วันเวลาปัจจุบัน 14 ก.ย. 2024, 04:14  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 26 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มี.ค. 2013, 17:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


เมืองพาราณสี

รูปภาพ

แม่น้ำคงคา เมืองพาราณสี

• แม่น้ำคงคา เมืองพาราณสี มหานทีแห่งศรัทธา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=48767

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2013, 18:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


เมืองปาฏลีบุตร (เมืองปัตนะ)

รูปภาพ

๑ ใน ๘๐ เสาของห้องโถง (ในภาพ : เป็นเสาด้านที่ฝังอยู่ในดิน)
ณ วัดอโศการาม เมืองปาฏลีบุตร (เมืองปัตนะ) ประเทศอินเดีย
สถานที่ทำสังคายนาพระไตรปิฎกฝ่ายเถรวาท ครั้งที่ ๓


รูปภาพ

ภาพเขียนจำลอง “เสาของห้องโถง” ในยุคพระเจ้าอโศกมหาราช
ซึ่งมี ๘๐ เสาทำจากหินแดง หลังจากได้ขุดค้นพบแล้ว
ณ วัดอโศการาม เมืองปาฏลีบุตร (เมืองปัตนะ) ประเทศอินเดีย
สถานที่ทำสังคายนาพระไตรปิฎกฝ่ายเถรวาท ครั้งที่ ๓


• จาก “พระพุทธเจ้า” ถึง “พระเจ้าอโศกมหาราช”
โดย ศ.(พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=4574

• การสังคายนาพระไตรปิฎกฝ่ายเถรวาท
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=47652

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มี.ค. 2013, 08:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนากับเจ้าของกระทู้ครับ
:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2013, 16:25 
 
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ก.ค. 2013, 14:53
โพสต์: 3

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุ พุทโธ ธัมโม สังโฆ :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2013, 14:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


เมืองโภปาล

รูปภาพ

พระสถูปสาญจี หรือ มหาสถูปสาญจี
เมืองโภปาล รัฐมัธยมประเทศ ประเทศอินเดีย


• สาญจี พระสถูปที่บรรจุพระธาตุแห่งพระอัครสาวก
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=48450

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.พ. 2016, 17:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5112

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b20: :b20:

พระสถูปปาวาลเจดีย์ เมืองไวสาลี ประเทศอินเดีย
เป็นสถานที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปลงอายุสังขารเป็นครั้งสุดท้าย
อีกทั้งสถานที่แห่งนี้ยังเคยเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ

ในพรรษาที่ ๔๕ พรรษาสุดท้ายแห่งการดำเนินพุทธกิจ
พระชนมายุ ๘๐ พรรษา ทรงประทับจำพรรษาอยู่ที่เวฬุวคาม
แขวงเมืองไพศาลี (เมืองไวสาลี ในปัจจุบัน) แคว้นวัชชี
ในระหว่างพรรษานี้พระพุทธองค์ทรงประชวรอย่างหนัก
มีอาการเจ็บปวดอย่างรุนแรง จนถึงกับจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน
ครั้นถึงวันมาฆบูชา ขึ้น ๑๕ ค่ำ เพ็ญเดือน ๓ ปีจอ

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปลงอายุสังขาร โดยตั้งพระทัยว่า
“นับแต่นี้ต่อไปอีกสามเดือน วันเพ็ญในกลางเดือนหก (วิสาขะ) ปีจอ
ตถาคตจักดับขันธปรินิพพานที่เมืองกุสินารา”

การปลงอายุสังขารจึงมีความหมายในภาษาสามัญว่า
การกำหนดวันตายไว้ล่วงหน้านั่นเอง
การปลงอายุสังขารนี้มีขึ้น ณ ร่มไม้แห่งหนึ่งในปาวาลเจดีย์
บ้านเวฬุวคาม แขวงเมืองไพศาลี (เมืองไวสาลี ในปัจจุบัน) เวลากลางวัน


:b46: :b46: :b46:

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2020, 09:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


เมืองไวสาลี

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

วัดกูฏาศาลาป่ามหาวัน เมืองไวสาลี ประเทศอินเดีย
ซึ่งมีสถูปทรงโอคว่ำ และเสาหินของพระเจ้าอโศกมหาราช
ที่สมบูรณ์ที่สุดในอินเดีย ที่ยังปรากฏสิงโตหินบนยอดเสา
นอกจากนี้แล้ว ที่สำคัญวัดแห่งนี้ยังเป็นสถานที่ที่พระพุทธองค์
ประทานพุทธานุญาตบวช “พระนางมหาปชาบดีโคตมี”
เป็นพระภิกษุณีรูปแรกในพระพุทธศาสนา


• ภิกษุณีรูปแรกในพระพุทธศาสนา (เสฐียรพงษ์ วรรณปก)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=35006

รูปภาพ

พระมหาสถูปแห่งเกสเรีย (Kesaria Stupa) เมืองไวสาลี ประเทศอินเดีย
หรือในปัจจุบันเรียกว่า พระมหาสถูปแห่งเกสรียา (Kesariya Stupa)
มหาสถูปทางพระพุทธศาสนาที่เพิ่งค้นพบใหม่ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
เป็นที่ประดิษฐานบาตรของพระพุทธเจ้าที่ทรงประทานแก่ชาวเมืองไวสาลี
ในครั้งพุทธกาลพระมหาสถูปแห่งเกสเรียหลังนี้
อยู่ในเขตพรมแดนของแคว้นวัชชีและแคว้นมัลละติดต่อกัน
(จังหวัดจัมปารัน รัฐพิหาร ในปัจจุบัน) แต่ไม่ใช่สถานที่แสดงกาลามสูตร
หรือต้นกำเนิดของเกสปุตตสูตร ดังที่เข้าใจกัน
เพราะสถานที่แสดงกาลามสูตร
หรือต้นกำเนิดของเกสปุตตสูตรนั้นอยู่ในแคว้นโกศล
แต่พระมหาสถูปแห่งเกสเรียอยู่ในเขตพรมแดนของแคว้นวัชชี
ติดต่อกันกับเขตพรมแดนของแคว้นมัลละ

ปัจจุบัน พระมหาสถูปแห่งเกสเรียตั้งอยู่ห่างจากกรุงกุสินารา
ไปประมาณ ๑๒๐ กิโลเมตร ในเขตหมู่บ้านเลาลิยะนันทัน (Lauliyanandan)
และหมู่บ้านนันทันฆาต (Nandanghat) จังหวัดจัมปารัน รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย
กล่าวคือ ตั้งอยู่ระหว่างทางจากเมืองไวสาลีไปยังกรุงกุสินารานั่นเอง


• พระมหาสถูปแห่งเกสเรีย
ที่ประดิษฐานบาตรของพระพุทธเจ้า

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=48096

• กาลามสูตร : หลักความเชื่อของชาวพุทธ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=18318

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

พระสถูปปาวาลเจดีย์ เมืองไวสาลี ประเทศอินเดีย
เป็นสถานที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปลงอายุสังขารเป็นครั้งสุดท้าย
อีกทั้งสถานที่แห่งนี้ยังเคยเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ


:b47: :b44: :b47:

ในพรรษาที่ ๔๕ พรรษาสุดท้ายแห่งการดำเนินพุทธกิจ
พระชนมายุ ๘๐ พรรษา ทรงประทับจำพรรษาอยู่ที่เวฬุวคาม
แขวงเมืองไพศาลี (เมืองไวสาลี ในปัจจุบัน) แคว้นวัชชี
ในระหว่างพรรษานี้พระพุทธองค์ทรงประชวรอย่างหนัก
มีอาการเจ็บปวดอย่างรุนแรง จนถึงกับจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน
ครั้นถึงวันมาฆบูชา ขึ้น ๑๕ ค่ำ เพ็ญเดือน ๓ ปีจอ
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปลงอายุสังขาร โดยตั้งพระทัยว่า
“นับแต่นี้ต่อไปอีกสามเดือน วันเพ็ญในกลางเดือนหก (วิสาขะ) ปีจอ
ตถาคตจักดับขันธปรินิพพานที่เมืองกุสินารา”
การปลงอายุสังขารจึงมีความหมายในภาษาสามัญว่า
การกำหนดวันตายไว้ล่วงหน้านั่นเอง
การปลงอายุสังขารนี้มีขึ้น ณ ร่มไม้แห่งหนึ่งในปาวาลเจดีย์
บ้านเวฬุวคาม แขวงเมืองไพศาลี (เมืองไวสาลี ในปัจจุบัน) เวลากลางวัน


หลังจากที่ทรงกระทำนิมิตโอภาสแก่พระอานนท์ถึงสามครั้งว่า
“อานนท์ ถ้าบุคคลใดเจริญอิทธิบาท ๔ ประการ
ปรารถนาจะดำรงอยู่ประมาณกัปหนึ่ง หรือมากกว่านั้นก็สามารถจะอยู่ได้”
นิมิตโอภาสนี้ หมายถึงบอกใบ้ว่าพระองค์จะเสด็จดับขันธปรินิพพาน
หากพระอานนท์กราบทูลขอให้อยู่ต่อ
และทรงรับก็ทรงสามารถดำรงพระชนม์ชีพต่อไปได้อีก
แต่พระอานนท์ไม่รู้เท่าทันพญามาร
เมื่อพญามารมาเข้าเฝ้าพระพุทธองค์แล้ว
ได้กราบทูลขอให้เสด็จดับขันธปรินิพพาน
พระพุทธเจ้าจึงทรงรับคำอาราธนานั้นของพญามาร
หลังจากที่ทรงปลงอายุสังขารแล้ว ได้เกิดแผ่นดินไหวใหญ่
พระอานนท์จึงทราบว่าพระพุทธองค์ทรงปลงอายุสังขารแล้ว
จึงรีบมาทูลอ้อนวอนให้พระองค์ดำรงอยู่ต่อไปอีก
แต่พระพุทธองค์ทรงห้ามไว้เพราะล่วงเลยกาลเสียแล้ว

ปัจจุบัน พระสถูปปาวาลเจดีย์
เหลือแต่ซากตอของเจดีย์ ที่ทำด้วยหินแข็งมีสีเทา
ซึ่งต่อมาทางการญี่ปุ่นได้สร้างซุ้มมุงด้วยหลังคาสังกะสี
เป็นทรงกลมทาสีขาว และมีรั้วเหล็กกั้นไว้โดยรอบ


• สถานที่ทรงกระทำนิมิตโอภาส ๑๖ ตำบล
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=47111

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2020, 09:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


เมืองปาวา

รูปภาพ

บ้านนายจุนทะ (จุนทกัมมารบุตร) บุตรช่างทอง
ณ เมืองปาวา รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย ในปัจจุบัน


• บ้านนายจุนทะ (จุนทกัมมารบุตร) เมืองปาวา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=48447

รูปภาพ

แม่น้ำกกุธานที

แม่น้ำกกุธานที ไหลผ่านดินแดนระหว่างเมืองปาวา
กับเมืองกุสินารา แคว้นมัลละ
เป็นสถานที่ที่พระพุทธองค์เคยเสด็จมาหยุดพัก
ระหว่างการเดินทางไปยังเมืองกุสินารา
ณ แม่น้ำแห่งนี้เอง ที่พระพุทธองค์รับสั่งให้พระอานนท์ตักน้ำ
จากแม่น้ำน้อยนี้เพื่อเสวย พร้อมทั้งได้ลงสรงจนพระวรกายสดชื่น
มีเรื่องเล่าว่า หลังจากที่พระพุทธองค์ลงสรงในแม่น้ำนี้แล้ว
เหล่าปลาที่อยู่ในแม่น้ำได้กลายเป็นทองทั้งหมด

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2020, 09:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
จากซ้าย : “มหาปรินิพพานวิหาร” และ “มหาปรินิพพานสถูป”
ณ สาลวโนทยาน เมืองกุสินารา รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย



กุสินารา : สถานที่ปรินิพพาน

:b47: :b40: :b47:

กุสินารา (ฮินดี : कुशीनगर, อูรดู : کُشی نگر, อังกฤษ : Kusinaga, Kushinagar) พุทธสังเวชนียสถานแห่งที่ ๔ ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ตำบลมถากัวร์ อำเภอกุสินคร จังหวัดเดวเย หรือเทวริยา รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย ในครั้งสมัยพุทธกาล เมืองกุสินาราเป็นเมืองเอก ๑ ใน ๒ ของแคว้นมัลละ อยู่ตรงข้ามฝั่งแม่น้ำคู่กับเมืองปาวา เป็นสถานที่ตั้งของ “สาลวโนทยาน” หรือสวนป่าไม้สาละของมัลลกษัตริย์ ที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน และ “มกุฏพันธนเจดีย์” สถานที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของพระพุทธเจ้า กุสินารา มีชื่อเรียกในท้องถิ่นว่า มาถากุนวะระกาโกฏ ซึ่งแปลว่า ตำบลเจ้าชายสิ้นชีพ

:b44: ในสมัยพุทธกาล เมืองกุสินาราเป็นที่ตั้งของสาลวโนทยาน อยู่ในแคว้นมัลละ ๑ ใน ๑๖ แคว้นซึ่งเป็นเขตการปกครองสมัยพุทธกาล โดยในสมัยนั้นแคว้นมัลละแยกเป็นสองส่วน คือ ฝ่ายเหนือ มีเมืองกุสินาราเป็นเมืองหลวง เจ้าปกครองเรียกว่า “โกสินารกา” และฝ่ายใต้ มีเมืองปาวาเป็นเมืองหลวง เจ้าปกครองเรียกว่า “ปาเวยยมัลลกะ” ทั้งสองเมืองนั้นตั้งอยู่ห่างกันเพียง ๑๒ กิโลเมตร โดยมีแม่น้ำหิรัญญวดีคั่นตรงกลาง กุสินารานั้นเมื่อเปรียบเทียบกับแคว้นอื่นๆ ในสมัยพุทธกาลจัดว่าเป็นแคว้นเล็ก ไม่ค่อยมีความสำคัญมากนักในด้านเศรษฐกิจ

สถานที่เสด็จดับขันธปรินิพพานของพระพุทธองค์อยู่ในพระราชอุทยานของเจ้ามัลละฝ่ายเหนือแห่งกุสินารา ภายในสาลวโนทยาน ซึ่งแปลว่า สวนป่าไม้สาละ ป่าแห่งนี้ตั้งอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำหิรัญญวดี เป็นป่าไม้สาละร่มรื่น หลังการปรินิพพานของพระพุทธองค์แล้ว เหล่ามัลลกษัตริย์ก็ได้ประดิษฐานพระพุทธสรีระไว้ ณ เมืองกุสินารา เป็นเวลากว่า ๗ วัน ก่อนที่จะประกอบพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ณ มกุฏพันธนเจดีย์

เหตุที่ทรงเลือกเมืองกุสินาราอันเป็นเมืองเล็กแห่งนี้เป็นสถานที่ปรินิพพาน มีหลายสาเหตุ แต่สาเหตุสำคัญคือทรงทราบดีว่าเมื่อพระองค์ปรินิพพานไปแล้ว พระพุทธสรีระและพระบรมสารีริกธาตุของพระองค์จักถูกแว่นแคว้นต่างๆ แย่งชิงไปทำการบูชา หากพระองค์ปรินิพพานในเมืองใหญ่ เมืองใหญ่เหล่านั้นอาจไม่แบ่งพระบรมสารีริกธาตุให้เมืองเล็กๆ เช่น เมืองกุสินารา ฯลฯ ซึ่งก็เป็นความจริงเพราะหลังพระพุทธองค์ปรินิพพาน เจ้าผู้ครองแคว้นต่างๆ ก็ได้ยกกองทัพหลวงของตนมาล้อมเมืองกุสินาราเพื่อจะแย่งชิงพระบรมสารีริกธาตุ แต่ด้วยความที่กุสินาราเป็นเมืองเล็ก จึงต้องยอมระงับศึกโดยแบ่งพระบรมสารีริกธาตุให้ทุกเมืองโดยไม่ต้องเกิดสงคราม

:b44: กุสินาราหลังพุทธปรินิพพาน หลังพระพุทธองค์ปรินิพพานแล้ว เมืองกุสินารากลายเป็นเมืองสำคัญศูนย์กลางแห่งการบูชาสักการะของพุทธศาสนิกชน เหล่ามัลลกษัตริย์ได้สร้างเจดีย์และวิหารเป็นจำนวนมากไว้รอบๆ สถูปใหญ่ คือ มหาปรินิพพานสถูป อันเป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า มหาปรินิพพานสถูปแห่งนี้ได้กลายเป็นศูนย์กลางของปูชนียสถานอื่นๆ ที่สร้างขึ้นมาภายหลังในบริเวณนั้น

ต่อมาเมื่อแคว้นมัลละได้ตกอยู่ในความอารักขาของแคว้นมคธ พระเจ้าอโศกมหาราชได้เสด็จมาจาริกแสวงบุญยังกุสินารา เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๓๑๐ ทรงบริจาคพระราชทรัพย์เป็นจำนวนเงิน ๑๐๐,๐๐๐ กหาปณะ เพื่อเป็นค่าก่อสร้างสถูป เจดีย์ และเสาศิลาจารึก

ในพุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๕ ราชวงศ์สกลจุรี ได้เข้ามาสร้างวัดขึ้นในบริเวณสาลวโนทยานเป็นจำนวนมาก จนกระทั่งพระพุทธศาสนาได้หมดจากประเทศอินเดียไปในปี พ.ศ. ๑๗๔๓ ทำให้สถานะของพระพุทธศาสนาในกุสินาราถูกปล่อยทิ้งร้างและกลายเป็นป่ารกทึบ กระทั่งในปี พ.ศ. ๒๔๓๓ พระภิกษุมหาวีระ สวามี และท่านเทวจันทรมณี ชาวศรีลังกา เดินทางมายังกุสินารา และเริ่มอุทิศตัวในการฟื้นฟูพุทธสถานแห่งนี้ ร่วมกับเนซารี ชาวพุทธพม่า จนได้สร้างวัดขึ้นใหม่ชื่อว่า “มหาปรินิวานะ ธรรมะศาลา”

:b49: :b49: ปัจจุบัน กุสินารา มีอนุสรณ์สถานที่สำคัญได้แก่

(๑) มหาปรินิพพานสถูป ตั้งอยู่ด้านหลังของมหาปรินิพพานวิหาร เป็นสถูปแบบทรงโอคว่ำขนาดใหญ่ ซึ่งพระเจ้าอโศกมหาราชเป็นผู้สร้างและได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ เชื่อกันว่าเป็นที่บรรทมครั้งสุดท้ายและเป็นสถานที่พระพุทธองค์ปรินิพพาน ณ ใต้ต้นสาละคู่ ภายหลังได้สร้างสถูปครอบไว้ดังจะเห็นได้ในปัจจุบัน สถูปมีความสูง ๖.๑๐ เมตรเหนือระดับพื้นดิน ด้านบนของสถูปเป็นฉัตร ๓ ชั้น

(๒) มหาปรินิพพานวิหาร หรือวิหารพุทธไสยาสน์ ตั้งอยู่ด้านหน้าบนฐานเดียวกันกับมหาปรินิพพานสถูป มีบันไดอิฐสูงขึ้นไปบนเนิน ภายในประดิษฐาน “พระพุทธรูปปางปรินิพพาน” อยู่บนพระแท่นทำด้วยหินทรายแดงหรือเรียกว่า จุณศิลา องค์พระพุทธรูปยาว ๒๓ ฟุต ๙ นิ้ว (ราว ๗ เมตร) กว้าง ๕ ฟุต ๖ นิ้ว สูง ๒ ฟุต ๑ นิ้ว ศิลปะมถุรา มีอายุมากกว่า ๑,๕๐๐ ปี ที่พระแท่นมีรูปสลักของสุภัททปริพาชกกำลังเข้าไปขอบวช และมีรูปสลักพระอนุรุทธะและพระอานนท์อยู่ด้วย พระพุทธรูปองค์นี้เป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธองค์ที่กำลังเสด็จดับขันธปรินิพพาน ประทับนอนบรรทมตะแคงขวา โดยหันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันตก และมีซากศาสนสถานโบราณโดยรอบมากมาย ในจารึกระบุผู้จัดสร้างพระพุทธรูปองค์นี้ คือ หริพละสวามี นายช่างผู้แกะสลักชื่อ ธรรมทินนา เป็นชาวเมืองมถุรา ในปัจจุบันพระพุทธรูปองค์นี้ถือได้ว่าเป็นจุดหมายสำคัญที่ชาวพุทธจะมาสักการะ เพราะเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะอันพิเศษคือเหมือนคนนอนหลับธรรมดา แสดงให้เห็นว่าพระพุทธองค์ได้เสด็จดับขันธปรินิพพานจากไปอย่างผู้หมดกังวลในโลกทั้งปวง

หลวงจีนถังซัมจั๋ง (หลวงจีนเฮียงจัง, Xuanzang) ผู้เดินทางมาถึงสถานที่พุทธปรินิพพาน (พ.ศ. ๑๑๖๓-๑๑๘๗) ได้พรรณนาไว้ตอนหนึ่งว่า “กุสินาราเมืองหลวงของมัลลกษัตริย์ อยู่ในสภาพซากปรักหักพัง มองเห็นเมืองและหมู่บ้านเป็นสถานที่ร้าง จะมีคนอยู่อาศัยภายในกำแพงเมืองเก่าเพียงเล็กน้อย”

“บริเวณด้านทิศตะวันตกของแม่น้ำหิรัญวดีเป็นอุทยานสาลวัน มีไม้สาละขึ้นเป็นหมู่ใหญ่ ลักษณะของไม้สาละเปลือกเป็นสีขาวบ้างสีเขียวบ้าง ใบสาละสะอาดเป็นเงา ไม่ขรุขระ ในป่ามีไม้สาละใหญ่ ๔ ต้น บริเวณนี้มีวิหารใหญ่ก่ออิฐปูนหลังหนึ่ง ภายในวิหารมีพระพุทธรูปแบบสีหไสยาสน์ คือในลักษณะประทับนิพพาน หันพระเศียรไปทางทิศเหนือ มีลักษณะเหมือนกำลังบรรทมหลับ ข้างๆ วิหารใหญ่มีสถูปใหญ่อีกแห่งหนึ่งซึ่งจารึกว่าพระเจ้าอโศกมหาราชเป็นผู้สร้าง แม้ลักษณะจะทรุดโทรมหักพังไปเป็นอันมากแล้ว แต่ก็ยังมีความสูงเหลืออยู่ถึง ๒๐๐ ฟุต ข้างหน้าพระสถูปมีหลักศิลาจารึกของพระเจ้าอโศกว่า ที่นี้เป็นที่เสด็จดับขันธปรินิพพานของพระตถาคต”


(๓) มกุฏพันธนเจดีย์ ตั้งอยู่ห่างจาก มหาปรินิพพานสถูป ไปทางทิศตะวันออก ๑ กิโลเมตร คนท้องถิ่นเรียกว่า “รามภาร์-กา-ดีลา” หรือ รัมภาร์สถูป เป็นสถานที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของพระพุทธเจ้า เดิมทีเป็นเชิงตะกอนไม้จันทร์หอม หลังจากที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระแล้วก็ได้สร้างพระสถูปครอบลง ต่อมาก็ได้ถูกรุกรานทำลายเหลือแต่ซากปรักหักพัง ภายหลังได้ถูกขุดค้นพบเป็นซากกองอิฐพระสถูปขนาดใหญ่ดังที่เห็นในปัจจุบัน พระสถูปนี้วัดโดยรอบฐานได้ ๔๖.๑๔ เมตร และขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๓๗.๑๘ เมตร ทั้งนี้ ตามหลักฐานก็เป็นที่ชัดเจนว่านั่นคือสถานที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระหรือมกุฏพันธนเจดีย์ตามที่ชาวพุทธเรียกชื่อกัน ปัจจุบันรัฐบาลอินเดียได้เข้ามาบูรณะซ่อมแซมไว้อย่างดี

ปัจจุบันชาวพุทธทั่วโลกได้มาก่อสร้างวัดไว้มากมาย โดยมีวัดของไทยด้วย ชื่อ วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ ซึ่งเริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๗ มีเนื้อที่ประมาณ ๑๔ ไร่ (๖ เอเคอร์) ตั้งอยู่บริเวณกุสินารา ห่างจากสาลวโนทยานไปประมาณ ๕๐๐ เมตร ปัจจุบันมี พระธรรมโพธิวงศ์ (วีรยุทธ์ วีรยุทฺโธ) เป็นประธานสงฆ์

(มีต่อ)

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2020, 09:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


อนุสรณ์สถานแห่งการปรินิพพาน

:b47: :b40: :b47:

รูปภาพ

“มหาปรินิพพานสถูป” และ “มหาปรินิพพานวิหาร”

รูปภาพ

พระพุทธรูปปางปรินิพพาน
ภายในมหาปรินิพพานวิหาร ณ สาลวโนทยาน


• มหาปรินิพพานสถูป และมหาปรินิพพานวิหาร
พระพุทธรูปปางปรินิพพาน กุสินารา สถานที่ปรินิพพาน

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=44811

รูปภาพ

มกุฏพันธนเจดีย์ เมืองกุสินารา
สถานที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของพระพุทธเจ้า
คนท้องถิ่นเรียกว่า “รามภาร์-กา-ดีลา” หรือ รัมภาร์สถูป


• มกุฏพันธนเจดีย์ เมืองกุสินารา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=48470

• พระมหากัสสปะ ประธานในการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=23&t=42337

• รวมกระทู้ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับ “วันอัฏฐมีบูชา”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=23&t=45500

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2020, 09:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

จุดที่แบ่งพระบรมสารีริกธาตุ
โทณพราหมณ์เจดีย์ เมืองกุสินารา


• โทณพราหมณ์เจดีย์
จุดที่แบ่งพระบรมสารีริกธาตุ เมืองกุสินารา

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=48446

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

พระมหาธาตุเฉลิมราชศรัทธา วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์

รูปภาพ

พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
รัชกาลที่ ๙ ประดิษฐาน ณ
วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ ประเทศอินเดีย


รูปภาพ

พระอุโบสถ วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์
สร้างขึ้นตามแบบสถาปัตยกรรม และศิลปกรรมของไทย
โดยผู้ออกแบบคือ ร.ศ.ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี
ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๗)
โดยเน้นให้เป็นศิลปะในรัชกาลที่ ๙ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์
มีขนาดความกว้าง ๘ เมตร ยาว ๒๒ เมตร
มุมด้านหน้ากว้าง ๕ เมตร ยาว ๘ เมตร ลานประทักษิณ ๑๒ เมตร
บานประตู-หน้าต่างเป็นไม้สาละ
อันเป็นเครื่องระลึกถึงต้นสาละคู่ในสวนของมัลลกษัตริย์
สถานที่ปรินิพพานขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เสด็จเป็นองค์ประธานประกอบพิธียกช่อฟ้า ตัดลูกนิมิต
เมื่อวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๒ ผูกสีมาตามพระบรมพุทธานุญาต
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙
ทรงพระราชทานชื่อวัดว่า “วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์”
พระราชทานนามพระพุทธรูป องค์พระประธานในพระอุโบสถว่า
“พระพุทธสยัมภูญาณ”
พร้อมด้วยพระราชทานพระบรมฉายาลักษณ์ภาพทรงผนวช
ฉัตร ๓ ชั้น ภาพพระมหาชนก ภาพพระราชกรณียกิจ
ตราสัญญลักษณ์ครองราชย์ ๕๐ ปี
ตราสัญญลักณ์สมโภชน์พระชนมายุ ๖ รอบ ๗๒ พรรษา
และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระปรมาภิไธยย่อ ภปร.
เพื่อประดิษฐานไว้ที่หน้าบันพระอุโบสถ
ซึ่งเป็นมิ่งมงคลต่อวัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ยิ่ง


รูปภาพ

พระธรรมโพธิวงศ์ (วีรยุทธ์ วีรยุทฺโธ)
ประธานสงฆ์วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ ประเทศอินเดีย


รูปภาพ

เหล่าอุบาสก อุบาสิกา และคนงานชาวอินเดียท้องถิ่น
ร่วมสืบสานอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยที่ดีงาม แห่เทียนพรรษา
และผ้าอาบน้ำมาถวายพระสงฆ์ผู้อยู่จำพรรษากาลจำนวน ๕๖ รูป
ภายในพระอุโบสถ วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ ปี พ.ศ. ๒๕๕๗


:b47: :b44: :b47:

:b8: :b8: :b8: รวบรวมและเรียบเรียงเนื้อหามาจาก ::
http://www.gotoknow.org/posts/238751
http://www.wanramtang.com/ven-veerayut
http://learningpune.com/wp-content/uplo ... engbun.pdf
http://www.learners.in.th/blogs/posts/468152
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=venfaa&group=3
http://www.cmadong.com/board/index.php? ... =6097.1600
http://122.155.190.19/puthakun/download ... %B8%A5.pdf


:b8: :b8: :b8: ขอขอบพระคุณที่มาของรูปภาพ ::
คุณ Venfaa Aungsumalin, คุณปันน้ำใจ ปันน้ำใจ,
และ fb. วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ ประเทศอินเดีย

http://www.painaima.com/board/index.php?topic=214.0

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 26 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron