วันเวลาปัจจุบัน 08 ก.ย. 2024, 16:33  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 56 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ส.ค. 2010, 10:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


๑. กำเนิดพระพุทธศาสนามหายาน

ความเลื่อมใสความเคารพอย่างสูงในองค์พระพุทธเจ้า ทำให้คนทั้งหลายไม่อยากคิดในทางที่ว่า การปรินิพพานของพระพุทธเจ้านั้นหมายถึงความดับสูญสลาย อยากจะให้พระพุทธเจ้ายังมีอยู่เป็นอยู่เสมอไม่เปลี่ยนแปลง เรื่องที่ยกเอาพระธรรมขึ้นมาแทนพระพุทธเจ้านั้น เป็นเรื่องที่จะให้คนทั้งหลายยอมรับนั้นเป็นการยากเหลือเกินสำหรับปุถุชน เราได้เห็นมาแล้วว่า ในประเทศอินเดียนั้น ความคิดความต้องการของคนเรานั้น มีความสำคัญในการตั้งหลักศาสนาเป็นอันมาก

เราจะเห็นได้ เช่น ในยุคพราหมณะ พราหมณ์ได้สร้างพระพรหมที่เรียกว่า ปรพรหม ให้ไม่มีเนื้อ มีตัวมีตนนั้น พระพรหมมีลักษณะเป็นจิต และจิตก็ไม่มีรูปร่างอย่างมนุษย์เป็นนามธรรม เมื่อเทพเจ้าคือพระพรหมมีลักษณะเป็นจิต การบวงสรวงบูชาเพื่อขอให้อำนวยผลประโยชน์ต่างๆ ตามวิสัยของพวกปุถุชนย่อมไม่สามารถกระทำได้ ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยประสาทสัมผัส ก็ไม่เป็นที่ชอบใจพอใจของคนทั่วไปเท่าใดนัก คนไม่เห็นด้วย เพราะไม่สามารถจะบูชาปรพรหมซึ่งเป็นสภาวธรรมนั้นได้ ไม่รู้ว่าเป็นอะไร

ดังนั้น เพื่อให้ตรงกับความประสงค์และรสนิยมของประชาชน พราหมณ์จึงดัดแปลงแก้ไขเรื่องพรหมอีกนิดหน่อย แก้ไขจาก ปรพรหม มาเป็น อปรพรหม อปรพรหมก็คือ พรหมหรืออิศวร เป็นเทพเจ้าที่มีตัวมีตน ไม่เป็นนามธรรมเหมือนอย่างปรพรหม สามารถจะอำนวยประโยชน์ให้แก่ผู้เคารพบูชาได้ พวกพราหมณ์นั้นฉลาดปรับปรุงพระเจ้าให้ทันสมัยใหม่อยู่เสมอ แล้วจึงประกาศแก่ประชาชนว่า ความจริงพระพรหมนั้นมีตัวตน และมีถึง ๔ หน้า ๘ กร สามารถมองดูทิศทั้ง ๔ ได้ในเวลาเดียวกัน และดูความเป็นไปของชาวโลกได้ทุกหนทุกแห่งพร้อมกันได้ ช่วยชาวโลกได้มากกว่า เมื่อพระพรหมมีตัวตน และยังมีถึง ๔ หน้าอีก แถมยังไม่มีภรรยา ไม่ยุ่งเกี่ยวข้องด้านกามารมณ์เหมือนพระอินทร์ ประชาชนต่างก็นิยมชมชอบพอใจ แนวความคิดของพราหมณ์ที่สร้างพระพรหมเป็นที่พอใจของประชาชนนี้เอง ทำให้ศาสนาพราหมณ์ - ฮินดูยิ่งใหญ่และมีอิทธิพลเหนือจิตใจของชาวอินเดียอย่างไม่เสื่อมคลาย

ขบวนการของการเคลื่อนไหวพระพุทธศาสนามหายานก็เป็นเช่นเดียวกัน ความต้องการไม่อยากเห็นพระพุทธเจ้าดับสูญมีกำลังแรงมาก แรงจนกระทั่งแม้เมื่อก่อนที่จะแตกแยกออกเป็นมหายาน ผู้รู้ในทางพระพุทธศาสนา ก็ต้องคิดหาวิธีการที่จะทำความพอใจให้แก่คน ลงท้ายก็ต้องสร้างลัทธิขึ้นมาว่า พระพุทธเจ้านั้นมิได้มีองค์เดียว แต่ยังมีอีกหลายพระองค์ที่จะมาตรัสรู้ข้างหน้า จึงได้เกิดมีพระพุทธเจ้าในอนาคตขึ้น พระพุทธศาสนาได้ดัดแปลงอนุโลมตามความต้องการของประชาชนด้วยการคิดเรื่องราวในพระพุทธศาสนาว่าจะมีสิ่งใดที่พอจะแก้ไขได้ เพื่อสนองความเชื่อถือดังกล่าว มหายานได้คิดหลัก "โพธิจิต" ขึ้นคือ การที่คนเราจะมุ่งไปสู่พุทธภูมิได้นั้น จำต้องบำเพ็ญพระโพธิญาณ คือการกระทำตัวให้เป็นโพธิสัตว์ ซึ่งเป็นการชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ และสิ่งจำเป็นที่สุดที่พระโพธิสัตว์ต้องปฏิบัติก็ได้แก่ ความเมตตากรุณาในการโปรดสัตว์ให้พ้นทุกข์ พระโพธิสัตว์จึงต้องสะสมบารมีต่างๆ ในแต่ละชาติเพื่อมุ่งหวังพุทธภูมิเป็นจุดหมายปลายทาง

ฉะนั้น เมื่อบุคคลใดเกิดความทุกข์ความเดือดร้อนต้องการความช่วยเหลือ แทนที่จะกราบอ้อนวอนพระเจ้าของศาสนาพราหมณ์ให้ช่วย ก็เปลี่ยนมาเป็นบูชาขอให้พระโพธิสัตว์ช่วย เนื่องจากพระโพธิสัตว์ประกอบด้วยมหากรุณาอันไม่มีที่สิ้นสุด

เหตุผลอีกประการหนึ่งก็คือ นิกายมหายานต้องการฟื้นฟูพระพุทธศาสนา ในเวลานั้นศาสนาพราหมณ์เจริญรุ่งเรืองขึ้นมามาก ลัทธิมหายานจึงเกิดขึ้นมาเพื่อเป็นคู่แข่งที่สำคัญของศาสนาพราหมณ์ นิกายมหายานจึงเกิดขึ้นตามสถานการณ์บังคับให้เกิด

พระเถระองค์สำคัญๆ ที่เป็นทัพหน้าในสมัยนั้น ก็ได้แก่ พระอัศวโฆษ ซึ่งเป็นผู้แต่งคัมภีร์มหายานศรัทโธปาทศาสตร์ และต่อมา พระนาคารชุน ก็เป็นองค์ที่สำคัญที่สุดที่ตั้งนิกายมหายานจนสามารถเป็นนิกายที่ทรงอิทธิพลมาก และได้แต่งหนังสือชื่อ ปรัชญามาธยมิกศาสตร์ หนังสือเล่มนี้ได้รวมเอาปรัชญาของนานานิกายในพุทธศาสนาไว้ด้วย

ทฤษฎีเรื่องตรีกาย

ในความเห็นของฝ่ายมหายานนั้นพระพุทธเจ้าเป็นทิพยภาวะ มีภาวะความเป็นอยู่คู่กับโลกเสมอ อย่าคิดว่าการปรินิพพานของพระพุทธองค์เป็นภาวะขาดศูนย์โดยสิ้นเชิง การปรินิพพานของพระองค์เป็นเพียงภาพมายาเท่านั้น โดยความเป็นจริงแล้ว พระพุทธเจ้านั้นเป็นอนาทิ เป็นอนันตะ ด้วยความเชื่อดังกล่าวพระพุทธเจ้าของมหายานจึงปรากฏมีพระกาย ๓ ลักษณะ ซึ่งเรียกกันว่า ตรีกาย คือ

๑. สัมโภคกาย คือพระกายที่เป็นทิพยภาวะ ประทับอยู่ ณ พุทธเกษตรของพระองค์ ทรงแสดงพระสัทธรรมอยู่ในแดนอื่นๆ พระพุทธเจ้าอาจมาปรากฏพระองค์แก่พวกเราได้

๒. นิรมานกาย คือพระกายที่พระองค์นิรมิตขึ้นมา เป็นพระกายเนื้อที่คนทั่วไปสามารถมองเห็นได้ เช่น ความทรุดโทรมด้วยความชรา และความดับขันธ์ เป็นต้น เป็นพระกายที่ทรงนิรมิตมาเพื่อบำเพ็ญพุทธกิจ

๓. ธรรมกาย คือความตรัสรู้ธรรมคือพระนิพพานนั่นเอง

อุดมคติของมหายาน

มหายานนั้นมีปรัชญาชีวิต ในการช่วยขนสัตวโลกให้ข้ามพ้นสังสารทุกข์ โดยยึดหลักอุดมคติประจำใจอย่างสูงส่งอยู่ ๓ ประการ คือ(๑)

๑. มหาปรัชญา หรือปัญญาอันยิ่งใหญ่ หมายความว่า จะต้องเป็นผู้มีสติปัญญารู้แจ้งสรรพสิ่งทั้งมวล ไม่ตกเป็นทาสของอธรรม

๒. มหากรุณา หมายความว่า จะต้องมีจิตเมตตากรุณาต่อสัตว์ทั้งหลาย อย่างปราศจากขอบเขต พร้อมที่จะเสียสละตนเองทนทุกข์แทนสรรพสัตว์ เพื่อช่วยสัตว์ให้พ้นทุกข์และมหายานมีทัศนะต่อการบรรลุอรหันต์ว่า เป็นสิ่งคับแคบช่วยคนได้น้อย แต่มีโพธิจิตมุ่งพุทธภูมิมากกว่า เพราะกว่าจะถึงพุทธภูมิจะต้องบำเพ็ญบารมีช่วยเหลือสัตว์โลก สร้างบารมี ทาน ศีล ความเพียรเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน

๓. มหาอุปาย หมายความว่า พระโพธิสัตว์ต้องรู้จักอุบายที่ฉลาดในการช่วยเหลือสรรพสัตว์ มีปฏิภาณรอบรู้ สามารถชักนำสัตว์โง่เขลาให้เข้าถึงสัจธรรม

อุดมคติของพระโพธิสัตว์ทั้งสามข้อนี้ นับเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ข้อแรกหมายถึงการบำเพ็ญประโยชน์ของตนให้เพียบพร้อมสมบูรณ์ ส่วนสองข้อหลัง เป็นการบำเพ็ญประโยชน์เพื่อผู้อื่น เมตตาช่วยผู้อื่นให้พ้นทุกข์ และเป็นการสืบอายุพระศาสนาพร้อมทั้งเผยแผ่คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าให้แพร่หลาย

พระเถระผู้เป็นกำลังสำคัญของมหายาน

พระอัศวโฆษ พระเถระอัศวโฆษรูปนี้เป็นชาวเมืองสาเกต และเป็นภิกษุในนิกายสรวาสติวาท เป็นจินตกวีที่มีชื่อเสียงมากที่สุด ท่านได้แต่งหนังสือเรื่อง "พุทธจริต" เป็นการพรรณนาถึงพุทธประวัตินั่นเอง นับเป็นแบบอย่างของวรรณคดีสันสกฤตในรุ่นหลัง นอกจากหนังสือพุทธจริตแล้ว พระอัศวโฆษยังได้แต่งหนังสืออิงหลักธรรมอีกหลายเรื่อง เช่น "เสาทรนันท์" เป็นหนังสือที่ชักชวนให้ประชาชนหันมานับถือพระพุทธศาสนาได้เป็นจำนวนมาก

พระนาคารชุน พระนาคารชุนมีชีวิตอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๗ เป็นผู้ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด เรียกว่าเป็นเพชรน้ำเอกของมหายานก็ว่าได้ ท่านเกิดในวรรณพราหมณ์ในอินเดียตอนใต้ มีความรอบรู้ทั้งเถรวาท และมหายาน เป็นอย่างดี พระนาคารชุนได้แต่งหนังสือเด่นมาก คือ "ปรัชญาปารมิตาสูตร" หนังสือวิสุทธิมรรคได้รับการยกย่องว่าเป็นคัมภีร์ที่ดีเยี่ยมของฝ่ายเถรวาทฉันใด หนังสือปรัชญาปารมิตาสูตร หรือปรัชญามาธยมิกะ ของพระนาคารชุน ได้รับการยกย่องว่าเป็นคัมภีร์ที่ดีเยี่ยมของ ฝ่ายมหายานฉันนั้น

นิกายมหายานที่สามารถแพร่หลายอย่างกว้างขวางไปในชนทุกระดับชั้นได้อย่างรวดเร็วก็ด้วยอาศัยพระคณาจารย์องค์สำคัญๆ ที่เป็นผู้วางรากฐานของนิกายมหายานในสมัยเริ่มแรกก็มีอยู่ ๔ ท่านด้วยกัน คือพระอัศวโฆษ พระนาคารชุน พระอารยเทพ และพระกุมารลัพธะ และภายหลังก็ยังมีอีกหลายรูป เช่น พระชินบุตร พระวิชัยมิตร พระจันทรกีรติ เป็นต้น


.................................................................................

(๑) สารัตถธรรมมหายาน, พระคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร (เย็นเจี่ยว),
วัดมังกรกมลาวาส, พ.ศ. ๒๕๑๓, น. ๑๘๒


มีต่อ >>> ๒. นิกายมหายานในสมัยพุทธกาล

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ส.ค. 2010, 10:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


๒. นิกายมหายานในสมัยพุทธกาล

นิกายมหายานที่แพร่หลายในอินเดียสมัยพุทธกาล เมื่อกล่าวโดยสรุปแล้วก็มีอยู่ ๓ ทัศนะด้วยกัน(๑) คือ

- นิกายศูนยวาท
- นิกายโยคาจาร
- นิกายจิตอมตวาท

นิกายศูนยวาท นิกายนี้บางครั้งก็เรียกว่า มาธยมิกะ แปลว่านิกายสายกลางท่านผู้เป็นต้น นิกายศูนยวาทก็คือพระนาคารชุนนั่นเอง มีชีวิตอยู่ในพุทธศตวรรษที่ ๗ พระนาคารชุนได้อธิบายด้วยระบบวิภาษวิธีซึ่งก่อให้เกิดความตื่นเต้นในวงการนักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก งานสำคัญของพระนาคารชุนก็คือหนังสือปรัชญาปารมิตาสูตรหรือปรัชญาศูนยวาท เป็นหนังสืออย่างที่โลกทางพระพุทธศาสนาไม่เคยมีมาก่อน เป็นหนังสือที่เสนอแนวความคิดใหม่ๆ ให้กับคนได้เข้าใจหลักพระพุทธศาสนา หนังสือปรัชญาปารมิตาสูตรถือเป็นเพชรน้ำเอกของมหายานที่ได้อธิบายเกี่ยวกับพุทธมติด้วยหลักตรรกวิทยา (Syllogism) เช่นว่า "การทำความชั่วทุกอย่างควรถูกตำหนิ การพูดมุสาเป็นความชั่วชนิดหนึ่ง ฉะนั้น การพูดมุสาจึงควรถูกตำหนิ" เป็นต้น

นิกายศูนยวาทได้อธิบายว่า คำว่า "ศูนยตา" ไม่ได้หมายความว่าไม่มีอะไรเลย เหมือนกับ เลขศูนย์ ( ๐ ) ของไทยเรา คำว่า "ศูนยตา" ต่างกับคำว่า อุจเฉทะหรือนัตถิกะ ซึ่งแปลว่าขาดศูนย์ไม่มีอะไรเลย เป็นคำปฏิเสธแบบเด็ดขาด ศูนยตาหมายถึงความไม่มี สวลักษณะ หรือ สวภาวะ เท่านั้น คือไม่มีสิ่งใดในโลกที่จะเป็นอยู่ด้วยตัวมันเอง โดยไม่มีความสัมพันธ์กับสิ่งอื่นๆ อีก นิกายศูนยวาทถือว่า ทุกสิ่งเป็นสิ่งสัมพันธ์กันหมด มีข้อเปรียบเทียบที่เห็นได้ง่ายก็คือ ความยาว กับ ความสั้น โดยความรู้สึกทั่วไปของคนเราเข้าใจว่ามันมีอยู่ แต่โดยความเป็นจริงแล้วมันไม่ได้มีอยู่อย่างที่เราเข้าใจ

เช่น

A ---------------------------------------
B -----------------------------------------------
C ---------------------------------------------------------

จะเห็นว่า ความยาวและความสั้นมีได้เพราะความสัมพันธ์กัน ถ้าปราศจากความสัมพันธ์กันแล้วความยาวความสั้นก็ไม่มี นั่นก็หมายความว่าสวลักษณะของความยาวและความสั้นไม่มี เมื่อสวลักษณะไม่มีเช่นนี้ จึงเรียกว่า "ศูนยตา" เมื่อกล่าวโดยสรุปแล้ว ปรัชญาศูนยตาของท่านนาคารชุนนั้นถือว่าทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีอะไรจะคงอยู่เป็นอยู่ด้วยสภาวะของตัวมันเองได้ โดยสมมติสัจจะ ทุกสิ่งทุกอย่างที่เราเห็นและไม่เห็นเป็นเพียงภาพมายา โดยปรมัตถสัจจะแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นศูนยตา แม้แต่การหลุดพ้นก็เป็นศูนยตา ท่านนาคารชุนได้อธิบายว่าเมื่อ สังขตะเป็นศูนยตา อสังขตะก็เป็นศูนยตาไปด้วย นิพพานจึงไม่เป็นทั้ง ภาวะและอภาวะ ไม่เป็นทั้ง อัตตาและอนัตตา อยู่เหนือสภาวะทั้งสองโดยสิ้นเชิง

นิกายโยคาจาร นิกายนี้บางครั้งก็เรียกว่า วิชญาณวาท หรือวิญญาณวาท มีความเห็นที่ตรงกันข้ามกับนิกายศูนยวาท และเป็นนิกายคู่ปรับของนิกายศูนยวาทเป็นอย่างมาก คณาจารย์ผู้เป็นต้นกำเนิดของนิกายนี้คือ พระไมตรียนาถ ท่านได้เขียนคัมภีร์ชื่อว่า อภิสมยลังการ มีสานุศิษย์ที่เด่นอยู่ท่านหนึ่งชื่อว่า พระอสังคะ ท่านได้แต่งตำรามากมาย เช่น โยคาจารภูมิศาสตร์ เป็นต้น และมีน้องชายอีกคนหนึ่งชื่อว่า วสุพันธุ ท่านอสังคะและวสุพันธุเดิมนั้นบวชเรียนอยู่ในนิกายสรวาสติวาท มาภายหลังจึงแปลงมาเป็นมหายาน

นิกายโยคาจารมีหลักปรัชญาว่า "สรรพสิ่งในโลกล้วนเป็นภาพสะท้อนออกไปจากดวงจิต เรียกว่า อาลยวิญญาณ" อาลยวิญญาณคือธาตุรู้ มีหน้าที่อยู่ ๓ ประการคือ

๑. มีหน้าที่รู้เก็บ คือเก็บเอาพลังของการกระทำทุกอย่างไม่ให้ขาดตกบกพร่อง สิ่งต่างๆ ที่ถูกนำมาเก็บไว้ในอาลยวิญญาณนี้เรียกว่า "พีชะ" เช่น กุศลพีชะ อกุศลพีชะ อัพยากตพีชะ เป็นต้น

๒. มีหน้าที่รู้ก่อ คือก่อสร้างอารมณ์ต่างๆ ออกมา เช่น อารมณ์ โลภ โกรธ หลง เป็นต้น เป็นปรากฏการณ์ของอาลยวิญญาณทั้งสิ้น รวมทั้งสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติเช่น ภูเขา แม่น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง เป็นต้น

๓. มีหน้าที่ปรุง คือปรุงแต่งอารมณ์ให้วิจิตรพิสดารออกไป เป็นไปตามกระแสแห่งตัณหา ปรุงแต่งกรรมดีบ้าง กรรมชั่วบ้าง ก่อให้เกิดผลวิบาก ส่งผลเป็นพีชะเข้าไปเก็บไว้ในอาลยวิญญาณอีกวนเวียนอยู่อย่างนี้จนกว่าจะสิ้นภพหมดชาติ

สรุปได้ว่า นิกายโยคาจารเป็นพวกประเภท "จิตนิยม" (Idealism) เพราะนิกายนี้ถือว่าจิตเป็นสิ่งสำคัญกว่าร่างกายหรือวัตถุ โดยสอนว่าโลกวัตถุเป็นเพียงมโนภาพ เพราะเป็นสิ่งที่ถูกปรุงแต่งออกไปจากพีชะในจิต ถ้าไม่มีอาลยวิญญาณเสียแล้ว สิ่งทั้งหลายทั้งปวงก็ไม่มี เหมือนกับดวงอาทิตย์ ความจริงแล้วมีดวงเดียว แต่ปรากฏเป็นหลายดวงแก่คนตาพิการ เป็นต้น มันเป็นภาพสะท้อนออกไปจากพีชะในจิตนั่นเอง

ถ้าจะมีคำถามว่าเจ้าพีชะนั้นมาจากไหน ก็ตอบได้ว่าเจ้าตัวพีชะนั้นเป็นอนมตัคคพีชะคือพีชะที่มีเบื้องต้นท่ามและที่สุดไม่มีใครรู้ได้ ถ้าจะถามต่อไปว่า ถ้าโลกทางวัตถุเป็นเพียงมโนภาพซึ่งกระจายออกมาจากพีชะในอาลยวิญญาณแล้ว เราก็สามารถสร้างบ่อน้ำมันขึ้นในเมืองไทย สร้างภูเขาน้ำแข็งในเมืองไทยได้ ก็ตอบได้ว่าไม่ได้ เพราะสิ่งบางอย่างในโลกนี้เกิดจากสหกรรมของมนุษย์และสัตว์ดิรัจฉานร่วมกัน ย่อมมีกำเนิดแหล่งที่ชัดเจน จะมาสับเปลี่ยนภายหลังตามความชอบใจของใครคนใดคนหนึ่งไม่ได้เลย นี้คือทัศนะของนิกายโยคาจาร

ข้อสังเกต : นิกายศูนยวาทกับนิกายโยคาจาร เป็นคู่ปรับกันมาทุกยุคทุกสมัย เหมือนขมิ้น กับปูนหรือน้ำกับน้ำมันไม่สามารถจะระคนปนกันไปได้ ข้อที่แตกต่างกันก็คือความเห็นในเรื่อง สวลักษณะหรือสวภาวะ

นิกายศูนยวาทถือว่า โดยโลกสมมติ โลกนิรุตติ หรือโลกบัญญัติแล้วสิ่งทั้งหลายทั้งปวงไม่มีสวลักษณะหรือสวภาวะในตัวของมันเอง เป็นมายาทั้งหมด และโดยปรมัตถสัจจะแล้ว สิ่งทั้งหลายทั้งปวงเป็น ศูนยตา

นิกายโยคาจารถือว่า โดยโลกสมมติ โลกนิรุตติ หรือโลกบัญญัติแล้วสิ่งทั้งหลายทั้งปวงจะเป็นมายาไปทั้งหมดไม่ได้ แม้มองจากภายนอกจะไม่ใช่ของจริง แต่พีชะที่มาจากอาลยวิญญาณจนเป็นบ่อเกิดของภาพเหล่านั้นมีสวลักษณะอยู่ด้วย โดยปรมัตถ์ก็ไม่ได้สูญเสียไปทั้งหมด

ยกตัวอย่าง ถ้าทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีสวลักษณะอยู่ภายในตัวของมันเองแล้ว คนเราทำความชั่ววันนี้ พรุ่งนี้ก็ไม่ต้องรับความชั่วที่ตัวเองได้กระทำไว้ ถ้าไม่มีสวลักษณะหรือสวภาวะอยู่แล้วใครเล่าจะเป็นคนคอยรับบุญรับบาป นายแดงทำความชั่ววันนี้พรุ่งนี้ก็กลายเป็นคนละคนไปแล้วไม่ต้องรับความชั่วที่ตัวก่อไว้ เหมือนกับปลูกมะละกอถ้าไม่มีสวลักษณะอยู่ก็กลายเป็นมะม่วงมะพร้าวไป

สรุปแล้วนิกายทั้ง ๒ ตีความหมายให้คำนิยามสวลักษณะแตกต่างกัน ฝ่ายศูนยวาทถือว่าขึ้นชื่อว่าสวลักษณะแล้วจะต้องเที่ยงเปลี่ยนแปลงไม่ได้ แต่ฝ่ายโยคาจารถือว่าสวลักษณะนั้นเปลี่ยนแปลงได้ แต่ถึงจะเปลี่ยนแปลงอย่างไรก็ยังรักษาคุณสมบัติเดิมเอาไว้ได้ ดังนั้น ฝ่ายศูนยวาทจึงประณาม พวกโยคาจารว่าเป็นพวกสัสสตวาท ฝ่ายโยคาจารก็ประณามพวกศูนยวาทว่าเป็นพวกนัตถิกวาทะ

นิกายจิตอตวาท

นิกายจิตอมตวาทนี้ไม่ปรากฏนามผู้ก่อตั้ง แต่เจริญมากในสมัยราชวงศ์คุปตะเป็นสมัยที่มีการฟื้นฟูวรรณคดีสันสกฤตและปรัชญาฮินดู อิทธิพลทางปรัชญาฮินดูได้เข้ามาครอบงำทัศนะของนักคิดชาวพุทธในยุคนี้อยู่มาก คำสอนของมหายานนิกายนี้มีความเห็นตรงกันข้ามกับนิกายศูนยวาทและ โยคาจาร คือสอนว่า จักรภพมีรากฐานมาจากสมบูรณภาพ จากสิ่งนี้เองสมบูรณภาพจึงก่อให้เกิดจักรภพชีวิตขึ้น ภาวะอันเป็นแก่นเดิมของโลกคือความจริงแท้ แม้แต่สิ่งมายาก็มีรากฐานมาจากภาวะอันแท้จริงนั่นเอง

นิกายจิตอมตวาทมีทัศนะเกี่ยวกับเรื่อง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ถือว่าเป็นเพียงส่วนเบื้องต้น เท่านั้น เป็นเพียงปริยายธรรม ยังมีธรรมที่สุขุมคัมภีรภาพไปกว่านั้น คือธรรมที่แสดงถึง นิจจัง สุขัง และอัตตา การที่พระองค์ทรงแสดงอนัตตาก็เพื่อให้เราได้เข้าถึงอัตตาที่แท้จริง กล่าวคือสมบูรณภาพหรือพุทธภาวะ โลกจะปรากฏขึ้นได้ก็ต้องอาศัยสมบูรณภาพนี้เป็นแก่น เพราะฉะนั้น สรรพสิ่งเมื่อมองในแง่สมบูรณภาพก็เป็นภาวะอันเดียวกัน คือทุกๆ สิ่งมีอยู่ในพุทธภาวะ และพุทธภาวะมีอยู่ในทุกๆ สิ่ง

นิกายนี้ได้อธิบายว่า ธรรมดาของจิตหรือสมบูรณภาพนั้น เที่ยงแท้ ไม่เกิด ไม่ดับ เบื้องต้น ไม่ปรากฏ เบื้องปลายไม่ปรากฏ แต่ที่เห็นเกิดดับนั้นเป็นเพียงอาการของจิตเท่านั้น ไม่ใช่ตัวจิต เพราะฉะนั้น จิตจึงไม่ใช่วิญญาณขันธ์ (ความเห็นอย่างนี้ทุกนิกายก็ไม่เห็นด้วย) จึงกล่าวตำหนิพวกจิตอมตวาทว่าเป็นพวกขันธ์ ๖ เมื่อจิตไม่ใช่วิญญาณขันธ์ จิตจึงเป็นผู้รู้ขันธ์ เป็นผู้ปล่อยขันธ์ เป็นผู้วางขันธ์ เปรียบเหมือนดวงอาทิตย์ ย่อมมีปกติส่องแสงสว่าง แต่บางคราวเกิดมืดมัว ก็มิได้หมายความว่าดวงอาทิตย์นั้นอับแสงไป แต่เป็นด้วยเหตุเมฆหมอกมาปกคลุม เปรียบเหมือนดังกิเลสมาตัณหามาบังพุทธภาวะในปุถุชน จิตอมตวาทเชื่อมั่นว่า สัตว์ทั้งปวงในวันหนึ่งข้างหน้าต้องตรัสรู้เหมือนกัน ต้องได้เป็นพุทธะหมด เพราะทุกคนมีโพธิจิตอยู่ในตัว


.................................................................................

(๑) เสถียร โพธินันทะ, ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา ฉบับมุขปาฐะ, เล่ม ๑ น. ๑๑๖


มีต่อ >>> ๓. พระพุทธศาสนาในสมัยราชวงศ์คุปตะ

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ส.ค. 2010, 10:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


๓. พระพุทธศาสนาในสมัยราชวงศ์คุปตะ

หลังจากการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าอโศกมหาราชแล้ว ความแตกแยกเป็นรัฐเล็กรัฐน้อยก็มีมากขึ้น จนกระทั่งมาถึงประมาณในศตวรรษที่ ๘ พระเจ้าจันทรคุปต์ที่หนึ่ง ได้ทรงอภิเษกกับ เจ้าหญิงแห่งลิจฉวีวงศ์ ทรงตั้งราชวงศ์คุปตะขึ้นในแคว้นมคธ พระโอรสองค์หนึ่งของพระองค์ทรงพระนามว่าสมุทรคุปต์ ได้แผ่จักรวรรดิออกไปทั่วอินเดียภาคเหนือและภาคกลาง ทำให้รัฐต่างๆ ในลุ่มแม่น้ำสินธุและคงคายอมรับพระเจ้าสมุทรคุปต์ว่าเป็นจักรพรรดิราชผู้ยิ่งใหญ่

พระเจ้าจักรพรรดิองค์นี้ ทรงเป็นผู้ที่เคร่งครัดในศาสนาฮินดู พระองค์ทรงได้รับการยกย่อง ว่าเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงดำรงความยุติธรรม ทรงส่งเสริมวรรณคดีและงานกวี กวีที่มีชื่อเสียงในยุคนี้ก็คือ กาลิทาส ได้แต่งหนังสือที่มีชื่อเสียงอยู่หลายเรื่อง เช่น รฆุวงศ์ เมฆทูต เป็นต้น และยุคนี้ก็เป็นยุคที่วรรณคดีภาษาสันตกฤตได้รับการฟื้นฟูขึ้นเป็นอย่างมาก ปรับปรุงให้เป็นภาษามาตรฐาน เป็นแบบฉบับที่สมบูรณ์ในรัชสมัยของราชวงศ์คุปตะนี้เอง ศาสนาพราหมณ์ได้มีการปฏิรูปศาสนากันอย่างยิ่งใหญ่ พวกพราหมณ์ได้แต่งคัมภีร์ขึ้นมาคัมภีร์หนึ่งให้ชื่อว่า "ปุราณะ" เพื่อจะเอาชนะพระพุทธศาสนาโดยได้ใช้กลวิธีเฉโกฉลาดแกมโกง สร้างระบบลัทธิอวตารขึ้นมา โดยนำพระพุทธเจ้ามาเป็นอวตารปางหนึ่งของพระวิษณุ พระพุทธองค์ถูกจัดให้อยู่ในอวตารปางที่ ๙ คือ พุทธาวตารในบรรดาการอวตารปางสำคัญ ๑๐ ปาง เพื่อผนวกกลืนศาสนาพุทธอย่างฉ้อฉลที่แยบยลที่สุด คือเมื่อพระพุทธเจ้าเป็นอวตารปางหนึ่งของพระวิษณุแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องไปนับถือพระพุทธศาสนา นับถือศาสนาฮินดูก็มีผลเท่ากัน

การอวตารปางที่ ๙ ที่พราหมณ์เขียนไว้ในคัมภีร์ปุราณะนั้น ไม่ได้เชิดชูยกย่องหรือให้พระเกียรติพระพุทธเจ้าแต่อย่างใด โดยอธิบายว่า พวกอสูรไปเกิดบนสวรรค์กันมาก แย่งที่อยู่ของเทวดาพราหมณ์ เพราะฉะนั้น พระวิษณุจึงอวตารลงมาเป็นพระพุทธเจ้า เพื่อสอนธรรมหลอกพวกอสูรไม่ให้ไปเกิดบนสวรรค์ สรุปแล้วชาวพุทธก็กลายเป็นพวกอสูรไป นี่เป็นแผนการณ์ที่ร้ายกาจมากของพวกพราหมณ์ในยุคนั้น


มีต่อ >>> ๔. มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งแรกของโลก

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ส.ค. 2010, 10:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


๔. มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งแรกของโลก

พระพุทธศาสนานับได้ว่าเป็นศาสนาแรกของโลกที่ตั้งมหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยในสมัยนั้นก็มีอยู่ ๕ แห่งด้วยกัน คือ นาลันทา วิกรมศิลา วัลภี โสมปุรี และชคัททละ มหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดก็คือ มหาวิทยาลัยนาลันทา ปัจจุบันนี้ตั้งอยู่ในรัฐพิหาร เมืองปัตตนะ ในสมัยราชวงศ์คุปตะนี้พระมหากษัตริย์หลายพระองค์ก็ทรงมีส่วนอุปถัมภ์สร้างกุฎีวิหารถวายพระสงฆ์ และได้รวบรวมวัดในบริเวณนั้นเข้าด้วยกันเพื่อตั้งเป็นมหาวิทยาลัยนาลันทาขึ้นมา ทำให้นาลันทากลายเป็นเมืองมหาวิทยาลัยที่ใหญ่โตที่สุด มีจำนวนนักศึกษาจำนวนนับหมื่น มีอาจารย์บรรยายถึง ๑,๕๐๐ รูป

หลักสูตรที่ใช้ศึกษากันในครั้งนั้นก็มีหลายแขนงสาขาวิชาด้วยกัน เช่น วิชาปรัชญา วิชา ตรรกวิทยา แพทย์ศาสตร์ เป็นต้น หรือจะเรียกว่า ปัญจวิทยา คือศึกษาหาความรู้ทางด้านหลักๆ ๕ ด้าน(๑) คือ

๑. อัธยาตมวิทยา ศึกษาความรู้ทางพระพุทธศาสนา และปรัชญาทั่วไป

๒. เหตุวิทยา ศึกษาหาเหตุผล เช่น ตรรกวิทยา การโต้วาที เป็นต้น

๓. ติกิจฉาวิทยา คือศึกษาวิชาแพทย์และเภสัชกรรม

๔. ศัพทวิทยา ศึกษาวิชาอักษรศาสตร์ วรรณคดีต่างๆ

๕. ศิลปวิทยา ศึกษาเรื่อสถาปัตยกรรม ช่างปั้น ช่างหล่อ เป็นต้น


.................................................................................

(๑) ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา, พระโสภณคณาภรณ์ (ระแบบ ฐิตญาโณ), พ.ศ. ๒๕๒๘, น. ๒๔๕

:b46: มหาวิทยาลัยนาลันทา มหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งแรกของโลก
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=39415


มีต่อ >>> ๕. พุทธตันตรยาน

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ส.ค. 2010, 10:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


๕. พุทธตันตรยาน

พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานในสมัยปลายราชวงศ์คุปตะ ได้รับเอาลัทธิตันตระของฮินดูเข้ามาปะปนในพระพุทธศาสนา จุดประสงค์ก็ต้องการจะแข่งกับฮินดู ทำให้ประชาชนหันกลับมานับถือเป็นจำนวนมาก เพราะตรงกับกิเลสของชาวบ้าน มหายานมีความเห็นว่าลำพังเนื้อแท้ของธรรมะ ยากที่ประชาชนจะเข้าถึงได้ง่ายๆ จึงคิดแก้ไขให้เหมือนศาสนาฮินดู มีการปลุกเสกลงเลขยันต์ ร่ายเวทมนต์ อาคมขลัง สะเดาะเคราะห์ ต่อชะตา เสริมบารมี คือถือหลักอาคมมนต์ขลังเป็นสิ่งสำคัญ จนแทบจะไม่เหลือหลักธรรมแท้ๆ อยู่เลย สุดท้ายก็ยังรับ หลัก ๕ ม. ของตันตระเข้ามาใช้ประพฤติปฏิบัติอย่างเต็มตัว ซึ่งได้แก่

๑. มัสยา ปลา

๒. มางสะ เนื้อ

๓. ไมรยะ น้ำเมา

๔. มุทรา ยั่วให้เกิดกามราคะกำหนัด

๕. ไมถุนะ เสพเมถุน

โดยอธิบายว่า สิ่งเหล่านี้เป็นอุปสรรคขัดขวางไม่ให้บรรลุนิพพาน และเป็นเพียงมายา ผู้ที่หวังต้องการไปนิพพานต้องหาความสำราญในเรื่องเหล่านี้ เมื่อเสพสุขความสำราญจนเต็มที่ถึงที่สุด จะเกิดความเบื่อหน่ายไปเอง คนที่ได้ผ่านสิ่งเหล่านี้มาจะไม่อาจบรรลุนิพพานได้ เพราะจิตใจยังมีความลังเลสงสัย บางแห่งก็นำสตรีมาบูชาพระปลดเปลื้องเสื้อผ้า ทำการร่ายรำ บางแห่งก็หนักไปกว่านั้นมีการแสดงอนาจารต่อหน้าพระด้วย


มีต่อ >>> ๖. พระพุทธศาสนาสมัยพระเจ้าศีลาทิตย์

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ส.ค. 2010, 10:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


๖. พระพุทธศาสนาสมัยพระเจ้าศีลาทิตย์

ในราวประมาณศตวรรษที่ ๑๐ เมื่อสิ้นราชวงศ์คุปตะแล้ว อินเดียก็เกิดการแตกแยกเป็นรัฐเล็กรัฐน้อยขาดความเป็นเอกภาพ จนกระทั่งมาถึงยุคของพระเจ้าศีลาทิตย์ หรือพระนามเดิมว่า หรรษวรรธนะ เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าประภากรวรรธนะแห่งเมืองธาเนศวร พระองค์อยู่ในฐานะพระมหากษัตริย์ที่เด่นมากพระองค์หนึ่งของอินเดีย พระเจ้าศีลาทิตย์ทรงพอพระทัยในรูปแบบการปกครองของพระเจ้าอโศกเป็นอย่างมาก และทรงดำเนินตามปฏิปทาของพระเจ้าอโศกหลายอย่าง เช่น

ทรงให้การสนับสนุนศาสนาทุกศาสนา ทรงสร้างโรงพยาบาล วิหาร ธรรมศาลา และสถานสงเคราะห์แก่ผู้ยากไร้

ทรงตั้งกฎมาฆาต คือห้ามการฆ่าสัตว์ เบียดเบียนสัตว์ เว้นการบริโภคเนื้อสัตว์ ทรงปฏิบัติเช่นเดียวกับพระเจ้าอโศก

ทรงจัดให้มีการประชุมศาสนาครั้งใหญ่ขึ้นที่ริมฝั่งแม่น้ำคงคา โดยอาราธนานักบวชในพระพุทธศาสนา ศาสนาฮินดู และเชน เข้าร่วมประชุมโต้วาทีธรรมะกัน มีพระราชาจากแคว้นต่างๆ เข้าร่วมประชุมถึง ๒๐ องค์

ในสมัยของพระเจ้าศีลาทิตย์นี้เองได้มีภิกษุนักธุดงค์ชาวจีนที่มีชื่อเสียงก็คือ สมณะเฮี่ยงจัง ได้เดินทางมาถึงอินเดียและได้เข้าเฝ้าพระเจ้าศีลาทิตย์ด้วย ท่านได้เขียนบันทึกถึงพระจริยาวัตรของกษัตริย์องค์นี้อย่างละเอียดว่า ทุกๆ วันพระองค์จะต้องบำเพ็ญทานแก่พระสงฆ์ ๑,๐๐๐ รูป และทุกรอบ ๕ ปี พระองค์จะต้องบำเพ็ญมหาทานครั้งหนึ่ง ณ ตำบลปยาคะ ซึ่งเป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ที่แม่น้ำคงคาและยมุนาสองสายไหลมาบรรจบกัน

พระเจ้าศีลาทิตย์ทรงครองราชย์อยู่ได้ประมาณ ๔๐ ปี ก็สวรรคต พระองค์ทรงให้การสนับสนุนพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก จากนั้นอินเดียก็กลับเข้าสู่ยุคระส่ำระสายอีกครั้งหนึ่ง เริ่มด้วยเสนาบดีของพระองค์คนหนึ่งชื่อว่า อรชุน เป็นกบฎล้มล้างราชวงศ์หรรษะลงตั้งตนเป็นราชา แต่ก็ต้องเสียทีกองทัพจีนซึ่งยกข้ามภูเขาหิมาลัยเข้ามา มีกองทัพของพวกเนปาลและธิเบตเข้าร่วมด้วย พระเจ้าอรชุนถูกจับตัวไปเป็นเชลยในเมืองจีน ดังนั้น อินเดียจึงกลับไปสู่ระบบรัฐเล็กรัฐน้อยอีกครั้ง


มีต่อ >>> ๗. พระพุทธศาสนาเสื่อมจากประเทศอินเดีย

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ส.ค. 2010, 11:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


๗. พระพุทธศาสนาเสื่อมจากประเทศอินเดีย

เป็นธรรมดาของสิ่งทั้งหลายที่มีความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และก็ดับไป ศาสนาก็เป็นสังขารชนิดหนึ่งก็ตกอยู่ในลักษณะสามอย่างเหมือนกัน พอจะกล่าวได้ว่า ในรัชสมัยของ พระเจ้ายักษปาละ มีเสนาบดีพราหมณ์ผู้หนึ่งชื่อว่า ราวเสน เป็นกบฎได้ทำลายราชวงศ์ปาละ แล้วตั้งวงศ์โสนะขึ้น พระพุทธศาสนาจึงไม่มีผู้นับถือในทางราชการ เพราะราชวงศ์โสนะเป็นฮินดู

ในไม่ช้ากองทัพของข้าศึกได้ยกทัพบุกตีมคธ เผาคัมภีร์หลักธรรมคำสั่งสอน เผามหาวิทยาลัยนาลันทาและวิกรมศิลาจนราบเป็นหน้ากลอง ปล้นสดมภ์เอาทรัพย์สมบัติตามวัดต่างๆ และฆ่าฟันภิกษุสงฆ์ทุกรูปที่พบเห็น พระพุทธศาสนาซึ่งเหลือที่มั่นจุดสุดท้ายที่แห่งนี้ ก็ถูกทำลายอย่างถอนรากถอนโคนจนไม่มีอะไรเหลืออีก คณะสงฆ์ที่รอดตายได้หนีเข้าไปในธิเบตและเนปาล ไม่มีผู้ใดกล้ากลับมาอินเดียอีก แต่อย่างไรก็ตาม พระพุทธศาสนาก็ได้ยืนหยัดทำประโยชน์แก่ชาวอินเดียได้นานถึง ๑,๗๐๐ กว่าปี

แต่พระพุทธศาสนากลับไปเจริญรุ่งเรืองในประเทศอื่นๆ รอบๆ อินเดีย แม้กระทั่งปัจจุบัน ชนชั้นปัญญาชนของประเทศทางภาคพื้นยุโรปและอเมริกา เมื่อได้ศึกษาหลักธรรมของศาสนาพุทธอย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้ว ต่างมีความเชื่อและศรัทธาศาสนาพุทธมากยิ่งขึ้นตามลำดับ หากศาสนาพุทธไม่ดีเลิศจริง ก็คงไม่สามารถชักจูงให้ชนชั้นปัญญาชนดังกล่าวมีศรัทธาในศาสนาได้อย่างแน่นอนปัจจุบันศาสนาพุทธแบ่งออกเป็นนิกายใหญ่ๆ ได้ ๒ นิกาย คือ

๑. ทักษิณนิกาย หรือเถรวาทนิกาย เผยแผ่อยู่ในประเทศแถบสุวรรณภูมิเกือบทั้งหมด ซึ่งก็ได้แก่ประเทศไทย พม่า ลาว เขมร รวมทั้งประเทศลังกาด้วย ตามหลักของนิกายมุ่งสอนให้ยึดถือหลักทฤษฎีอรหัตตมรรค เพื่อเป็นการมุ่งสู่พระอรหันต์หรือจุดหมายปลายทางคือพระนิพพาน

๒. อุตตรนิกาย หรือมหายานนิกาย นิกายนี้เผยแผ่ปรากฏในแถบประเทศจีน ญี่ปุ่น เนปาล เวียดนาม เกาหลีใต้ เป็นต้น มีหลักปฏิบัติเพื่อทำจิตของตนให้มีโพธิจิต เพื่อกระทำตนให้เป็นพระโพธิสัตว์ เป็นการสะสมบารมีมุ่งสู่พุทธภูมิ


มีต่อ >>> ๘. ธัมมปาละฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ส.ค. 2010, 11:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


๘. ธัมมปาละฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย

ประเทศอินเดียได้ถูกประเทศตะวันตกคืออังกฤษปกครองมาประมาณ ๘๐๐ ปี(๑) จนกระทั่งมาถึงปี พ.ศ. ๒๔๙๐ อินเดียก็ได้รับเอกราชโดยสมบูรณ์ มี มหาตะมะ คานธี เป็นผู้นำขบวนเรียกร้องขอเอกราชจากอังกฤษได้สำเร็จ ความดับสูญของพระพุทธศาสนาในอินเดีย เกิดขึ้นพร้อมกับความสูญเสียเอกราชของชาวอินเดียไปด้วย ครั้นเอกราชกลับคืนมาพระพุทธศาสนาก็เริ่มส่องแสงเรืองรองขึ้นมาใหม่ ชาวพุทธทั่วโลกต้องขอบคุณท่านเซอร์อเล็กซานเดอร์คันนิงเเฮม ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกขุดค้นโบราณสถานทางพระพุทธศาสนาให้ขึ้นมาปรากฏแก่สายตาชาวอินเดียและชาวโลก ทำให้ชาวอินเดียเริ่มสนใจต่อมรดกอันเก่าแก่ของตนเอง จึงเกิดการศึกษาพุทธศาสนาขึ้นในหมู่ปัญญาชนชาวอินเดีย แต่องค์กรเผยแผ่พุทธศาสนายังไม่เกิดขึ้น

จนมาถึงสมัย ท่านธัมมปาละ ท่านผู้นี้เป็นบุตรของคฤหบดีชาวลังกาในเมืองโคลัมโบ เวลานั้นในลังกาอิทธิพลของคาทอลิกครอบงำทั่วทุกหนทุกแห่ง เด็กชาวพุทธเกิดใหม่ต้องไปจดทะเบียนใช้ชื่อในศาสนาคริสต์ ดังนั้น ท่านธัมมปาละจึงมีชื่อว่า ดอน เดวิด ท่านต้องเข้าโรงเรียนมิชชันนารี เวลานั้นท่านอายุได้ ๗ ปี บิดาของท่านได้พาไปปฏิญญาต่อหน้าพระสุมังคลนายกเถระว่าจะไม่เปลี่ยน ศาสนาเมื่อท่านอายุได้ ๑๓ ปี วันหนึ่งได้นำหนังสือธรรมบทเข้าไปอ่านในชั้น บาทหลวงเห็นเข้าก็ไม่พอใจ แย่งหนังสือโยนทิ้งไปแล้วลงโทษท่าน พร้อมทั้งขู่ว่า "เจ้าเข้าใจพวกเราอย่างไร พวกเรามาที่นี่ก็เพื่อเปลี่ยนพวกเจ้าให้เป็นคาทอลิกหมด" การกระทำที่ป่าเถื่อนเช่นนี้ ฝังใจให้เด็กปาละเกิดความ รู้สึกที่จะต้องต่อสู้เพื่อพระพุทธศาสนา

ต่อมา ท่านได้ไปเรียนกฎหมายที่ประเทศอังกฤษ สำเร็จเป็นเนติบัณฑิตแล้วกลับมาลังกา แล้วรณรงค์ต่อสู้เพื่อเสรีภาพของชาวพุทธในลังกา ต่อมาก็เดินทางไปพุทธคยาพร้อมกับพระญี่ปุ่นชื่อว่าโกตาเสน ได้เห็นสภาพทรุดโทรมของพุทธคยาแล้ว ท่านเกิดความสะเทือนใจอย่างรุนแรง ได้กระทำสัจกิริยาถึง ๗ ครั้งหน้าพระศรีมหาโพธิ์ อุทิศชีวิตของตนเองเพื่องานฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในอินเดีย ท่านจึงถือเพศเป็นอนาคาริกะ มรดกที่ได้จากสกุลถูกนำมาทุ่มเทเพื่องานพระศาสนาจนหมดสิ้น ท่านได้ก่อตั้งพระศรีมหาโพธิ์สมาคมขึ้นที่กัลกัตตา และออกนิตยสารเผยแผ่พระพุทธศาสนาภาษาอังกฤษชื่อว่า มหาโพธิ รีวิว (Mahaphodhi Reviews) หนังสือฉบับนี้มีอายุยืนมาถึงปัจจุบัน นับเป็นนิตยสารทางพระพุทธศาสนาที่ยาวนานที่สุดในโลกในภาคภาษาอังกฤษ ทรัพย์สินของท่านหมดไปแทบจะสิ้นเนื้อประดาตัว

แต่เมฆดำมักจะมาก่อนฝนตกเสมอ ท่านธัมมปาละก็โชคดีเพราะในคราวที่มีการประชุมสันนิบาตศาสนาทั่วโลกที่ชิคาโก อเมริกา ท่านเป็นผู้แทนของชาวพุทธ เมื่อเดินทางผ่านเมืองฮอนโนลูลู ในหมู่เกาะฮาวาย มีเศรษฐินีชาวฮาวายผู้หนึ่งชื่อว่า มิสซิส อี.จี. ฟอสเตอร์ ได้มาขอคำแนะนำ จากท่านในเรื่องวิธีดับความโกรธ หลังจากฟังท่านปาฐกถา ๒ ชั่วโมง หญิงอเมริกันผู้นี้ได้กลายเป็นชาวพุทธไปทันที และปวารณาตัวเป็นอุปัฏฐายิกาของท่านตลอดชีวิต และได้สละทรัพย์มากมายช่วยเหลือท่านธัมมปาละฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในอินเดีย

ปัจจุบันนี้ ตึกของมหาโพธิ์สมาคมหลังหนึ่งในเมืองกัลกัตตาได้รับการตั้งชื่อตึกว่า อี. จี. ฟอสเตอร์ เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่มหาอุบาสิกาผู้นี้ ท่านธัมมปาละได้ตั้งมหาโพธิสมาคมตามสถานที่สำคัญๆ เกือบทุกแห่งและยังได้ตั้งมหาโพธิสมาคมในกรุงลอนดอนอีกด้วย ท่านได้ตรากตรำงานธรรมทูตกว่า ๕๐ ปี ท่านก็ถึงมรณกรรมในปี พ.ศ. ๒๔๗๔ ท่านเป็นภิกษุรูปแรกที่ได้อุปสมบทในสีมามูลคันธกุฎีวิหาร ปัจฉิมโอวาทของท่านก็คือ "ขอให้ข้าพเจ้าตายเร็วๆ ข้าพเจ้าไม่สามารถทนต่อพยาธิทุกข์นี้ได้ ขอให้ข้าพเจ้าได้เกิดใหม่อีก ๒๕ ครั้ง เพื่อประกาศพระธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า" อัฐิของท่านได้ถูกนำไปสู่ลังกา มีประชาชนมาในงานต้อนรับกว่าหนึ่งแสนคน ท่านธัมมปาละถือได้ว่าเป็นบุคคลอมตะในโลกของพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง


.................................................................................

(๑) เสถียร โพธินันทะ, ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา, ฉบับมุขปาฐะ, เล่ม ๑ น. ๑๗๑

:b46: ท่านอนาคาริก ธรรมปาละ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=46053


มีต่อ >>> บทที่ ๕

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ส.ค. 2010, 11:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

บทที่ ๕

๑. พระพุทธศาสนาในประเทศศรีลังกา
๒. พระพุทธศาสนาในประเทศธิเบต
๓. พระพุทธศาสนาในประเทศจีน
๔. สรุปนิกายพระพุทธศาสนาในประเทศจีน
๕. พระพุทธศาสนาในประเทศญี่ปุ่น
๖. พระพุทธศาสนาในประเทศพม่า

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ส.ค. 2010, 13:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


๑. พระพุทธศาสนาในประเทศศรีลังกา

ก่อนเข้าถึงประวัติพระพุทธศาสนาในประเทศศรีลังกา เรามารู้ประวัติของประเทศศรีลังกา สักเล็กน้อย ประเทศสาธารณรัฐสังคมประชาธิปไตยศรีลังกามีเนื้อที่ประมาณ ๖๕,๖๑๐ ตารางกิโลเมตร ประชากรประมาณ ๑๘.๔ ล้านคน(๑) ภาษาที่ใช้ประจำชาติได้แก่ภาษาสิงหล ภาษาทมิฬและภาษาอังกฤษ อัตราการอ่านออกเขียนได้ของประชากรประมาณ ๙๐ เปอร์เซ็นต์ ด้านศาสนามีทั้งพระพุทธศาสนา ฮินดู คริสต์ และอิสลาม ปัจจุบันมีประธานาธิบดีเป็นผู้หญิงชื่อว่า จัณฑิกา กุมารตุงคะ

ประเทศศรีลังกาเป็นเกาะ อยู่ทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย ตั้งอยู่ในมหาสมุทรอินเดีย ทรัพยากรที่สำคัญของประเทศที่ส่งออกไปขายทั่วโลกเป็นที่รู้จักดี ก็คือ ใบชาซีลอน อัญมณี เนื้อมะพร้าวแห้ง ใบยาสูบ ยาง เป็นต้น

พระพุทธศาสนาเข้ามาสู่ลังกา

พระพุทธศาสนาเข้าไปสู่ประเทศศรีลังกาในสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช หลังจากการทำสังคายนาครั้งที่ ๓ พระเจ้าอโศกมหาราชได้ทรงจัดส่งสมณทูตออกไปประกาศพระพุทธศาสนายังนานาประเทศ สายที่เดินทางไปศรีลังกามี พระมหินทเถระ เป็นหัวหน้าสาย มีภิกษุอื่นอีก ๔ รูป สุมนสามเณร และอุบาสกอีก ๑ ท่านเป็นคณะเดินทางไปพร้อมกัน พระมหินเถระรูปนี้เป็นโอรสของพระเจ้าอโศกมหาราช ยังมีน้องสาวอีกองค์หนึ่งได้บวชเป็นภิกษุณีชื่อว่า พระสังฆมิตตาเถรี และพระเถรีรูปนี้ก็เป็นมารดาของสุมนสามเณร ซึ่งได้เดินทางร่วมไปกับพระมหินทเถระในครั้งนี้ด้วย

ลำดับเหตุการณ์ของพระพุทธศาสนาในศรีลังกา

ประเทศศรีลังกาในสมัยที่พระเจ้าอโศกมหาราชส่งสมณทูตมาเผยแผ่พระพุทธศาสนานั้น มี พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ เป็นพระเจ้าแผ่นดินปกครอง ความจริงแล้วพระองค์เคยได้ทราบข่าวพระพุทธศาสนามาก่อน โดยทรงติดต่อใกล้ชิดกับพระเจ้าอโศก คือพระเจ้าอโศกทรงเป็นอทิฏฐสหาย (เป็นสหายกันแต่ไม่เคยได้ทรงพบหน้ากัน) กับพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะมาก่อน พระเจ้าอโศกมหาราชก็ทรงชักชวนให้เข้ามานับถือพระพุทธศาสนา ครั้นทรงทราบว่าพระมหินทเถระลงไปประกาศพระพุทธศาสนาในดินแดนของพระองค์ หลังจากที่ได้พบพระเถระแล้วก็ทรงพระปีติโสมนัส ทรงประกาศองค์เป็นพุทธมามกะ ทรงให้การอุปถัมภ์พระเถระเป็นอย่างดียิ่ง ในการมาครั้งนี้มีผู้ได้ฟังธรรมจากพระเถระเป็นจำนวนมาก พระพุทธศาสนาได้ประดิษฐานตั้งมั่นในลังกาทวีปนับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ประมาณศตวรรษที่ ๓

ในสมัยของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะนี้เอง ได้ส่งคณะทูตไปทูลขอกิ่งพระศรีมหาโพธิ์ และพระบรมธาตุจากอินเดีย ทรงให้จัดการปลูกพระศรีมหาโพธิ์ในเมืองอนุราธบุรี ได้ทรงสร้างมหาวิหาร และถูปารามเจดีย์ อันเป็นพระเจดีย์องค์แรกในลังกา หลังจากรัชสมัยของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะแล้ว ลังกาเปลี่ยนผู้ปกครองบ้านเมืองเกิดความสับสนวุ่นวายอยู่เกือบร้อยปี

จนกระทั่งมาถึงสมัยของพระเจ้าทุฏฐคามิณีอภัย ทรงกู้ราชบัลลังก์คืนมาได้ พระองค์ทรงมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า ทรงทำนุบำรุงพระสงฆ์และทรงสร้างวัดและสถูปอีกหลายแห่ง เช่น โลหปราสาท และมหาสถูป ในเมืองอนุราธบุรี

ต่อมาถึงสมัยของ พระเจ้าวัฏฏคามิณีอภัย พระพุทธศาสนาเกิดความปั่นป่วนอยู่ชั่วระยะหนึ่ง เพราะเหตุการณ์บ้านการเมืองไม่สงบ พระเถระในลังกาได้ร่วมกันชำระทำสังคายนาครั้งที่ ๕ ขึ้น พระเจ้าวัฏฏคามิณีอภัยได้ทรงสร้างวิหารชื่อว่า "อภัยคีรีวิหาร" ถวายพระมหาติสสะเถระ ซึ่งต่อมาคณะสงฆ์ในฝ่ายอภัยคีรีวิหารก็มีความเห็นแตกต่างจากฝ่ายมหาวิหาร จนเป็นเหตุให้เกิดความแตกแยกใน วงการคณะสงฆ์ลังกา

ความแตกแยกของสงฆ์ ๒ ฝ่าย

๑. คณะสงฆ์มหาวิหาร คณะสงฆ์ฝ่ายนี้เป็นพวกหัวอนุรักษ์นิยม (Conservative) เป็นพวกที่เคร่งในการประพฤติปฏิบัติ สามารถรักษาความบริสุทธิ์หลักคำสอนพระธรรมวินัยในนิกายฝ่ายเถรวาทไว้ได้อย่างสมบูรณ์

๒. คณะสงฆ์อภัยคีรีวิหาร คณะฝ่ายนี้เป็นพวกหัวเสรีนิยมก้าวหน้า (Modernism) ไม่มีความรังเกียจภิกษุต่างนิกาย ยินดีรับเอาความคิดเห็นของต่างนิกายเข้ามา เมื่อมีมหายานเกิดขึ้นแล้ว คณะอภัยคีรีจึงเป็นศูนย์สำคัญของมหายานในลังกาด้วย

พระพุทธศาสนาในสมัยพระเจ้าสิริเมฆวัณณะ

หลังจากรัชสมัยของพระเจ้าวัฏฏคามิณีอภัย ก็มาถึงรัชสมัยของ พระเจ้าสิริเมฆวัณณะ พระองค์ได้มีการอัญเชิญพระทาฐธาตุมาจากทันตปุระในแคว้นกลิงครัฐ (เมืองโอริสา) มายังลังกาทวีป พระเจ้าแผ่นดินโปรดให้รักษาไว้ที่อภัยคีรีวิหาร และโปรดให้นำออกให้ประชาชนนมัสการเป็นประจำปี ซึ่งปัจจุบันนี้ พระธาตุก็ยังปรากฏอยู่ที่เมืองแคนดี้หรือแกนดี้ (Kandy) ชาวลังกาถือว่าเป็นสมบัติที่ใหญ่หลวงเป็นที่หวงแหนของชาติด้วย

พระพุทธศาสนาในสมัยพระเจ้ามหานามะ

หลังจากหมดรัชสมัยของพระเจ้าสิริเมฆวัณณะ ก็มาถึงสมัยของ พระเจ้ามหานามะ ในสมัยนี้มีการฟื้นฟูวรรณกรรมภาษาบาลีขึ้นเป็นอย่างมาก และเป็นผลงานของพระสงฆ์ฝ่ายมหาวิหาร ผลงานนี้ทำให้พระสงฆ์ฝ่ายมหาวิหารมีความรุ่งโรจน์กว่าคณะสงฆ์ฝ่ายอภัยคีรีวิหาร ผู้ที่มีบทบาทสำคัญก็คือพระพุทธโฆษาจารย์ซึ่งเป็นชาวอินเดีย ท่านได้เดินทางมาลังกาในระหว่างมาท่านได้สวนทางกับพระคณาจารย์คือพระพุทธทัตตาจารย์ เป็นชาวอินเดียทางตอนใต้ เดินทางเข้าไปศรีลังกาเพื่อต้องการเขียนคัมภีร์ อรรถกถาต่างๆ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร แต่ก็ได้ฝากปกรณ์สำคัญที่เขียนไว้เรื่องหนึ่งคือ "อภิธรรมาวตาร"

พระพุทธโฆษาจารย์ หลังจากเดินทางไปถึงลังกาแล้ว ก็ได้เข้าพักอยู่กับคณะสงฆ์ฝ่ายมหาวิหาร ท่านได้ถูกทดสอบสัมภาษณ์ความรู้หลายอย่างจากอธิการสงฆ์แห่งมหาวิหาร และสุดท้ายหนังสือที่ท่านแต่งนับเป็นเพชรน้ำเอกในวงการของพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ก็คือหนังสือ "ปกรณ์วิเสสวิสุทธิ มรรค" หรือเรียกสั้นๆ ว่า หนังสือวิสุทธิมรรค เป็นการย่อความในพระไตรปิฎกไว้ทั้งหมด คือย่อเรื่อง ศีล สมาธิ และปัญญา ไว้ในเล่มเดียวกัน

แต่ก่อนที่จะมาถึงการแต่งคัมภีร์วิสุทธิมรรค ก็ได้มีคณาจารย์ท่านหนึ่งเป็นของฝ่ายอภัยคีรีวิหาร ชื่อว่า "อุปติสสะ" ท่านได้เขียนคัมภีร์ไว้หนึ่งเล่มแล้วชื่อว่า "วิมุตติมรรค" เนื้อความของคัมภีร์ไม่ค่อยมีความแตกต่างไปจากวิสุทธิมรรคมากนัก มีความเป็นไปได้สูงที่พระพุทธโฆษาจารย์จะได้แนวความคิดจากปกรณ์วิมุตติมรรคก็เป็นได้ และหนังสือวิสุทธิมรรคก็ได้รับความไว้วางใจจากคณะสงฆ์ฝ่ายมหาวิหาร ว่าเป็นหนังสือที่ดีที่สุดเท่าที่โลกพระพุทธศาสนาฝ่ายหินยานหรือเถรวาทมีอยู่ พระพุทธโฆษาจารย์จึงได้รับความไว้วางใจให้ชำระวรรณกรรมภาษาบาลีทั้งหมด โดยถ่ายทอดจากภาษาสิงหลเป็นภาษามคธ เช่น สมันตปาสาทิกา กังขาวิตรณี ปปัญจสูทนี มโนรถปูรณี สารัตถ ปกาสินี ธัมมปทัฏฐกถา เป็นต้น

ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ การศึกษาอภิธรรมเจริญมากในลังกา และต่อมาในพุทธศตวรรษที่ ๑๓ ลังกาย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่ โปโลนนรุวะ หรือปุรัตถิปุระ ที่นี่จึงกลายเป็นศูนย์พุทธศาสนาอีกแห่งหนึ่ง พระพุทธศาสนาเริ่มวิปริตผิดแผกแตกต่างกันมากขึ้น และในระยะสมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ถึง ๑๗ บ้านเมืองเดือดร้อนวุ่นวายเพราะการเมืองบ่อยๆ ทำให้พระพุทธศาสนาปั่นป่วน และภิกษุณีสงฆ์ก็พลอยสูญสิ้นลงไปด้วย

พระพุทธศาสนาในสมัยพระเจ้าวิชัยพาหุที่ ๑

ในรัชสมัย พระเจ้าวิชัยพาหุที่ ๑ พระองค์ได้ทรงเริ่มฟื้นฟูพระพุทธศาสนาขึ้นมาใหม่ ต่อมาก็ถึงรัชสมัยของ พระเจ้าปรักกมพาหุที่ ๑ ซึ่งเป็นพระโอรสของพระเจ้าวิชัยพาหุที่ ๑ ทรงฟื้นฟูและบำรุงพระพุทธศาสนาเป็นการใหญ่ต่อจากพระราชบิดา จึงทำให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาก แต่ในสมัยต่อๆ มาบ้านเมืองก็วุ่นวายอีก คณะสงฆ์แทบจะตั้งอยู่ไม่ได้ จนถึง พ.ศ. ๒๐๑๙ ก็ต้องมีการนำพระสงฆ์จากพม่าได้มาให้การอุปสมบทแก่กุลบุตรที่ลังกา

ประมาณ พ.ศ. ๒๐๕๐ ประเทศลังกาอ่อนแอลง โปรตุเกสมีอำนาจปกครอง นิกายโรมันคาทอลิครุ่งเรือง พระพุทธศาสนาได้รับการเบียดเบียนมากเสื่อมโทรมลง ในที่สุดต้องนำคณะสงฆ์จากพม่าไปให้การอุปสมบทในลังกาอีกครั้งหนึ่ง ต่อมาชาวฮอลันดาเริ่มเข้ามามีอำนาจและขับไล่พวกโปรตุเกสออกไป แต่ฮอลันดานั้นเองก็ครอบครองลังกาแทน ซึ่งฮอลันดาพยายามหยั่งนิกายโปรเตสแตนท์ลง แต่ไม่สำเร็จ

เหมือนเป็นความโชคดีที่พระมหากษัตริย์ทรงพระนามว่า พระเจ้ากิตติราชสิงหะ ทรงได้รับคำแนะนำจากสามเณรรูปหนึ่งชื่อว่า "สรณังกร" ให้ส่งคณะทูตมายังประเทศไทย ซึ่งตรงกับสมัยของพระเจ้าบรมโกษฐ์แห่งกรุงศรีอยุธยา ขอสงฆ์ไปอุปสมบทกุลบุตรในลังกา และทางประเทศไทยก็ส่งคณะภิกษุไทยมี พระอุบาลีมหาเถระ เป็นประธานมาลังกา มีการต้อนรับภิกษุไทยอย่างมโหฬารที่เมืองแคนดี้ (Kandy) และต่อมาคณะภิกษุไทยก็ให้การอุปสมบทแบบไทยแก่กุลบุตรชาวลังกา และสามเณรที่ได้รับการอุปสมบทเป็นองค์แรกคือ สามเณรสรณังกร ท่านผู้นี้ต่อมาภายหลังได้เป็นสมเด็จพระสังฆราชแห่งลังกา ในนิกายสยามวงศ์เป็นองค์แรก เป็นเหตุให้เกิดสงฆ์สยามวงศ์ในลังกาขึ้น และมีมาตราบเท่าทุกวันนี้

สำหรับพระอุบาลีเถระนั้น ต่อมาได้อาพาธถึงแก่มรณภาพที่ลังกานั้นเอง ปัจจุบันอัฐิของท่านยังปรากฏอยู่ อาสนะที่ท่านนั่งอุปสมบทกุลบุตร ตลอดจนพัดรองที่ท่านใช้ประจำ ยังคงรักษาไว้คงรูปเดิมจัดเป็นปูชนียวัตถุของพระสงฆ์นิกายสยามวงศ์

ในสมัยเดียวกันนั้น ได้มีสามเณรกลุ่มหนึ่ง ออกไปรับการอุปสมบทในพม่า เมื่อกลับมาแล้วก็ตั้ง "อมรปุรนิกาย"(๒) ขึ้น และยังมีอีกพวกหนึ่งไปบวชแต่เมืองมอญแล้วนำตั้งเป็น "รามัญนิกาย" ขึ้น ข้อที่ผิดกันก็คือ ภิกษุในสยามนิกายนั้นส่วนมากเป็นผู้ดีชั้นสูงนิยมบวชกันโดยมาก ไม่นิยมรับคน ชั้นต่ำเข้ามาบวช เพราะฉะนั้น คนชั้นต่ำจึงหันไปบวชในอมรปุรนิกายและรามัญนิกายเป็นส่วนมากสรุปนิกายพระสงฆ์ในลังกามี ๓ นิกาย(๓)

๑. สยามนิกาย หรืออุบาลีวงศ์
๒. อมรปุรนิกาย หรือมรัมมวงศ์
๓. รามัญนิกาย เป็นนิกายที่เล็กที่สุด

ทั้ง ๓ นิกาย ยังแบ่งเป็นสาขาแตกแยกกันไปตามสำนักต่างๆ

ลังกาเสียเอกราชให้แก่อังกฤษ

หลังจากสิ้นรัชสมัยของพระเจ้ากิตติราชสิงหะไปแล้ว ความอ่อนแอเริ่มปรากฏให้เห็น มีการแย่งชิงกันในระหว่างพวกราชวงศ์กับพวกขุนนาง เผอิญฮอลันดาทำสงครามแพ้อังกฤษ อังกฤษได้เข้ามาครอบงำลังกา พวกขุนนางไปฝักใฝ่กับอังกฤษแล้วให้ถอดพระเจ้าแผ่นดินออกเสียเป็นชักน้ำเข้าลึกชักศึกเข้าบ้าน ผลสุดท้ายเกาะลังกาก็เป็นเมืองอาณานิคมขึ้นอยู่กับอังกฤษ ด้วยเหตุผลเพียงเพราะเกลียดชังพระราชาเท่านั้นเอง

แต่อย่างไรก็ตาม อังกฤษนับได้ว่าเป็นชาติที่ปกครองอาณานิคมได้ดีกว่าพวกโปรตุเกสและฮอลันดา อังกฤษไม่แตะต้องเสรีภาพในการนับถือศาสนา และพยายามทนุบำรุงพัฒนา ตลอดจนให้การศึกษาด้วย เราจะเห็นได้ว่าประเทศไหนก็ตามที่ตกอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ อังกฤษจะช่วยการพัฒนาด้านการศึกษา ศาสนา และการสื่อสารให้ด้วย ไม่ใช่จะกอบโกยเอาทรัพยากรของประเทศนั้นๆ ไปอย่างเดียว ดูตัวอย่างประเทศที่เป็นอาณานิคมของอังกฤษ เช่น สิงคโปร์ มาเลเชีย และฮ่องกง เป็นต้น ซึ่งต่างจากฝรั่งเศส โปรตุเกส และฮอลันดา ดูตัวอย่างฝรั่งเศสปกครองเวียดนาม กัมพูชา หรือโปรตุเกสปกครองติมอร์ตะวันออกที่กำลังมีปัญหาอยู่ในปัจจุบันนี้ ประเทศเหล่านี้จะ สูบเลือดสูบเนื้อกอบโกยเอาทรัพยากรของประเทศอาณานิคมไปเกือบทั้งหมด

ประเทศศรีลังกาเมื่อหมดยุคอำนาจของโปรตุเกสและฮอลันดาแล้ว มาถึงยุคอังกฤษปกครองให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา ประชาชนชาวพุทธไม่ถูกกดขี่เหมือนสมัยโปรตุเกสและฮอลันดา ชาวพุทธจึงเริ่มต่อสู้กับพวกคริสเตียนอย่างเปิดเผย มีพระเถระที่มีชื่อเสียงรูปหนึ่งของชาวลังกาชื่อว่า "พระคุณานันทเถระ" ได้ท้าพวกคริสเตียนโต้วาทีติดต่อกัน ๓ วัน ในท่ามกลางชาวพุทธและชาวคริสเตียนจำนวนมาก พระคุณานันทะได้หักล้างวาทะของพวกชาวคริสต์จนปราชัยไป ทำให้ชาวพุทธมีกำลังใจในการต่อสู้มากยิ่งขึ้น และในเวลาต่อมาคณะสงฆ์ลังกาได้ตั้งวิทยาลัยชั้นสูงขึ้น ๒ แห่ง คือ วิทยาลัยลังกาปิริเวน และวิทโยทยปิริเวน ทั้งสองแห่งได้ผลิตพระธรรมทูตออกมาต่อสู้กับพวกคริสต์ ครั้นต่อมามีนักรณรงค์ต่อสู้เพื่อปกป้องพระพุทธศาสนาคนสำคัญของศรีลังกามีชื่อว่า "ศรีเทวมิตธรรมปาละ" ได้ตั้งมหาโพธิสมาคมขึ้นเพื่อฟื้นฟูขบวนการชาตินิยมของลังกาขึ้นมา มีการตั้งสถานที่เลี้ยงเด็กกำพร้าอนาถา แต่ละแห่งจะมีพระสงฆ์องค์หนึ่งหรือสององค์ทุกๆ แห่งไป เหตุผลก็คือต้องการให้พระสงฆ์คอยให้โอวาทและอบรมสั่งสอนเด็กเหล่านี้ให้มีความประพฤติเรียบร้อย แต่ในสถานที่ที่มีเด็กหญิงอยู่ด้วยจะมีแม่ชีเป็นผู้คอยดูแลแทนพระภิกษุสงฆ์ ตั้งสมาคมยุวพุทธิกะแห่งสากลสิงหลเป็นสมาคมที่มีอิทธิพลมากที่สุด มีสมาชิกนับแสนคนได้รณรงค์ต่อสู้ สมาคมได้ตั้งโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ขึ้นเป็นจำนวนพันๆ แห่ง แม้ประเทศไทยก็ยังได้รูปแบบโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์มาจากประเทศศรีลังกา ในสมัยที่ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฐายี) พระองค์เสด็จไปดูงานพระพุทธศาสนาที่สมาคมมหาโพธิ์ของประเทศศรีลังกา ที่สารนารถ เมืองพาราณสี แล้วได้นำวิธีเหล่านั้นมาดำเนินการที่วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ ประเทศศรีลังกายังเป็นผู้นำริเริ่มตั้งองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลกขึ้น โดยมีการจัดประชุมเป็นครั้งแรกที่กรุงโคลัมโบ ครั้นต่อมาก็จัดที่ญี่ปุ่น พม่า ไทย เนปาล และเวียตนาม สำหรับประเทศไทยมีสำนักงานใหญ่องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลกตั้งอยู่ริมถนนสุขุมวิท


.................................................................................

(๑) Manorama, Yearbook of India, 1996
(๒) ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา, พระโสภณคณาภรณ์ (ระแบบ ฐิตญาโณ), พ.ศ. ๒๕๒๘, น. ๓๐๗
(๓) เสถียร โพธินันทะ, ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา ฉบับมุขปาฐะ, เล่ม ๒ น. ๒


มีต่อ >>> ๒. พระพุทธศาสนาในประเทศธิเบต

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ส.ค. 2010, 13:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


๒. พระพุทธศาสนาในประเทศธิเบต

พระพุทธศาสนาได้เข้าไปสู่ประเทศธิเบต ซึ่งเป็นดินแดนที่ปกคลุมไปด้วยหิมะ ประมาณคริสตวรรษที่ ๗ หรือประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๒ สมัย พระเจ้าสองตะสัน กัมโป (Songtsan - Gampo) ในระยะเวลานั้นหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าได้ตั้งมั่นมาหลายศตวรรษแล้วในประเทศจีนแถบตะวันออก แถวแคชเมียร์ และแถวโกตัน (Khotan) ตะวันตก มีความพยายามกันหลายด้านที่จะนำพระพุทธศาสนาเข้ามาสู่ดินแดนหิมะแห่งนี้ แต่ว่ามีภาวะเงื่อนไขหลายอย่างไม่เอื้ออำนวย จนกระทั่งประเทศธิเบตได้รวมเป็นหนึ่งด้วยกันภายใต้ศูนย์รวมอำนาจที่เข้มแข็ง พร้อมกับลัทธิศาสนาที่เก่าแก่ของธิเบตคือลัทธิโบนได้เสื่อมถอยลง

ประเทศธิเบตเป็นประเทศที่มีลัทธิศาสนาเป็นของตนเองเป็นเวลานานมาแล้ว ก่อนที่พระพุทธศาสนาจะเข้าไปสู่ธิเบต ลัทธิศาสนาที่เก่าแก่ของธิเบตก็คือ ลัทธิโบน (Bonism)(๑) ลัทธินี้มีลักษณะความเชื่อคือ บูชาสวรรค์ วิญญาณ ภูเขา แม่น้ำ ต้นไม้ และมีความเชื่อลักษณะทางธรรมชาติอื่นๆ ในยุคโบราณลัทธิโบนเอามนุษย์และสัตว์บูชายัญ ทุกวันนี้ก็ยังคงทำพิธีสังเวยแก่ดวงวิญญาณ เคารพนับถือธรรมชาติ ตามลัทธิที่ตนเองเคยปฏิบัติมานั่นแหละ

ลัทธิโบนมีลักษณะตรงกันข้ามกับพระพุทธศาสนาโดยสิ้นเชิง แต่ก็ได้ดำเนินสืบต่อเรื่อยมาเป็นเวลาช้านานหลายศตวรรษ จนกระทั่งพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าได้รับการยอมรับในประเทศธิเบต แต่ลัทธิโบนก็ยังคงประพฤติปฏิบัติมากระทั่งจนทุกวันนี้ และได้ร่วมมือกับพระพุทธศาสนากลายเป็นพระพุทธศาสนาแบบธิเบต ก็เพื่อเป็นการดำรงรักษาวัฒนธรรมอันเก่าแก่ของธิเบตไว้

ครั้นต่อมา พระเจ้าสองตะสัน กัมโป ได้ทำสงครามกับประเทศจีนและตีเมืองเสฉวนได้ กษัตริย์ในสมัยราชวงศ์ถัง คือ พระเจ้าถังไทจงฮ่องเต้ ใช้วิธีผูกมิตรกับธิเบตด้วยการยกเจ้าหญิงในราชสกุลองค์หนึ่งให้เป็นมเหสีของกษัตริย์ธิเบต เจ้าหญิงองค์นี้มีนามว่า บุ้นเซ้งกงจู๊ ในขณะเดียวกันธิเบตก็รุกรานเนปาล กษัตริย์เนปาลก็ใช้วิธีแบบกษัตริย์จีน โดยการยกราชธิดาให้เพื่อเป็นการปลูกสัมพันธไมตรี และเจ้าหญิงองค์นี้ทรงพระนามว่า กฤกุฎีเทวี เป็นความโชคดีของพระพุทธศาสนาที่เจ้าหญิง ทั้งสองพระองค์ทรงเป็นพุทธมามกะ เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ต่างอัญเชิญพระพุทธรูปและพระธรรมคัมภีร์เข้าไปยังธิเบตด้วย และได้ชักชวนพระเจ้าสองตะสัน กัมโป ให้ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา และก็เป็นผลตามที่พระนางขอร้องจริงๆ พระเจ้าสองตะสัน กัมโป ได้ให้สร้างวัดทางพระพุทธศาสนาขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศธิเบตชื่อว่า "วัดโจกัง" (Jokhang) ตั้งอยู่ในเมืองลาสา (Lhasa)

ปัจจุบันเรารู้จักศาสนาพุทธในธิเบตอย่างดี พระธิเบตเรียกว่า ลามะ ซึ่งเป็นคำที่ทั่วโลกรู้จักเช่นเดียวกับที่รู้จักประเทศธิบต คำว่า "ลามะ" หมายถึงสูงสุดยอด เช่นเดียวกับคนไทยเราเรียกว่า "พระ" แปลว่า ประเสริฐ คำว่า ลามะ ไม่ใช่มีความหมายหรือใช้เรียกแต่พระอย่างเดียว อาจรวมไปถึงอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญปฏิบัติธรรม และมีความรอบรู้ธรรมะ ดังนั้น ลามะจึงอาจเป็นทั้งพระสงฆ์หรือฆราวาสก็ได้

พระพุทธศาสนาเข้าสู่ธิเบต

นิกายทางพระพุทธศาสนามหายานที่สามารถเข้าไปตั้งในธิเบตได้สำเร็จนั้นเป็น นิกายพุทธันตรยานหรือตันตรมนตรยาน ซึ่งเป็นนิกายที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยเวทย์มนต์อาคมขลัง นับได้ว่าเป็นช่วงจังหวะกับที่ประเทศธิเบตมีลัทธิศาสนาดั้งเดิมหนักไปทางถือเวทย์มนต์อาคมขลังอยู่แล้ว ก็เลยถูกจริตรสนิยมของคนธิเบต ถ้าเป็นนิกายอื่นๆ ก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าพระพุทธศาสนาจะสามารถเข้าไปหยั่งหลักฐานฝังรากในประเทศนี้ได้หรือเปล่า คณาจารย์ที่มีบทบาทสำคัญในที่นำพระพุทธศาสนาเข้าไปยังประเทศธิเบตมีชื่อว่า ปัทมสัมภวะ (Padmasambhava) ท่านได้รับอาราธนาให้เข้าไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในธิเบต ท่านใช้เวลาไม่นานนักก็สามารถปราบฤทธิ์พวกพ่อมดที่นับถือลัทธิโปนดั้งเดิมได้สำเร็จ และท่านก็ได้เป็นประธานต้นกำเนิดนิกายลามะที่เรียกว่า นิกายนยิงมะปะ (Nyingmapa) ในธิเบต จนก่อให้เกิดศรัทธาความเชื่อถือแก่ประชาชนมากยิ่งขึ้น โดยพระราชาหลายพระองค์ทรงรับเป็นองค์อุปถัมภ์ และยังประกาศพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ต่อมาระยะหลังจากพระสัมภวะก็มีภิกษุชาวอินเดียที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยนาลันทา มหาวิทยาลัยวิกรมศิลา เช่น พระอติศะได้เดินทางเข้าธิเบตทำการเผยแพร่ศาสนา ตลอดจนได้เขียนหนังสือที่มีชื่อเสียงเล่มหนึ่งชื่อว่า "โพธิบทประทีปศาสตร์" และแปลคัมภีร์เป็นภาษาธิเบต อักษรธิเบตก็มีรากฐานมาจากภาษาสันตกฤต หลักการปฏิบัติและหลักการสอนของพระธิเบต ได้อาศัยแบบอย่างการสอนของมหาวิทยาลัยนาลันทา กระทั่งปัจจุบันก็ใช้หลักเดียวกันตกทอดมาถึงเดี๋ยวนี้

บทบาทของพระสองขะปะ (Tsongkhapa)

เมื่อพระพุทธศาสนาเจริญมาถึงประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๘ มีคณาจารย์ผู้เป็นชาวธิเบต มีความเชี่ยวชาญแตกฉานในพระไตรปิฎกเป็นอย่างมาก ท่านได้แต่งอรรรถกถาฎีกาเป็นจำนวนมาก เล่มที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือ โพธิมรรค อนุปุพพศาสตร์ ใจความของหนังสือเล่มนี้ก็เป็นการอธิบาย คำสอนของพระพุทธเจ้าเกี่ยวกับเรื่องของศีล สมาธิ และปัญญานั่นเอง ตลอดจนใช้เป็นตำราเรียนของพระธิเบตมาจนทุกวันนี้

ท่านสองขะปะเห็นความตกต่ำของพระพุทธศาสนาในประเทศ เพราะพระสงฆ์เริ่มละทิ้งการศึกษาพระธรรมวินัย ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ มุ่งกระทำสิ่งนอกธรรมนอกพระวินัย กระทำเรื่องไร้สาระ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระลามะในนิกายยิงมะปะประพฤติตัวเลอะเทอะ คือ มีลูกเมียได้ในวัด สร้างความตกต่ำในวงการของพระลามะเป็นอย่างมาก พระสองขะปะจึงจัดตั้งนิกายใหม่ขึ้นมาชื่อว่า นิกายเกลุกะปะ (Gelukpa School) นิกายนี้ยึดมั่นการปฏิบัติอย่างเคร่งครัดไม่มีลูกไม่มีภรรยา ศึกษาพระธรรมวินัยอย่างเอาจริงเอาจัง สามารถพลิกฟื้นกลับกลายเป็นนิกายที่มีมหาชนเคารพนับถืออย่างกว้างขวางในระยะเวลาอันสั้น ดาไลลามะทุกพระองค์เป็นภิกษุในนิกายนี้และได้รับการยกย่องเป็นนิกายประจำชาติ

นิกายในประเทศธิเบต

ประเทศธิเบตนับตั้งแต่ศตวรรษที่ ๑๒ - ๒๐ มีนิกายใหญ่ๆ ที่แพร่หลายในชุมชนชาวธิเบต มีอยู่ด้วยกัน ๔ นิกาย(๒) คือ

๑. นิกายนยิงมาปะ หรือ นิกายยิงมะปะ (Nyingmapa School) พระปัทมสัมภวะ ซึ่งเป็นภิกษุชาวอินเดียที่นำพระพุทธศาสนาเข้ามาสู่ธิเบตเป็นครั้งแรก เป็นผู้ก่อตั้งขึ้น และแพร่หลายถึงพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ก็เสื่อมลง

๒. นิกายศากยะ (Sakya School) สืบต้นต่อมาจากพระอติศะ นักปราชญ์ชาวอินเดีย มีชีวิตอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๗

๓. นิกายกาคะยุปะ (Kagyupa School) มีพระนโรปะชาวอินเดียเป็นผู้เริ่มตั้งนิกาย

๔. นิกายเกลุกะปะ (Gelukpa School) ตั้งขึ้นโดยพระธิเบตชื่อว่า สองขะปะ นิกายของท่านเป็นนิกายที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดในประเทศธิเบต นับเป็นนิกายที่เจริญสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ ดาไล ลามะ ทุกองค์จะสังกัดในนิกายนี้ทั้งสิ้น

การปฏิบัติตามหลักนิกายเกลุกะปะ จะต้องผ่านการอบรมชั้นสูงเสียก่อนซึ่งเราเรียกว่า ลามะ อาจใช้เวลาถึง ๒๐ ปี เพื่อขัดเกลานิสัยจิตใจให้ตั้งอยู่ในความสงบ ไม่เกิดความฟุ้งซ่าน ส่วนมากการศึกษาอบรมกระทำกันตามอารามใหญ่ๆ ในกรุงลาสา การสั่งสอนก็ยึดถืออุปนิสัยของผู้เรียนเป็นหลัก ดังนั้น ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นลามะแล้วย่อมเป็นผู้ทรงคุณวุฒิอย่างแท้จริง พระลามะของธิเบตจึงเป็นผู้ปฏิบัติธรรมวินัยอย่างเคร่งครัดมีสมาธิอันดีเลิศ เพราะว่าได้ผ่านการชำระจิตใจมาเป็นเวลานาน ความเป็นลามะจึงมีความสมบูรณ์มากในตัวบุคคลที่ผ่านการฝึกหนักมาอย่างนั้นโดยแท้

ดาไล ลามะ กับการปกครอง

การปกครองในประเทศธิเบต ตั้งแต่พระมหากษัตริย์ลงมาเป็นลามะ(๓) ทั้งสิ้น ฐานันดรสูงสุดในธิเบตมีอยู่ ๒ ตำแหน่ง คือ ดาไล ลามะ, ตาชิ ลามะ ดาไล ลามะถืออำนาจทางอาณาจักรคือเป็นพระมหากษตริย์ ส่วนตาชิ ลามะ ถืออำนาจทางศาสนาปกครองเน้นหนักทางศาสนจักร ชาวธิเบตเชื่อระบบอวตาร ถือกันว่า ดาไล ลามะ อวตารมาจากพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ และตาชิ ลามะ อวตารมาจากอาทิพุทธะ ดังนั้น การสรรหาบุคคลเข้ารับตำแหน่งทั้ง ๒ นี้ จึงมีวิธีการที่แปลกประหลาดมากเมื่อดาไล ลามะ และตาชิ ลามะ สิ้นชีพลง ก็ต้องแสวงหาเด็กที่เชื่อว่าอวตารลงมา พวกเราจึงรู้กันว่า ผู้ที่รับตำแหน่งดาไล ลามะ ในธิเบตนั้น เป็นเด็กๆ ทั้งสิ้น

วิธีการสรรหาเด็ก ก็ใช้วิธีการสืบสวนและสดับตรับฟังว่า มีเด็กคนไหนบ้างที่รู้ความลับของลามะทั้งสอง มีการเสี่ยงทาย เช่น นำสิ่งของเครื่องใช้ของดาไล ลามะองค์ก่อนมาให้เด็กเลือก เป็นต้นว่า สมุดคัมภีร์บ้าง พวงประคำ หรือไม้เท้า นำมาปะปนกับของบุคคลอื่น ถ้าเด็กสามารถหยิบเครื่องใช้ของดาไล ลามะองค์เก่าได้ถูกต้อง ก็เลือกเด็กคนนั้น

นี่เป็นหลักการ แต่โดยความเป็นจริงการเลือกนั้น ก็พยายามเลือกสรรหาเด็กที่มีลักษณะดี มีแววแห่งความเฉลียวฉลาดอย่างมาก เมื่อเอามาตั้งขึ้นเป็นลามะสูงสุดแล้ว ก็มีคณะผู้สำเร็จราชการแทนลามะว่าราชการ การบ้านการเมืองแทนไปก่อนจนกว่าเด็กนั้นจะบรรลุนิติภาวะ ในระหว่างนี้ คณะผู้ทำงานแทนก็จะให้การฝึกอบรมให้การศึกษาอย่างดีที่สุดแก่เด็กคนนั้น ดังนั้น เราจะเห็นได้ว่าดาไล ลามะ เป็นผู้ที่มีจรรยามารยาท มีความสง่างาม มีวิสัยทรรศน์อย่างดีมากทีเดียว ตำแหน่งสูงสุด ๒ ตำแหน่ง คือ ดาไล ลามะ ว่าการทางอาณาจักร และตาชิ ลามะ ว่าการทางศาสนจักรนี้ ต่อมาในภายหลังเหลือเพียงตำแหน่งเดียว คือ ดาไล ลามะ ซึ่งต้องรับผิดชอบในการปกครองทั้งอาณาจักรและศาสนจักร คือเป็นทั้งพระมหากษัตริย์และพระสังฆราชพร้อมกันไปด้วย ก็เป็นอันว่าการปกครองประเทศ ธิเบตเป็นการปกครองโดยพุทธจักรโดยแท้

บทนิคม

ชนชาวธิเบตเป็นผู้ที่มีศรัทธาปสาทะในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง เป็นชนชาติที่น่ารัก มีจิตใจสูง มีความอดทนไม่มีความทุกข์ร้อนเรื่องความยากลำบาก มีความกล้าเผชิญต่อความจริง มีความเมตตาอารีต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ให้ถือว่าคนทุกคนที่ท่านพบเป็นเสมือนพระพุทธเจ้า เขาคนนั้นอาจยังไม่ได้เป็นพระพุทธเจ้าในปัจจุบัน แต่เพราะเขามีความเป็นพุทธะในตัวเอง สักวันหนึ่งเขาอาจเป็นพระพุทธเจ้าได้

ปัจจุบันนี้เป็นที่น่าเสียใจอย่างยิ่ง ประเทศธิเบตถูกลัทธิคอมมิวนิสต์จากประเทศจีนเข้ารุกรานและผนวกเอาประเทศธิเบตเป็นส่วนหนึ่งของจีนไปแล้ว องค์ดาไล ลามะ จึงต้องอพยพประชากรของพระองค์ลี้ภัยเข้าไปสู่ประเทศอินเดียตอนเหนือในรัฐหิมาจัลประเทศ (Himachal Pradesh) ประมาณปี ค.ศ. ๑๙๕๔ หรือ พ.ศ. ๒๔๙๗ สมัยประธานาธิบดีเยาวาห์ราล เนห์รู (Jawaharlal Nehru) ปกครองประเทศ จากอุปนิสัยของชาวธิเบตทั่วๆ ไปดังกล่าว เป็นที่ยืนยันได้อย่างชัดแจ้งว่า พระพุทธศาสนาสามารถเปลี่ยนอุปนิสัยใจคอของผู้มีศรัทธาให้กลับกลายไปในทางที่ดีได้ เพราะก่อนที่ชาวธิเบตจะหันมานับถือพระพุทธศาสนาก็เป็นชาวเขาเผ่าหนึ่งที่ไม่มีอารยธรรม ชอบแต่การสงคราม เมื่อพระพุทธศาสนาแพร่หลายเป็นศาสนาประจำชาติธิเบตได้ไม่นาน ชาวธิเบตก็เปลี่ยนสภาพความเป็นอยู่ตรงกันข้าม มีจิตใจใฝ่หาสันติอย่างยิ่ง และกลับกลายเป็นประเทศที่มีอารยธรรมด้านปรัชญาลึกซึ้งประเทศหนึ่งของโลกทีเดียว


.................................................................................

(๑) The path of the Buddha by Kenneth W. Morgan, printed in India at Shri Jainendra Press, p. 237
(๒) The path of the Buddha by Kenneth W. Morgan, printed in India at Shri Jainendra Press, p. 249
(๓) พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ, ศาสนาสากล, เล่ม ๔ น. ๕๐๙


มีต่อ >>> ๓. พระพุทธศาสนาในประเทศจีน

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ส.ค. 2010, 13:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


๓. พระพุทธศาสนาในประเทศจีน

ประเทศจีนเป็นประเทศที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ปัจจุบันประเทศจีนปกครองด้วยระบบคอมมิวนิตส์ และเปลี่ยนมาปกครองด้วยระบบสาธารณรัฐเมื่อปี ค.ศ. 1911 เรียกชื่อเป็นทางการว่า ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก มีเนื้อที่รวมกันทั้งหมด ๙,๕๖๑,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร เมืองหลวงชื่อว่า ปักกิ่ง ภาษาประจำชาติคือภาษาจีน ประชากรของประเทศมีประมาณ ๑,๒๒๑.๕ ล้านคนเศษ อัตราการอ่านออกเขียนได้ของประชากรมีประมาณ ๗๐ % ศาสนาที่มีคนนับถือในประเทศจีน คือ พระพุทธศาสนา ศาสนาขงจื๊อ และศาสนาเต๋า

พระพุทธศาสนาในสมัยราชวงศ์ฮั่น

พระพุทธศาสนาเข้าไปสู่ประเทศจีน ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๖ (A.D. 58 - 75) ในสมัยราชวงศ์ฮั่น พระเจ้าจักรพรรดิฮั่นมิ่งเต้หรือฮั่นเม้งเต้ พระองค์ทรงเห็นมนุษย์ทองคำมีแสงรัศมีสว่าง พุ่งออกจากด้านหลังถึงคอ เหาะมาในบรรยากาศและลงมาสู่พื้นดิน พระองค์ได้รับถวายคำแนะนำจากโหรประจำราชสำนักว่า มนุษย์ทองคำที่เหาะมาในความฝันนั้น บางทีอาจจะเป็นพระพุทธเจ้าจากประเทศอินเดียก็ได้ พระเจ้ามิ่งเต้จึงได้ทรงส่งคณะทูตไปประเทศอินเดียเพื่อให้นำเอาพระพุทธศาสนากลับมาสู่ประเทศจีน เมื่อคณะทูตกลับมาสู่ราชสำนักโลยาง (Lo - yang) พร้อมกับคณะที่มาด้วยเป็นพระภิกษุชาวอินเดีย ๒ รูป ชื่อว่า พระกัสปมาตังคะและพระธรรมรักษ์ ซึ่งก็นำเอาพระพุทธรูปและคัมภีร์ทางศาสนาเข้ามาด้วย พระภิกษุชาวอินเดียทั้งสองได้รับการต้อนรับด้วยความยินดียิ่งจากพระเจ้ามิ่งเต้ และให้พำนักอาศัยอยู่ที่ วัดม้าขาว(๑) (White Horse Temple) หรือภาษาจีนเรียกว่าวัด "แปะเบ้ยี่" และถือว่าเป็นวัดแรกที่สร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ม้าที่บรรทุกพระธรรมคัมภีร์มา ในเวลาต่อมา ท่านทั้งสองก็ได้แปลพระสูตรเป็นภาษาจีน ๔๒ สูตร และนับได้ว่าพระเจ้าฮั่นมิ่งเต้เป็นปฐมกษัตริย์ที่ทรงนับถือพระพุทธศาสนาเป็นพระองค์แรกของประเทศจีน

พระพุทธศาสนาในสมัยสามก๊กหรือยุคน่ำปัก

ในยุคนี้เรียกได้ว่าเป็นยุคปลายสมัยสามก๊ก พระเจ้าโจผีราชวงศ์โจโฉ ทรงอาราธนาพระภิกษุ ชาวอินเดียชื่อว่า "พระธรรมกาละ" เข้ามาเป็นพระอุปัชฌาย์แก่ประชาชนชาวจีนที่ต้องการอุปสมบท ก่อนหน้านี้ชาวจีนอุปสมบทไม่ได้ นับได้ว่าเป็นครั้งแรกที่ชาวจีนอุปสมบทในประเทศของตนได้ พระธรรมกาละยังได้แปลวินัยปาฏิโมกข์ขึ้นเป็นการเปิดศักราชแห่งนิกายวินัยขึ้นในจีนอีกด้วย

พระพุทธศาสนาในสมัยราชวงศ์จิ้น

พระพุทธศาสนาได้แพร่ไปยังประชาชนทั่วไป ธรรมทูตจากเอเซียกลางบ้าง จากอินเดียบ้าง จาริกเข้าสู่ประเทศจีนไม่ขาดระยะ สมัยนี้ศาสนาพุทธเจริญรุ่งเรืองมาก หลวงจีนฟาเหียนได้เดินทางไปศึกษาภาษาสันสกฤตและพระธรรมวินัยควบคู่กันไป และท่องเที่ยวนมัสการสังเวชนียสถานทั่วชมพูทวีป แล้วเดินทางกลับทางเรือผ่านเกาะสิงหล เกาะชวา กลับถึงประเทศจีน เมื่อ พ.ศ. ๙๕๗ รวมระยะเวลา ๑๕ ปี ท่านได้นำพระธรรมวินัยปิฎกและพระปฏิมากรกลับมาด้วย ในครั้งนั้นท่านยังได้เขียนจดหมายเหตุเรื่องเดินทางไปประเทศอินเดียอย่างละเอียดละออสามารถใช้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของนักค้นคว้าทั่วไป และได้ลงมือแปลคัมภีร์ที่นำมาจากอินเดียด้วย

ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๐ ท่านกุมารชีพซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังทั่วเอเซียกลางที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น "ติปิฏกธราจารย์" ได้รับนิมนต์ให้เข้ามาสู่ประเทศจีน ท่านกุมารชีพทำการแปลพระสูตร พระวินัย พระอภิธรรม มากกว่า ๓๐๐ ผูก และแปลศาสตร์ต่างๆ ของฝ่ายศูนยตวาทิน ทำให้ปรัชญามาธยมิกเจริญแพร่หลาย พร้อมกันนั้นยังได้แปลคัมภีร์สัตยสิทธิศาสตร์ ผลงานของท่านได้รับความนับถืออย่างสูง โดยเฉพาะภาษาหนังสือที่ท่านแปลออกมาสู่ภาษาจีนเป็นสำนวนที่ไพเราะซาบซึ้ง จนถือเป็นแบบฉบับของภาษาชั้นสูงของประเทศจีน ประชาชนหันมานับถือพระพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก วัดอารามได้ถูกสร้างขึ้นเป็นจำนวนมาก

พระพุทธศาสนาในสมัยพระเจ้าเหลียงบู๊ตี้

ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ พระเจ้าเหลียงบู๊ตี้เป็นปฐมราชวงศ์เหลียง ได้รับการยกย่องว่าเป็นพระเจ้าอโศกของจีน พระองค์วางรากฐานพระพุทธศาสนาไว้อย่างมั่นคง ทรงอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญแพร่หลาย ในยุคนี้ท่านโพธิธรรมซึ่งชาวจีนเรียกว่า "ตั้กม้อโจ้วซือ" ท่านเป็นผู้นำนิกายเซียมจงหรือนิกายเซนเข้ามาสู่ประเทศจีน ทางอุตตรนิกายยกย่องท่านในตำแหน่งพระบุพพาจารย์อันดับหนึ่ง นิกายของท่านได้รับการยกย่องนับถืออย่างสูงจากพระเจ้าจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ถัง และในปลายศตวรรษที่ ๑๒ ก็มีพระโพธิรุจิอีกรูปหนึ่งเดินทางเข้าสู่ประเทศจีน ท่านได้แปลทศภูมิศาสตร์และศาสตร์อื่นๆ อีกมากมายพร้อมกับให้กำเนิดนิกายภูมิศาสตร์

ในปลายศตวรรษที่ ๑๒ นี้ ก็ยังมีคณาจารย์จีนอีกท่านหนึ่งชื่อว่าตี้เจี้ย ได้ประกาศปรัชญานิกายเทียนไท้แพร่หลาย ท่านเป็นผู้ที่มีเกียรติคุณโด่งดังมีศิษย์บริวารเป็นจำนวนมาก นิกายเทียนไท้เจริญมากในประเทศจีน และยังเป็นที่เคารพของพระเจ้าจักรพรรดิอีกด้วย

พระพุทธศาสนาในสมัยราชวงศ์ถัง

พระพุทธศาสนาในสมัยราชวงศ์ถัง มีพระภิกษุชาวจีนที่มีชื่อเสียงโด่งดังท่านหนึ่ง ชื่อว่าเฮี่ยงจัง หรือเรารู้จักกันในนาม "พระถังซำจั๋ง" เป็นชาวมณฑลโฮนาน ท่านเป็นติปิฏกธราจารย์ ได้เดินทางไปศึกษาพุทธธรรมในประเทศอินเดีย โดยได้ไปศึกษาพระพุทธศาสนาที่มหาวิทยาลัยนาลันทา ประกอบกับท่องเที่ยวนมัสการปูชนียสถานที่อินเดีย รวมเวลาไปกลับ ๑๖ ปี เมื่อจาริกกลับประเทศจีนท่านได้เริ่มแปลคัมภีร์ได้จำนวนได้ ๑,๓๓๕ ปริเฉท และยังได้เขียนบันทึกการเดินทางไปอินเดียชื่อว่าบันทึกแคว้นตะวันตก หนังสือเล่มนี้ ได้นำประโยชน์อย่างมหาศาลแก่นักศึกษาผู้ค้นคว้าหรือนักโบราณคดี ตลอดถึงนักประวัติศาสตร์ นักศาสนา ได้รับประโยชน์เช่นกัน เพราะท่านได้บันทึกลัทธิศาสนาของประเทศอินเดียโบราณและของประเทศบริเวณแถบเอเซียกลาง

ในปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๓ ก็มีสมณอี้จิง ชาวเมืองฟันยาง จาริกไปประเทศอินเดียศึกษาพระธรรมวินัยด้วยความเพียรอยู่ร่วม ๒๕ ปี ได้เดินทางไปหลายประเทศ และเดินทางกลับประเทศจีนโดยทางเรือ พร้อมทั้งอัญเชิญพระคัมภีร์มาเกือบ ๔๐๐ ผูก ท่านได้ร่วมกับพระภิกษุอื่นแปลพระคัมภีร์รวมได้ ๕๖ เรื่อง

พระพุทธศาสนาในสมัยราชวงศ์ถัง นับได้ว่าเป็นสมัยที่พระพุทธศาสนาได้เจริญถึงขีดสูงสุด จนได้ชื่อว่าเป็นยุคทองของพระพุทธศาสนาในประเทศจีนเลยทีเดียว ประชาชนเกิดความเลื่อมใสศรัทธาอย่างแรงกล้า ชนชั้นปัญญาชนได้ช่วยกันสนับสนุนเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างสำคัญ

พระพุทธศาสนาในสมัยราชวงศ์หงวน

พระพุทธศาสนาในสมัยของราชวงศ์หงวน ปรากฏว่าพระเจ้ากุ๊บไลข่านทรงเลื่อมใสพระพุทธศาสนาแบบมหายานในลัทธิตันตระมนตรยานแบบธิเบต และทรงยกย่องพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำสำนัก โปรดให้พิมพ์พระไตรปิฎกขึ้นใหม่ ยกเลิกเก็บภาษีวัด ทรงศรัทธามากในพระลามะ ธิเบตรูปหนึ่งชื่อว่า ฟาซือปา ในกาลต่อมาลามะฟาซือปาได้รับการสถาปนาให้เป็นสกลสังฆปริณายก

พระพุทธศาสนาในสมัยราชวงศ์เหม็ง

ในสมัยราชวงศ์ของพระเจ้าไท่โจ้ว หรือฮั่งบู๊ พระพุทธศาสนาได้รับการยกย่องเป็นอย่างดีจากกษัตริย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนิกายสุขาวดีกับนิกายเซน ได้รับการยกย่องจากราชการอีกด้วย

แต่เมื่อมาถึงสมัยของพระเจ้าซีจง กษัตริย์องค์นี้เลื่อมใสในลัทธิเต๋ามาก และกระทำพระองค์เป็นปฏิปักษ์กับพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาจึงถูกทำลายครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง เริ่มทำลายพระพุทธรูปทำลายวัด ให้นักบวชพวกเต๋ายินเข้าไปอยู่ในวัด วัดถูกแปลงเป็นสำนักเต๋า

พระพุทธศาสนาในสมัยราชวงศ์ชิงหรือเซ็ง

เมื่อราชวงศ์เซ็งซึ่งเป็นเผ่าแมนจูได้บังคับให้ประชาชนไว้ผมเปีย และให้แต่งกายแบบแมนจู มีชาวจีนโดยเฉพาะพวกฮั่นได้ถูกประหารชีวิตไปเป็นจำนวนมาก กิจการทางด้านพระพุทธศาสนา กลับกวดขันในการบวช โดยต้องได้รับอนุญาตจากทางการก่อนจึงจะบวชได้ ห้ามสร้างวัดใหม่ แต่ก็ยังให้การสนับสนุนทางศาสนาอยู่บ้าง เช่น ให้รวบรวมพระไตรปิฎกถวายวัดทุกวัด พร้อมทั้งให้แปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาแมนจูเรีย ทรงอุปถัมภ์เฉพาะพระลามะเท่านั้น

พระพุทธศาสนาในสมัยจีนเป็นสาธารณรัฐ

หลังจากระบอบการปกครองด้วยพระมหากษัตริย์ล้มสลาย หันมาปกครองด้วยระบบคอมมิวนิสต์ ทำให้จีนไม่มีศูนย์กลางแห่งความสามัคคี พวกทหารนายกอง นักการเมือง ต่างแย่งชิงแสวงหาอำนาจ ทุกคนมีความต้องการเป็นประธานาธิบดีด้วยกันทั้งสิ้น

สถานการณ์ทางพระพุทธศาสนา ในสมัยที่ประเทศจีนปกครองด้วยระบบคอมมิวนิสต์ พระพุทธศาสนาก็เป็นเหมือนวัตถุโบราณชิ้นหนึ่งเสื่อมถอยลง ไม่เฉพาะศาสนาพุทธเท่านั้น ศาสนาทุกศาสนาก็ถือว่าขัดกับลัทธิมาร์กซ์ทั้งสิ้น ลัทธิคอมมิวนิสต์ถือว่าศาสนานั้นเป็นกาฝากสังคม (Social Parasite) สูบเลือดเอาประโยชน์จากสังคม แต่คืนกำไรให้กับสังคมน้อย ศาสนาเป็นเหมือนกับยาฝิ่น (Religion is Opium) ทำให้คนพัฒนาได้ยาก เป็นคนไร้ประสิทธิภาพ ดังนั้น ศาสนาจึงไม่ควรจะมีอยู่เคียงคู่กับลัทธิคอมมิวนิสต์ หลังจากแผ่นดินใหญ่ถูกปกครองด้วยคอมมิวนิสต์ ฝ่ายจีนเสรีซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นชาวพุทธได้อพยพไปอยู่เกาะฟอร์โมซาหรือประเทศไต้หวันในปัจจุบัน


.................................................................................

(๑) The path of the Buddha by Kenneth W. Morgan, printed in India at Shri Jainendra Press, p. 184


มีต่อ >>> ๔. สรุปนิกายพระพุทธศาสนาในประเทศจีน

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ส.ค. 2010, 13:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


๔. สรุปนิกายพระพุทธศาสนาในประเทศจีน

หลังจากพระพุทธศาสนาแบบมหายานได้มาหยั่งรากฝังลึกอยู่ในประเทศจีน ก็ได้มีความเจริญรุ่งเรืองมาควบคู่กับศาสนาขงจื๊อ และเหลาจื๊อ สามารถเข้าไปอยู่ในจิตใจของชาวจีนได้โดยไม่ได้เป็นพิษเป็นภัยกับลัทธิเก่าที่เขาเคยประพฤติปฏิบัติมา พระพุทธศาสนามีลักษณะเหมือนกับกระแสน้ำที่ไม่มีความขัดแย้งกับเทหวัตถุที่น้ำเข้าไปอาศัยอยู่ ไปอยู่ในรูป อยู่ในรูปตุ่มก็เป็นตุ่ม จึงมีศัตรูน้อย แต่อย่างไรก็ดี ในส่วนของพระพุทธศาสนาเองนั่นแหละ คณาจารย์ของจีนเองได้มีแนวความคิดในการตีความขยายธรรมะในแนวทางที่แตกต่างกันออกไป จนเป็นเหตุให้เกิดนิกายบริสุทธิ์ขึ้นในจีนขึ้นมาหลายนิกาย มีอยู่ ๔ นิกายใหญ่คือ นิกายสัทธรรมปุณฑริก (เทียนไท้) นิกายธฺยาน (เซ็น) นิกายอวตังสกะ (ฮั่วเงี้ยมจง) นิกายสุขาวดี (เจ้งโท้วจง)

นิกายเทียนไท้

ผู้เป็นต้นกำเนิดของนิกายนี้คือ อาจารย์ ตี้เจีย สำนักก๊กเชงยี่ บนภูเขาเทียนไท้ ดังนั้น จึงเอาชื่อภูเขาตั้งเป็นนิกาย ท่านได้แบ่งพระพุทธวจนะออกเป็น ๕ สมัย(๑) คือ

๑. ปฐมกาล เมื่อพระองค์ตรัสรู้แล้วใหม่ๆ พระองค์ทรงแสดงพุทธาวตัมสกมหาไวปุลยสูตร แก่บรรดาพระโพธิสัตว์และทวยเทพ

๒. ทุติยกาล พระศาสดาทรงปรารภว่า พระธรรมนั้นลึกซึ้งนัก ยากที่ผู้มีอินทรีย์ไม่แก่กล้าจะเข้าใจได้ จึงทรงผ่อนให้ง่ายลง มีอริยสัจ ๔ ยุคนี้ทรงแสดงแก่พวกเถรวาท

๓. ตติยกาล ทรงเล็งเห็นว่า บรรดาพระสาวกส่วนหนึ่งยังเข้าใจผิดว่า มีแต่ธรรมฝ่ายเถรวาทเท่านั้น พระองค์จึงทรงแสดงธรรมฝ่ายมหายาน เลื่อนภูมิพระสาวกขึ้น อาทิเช่น ทรงแสดงไวปุลยสูตร ศรีมาลาเทวีสิงหนาทสูตร ตถาคัพภสูตร เป็นต้น

๔. จตุตถกาล พระศาสดาทรงตระหนักว่า บรรดาพระสาวกซึ่งฟังธรรมมา ๓ ยุคนั้น บางส่วนยังเข้าใจผิดว่า สภาวธรรม มีอยู่ เป็นอยู่ พระองค์จึงทรงแสดงธรรมปลดเปลื้องความเข้าใจผิดนี้ คือแสดงมหาปรัชญาปารมิตาสูตร

๕. ปัญจมกาล เป็นเวลปัจฉิมโพธิกาลแล้ว พระองค์ทรงแสดงความลี้ลับสุดยอดแก่พระสาวกทั้งปวง โดยทรงแสดงสัทธรรมปุณฑริกสูตร

นิกายนี้ถือว่าตนเองได้กำธรรมสุดยอดของพุทธศาสนาไว้ เพราะใช้สัทธรรมปุณฑริกสูตรเป็นหลักของนิกาย

นิกายธฺยาน

นิกายธฺยานหรือเรียกอีกอย่างก็คือนิกาย "เซ็น" นั่นเอง มาจากศัพท์ว่า ธฺยาน หรือ ฌาน นิกายนี้มีความเจริญรุ่งเรืองมากแม้กระทั่งในปัจจุบันนี้ ได้แพร่หลายออกไปยังนานาอารยประเทศ เช่น ในยุโรปและอเมริกา ผู้ตั้งต้นนิกายนี้คือพระโพธิธรรม ชาวอินเดียภาคใต้ ได้เข้ามาเผยแพร่ในเมืองจีน ในรัชมัยของพระเจ้าเหลียงบูเต้ ครั้งพระโพธิธรรมได้เข้าไปเฝ้าพระองค์ พระเจ้าเหลียงบูเต้รับสั่งถามว่า

โยมสร้างวัดเป็นจำนวนมาก บวชพระเป็นจำนวนมาก จะมีอานิสงส์เป็นอย่างไร

พระโพธิธรรม ตอบว่า ไม่มีเลย เพราะเป็นฝ่ายวัฏฏคามินีทั้งนั้น

คำตอบของพระโพธิธรรมไม่เป็นที่พอใจของพระเจ้าเหลียงบูเต้ หลังจากนั้นพระโพธิธรรมก็เดินทางไปจำพรรษาที่วัดเสี่ยวลิ่มยี่ นั่งเข้าฌานหันหน้าเข้าหาฝาผนังอยู่ ๙ ปี ไม่ลุกขึ้น ท่านโพธิธรรมได้แต่งตั้งพระภิกษุฮุ้ยค้อ เป็นสังฆนายกนิกายเซ็นเป็นลำดับที่ ๒ แต่นั้นก็มีอาจารย์สืบมาจนถึงองค์ที่ ๖ คือ ท่านเว่ยหล่าง

นิกายเซ็นนั้น ถือว่าการบรรลุมรรรคผลนั้น ไม่ใช่อยู่ที่ตัวบทอักษร หรือความรู้ในด้านปริยัติ แต่ต้องอยู่ที่การขัดเกลาจิตใจของตนเองเป็นสำคัญ แม้จะเป็นผู้ทรงพระไตรปิฎกแต่เป็นผู้รกรุงรังอยู่ภายในจิตใจก็ใช้ไม่ได้ ต้องบริสุทธิ์ทั้งภายนอกและภายใน นิกายเซ็นถือเป็นนิกายแห่งปัญญาวิมุตติถือปัญญาเป็นเรื่องสำคัญ มีวาจาที่เป็นประดุจดาบสองคม คือพูดสอนตรงประเด็นเลย คนรับได้ก็ดีไป คนที่ไม่เข้าใจหรือรับไม่ได้ก็อาจเป็นปรปักษ์ไปเลยทีเดียว

มีคำขวัญประจำนิกายเซ็นว่า "ปุกลิบบุ้นยี่ ติกจี้นั้งซิม เกียงแส่ ซั่งฮุด"(๒) แปลว่า ไม่ต้องอาศัยหนังสือ แต่ชี้ไปตรงจิตของมนุษย์ให้เห็นแจ้งในภาวะที่แท้จริง แล้วจะบรรลุเป็นพุทธะ นิกายเซ็นถือว่าสรรพสัตว์มีพุทธภาวะอยู่ภายในตัวทุกๆ คน คำพูดหรือตัวหนังสือไม่เพียงพอที่จะอธิบายสัจภาวะอันนี้ได้ เพราะฉะนั้น บางคราวจำต้องอาศัยปริศนาธรรมและคำพูดที่เสียดแทงเข้าไปถึงหัวใจ วิธีนี้นิกายเซ็นเรียกว่า "โกอาน" แปลว่า ตามตัวควรจะมีปริศนาธรรม สำหรับมอบไปให้ศิษย์ไปขบคิด ผู้ใดขบคิดปัญหาโกอานแตก ผู้นั้นก็มีดวงตาเห็นธรรมได้

ดังมีตัวอย่างปริศนา โกอาน ครั้งหนึ่งในฤดูหนาวมีหลวงจีนท่านหนึ่ง เมื่อหิมะตกจัดจึงเดินเข้าไปในโบสถ์แล้วนำเอาพระพุทธรูปมาทำฟืนเผาไฟ บังเอิญสมภารในวัดเดินผ่านมาพบเข้าจึงทักท้วงว่าทำไมกระทำเช่นนั้น หลวงจีนท่านนั้นจึงบอกว่าจะเผาหาพระบรมธาตุ สมภารบอกว่าจะหาพระบรมธาตุมาจากไหนได้พระพุทธรูปเป็นไม้ หลวงจีนท่านนั้นก็กล่าวกะสมภารอีกว่า งั้นก็ขอเอาพระพุทธรูปมาเผาอีกสัก ๒ - ๓ องค์ สมภารเมื่อได้ฟังดังนั้นก็มีดวงตาเห็นธรรมในทันที

ปริศนาธรรมตรงนี้หมายความว่า จะหาพุทธะในภายนอกนั้นไม่ได้ พุทธะอยู่ภายในตัวของเรานี้เอง วัตถุบูชาเป็นเพียงสัญลักษณ์เท่านั้น

นิกายอวตัมสก (ฮั่วเงี้ยมจง)

นิกายนี้นับถือพุทธาเวตัมสกมหาไวปุลยสูตร ซึ่งในระยะกาลระหว่างพุทธปรินิพพานแล้ว ๕๐๐ ปี พระสูตรนั้นยังไม่ถึงกาลจะควรแพร่หลาย ได้ถูกประดิษฐานซ่อนเร้นอยู่ในมณเฑียรเมืองใต้บาดาลจนถึงสมัยท่านนาคารชุน ท่านลงไปเมืองพญานาคท่องพระสูตรนั้นจนจำได้คล่องแคล่วแล้วขึ้นมาเผยแผ่แก่มนุษย์ เชื่อกันว่าพระสูตรนี้มี ๓ ฉบับๆ ที่แพร่หลายเป็นฉบับเล็ก ประกอบด้วยหนึ่งแสนโศลก ฉบับกลางมี ๑,๙๘๘,๘๐๐ โศลก ส่วนฉบับใหญ่นั้นมีโศลกนับไม่ถ้วน ในราวพุทธศตวรรษที่ ๙ ท่านพุทธภัทรแปลสูตรนี้สู่ภาษาจีน ต่อมาในราชวงศ์ถัง ท่านศึกษานันทะได้เป็นผู้แปลซ้ำอีกครั้งหนึ่ง จึงถือกันว่าเป็นฉบับที่สมบูรณ์ พระสูตรนี้ถูกกับนิสัยชาวจีนมากในพุทธศตวรรษที่ ๑๑ คณาจารย์จีนองค์หนึ่งชื่อ โต่วสุง ได้ตั้งนิกายอวตัมสกะขึ้นและมาเจริญในสมัยเฮียงซิ้ว

นิกายสุขาวดี (เจ้งโท้วจง)

นิกายสุขาวดี ผู้เป็นต้นของนิกายนี้คือ คณาจารย์ฮุยเอี้ยงมีชีวิตอยู่ในสมัยราชวงศ์จิ้น ในราวศตวรรษที่ ๙ ตั้งสำนักอยู่บนภูเขาลู้ซัว บนภูเขาขุดสระใหญ่ ปลูกดอกบัวขาวเต็มสระ คณาจารย์ฮุยเอี้ยงพร้อมทั้งสาวกหลายพันคนนั่งสวดมนต์หน้าสระนี้ โดยให้การสมมติว่า สระนี้เป็นสระทิพย์ในแดนสุขาวดี ซึ่งท่านตั้งจิตปรารถนาจะไปเกิด นิกายสุขาวดีที่ท่านตั้งขึ้นในชั้นแรก ได้อาศัยข้อความในพระสูตรชื่อว่า "พุทธธฺยานสาครสูตร" คือเพ่งจิตถึงพระอมิตาภะพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ ต่อมาในราชวงศ์ถัง มีคณาจารย์ชานเตา ได้วางระเบียบปฏิบัติโดยยึดถือเอาพระสูตรอีก ๓ สูตรเป็นหลักคือ

๑. มหาสุขาวดีวยูหสูตร
๒. จุลลสุขาวดีวยูหสูตร
๓. อมิตายุรธฺยานสูตร

นิกายสุขาวดี จึงเป็นนิกายสำหรับสามัญชนง่ายๆ ทั่วไป ไม่มีหลักอภิปรัชญาหนักๆ ที่ต้องทำให้คิดมากนัก การไปบังเกิดในแดนสวรรค์สุขาวดีเน้นความภักดีเป็นหลักจึงทำให้สามัญชนเข้าถึงได้ง่าย คือสอนให้มีความภักดีในพระพุทธเจ้าอมิตาภะอย่างเดียวก็สามารถพ้นจากความทุกข์ได้ ไม่ต้องอธิบายเหตุผลใดๆ ทั้งสิ้น จึงถูกกับจริตของคนที่ชอบลงทุนน้อยแต่ได้ผลกำไรตอบแทนมามาก คณาจารย์ชานเตาได้สรุปหัวใจของนิกายสุขาวดีไว้ ๓ ข้อคือ

๑. สิ่ง แปลว่า ความเชื่อ ต้องปลูกศรัทธาอย่างซาบซึ้งในองค์พระอมิตาภะ

๒. ง่วง แปลว่า ตั้งปณิธานอธิษฐานเพื่อไปเกิดในสุขาวดีอย่างแน่วแน่

๓. เหง แปลว่า คือปฏิบัติกายวาจาใจให้อยู่ในกุศลธรรม โดยเฉพาะการเปล่งคำบูชาพระอมิตาภะว่า "นโม อมิตาภาย พุทฺธาย" ข้อความนี้จะต้องท่องบ่นวันละหลายๆ หน ยิ่งมากเท่าไรยิ่งดี วิธีภาวนามีการนับลูกประคำ ประคำเม็ดหนึ่งต่อการภาวนาบทหนึ่ง เมื่อเปรียบกับคติธรรมในเถรวาทแล้ว ข้อปฏิบัติในนิกายสุขาวดีจึงเป็นการเจริญสมถภาวนา แบบหนึ่งเพื่อทำจิตให้สงบได้


.................................................................................

(๑) เสถียร โพธินันทะ, ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา ฉบับมุขปาฐะ, เล่ม ๑ น. ๒๑๔
(๒) เสถียร โพธินันทะ เรื่องเดิม, น. ๒๓๖


มีต่อ >>> ๕. พระพุทธศาสนาในประเทศญี่ปุ่น

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ส.ค. 2010, 13:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


๕. พระพุทธศาสนาในประเทศญี่ปุ่น

พระพุทธศาสนาได้แพร่หลายจากประเทศเกาหลีเข้าไปสู่ดินแดนประเทศญี่ปุ่น ในราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๑ ในสมัยแผ่นดินของพระเจ้าจักรพรรดิกิมเมอิ (จักรพรรดิองค์ที่ ๒๙ ของญี่ปุ่น) เนื่องจากวัฒนธรรมสมัยนั้นของญี่ปุ่นยังอยู่ระดับต่ำมาก ศาสนาชินโตก็เพิ่งจะเริ่มก่อตั้งขึ้น มีหลักปรัชญาและหลักคำสอนที่ไม่สามารถจะเปรียบเทียบกับหลักปรัชญาและหลักคำสอนของพุทธศาสนาได้ พระจักรพรรดิกิมเมอิจึงรับเอาศาสนาพุทธเข้าประเทศญี่ปุ่น แต่ที่ปรึกษาฝ่ายการทหารและฝ่ายทางลัทธิชินโตไม่เห็นด้วย พยายามขัดขวางการเผยแพร่ของศาสนาพุทธทุกวิถีทาง เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำพระพุทธศาสนาไม่สามารถแพร่หลายออกไปในหมู่ชนชั้นต่างๆ ต่อมา ประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๒ พระเจ้าจักรพรรดิโยเม (จักรพรรดิองค์ที่ ๓๑) ได้โปรดให้สร้างพระพุทธรูปยากุชินโยโร (ได้แก่ พระพุทธรูปตถาคตไภษัชยคุรุ) พระพุทธรูปองค์นี้สร้างเสร็จหลังจากที่พระองค์สวรรคตแล้ว ๒๐ ปี และปัจจุบันอยู่ในวัดโฮระยูจิ (วัดนี้มีชื่อเสียงมากและเป็นสิ่งก่อสร้างที่ทำด้วยไม้เก่าแก่ที่สุดในโลก)

พระพุทธศาสนาเริ่มแพร่หลายในหมู่ชุมชน เมื่อ พระเจ้าจักรพรรดินีซุยโกะ (เป็นพระน้องนางของพระเจ้าจักรพรรดิโยเม และมีเจ้าชายโชโตกุซึ่งเป็นพระโอรสของพระเจ้าจักรพรรดิโยเม เป็นผู้สำเร็จราชการ รวมทั้งรับตำแหน่งรัชทายาทของพระจักรพรรดินีซุยโกะ) ขึ้นครองราชย์ พระนางซุยโกะได้ตราพระราชเสาวนีย์เกี่ยวกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยให้ยึดถือเป็นนโยบายของประเทศ ประกอบกับผู้สำเร็จราชการคือ เจ้าชายโชโตกุ ได้พิจารณาเห็นว่า พระพุทธศาสนาเป็นแหล่งความคิดที่ก่อให้เกิดปัญญา พระองค์ได้พยายามส่งเสริมฟื้นฟูพระพุทธศาสนาเป็นการใหญ่ในทุกวิถีทาง เจ้าชายโชโตกุถือว่าเป็นพระเจ้าอโศกแห่งประเทศญี่ปุ่นก็ว่าได้ พระองค์ได้ส่งคณะทูตและนักศึกษาไปยังประเทศจีน เพื่อศึกษาค้นคว้าหลักธรรมของพระพุทธศาสนากับวัฒนธรรมอื่นๆ ของจีน เพื่อหวังประโยชน์ที่จะนำมาปรับปรุงประเทศญี่ปุ่นต่อไป

การปฏิรูปสังคมและวัฒนธรรมต่างๆ ก่อให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองแก่ประเทศญี่ปุ่นอย่างคาดไม่ถึง กฎหมายที่ประกาศใช้ในราชการนี้ล้วนแต่มีอิทธิพลของพระพุทธศาสนาเป็นยาดำปนอยู่เป็นอันมาก และเจ้าชายโชโตกุยังประกาศพระบรมราชโองการอุปถัมภ์พระรัตนตรัยอย่างเป็นทางการอีกด้วย ศาสนาพุทธจึงได้รับความนิยมแพร่หลายกลายเป็นศาสนาประจำชาติโดยปริยาย ยุคนี้นับเป็นยุคที่ศาสนาพุทธในญี่ปุ่นมีความเจริญมากยิ่งกว่ายุคใดๆ มีการส่งคณะทูตไปประเทศจีนหลายครั้ง แต่ละครั้งก็ได้อัญเชิญพระไตรปิฎก และนำอารยธรรมของชาวจีนกลับมาด้วย พระสูตร พระวินัย พระธรรมอื่นๆ จำนวนมากมาย และเจ้าชายโชโตกุได้ทรงเริ่มงานเกี่ยวกับพระสูตรโดยเขียนเป็นอรรถกถาอธิบายไว้ อรรถกถาชุดนี้มีอยู่ ๓ เล่ม เรียกรวมกันว่า "ซันเกียวคิโช" อันได้แก่ ยุยมาเกียว โชมันเกียว และโฮกเกเกียว ทั้ง ๓ เล่มแบ่งออกเป็น ๘ บรรพ เป็นตำราทางพระพุทธศาสนาชุดแรก ที่เขียนเป็นภาษาญี่ปุนและสูตรอรรถกถาอีก ๓ เล่ม มีความสำคัญต่อพระพุทธศาสนาในประเทศญี่ปุ่นมาก เล่มแรกคือ ยุยมาเกียว เป็นหลักคำสอนเกี่ยวกับฝ่ายมหายาน ส่วน ๒ เล่มหลังเกี่ยวกับคำอธิบายหลักคำสอนทางเอกยานโดยเฉพาะ

เอกยาน หมายถึง วิถีชีวิตไม่ว่าจะมีสภาพใด ก็สามารถจะตรัสรู้ได้ โดยไม่มีความแตกต่างระหว่างสิ่งที่มีชีวิต เอกยานมีจุดมุ่งหมายสูงสุดคือ พุทธภาวะอันเที่ยงแท้ แต่พุทธภาวะนี้อยู่เหนือกาละ และเทศะ เพราะเป็นธรรมหรือกฎนิรันดรมีอยู่ในตัวเองไม่มีการเปลี่ยนแปลง ไม่เกิดและไม่ตาย และเป็นจุดประสงค์สุดท้ายของมนุษย์ที่แสวงหาทางการปฏิบัติเพื่อให้บรรลุถึงพุทธภาวะอันเที่ยงแท้ ตามคำอธิบายของเอกยานกล่าวว่า ทุกคนไม่ว่าจะถือเพศคฤหัสถ์หรือเพศบรรพชิตสามารถปฏิบัติได้ โดยไม่ถือเป็นข้อแตกต่างแต่อย่างใด กล่าวคือการปฏิบัติตามลัทธิเอกยานนั้นสามารถปฏิบัติได้ทุกโอกาส โดยไม่จำเป็นต้องละทิ้งเพศฆราวาสออกถือสันโดษบวชเป็นบรรพชิตแต่อย่างใด คำอธิบายนี้มีอิทธิพลต่อพระพุทธศาสนาในประเทศญี่ปุ่นมาก จนกลายมาเป็นวิวัฒนาการทางศาสนาอีกแบบหนึ่งซึ่งไม่ซ้ำประเทศใดๆ และพระพุทธศาสนาตั้งแต่ระยะเริ่มแรกเข้าญี่ปุ่นก็มีพระพุทธศาสนานิกายต่างๆ แพร่หลายเข้ามาอย่างไม่ขาดระยะ นิกายส่วนใหญ่เป็นนิกายมหายาน หลักธรรมการปฏิบัติจึงค่อนข้างหนักไปทางฝ่ายมหายาน

ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๓ - ๑๔ ศาสนาชินโตที่เคยขัดแย้งกับพระพุทธศาสนาแต่เริ่มแรก ได้ค่อยๆ ปรับแนวความคิด หลักปรัชญาให้ผสมกลมกลืนกับพระพุทธศาสนา มีการอธิบายพระเจ้าของชินโตว่าเป็นพระโพธิสัตว์ในศาสนาพุทธนั่นเอง ประชาชนของญี่ปุ่นจึงมีความเคารพนับถือพระพุทธศาสนาและศาสนาชินโตควบคู่กันไป สังเกตได้จากโบสถ์ของพระพุทธศาสนาจะมีรูปพระเจ้าของศาสนาชินโตรวมอยู่ด้วยเสมอ เช่น มีรูปเทพีอะมะเตระสุโอมิกามิ (ซึ่งลัทธิชินโตเคารพนับถือว่าเป็นผู้สร้างประเทศญี่ปุ่น) ประดิษฐานอยู่ในโบสถ์ พุทธศาสนิกชนชาวญี่ปุ่นอธิบายว่าเทพีองค์นี้ เป็นการอวตารของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร (พระกวนอิมโพธิสัตว์) ลักษณะพุทธศาสนาในญี่ปุ่นจึงมีการปฏิบัติที่แปลกแตกต่างกว่าประเทศในเอเซียทั่วไป

พุทธศาสนาจากประเทศจีนต่างก็หลั่งไหลเข้าญี่ปุ่นนับเป็นจำนวนหลายนิกาย แต่ที่สำคัญๆ ปัจจุบันมี พุทธศาสนาแบบชินโต และพุทธศาสนานิกายเซน โดยเฉพาะนิกายเซนกำลังแพร่หลาย มีพุทธมามกะรวมประมาณ ๑๐ ล้านคน และนับวันจะเพิ่มมากขึ้น พุทธศาสนาในประเทศญี่ปุ่นมีความเจริญมาก มีวัดตามเมืองต่างๆ ทั่วไปถึงประมาณ ๗ หมื่นวัด พระสงฆ์ประมาณ ๒ แสนรูป นอกจากนี้ยังมีสถานศึกษาธรรมชั้นสูงอีกราวประมาณ ๑๐ กว่าแห่ง ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังมากในเรื่องการสอนและการปฏิบัติ


มีต่อ >>> ๖. พระพุทธศาสนาในประเทศพม่า

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ส.ค. 2010, 13:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


๖. พระพุทธศาสนาในประเทศพม่า

สมัยพระเจ้ากนิษกมหาราชเป็นกษัตริย์ปกครองประเทศอินเดีย ได้แผ่ขยายดินแดนออกไปอย่างกว้างขวาง พระองค์ทรงนับถือพระพุทธศาสนา ดังนั้น ดินแดนที่พระองค์ตีได้จึงได้รับศาสนาพุทธเป็นศาสนาของชุมชนนั้นๆ ด้วย และพระองค์ยังโปรดให้คณะทูตนำพระพุทธศาสนาเข้าไปเผยแพร่ในประเทศต่างๆ ในทวีปเอเซีย เชื่อกันว่าประเทศพม่าก็ได้รับพระพุทธศาสนาในยุคนี้เอง ประมาณราวพุทธศตวรรษที่ ๖ - ๗ พุทธศาสนาจึงมีรากฐานในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้มานานนับเป็นพันๆ ปี เมื่อราว พ.ศ. ๑๖๐๐ พระเจ้าอนอระทามังช่อ หรือพระเจ้าอนุรุทธ ทรงเป็นกษัตริย์พม่าที่เคารพนับถือพระพุทธศาสนามาก พระองค์ได้สถาปนาเมืองปาฆัน (เป็นเมืองตั้งอยู่ใจกลางประเทศพม่า) โดยสมมติให้เป็นเมืองพระพุทธนคร พร้อมกับสร้างวิหาร พระสถูปเจดีย์อย่างวิจิตรงดงาม รวมจำนวน ๑,๐๐๐ แห่ง ประดิษฐานถี่ห่างจากกันแทบเต็มเนื้อที่เมืองปาฆัน นับว่าเป็นพระมหากษัตริย์พม่าพระองค์หนึ่งที่ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญอย่างสูงสุด ปัจจุบันพระวิหาร พระสถูป และพระเจดีย์ มีสภาพหักพัง อันเนื่องมาจากสภาพความเก่าแก่และสภาพสงคราม เมืองปาฆันตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำอิราวดี รัฐบาลพม่ากำลังลงมือปฏิสังขรณ์เพื่อคงสภาพไว้เป็นโบราณวัตถุทางพระพุทธศาสนา

ในกรุงย่างกุ้งมีพระเจดีย์ชะเวดากอง สร้างไว้บนยอดเขาเตี้ย แต่นับว่าเป็นเจดีย์ขนาดใหญ่มากที่สุดแห่งหนึ่งของพุทธอาณาจักรด้วยกัน ฝีมือของช่างสถาปนิกนับว่าเป็นช่างชั้นเอก เพราะสร้างได้อย่างงดงามมาก

ตามสถิติของรัฐบาล ได้สำรวจพระและสามเณรทั่วประเทศมีทั้งหมดประมาณ ๔๐๐,๐๐๐ รูป มากกว่าประเทศไทยประมาณ ๑ แสนรูป ปัจจุบันพม่าจึงนับเป็นแหล่งหรือศูนย์กลางพระพุทธศาสนาประเทศหนึ่งในเอเซีย


มีต่อ >>> บทที่ ๖

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 56 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 3 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร