ลานธรรมจักร http://dhammajak.net/forums/ |
|
ความทุกข์โดยเฉพาะของสตรี http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=27&t=24208 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | ภัทร์ไพบูลย์ [ 23 ก.ค. 2009, 12:33 ] |
หัวข้อกระทู้: | ความทุกข์โดยเฉพาะของสตรี |
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความทุกข์โดยเฉพาะของสตรี (มาตุคาม) ๕ อย่างเหล่านี้ ซึ่งสตรีได้รับต่างหากจากบุรุษ คือ ๑. สตรีเมื่อเป็นสาวไปสู่สกุลแห่งสามี ย่อมพลัดพรากจากญาติทั้งหลาย นี้เป็นทุกข์โดยเฉพาะของสตรีข้อแรก ซึ่งสตรีได้รับต่างหากจากบุรุษ ๒. สตรีย่อมมีระดู (ประจำเดือน) นี้เป็นทุกข์โดยเฉพาะสตรีข้อที่สอง ซึ่งสตรีได้รับต่างหากจากบุรุษ ๓. สตรีย่อมมีครรภ์ (ตั้งครรภ์) นี้เป็นทุกข์โดยเฉพาะของสตรีข้อที่สาม ซึ่งสตรีได้รับต่างหากจากบุรุษ ๔. สตรีย่อมคลอดบุตร นี้เป็นทุกข์โดยเฉพาะของสตรีข้อที่สี่ ซึ่งสตรีได้รับต่างหากจากบุรุษ ๕. สตรีย่อมทำหน้าที่บำเรอบุรุษ นี้เป็นทุกข์โดยเฉพาะของสตรีข้อที่ห้า ซึ่งสตรีได้รับต่างหากจากบุรุษ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความทุกข์โดยเฉพาะของสตรี ๕ อย่างเหล่านี้แล ซึ่งสตรีได้รับต่างหากจากบุรุษ." สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค ๑๘/๒๙๗ ๒๐๗. กำลัง ๕ ของสตรี "ดูก่อนภิกษุทั้หลาย กำลัง ๕ ของมาตุคามเหล่านี้ คือ ๑. กำลังคือรูป ๒. กำลังคือทรัพย์ ๓. กำลังคือญาติ ๔. กำลังคือบุตร ๕. กำลังคือศีล นี่แลคือกำลัง ๕ ของสตรี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สตรีประกอบด้วยกำลัง ๕ เหล่านี้แล้ว ย่อมเป็นผู้องอาจ ครองเรือน, ย่อมข่มสามี ครองเรือน, ย่อมครอบงำสามี ครองเรือน." สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค ๑๘/๓๐๕ ๒๐๘. บุรุษประกอบด้วยอะไรจึงครอบงำสตรีได้ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษประกอบด้วยกำลังข้อเดียว ก็ครอบงำสตรีได้ กำลังข้อเดียว คือ อิสสริยพละ กำลังคือความเป็นใหญ่ สตรีที่ถูกกำลังคือความเป็นใหญ่ครอบงำแล้ว กำลังคือรูปก็ต้านทานไม่ได้ กำลังคือทรัพย์ก็ต้านทานไม่ได้ กำลังคือญาติก็ต้านทานไม่ได้ กำลังคือบุตรก็ต้านทานไม่ได้ กำลังคือศีลก็ต้านทานไม่ได้." สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค ๑๘/๓๐๕ (หมายเหตุ : พระพุทธภาษิตนี้แสดงให้เห็นว่า ถ้าสตรีมีกำลัง ๕ ข้อแล้ว ก็เป็นผู้ครองเรือนที่มีอำนาจเหนือสามี แต่ในขณะเดียวกัน ถ้าสามีเป็นอิสสรชนคือผู้เป็นใหญ่ เช่น เป็นพระราชา กำลังคือความเป็นใหญ่ของสามีเพียงข้อเดียว ก็ครอบงำสตรีไว้ได้ พระพุทธภาษิตนี้เป็นกระจกฉายให้เห็นระบบการปกครองและสังคม ในสมัยนั้นว่า อำนาจสิทธิ์ขาดเป็นของคนชั้นปกครอง อนึ่ง บาลีพระไตรปิฎกฉบับไทยตอนนี้ตกหล่น ๒ คำ ได้สอบกับฉบับอักษรโรมันของสมาคมบาลีปกรณ์ และอรรถกถาฉบับอักษรไทยแล้ว ข้อความที่ตก คือที่เรียงตัวดำไว้ให้ดังต่อไปนี้ กตเมน เอเกน พเลน. อิสฺสริยพเลน. อิสฺสริยพเลน อภิภูตํ มาตุคามํ เนว รูปพลํ ตายติ...) ๒๐๙. ของแก้กันอย่างละ ๓ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ อย่างเหล่านี้ คือ ราคะ (ความกำหนัดยินดี) โทสะ (ความคิดประทุษร้าย) โมหะ (ความหลง) นี้แลคือธรรม ๓ อย่าง. "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ อย่างที่ควรเจริญเพื่อละธรรม ๓ อย่างเหล่านี้คือ อสุภะ (ความกำหนดหมายถึงสิ่งที่ไม่งาม) ควรเจริญเพื่อละราคะ, เมตตา (ไมตรีจิตคิดจะให้ผู้อื่นเป็นสุข) ควรเจริญเพื่อละโทสะ, ปัญญา (ความรอบรู้ตามความเป็นจริง) ควรเจริญเพื่อละโมหะ. นี้แลธรรม ๓ อย่างที่ควรเจริญ เพื่อละธรรม ๓ อย่าง." ฉักกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๒/๒๙๕ (หมายเหตุ : พระพุทธภาษิตแห่งเดียวกันนี้ แสดงถึงธรรม ๓ อย่างที่ควรเจริญเพื่อละธรรม ๓ อย่าง อีก ๙ ชุด คือ ๑ ควรเจริญกายสุจริต เพื่อละ กายทุจจริต ควรเจริญวจีสุจริต เพื่อละ วจีทุจจริต ควรเจริญมโนสุจจริต เพื่อละ มโนทุจจริต. ๒ ควรเจริญเนกขัมมวิตก (ความตรึกในการออกจากกาม) เพื่อละกามวิตก (ความตรึกในกาม) ควรเจริญอัพยาปาทวิตก (ความตรึกในการไม่ปองร้ายผู้อื่น) เพื่อละพยาปาทวิตก (ความตรึกในการปองร้ายผู้อื่น) ควรเจริญอวิหิงสาวิตก (ความตรึกในการไม่เบียดเบียนผู้อื่น) เพื่อละวิหิงสาวิตก (ความตรึกในการเบียดเบียนผู้อื่น). ๓ ควรเจริญเนกขัมมสัญญา (ความกำหนดหมายในการออกจากกาม) เพื่อละกามสัญญา (ความกำหนดหมายในกาม) ควรเจริญอัพยาปาทสัญญา (ความกำหนดหมายในการไม่ปองร้าย) เพื่อละพยาปาทสัญญา (ความกำหนดหมายในการปองร้าย) ควรเจริญอวิหิงสาสัญญา (ความกำหนดหมายในการไม่เบียดเบียน) เพื่อละวิหิงสาสัญญา (ความกำหนดหมายในการเบียดเบียน). ๔ ควรเจริญเนกขัมมธาตุ (ธาตุคือการออกจากกาม) เพื่อละกามธาตุ (ธาตุคือกาม) ควรเจริญอัพยาปาทธาตุ (ธาตุคือการไม่คิดปองร้าย) เพื่อละพยาปาทธาตุ (ธาตุคือการคิดปองร้าย) ควรเจริญอวิหิงสาธาตุ (ธาตุคือการไม่เบียดเบียน) เพื่อละวิหิงสาธาตุ (ธาตุคือการเบียดเบียน). ๕ ควรเจริญอนิจจสัญญา (ความกำหนดหมายว่าไม่เที่ยง) เพื่อละอัสสาททิฏฐิ (ความเห็นด้วยความพอใจ) ควรเจริญอนัตตสัญญา (ความกำหนดหมายว่าไม่ใช่ตัวตน) เพื่อละอัตตานุทิฏฐิ (ความตามเห็นว่าตัวตน) ควรเจริญสัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) เพื่อละมิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด). ๖ ควรเจริญมุทิตา (ความพลอยยินดีเมือ่ผู้อื่นได้ดี) เพื่อละอรติ (ความไม่ยินดีหรือความคิดริษยา) ควรเจริญอวิหิงสา (ความไม่เบียดเบียน) เพื่อละวิหิงสา (ความเบียดเบียน) ควรเจริญธัมมจริยา (การประพฤติธรรม) เพื่อละอธัมมจริยา (การประพฤติไม่เป็นธรรม). ๗ ความเจริญสันตุฏฐิตา (ความสันโดษ คือยินดีเฉพาะของของตน) เพื่อละอสันตุฏฐิตา (ความไม่สันโดษ คือไม่ยินดีเฉพาะของของตน) ควรเจริญสัมปชัญญะ (ความรู้ตัว) เพื่อละอสัมปชัญญะ (ความไม่รู้ตัว) ควรเจริญอัปปิจฉตา (ความปรารถนาน้อย) เพื่อละมหิจฉตา (ความปรารถนามาก). ๘ ควรเจริญโสวจัสสตา (ความเป็นผู้ว่าง่าย) เพื่อละโทวจัสสตา (ความเป็นผู้ว่ายาก) ควรเจริญกัลยาณมิตตตา (ความเป็นผู้คบเพื่อนดีงาม) เพ่อละปาปมิตตตา (ความเป็นผู้คบเพื่อนชั่ว) ควรเจริญอานาปานสติ (สติกำหนดลมหายใจเข้าออก) เพื่อละเจตโส วิกเขปะ (ความฟุ้งซ่านแห่งจิต). ๙ ![]() ควรเจริญสังวระ (ความสำรวมระวัง) เพื่อละอสังวระ (ความไม่สำรวมระวัง) : ควรเจริญอัปปมาทะ (ความไม่ประมาท) เพื่อละปมาทะ (ความประมาท). ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | dhama [ 23 ก.ค. 2009, 12:54 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ความทุกข์โดยเฉพาะของสตรี |
lสาธุๆได้ความรู้ครับ |
เจ้าของ: | ภัทร์ไพบูลย์ [ 23 ก.ค. 2009, 12:58 ] | ||
หัวข้อกระทู้: | Re: ความทุกข์โดยเฉพาะของสตรี | ||
ขอท่านกัลยาณมิตรจงมีความสุขในธรรมเจริญรุ่งเรืองสุขภาพแข็งแรงเถิด ![]() ![]() ![]() จงเป็นมหาเศรษฐี คิดดี ทำดี มีคุณธรรม
|
เจ้าของ: | wic [ 23 ก.ค. 2009, 13:46 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ความทุกข์โดยเฉพาะของสตรี |
ขอเชิญมาเป็นคนจนกันเถิด พระพุทธองค์ ทรงสละทรัพย์สมบัติมหาศาล มาอาศัยผ้าสามผืน นอนพื้นดิน กินแต่ที่เขาให้ เป็นตัวอย่างให้เห็น เราเป็นชาวพุทธจะไปหวังรวยเพื่ออะไรกัน |
เจ้าของ: | damjao [ 08 ส.ค. 2009, 07:23 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ความทุกข์โดยเฉพาะของสตรี |
ธรรมทานเป็นเลิศกว่าทานทั้งปวง ขอกราบอนุโมทนาบุญ สาธุ....... ![]() |
เจ้าของ: | วนัสสนันท์ [ 09 ส.ค. 2009, 14:30 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ความทุกข์โดยเฉพาะของสตรี |
อนุโมทนาสาธุคะ ![]() ![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | Hanako [ 11 ส.ค. 2012, 08:43 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ความทุกข์โดยเฉพาะของสตรี |
![]() |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |