลพัสดุ์ เมืองหลวงของแคว้นสักกะหรือศากยะ ที่ได้ชื่อว่า "กบิลพัสดุ์" เพราะเดิมเป็นที่อยู่ของกบิลดาบส ซึ่งเดิมอยู่ในดงไม้สักกะ หิมพานต์ประเทศ พระราชบุตรและพระราชบุตรีของพระเจ้าโอกการาชพากันไปสร้างพระนครใหม่ในที่อยู่ของกบิลดาบส จึงขนานนามว่า "กบิลพัสดุ์" แปลว่า ที่อยู่หรือที่ดินของกบิลดาบส

พรรษาที่ ๑๖ (ปีชวด)
ณ อัคคาฬวเจดีย์วิหาร เมืองอาฬวี


ในพรรษาที่ ๑๖ นี้ พระพุทธเจ้าเสด็จมายังเมืองอาฬวี ทรงแสดงพุทธอิทธานุภาพปราบฤทธิ์เดชของอาฬวกยักษ์ ทรงพยากรณ์แก้ปัญหาที่อาฬวกยักษ์ทูลถาม ทำให้อาฬวกยักษ์เกิดปัญญาเห็นแจ้งในธรรมสิ้นความโหดร้าย ตั้งอยู่ในภูมิโสดาปัตติผล มอบตนลงเป็นทาสพระรัตนตรัยตั้งมั่นอยู่ในอริยธรรม ทรงช่วยให้ประชากรชาวเมืองอาฬวีตั้งอยู่ในกัลยาณธรรมให้เป็นสมาบัติ ปลุกให้เกิดความเมตตาปรานีกันทั่วหน้า

พรรษาที่ ๑๗ (ปีฉลู)
ณ พระเวฬุวันวิหาร พระนครราชคฤห์


ในพรรษาที่ ๑๗ นี้ พระพุทธเจ้าเสด็จกลับไปประทับจำพรรษา ณ พระเวฬุวันวิหาร พระนครราชคฤห์ อันเป็นสังฆารามแห่งแรกในพระพุทธศาสนาอีกครั้งหนึ่ง

พรรษาที่ ๑๘-๑๙ (ปีขาล-เถาะ)
ณ จาลิยบรรพต


ในพรรษาที่ ๑๘ และพรรษาที่ ๑๙ นี้ พระพุทธเจ้าทรงเสด็จกลับไปประทับจำพรรษา ณ จาลิยบรรพต ซึ่งพระบรมศาสดาเคยประทับจำพรรษามาแล้วในพรรษาที่ ๑๓

พรรษาที่ ๒๐ (ปีมะโรง)
ณ พระเวฬุวันวิหาร พระนครราชคฤห์


ในพรรษานี่พระพุทธเจ้าทรงเสด็จกลับมาประทับจำพรรษา ณ สังฆารามแห่งแรกนี้ เป็นการประทับจำพรรษาสุดท้ายของพระพุทธเจ้า ณ พระเวฬุวันวิหาร พระบรมศาสดาทรงโปรดองคุลิมาลโจรให้กลับใจได้ขอบวชและต่อมาก็ได้สำเร็จพระอรหัต ในลำดับกาลพรรษานี้ พระอานนท์ได้รับหน้าที่เป็นพุทธอุปัฏฐากประจำพระองค์พระพุทธเจ้า

พรรษาที่ ๒๑-พรรษาที่ ๔๔
ณ พระเชตวันและบุพพาราม นครสาวัตถี


นับจากพรรษาที่ ๒๑ ถึงพรรษาที่ ๔๔ พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษา ณ พระนครสาวัตถี เป็นระยะเวลานานที่สุด พระบรมศาสดาทรงประทับจำพรรษา ณ พระเชตวันมหาวิหาร ๑๙ ฤดูฝน (ในพรรษาที่ ๑๔ ทรงประทับจำพรรษาที่พระเชตวันมาแล้ว ๑ พรรษา) อีก ๖ ฤดูฝนเปลี่ยนไปประทับ ณ วิหารบุพพาราม ที่นางวิสาขามิคารมารดา มหาอุบาสิกาคนสำคัญ สร้างถวายอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับพระเชตวันโดยประทับสลับไปมา แต่มีคำอธิบายอีกนัยหนึ่งว่า เวลากลางวันประทับ ณ วิหารแห่งหนึ่ง และกลางคืนเสด็จไปแสดงธรรม ณ วิหารอีกแห่งหนึ่ง เป็นสถานที่ประทับอันนับเนื่องด้วยชีวิตการประกาศธรรมของพระพุทธเจ้าตลอด ๒๔ ฤดูฝน

พรรษาที่ ๔๕ (ปีมะเส็ง)
ณ เวฬุวคาม ใกล้นครเวสาลี


ในพรรษาสุดท้ายนี้ พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษาอยู่ที่ตำบลเวฬุวคาม ใกล้นครเวสาลี แคว้นวัชชี พระพุทธเจ้าทรงทำนิมิตต์โอภาสแก่พระอานนท์เป็นครั้งสุดท้าย และทรงปลงอายุสังขารในวันเพ็ญ เดือน ๓ ณ ปาวาลเจดีย์ ว่าพระตถาคตจักปรินิพพานแต่นี้ไปอีก ๓ เดือน

ในการต่อมา พระบรมศาสดาทรงพาพระภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ เสด็จไปในนครเวสาลี เสด็จประทับอยู่ที่กูฏาคารในป่ามหาวัน ทรงพระกรุณาประทานพระธรรมเทศนาโปดมวลกษัตริย์ลิจฉวีทั้งหลาย จากนั้นทรงพาพระภิกษุสงฆ์เสด็จออกจากพระนคร เสด็จประทับยืนอยู่หน้าเมืองเวสาลี เยื้องพระกายผินพระพักตร์ มาทอดพระเนตรเมืองเวสาลีประหนึ่งว่าทรงอาลัยเมืองเวสาลีเป็นที่สุด พร้อมกับรับสั่งกับพระอานนท์ผู้ซึ่งเป็นพระอุปัฏฐากประจำพระองค์ของพระพุทธเจ้าความว่า "อานนท์ การเห็นเมืองเวสาลีของตถาคตครั้งนี้เป็นปัจฉิมทัศนา" คือเป็นการเห็นครั้งสุดท้าย แล้วพระบรมศาสดาเสด็จกลับไปประทับยังกูฏาคารในป่ามหาวัน

สถานที่เสด็จประทับยืนทอดพระเนครโดยพระอาการที่แปลกจากเดิมพร้อมทั้งรับสั่งเป็นนิมิตเช่นนั้น เป็นเจดีย์สถานอันสำคัญเรียกว่า "นาคาวโลกเจดีย์" นาคาวโลก คือ การเหลียวมองอย่างพญาช้าง มองอย่างช้างเหลียวหลัง คือเหลียวดูโดยหันกายกลับมาทั้งหมด ซึ่งเป็นอาการที่พระพุทธเจ้าทรงทำเป็นครั้งแรกและครั้งเดียว

ในลำดับกาลต่อมา พระบรมศาสดาทรงเสด็จพาพระภิกษุสงฆ์ออกจากกูฏาคาร เสด็จไปยังบ้านภัณฑุคาม บ้านหัตถีคาม บ้านอัมพะคาม บ้านชัมพูคาม และบ้านโภคนครโดยลำดับ ภายหลังจากแสดงธรรมโปรดพุทธบริษัทชาวเมืองโภคนคร และพระพุทธเจ้าทรงเสด็จไปยังเมืองปาวานคร เสด็จเข้าประทับพำนักอยู่ที่อัมพวันสวนมะม่วงของนายจุนกัมมารบุตร ซึ่งอยู่ใกล้เมืองปาวานครนั้น

ครั้นนายจุนทะได้ทราบข่าว รีบเข้าเฝ้าพระบรมศาสดาฟังพระธรรมเทศนาโปรด นายจุนทะได้กราบทูลนิมนต์พระพุทธเจ้ากับทั้งพระภิกษุสงฆ์ ให้เข้าไปรับอาหารบิณฑบาตยังนิเวศน์ของตน ครั้นรุ่งเช้าเมื่อได้เสด็จไปยังนิเวศน์ของนายจุนทะ พระพุทธเจ้าทรงตรัสแก่นายจุนทะว่าสุกรมัททวะซึ่งท่านตกแต่งไว้นั้น จงอังคาสเฉพาะตถาคตผู้เดียว ที่เหลือนั้นให้ขุดหลุมฝังเสีย และจงอังคาสภิกษุสงฆ์ทั้งหลายด้วยอาหารอย่างอื่นๆ เถิด

ครั้นกลับสู่อัมพวัน พระบรมศาสดาทรงประชวรพระโรคโลหิตปักขัณทิกาพาธ คือโรคท้องร่วงเป็นโลหิต มีพระกำลังล้าลงเกิดทุกขเวทนามาก ทรงตรัสสั่งสอนพระอานนท์ว่า "อานนท์ มาเถิด เราจักไปเมืองกุสินารา" พระอานนท์รับพระบัญชาแล้ว จึงรีบแจ้งให้พระสงฆ์ทั้งหลายเตรียมตามเสด็จไว้พร้อม

ระหว่างทางที่เสด็จไปยังนครกุสินารา พระพุทธเจ้าทรงกระหายน้ำ ตรัสเรียกพระอานนท์ไปตักน้ำในแม่น้าสายเล็กมีน้ำน้อยและกองเวียน ๕๐๐ เล่มเพิ่งผ่านข้ามไป ครั้นพระอานนท์ไปตักน้ำที่ขุ่นข้นได้กลับกลายเป็นน้ำใสสะอาดปราศจากมลทิน ครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่พระบรมศาสดาทรงขอน้ำเสวยในขณะเดินทางยังไม่ถึงที่พัก

พระพุทธเจ้าทรงเสด็จพระพุทธดำเนินผ่านข้ามแม่น้ำกกุธานที พระอานนท์ทูลเชิญให้เสวยและสรงชำระพระกายที่ตรากตรำมาในระยะทาง แล้วเสด็จขึ้นมาประทับยังร่มไม้และเสด็จบรรทม ลำดับต่อมาพระบรมศาสดาทรงเสด็จพระพุทธดำเนินต่อพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ ทรงเสด็จดำเนินข้ามแม่น้ำหิรัญวดี อันเป็นแม่น้ำสายสุดท้ายที่พระพุทธเจ้าเสด็จข้าม มุ่งสู่สาลวโนทยานของมัลลกษัตริย์ที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ

ในกาลนั้นเป็นเวลาใกล้ค่ำของวันเพ็ญ เดือน ๖ พระพุทธเจ้าทรงมีพระชนมายุครบ ๘๐ พรรษา พระบรมศาสดาทรงรับสั่งให้พระอานนท์ปูลาดที่บรรทมระหว่างต้นสาละใหญ่ ๒ ต้น ทรงเอนพระวรกายลงโดยหันพระเศียรไปทางทิศเหนือ ประทับไสยาสน์แบบสีหไสยาเป็นอนุฏฐานไสยา คือ การนอนครั้งสุดท้ายไม่แปรเปลี่ยนจนกระทั่งสังขารดับ

ครั้งนั้น ต้นสาละทั้งคู่พลันผลิดอกออกบานเต็มต้น ร่วงหล่นลงมายังพระพุทธสรีระบูชาพระตถาคตเจ้าเป็นอัศจรรย์ แม้ดอกมณฑาในเมืองสวรรค์ตลอดจนทิพยสุคนธชาติก็ตกลงมาจากอากาศ ยังเทพเจ้าทั้งหลายก็ประโคมดนตรีทิพย์บันลือลั่นเป็นมหานฤนาท บูชาพระตถาคตในอวสานกาล

ลำดับนั้น พระพุทธเจ้าได้ประทานโอวาทแก่ภิกษุทั้งหลายว่า "อานนท์ เมื่อตถาคตปรินิพานและหากจะมีภิกษุบางรูปดำริว่า พระศาสนาของเราปรินิพพานแล้ว อานนท์ ท่านทั้งหลายไม่ควรดำริอย่างนั้น ไม่ควรเห็นอย่างนั้น แท้จริงวินัยที่เราได้บัญญัติแก่ท่านทั้งหลายก็ดี เมื่อเราล่วงไป ธรรมและวินัยนั้นๆ แลจักเป็นศาสดาของท่านทั้งหลาย"

ลำดับต่อมา พระบรมศาสดาได้ประทานปัจฉิมโอวาทความว่า "ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราขอเตือนท่านทั้งหลาย สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมสิ้นไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงบำเพ็ญไตรสิกขาคือ ศีล สมาธิปัญญา ให้บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด"

เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสพระโอวาทประทานเป็นวาระสุดท้ายเพียงเท่านี้แล้วก็หยุด มิได้ตรัสอะไรอีกเลย ทรงทำปรินิพพานบริกรรมด้วยอนุปุพพวิหารสมาบัติทั้ง ๙ โดยอนุโลมลำดับ จนกระทั่งทรงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติที่ ๙ จากนั้นทรงเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะ ออกจากเนวสัญญานาสัญญายตนะ ถอยออกจากสมาบัตินั้น โดยปฏิโลมเป็นลำดับจนถึงปฐมฌาน ออกจากปฐมฌาน และทรงเข้าทุติยฌาน อีกวาระหนึ่ง ออกจากทุติยฌานแล้วทรงเข้าตติยฌาน ออกจากตติยฌานแล้วทรงเข้าจตุตถฌาน

เมื่อออกจากจตุตถฌานแล้ว พระพุทธเจ้าก็เสด็จปรินิพาน ณ ปัจฉิมยามแห่งราตรีสาขปรุณมี เพ็ญ เดือน ๖ มหามงคลสมัย ครั้นพระบรมศาสดาเสด็จปรินิพพานแล้ว ก็บังเกิดมหัศจรรย์แผ่นดินไหวสั่นกลองทิพย์บัยลือลั่น กึกก้องสัททสำเนียงเสียงสนั่นในอากาศเป็นมหาโกลาหลในปัจฉิมกาล ดอกไม้ทิพย์มณฑารพ ดอกไม้ในเมืองสวรรค์ตกโปรยปรายละลิ่วลงมาจากฟากฟ้า ดาดาษทั่วนครกุสินารา พร้อมกับขณะเวลาปรินิพพานของสมเด็จพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นนาถะของโลก



มีต่อ >>> หมวดที่ ๖ - พระธรรม

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 เม.ย. 2010, 13:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


หมวดที่ ๖ - พระธรรม

๏ เวสารัชชญาณในฐานะทั้ง ๔

เวสารัชชญาณ คือพระปรีชาญาณอันทำให้พระพุทธเจ้าทรงมีความแกล้วกล้าไม่ครั้นคร้าม ด้วยไม่ทรงเห็นว่าจะมีใครท้วงพระองค์ได้โดยชอบธรรม ในฐานะทั้ง ๔ คือ

๑. ท่านปฏิญญาว่าเป็นสัมมาสัมพุทธะ ธรรมเหล่านี้ท่านยังไม่รู้แล้ว

๒. ท่านปฏิญญาว่าเป็นขีณสาสพ อาสวะเหล่านี้ของท่านยังไม่สิ้นแล้ว (ขีณาสพ มีความหมายถึง ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว, ผู้หมดกิเลส, พระอรหันต์)

๓. ท่านกล่าวธรรมเหล่าใดว่าทำอันตราย ธรรมเหล่านี้ไม่อาจทำอันตรายแก่ผู้ส้องเสพได้จริง

๔. ท่านแสดงธรรมเพื่อประโยชน์อย่างใด ประโยชน์อย่างนั้นไม่เป็นทางนำผู้ทำตามให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบได้จริง



มีต่อ >>> ๏ พุทธคุณ ๙ ประการ

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 เม.ย. 2010, 13:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


๏ พุทธคุณ ๙ ประการ

คุณของพระพุทธเจ้ามี ๙ ประการคือ

๑. อรหํ เป็นพระอรหันต์

๒. สมฺมาสมฺพุทโธ ตรัสรู้เองโดยชอบ

๓. วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ

๔. สุคโต เสด็จไปดีแล้ว

๕. โลกวิทู เป็นผู้รู้แจ้งโลก

๖. อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ เป็นสารถีฝึกคนที่ฝึกได้ไม่มีใครยิ่งกว่า

๗. สตฺถา เทวมนุสฺสานํ เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

๘. พุทฺโธ เป็นผู้ตื่นและเบิกบานแล้ว

๙. ภควา เป็นผู้มีโชค

พุทธคุณทั้งหมดนั้นโดยย่อมี ๒ คือ

๑. พระปัญญาคุณ พระคุณคือพระปัญญา
๒. พระมหากรุณาคุณ พระคุณคือพระมหากรุณา

พุทธคุณตามที่นิยมกล่าวกันในประเทศไทยย่อเป็น ๓ คือ

๑. พระปัญญาคุณ พระคุณคือพระปัญญา
๒. พระวิสุทธิคุณ พระคุณคือความบริสุทธิ์
๓. พระมหากรุณาคุณ พระคุณคือพระมหากรุณา


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

พุทธคุณ ๙
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=27034

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *


มีต่อ >>> ๏ พระธรรมทุกข้อตกอยู่ในกลุ่มอริยสัจ ๔

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ค. 2010, 19:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


๏ พระธรรมทุกข้อตกอยู่ในกลุ่มอริยสัจ ๔

พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้อริยสัจ ๔ ประการ (อริยสัจ มีความหมายถึง ความจริงอย่างประเสริฐ, ความจริงของพระอริยะ, ความจริงที่ทำให้คนเป็นพระอริยะ มี ๔ อย่างคือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) ดังนั้น คำสอนในทางพระพุทธศาสนาจึงเป็นเรื่องของอริยสัจทั้ง ๔ แต่ที่ทรงแสดงออกไปพิศดารมากจนถึง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ อย่างที่ท่านว่าไว้ เพราะอัธยาศัยของผู้ฟังแตกต่างกันนั้นเอง การที่ท่านสรุปพระธรรมทั้งมวลลงในอริยสัจนั้น หมายความว่า พระธรรมแต่ละข้อที่ทรงแสดงนั้นจะต้องอยู่ในกลุ่มของอริยสัจ ๔ ไม่ข้อใดก็ข้อหนึ่ง คือ

๑. กลุ่มทุกขสัจ

กลุ่มทุกขสัจ ได้แก่ กลุ่มที่เป็นปริญญาตัพพธรรม คือธรรมที่ต้องศึกษาให้รู้ เพื่อกำหนดให้รู้ว่า อะไรเป็นอะไร เป็นธรรมกลุ่มที่เป็นผลมาจากกิเลส จำต้องศึกษาให้รู้ไว้ในด้านประเภทฐานะ ภาวะ ลักษณะของธรรมเหล่านั้น แต่ไม่อาจที่จะแก้ไขอะไรได้ ธรรมกลุ่มนี้ เช่น

ผัสสะอันมีอาสวะ เป็นที่ตั้งแห่งอุปทาน นามรูป ได้แก่ รูป ๑ นาม ๔ คือ

รูปขันธ์ กองรูป ได้แก่ รูป ๒๘ มี ดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นต้น ส่วนนาม ๔ ได้แก่

เวทนาขันธ์ คือ กองเวทนา ได้แก่ เวทนาเจตสิก สัญญาขันธ์ คือสัญญาเจตสิก สังขารขันธ์ กองสังขาร ได้แก่ จิต ๘๙ ดวง

อาหาร ๔ คือ กวฬิงการาหาร อาหารที่กลืนกินเข้าไปทางปากผัสสาหาร อาหารคือผัสสะ วิญญาณาหาร อาหารคือ วิญญาณ มโนสัญเจตนาหาร อาหารคือ มโนสัญเจตนา

อายตนะภายใน ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

โลกธรรม ๘ คือ มีลาภ เสื่อมลาภ มียศ เสื่อมยศ นินทา สรรเสริญสุข ทุกข์

อายตนะ ๘ คือ ตากับรูป หูกับเสียง จมูกกับกลิ่น ลิ้นกับรส โผฏฐัพพะกับกาย ใจกับอารมณ์ (โผฎฐัพพะ มีความหมายถึง อารมณ์ที่จะพึงพูกต้องด้วยกาย, สิ่งที่ถูกต้องกายเช่น เย็น ร้อน อ่อน แข็ง เป็นต้น)

วิญญาณฐิติ ๗ คือ ที่ตั้งแห่งวิญญาณอันเกิดขึ้นด้วยการถือปฎิสนธิในกำเนิด ๔ ได้แก่

๑. สัตว์ที่มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน เช่น มนุษย์ เทวดาบากพวก วินิบาตบางพวก (วินิบาต มีความหมายถึงสัตว์ในนรกหรืออสุรกาย)

๒. สัตว์ที่มีกายต่างกัน มีสัญญาเหมือนกัน ได้แก่ เทพผู้เกิดในชั้นพรหม ด้วยอำนาจปฐมฌาน และสัตว์ที่เกิดในอบายภูมิ ๔

๓. สัตว์ที่มีกายเหมือนกัน มีสัญญาต่างกัน ได้แก่ พรหมชั้นอาสัสรา (พรหมโลกชั้นที่ ๖ จากที่อยู่ของพรหมซึ่งมีทั้งสิ้น ๑๖ ชั้น)

๔. สัตว์ที่มีกายเหมือนกัน มีสัญญาเหมือนกัน ได้แก่ พรหมชั้น สุภกิณหะ (พรหมโลกชั้นที่ ๙ จากที่อยู่ของรูปพรหม ซึ่งมีทั้งสิ้น ๑๖ ชั้น)

ประเภทที่ ๕ ที่ ๖ และ ๗ ได้แก่ ท่านที่เกิดในอรูปภูมิด้วยกำลังแห่งอรูปฌาน และมีชื่อตามฌานข้อนั้นๆ

แม้ประเภทแห่งทุกข์ที่ทรงแสดงในอริยสัจ ๔ คือ ชาติ ชรา มรณะ เป็นต้น ก็อยู่ในกลุ่มของรูปที่จะต้องกำหนดรู้ กล่าวโดยสรุป ธรรมในกลุ่มนี้คือพวกที่เป็น "ธรรมชาติอันเป็นไปตามอำนาจแห่งธรรมดา" ทั้งหลายนั้นเอง


๒. กลุ่มสมุทัยสัจ

กลุ่มสมุทัยสัจ ที่เรียกว่า ปหาตัพพธรรม คือ ธรรมที่เรียนให้รู้แล้วควรละ อันได้แก่พวกกิเลสทั้งหลาย ซึ่งมีชื่อเรียกตามอาการของกิเสสเหล่านั้น เช่น

อัสสมิมานะ ความยึดถือขันธ์ ๕ ว่า เป็นตัวตน หรือมีตัวตน เป็นต้น

อวิชชา ๘ คือ ความไม่รู้ทุกข์ ไม่รู้สมุทัย ไม่รู้นิโรธ ไม่รู้มรรค ความไม่รู้อดีต ความไม่รู้อนาคต ไม่รู้ทั้งอดีตและอนาคต และไม่รู้ปฏิจจสมุปบาท (การที่ทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัยต่อเนื่องกันมา)

ตัณหา ๓ คือ "กามตัณหา" ความทะเยอทะยานอยากได้ในวัตถุกามด้วยอำนาจของกิเลสกาม "ภวตัณหา" ความอยากมีอยากเป็นต่างๆ ด้วยอำนาจสัสตทิฏฐิ (ความเห็นว่าเที่ยง คือ ความเห็นว่าอัตตาและโลก เป็นสิ่งเที่ยงแท้ยั่งยืน คงอยู่ตลอดไป) "วิภวตัณหา" ความทะเยอทะยานอยากในความไม่มีไม่เป็นจนถึงอยากขาดสูญไปเลยด้วยอำนาจของอุจเฉททิฏฐิ (ความเห็นว่าขาดสูญ เช่น เห็นว่าคนและสัตว์จุติจากอัตภาพนี้แล้วขาดสูญ) และตัณหาในอายตนะภายนอก ๖ คือ ตัณหาทั้ง ๓ ประการที่เกิดในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมมารมณ์ (อารมณ์ทางใจ, สิ่งที่ใจนึกคิด)

นิวรณ์ คือ สิ่งที่กั้นจิตคนไว้มิให้บรรลุความดี ท่านเรียกว่า นิวรณ์ มี ๕ ประเภทคือ

๑. กามฉันทะ คือ ความรักใคร่ชอบใจในวัตถุกามทั้งหลาย มีรูป เป็นต้น

๒. พยาบาท คือ ความอาฆาตพยาบาท มุ่งจองล้างจองผลาญต่อคน สัตว์ที่ตนไม่ชอบ

๓. ถีนมิทธะ คือ การเคลิบเคลิ้ม ง่วงนอน หงอยเหงา คร้านกายคร้านใจ

๔. อุทธัจจกุกกุจจะ คือ ความฟุ้งซ่านซัดส่ายของใจจนเกิดความรำคาญ

๕. วิจิกิจฉา คือ ความลังเลสงสัยไม่มั่นใจ ตัดสินใจในเรื่องอะไรไม่ได้

โอฆะ กิเลสที่เป็นดุจห้วงน้ำ ห้วงน้ำคือกาม ห้วงน้ำคือภพ ห้วงน้ำคือความเห็นผิด และห้วงน้ำคืออวิชชา บางคราวเรียกว่า คันถะเพราะทำหน้าที่ร้อยรัดจิตเรียกว่า อาสวะ เพราะหมักหมมอยู่ภายในจิต

อนุสัย คือ กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ภายในจิต คือกามราคะ (ความกำหนัดในกาม) ปฏิฆะ (ความกระทบกระทั่งแห่งจิต ได้แก่ ความที่จิตหวุดหวิดด้วยอำนาจโสทะ) ทิฏฐิ (ความเห็นผิด) วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) มานะ (ความถือตัวถือตน) ภวราคะ (ความกำหนัดในภพ) และอวิชชา (ความไม่รู้ตามความเป็นจริง)

มิจฉัตตะ ๘ คือ ความเห็นผิด ความดำริผิด การพูดผิด การทำงานงานผิด การเลี้ยงชีวิตผิด ความพยายามผิด การตั้งสติผิด ความตั้งใจมั่นผิด

กิเลสทั้งหลายที่ปรากฏแก่จิต ซึ่งเมื่อกล่าวโดยสรุปแล้ว ได้แก่ อกุศลมูล ๓ ประการ คือ โลภ โกรธ หลง โดยมีรากใหญ่ของกิเลสอยู่ที่อวิชชากับตัณหา


๓. กลุ่มนิโรธสัจ

กลุ่มนิโรธสัจ ที่เรียกว่า สัจฉิกาตัพพธรรม คือ ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ซึ่งเป็นผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติตามไตรสิกขา คือ สมาธิปัญญา เช่น

เจโตวิมุติ คือ การหลุดพ้นจากอำนาจของกิเลสด้วยการบำเพ็ญเพียรทางจิตจนบรรลุฌานแล้วเจริญวิปัสสนาต่อ และปัญญาวิมุตติ คือ จิตที่หลุดพ้นด้วยการเจริญวิปัสสนอย่างเดียวจนบรรลุอรหัต

วิมุตติ ๕ คือ ความหลุดพ้นจากอำนาจของกิเสส ๕ ระดับ คือ

๑. ตทังควิมุตติ คือ หลุดพ้นด้วยองค์นั้นๆ เช่น เกิดโกรธขึ้นมาห้ามความโกรธไว้ได้

๒. วิกขัมภนวิมุตติ คือ หลุดพ้นจากกิเลสด้วยกำลังแห่งฌานที่ได้บรรลุ

๓. สมุจเฉทวิมุตติ คือ หลุดพ้นจากอำนาจกิเลสอย่างเด็ดขาดโดยกิเลสไม่กำเริบอีกต่อไป

๔. ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ คือ ความหลุดพ้นจากกิเลสอย่างสงบราบคาบ

๕. นิสสรณวิมุตติ คือ จิตที่หลุดพ้นจากอำนาจกิเลสด้วยการออกไป คือ นิพพาน

สามัญญผล คือ ผลแห่งการบวชหรือจากความเป็นสมณะ ๔ ได้แก่ โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตตผล

ธรรมขันธ์ ๕ คือ การทำให้แจ้งในกองแห่งศีล สมาธิ ปัญญา และ วิมุตติ ในกรณีที่เป็นผล

อภิญญา ๖ คือ ความรู้อันยอดยิ่งหรือความรู้พิเศษ อันเกิดจากเหตุมีความสงบจากกิเลส เป็นต้น ได้แก่

๑. อิทธิวิธี การแสดงฤทธิ์ได้ คือ ความสำเร็จที่เกิดจากจิตสงบบ้างกรรมบ้าง วิชาบ้าง

๒. ทิพพโสต หูทิพย์ คือ สามารถฟังเสียงเบา หนัก ไกลใกล้ได้ตามความต้องการ

๓. เจโตปริยญาณ รู้ความคิด สภาพจิตของคนอื่นได้ว่า ขณะนั้นเขามีความคิดต้องการอะไร เป็นต้น

๔. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ความรู้ที่ทำให้ระลึกชาติต่างๆ ย้อนหลังไปในอดีตได้

๕. ทิพพจักขุ ตาทิพย์ คือสามารถมองเห็นภาพที่ปรากฏในที่ต่างๆ ได้ตามต้องการ

๖. อาสวักขยญาณ ญาณที่ทำอาสวะให้หมดสิ้นไป

อนุบุพพวิหาร ๙ คือ รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ และสัญญาเวทยิตนิโรธ (การดับสัญญาและเวทนา เป็นสมาบัติ คือ ภาวะสงบ ประณีตซึ่งพึงเข้าถึง)

อเสกขธรรม คือ ธรรมที่เป็นของพระอเสขะ ๑๐ ประการ (อเสขะมีความหมายถึง ผู้ไม่ต้องศึกษาเพราะศึกษาเสร็จสิ้นแล้ว ได้แก่บุคคลผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตผล คือ พระอรหันต์) คือ มรรคมีองค์ ๘ ประการ กับสัมมาญาณ (รู้ชอบ ได้แก่ ผลญาณ) และสัมมาวิมุตติ (พ้นชอบ ได้แก่ อรหัตตผลวิมุตติ) ที่เป็นผลถาวรอยู่ภายในใจของพระอรหันต์ทั้งหลาย

ธรรมกลุ่มที่เป็นสักฉิกาตัพธรรมนี้ เมื่อกล่าวโดยสรุปได้แก่ผลในชั้นต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ตามหลักธรรมที่ทรงแสดงไว้ แม้องค์ธรรมจะชื่อเหมือนกัน แต่ในกลุ่มนี้ท่านหมายเอาตัวผลเช่นตัวความรู้ที่เกิดจากการเรียน ซึ่งเป็นผลถาวรที่ติดอยู่ในใจคน


๔. กลุ่มทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

กลุ่มทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความสงบระงับแห่งทุกข์ ท่านเรียกกลุ่มนี้ว่า ภาเวตัพพธรรม คือ ธรรมที่ต้องลงมือกระทำบำเพ็ญให้บังเกิดขึ้น เช่น

วิสุทธิหรือปาริสุทธิ ๙ ประการ ได้แก่

๑. สีลวิสุทธิ คือ ความบริสุทธิ์หมดจดแห่งศีล ตามสมควรแก่ฐานะของบุคคล

๒. จิตตวิสุทธิ คือ ความหมดจดแห่งจิต คือจิตที่สงบจากนิวรณธรรม (สิ่งที่ขัดขวางจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรม) ทั้ง ๕ ประการเป็นต้น

๓. ทิฏฐิวิสุทธิ คือ ความบริสุทธิ์หมดจดแห่งความเห็น คือ เกิดความรู้เห็นตามความเป็นจริง

๔. กังขาวิตรณวิสุทธิ คือ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องข้ามพ้นความลังเลสงสัย

๕. มัคคามัคคญาณทัสสวิสุทธิ คือ ความหมดจดแห่งญาณที่ช่วยให้รู้ว่าอะไรเป็นทางหรือไม่ใช่ทาง

๖. ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ คือ ความหมดจดแห่งความรู้ความเห็นซึ่งปฏิทาในการปฏิบัติ

๗. ญาณทัสสนวิสุทธิ คือ ความหมดจดแห่งความรู้ความเห็นอันเป็นผลแห่งการปฏิบัติ

๘. ปัญญาวิสุทธิ คือ ความบริสุทธิ์แห่งปัญญาเครื่องรู้

๙. วิมุตติวิสุทธิ คือ ความบริสุทธิ์แห่งความหลุดพ้นจากเพลิงกิเลสและเพลิงทุกข์

อริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ คือ

๑. สัมาทิฏทิ คือ ปัญญาอันเห็นชอบ ได้แก่ เห็นอริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

๒. สัมมาสังกัปปะ คือ ความดำริชอบ ได้แก่ ดำริในการออกจากกามดำริในการไม่พยาบาท และดำริในการไม่เบียดเบียน ๒ ข้อนี้จัดเป็นปัญญาสิกขา

๓. สัมมาวาจา คือ การเจรจาชอบ คือ เว้นจาการพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ และเพ้อเจ้อ

๔. สัมมากัมมันตะ คือ การทำงานชอบ คือ การเว้นจาการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม

๕. สัมมาอาชีวะ คือ การเลี้ยงชีพชอบ คือ การละมิจฉาชีพดำรงชีวิตอยู่ด้วยสัมมาชีพอันถูกต้องตามกฎหมาย ศีลธรรม หน้าที่ฐานะและภาวะของแต่ละบุคคล ๓ ข้อนี้ จัดเป็นสีลสิกขา

๖. สัมมาวายาม คือ ความพยายามชอบ ได้แก่ พยามสำรวมระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นในสันดาน พยายามละบาปที่เกิดขึ้นแล้วพยายามทำกุศลให้เกิดขึ้นในสันดาน พยายามรักษากุศลที่เกิดขั้นแล้วไม่ให้เสื่อมไป

๗. สัมมาสติ คือ ความระลึกชอบ ได้แก่ การระลึกถึงกาย เวทนา จิต ธรรม อันนำไปสู่ความสงบจิต จนเกิดปัญญาเห็นประจักษ์ชัดว่า กาย เวทนา จิต ธรรม นี้ก็สักแต่ว่า กาย เวทนา จิต ธรรม ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัว ตน เรา เขา ก็เรียก กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เวทนานุปัสสนาสติปัฎฐาน จิตตานุปัสสนาสติปัฎฐาน ธัมมานุปัสสนาสติปัฎฐาน

๘. สัมมาสมาธิ คือ ความตั้งใจมั่นชอบ ได้แก่ ความสงบจิตอันเกิดจาก ผลแห่งสมถกรรมฐานจนบรรลุฌาน ๔ คือ ปฐมฌาน ทุติฌาน ตติฌาน จตุตถฌาน

เมื่อบุคคลปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ ๘ ประการให้บริบูรณ์แล้วจะเกิดฌานคือความรู้ขึ้น เรียกว่า สัมมาญาณ อันเป็นองค์อริยมรรคที่แท้จริง จิตของท่านผู้นั้นก็เข้าถึงสัมมาวิมุตติ คือ หลุดพ้นจากอำนาจของกิเลสและทุกข์โดยชอบ อันเป็นหลักการสูงสุดในทางพระพุทธศาสนาพระธรรมที่มีชื่ออย่างอื่นอันทรงแสดงไว้โดยพิศดารที่กล่าวกันว่ามีถึง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์นั้น เมื่อจัดเป็นกลุ่มธรรมแล้ว จะสงเคราะห์เข้าในกลุ่มธรรมทั้ง ๔ ประเภทนี้ได้ทั้งหมด ซึ่งผู้ศึกษาจนเข้าใจแล้วสามารถสงเคราะห์ได้ด้วยตนเอง



มีต่อ >>> ๏ ลักษณะแห่งธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ค. 2010, 05:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


๏ ลักษณะแห่งธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน

พระธรรม คือ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้น เมื่อกล่าวโดยลักษณะท่านจัดออกเป็น ๔ ลักษณะ คือ

๑. สวากขาตธรรม เป็นพระธรรมอันพระบรมศาสดาทรงแสดงไว้ดีแล้วทั้งที่เป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤต (เป็นกลางๆ ไม่ดีไม่ชั่วไม่ใช่กุศลไม่ใช่อกุศล) เป็นพระธรรมอันมีความงามในเบื้องต้น ท่ามกลางที่สุด สมบูรณ์ด้วยอรรถะและพยัญชนะ

๒. สัลเลขธรรม เป็นพระธรรมที่ทำน้าที่ขัดเกลาจิต หรือบาปอกุศลให้ออกไปจากจิต ตามคุณสมบัติแห่งองค์ธรรมนั้น เช่น ปัญญาขจัดความโง่เขลา เมตตาขจัดความพยาบาทความโกรธ เป็นต้น

๓. นิยยานิกธรรม เป็นธรรมที่นำสัตว์ผู้ปฏิบัติ ให้ออกจากอำนาจของกิเลส ทุกข์ และสังสารวัฎ นำออกจากเวรภัยในปัจจุบัน

๔. สันติธรรม เป็นพระธรรมที่ก่อให้เกิดสันติสุขในชั้นนั้นๆ ตามสมควรแก่ธรรมที่บุคคลได้เข้าถึงและปฏิบัติตาม จนถึงสันติสุขอย่างยอดเยี่ยมคือนิพพาน ดังที่ทรงแสดงไว้ว่า

นตฺถิ สนติ ปรํ สุขํ (สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี)

อย่างไรก็ตาม พระธรรมทั้งมวลที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้นั้นทรงแสดงว่าเป็นธรรมที่มีอยู่เป็นอยู่อย่างนั้น คือจะเป็นกุศล อกุศลและอัพยากฤต และแม้แต่มรรคผลนิพพาน เป็นธรรมฐิติ ธรรมนิยามคือพระพุทธเจ้าจะเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตาม พระธรรมคงมีสภาพเป็นอย่างนั้น พระองค์ได้ทรงค้นพบธรรมเหล่านี้ นำมาเปิดเผยชี้แจงแสดงแก่โลกตามความเป็นจริงแห่งธรรมเหล่านั้น หน้าที่ ของพระองค์ในฐานะผู้ค้นพบคือทรงแสดงธรรมเหล่านั้นให้ฟัง อันเป็นการชี้บอกทางที่ควรเดินและควรเว้นให้เท่านั้น ส่วนการประพฤติปฏิบัติเป็นหน้าที่ของผู้ฟัง จะต้องลงมือทำด้วยตนเอง อำนาจในการดลบันดาล การสร้างโลก เป็นต้น จึงไม่มีในพระพุทธศาสนา

อันที่จริงการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้านั้น ทำให้พระองค์ทรงเป็นสัพพัญญู คือ ทรงรู้สรรพสิ่งตามความเป็นจริง แต่ในการสอนนั้นทรงมีหลักการสอนดังกล่าวแล้วคือ ทรงมุ่งไปที่คนนั้นๆ จะได้รับประโยชน์สามารถเกื้อกูลและอำนวยความสุขให้แก่ผู้ฟัง ธรรมที่พระองค์นำมาสอนจึงมีน้อย อุปมาเหมือนใบไม้ในป่ากับใบไม้ในฝ่ามือ คือที่ทรงรู้นั้นมากเหมือนใบไม้ในป่า แต่ที่ทรงนำมาสั่งสอนนั้นเหมือนใบไม้ในกำมือเท่านั้น



มีต่อ >>> ๏ หลักธรรม ๓ เรื่องที่มีประโชน์ต่อชีวิตประจำวันมาก

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ค. 2010, 05:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


๏ หลักธรรม ๓ เรื่องที่มีประโชน์ต่อชีวิตประจำวันมาก

พระพุทธเจ้าได้เทศนาสั่งสอนประชาชนหลังจากตรัสรู้แล้วเป็นเวลาถึง ๔๕ ปี พระธรรมคำสั่งสอนของพระองค์จึงมีมากมายรวมเรียกว่า พระไตรปิฎก มีเนื้อความทั้งหมด ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ อันประกอบด้วย พระวินัยปิฎก (๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์) พระสูตร หรือพระสุตตันตปิฎก (๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์) และ พระอภิธรรมปิฎก (๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์) เป็นหนังสือภาษาบาลีจำนวน ๔๕ เล่ม และแปลเป็นภาษาไทยออกมาได้จำนวน ๘๐ เล่มขนาดใหญ่

หลักธรรม ๓ เรื่องที่มีประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันมากคือ

๑. ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร หรือปฐมเทศนา ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงแสดงโปรดพระปัญจวัคคีย์ (มี ๕ องค์ คือ อัญญาโกณฑัญญะ, วัปปะ, ภัททิยะ, มหานานะ, อัสสชิ) เป็นครั้งแรกจนทำให้ท่านอัญญาโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม อันแสดงว่าการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าอาจ อาจมีผู้สามารถรู้ตามได้ ในสูตรนี้พระองค์ทรงแสดงอริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ ๑ เหตุให้เกิดทุกข์ ๑ การดับทุกข์ ๑ และทางที่จะดำเนินไปสู่ความดับทุกข์ ๑ ซึ่งทางที่จะดำเนินไปสู่ความดับทุกข์นี้เรียกกันว่า มัชฌิมาปฏิปทา หรือทางสายกลาง

ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร คือ พระสูตรว่าด้วยการยังธรรมจักรให้เป็นไป หรือพระสูตรว่าด้วยการหมุนวงล้อธรรม พระพุทธเจ้าทรงแสดงที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี แคว้นกาสี ในวันขึ้น ๑๕ คำ เดือน ๘ หลักจากวันซึ่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้สองเดือน

๒. อนัตตลักขณสูตร ในสูตรนี้พระพุทธเจ้าทรงแสดงให้เห็นความไม่เที่ยงของสิ่งต่างๆ คือ สิ่งทั้งหลายทั้งปวงจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ไม่สามารถทนอยู่ในสภาพเดิมตลอดไปได้ทั้งเป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตนจริงๆ เลย เป็นการสมมุติขึ้นมาเท่านั้นเอง เพราะฉะนั้นเราจึงไม่สามารถบังคับให้มันอยู่ในอำนาจของเราได้

อนัตตลักณสูตร เป็นพระสูตรที่แสดงลักษณะแห่งเบญจขันธ์ว่าเป็นอนัตตา พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ภิกษุปัญจวัคคีย์ ภายหลังจากแสดงปฐมเทศนาแล้ว ภิกษุปัญจวัคคีย์ ทั้ง ๕ ได้สำเร็จพระอรหัตด้วยได้ฟังอนัตตลักขณสูตรนี้

๓. กาลมสูตร พระสูตรนี้ได้แสดงให้เห็นความเป็นนักเสรีประชาธิปไตยของพระพุทธเจ้า เพราะพระองค์ทรงสอนให้คนใช้ความคิดด้วยเหตุผลโดยรอบคอบเสียก่อนแล้วจึงค่อยเชื่อ พระพุทธเจ้าทรงสอนว่าจงอย่าได้เชื่อโดยการอ้างตำรา หรือเพราะครูอาจารย์สอนไว้อย่างนั้น หรือเพราะคำพูดนั้นตรงกับความเห็นของเรา หรือเพราะผู้นั้นเป็นบุคคลที่ควรเชื่อ หรือโดยการคาดคะเนหรือ นึกเดาเอาหรือโดยการใช้เหตุผลตามหลักตรรกศาสตร์ พระองค์ทรงสอนว่าการกระทำใดๆ ถ้าจะไม่ก่อให้เกิดความทุกข์ในภายหลัง นักปราชญ์ไม่ติเตียน ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่นแล้ว พึงทำเถิดแต่ถ้าตรงกันข้ามกันก็อย่าทำเลย

กาลามสูตร เป็นสูตรหนึ่งในคัมภีร์ติกนิบาต อังคุตตรนิกาย พระพุทธเจ้าตรัสสอนชนชาวกาลามะ แห่งเกสปุตตนิคม ในแคว้นโกศล ไม่ให้เชื่อถืองมงายไร้เหตุผลตามหลัก ๑๐ ข้อ คือ อย่าปลงใจเชื่อเพราะ

๑. ด้วยการฟังตามกันมา
๒. ด้วยการถือสืบๆ กันมา
๓. ด้วยการเล่าลือ
๔. ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์
๕. ด้วยตรรก
๖. ด้วยการอนุมาน
๗. ด้วยการคิดตรึกตรองตามแนวเหตุผล
๘. ด้วยเพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีของตน
๙. ด้วยเพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าเชื่อ
๑๐. ด้วยเพราะนับถือว่าท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา

ต่อเมื่อใดพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นอกุศลเป็นกุศล มีโทษ ไม่มีโทษ เป็นต้นแล้ว จึงควรละหรือปฏิบัติตามนั้น



มีต่อ >>> หมวดที่ ๗ - พุทธอิทธานุภาพ

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ค. 2010, 06:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


หมวดที่ ๗ - พุทธอิทธานุภาพ

๏ ทรงปาฏิหารย์ ๓ คำรบปรากฏแก่พระพุทธบิดา

ในกาลที่พระพุทธเจ้าทรงเสด็จพระนครบิลพัสดุ์เป็นครั้งแรกภายหลังจากตรัสรู้ พระองค์ทรงสำแดงปาฏิหาริย์เป็นมหัศจรรย์ ซึ่งพระเจ้าสุทโธทนะพระพุทธบิดาทรงประนมหัตถ์ถวายนมัสการ แล้วกราบทูลว่าเป็นปาฏิหาริย์ที่มหัศจรรย์ได้ปรากฏแก่พระองค์ ในครั้งนี้นับเป็นคำรบสามแล้ว อันมีความดังต่อไปนี้

ปาฏิหาริย์คำรบแรก เมื่อพระสิทธัตถะกุมารทรงประสูติได้ ๑ วัน ครั้งนั้นมีดาบสองค์หนี่งมีนามว่า กาฬเทวิล แต่มหาชนเรียกว่า อสิตะ เป็นกุลุปกาจารย์ (อาจารย์ประจำตระกูล) ของพระเจ้าสุทโธทนะ ได้ทราบข่าวจากเทพยดาว่า พระเจ้าสุทโธทนะได้พระราชโอรส จึงได้เดินทางไปยังกบิลพัสดุ์นคร เข้าเฝ้าพระเจ้าสุทโธทนะถวายพระพร ถามข่าวถึงการประสูติของพระราชโอรส

พระเจ้าสุทโธทนะทรงปีติปราโมทย์ รับสั่งให้เชิญพระโอรสมาถวายเพื่อนนมัสการท่านอสิตดาบส แต่พระบาททั้งสองของพระโอรสกลับขึ้น ปรากฏบนเศียรเกล้าของอสิตดาบส เป็นอัศจรรย์ พระดาบสเห็นดังนั้นก็สะดุ้งตกใจ ครั้นพิจารณาดูลักษณะของพระกุมารก็ทราบชัดด้วยปัญญาญานมีน้ำใจเบิกบาน ยิ้มแย้มแจ่มใส หัวเราะออกมาด้วยความปีติโสมนัส ประณมหัตถ์ถวายอภิวาทแทบพระยุคลบาทของพระกุมาร และแล้วอสิตดาบสกลับได้คิด เกิดโทมนัสจิตร้องไห้เสียใจในวาสนาอาภัพของตน

พระเจ้าสุทโธทนะได้ทอดพระเนตรเห็นอาการของท่านอาจารย์พิกลก็แปลกพระทัย เดิมก็ทรงปีติเลื่อมใสในการอภิวาทของท่านอสิตดาบสว่าอภินิหารของพระปิโยรสนั้นยิ่งใหญ่ประดุจดังท้าวมหาพรหมจึงทำให้ท่านอาจารย์มีจิตนิยมชื่นชมอัญชลี ครั้นเห็นท่านอสิตดาบสคลายความยินดีเป็นโสกาอาดูร ก็ประหลาดพระทัยเกิดสงสัย รับสั่งถามถึงเหตุแห่งการร้องไห้ และการหัวเราะเฉพาะหน้า

อสิตดาบสก็ถวายพระพรพรรณนา ถึงมูลเหตุว่า เพราะอาตมาพิจารณาเห็นเห็นมหัศจรรย์ พระกุมารนี้มีพระลักษณะพระโพธิสัตว์เจ้าบริบูรณ์จะได้ตรัสรู้เป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้าโดยแท้ และจะเปิดโลกนี้ให้กระจ่างสว่างไสวด้วยกระแสแห่งพระธรรมเทศนาเป็นคุณที่น่าโสมนัสปรีดายิ่งนัก แต่เมื่ออาตมานึกถึงอายุสังขารของอาตมาซึ่งชราเช่นนี้แล้วคงจะอยู่ไปไม่ทันเวลาของพระกุมาร ที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระบรมครูสั่งสอน จึงได้วิปฏิสารโศกเศร้า เสียใจที่มีอายุไม่ทันได้สดับรับพระธรรมเทศนา อาตมาจึงได้ร้องไห้

ครั้วอสิตดาบสถวายพระพรแล้ว ก็ทูลลากลับไปบ้านน้องสาวนำข่าอันนี้ไปบอกนาลกมาณพผู้หลานชาย และกำชับให้พยายามออกบวชตามพระกุมารในกาลเมื่อหน้าโน้นเถิด

ปาฏิหาริย์คำรบสอง ต่อมาวันหนึ่งเป็นวันพระราชพิธีวัปปมงคล (พิธีมงคลแรกนาขวัญ) พระเจ้าสุทโธทนะเสด็จไปทรงแรกนาขวัญในงานราชพิธีนั้น ก็โปรดเกล้าให้เชิญพระกุมารไปในงานพระราชพิธีนั้นด้วย ครั้นเสด็จไปถึงภูมิสถานที่แรกนาขวัญ ก็โปรดให้จัดร่มไม้หว้าซึ่งหนาแน่นด้วยกิ่งใบ อันอยู่ใกล้สถานที่นั้นเป็นที่ประทับของพระกุมารโดยแวดวงด้วยม่านอันงามวิจิตร ครั้นถึงเวลาพระเจ้าสุทโธทนะทรงไถแรกนาขวัญ บรรดาพระพี่เลี้ยงนางนมที่เฝ้าถวายบำรุงพระกุมารพากันหลีกออกมาดูพิธีนั้นเสียหมด คงปล่อยให้พระกุมารประทับ ณ ภายใต้ร่มไม้หว้าแต่พระองค์เดียว

เมื่อพระกุมารเสด็จอยู่พระองค์เดียว ได้ความสงัดเป็นสุขก็ทรงนั่งขัดสมาธิเจริญอานาปานสติกัมมัฏฐาน ยังปฐมฌานให้บังเกิดในเวลานั้นเป็นเวลาบ่าย เงาแห่งต้นไม้ทั้งหลายย่อมชายไปตามแสงตะวันทั้งสิ้น แต่เงาไม้หว้านั้นทรงรูปปรากฏเป็นปริมณฑลตรงอยู่ดุจเวลาตะวันเที่ยงเป็นมหัศจรรย์

ครั้นนางนมพี่เลี้ยงทั้งหลายกลับมาเห็นปาฏิหาริย์ดังนั้น ก็พลันพิศวงจึงรีบไปกราบทูลพระเจ้าสุทโธทนะ พระเจ้าสุทโธทนะได้ทรงสดับก็รีบเสด็จมาโดยเร็ว ครั้นได้ทอดพระเนตรเห็นปาฏิหารย์เป็นมหัศจรรย์เช่นนั้น ก็ทรงยกพระหัตถ์ถวายอภิวันทนาการ ออกพระโอษฐ์ดำรัสว่า เมื่อวันเชิญมาให้ถวายนมัสการพระกาฬเทวิลดาบสก็ทรงทำปาฏิหาริย์ขึ้นไปยืนชฎาพระดาบส อาตมะก็ประณตครั้งหนึ่งแล้ว และครั้นนี้อาตมะก็ถวายอัญชลีเป็นวาระที่สอง ตรัสแล้วก็ให้เชิญพระกุมารเสด็จคืนเข้าพระนครด้วยความเบิกบานพระทัย

ปาฏิหาริย์คำรบสาม เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จยังนครกบิลพัสดุ์เป็นครั้งแรกภายหลังจากตรัสรู้ ตามคำทูลเชิญของพระเจ้าสุทโธทนะพระพุทธบิดา ครั้นพระบรมศาสดาพร้อมด้วยพระสงฆ์สาวกเสด็จถึงกบิลพัสดุ์นคร บรรดาพระประยูรญาติที่มาสโมสรต้อนรับอยู่หน้า มีพระเจ้าสุทโธทนะพระพุทธบิดาเป็นประธาน ต่างแสดงออกซึ่งความเบิกบานตามควรแก่วิสัย แล้วทูลเชิญให้เสด็จขึ้นประทับยังพระนิโครธารามพระมหาวิหาร พระบรมศาสดาก็เสด็จขึ้นประทับบนพระบวรพุทธาอาสน์ บรรดาพระสงฆ์ ๒ หมื่นต่างก็ขึ้นนั่งบนอาสนะอันมโหฬาร ดูงามตระการปรากฏสมพระเกียรติศากยบุตรพุทธชิโนรสบรรดามี

ครั้งนั้นบรรดาพระประยูรญาติทั้งหลายมีมานะทิฏฐิอันกล้า นึกละอายใจใม่อาจน้อมประนมหัตถ์ถวายนมัสการพระบรมศาสดาได้ ด้วยดำริว่า "พระสิทธัตถะมีอายุยังอ่อน ไม่ควรแก่ชุลีกรนมัสการ จึงจัดให้พระประยูรญาติราชกุมารที่พระชนมายุยังน้อย คราวน้องคราวบุตรหลานออกไปนั่งอยู่ข้างหน้าเพื่อจะได้ถวายบังคมพระบรมศาสดา ซึ่งเห็นว่าควรแก่วิสัย ส่วนพระประยูรญาติผู้ใหญ่พากันประทับนั่งอยู่เบื้องหลังเหล่าพระราชกุมาร ไม่ประนมหัตถ์ ไม่นมัสการ หรือคาระแต่ประการใด ด้วยมานะจิตคิดในใจว่าตนแก่กว่า ไม่ควรจะวันทาพระสิทธัตถะ"

เมื่อพระบรมศาสดาประสบเหตุ ทรงพระประสงค์จะให้เกิดสลดจิตคิดสังเวชแก่พระประยูรญาติที่มีมานะจิตคิดมมังการ จึงทรงสำแดงปาฏิหารย์เหาะขึ้นลอยอยู่ในอากาศ ให้ปรากฏประหนึ่งว่าละอองธุลีพระบาทได้หล่นลงตรงเศียรเกล้าแห่งพระประยูรญาติทั้งหลายด้วยพุทธานุภาพเป็นอัศจรรย์



มีต่อ >>> ๏ แสดงอิทธานุภาพสยบคณาจารย์ใหญ่นักบวชชฎิล

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ค. 2010, 06:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


๏ แสดงอิทธานุภาพสยบคณาจารย์ใหญ่นักบวชชฎิล

เมื่อพระพุทธเจ้าทรงส่งพระสาวกชุดแรกจำนวน ๖๐ องค์ออกเผยแผ่พระพุทธศาสนา อันมีพระปัญจวัคคีย์ ๕ องค์ พระยสะ และภิกษุอดีตสายบุตรเศรษฐีชาวเมืองพาราณสีทั้งสี่ รวมเป็น ๕ องค์ พร้อมด้วยภิกษุอดีตสหายของพระยสะ ซึ่งเป็นชาวชนบทอีก ๕๐ องค์แล้ว พระบรมศาสดาได้เสด็จถึงไร่ฝ้ายระหว่างทางจากป่าอิสิปตนมฤคทายวัน มายังตำบลอุรุเวลา ทรงแสดงธรรมโปรดมาณพ ๓๐ คนในราชตระกูลแห่งราชวงค์โกศลซึ่งเรียกว่า "ภัททวัคคีย์" ได้ดวงตาเห็นธรรม ทรงประทานอุปสมบทให้เป็นภิกษุ แล้วทรงสั่งสอนให้บรรลุอริยผลเบื้องสูง ทรงส่งไปประกาศพระศาสนาเช่นเดียวกับพระสาวก ๖๐ องค์แรก พระอริยสงฆ์คณะนี้ได้กราบทูลลาเดินทางไปยังเมืองปาวา

จากนั้นพระบรมศาดาทรงเสด็จตรงไปยังตำบลอุรุเวลา อันตั้งอยู่ในเขตเมืองราชคฤห์ ราชคฤห์มหานครนั้นเป็นครหลวงแห่งแคว้นมคธ เป็นเมืองที่คับคั่งด้วยผู้คน เจริญวิทยาความรู้ ตลอดจนการค้าขายเป็นที่รวมอยู่แห่งคณาจารย์เจ้าลัทธิมากมาย

ในบรรดาคณาจารย์ใหญ่ๆ นั้น ท่านอุรุเวลกัสสปเป็นคณาจารย์ใหญ่ผู้หนึ่ง ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวนครราชคฤห์เป็นอันมาก ท่านอุรุเวลกัสสปเป็นนักบวชจำพวกชฎิล ท่านมีพี่น้องด้วยกัน ๓ คน ออกบวชจากตระกูลกัสสปโคต ท่านอุรุเวบเป็นพี่ชายใหญ่มีชฎิล ๕๐๐ เป็นบริวาร ตั้งอาศรมสถานที่พนาสณฑ์ ตำบลอุรุเวลา ต้นแม่น้ำเนรัญชราตำบลหนึ่ง จึงได้นามว่า อุรุเวลกัสสป ส่วนน้องคนกลางมีชฎิลบริวาร ๓๐๐ ตั้งอาศรมสถานอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ถัดเข้าไปอีกตำบลหนึ่ง จึงได้นามว่า นทีกัสสป ส่วนน้องคนเล็กมีชฎิลบริวาร ๒๐๐ ตั้งอาศรมสถานอยู่ที่คุ้งใต้แห่งแม่น้ำเนรัญชรานั้น ต่อไปอีกตำบลหนึ่ง ซึ่งมีนามว่า ตำบลคยาสีสะ จึงได้นามว่า คยากัสสป ชฎิลคณะนี้ทั้งหมดมีลัทธิหนักในการบูชาเพลิง

จากนั้นพระบรมศาสดาเสด็จไปถึงอาศรมสถานของท่านอุรุเวลกัสสป ในเวลาเย็น ทรงรับสั่งขอพักแรมด้วยสัก ๑ ราตรี อุรุเวลกัสสปรังเกียจ ทำอิดเอื้อนไม่พอใจให้พัก เพราะเห็นพระศาสดาเป็นนักบวชต่างลัทธิของตน พูดบ่ายเบี่ยงว่า ไม่มีที่ให้พัก ครั้นพระบรมศาสดาตรัสขอพักที่โรงไฟ ซึ่งเป็นสถานที่บูชาเพลิงของชฎิลด้วยเป็นที่ว่าง ไม่มีชฏิลอยู่อาศัย ทั้งเป็นที่อยู่ของนาคราชดุร้ายด้วย อุรุเวลกัสสปได้ทูลว่า พระองค์อย่างพอใจพักที่โรงไฟเลย ด้วยเป็นที่อยู่ของพระยานาคมีพิษร้ายแรง ทั้งดุร้ายที่สุด จะเป็นอันตรายถึงชีวิต เมื่อพระบรมศาสดารับสั่งยืนยันว่า นาคราชนั้นจะไม่เบียดเบียนพระองค์เลย ท่านอุรุเวลกัสสปจึงได้อนุญาตให้เข้าไปพักแรก

ลำดับนั้น พระบรมศาสดาเสด็จเข้าไปในโรงไฟ ประทับนั่ง ดำรงพระสติต่อพระกัมมัฏฐานภาวนา ฝ่ายพญานาคเห็นพระบรมศาสดาเสด็จเข้ามาประทับในที่นั้น ก็มีจิตคิดขึ้งเคียดจึงพ่นพิษตลบไป ในลำดับนั้น พระบรมศาสดาก็ทรงพระดำริว่า ควรที่ตถาคตจะแสดงอิทธานุภาพให้เป็นควันไปสัมผัสมังสฉวี และเอ็นอัฐิแห่งพญานาคนี้ระงับเดชพญานาคให้เหือดหาย แล้วก็ทรงสำแดงอิทธาสังขารดังพระดำรินั้น พญานาคมิอาจจะอดกลั้นซึ่งความพิโรธได้ ก็บังหวนควันพ่นพิษเป็นเพลิงพลุ่งโพลงขึ้น พระบรมศาสดาก็สำแดงเตโชกสิณสมาบัติ บันดาลเปลวเพลิงรุ่งโรจน์โชตนาการ และเพลิงทั้งสองฝ่ายก็บังเกิดขึ้นแสงแดงสว่างดุจเผาผลาญซึ่งโรงไฟนั้นให้เป็นเถ้าธุลี ส่วนชฎิลทั้งหลายก็แวดล้อมโรงไฟนั้น ต่างเจรจากันว่า พระสมณะนี้มีสิริรูปงามยิ่งนัก เสียดายที่เธอมาวอดวายเสียด้วยพิษแห่งพญานาคในที่นี้

ครั้นล่วงสมัยราตรีรุ่งเช้า พระบรมศาสดาก็กำจัดฤทธิ์เดชพญานาคให้อันตรธานหาย บันดาลให้นาคนั้นขดกายลงในบาตร แล้วทรงสำแดงแก่อุรุเวลกัสสป ตรัสบอกว่า พญานาคนี้สิ้นฤทธิ์เดชแล้ว อุรุเวลกัสสปเห็นดังนั้นก็ดำริว่า พระสมณะนี้มีอานุภาพมาก ระงับเสียซึ่งฤทธิ์พญานาคให้อันตรธานพ่ายแพ้ไปได้ ถึงดังนั้นไซร้ก็ไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนอาตมา อุรุเวลกัสสปมีจิตเลื่อมใสในอิทธิปาฏิหาริย์จึงกล่าวว่า ข้าแต่สมณะ นิมนต์พระผู้เป็นเจ้าอยู่ ณ อาศรมของข้าพเจ้าเถิด ข้าพเจ้าจะถวายภัตตาหารให้ฉันทุกวันเป็นนิตย์

พระบรมศาสดาก็เสด็จประทับยังพนาสณฑ์ ตำบลหนึ่งใกล้อาศรมแห่งอุรุเวลกัสสปชฎิลนั้น ครั้นสมัยราตรีเป็นลำดับ ท้าวจาตุมหาราชทั้ง ๔ ก็ลงมาสู่สำนักพระบรมโลกนาถ ถวายอภิวาทและยืนอยู่ใน ๔ ทิศ มีทิพยรังสีสว่างดุจกองเพลิงก่อไว้ทั้ง ๔ ทิศ ครั้งเวลาเช้าอุรุเวลกัสสปจึงเข้าไปสู่สำนักพระบรมศาสดาทูลว่า นิมนต์พระสมณะไปฉันภัตตาหารเถิด ข้าพเจ้าตกแต่งไว้ถวายเสร็จแล้ว แต่เมื่อคืนนี้เห็นรัศมีสว่างไปทั่วพนัสมณฑลสถาน บุคคลผู้ใดมาสู่สำนักพระองค์จึงปรากฏรุ่งเรืองในทิศทั้ง ๔ พระบรมศาสดาจึงตรัสบอกว่า "ดูกรกัสสป นั้นคือท้าวจาตุมหาราชทั้ง ๔ ลงมาสู่สำนักตถาคตเพื่อฟังธรรม" อุรุเวลกัสสปได้สดับดังนั้นก็ดำริว่า พระมหาสมณองค์นี้มีอานุภาพมาก ท้าวจาตุมหาราชยังลงมาสู่สำนัก ถึงกระนั้นก็ยังไม่ได้เป็นพระอรหันต์เหมือนอาตมา

ครั้นรัตติกาลสมัย ท้าวสหัสสนัยน์ก็ลงมาสู่สำนักพระบรมศาสดา ถวายนมัสการแล้วยืนอยู่ที่อันควรส่วนข้างหนึ่ง เปล่งรัศมีสว่างดุจกองอัคคีใหญ่ไพโรจน์ยิ่งกว่าราตรีก่อน ครั้นเพลารุ่งเช้ากัสสปชฎิลทูลอาราธนาให้ฉันภัตตาหาร แล้วทูลถามว่า เมื่อคืนนี้มีผู้ใดมาสู่สำนักพระองค์ จึงมีรัศมีสว่างยิ่งกว่าราตรีก่อน พระบรมศาสดตรัสบอกว่า "ดูกรกัสสป เมื่อคืนนี้ท้าวโกสีย์สักเทวราชลงมาสู่สำนักตถาคตเพื่อจะฟังธรรม" ชฎิลได้สดับดังนั้นก็ดำริเห็นเป็นอัศจรรย์ดุจนัยก่อน

ครั้นเข้าสมัยอีกราตรีหนึ่งถัดมา ท้ายสหัมบดีพรหมก็ลงมาสู่สำนักพระบรมศาสดา เปล่งรัศมีสว่างยิ่งขึ้นไปกว่าสองราตรีก่อน ครั้นรุ่งเช้าอุรุเวลกัสสปก็ไปทูลอาราธนา ฉันภัตตาหารแล้วทูลถามอีกพระบรมศาสดาตรัสบอกว่า "เมื่อคืนนี้ท้าวสหัมบดีพรหมลงมาสู่สำนักตถาคต" กัสสปดาบสก็ดำริดุจนัยก่อน

ในวันรุ่งขึ้น ชนชาวอังครัฐทั้งหลายจะนำเอาขาทนียโภชนียาหารเป็นอันมาก มาถวายแด่อุรุเวลกัสสปชฎิล อุรุเวลกัสสปชฎิลจึงดำริแต่ในราตรีว่า รุ่งขึ้นมหาชนจะนำเอาอเนกนานาหารมาสู่สำนักอาตมา หากพระสมณะรูปนี้สำแดงอิทธิปาฏิหาริย์ ลาภสักการะก็จะบังเกิดแก่เธอเป็นอันมาก อาตมาจักเสื่อมสูญจากสรรพสักการบูชา ทำไฉน ณ วันพรุ่งนี้อย่าให้เธอมาสู่ที่นี้ได้

พระบรมศาสดาทรงทราบความดำริของชฏิลด้วยเจโตปริยญาณ (ญาณหยั่งรู้ใจผู้อื่น) ครั้นเพลารุ่งเช้าก็เสด็จออกไปสู่อุตตรกุรุทวีป ทรงบิณฑบาตได้ภัตตาหารแล้ว ก็เสด็จมากระทำภัตตกิจยังฝั่งอโนดาต แล้วทรงยับยั้งอยู่ ณ ทิวาวิหารในที่นั้น ต่อมาเพลาสายัณหสมัยจึงเสด็จมาสู่วณสณฑ์สำนัก ครั้นรุ่งขึ้นกัสสปชฎิลไปทูลอาราธนาเสวยภัตตาหารและทูลถามว่า "วานนี้พระองค์ไปแสวงหาอาหารในที่ใด ไฉนไม่ไปสู่สำนักข้าพเจ้า ข้าพเจ้าระลึกถึงพระองค์อยู่" จึงมีพระพุทธฎีกาตรัสบอกว่า วาระน้ำจิตของชฎิลที่วิตกนั้นให้แจ้งทุกประการ อุรุเวลกัสสปได้สดับก็ตกใจดำริว่า พระมหาสมณะนี้มีอำนาจมากแท้ เธอล่วงรู้จิตอาตมาถึงดังนั้น แต่ก็ยังไม่เป็นพระอรหันต์ดังอาตมา

ในกาลนั้น ผ้าบังสุกุลจีวรบังเกิดแก่พระบรมศาสดา พระองค์เสด็จไปซักผ้าบังสุกุลซึ่งห่อศพนางปุณณาทาสี ที่ทอดทิ้งอยู่ในป่าช้าผีดิบ เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งเป็นกษัตริย์เสด็จจากขัตติยราชสกุลอันสูงด้วยเกียรติศักดิ์ ทรงตรัสรู้เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ ลดพระองค์ลงมาซักผ้าห่อศพนางปุณณทาสีที่ทอดทิ้งอยู่ในป่าช้า เพื่อทรงใช้เป็นผ้าจีวรทรงเช่นนี้ เป็นกรณียะที่สุดวิสัยของเทวดาและมนุษย์ซึ่งอยู่ในสถานะเช่นนั้นจะทำได้ มหาปฐพีใหญ่ก็กัมปนาทหวั่นไหวเป็นมหัศจรรย์ถึง ๓ ครั้ง ตลอดระยะทางที่พระบรมศาสดาทรงพระดำริว่าตถาคตจะซักผ้าบังสุกุล ณ ที่ใด ?

ขณะนั้น ท้าวสหัสสนัยน์อมรินทราธิราชทรงทราบในพุทธปริวิต จึงเสด็จลงมาขุดสระโบกขรณีด้วยพระหัตถ์ในพื้นศิลา สำเร็จด้วยเทวฤทธิ์ให้เต็มไปด้วยอุทกวารี แล้วกราบทูลให้ซักผ้าบังสุกุลในที่นั้น ขณะที่ทรงซักก็ทรงพระดำริว่า จะทรงขยำในที่ใดดี ท้าวโกสีย์ก็นำเอาแผ่นศิลาใหญ่เข้าไปถวาย ทรงขยำด้วยพระหัสถ์จนหายกลิ่นอสุภ แล้วก็ทรงพระดำริว่าจะห้อยผ้าบังสุกุลจีวรในที่ใดดี ลำดับนั้นรุขเทพยดาซึ่งสิงสถิตอยู่ ณ ไม้กุ่มบก ก็น้อมกิ่งไม้ลงมาถวายให้ทรงห้อยตากจีวร ครั้นทรงห้อยตากแล้วก็ทรงพระจินตนาว่า จะแผ่พับผ้าในที่ใด ท้าวสหัสสนัยน์ก็ยกแผ่นศิลาอันใหญ่มาทูลถวายให้แผ่ผ้ามหาบังสกุลนั้น

เพลารุ่งเช้าอุรุเวลกัสสปไปเฝ้าพระบรมศาสดา เห็นสระและแผ่นศิลาทั้งสอง ซึ่งมิได้ปรกกฏมีในนั้นมาก่อน และกิ่งไม้กุ่มน้อมลงมาเช่นนั้น จึงทูลถาม พระบรมศาสดาตรัสบอกความทั้งปวงให้ทราบ เมื่อกัสสปได้ฟังก็สะดุ้งตกใจดำริว่า พระสมณะองค์นี้มีเดชานุภาพมากยิ่งนัก แม้ท้าวมัฆวานยังลงมากระทำไวยาวัจกิจถวาย แต่ก็ไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนอาตมา

ครั้นวันรุ่งขึ้นในวันถัดเป็นลำดับ กัสสปชฎิลไปทูลนิมต์ฉันภัตตาหาร จึงตรัสว่า "ท่านจงไปก่อนเถิด ตถาคตจะตามไปภายหลัง" เมื่อส่งชฎิลไปแล้ว จึงเสด็จเหาะไปนำเอาผลหว้าใหญ่ประจำทวีปในป่าหิมพานต์มา แล้วก็เสด็จมาถึงโรงไฟก่อนหน้าชฎิลจะมาถึง ครั้นชฎิลทูลถามว่า พระองค์มาทางใดจึงถึงก่อน พระศาสดาจึงตรัสประพฤติเหตุแล้วตรัสว่า "ดูกรกัสสป ผลหว้าประจำทวีปนี้มีวรรณสัณฐานสุคันธรเอมโอช ถ้าท่านปรารถนาจะบริโภคก็เชิญตามปรารถนา"

ในวันต่อมาได้ทรงทำปาฏิหาริย์เช่นนั้นอีก ๔ ครั้ง คือ ทรงส่งอุรุเวลกัสสปมาก่อนแล้ว เสด็จเหาะไปเก็บผลมะม่วงครั้งหนึ่ง เก็บผลขามป้อมครั้งหนึ่ง เก็บผลส้มในป่าหิมพานต์ครั้งหนึ่ง เสด็จขึ้นไปดาวดึงสเทวโลกนำเอาผลไม่ปาริฉัตรตกครั้งหนึ่ง เสด็จมาถึงก่อน คอยท่าอุรุเวลกัสสปอยู่ที่โรงไฟ ให้ชฎิลเห็นเป็นอัศจรรย์ใจทุกครั้ง

วันหนึ่ง ชฎิลทั้งหลายปรารถนาจะก่อไฟมิอาจผ่าฟืนออกได้จึงดำริว่า ที่เป็นดังนี้เพราะฤทธิ์พระสมณะทำโดยแท้ พระบรมศาสดาจึงตรัสถามครั้นทราบความแล้วก็ตรัสว่า ท่านจงผ่าฟืนออกได้จึงดำริว่า ที่เป็นดังนี้เพราะฤทธิ์พระสมณะทำโดยแท้ พระบรมศาสดาจึงตรัสถามครั้นทราบความแล้วก็ตรัสว่า ท่านจงผ่าฟืนตามปรารถนาเถิดในทันใดนั้น ชฎิลก็ผ่าฟืนออกตามประสงค์

วันหนึ่ง ชฎิลทั้ง ๕๐๐ ปรารถนาจะบูชาเพลิง ก่อเพลิงไม่ติดจึงคิดปริวิตกเหมือนหนหลัง พระพุทธเจ้าตรัสถามทราบความแล้วก็ทรงอนุญาตให้ก่อเพลิงได้ เพลิงก็ติดขึ้นทั้ง ๕๐๐ กองพร้อมกันในขณะเดียวชฎิลทั้งหลายบูชาเพลิงสำเร็จแล้ว จะดับเพลิง เพลิงก็ไม่ดับจึงดำริดุจหนก่อน พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ดับเพลิงเพลิงก็ดับพร้อมกัน ทั้ง ๕๐๐ กอง

วันหนึ่งในเวลาหนาว ชฎิลทั้งหลายลงอาบน้ำดำผุดขึ้นลงในแม่น้ำเนรัญชรา พระพุทธเจ้าทรงดำริว่า เมื่อชฎิลขึ้นจากน้ำจะหนาวมากจึงทรงนิรมิตเชิงกราน ๕๐๐ อันมีเพลิงติดไว้ทั้งสิ้น ครั้นชฎิลทั้งหลายขึ้นจากน้ำหนาวจัดก็ชวนกันเข้าผิงไฟที่เชิงกราน แล้วก็คิดสันนิษฐานว่าพระมหาสมณะคงจะนิรมิตไว้ให้เป็นแน่ น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก

วันหนึ่ง มหาเมฆตั้งขึ้นมิใช่ฤดูกาล บันดาลให้ฝนตกลงมาเป็นอันมาก กระแสน้ำเป็นห้วงใหญ่ท่วมไปในที่ทั้งปวงโดยรอบบริเวณนั้น ฝ่ายอุรุเวลกัสสปนั้นคิดว่า พระมหาสมณะนี้น้ำจะท่วมเธอหรือไม่ท่วมประการใด จึงลงเรือพร้อมกับชฎิลทั้งหลายรีบพายไปดูโดยด่วน ถึงสถานที่ซึ่งพระบรมศาสดาทรงสถิตก็เห็นน้ำสูงขึ้นเป็นกำแพงอยู่โดยรอบ แลเห็นพระบรมศาสดาเสด็จจงกรมอยู่ในพื้นภูมิภาคปราศจากน้ำ จึงส่งเสียงร้องเรียก พระพุทธเจ้าขานรับว่า "กัสสป ตถาคตอยู่ที่นี้" แล้วก็เสด็จเหาะขึ้นไปบนอากาศเลื่อนลอยลงสู่เรือของกัสสปชฎิล กัสสปชฎิลก็ดำริว่า พระมหาสมณะนี้มีฤทธิ์เป็นอันมาก แต่ถึงมีอานุภาพมากอย่างนั้นก็ยังไม่เป็นพระอรหันต์เหมืออาตมา

แท้จริงตั้งแต่พระพุทธเจ้าเสด็จจากป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ในวันแรม ค่ำหนึ่ง เดือนกัตติกมาส (เดือน ๑๒) มาประทับอยู่ที่ตำบลอุรุเวลาจนตราบเท่าถึงวันเพ็ญเดือน ๒ เป็นเวลาสองเดือน ทรงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ทรมานอุรุเวลา จนตราบเท่าถึงวันเพ็ญเดือน ๒ เป็นเวลาสองเดือน ทรงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ทรมานอุรุเวลกัสสปโดยอเนกประการ แต่อุรุเวลกัสสปก็ยังมีสันดานกระด้าง ถือตนว่าเป็นพระอรหันต์อยู่อย่างนั้นด้วยทิฐิอันกล้ายิ่งนัก จึงทรงพระดำริว่า ตถาคตจะยังให้ชฎิลสลดจิตคิดสังเวชตนเอง

พระบรมศาสดาจึงมีพระวาจาตรัสแก่อุรุเวลกัสสปว่า "กัสสปตัวท่านมิได้เป็นพระอรหันต์ ทั้งทางปฏิบัติของท่านก็ยังห่างไกลมิใช่ทางมรรคผลอันใด ไฉนเล่าท่านจึงถือตนว่าเป็นพระอรหันต์ เท็จต่อตนเองทั้งๆ ที่ท่านก็รู้ตัวดีว่า ตัวยังมิได้บรรลุโมกขธรรมอันใด ยังทำตนลวงคนอื่นว่าเป็นพระอรหันต์อยู่อีก กัสสป ! ถึงเวลาอันควรแล้วที่ท่านจะสารภาพ แก่ตัวของท่านเองว่า ท่านยังมิได้เป็นพระอรหันต์ ทั้งยังมิได้ปฏิบัติธรรมเพื่อเป็นพระอรหันต์ด้วย กัสสป ! แล้วท่านจะได้เป็นพระอรหันต์ในกาลไม่นาน"

เมื่ออุรุเวลกัสสปได้สดับพระโอวาท ก็รู้สึกตัวละอายแก่ใจ ซบเศียรลงแทบพระยุคลบาท แล้วกราบทูลว่า "ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ขอบรรพชาอุปสมบทในสำนักพระองค์ ขอถึงพระองค์ และพระธรรม พระสงฆ์เป็นที่พึ่ง"

พระบรมศาสดาจึงตรัสว่า "กัสสป ! ตัวท่านเป็นอาจารย์ยิ่งใหญ่เป็นประธานแก่หมู่ชฎิล ๕๐๐ ท่านจงชี้แจงให้ชฎิลบริวารยินยอมพร้อมกันก่อน แล้วตถาคตจึงจะยอมให้บรรพชาอุปสมบท"

อุรุเวลกัสสปก็กราบถวายบังคมลามายังอาศรม และบอกกับชฎิลผู้เป็นศิษย์ ศิษย์ก็ยินยอมพร้อมกันจะบรรพชาอุปสมบทในสำนักพระบรมศาสดาทั้งสิ้น แล้วชฎิลทั้งหลายก็พร้อมใจกันลอยเครื่องบริขารและเครื่องตกแต่งผม ชฎา สาแหรก คาน เครื่องบูชาเพลิง ทั้งน้ำเต้า หนังเสือ ไม้สามง่ามลงในแม่น้ำทั้งสิ้น แล้วก็พากันมาเฝ้าพระบรมศาสดา ถวายอภิวาทแทบพระยุคลบาท ทูลขอบรรพชาอุปสมบท พระบรมศาสดาก็ทรงพระกรุณาโปรดประทานอุปสมบทด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทาเสมอกัน

ครั้นนั้น ท่านนทีกัสสปผู้เป็นน้องกลาง เห็นเครื่องบริขารทั้งปวงลอยน้ำมาก็ดำริว่า ชรอยอันตรายจะมีแก่ดาบสทั้ง ๓๐๐ อันเป็นศิษย์มาสู่สำนักของท่านอุรุเวลกัสสป ถามเหตุนั้น ครั้นทราบความแล้วก็เลื่อมใส ชวนกันลอยเครื่องดาบสบริขารลงในแม่น้ำนั้น แล้วพากันเข้าถวายอัญชลีทูลขอบรรพชา พระบรมศาสดาก็โปรดประทานอุปสมบทด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทาด้วยกันทั้งสิ้น

ฝ่ายคยากัสสปผู้เป็นน้องคนสุดท้อง เห็นเครื่องบริขารของพี่ชายลอยน้ำลงมาก็จำได้ จึงส่งศิษย์ไปสืบความ เมื่อรู้เหตุแล้วก็พาดาบสทั้ง ๒๐๐ อันเป็นศิษย์ไปสู่สำนักของอุรุเวลกัสสป ไปถามความทราบกระจ่างแล้วเลื่อมใส ชวนกันลอยเครื่องบริขารลงในกระแสชลแล้วเข้าทูลขอบรรพชาต่อพระพุทธเจ้า พระบรมศาสดาก็โปรดประทานอุปสมบทด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา

พระพุทธเจ้าทรงเสด็จดำเนินพาภิกษุสงฆ์ ๑,๐๐๐ นั้นไปสู่ตำบลคยาสีสะ ตรัสพระธรรมเทศนาอาทิตตปริยายสูตร อันเป็นพระสูตรแสดงอายตนะภายใน อายตนะภายนอกวิญญาณ สัมผัส เวทนาเป็นของร้อน ร้อนเพราะไฟ คือ ราคะ โทสะ โมหะ เพื่ออนุโลมตามอัธยาศัยของปุราณชฎิลที่นิยมบูชาไฟเป็นวัตร โปรดภิกษุทั้ง ๑,๐๐๐ นั้นให้บรรลุพระอรหัตด้วยกันทั้งสิ้น



มีต่อ >>> ๏ ยมกปาฏิหาริย์ อัศจรรย์ไฟคู่น้ำ

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ค. 2010, 06:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


๏ ยมกปาฏิหาริย์ อัศจรรย์ไฟคู่น้ำ

เมื่อครั้งที่ พระปิณโฑลภารทวาชะ ทำปาฏิหาริย์สำแดงฤทธิ์ให้เศรษฐีในพระนครราชคฤห์ผู้หนึ่งได้ประจักษ์ว่า มีพระอรหันต์บังเกิดขึ้นในโลกแล้ว ครั้นพระพุทธเจ้าทรงทราบความแล้ว พระบรมศาสดาทรงตำหนิ และมีบัญญัติห้ามมิให้พระสาวกทำปาฏิหาริย์อีกต่อไป

ครั้นพวกเดียรพีย์ได้ทราบข่าว พากันดีใจว่าเป็นโอกาสของเราแล้ว จึงให้สาวกของตนออกประกาศว่า เราจะทำปาฏิหาริย์กะพระสมณโคดม เมื่อพระเจ้าพิมพิสารได้ทรงสดับข่าวนั้นแล้วร้อนพระทัยด้วยความเป็นห่วง รีบเสด็จไปเฝ้าพระบรมศาสดาที่พระวิหาร ทูลถามว่า

"พระองค์ทรงบัญญัติห้ามพระสาวกทำปาฏิหาริย์เป็นความจริงหรือพระเจ้าค่ะ"

"เป็นความจริง มหาบพิตร" พระบรมศาสดาทรงรับสั่ง

"ถ้าพวกเดียรถีย์จะทำปาฏหาริย์แล้วพระองค์จะทำอย่างไร"

"ถ้าพวกเดียรถีย์ทำ ตถาคตก็จะทำด้วย"

"ก็พระองค์ทรงบัญญัติห้ามแล้วมิใช่หรือ"

"ถูกแล้ว มหาบพิตร ตถาคตห้ามพระสาวกต่างหาก หาได้ห้ามอาตมาไม่ เหมือนเจ้าของสวนผลไม้ห้ามเก็บผลไม้ ความจริงก็หาได้ห้ามเจ้าของสวนเก็บมิใช่หรือ มหาบพิตร"

พระเจ้าพิมพิสารทูลถามต่อไปว่า "พระองค์จะทำที่ไหนและจะทำเมื่อใด"

"ถวายพระพร อาตมาจะทำที่เมืองสาวัตถี ในวันเพ็ญเดือน ๘ นับแต่นี้ไปอีก ๔ เดือน"

ครั้นพระบรมศาสดาเสด็จอยู่ที่พระนครราชคฤห์พอสมควรแก่อัธยาศัยแล้ว ก็เสด็จดำเนินไปยังพระนครสาวัตถี พวกเดียรถีย์พากันกลั่นแกล้งโจษจันว่าพระสมณโคดมหนีไปแล้ว เราจะไม่ลดละจะติดตามไปทำปาฏิหาริย์ด้วย

ครั้นย่างเข้าเดือน ๘ ใกล้เวลาทำปาฏิหาริย์ พวกเดียรถีย์ได้จัดสร้างมณฑปใหญ่ประดิษฐ์ด้วยไม้ตะเคียนงามวิจิตร ประกาศให้มหาชนทราบว่าตนจะทำปาฏิหาริย์ที่นี้

ครั้งนั้นพระเจ้าปัสเสนทิโกศลเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา รับจะทำมณฑปถวายเพื่อทำปาฏิหาริย์ พระบรมศาสดาไม่ทรงรับ ตรัสว่าอาตมาจะไม่ใช้มณฑปทำปาฏิหาริย์ แต่จะอาศัยร่มไม้มะม่วงทำปาฏิหาริย์

ครั้นพวกเดียรถีย์ทราบว่า พระบรมศาสดาจะทรงทำปาฏิหาริย์ที่ร่มไม้มะม่วง จึงจ่ายทรัพย์จ้างให้คนทำลายต้นมะม่วงในที่สาธารณะทั้งในและนอกเมืองให้หมด เพื่อมิให้โอกาสแก่พระพุทธเจ้าทรงทำปาฏิหาริย์

ครั้นถึงวันเพ็ญแห่งอาสาฬมาส คือ เช้าแห่งวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์สาวกเสด็จเข้าไปภายในพระนครสาวัตถี เพื่อบิณฑบาต ประจวบกับราชบุรุษผู้รักษาสวนหลวงคนหนึ่งชื่อ คัณฑะ เห็นมะม่วงทะวายมีมดแดงทำรังหุ้มอยู่กำลังสุก จึงได้สอยมะม่วงผลนั้นลงมา เมื่อทำความสะอาดดีแล้วก็จัดใส่ภาชนะนำไปจากสวนเพื่อถวายพระราชา พอดีเห็นพระพุทธเจ้าเสด็จมาแต่ไกลก็มีความเลื่อมใส พลางดำริ มะม่วงผลนี้หากเราจะเอาไปถวายพระราชาก็คงจะได้รับพระราชทานรางวัลไม่เกิน ๑๕ กหาปนะ แต่ถ้าเราจะน้อมถวายพระพุทธเจ้าแล้ว จะเป็นมหากุศลอำนวยอานิสงส์ผลให้ประโยชน์สุขแก่เราสิ้นกาลนาน เมื่อนายคัณฑะดำริเช่นนี้แล้ว ก็น้อมมะม่วงสุกผลนั้นเข้าไปถวายพระพุทธเจ้า

ครั้นพระบรมศาสดาทรงรับผลมะม่วงของนายคัณฑะแล้ว ประสงค์จะประทับนั่ง ณ ที่ตรงนั้น พระอานนท์เถระเจ้าอาสนะถวายประทับตามพุทธประสงค์ ครั้นประทับนั่งแล้ว ทรงหยิบผลมะม่วงในบาตรส่งให้พระอานนท์ทำปานะ พระอานนท์ก็จัดทำปานะมะม่วง คือน้ำผลมะม่วงคั้น ถวายตามพระประสงค์ ครั้นพระบรมศาสดาเสวยแล้วก็ทรงส่งเมล็ดมะม่วงให้นายคัณฑะว่า "คัณฑะ ! เธอจงคุ้ยดินร่วนขึ้นทำเป็นหลุม ปลูกมะม่วงเมล็ดนี้ ณ ที่นี้เถิด" นายคัณฑะก็จัดปลูกมะม่วงเมล็ดนี้ ณ ที่นั้น

พระพุทธเจ้าทรงล้างพระหัตถ์เหนือพื้นดินบนเมล็ดมะม่วงนั้น ในทันใดนั้นก็พลันบังเกิดความอัศจรรย์ขึ้น เมล็ดมะม่วงนั้นในทันใดนั้นก็พลันบังเกิดความอัศจรรย์ขึ้น เมล็ดมะม่วงนั้นเกิดงอกออกต้นขึ้นทันที และในช่วงขณะที่นายคัณฑะพร้อมด้วยพระสาวกทั้งหลายมองดูอยู่ด้วยความพิศวง ต้นมะม่วงต้นน้อยๆ นั้นก็เติบโตใหญ่ขึ้นๆ ออกกิ่งใหญ่ๆ ถึง ๕ กิ่ง ยื่นยาวออกไปถึง ๕๐ ศอก ทั้งล้วนตกดอกออกผล มีทั้งผลดิบผลสุก แลอร่ามไปทั้งต้น ร่วงหล่นเกลื่อนพื้นพสุธา

นายคัณฑะมีปีติเลื่อมใส ได้ประสบอัศจรรย์เฉพาะหน้า ก็เก็บผลมะม่วงสุกที่หล่นมาถวายพระสงฆ์ทั้งหลายที่ติดตามมาให้ฉันจนอิ่มหนำสำราญทั่วกัน

เมื่อพระบรมศาสดาทรงได้ไม้คัณฑามพฤกษ์อันสมบูรณ์ด้วย กิ่งใบสูงใหญ่งามด้วยปริมณฑล สมดังพระประสงค์เช่นนั้น ก็ทรงตั้งพระทัยจะทรงทำปาฏิหาริย์สืบไป ครั้นเวลาบ่ายแห่งวันเพ็ญอาสาฬมาส พระบรมศาสดาเสด็จออกจากพระคันธกุฏี ประทับยืนอยู่ที่มุข ท่ามกลางพุทธบริษัทซึ่งมาสโมสรกันเนืองแน่น โดยใคร่จะชมปาฏิหาริย์ จึงทรงนิมิตจงกรมแก้วอันกว้างใหญ่เหนือยอดไม้คัณฑามพฤกษ์ไพศาลงามตระการวิจิตรควรแก่ความเป็นพุทธอาสน์ที่ประทับสำหรับแสดงปาฏิหาริย์ พระบรมศาสดาทรงเสด็จลีลาศขึ้นประทับนั่งยังจงกรมแก้วมโหฬาร ทรงกระทำปาฏิหาริย์ให้บังเกิด

ท่อไฟพุ่งออกจากพระกายเบื้องบน สายน้ำพุ่งออกจากพระกายเบื้องล่าง และท่อไฟพุ่งออกจากพระกายเบื้องล่าง สายน้ำพุ่งออกจากพระกายเบื้องบน เป็นคู่ ๑

ท่อไฟพุ่งออกจากพระกายเบื้องหน้า สายน้ำพุ่งออกจากพระกายเบื้องหลัง และท่อไฟพุ่งออกจากพระกายเบื้องหลัง สายน้ำพุ่งออกจากพระกายเบื้องหน้า เป็นคู่ ๑

ท่อไฟพุ่งออกจากพระเนตร (ตา) ข้างขวา สายน้ำพุ่งออกจากพระเนตรข้างซ้าย และท่อไฟพุ่งออกจากพระเนตรข้างซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากพระเนตรข้างขวา เป็นคู่ ๑

ท่อไฟพุ่งออกจากพระกรรณ (หู, ใบหู) ข้างขวา สายน้ำพุ่งออกจากพระกรรณข้างซ้าย และท่อไฟพุ่งออกจากพระกรรณข้างซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากพระกรรณข้างขวา เป็นคู่ ๑

ท่อไฟพุ่งออกจากช่องพระนาสิก (จมูก) ข้างขวา สายน้ำพุ่งออกจากช่องพระนาสิกข้างซ้าย และท่อไฟพุ่งออกจากช่องพระนาสิกข้างซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากช่องพระนาสิกข้างขวา เป็นคู่ ๑

ท่อไฟพุ่งออกจากจงอยพระอังสา (บ่า, ไหล่) ข้างขวา สายน้ำพุ่งออกจากจงอยพระอังสาข้างซ้าย และท่อไฟพุ่งออกจากจงอยพระอังสาข้างซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากจงอยพระอังสาข้างขวา เป็นคู่ ๑

ท่อไฟพุ่งออกจากพระหัตถ์ (มือ) ข้างขวา สายน้ำพุ่งออกจากพระหัตถ์ข้างซ้าย และท่อไฟพุ่งออกจากพระหัตถ์ข้างซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากพระหัตถ์ข้าวขวา เป็นคู่ ๑

ท่อไฟพุ่งออกจากประปรัศว์ (ข้าง, สีข้าง) เบื้องขวา สายน้ำพุ่งออกจากพระปรัศว์เบื้องซ้าย และท่อไฟพุ่งออกจากพระปรัศว์เบื้องซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากพระปรัศว์เบื้องขวา เป็นคู่ ๑

ท่อไฟพุ่งออกจากพระบาท (เท้า) ข้างขวา สายน้ำพุ่งออกจากพระบาทข้างซ้าย และท่อไฟพุ่งออกจากพระบาทข้างซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากพระบาทข้างขวา เป็นคู่ ๑

ท่อไฟพุ่งออกจากนิ้วพระหัตถ์ (นิ้วมือ) ข้างขวา สายน้ำพุ่งออกจากนิ้วพระหัตถ์ข้างซ้าย ท่อไฟพุ่งออกจากนิ้วพระหัตถ์ข้างซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากนิ้วพระหัตถ์ข้างขวา เป็นคู่ ๑

ท่อไฟพุ่งออกจากพระโลมา (ขน) เส้นหนึ่ง สายน้ำพุ่งออกจากพระโลมาเส้นหนึ่ง เป็นคู่ๆ สลับกันทั่วทั้งพระกาย เมื่อท่อไฟพุ่งออกมาแล้วก็สำแดงเป็นสีสันต่างๆ สลับกันรวม ๖ สี คือ สีเขียว สีเหลือ สีแดง สีขาว หงสบาท (สีแดงปนเหลือง, สีแดงเรื่อหรือสีแสด) และประภัสสร (สีเลื่อมพรายเหมือนแสงอาทิตย์แรกขึ้น)

เมื่อสีออกจากแสงไฟซึ่งพุ่งออกมากระทบสายน้ำ ก็ทำสายน้ำให้มีสีต่างๆ ไปตามสีไฟ สลับกันไปมางามน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก ทั้งท่อไฟสายน้ำที่พุ่งออกก็พุ่งออกไปไกลทำให้ท้องฟ้าอากาศสว่างไสว มหาชนทั้งหลายมองเห็นทั่วทุกทิศ เป็นที่จำเริญจิตแก่ผู้ได้เห็นทั่วโลกธาตุ ต่อจากนั้นพระบรมศาสดาก็ทรงนิรมิตพระพุทธเจ้าขึ้นอีกพระองค์หนึ่ง มีพระรูปพระโฉมเช่นเดียวกันพระองค์ทุกประการ และโปรดให้พระพุทธนิรมิตพระองค์นั้นแสดงพระอาการสลับกันไปกับพระองค์โดยตลอด คือ

เมื่อพระบรมศาสดาเสด็จจงกรม พระพุทธนิรมิตก็เสด็จประทับยืน เมื่อพระพุทธนิรมิตเสด็จจงกรม พระบรมศาสดาก็เสด็จประทับยืน เป็นคู่ ๑

เมื่อพระบรมศาสดาเสด็จประทับนั่ง พระพุทธนิรมิตก็เสด็จสีหไสยา (นอนตะแคงข้างขวา) เมื่อพระพุทธนิรมิตเสด็จประทับนั่ง พระบรมศาสดาก็เสด็จสีหไสยา เป็นคู่ ๑

เมื่อพระบรมศาสดาทรงตั้งปัญหาถาม พระพุทธนิรมิตก็ทรงตรัสแก้ เมื่อพระพุทธนิรมิตทรงตั้งปัญหาถาม พระบรมศาสดาก็ทรงตรัสแก้ เป็นคู่ ๑

รวมพระอาการที่ทรงแสดงก็ดี พระอาการที่ทรงถามและทรงแก้ก็ดี ได้ปรากฏแก่มหาชนที่มาประชุมกันอยู่ได้เห็นและได้ยินกันทั่วถึง เป็นเจริญใจเจริญความเลื่อมใสศรัทธาปสาทะเป็นยิ่งนัก

ในที่สุดแห่งยมกปาฏิหาริย์ ธรรมาภิสมัยได้มีแก่พุทธบริษัท เพราะได้เห็นและได้ฟังธรรมเทศนาเป็นอเนก



มีต่อ >>> ๏ รัตนสูตรปราบภัย ๓ ประการ ณ เมืองไพศาลี อาณาจักรวัชชี

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ค. 2010, 07:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


๏ รัตนสูตรปราบภัย ๓ ประการ
ณ เมืองไพศาลี อาณาจักรวัชชี


ในสมัยพุทธกาล เมืองไพศาลี หรือเวสาลี นครหลวงแห่งอาณาจักรวัชชี มีการปกครองระบอบสามัคคีธรรม (คล้ายกับลักษณะสาธารณรัฐในปัจจุบัน) เป็นเมืองที่มั่งคั่งอุดมสมบูรณ์ มีประชาชนอยู่หนาแน่น มีกำแพง ๓ ชั้น ซึ่งเรียกว่า "ตรีบูร" แต่ละชั้นห่างกันประมาณ ๔ กิโลเมตร มีปราสาทอุทยาน สระโบกขรณีเป็นจำนวนมาก ทางตอนเหนือของเมืองไพศาลี มีป่าใหญ่เป็นพืดขึ้นไปทางเหนือจนจดทิวเขาหิมาลัย เรียกว่า ป่ามหาวัน มีผู้สร้างกุฏาคารศาลา (เรือนยอด) ถวายไว้เป็นที่ประทับพระพุทธเจ้า

ต่อมาเมืองไพศาลีเกิดข้าวยากหมากแพง ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ข้าวกล้าแห้งเหี่ยวตาย เกิดทุพภิกขภัยใหญ่และมีโรคระบาด พวกคนยากคนจนอดอยากล้มตายลงเป็นจำนวนมาก ซากศพถูกนำไปทิ้งไว้นอกเมืองก็ส่งกลิ่นเหม็นตลบไปทั่ว พวกอมนุษย์ก็พากันเข้าเมืองคนยิ่งล้มตายกันมากขึ้น เกิดอหิวาตกโรคตามมา

เมื่อเกิดภัย ๓ ประการคือ ทุพภิกขภัย (ข้าวยากหมากแพง) อมนุษยภัย (ภัยจากพวกอมนุษย์) และพยาธิภัย (ภัยที่เกิดจากโรคระบาด) ขึ้นในเมืองไพศาลีอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน กษัตริย์ลิจฉวีซึ่งมีจำนวนถึง ๗,๗๐๗ องค์ จึงให้ประชาชนประชุมพร้อมกันในสัณฐาคาร (ห้องประชุมใหญ่) เพื่อร่วมกันพิจารณาสอดส่องความประพฤติของบรรดากษัตริย์ทั้งหลายว่า ได้ทำความผิดอันใดไว้จึงทำให้เกิดภัยต่างๆ ดังกล่าว

เมื่อไม่เห็นว่ากษัตริย์ทั้งหลายทำความผิดมีโทษอันใด จึงหาทางระงับภัย ๓ ประการนั้น โดยเห็นร่วมกันว่าควรกราบทูลนิมนต์พระพุทธเจ้า ซึ่งขณะนั้นประทับอยู่ที่พระนครราชคฤห์ นครหลวงของอาณาจักรมคธ จึงได้ส่งเจ้าลิจฉวี ๒ องค์ เป็นฑูตนำเครื่องราชบรรณาการไปถวายพระเจ้าพิมพิสาร ณ พระนครราชคฤห์ กราบทูลเรื่องราวให้ทรงทราบ และกราบทูลของอนุญาตนิมนต์พระพุทธเจ้าเสด็จนครไพศาลี พระเจ้าพิมพิสารได้ตรัสให้เจ้าลิฉวีไปกราบทูลนิมนต์ด้วยพระองค์เอง

เจ้าลิจฉวีทั้งสองจึงได้ไปเฝ้า พระพุทธเจ้าทรงรับนิมนต์แล้ว จึงทูลขอเวลาตกแต่งหนทางตั้งแต่เมืองราชคฤห์ ไปจนถึงฝั่งแม่น้ำคงคาเป็นระยะทางประมาณ ๘๐ กิโลเมตร และโปรดให้สร้างวิหารไว้สำหรับพักตามระยะทางอีก ๕ หลัง พระเจ้าพิมพิสารโปรดให้กั้นเศวตฉัตร (ร่มขาว) ถวายพระพุทธเจ้า ๒ คันและกั้นถวายภิกษุสงฆ์ที่ติดตามอีก ๕๐๐ รูป รูปละ ๑ คัน พระองค์ได้ตามเสด็จไปพร้อมด้วยข้าราชบริพาร ทรงถวายเครื่องสักการบูชาของหอม และทรงบำเพ็ญกุศลถวายทานตลอดทางไปจนถึงฝั่งขวาของแม่น้ำคงคา และทรงส่งข่าวสารไปยังเมืองไพศาลีให้ทราบว่า บัดนี้พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาถึงฝั่งแม่น้ำคงคาแล้ว

พระเจ้าพิมพิสารโปรดให้จัดเรือ ๒ ลำตรึงขนานเข้าด้วยกัน ให้สร้างมณฑปขึ้นบนเรือขนาน แล้วกราบทูลนิมนต์พระพุทธเจ้าเสด็จขึ้นประทับ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ รูป พระเจ้าพิมพิสารทรงพระดำเนินลงไปในน้ำลึกจนถึงพระศอ (คอ) แล้วทรงกราบทูลพระพุทธเจ้าว่า พระองค์จะรอคอยอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคานี้จนกว่าพระบรมศาสดาจะเสด็จกลับ

ทางเมืองไพศาลีซึ่งตั้งอยู่ห่างจากฝั่งซ้ายของแม่น้ำคงคาขึ้นไปทางเหนือประมาณ ๔๐ กิโลเมตร เมื่อทราบข่าวว่าพระพุทธเจ้าทรงรับนิมนต์แล้ว ก็เตรียมปรับทางให้ราบเรียบตั้งแต่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำคงคาไปจนถึงเมืองไพศาลี และสร้างวิหารประจำไว้จำนวน ๓ หลัง เตรียมทำการบูชาเป็น ๒ เท่าของพระเจ้าพิมพิสารที่ทรงทำมาแล้ว เรือขนานนำพระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ รูป มาในแม่น้ำคงคาเป็นระยะทาง ๑๖ กิโลเมตร ก็ถึงเขตเมืองไพศาลี บรรดากษัตริย์ลิจฉวีก็พากันลุยน้ำลงรับเสด็จพระพุทธเจ้าในแม่น้ำคงคาถึงพระศอ (คอ) เช่นกัน

ครั้นเรือขนาบเทียบถึงฝั่ง พอพระพุทธเจ้าทรงยกพระบาทแรกย่างเหยียบฝั่งแม่น้ำคงคา กลุ่มเมฆมหึมาซึ่งแผ่กระจายตั้งเค้ามืดมิด ก็บันดาลให้ฝตตกลงมาห่าใหญ่ น้ำฝนไหลนองท่วมพื้นดินระดับน้ำสูงถึงเข่าบ้างถึงสะเอวบ้าง ถึงคอบ้าง พัดพาเอาซากศพลอยลงแม่น้ำคงคาไปหมด ทำให้ภาคพื้นดินบริสุทธิ์สะอาดโดยทั่วไป

บรรดากษัตริย์ลิจฉวีทั้งหลายก็นำเสด็จพระบรมศาสดาและภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ รูปเข้าพัก ณ วิหารที่สร้างไว้ แล้วถวายทานมากมายเป็น ๒ เท่าของพระเจ้าพิมพิสาร ให้กางเศวตฉัตรกั้นถวายพระพุทธเจ้า ๔ คัน กั้นถวายพระภิกษุสงฆ์รูปละ ๒ คัน น้ำเสด็จพระพุทธดำเนินเป็นเวลา ๓ วัน ก็ถึงพระนครไพศาลี ขณะนั้นพระอินทร์ได้เสด็จพร้อมด้วยเหล่าทวยเทพมาชุมนุมอยู่ด้วย ทำให้พวกอมนุษย์เกรงกลัวอำนาจพากันหลบหนีไป

พระพุทธเจ้าเสด็จถึงประตูเมืองไพศาลีในเวลาเย็น ได้ตรัสให้พระอานนท์เรียน "รัตนสูตร" เพื่อเดินจาริกทำพระปริตรไปในระหว่างกำแพง ๓ ชั้น (ตรีบูร) ในเมืองไพศาลีกับบรรดากุมารลิจฉวีแล้วตรัส "รัตนสูตร" ขึ้นในกาลครั้งนั้น ที่เรียกพระสูตรนี่ว่า "รัตนะ" เพราะหมายถึง พระรัตนตรัย คือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ และสังฆรัตนะ

เมื่อพระอานนท์เรียนรัตนสูตรจากพระพุทธเจ้าแล้ว ก็เอาบาตรของพระพุทธเจ้าใส่น้ำถือไปยืนที่ประตูเมือง พลางรำลึกถึงพระพุทธคุณ ตั้งแต่ทรงตั้งความปรารถนาที่จะได้บรรลุพระโพธิญาณ จนถึงทรงแสดงธัมมจักกัปปวัตนสูตรและโลกุตรธรรม ๙ (คือ มรรค ๔ ผล ๔ และนิพพาน ๑) แล้วเข้าไปภายในพระนคร เดินทำพระปริตรไปในระหว่างกำแพงเมือง ๓ ชั้น ทำให้พวกอมนุษย์ที่ยังหลงเหลืออยู่บ้างพากันหนีออกจากเมืองไปหมด พวกชาวเมืองจึงออกจากบ้านของตนถือดอกไม้และของหอม พากันตามบูชาพระอานนท์แห่ล้อมท่านมา พระอานนท์เดินทำพระปริตรไปทั้งคืน

ประชาชนชาวเมืองไพศาลีได้พร้อมใจกันตกแต่งสัณฐาคารกลางพระนครด้วยของหอม และผูกเพดานประดับด้วยรัตนชาติ จัดตั้งอาสนะสำหรับพระพุทธเจ้า แล้วเชิญเสด็จพระบรมศาสดามาประทับในสัณฐาคาร พระภิกษุสงฆ์ และกษัตริย์ลิจฉวี ตลอดจนประชาชนชาวเมืองไพศาลี ได้พากันมานั่งล้อมพระพุทธเจ้า พระอินทร์พร้อมเทพบริวารก็มาเฝ้าด้วย ครั้นพระอานนท์ทำพระปริตรอารักขาทั่วพระนคร แล้วก็กลับมาเฝ้าพระพุทธเจ้า พระบรมศาสดาจึงตรัสรัตนสูตรอีกครั้งหนึ่งรวม ๑๔ คาถา แล้วพระอินทร์ได้ผูกคาถา (ฉันท์) ต่ออีก ๓ คาถา

พระพุทธเจ้าได้ประทับอยู่ที่เมืองไพศาลี และตรัสเทศนารัตนสูตรทุกวันรวม ๗ วัน เมื่อทรงเห็นว่าภัยทุกอย่างสงบเรียบร้อยแล้ว จึงตรัสลากษัตริย์ลิจฉวีและชาววัชชีทั้งหลายเสด็จกลับราชคฤห์ครั้งนี้ มีประชาชนมาบูชาสักการะถวายแก่พระองค์เป็นการยิ่งใหญ่ เรียกว่า "คังโคโรหณสมาคม" คือ การชุมนุมใหญ่ในโอกาสที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงแม่น้ำคงคา



มีต่อ >>> ๏ ทรงเปิดโลก เสด็จลีลาลงจากดาวดึงส์สวรรค์

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ค. 2010, 11:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


๏ ทรงเปิดโลก เสด็จลีลาลงจากดาวดึงส์สวรรค์

เมื่อพรบรมศาสดาเสด็จขึ้นไปประทับพรรษาในดาวดึงส์สวรรค์ ชั้นที่ ๒ แสดงธรรมโปรดพระพุทธมารดาได้บรรลุอริยมรรคผล สมดั่งพระกมลที่ทรงพระอุตสาหะ และในครานั้นพระธรรมเทศนาของพระบรมศาสดาได้ยังประโยชน์เป็นอเนกอนันต์แก่บรรดาทวยเทพทั่วทุกทิศที่เข้าเฝ้าสถิตแห่แหนเป็นจำนวนมาก ครั้นใกล้ครบเวลาสามเดือน เวลาจวนใกล้จะออกพรรษาเข้าแล้ว ชาวประชามหาชนทั้งหลายที่ตั้งตาคอยจะเฝ้าพระบรมศาสดา สุดที่จะทนทานการรอคอยจึงพากันเข้าไปหาพระมหาโมคคัลลานะ อัครสาวกเบื้องซ้ายของพระพุทธเจ้า

เนื่องจากเมื่อครั้งการเสด็จสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ของพระบรมศาสดา ในเวลาเสร็จการแสดงยมกปกาฏิหาริย์โดยฉับพลัน ซึ่งมหาชนทั่วทุกทิศกำลังใส่ใจแลดูอยู่ด้วยความเลื่อมใส จึงเป็นเหมือนเดือนตกหรือตะวันตกหายวับลับไปจากโลกเป็นที่น่าเสียดายยิ่งนัก เพราะฉะนั้นชนทั้งหลายจึงพากันคร่ำครวญว่า พระศาสดาผู้เลิศในโลกเสด็จไปแห่งหนใดกันหนอ พวกเราจึงไม่เห็นพระองค์ ชนเหล่านั้นได้พากันเข้าไป ถามพระมหาโมคคัลลานะเถระว่า พระศาสดาเสด็จไปที่ไหนเสียเล่า พระมหาโมคคัลลานะแม้จะรู้ดีอยู่ แต่เพื่อถวายความเคารพแก่พระอนุรุทธะ จึงได้บอกแก่ชนเหล่านั้นไปว่า พวกท่านจงไปถามพระอนุรุทธะเถระดูเถิด

ชนเหล่านั้นจึงพากันไปถามพระอนุรุทธะเถระ พระอนุรุทธะเถระตอบว่า พระศาสดาเสด็จขึ้นไปจำพรรษาในสรวงสวรรค์ดาวดึงส์ เพื่อแสดงพระอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา

เมื่อไรจักเสด็จมาเล่า พระคุณเจ้า ? สามเดือนอุบาสก พระเถระกรุณาบอก และจะเสด็จมาวันมหาปวารณาด้วย

ชนเหล่านั้นปรึกษากันว่า พวกเราจักรอเฝ้าพระบรมศาสดาอยู่ที่นี่แหละ หากไม่ได้เห็นพระบรมศาสดาแล้วก็จักไม่ไป แล้วจัดแจงทำที่พักอยู่ในที่นั้นเอง ท่านจุลละอนาถบิณฑิกเศรษฐี ผู้มีกำลังทรัพย์มากไดกรุณาให้ความอนุเคราะห์แก่คนเหล่านั้นพอสมควร แม้พระมหาโมคคัลลานะก็ได้กรุณาแสดงธรรมให้กำลังใจ เจริญความเลื่อมใส แก้ความข้องใจของมหาชนที่ติดตามมาเพื่อชมปาฏิหาริย์ในภายหลังอีก

ครั้นเวลาเนิ่นนานมาถึงปานนี้ มหาชนทั้งหลายจึงเจ้าไปหาพระมหาโมคคัลลานะเรียนถามว่า พระพุทธเจ้าจะเสด็จลงจากสวรรค์เมื่อใด และจะเสด็จลงที่ไหน เมื่อข้าพเจ้าทั้งหลายจะได้พากันไปเฝ้าพระองค์ ณ ที่นั้นพระมหาโคคัลลานะเถระตอบว่า จะต้องขึ้นไปเฝ้าทูลถามพระบรมศาสดาดูก่อน ได้ความอย่างไรจากพระองค์แล้วจึงจะแจ้งให้ทราบ แล้วพระเถระก็สำแดงอานุภาพแห่งสมาบัติขึ้นไปสู่ดาวดึงส์เทวภพ สำแดงกายให้ปรากฏแก่มหาชนในขณะขึ้นไปเฝ้าพระบรมศาสดาด้วยฤทธิ์แห่งอภิญญา

ครั้นพระเถระเจ้าเข้าไปเฝ้าพระบรมศาสดาแล้ว ก็กราบทูลตามเรื่องที่มหาชนมีความประสงค์

พระบรมศาสดารับสั่งว่า โมคคัลลานะ บัดนี้ สารีบุตรพี่ชายเธออยู่ ณ ที่ได

พระมหาโมคคัลลานะก็กราบทูลว่า เวลานี้สารีบุตรเถระเจ้าจำพรรษาอยู่ที่เมืองสังกัสสนคร พระเจ้าข้า

ถ้าเช่นนั้น ตถาคตก็จะลงที่ประตูเมืองสังกะสะนครในวันมหาปวรณา โมคคัลลานะจงแจ้งให้มหาชนทราบตามนี้ ผู้ใดประสงค์จะเห็นตถาคต ก็จงพากันไปยังที่นั้นเถิด

พระมหาโมคคัลลานะรับพระพุทธบัญชาแล้ว ก็ลงมาแจ้งข้อความนั้นแกมหาชนทั้งหลายผู้ต้องการทราบเรื่องนี้อยู่

ฝ่ายมหาชนทั้งหลายที่ตั้งใจคอยเข้าเฝ้าพระบรมศาสดาเสด็จลงจากดาวดึงส์สวรรค์ เมื่อได้ทราบข่าวจากพระมหาโมคคัลลานะเถระเจ้า ก็ดีใจ พร้อมกับออกเดินทางไปยังเมืองสังกัสสนคร ร่วมประชุมกันอย่างคับคั่ง ตลอดพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายอันมีพระสารีบุตรเถระ อัครสาวกเบื้องขวา เป็นประธาน มาประชุมต้อนรับพระบรมศาสดาอยู่ ณ ที่นั้นอย่างพร้อมเพรียง

ครั้นถึงวันปรุณมีแห่งอัสสยุชมาส เพ็ญเดือน ๑๑ พระพุทธเจ้าทรงปวารณาพระวัสสาแล้ว ทรงรับสั่งแก่ท้าวสักกเทวราชว่า ตถาคตจะลงไปสู่มนุษยโลกในวันนี้ เมื่อท้าวโกสีย์ทราบพุทธประสงค์แล้วจึงทรงนิรมิตบันไดทิพย์ ๓ บันได สำหรับพระพุทธดำเนินเสด็จลงสู่มนุษยโลกบันไดแก้วอยู่กลาง บันไดทองอยู่ข้างขวา บันไดเงินอยู่ข้างซ้าย เชิงบันไดทั้ง ๓ นั้นประดิษฐานอยู่ภาคพื้นปฐพีที่ใกล้ประตูเมืองสังกัสสนคร ศีรษะบันไดเบื้องบนจนยอดภูเขาสิเนรุ บันไดแก้วนั้นเป็นที่พระพุทธเจ้าเสด็จลง บันไดทองเป็นที่เทพยดาทั้งหลายตามส่งเสด็จ บันไดเงินเป็นที่พรหมทั้งหลายตามส่งเสด็จ ขณะนั้นเทพยดาและพรหมทั้งหลายได้มาประชุมพร้อมกันบูชาพระบรมศาสดาเต็มทั่วจักรวาล

เมื่อได้เวลาเสด็จ พระพุทธเจ้าก็เสด็จมาประทับยืนที่ฐานศีรษะบันได ในท่ามกลางเทพพรหมบริษัทซึ่งแวดล้อมเป็นบริวาร จึงได้ทรงทำ "โลกวิวรรณปาฏิหาริย์" เปิดโลก โดยพระอาการทอดพระเนตรไปในทิศต่างๆ รวมทั้งเบื้องบนและเบื้องล่างรวมเป็น ๑๐ ทิศด้วยกัน และด้วยพุทธานุภาพ ในทันใดนั้นทุกทิศทกทางจะแลโล่งตลอดหมดไม่มีอันใดกีดบัง เทวดาในสวรรค์จะมองเห็นมนุษย์ เห็นยมโลก เห็นนรก และมนุษย์ก็มองเห็นเทวดาเห็นสัตว์นรก แม้สัตว์นรกก็มองเห็นมนุษย์ตลอดเทวดาในสวรรค์ ไม่มีสิ่งใดปิดบัง พระพุทธเจ้าทรงสำแดงปาฏิหาริย์เปิดโลก พร้อมกับเปล่งฉัพพัณณรังษี พระรัศมี ๖ ประการเป็นมหาอัศจรรย์

ครั้งนั้นเทพยดาในหมื่นจักรวาลได้มาประชุมกันในจักรวาลนี้ เพื่อชื่นชมพระบารมีพระบรมศาสดาทรงทำปาฏิหาริย์ พร้อมกันทำสักการบูชาสมโภชพระพุทธเจ้าด้วยทิพย์บุปผามาลัยเป็นอเนกประการ

พระบรมศาสดาได้เยื้องย่างลีลาเสด็จลงจากดาวดึงส์โดยบันไดแก้วมณีมัย ท่ามกลางเทพยดาในหมื่นจักรวาลมีท้าวสักกะเป็นต้น โดยบันไดทองสุวรรณมัยในเบื้องขวา ท้าวสหัมบดีพรหมกับหมู่พรหมเป็นอันมากลงโดยบันไดเงินหิรัญญมัยในเบื้องซ้าย ปัญจสิขรคนธรรมพ์เทพบุตรทรงพิณมีสีดังผลมะตูมสุก ดีดขับร้องด้วยมธุรเสียงอันไพเราะมาใบเบื้องหน้าพระบรมศาสดา ท้าวสันตุสิตเทวราชกับท้าวสุยามเทวราชทรงทิพย์จามรถวายพระบรมศาสดาทั้ง ๒ ข้าง ท้าวมหาพรหมปชาบดีทรงทิพย์เศวตฉัตรกั้นถวายพระบรมศาสดา ท้าวโกสีย์อมรินทราธิราชประคองบาตรเสลมัยของพระบรมศาสดา เสด็จเป็นมัคคุเทศก์นำพระบรมศาสดาลงมา ในท่ามกลางทวยเทพยดาแลพรหมทั้หลายพากันแวดล้อมแห่ห้อมเป็นบริวาร

เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จลีลาลงจากดาวดึงส์สวรรค์โดยบันไดแก้ว ลงมาถึงเชิงบันได มหาชนทั้งหลายได้เห็นพระรูปโฉมของพระบรมศาสดา ได้เห็นการเสด็จลีลาลงจากสวรรค์ในท่ามกลางเทพยดาและพรหมเป็นอันมาก ครั้งนั้นงามจับอกจับใจอย่างที่ไม่เคยคิดเคยเห็นมาแต่ก่อน ก็พากันลิงโลดแซ่ซ้องสาธุการเสียงสนั่นหวั่นไหว แม้แต่พระสารีบุตรพุทธสาวกยังได้กล่าวคาถาสรรเสริญด้วยความยินดีความว่า ข้าพระองค์ไม่เคยได้เห็น ไม่เคยได้ยินมาก่อนเลยว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าซึ่งงามด้วยสิริโสภาคยิ่งกว่าเทพเจ้าทั้งมวล มีพระสุรเสียงอันไพเราะอย่างนี้ เสด็จลงมาจากสวรรค์

ขณะนั้นพระบรมศาสดาซึ่งมีพระทัยมากด้วยพระมหากรุณา จึงได้แสดงธรรมโปรดพุทธบริษัท ผู้กำลังมีความโสมนัสพึงตาพึงใจชมในพระรูปพระโฉมอยู่ในท่ามกลางหมู่เทพและพรหมที่พร้อมกันถวายสักการบูชา ด้วยทิพยบุปผานาวรามิสให้เกิดกุศลจิตสัมประยุตด้วยปรีชาญาณ หยั่งรู้ในเทศนาบรรหารตามควรแก่อุปนิสัย เมื่อจบเทศนานัยธรรมานุสรธ์ ต่างก็ได้บรรลุอริยมรรคอริยผลตั้งแต่เบื้องต้นจนถึงเบื้องปลาย ตามอริยอุปนิสัยได้สั่งสมมา



มีต่อ >>> หมวดที่ ๘ - หลังพุทธปรินิพพาน

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 50 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 2 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร