วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 04:58  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 83 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 เม.ย. 2009, 00:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.พ. 2009, 22:06
โพสต์: 194

อายุ: 38
ที่อยู่: นันทบุรีศรีนครน่าน

 ข้อมูลส่วนตัว


คู่ครองที่ดี

คู่ครองที่ดี ที่จะเป็นคู่ร่วมชีวิตกันได้ นอกจากกามคุณแล้ว ควรมีคุณสมบัติ และประพฤติตามข้อปฏิบัติ ดังนี้
ก. คู่สร้างคู่สม มีหลักธรรมของคู่ชีวิต ที่จะทำให้คู่สมรสมีชีวิตสอดคล้องกลมกลืนกัน เป็นพื้นฐานอันมั่นคงที่จะทำให้อยู่ครองกันได้ยืดยาว เรียกว่า สมชีวิธรรม 4 ประการ คือ
1. สมสัทธา มีศรัทธาสมกัน เคารพนับถือในลัทธิศาสนา สิ่งเคารพบูชาแนวความคิดความเชื่อถือ หรือหลักการต่างๆ ตลอดจนแนวความสนใจอย่างเดียวกัน หนักแน่นเสมอกัน หรือปรับเข้าหากัน ลงกันได้
2. สมสีลา มีศีลสมกัน มีความประพฤติ ศีลธรรม จรรยา มารยาท พื้นฐานการอบรม พอเหมาะสอดคล้องไปกันได้
3. สมจาคา มีจาคะสมกัน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความโอบอ้อมอารี ความมีใจกว้าง ความเสียสละ ความพร้อมที่จะช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น พอกลมกลืนกัน ไม่ขัดแย้งบีบคั้นกัน
4. สมปัญญา มีปัญญาสมกัน รู้เหตุรู้ผล เข้าใจกัน อย่างน้อยพูดกันรู้เรื่อง

ข. คู่ชื่นชมคู่ระกำ หรือ คู่บุญคู่กรรม คือ คู่ครองที่มีคุณธรรม ลักษณะ นิสัยความประพฤติปฏิบัติ การแสดงออกต่อกัน ที่ทำให้เกื้อกูลกันหรือถูกกันก็มี ต้องยอมทนกันหรืออยู่กันอย่างขมขื่น ก็มี ในกรณีนี้ ท่านแสดง ภรรยาประเภทต่างๆไว้ 7 ประเภท คือ
1. วธกาภริยา ภรรยาเยี่ยงเพชฌฆาต คือ ภรรยาที่มิได้อยู่กินด้วยความพอใจ ดูหมิ่น และคิดทำลายสามี
2. โจรีภริยา ภรรยาเยี่ยงโจร คือ ภรรยาชนิดที่ล้างผลาญทรัพย์สมบัติ
3. อัยยาภริยา ภรรยาเยี่ยงนาย คือ ภรรยาที่เกียจคร้าน ไม่ใส่ใจการงาน ปากร้าย หยาบคาย ชอบข่มสามี
4. มาตาภริยา ภรรยาเยี่ยงมารดา คือ ภรรยาที่หวังดีเสมอ คอยห่วงใยเอาใจใส่ สามีหาทรัพย์มาได้ก็เอาใจใส่คอยประหยัดรักษา
5. ภคินีภริยา ภรรยาเยี่ยงน้องสาว คือภรรยาผู้เคารพรักสามี ดังน้องรักพี่ มีใจอ่อนโยน รู้จักเกรงใจ มักคล้อยตามสามี
6. สขีภรียา ภรรยาเยี่ยงสหาย คือ ภรรยา ที่เป็นเหมือนเพื่อน มีจิตภักดี เวลาพบสามีก็ร่าเริงยินดี วางตัวดี ประพฤติดี มีกริยามารยาทงามเป็นคู่คิดคู่ใจ
7. ทาสีภรียา ภรรยาเยี่ยงนางทาสี คือภรรยาที่ยอมอยุ่ใต้อำนาจสามี ถูกสามีตะคอกตบตี ก้อดทน ไม่แสดงความโกรธตอบ

ท่านสอนให้ภรรยาสำรวจตนว่า ที่เป็นอยุ่ ตนเป็นภรรยาประเภทไหน ถ้าจะให้ดี ควรเป็นภรรยประเภทใด สำหรับผู้ชาย อาจใช้เป็นหลักสำรวจอุปนิสัยของตนว่าควรแก่หญิงประเภทใดเป็นคู่ครอง และสำรวจหญิงที่จะเป็นคู่ครองว่าเหมาะสมกับอุปนิสัยตนหรือไม่
แม้สามีก็ย่อมมีหลายประเภท พึงเทียบเอาจากภรรยาประเภทต่างๆเหล่านั้น

ค. คู่ศีลธรรมคู่ความดี เอาหลักธรรมสำหรับการครองเรือน คือ ฆราวาสธรรม 4 ประการมาใช้ต่อในบ้านด้วย ดังนี้
1. สัจจะ ความจริง คือซื่อสัตย์ต่อกัน ทั้งจริงใจ จริงวาจา และจริงในการกระทำ
2. ทมะ ฝึกตน คือ รู้จักควบคุมจิตใจ ฝึกหัดดัดนิสัย แก้ไขข้อบกพร่องขัดแย้ง ปรับตัวปรับใจเข้าหากัน และปรับปรุงตนให้ดีงามยิ่งขึ้นไป
3. ขันติ อดทน คือ มีจิตใจเข้มแข็ง หนักแน่น ไม่วู่วาม ทนต่อความล่วงล้ำก้ำเกินกัน และร่วมกันอดทนต่อความเหนื่อยยากลำบากตรากตรำฝ่าฟันอุปสรรคไปด้วยกัน
4. จาคะ เสียสละ คือ มีน้ำใจ สามารถเสียสละความสุขสำราญความพอใจส่วนตนเพื่อคู่ครองได้ เช่น อดหลับอดนอนพยาบาลกันในยามเจ็บไข้เป็นต้น ตลอดจนมีจิตใจเอื้อเฟื้อเฝื่อแผ่ต่อญาติมิตรสหายของคู่ครองไม่ใจแคบ

ง. คู่ถูกหน้าที่ต่อกัน สงเคราะห์ อนุเคราะห์กัน ตามหลักปฏิบัติในทิศ 6 ข้อที่ว่าด้วย ทิศเบื้องหลัง คือ
สามีปฏิบัติต่อภรรยา โดย
1. ยกย่องให้เกียรติสมฐานะที่เป็นภรรยา
2. ไม่ดูหมิ่น
3. ไม่นอกใจ
4. มอบความเป็นใหญ่ในงานบ้าน
5. หาเครื่องแต่งตัวมาให้เป็นของขวัญตามโอกาส
ภรรยาอนุเคราะห์สามี โดย
1. จัดงานบ้านให้เรียบร้อย
2. สงเคาระห์ญาติมิตรทั้งสองฝ่ายด้วยดี
3. ไม่นอกใจ
4. รักษาทรัพย์สมบัติที่หามาได้
5. ขยัน ช่างจัดช่างทำ เอางานทุกอย่าง

จ. พ่อบ้านเห็นใจภรรยา สตรีมีความทุกข์จำเพาะตัวอีกส่วนหนึ่งต่างหากจากผู้ชาย ซึ่งสามีพึงเข้าใจ และพึงปฏิบัติด้วยความเอาใจใส่ เห็นอกเห็นใจคือ
1. ผู้หญิงต้องจากหมู่ญาติมาอยู่กับตระกูลของสามีทั้งที่ยังเป็นเด็กสาวสามีควรให้ความอบอุ่นใจ
2. ผู้หญิงมีระดู ซึ่งบางคราวก่อปัญหาให้เกิดการแปรปรวนทั้งใจกาย ฝ่ายชายควรเข้าใจ
3. ผู้หญิงมีครรภ์ ซึ่งยามนั้นค้องการความเอาใจใส่บำรุงกายใจเป้นพิเศษ
4. ผู้หญิงคลอดบุตร ซึ่งเป็นคราวเจ็บปวดทุกข์แสนสาหัส และเสี่ยงชีวิตมาก สามีควรใส่ใจเหมือนเป็นทุกข์ของตน
5. ผู้หญิงต้องคอยปรนเปรอเอาใจฝ่ายชาย ฝ่ายชายไม่ควรเอาแต่ใจตัว พึงซาบซึ้งในความเอื้อเฟื้อและมีน้ำใจตอบแทน...

ที่มา : หนังสือธรรมนูญชีวิต (ฉบับชาวบ้าน) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตตโต)

แล้วทุกท่านล่ะ คิดอย่างไร :b6: [/color]


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 เม.ย. 2009, 21:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2009, 10:12
โพสต์: 905

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ
ถ้ามองข้ามความดีคนมีค่า
แม้จะนั่งตรงหน้ายังเพิกเฉย
ไม่มีวันที่จะเจอคนใช่เลย
แม้เอื้อนเอ่ยทักทายไม่ใยดี

แม้นเมินเลย เฉยชา ดั่งผาหิน
ใจไม่ยิน ฤารับ คำร้องนี่
ที่วานพ้อ ต่อเสริม เติมวจี
ขอคนดี หยุดรอ ขอเพียงฟัง

คนจะมีคู่ครองอยู่ด้วยสุข
ควรลืมทุกข์เรื่องราวแต่คราวหลัง
สะกดรอยแห่งบาปสาบชิงชัง
เติมพลังให้กันด้วยเนื้อบุญ

แม้อดีต กรีดไว้ ให้ใจร้าว
ใช่จะสาว ยาวยื้อ กระพือขุ่น
เพียงจักเก็บ บทเรียน บอกบาปบุญ
อันไหนคุณ สิ่งใดโทษ..จดไว้จำ

อันคู่เทียมพบเมื่อไหร่ก็ดูง่าย
แต่คู่หมายคู่แท้แม่คมขำ
กว่าจะพบใช่เวลาพาจดจำ
คอยเกื้อหนุนผลงามเพื่อนำทาง
:
หากคู่แท้ แน่เกื้อ กุศลเก่า
ที่ย้อนเร้า แรงบุญ หนุนนำสร้าง
ดุจไอ้ขวัญ คู่เรียม ริมกองฟาง
รักหาจาง เพราะถ้อย ร้อยสัจจา

เมื่อหลุดพ้นความสับสนก็กระจ่าง
เป็นหนทางนำล่องอย่างช้าช้า
บุญกุศลร่วมชาติที่ทำมา
ย่อมรักษาคนดีนี้สองคน

มือพนม ก้มกราบ อฐิษฐาน
พระประธาน โปรดรับ แรงกุศล
ครั้งร่วมเรียง เคียงไหว้ เก้าวัดวน
ขอจงดล กมลมั่น นิรันดิ์รัก

ก้มกราบพระด้วยใจผ่องใสยิ่ง
ไม่ประวิงจขออิงแอบแนบใจภักดิ์
จะประคองรักสองให้แน่นหนัก
ดุจความรักเหมือนนทีที่งดงาม


ขออนุโมทนาด้วยค่ะ... :b41: :b41:

.....................................................
"ก้มกราบบ่อยๆ ช่วยขจัดความหยิ่ง-ทะนงออกได้"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 เม.ย. 2009, 22:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.พ. 2009, 22:06
โพสต์: 194

อายุ: 38
ที่อยู่: นันทบุรีศรีนครน่าน

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุโมทนากับคุณปลายฟ้า...ค่ะ ครับ ผมมีเพื่มเติมมาเล่าสู่ทุกท่านกันต่อครับ
พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า สามีภรรยาที่จะอยู่กันด้วยความสุขนั้นต้องมี ธรรมะเสมอกัน 4 ประการคือ
1. มีความซื่อตรงกันเท่าเทียมกัน
2. มีศีลมีระเบียบเหมือนกัน
3. มีปัญญาเหมือนกัน
4. มีน้ำใจเสียสละเท่าเทียมกัน


ถ้า 4 อย่างนี้เท่าเทียมกันแล้ว เราก็อยู่กันด้วยความสุข ไม่มีปัญหาในชีวิตประจำวัน :b1:
พอดีผมเหลือบไปมองเห็น คติธรรมจากน้ำสังข์ ของคุณพิมพ์ เอี่ยมละออ เลยนำมาฝากไว้สำหรับทุกท่านครับ


คติธรรมจากน้ำสังข์

วันน้ำสังข์หลั่งหยดรดศรีษะ
เป็นธรรมะ ข้อคิดปริศนา
คนโบราณสอนไว้ใช้สืบมา
พีงศึกษานำไปใส่ใจตน

น้ำสังข์ คือ สังคหวัตถุธรรม
เหมือนกับน้ำเย็นใจให้เกิดผล
มีสี่ข้อแถลงแจ้งยุบล
แก่หมู่ชนผู้ครองเรือนเตือนหญิงชาย

หนึ่ง...เจือจานเผื่อแผ่แก่พี่น้อง
และพวกพ้องหมู่ญาติไม่ขาดหาย
ทั้งแบ่งปันทานกุศลผลมากมาย
อย่าเสียดายพึงช่วยเหลือเอื้อเฟื้อกัน

สอง...เจราจาพาทีเป็นศรีปาก
อย่าพูดมากปากพล่อยคอยเย้ยหยัน
พูดนิ่มนวลล้วนไพเราะเสนาะกรรณ
เหมือนอ้อยควั้นหวานหยดมดลิ้มลอง

สาม...ประพฤติเป็นประโยชน์ไม่โหดร้าย
พึงขวนขวายกิจการงานถูกต้อง
ช่วยสงเคราะห์ญาติมิตรคิดปรองดอง
ที่ขัดข้องช่วยปรึกษาพาชื่นชม

สี่...วางตนเสมอตนเข้าคนได้
อย่าทำใหญ่อวดตนเห็นคนข่ม
พีงอ่อนน้อมถ่อมตนคนนิยม
ไม่ปรารมภ์คนรักใคร่ผูกไมตรี

ห้า...สังคหธรรม นำใจให้ประเสริฐ
จะชูเชิดคู่ครองให้ผ่องศรี
อยู่ร่วมกันมีสุขทุกราตรี
ย่อมเปรมปรีดิ์แก่วงศ์ญาติไม่ขาดเอย...
:b6:


แก้ไขล่าสุดโดย ไผ่ เมื่อ 16 เม.ย. 2009, 20:51, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 เม.ย. 2009, 19:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.พ. 2009, 22:06
โพสต์: 194

อายุ: 38
ที่อยู่: นันทบุรีศรีนครน่าน

 ข้อมูลส่วนตัว


สะพานสายรุ้ง

:b41: ...ขอบฟ้าทิ้งโค้งไกลๆ
สีสวยสดใสทาบทา
เจ็ดสีรายเรียงเคียงไป
เส้นดค้งเส้นใหญ่ทาบมา
:b41: ...เมื่อยามตะวันรอนรอน
แสงแดดซอกวอนเมฆบน
ถูกฝนละอองปลิวว่อน
โอนอ่อนสวยนวลชวนยล
:b41: ...ม่วง คราม น้ำเงิน ชวนมอง
เขียว เหลืองเรืองรอง แสด แดง
ทอดโค้งโยงฟากฟ้าทองอ้อมโอบประคองโลกไว้ภายใน
:b41: ...ให้สายรุ้งนั้นคือสะพาน
ข้ามลำธารผ่านภูผา
ผ่านเมืองแมนแดนศิวิไลซ์
ผ่านป่าดงพงไพรพนา
ข้ามมหาสมุทรไกลสุดตา...
:b41: ...ทอดต่อโยงทั่วทุกแดน
เชื่อมทุกแคว้นให้ถึงกัน
ก้าวข้ามเดินไปบนสะพาน
มือประสานกระชับมั่น
ไม่กีดกันแบงผิวพรรณ

(จาก บทเพลงของวงสองวัย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 เม.ย. 2009, 20:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.พ. 2009, 22:06
โพสต์: 194

อายุ: 38
ที่อยู่: นันทบุรีศรีนครน่าน

 ข้อมูลส่วนตัว


:b39:


คู่ชีวิตที่แท้จริง คือธรรมะ
ที่ปฏิบัติอย่างถูกต้อง อยู่กะเนื้อกะตัว
ช่วยให้รอดชีวิตและปราศจากปัญหาทั้งปวง
มิใช่คู่กินคู่นอน ซึ่งมีการกระทำอันส่งเสริมกิเลส
และสร้างปัญหาผูกพันขึ้นนานัปการ

จาก "มรดกที่ขอฝากไว้"
มรดกที่ 157 ของพุทธทาสภิกขุ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 เม.ย. 2009, 20:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 เม.ย. 2008, 07:43
โพสต์: 567

ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:
ขอบคุณเจ้าค่ะ อ่านแล้วเข้าใจเลยเจ้าคะ

.....................................................
!!@ ธรรมะไม่กลับมา โลกาจะวินาศ มวลมนุยษ์จะลำบาก คนบาปจะครองเมื่อง @!! คำของท่านพุทธทาส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 เม.ย. 2009, 20:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.พ. 2009, 22:06
โพสต์: 194

อายุ: 38
ที่อยู่: นันทบุรีศรีนครน่าน

 ข้อมูลส่วนตัว


คู่รัก - คู่ร้าง

:b48: ต้นกะตา สองหนุ่ม อยู่คุ้มเหนือ
อ้อยกับเอื้อ สองพธู อยู่คุ้มใต้
ต้นรักอ้อย ตารักเอื้อ ต่างเชื่อใจ
จึงต่างได้ แต่งงาน อยู่กันมา

:b49: ต้นเป็นคน ขยัน งานไม่เกี่ยง
อ้อยคู่เคียง งานบ้าน หมั่นจัดหา ทุกเรื่องที่ ขัดข้อง หมองอุรา
ก็ปรึกษา กันแก้ไข ได้ทุกครั้ง

:b43: สมาถือ เยี่ยงอย่าง "ช้างเท้าหน้า"
ภรรยาถือ เยี่ยงอย่าง "ช้างเท้าหลัง"
ชีวิตครอบ ครัวมี สุขจีรัง
ในบ้านดัง สวรรค์ ชั้นวิมาน

:b40: ส่วนครอบครัว ของตา น่าสมเพช
มีแต่เหตุ ร้อนผ่าว เกิดร้าวฉาน
เปรียบ"ขมิ้น กับปูน" ก็ไม่ปาน
ผัวทำงาน กลับดึก เมียนึกแคลง

:b34: ต่างคนต่าง คิดประสงค์ ตรงกันข้าม
ก่อเกิดความ ขัดข้อง ระหองระแหง
เข้าทำนอง "ขิงก็รา ข่าก็แรง"
เมื่อขัดแย้ง ต่างฝ่ายต่าง เข้าข้างตัว

:b41: และแล้วอีก หลายปี ที่ผ่านพ้น
ครอบครัวต้น ยังสุข ทุกถ้วนทั่ว
ไม่มีเรื่อง ขุ่นข้อง ให้หมองมัว
ส่วนครอบครัว ของตา หย่ากันแล้ว


บทกลอนจากคุณใกล้ สนธยา : หนังสือธรรมสมรส


แก้ไขล่าสุดโดย ไผ่ เมื่อ 16 เม.ย. 2009, 20:54, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 เม.ย. 2009, 20:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3836

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ไผ่ เขียน:
:b39:


คู่ชีวิตที่แท้จริง คือธรรมะ
ที่ปฏิบัติอย่างถูกต้อง อยู่กะเนื้อกะตัว
ช่วยให้รอดชีวิตและปราศจากปัญหาทั้งปวง
มิใช่คู่กินคู่นอน ซึ่งมีการกระทำอันส่งเสริมกิเลส
และสร้างปัญหาผูกพันขึ้นนานัปการ

จาก "มรดกที่ขอฝากไว้"
มรดกที่ 157 ของพุทธทาสภิกขุ


สาธุๆ

แม้แต่ความเป็นพ่อแม่-ลูก เมื่อล่วงลับจากกันแล้ว ก็ไม่สามารถจะติดตามกันไปช่วยเหลือกันได้
มีแต่ประโยชน์จากความเพียรในธรรมนั้น ไม่เคยเสื่อม ติดตามไปได้ทุกภพทุกชาติ
เป้นสมบัติแท้ที่ไม่ต้องไปหาที่ไหนไกล ไม่ต้องแย่งใครให้ได้มา เพียรเอาเท่าไหร่ก็ได้เท่านั้น
แถมยังมีฤทธิ์หน่วงรั้งอันตรายทั้งหลาย

.....................................................
อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ
ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย
ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
....................................

"หากเป็นคนฉลาดก็มีแต่จะทำให้คนอื่นรักตนเท่านั้น-วาทะคุณกุหลาบสีชา"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 เม.ย. 2009, 21:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.พ. 2009, 22:06
โพสต์: 194

อายุ: 38
ที่อยู่: นันทบุรีศรีนครน่าน

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุครับ คุณคามินธรรม ที่เพิ่มเติมธรรมะให้ครบคลุมยิ่งขึ้น อันเป็นการแลกเปลี่ยนเพิ่มเติมความรู้กับตัวผมเอง และผู้ที่กำลังหลงทาง หากท่านใดจะเพิ่มเติมยิ่งเป็นอานิสงค์ เพราะปัญหา หรือสิ่งที่มนุษย์ส่วนใหญ่ต้องป่วยเป็นโรคร้าย ส่วนมาก จะเป็นเรื่องความรัก ความผิดหวัง ผิดพลาดในชีวิตคู่ ผมเอง ก็ไม่ต่างจากคนอื่น เท่าไรนัก ได้แต่หยิบยืมสาระธรรมจากหนังสือต่างๆ มาลง เพื่อที่มิตรธรรมท่านใดเข้ามาดู จะได้แบ่งปันธรรมะซึ่งกันและกัน :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 เม.ย. 2009, 21:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.พ. 2009, 22:06
โพสต์: 194

อายุ: 38
ที่อยู่: นันทบุรีศรีนครน่าน

 ข้อมูลส่วนตัว


ตำนานรัก

:b45: ในตำนานเล่าว่าพระเป็นเจ้า
ทรงเห็นชายหนึ่งเหงาเปล่าเปลี่ยวยิ่ง
จึงทรงเสกหญิงสาว ให้พราวพริ้ง
จากหนึ่งสิ่งคือ "ซี่โครง" ของชายนั้น

:b46: ท่านไม่ทรงเสกจาก"หัว"ของผู้ชาย
เพราะทรงหมายไม่ให้หญิงหยิ่งเยาะหยัน
คอยข่มขู่ชายที่อยู่เป็นคู่กัน
หรือโรมรันร้าวรานพาลใจจริง

:b47: ท่านไม่ทรงเสกจาก "เท้า" ของผู้ชาย
เพราะทรงหมายมิให้ชายเหยียบย่ำหญิง
ท่านทรงสร้างจาก "ด้านข้าง"ให้แอบอิง
ยกย่องหญิงเท่าเทียมอยู่คู่กับชาย

:b48: "โครง" ของชายที่ทรงใช้อยู่ "ใต้แขน"
ได้แนบแน่นปกป้องภัยทั้งหลาย
นอกจากนั้น "โครง"ซี่สร้างอยู่ "ข้างใจ"
เพื่อจักได้รักหญิงนั้นนิรันดร์กาล


จากหนังสือ "กลอนนี้ดีไฉน" : คุณหญิงบุญศิริ ชวลิตธำรง แปลจากบทกวีอังกฤษ)


แก้ไขล่าสุดโดย ไผ่ เมื่อ 19 เม.ย. 2009, 20:20, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2009, 20:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.พ. 2009, 22:06
โพสต์: 194

อายุ: 38
ที่อยู่: นันทบุรีศรีนครน่าน

 ข้อมูลส่วนตัว


:b39: ...ชีวิตบ้านที่สมบูรณ์... :b39:


คนที่จะเรียกได้ว่าประสบความสำเร็จในการครองเรือน เป็นคฤหัสถ์ หรือ ชาวบ้านที่ดี น่าเคารพนับถือ เป็นแบบฉบับ ควรถือเป็นตัวอย่าง จะต้องวัดด้วยหลักเกณฑ์ดังนี้
ก. มีความสุขสี่ประการ
ข. เป็นชาวบ้านแบบฉบับ
ค. กำกับชีวิตด้วยธรรมสี่
ง. รับผิดชอบชีวิตที่เกี่ยวข้อง

(จากธรรมนูญชีวิต"พุทธจริยธรรมเพี่อชีวิตที่ดีงาม)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2009, 20:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.พ. 2009, 22:06
โพสต์: 194

อายุ: 38
ที่อยู่: นันทบุรีศรีนครน่าน

 ข้อมูลส่วนตัว


ก. มีความสุขสี่ประการคือ ความสุขอันชอบธรรมที่ผู้ครองเรือนควรมีหรือความสุขที่ชาวบ้านควรพยายามทำให้เกิดขึ้นแก่ตนอยู่เสมอ เรียกสั้นๆว่า สุขของคฤหัสถ์ 4 คือ

1. อัตถิสุข - สุขที่เกิดจากความมีทรัพย์ คือ ความภมูใจเอิบอิ่มและอุ่นใจว่าตนมีโภคทรัพย์ที่ได้มาจากน้ำพักน้ำแรงความขยันหมั่นเพียรของตนและโดยความชอบธรรม
2. โภคสุข - สุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์ คือ ความภูมิใจเอิบอิ่มใจว่า ตนได้ใช้ทรัพย์ที่ได้มาโดยชอบธรรมนั้นเลี้ยงตัว เลี้ยงครอบครัว เลี้ยงผู้ที่ควรเลี้ยงและบำเพ็ญคุณประโยชน์
3. อนณสุข - สุขที่เกิดจากความไม่เป็นหนี้ คือ ความภมูใจเอิบอิ่มสุขว่า ตนเป็นไท ไม่เป็นหนี้สินติดค้างใคร
4. อนวัชชสุข - สุขเกิดจากความประพฤติไม่มีโทษ คือ ความภูมิใจเอิบอิ่มใจว่า ตนมีความประพฤติสุจริต ไม่บกพร่องเสียหาย ใครติเตียนไม่ได้ ทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ

บรรดาสุขทั้ง 4 อย่างนี้ อนวัชชสุข มีค่ามากที่สุด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2009, 21:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.พ. 2009, 22:06
โพสต์: 194

อายุ: 38
ที่อยู่: นันทบุรีศรีนครน่าน

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อกันเลยนะครับ.... :b41:

ข. เป็นชาวบ้านแบบฉบับ - คนครองเรือน แยกได้เป็นหลายประเภทจัดเป็นชั้นๆ ได้ ตั้งแต่ร้ายไปถึงดี และที่ดีก็มีหลายระดับ คฤหัสถ์ที่ดี น่าเคารพนับถืออย่างแท้จริง คือ ประเภทที่ 10 ในชาวบ้าน 10 ประเภท ต่อไปนี้

กลุ่มที่ 1 - หาทรัพย์โดยทางไม่ชอบธรรม


1. ได้ทรัพย์มาแล้ว ไม่เลี้ยงตนให้เป็นสุข ทั้งไม่เผื่อแผ่แบ่งปัน และไม่ใช้ทำความดี (เสียทั้ง 3 อย๋าง)

2. ได้ทรัพย์มาแล้ว เลี้ยงตนให้เป็นสุข แต่ไม่เผื่อแผ่แบ่งปัน และไม่ใช้ทำความดี (เสีย 2 ส่วน ดี 1 ส่วน)

3. ได้ทรัพย์มาแล้ว เลี้ยงตนให้สุขด้วย เผื่อแผ่แบ่งปัน และใช้ทำความดีด้วย (เสีย 1 ดี 2 ส่วน)


กลุ่มที่ 2 - หาชอบธรรมบ้าง ไม่ชอบธรรมบ้าง


4. ได้ทรัพย์มาแล้ว ทำอย่างข้อ 1 (เสีย 3 ดี 1)

5. ได้ทรัพย์มาแล้ว ทำอย่างข้อ 2 (เสีย 2 ดี 2)

6. ได้ทรัพย์มาแล้ว ทำอย่างข้อ 3 (เสีย 1 ดี 2)


กลุ่มที่ 3 - หาโดยชอบธรรม



7. ได้ทรัพย์มาแล้ว ทำอย่างข้อ 1 (เสีย 2 ดี 1)

8. ได้ทรัพย์มาแล้ว ทำอย่างข้อ 2 (เสีย 1 ดี 2)

6. ได้ทรัพย์มาแล้ว ทำอย่างข้อ 3 แต่ถ้ายังติด ยังมัวเมาหมกหมุ่นกินใช้ทรัพย์สมบัติ โดยไม่รู้เท่าทันเห็นโทษ ไม่มีปัญญาที่จะทำตนให้เป็นอิสระเป็นนายเหนือโภคทรัพย์ได้ (เสีย 1 ดี 1)


พวกพิเศษ - ผู้ที่แสวงหาความชอบธรรม และใช้อย่างมีสติสัมปชัญญะ มีจิตใจเป็นอิสระ
มีลักษณะดังนี้

10. แสวงหาทรัพย์โดยชอบธรรม ได้มาแล้วเลี้ยงตนให้เป็นสุข เผื่อแผ่แบ่งปัน และใช้ทรัพย์นั้นทำความดี ไม่ลุ่มหลง ไม่หมกหมุ่นมัวเมา กินใช้ทรัพย์สมบัติโดยรู้เท่าทันเห็นคุณโทษ ทางดีทางเสียของมัน มีปัญญา ทำตนให้เป็นอิสระหลุดพ้น เป็นนายเหนือโภคทรัพย์

...... :b48: ประเภทที่ 10 นี้ พระพุทธเจ้าสรรเสริญว่าเป็นผู้เลิสประเสริฐสูงสุด ควรชมทั้ง 4 สถาน คือ เป็นคฤหัสถ์แบบฉบับที่น่าเคารพนับถือ

...ต่อไปก็เป็นเรื่องของ... :b31:

ค. กำกับชีวิตด้วยธรรมสี่ คือ ปฏิบัติตามหลักธรรมสำหรับการครองชีวิตของคฤหัสถ์ที่เรียกว่า ฆราวาสธรรม 4 ประการ ดังนี้

1. สัจจะ - ความจริง คือ ดำรงมั่นในสัจจะ ซื่อตรง ซื่อสัตย์ จริงใจ พูดจริง ทำจริง จะทำอะไรก็ให้เป็นที่เชื่อถือไว้วางใจได้

2.ทมะ - ฝึกตน คือ บังคับควบคุม ตนเองได้ รู้จักปรับตัวและแก้ไขปรับปรุงตนให้ก้าวหน้าดีงามยิ่งขึ้นอยู่เสมอ

3. ขันติ - อดทน คือ มุ่งหน้าที่การงานด้วยความขยันหมั่นเพียร เข้มแข็งอดทนไม่หวั่นไหว มั่นใจในจุดหมาย ไม่ท้อถอย

4. จาคะ - เสียสละ คือ มีน้ำใจเอื้อเฟื้อ ชอบช่วยเหลือเกื้อกูลบำเพ็ญประโยชน์ สละโลภได้ ร่วมงานกับคนอื่อนได้ ไม่ใจแคบเห็นแก่ตัว หรือเอาแต่ใจตน

ง. รับผิดชอบชีวิตที่เกี่ยวข้อง คือ มีความสัมพันธ์อันดีงาม อบอุ่นเป็นสุข ภายในครอบครัว ตลอดถึงญาติมิตร ผู้ร่วมงาน และคนที่พึ่งพาอาศัยอยู่ในปกครองทั้งหมด โดยทำหน้าที่มิใช่เพียงนำประโยชน์ทางวัตถุมาให้เขาอย่างเดียว แต่ทำประโยชน์สุขทางจิดใจมาให้ด้วยโดยประพฤติตนเป็นตัวอย่างช่วยชักจูงให้คนในครอบครัวและผู้เกี่ยวข้องใกล้ชิดทั้งหลายเจริญงอกงามขึ้นด้วยคุณธรรมที่เรียกว่า อารญวัฒิ ทั้ง 5 ดังต่อไปนี้

1. งอกงามด้วยศรัทธา คือ ให้มีความเชื่อความมั่นใจในพระรัตนตรัยในคุณความดี มีหลักยึดเหนี่ยวจิตใจ

2. งอกงามด้วยศีล คือ ให้มีความประพฤติดีงาม สุจริต รู้จักเลี้ยงชีวิต มีวินัย และมีกิริยามารยาทอันดีงาม

3. งอกงามด้วยสุตตะ คือ ให้มีความรู้จากการเล่าเรียนสดับดับฟัง โดยแนะนำหรือขวนขวายให้ศึกษาหาความรู้ที่จะฟื้นฟูปรับปรุงชีวิตจิตใจ

4. งอกงามด้วยจาคะ คือ ให้มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีน้ำใจต่อกันและพอใจทำประโยชน์แก่ เพื่อนมนุษย์

5. งอกงามด้วยปัญญา คือ ให้มีความรู้จักคิด เข้าใจเหตุผล และความจริงตามสภาวะ มีวิจารณญาน

(จาก"ธรรมนูญชีวิต" พุทธจริยธรรมเพื่อชีวิตที่ดีงาม)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 เม.ย. 2009, 20:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 เม.ย. 2009, 21:03
โพสต์: 24


 ข้อมูลส่วนตัว


ได้ความรู้เพิ่มมากมายเลยคะ ตอนนี้ก็พยายามเข้าใจถึงข้อคิดต่างๆๆที่ได้อ่านแล้วย้อนดูตัวเองคะ ขอบคุณคะที่ชี้แนะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 เม.ย. 2009, 21:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.พ. 2009, 22:06
โพสต์: 194

อายุ: 38
ที่อยู่: นันทบุรีศรีนครน่าน

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณครับ และดีใจมากเลยครับ :b17: คุณBoonmanee ที่บทความต่างๆที่ผมและมิตรธรรมได้เพิ่มเติมให้ความรู้ทางธรรม ถ้าเป็นไปได้ก็อยากให้คุณช่วยเพิ่มเติมธรรมในกระทู้นี้ด้วยนะครับ เป็นการแลกเปลี่ยนแบ่งบันความรู้กัน ระบายความเหนื่อล้า มาก็ได้ครับ อยากให้กระทู้นี้เป็นศาลาธรรมพักใจเพื่อที่จะได้ก้าวออกไปต่อสู้กับโลกภายนอกที่วุ่นวายโดยมีธรรมะ นำทางต่อไป :b8:

เฮ้อ...บางคนหาทางออกชีวิตไม่ได้ ก็ดับชีวิตของตนก็มี เหมือนกับวันนี้ ที่พื้นที่ผมรับผิดชอบ ก็คิดสั้นไปคนหนึ่งแล้ว เพียงแค่ หาคนรักไม่ได้ อกหัก ผิดหวังซ้ำซาก ถ้าหากมีปาฏิหารย์จริงผมอยากจะไปโผล่ตรงหน้าเขาก่อนที่เขาจะคิดสั้น เพื่อพูดกับเขา อย่างน้อยให้เขาได้ระบายความในใจที่เขาเป็นทุกข์อยู่นั้นให้เบาบางลง ผมเองก็ไม่ได้หวังที่จะทำให้เขาเปลี่ยนใจหรอก แต่ว่าอย่างน้อยก็อยากจะพูดกับเขาและรับฟังปัญหาของเขา และแนะนำเขา สุดท้ายเขาจะเลือกอะไรก็เป็นเรื่องของเขาเป็นสิทธิ์ของเขาที่จะตัดสินใจ เฮ้ออออ... :b7: ห่อเหี่ยวใจจังเลยครับ


แก้ไขล่าสุดโดย ไผ่ เมื่อ 20 เม.ย. 2009, 21:44, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 83 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 14 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร