วันเวลาปัจจุบัน 27 เม.ย. 2024, 10:22  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 30 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ส.ค. 2009, 11:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2009, 17:51
โพสต์: 189

แนวปฏิบัติ: ดูจิต
สิ่งที่ชื่นชอบ: วรรณกรรม
ชื่อเล่น: ป้าโคม่า
อายุ: 54

 ข้อมูลส่วนตัว




01-200231.jpg
01-200231.jpg [ 95.37 KiB | เปิดดู 5380 ครั้ง ]
"ความรัก มิติที่๑๐"

"ความรัก มิติที่ ๑๐" เป็นความรักของผู้ที่ "จบสัจจะแห่งความรัก"
สำเร็จสมบูรณ์สำหรับประโยชน์ตนแล้ว ตนจึง "ไม่มีความรัก" สำหรับตนอีก
เหลือแต่ "ความรัก" ผู้อื่น หรือความรักที่เป็นอุดมการณ์ ความรักเพื่อ มวลมนุษยชาติ

"ความรัก" ที่เป็นอุดมการณ์ ขั้นมิติที่ ๑๐ นี้ก็คือ ความรักที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ผู้อื่น
ชนิดสุจริตใจอย่างบริสุทธิ์แท้ จริง หรือเป็นความต้องการ "ให้" แก่ผู้อื่น ชนิดที่ "
ไม่มีความลำเอียง" (ไม่มีอคติ ๔) สมดุลสมบูรณ์ที่สุด

เพราะความรักมิติที่ ๑๐ นี้ หากจะพูดให้ละเอียดลงไปอีกที ก็เป็นความรัก ที่ "ไม่มีความรัก"
ฟังเพียงคำพูดขั้นต้นนี้ ก็คงจะงงๆ อยู่
ความจริงของสภาวะก็คือ ในจิตมีอาการ "เกิดความต้องการ" จริง
แต่อาการต้องการนั้น มิใช่ "ความต้องการเพื่อตนเองจะได้ ตนเองจะมี ตนเองจะเป็น แม้แต่ตนเอง
จะเสพรส" หรือ "มิใช่อาการต้องการเพื่อตนเอง จะได้เสพผล ของความต้องการนั้นๆ ไม่ว่าทางตรง หรือทางอ้อม" เรียกด้วยภาษากันว่า "ความรัก" หรือเรียกว่า "ความต้องการ" ก็ไม่ผิดเลย แต่เป็น "ความรัก-ความต้องการ" ที่มิได้ "ต้องการผลของความต้องการ จากกรรมหรือจากการกระทำนั้นๆมา
เพื่อตนเอง โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง เพื่อ 'เป็นรสอร่อย' (อัสสาทะ) บำเรอตนเลย อย่างสะอาดบริสุทธิ์ที่สุด"

"ความรัก" ที่ไม่มีความรัก นี้ จึงแปลกไปจากความรักมิติอื่นๆ อย่างสัมบูรณ์สูงสุด โดยเฉพาะ
แปลกจาก "ความรัก แบบโลกีย์" คนละโลก คนละทิศ คนละเรื่องไปเลย เพราะเป็น "ความต้องการ"
ที่ "ปราศจากตัวตน" อย่างสัมบูรณ์ที่สุด ดังนั้น คำว่า "ความเห็นแก่ตัว" จึงไม่มีอย่างสะอาดบริสุทธิ์
ที่สุด แต่ผู้ มี "ความรัก"มิติที่ ๑๐ นี้ แน่นอนว่า... หาก "ทำงาน" ท่านก็ต้อง ทำด้วย "ความต้องการ" หรือทำด้วย "ความอยากได้" ด้วย "ความยินดี" ด้วย "ความประสงค์" ด้วย "ความมุ่งหมาย" ด้วย "ความรัก" ด้วย "ความปรารถนา" ด้วย "ความเผื่อแผ่" ด้วย "ความเกื้อกูล" ฯลฯ อะไรอีกมากมาย หลากหลายคำความ ที่มีนัยะนี้ ทว่าท่าน "ทำ" ชนิดไม่มีตัวตนของท่านต้องการมา ให้ท่านได้ ท่านมี
ท่านเป็นเลย

แม้คำว่า "เพื่อท่านจะได้เป็นพระพุทธเจ้า" ท่านก็รู้แจ้งเป็นที่สุดแล้วว่า ท่านไม่ต้อง "อยากได้อยากเป็น" เลย เพราะหากท่าน "ทำ" อะไรที่เป็นสมรรถนะ เป็นทักษะใดๆ อันจะพึงเกิด พึงเป็น
ที่พึงเรียกว่า "บารมี ๑๐ ทัศ" ก็ตาม ที่จะสะสมตามกรรม มันก็ย่อมเป็นไปตาม "กรรม"
ที่ท่านต้องอุตสาหะวิริยะนั้นๆ ถ้า แม้นไม่ "ทำ" มันก็ไม่เกิดไม่เป็นไม่มี ไม่ได้สั่งสม
หากท่าน "ทำ" มันก็เกิดมันก็มีมันก็สะสม ท่านก็ไม่เห็นจะต้องการ ไม่เห็นจะต้องอยากได้
มันก็เป็นของท่านโดยธรรม โดยอัตโนมัติอยู่แล้ว

เมื่อท่าน "ทำ" ลงไปจริงเท่าที่ท่านสามารถอุตสาหะ "มีกรรม" หรือ "มีการกระทำ"
"ทำ" ในที่ลับ "ทำในที่แจ้ง ใครอื่นจะรู้จะเห็น หรือไม่รู้ไม่เห็นด้วยก็ตาม
ไม่ว่า "ทำ" ทางกาย (กายกรรม) "ทำ" ทางวาจา (วจีกรรม) "ทำ" ทางใจ (มโนกรรม)
ล้วนเป็นของท่านจริงทั้งสิ้น ไม่มีขาดหกตกหล่น หรือไม่มีรั่วซึม สูญหายไปไหน
แม้แต่นิดน้อยยิ่งกว่าธุลี ใครแบ่ง "กรรม" ใครแย่ง "การกระทำ" ของท่านไปไม่ได้
ท่านจะไม่รับ ไม่เอาเป็นของท่านก็ไม่ได้
เพราะ "กัมมัสสโกมหิ กัมมทายาโท กัมมโยนิ กัมมพันธุ กัมมปฏิสรโณ" เป็น "ทรัพย์"
ของตนที่แน่นอนที่สุด ยิ่งกว่าสัจจะใดๆ

ชีวิตที่มีของท่านจึงคือ "กรรม" ชีวิตของท่าน ท่านรู้แจ้งชัดที่สุดแล้วว่า มี "กรรม" เป็น "ทรัพย์แท้"
ดังนั้น แน่นอน.. ท่านไม่ทำบาปทั้งปวง (สัพพปาปัสส อกรณัง) เด็ดขาด
เพราะท่าน สามารถ "ไม่ทำ" ได้เด็ดขาดแล้วจริง ท่านทำแต่กุศลให้ถึงพร้อม (กุสลัสสูปสัมปทา)
และเป็น "กุศล" ที่สะอาดบริสุทธิ์ แน่แท้ด้วย
เพราะท่านได้ทำการ "ชำระจิตของตนให้ผ่องแผ้วสะอาดหมดจด" (สจิตตปริโยทปนัง)
จนเสร็จแล้ว อย่างถาวรยั่งยืนแน่แท้ (ธุวัง, สัสสตัง)

ท่าน "ทำงาน" ก็คือ เพื่องานเท่านั้น ทำให้โลก (โลกานุกัมปา) ทำให้มนุษยชาติ
ทำเพื่อความเป็นประโยชน์ ของมวลมนุษยชาติ (พหุชนหิตายะ) ทำเพื่อเป็นความสุข
ของมวลมนุษยชาติ (พหุชนสุขายะ)

ดังนั้น "กุศล" ที่ท่านทำทั้งหลาย ย่อมมีเกิด ย่อมมีเป็น ตามจริง ถ้าจะว่า "กุศลกรรม"
ที่เกิดที่เจริญนั้น เป็น "ของท่าน" โดยธรรม..ก็ใช่ แต่มันก็เป็นเพียงภาวะของ "รูปธรรม"
มันย่อมมีเกิด..มีเป็น..ก็จริง แต่ภาวะของ "นามธรรม" ในจิตท่านมันมิได้มี "ตัวตน" ใดๆเกิด
โดยเฉพาะไม่มี "กิเลส" ใดๆเกิดด้วยเลย

นั่นคือ ไม่มี "ความรัก" ที่หมายถึง "ความเห็นแก่ตัว"

ความจริงนั้นอาการชนิดนี้คืออาการของ "ความรู้ขั้นพิเศษ" หรือ "โลกุตรปัญญา" เต็มๆ ล้วนๆ
ที่ "ต้องการทำ" อะไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นการกระทำทางกาย หรือวาจาหรือใจ ก็ให้เกิดผลเพื่อผู้อื่น
เป็นเป้าหมายตรงนั่นเอง เพราะท่านไม่ได้ทำเพื่อตัวเอง ท่านทำโดยไม่มีความเสพแก่ตนแล้ว
แม้แต่ความลำเอียง เพื่อ "เห็นแก่พวกของตัว" ก็ไม่มีแล้วจริง การ "เห็นแก่พวกของตัว" นั้น
ก็เพื่อสร้างมวล ขึ้นมาเป็นองค์ประกอบ ให้เกื้อหนุนความได้เปรียบ อันจะมีผลต่อตนในที่สุดโดยแท้
เมื่อไม่เหลือ "ความเป็นตน (อัตตา) และของตน (อัตตนียา)" สิ้นเชิงแล้วฉะนี้ การกระทำใดๆ
จึงเป็น ความซื่อสัตย์สุจริต เที่ยงธรรม ที่สุด

ดังนั้น จึงไม่มี "ความรัก" ที่เป็นของตนเอง หรือ เพื่อตนเอง จะมีก็แต่ "ความรัก" ที่เป็นของผู้อื่น
หรือท่านจะรักเหมือนผู้อื่นเขารักก็ได้ทั้งนั้น แต่ความรักของท่านเป็นไปเพื่อผู้อื่นเป็นหลัก
ที่ตนเองได้นั้น เป็นเพียงผลพลอยได้ ตามธรรมดา

ดังนั้น หากจะมี "ความรัก" ท่านก็สามารถมีได้หลายแบบ

ท่านสามารถมี "ความรักแบบ 'อมตชน' ก็ได้"
ท่านสามารถมี "ความรักแบบ 'อาริยชน' ก็ได้"
ท่านสามารถมี "ความรักแบบ 'พระเจ้า' ก็ได้"
ท่านสามารถมี "ความรักแบบ 'กัลยาณปุถุชน' ก็ได้"
ยกเว้น "ความรักแบบ 'ปุถุชน' ไม่มีอีกแล้ว ท่านมีไม่ได้"

สรุปแล้วก็คือ ท่านสามารถมี "ความรักแบบโพธิสัตว์" ตามฐานะของแต่ละท่าน เท่าที่ "ภูมิจริง"
ของแต่ละท่านมี หรือเท่าที่ท่านได้สร้าง สะสมบารมีมาเท่าใด ก็เท่านั้น ของแต่ละท่าน

ลองนึกทบทวนดูซิ ที่ได้อธิบายมาแล้วในมิติที่ ๘ ว่า "ความรัก" นั้น มันคืออะไร? ความรัก ก็คือ "ความปรารถนา" หรือแปลว่า "ความต้องการ" และแยกเป็นความต้องการ "ให้" กับ ความต้องการ "เอา" สำหรับผู้มีความรักมิติที่ ๑๐ นี้ มีแต่ความต้องการ "ให้" ไม่มีความต้องการ "เอา" แล้วนั่นเอง

และคงพอจำได้ ภาษาทางศาสนาเรียก "ความต้องการ" ว่า ตัณหา ซึ่งแบ่งออกเป็น

๑. กามตัณหา
๒. ภวตัณหา
๓. วิภวตัณหา

แต่สำหรับผู้มีความรักมิติที่ ๑๐ นี้ มีก็เพียงวิภวตัณหาเท่านั้น ไม่มีกามตัณหา ไม่มีภวตัณหาแล้ว
อีกทั้งวิภวตัณหาของผู้มีความรักระดับมิติที่ ๑๐ นี้ ก็มิใช่วิภวตัณหาที่มีคุณลักษณะ
อยู่แค่ขั้น "กัลยาณปุถุชน" หรือ "อาริยชน" เท่านั้นแค่นั้น
แต่เป็น วิภวตัณหา ที่มีคุณภาพถึงขั้น "อมตชน"
ซึ่งสูงขึ้นๆไปตามภูมิ แห่งบารมีของพระโพธิสัตว์ แต่ละองค์กันทีเดียว

เพราะฉะนั้น ท่านผู้มี "ความรักขั้นมิติที่ ๑๐" จึงได้แก่บุคคลที่เป็น "อมตชน" เท่านั้น
จึงจะเป็น "ความรัก มิติที่ ๑๐" ได้อย่างเข้มข้นบริสุทธิ์สัมบูรณ์จริง

.....................................................
รูปภาพ
"จิตที่ให้ย่อมเป็นจิตที่ดี ... จิตที่มีแต่ประชดประชันนั้น ... หาควรแก่การอบอรมสั่งสอนธรรมผู้ใดไม่"


แก้ไขล่าสุดโดย COMA! เมื่อ 03 ก.ย. 2009, 18:32, แก้ไขแล้ว 12 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ส.ค. 2009, 20:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2009, 10:12
โพสต์: 905

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาด้วยค่ะ..คุณป้า.... tongue

.....................................................
"ก้มกราบบ่อยๆ ช่วยขจัดความหยิ่ง-ทะนงออกได้"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ส.ค. 2009, 21:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 มิ.ย. 2009, 21:25
โพสต์: 191


 ข้อมูลส่วนตัว


smiley smiley smiley

อนุโมทนาสาธุนะคร้า

.....................................................
ศัตรูของคนเราที่แท้จริงแล้ว คือ โลภ โกรธ หลง
ต้องแก้ด้วยมี ศีล สมาธิ ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2009, 14:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2009, 17:51
โพสต์: 189

แนวปฏิบัติ: ดูจิต
สิ่งที่ชื่นชอบ: วรรณกรรม
ชื่อเล่น: ป้าโคม่า
อายุ: 54

 ข้อมูลส่วนตัว




01-200230.jpg
01-200230.jpg [ 77.58 KiB | เปิดดู 5436 ครั้ง ]
ความรัก มิติที่ ๙ นิพพานนิยม

มิติที่ ๙ คือ ความรักของผู้ที่ได้เรียนรู้ "สัจจะแห่งความรัก" และได้ปฏิบัติ จนบรรลุผลสำเร็จสมบูรณ์ สำหรับประโยชน์ตน คือ "จบ"

"จบ" ก็คือ เลิกมี "ความรัก" นั้นๆเพื่อตัวเอง ไม่เกิด "ความรัก" นั้นเพื่อตัวเองอีกแล้ว หรือ ไม่ต้องการ "เอา" อารมณ์นั้น มาเสพสมใจ เพื่อตนเองอีกแล้ว อย่างมี "สุขสงบ"

ความ "จบ" ก็จะจบไปแต่ละรอบแต่ละชั้น ตามที่ได้ศึกษาและปฏิบัติใน "มิติที่ ๘" ก็จะเกิดผล "จบ" ได้ ไปตามลำดับ แม้จะเป็นความจบ ที่เสร็จลงไปในตัว ของแต่ละระดับนั้นๆ ก็เรียก "ความจบ" นั้นๆว่า "นิพพาน" หรือ "วิมุติ" ไปแต่ละขั้น แต่ละรอบ ซึ่งมีปฏิสัมพัทธ์กันไป อย่างซับซ้อน แต่มีระเบียบ

จนสุดท้ายก็ "จบสัมบูรณ์" สูงสุด ดับ "โลก" (โลกีย์) ต่างๆให้ แก่ตน หรือดับความรักที่ "เห็นแก่ตัวเอง" ถึงขั้นไม่เหลือเศษ ธุลีละอองที่บำเรอ 'อารมณ์' ของตัวเอง (อัตตา) อีกเลย เป็นอรหันต์สมบูรณ์

ผู้ที่ยังมีส่วนที่ "เห็นแก่ตัวเอง" แล้วก็ต้องบำเรอให้แก่ "ตนเอง" (อัตตา) วนเวียนอยู่ไม่จบไม่สิ้นสนิทนั้น ก็คือผู้ยัง "ไม่ดับ 'โลก' แห่งความเป็นของตนเอง หรือ 'ความรัก' ที่ยังเพื่อตนเองอยู่" จึงยังไม่บริสุทธิ์ สะอาดแท้สัมบูรณ์ ยังเป็นความรักที่ "บำเรอตน" ซึ่งยังเป็น "ภพ" ยังเป็น "ชาติ" ยังเป็น "อัตตา" หรือยังเป็น "อาตมัน" และสามารถสะสม พอกพูนขึ้นเป็น "ปรมาตมัน" ดั่งที่ "เทวนิยม" เป็นกัน แล้วก็ยึดมั่นถือมั่น ฝึกฝนเอาจนได้ จนเสพติดและอยู่ ได้นานแสนนาน กระทั่งพากันหลงว่ามี "นิรันดร" นั่นเอง

ความจริงนั้น "ไม่มีอัตตา" ใดๆ ในหรือนอกเอกภพ จะยืนยงคงตนเที่ยงแท้ ไม่แปรปรวน โดยอยู่อย่างเดิม ได้นิรันดร แม้แต่ "ปรมาตมัน" เองก็ ยืนยงคงตน อยู่อย่างเที่ยงแท้ นิรันดรไม่ได้

"ความมีอยู่" ทุกอย่างในเอกภพมหาจักรวาล ต้องมีการเปลี่ยนแปลงและหมุนเวียน ทั้งสิ้น ไม่ว่ารูปธรรม หรือ นามธรรม

สิ่งที่ยังปรากฏว่า "มี" จะต้องเปลี่ยนแปลงหรือแปรปรวน ไม่เที่ยงแท้ (อนิจจัง) และต้องเคลื่อนที่ ไม่มีสิ่งใด อยู่นิ่งๆ ลอยตัวอยู่ได้ อย่างไร้สัมพัทธ์ในมหาเอกภพ ไม่มี "ความมี" ใดๆที่สามารถ คงที่ และเที่ยงแท้ ไม่แปรเปลี่ยนตนเอง หรือ ไม่เคลื่อนไหว วนเวียน

นอกจาก "ความไม่มีจริงๆ" ซึ่งได้แก่ "ความไม่มีกิเลส" ที่ได้ละล้างด้วยทฤษฎี ของพระพุทธเจ้า จนได้ชื่อว่า "นิพพาน" นั่นเองแหละ ที่จบสัมบูรณ์ ไม่แปรเปลี่ยนอีกแล้ว แต่กระนั้น ก็ยังเคลื่อนที่ไปกับ เหตุปัจจัย ที่เป็นองค์ประกอบของ "นิพพาน" ซึ่งก็คือ ขันธ์ ๕ ที่ประกอบกันอยู่ กับชีวิตพระอรหันต์ผู้ "ยังไม่ปรินิพพาน"

สุดท้ายแห่งสุดท้าย ก็คือ สภาพ "ปรินิพพาน" เท่านั้นที่ ดับไม่เหลือ ชนิดสิ้นสูญทุกสิ่งอย่าง สำหรับตน ไม่ว่า "อัตตา" หรือ "ปรมาตมัน" แม้แต่ "ขันธ์ ๕" ที่เคยเป็นเหตุปัจจัย ก็มีไม่ได้อีก จึงไม่มีอะไรเคลื่อนไหว เวียนวนใดๆ สัมบูรณ์เด็ดขาด

เพราะ "นิพพาน" เป็นลักษณะสุดยอด ที่จะ "สร้าง" ก็สร้างอย่าง "พระเจ้า" นั่นเอง แต่ "ไม่มีความสุข ความทุกข์" และ "ไม่มีการเอา มีแต่การให้" สุดท้ายที่พิเศษยิ่งก็คือ สำหรับ "ตัวเอง" จะไม่อยู่นิรันดร์ก็ได้ จะอยู่ยาวนานไปอีกเท่าใดๆ เท่าที่ตนต้องการ หรือตนยังมี "ความรัก" ก็ได้

ที่สุดแห่งที่สุด จะ "ไม่อยู่..ไม่มี" จะสลาย "อัตภาพ" ที่เป็น "อรหัตตภาวะ" สุดท้าย ไปจากมหาเอกภพ ไม่ให้เหลือ "ตัวตน ของตน" อยู่ ณ ที่ไหนๆอีกเลย "สูญสลาย" ไปจากทุกสิ่งทุกอย่าง ในมหาเอกภพนี้ สิ้น "ความมี" อยู่ในมหาเอกภพนี้อีกเด็ดขาด ก็ได้ เป็นที่สุดแห่งที่สุด เรียกว่า "ปรินิพพาน"

ผู้ที่ได้เรียนรู้"โลกใหม่ ที่เรียกว่า โลกุตระ" และได้ปฏิบัติตนจนบรรลุผลสำเร็จจริง นับตั้งแต่ขั้นต้น ที่เรียกว่า "โสดาบัน" ก็เริ่มนับว่าเป็น "อาริยบุคคล" ระดับต้น และจะมีระดับสูงขึ้นๆ ต่อไปแต่ละระดับอีก ทั้งหมด ๔ ระดับ คือ โสดาบัน-สกทาคามี-อนาคามี-อรหันต์ ล้วนเรียกว่า "อาริยบุคคล" ทั้งสิ้น เมื่อจบ "อรหันต์" ก็ถือว่า "ผู้นั้นจบสมบูรณ์ สำหรับประโยชน์ตนสูงสุด"

.....................................................
รูปภาพ
"จิตที่ให้ย่อมเป็นจิตที่ดี ... จิตที่มีแต่ประชดประชันนั้น ... หาควรแก่การอบอรมสั่งสอนธรรมผู้ใดไม่"


แก้ไขล่าสุดโดย COMA! เมื่อ 03 ก.ย. 2009, 18:33, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2009, 14:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ม.ค. 2009, 02:20
โพสต์: 1387

ที่อยู่: สัพพะโลก

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนา กับคุณป้า ด้วยครับ :b16: :b8:

.....................................................
ผู้มีจิตเมตตาจะไม่มีศัตรู ผู้มีสติปัญญาจะไม่เกิดทุกข์.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ส.ค. 2009, 22:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว



คุณปาโคม่า :b8:

น้ำขออนุญาตินำข้อความไปไว้ที่บล็อกของน้ำค่ะ :b8:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ย. 2009, 15:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2009, 17:51
โพสต์: 189

แนวปฏิบัติ: ดูจิต
สิ่งที่ชื่นชอบ: วรรณกรรม
ชื่อเล่น: ป้าโคม่า
อายุ: 54

 ข้อมูลส่วนตัว




01-200235.jpg
01-200235.jpg [ 109.3 KiB | เปิดดู 5508 ครั้ง ]
ความรัก มิติ ที่ ๘ อเทวนิยม
มิติที่ ๘ คือ ความรักที่เรียนรู้ทุกสิ่งทุกอย่างให้ถ่องแท้ละเอียดลออ ทั้งรูปธรรมและนามธรรม โดยเฉพาะ "นามธรรมที่เป็นจิตวิญญาณ" และ"สัจจะแห่งความรัก" ทุกมิติ

ตั้งแต่ มิติที่ ๑ ไต่สูงขึ้นมาอย่างเจาะลึกละเอียดเป็นขั้นเป็นระดับ พร้อมกับเรียนรู้ให้เห็นแจ้งในสัจธรรมของ "สภาวะแห่งความรัก" ว่า

มันคืออะไรกันแน่? มันมีอาการอย่างไร?
อะไรเป็นเหตุให้เกิดความรัก มีผลร้ายผลดีอย่างไร?
มันเกิดที่ไหน? ตั้งอยู่ที่ไหน? ดับในที่ไหน?
มันอาศัยอะไรเป็นอยู่ หรือดำเนินไปในโลก?
จริงๆแท้ๆนั้น มันให้ความทุกข์หรือความสุข?
มันเป็นความจริง หรือความลวง?
แม้มันจะให้ความทุกข์ แล้วมันมีประโยชน์บ้างหรือไม่?
หากมันมีประโยชน์ จะใช้มันทำประโยชน์ได้อย่างไร?
มนุษย์ควรมีหรือไม่? ถ้าควรมี จะมีได้แค่ไหน? อย่างไร?
หากจะดับมัน ไม่ให้เกิดในตนเลย ได้หรือไม่?
และถ้าจะมีมันเพื่อใช้สร้างประโยชน์ โดยตนไม่ติดยึด จะทำได้หรือไม่?
ที่สุด ไม่ต้องมีอะไรอีกเลย แม้แต่สิ่งที่ "ความรัก" ต้องอาศัย จะได้หรือไม่?

ตามที่กล่าวมานั้น เป็นประเด็นแห่งปัญหา ที่มีคำตอบสมบูรณ์แล้ว ในศาสนาพุทธ

โดยสัจจะ ลักษณะอาการทางจิตที่เรียกด้วยภาษาว่า "ความรัก" นี้ ที่แปลมาแต่ต้นว่า "อาการชอบใจผสมความยินดี" แท้ๆจริงๆแล้ว มันก็คือ"ความต้องการ"นั่นเอง ดังที่ได้สาธยายมาแล้วตั้งแต่มิติที่ ๑-๗ ก็ล้วนคือ "ความต้องการ" ซึ่งต้องการ "สร้าง" หรือต้องการ "ทำลาย" นั้น ๑ และต้องการเพื่อ "ตัวกู" หรือต้องการเพื่อ "ช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น" นั้นอีก ๑

สรุปชัดๆอีกที "ความรัก" ไม่ใช่อารมณ์ "เฉยๆ..นิ่งๆ.. กลางๆ" หรือไม่ใช่ "อารมณ์ที่หยุดสนิท" นั่นเอง แต่เป็นอาการทางจิตที่ต้องการ "ให้" หรือ ต้องการ "เอา" และ ต้องการ "สร้าง" หรือ ต้องการ "ทำลาย"

ถ้าใคร ไม่มีความต้องการ "ให้" หรือไม่มีความต้องการ "เอา" ไม่ว่าชั่วขณะใดขณะหนึ่ง หรือมีเป็นช่วงยาว-ช่วงสั้น หรือ มีถาวรก็ตาม นั่นก็คือ อาการนั้นเรียกได้ว่า อาการของผู้นั้น "ไม่มีความรัก" หรือ "ไม่มีความต้องการ" นั่นเอง

ดังนั้น อาการทางจิตของใครที่เกิด "ความต้องการ" ขึ้นในจิต ก็คือ คนผู้นั้นกำลังเกิด "ความรัก"

"ความต้องการ" ที่ว่านี้ ภาษาทางศาสนาพุทธ เรียกว่า "ตัณหา" ซึ่งแบ่งออกเป็น ๓ ประเภทใหญ่ ได้แก่

"กามตัณหา - ภวตัณหา - วิภวตัณหา"
หรือ "ความรัก ที่เกี่ยวกับลักษณะกาม (กามตัณหา)
-ความรักที่เกี่ยวกับลักษณะภพ (ภวตัณหา)
-ความรักที่เกี่ยวกับลักษณะวิภพ (วิภวตัณหา)"

ความรู้ละเอียดๆขึ้น จึงอยู่ที่ "ความเป็นกาม-ความเป็นภพ-ความเป็นวิภพ" ว่า เป็นอย่างไร? กินความแค่ไหน? แตกต่างพิสดารกว่ากันถึงขนาดไหน? จึงจัดแบ่งกันไว้เป็น ๓ อย่างนั้น

เมื่อผู้ศึกษาได้ศึกษาถึงความจริงของ "กาม-ภพ-วิภพ" อย่างสัมมาทิฏฐิ จนเกิด "วิปัสสนาญาณ" ก็จะดำเนินการ กับสิ่งที่ควร และไม่ควรได้ถูกต้อง และนำพาชีวิตตน ให้เจริญไปกับการมี "ความรัก" ได้ ทั้งอย่างมีคุณค่าประโยชน์ ทั้งอย่าง เป็นสุขวิเศษขึ้นจริง อยู่ในตัวพร้อมๆกัน

ส่วน "ความรัก" นั้น คงพอจะเข้าใจกันอยู่ทั่วไป จะคนละมากคนละน้อยก็ตามภูมิของแต่ละคน ถ้าใครยิ่งได้เรียนรู้และได้ฝึกหัดอ่าน "อาการในจิต" ที่เกิดลักษณะของ "ความต้องการให้ หรือ ต้องการเอา" และ "ต้องการสร้าง หรือ ต้องการทำลาย" อย่างจริงจังถ่องแท้ ในความซับซ้อน ของความจริงพวกนี้ ก็ยิ่งจะรู้แจ้งเห็นจริง ใน "ความจริง" ชัดเจนว่า "สัจจะแห่งความรัก" คืออย่างไรกัน แม่นๆมั่นๆ ยิ่งขึ้น

ดังนั้น ถ้าผู้ศึกษาฝึกฝน ได้บรรลุผลสมบูรณ์รู้แจ้งหยั่งถึงความจริง ก็จะหมดปัญหาที่ว่า...

ความรัก มันคืออะไรกันแน่? มันมีอาการอย่างไร?

และถ้าหากได้ศึกษาลึกซึ้งขึ้นไปถึงว่า อะไรเป็นเหตุให้เกิดความรัก มีผลร้ายผลดีอย่างไร? ก็ยิ่งจะรู้แจ้งมากเพิ่มเติม และจะได้จัดการส่วนที่ "ร้าย" ให้หมดไปจากตน พร้อมกับ จัดการส่วนที่ "ดี" ให้เพิ่มพลังขึ้น ให้เกิดคุณค่าประโยชน์แก่ตน แก่สังคม และโลกทับทวี

ไม่ว่าจะเป็น "ประเด็นแห่งปัญหา" ข้ออื่นๆ ที่กล่าวไว้ ตอนต้น เป็นต้นว่า

มันเกิดที่ไหน? ตั้งอยู่ที่ไหน? ดับในที่ไหน? มันอาศัยอะไรเป็นอยู่ หรือดำเนินไปในโลก? จริงๆแท้ๆนั้น มันให้ความทุกข์ หรือความสุข? มันเป็นความจริง หรือความลวง? ฯลฯ

และประเด็นอื่นๆทั้งหลากทั้งหลายดังกล่าวมาแล้วนั้น ก็ต้องเรียนรู้ให้แจ่มแจ้ง และฝึกฝนอบรมตน จนเกิดผล ไปตามขั้นตามตอน กระทั่งสมบูรณ์ให้ได้

ผู้ศึกษาและฝึกฝนจนเกิด "มรรคผล" แท้จริง เราเรียกว่า "อาริยบุคคล" ซึ่งเป็นศัพท์ที่กำหนดเรียก "ผู้บรรลุพุทธธรรม" โดยแบ่งชั้นไว้ ๔ ชั้นใหญ่ๆ คือ

โสดาบัน -สกทาคามี -อนาคามี -อรหันต์

"อาริยบุคคล" หมายความว่า คนเจริญเพราะมี หรือเกิดความประเสริฐจริง ในตน ตามทิศทางที่ พระพุทธเจ้า ทรงค้นพบ ซึ่งเป็น "คนโลกใหม่หรือคนโลกอื่น" (ปรโลกที่ชื่อว่าโลกุตระ)

ที่เรียกว่า "โลกใหม่" ก็เพราะเป็นโลกที่ต่างจาก "โลกเก่า" แล้วจริงๆ ทั้งๆที่ยังเป็นคนเหมือนกัน "มีกายมีจิตวิญญาณ" เช่นเดียวกัน อยู่ในสังคมเดียวกันนี่แหละ แต่มีความรู้สึกนึกคิด "เป็นอันอื่น" (ปร) "ต่างไปจากคนโลกเก่า" (ปร) "นอกไปจากเดิม" (ปร) แล้วจริง ความรู้สึกนึกคิดของชาว "โลกเก่า" เรียกว่า "โลกียะ" เป็นโลกที่ใครๆก็รู้ก็เป็นอยู่อย่างนั้นกันทั้งนั้น ส่วน "โลกใหม่" นี้เป็นอีกโลกหนึ่ง ที่แปลกไปกว่า "โลกเก่า" คนละทิศละทาง

ความเป็น "โลก" ซึ่งหมายถึง ความหมุนวนเวียนอยู่ไปมา อย่างไม่รู้จบ ถ้าความเป็น "โลก" นั้นดับลง หรือ ไม่มีความหมุนวนของสิ่งนั้น ก็คือ หมดความเป็น "โลก"

"โลกเก่า" ของคน หรือ "โลกียะ" ของคน ก็คือ "ความวนเวียนเกิด-ตาย แล้วก็ตาย-เกิดของคน ย่อมวนเวียนอยู่ เพราะอำนาจของกรรม ของวิบาก ที่ตนเองไม่รู้จัก อย่างแจ้งจริง แล้วก็ต้องเป็นไปตามกรรม ตามวิบาก ดีๆชั่วๆ ทุกข์ๆสุขๆ ขึ้นสวรรค์ลงนรก ตกนรกขึ้นสวรรค์ สูงๆต่ำๆ ขาวๆดำๆ ร่ำรวยหรือยากจน สวยหรือขี้เหร่ ฯลฯ สารพัดแห่ง "สมมุติของโลก" นับไม่ถ้วน ที่ต้องหมุนวน ไปตามอำนาจ ของกุศลกรรม - อกุศลกรรม

และที่สำคัญคือ ใน "โลกเก่า" หาทฤษฎีที่จะทำให้คนทำตนสูงจริงดีแท้มั่นคงถาวร สวรรค์ชนิดเที่ยงแท้มีหลักประกัน ชนิดที่จิตได้สำรอกเหตุชั่ว อย่างถูกตัวถูกตนของมัน และเห็นแจ้งของจริงด้วยญาณปัญญาอันยิ่งของตน (ขนาดข้ามชาติกัน ทีเดียว) ยังไม่ได้

ยิ่งกว่านั้น ก็คือ ไม่สามารถทำให้จบ "การเกิด-การตาย" อย่างเด็ดขาดจริง

โลกเก่าหรือโลกียะ ยังไม่พ้นความเป็น "ทาส" จึงเรียกว่า ยังไม่พ้น "โลกธรรม" พูดชัดๆก็คือ "ไม่พ้นโลกียธรรม" หรือยังเป็น "ทาส" ลาภ-ยศ-สรรเสริญ-โลกียสุข อยู่นั่นเอง ไม่มากก็น้อย

คนโลกเก่าก็จะพอรู้ความเป็น "ทาส" ดังกล่าวนี้อยู่บ้าง และมีผู้พยายามทำตนให้ "พ้นจากความเป็นทาส" เหล่านี้เหมือนกัน ซึ่งทำได้ชั่วคราว หรือนาน อาจจะนานติดต่อกันไปยืนยาว หรือหลายชาติ แต่ไม่จบการ "วนเวียน" ไม่หยุดการวนเวียน อย่างเด็ดขาด ชนิดเที่ยงแท้ถาวร จึงไม่เป็นหลักประกัน ที่แน่แท้สัมบูรณ์ (absolute)

ดังนั้น "โลกเก่า" หรือ "โลกียะ" ก็จะเป็นอยู่อย่างเก่าๆเดิมๆ นั่นเอง หมุนวนหมุนเวียน ดีๆชั่วๆ ทุกข์ๆสุขๆ ขึ้นสวรรค์ลงนรก ตกนรกขึ้นสวรรค์ สูงๆต่ำๆ ขาวๆดำๆ ร่ำรวยหรือยากจน สวยหรือขี้เหร่ ฯลฯ เร็วบ้าง ช้านานบ้าง อยู่อย่างนั้นนิรันดรมา และคงนิรันดรตลอดไป ถ้าไม่รู้จัก "โลกใหม่" ที่ชื่อว่า "โลกุตระ"

เพราะ "โลกียะ" ก็คือ โลกสามัญที่ทุกคนเคยผ่านมาแล้วทั้งสิ้น เคยรู้เคยเข้าใจ เคยเชื่อ เคยยึดถือมา เคยเห็น เคยเป็น เคยรู้สึก เคยมุ่งหวัง เคยท้อถอย เคยสุขเคยทุกข์ เคยโลภ-โกรธ-หลง เคยรักเคยจางคลาย เคยตายจาก แต่ไม่จบไม่เลิก ต้องเวียนกลับมาเป็นกันใหม่อีก ฯลฯ เป็นความวนเวียน เกิดแล้วเกิดเล่า มาแต่ไหนแต่ไร ไม่มีทางหลุดพ้น ออกไปจากมัน เป็นที่สุดที่สิ้น ได้จริงแท้ ชนิด "ดับถูกเหตุ อย่างถูกตัว ถูกตน ของมัน" สักที

ส่วน "โลกใหม่" นั้น เป็น "โลกอื่น" (ปรโลก) เป็น "โลกที่ ต่างหากจากโลกเก่า" (ปรโลก) มีคุณลักษณะ และความเป็นไป ดำเนินอุดมการณ์ไป อีกอย่างหนึ่ง เรียกว่า "โลกอุดร" หรือ "โลกุตระ" อันแตกต่าง จากคนทั้งหลาย ทั้งปวงในโลกเก่า ที่เรียกว่า "โลกียะ" ไปแล้วจริง ชนิดมีวิถีชีวิต เดินทางไปสู่ "นิพพาน" อย่างแน่นอน ในอนาคตข้างหน้า

ผู้ที่มี "ความรัก" ชนิด "อเทวนิยม" นี้ หรือคนชนิด "มิติ ที่ ๘" นี้จะเรียกว่า "อาริยนิยม" ก็ดี เรียกว่า "โลกุตรนิยม" ก็ได้

.....................................................
รูปภาพ
"จิตที่ให้ย่อมเป็นจิตที่ดี ... จิตที่มีแต่ประชดประชันนั้น ... หาควรแก่การอบอรมสั่งสอนธรรมผู้ใดไม่"


แก้ไขล่าสุดโดย COMA! เมื่อ 03 ก.ย. 2009, 18:34, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ย. 2009, 13:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2009, 17:51
โพสต์: 189

แนวปฏิบัติ: ดูจิต
สิ่งที่ชื่นชอบ: วรรณกรรม
ชื่อเล่น: ป้าโคม่า
อายุ: 54

 ข้อมูลส่วนตัว




012-200241-1.jpg
012-200241-1.jpg [ 117.31 KiB | เปิดดู 5508 ครั้ง ]
ความรัก มิติที่ ๗ "เทวนิยม" หรือ "ปรมาตมันนิยม"

มิติที่ ๗ คือ ความรักที่แผ่กว้างไปสุดมหาเอกภพ ทีเดียว ซึ่งหมายถึงนามธรรมอันยิ่งใหญ่ ที่รักทุกสรรพสิ่ง ซึ่งเป็น ความรักระดับ "พระเจ้า" เป็นความรักที่ไม่มีขีดขั้น รักแม้กระทั่งศัตรู ไม่มีการแบ่งมิตร แยกศัตรูกันอีกแล้ว ถึงขนาดใครจะ "ตบแก้มซ้าย ก็ยังจะต้องยื่นแก้มขวา ให้เขาตบซ้ำ อีกด้วย"

ซึ่งมุ่งหมายเข้าหาความดีงามทางนามธรรมมากขึ้น โดยนับถือว่า มี "พระเจ้า" เป็นอำนาจหลัก แห่งคุณงามความดี และ เป็นอำนาจที่ยิ่งใหญ่ที่สุด กว่าสิ่งใดๆทั้งปวง ทุกคนมุ่งมั่น สร้างแต่ความดีงาม หากใครทำแต่ความดี ไม่ทำความชั่วแล้ว จะได้ไปอยู่กับพระเจ้า ดังนั้น ทุกคนจึงต้องมีความรักในพระเจ้า และ ทำตนให้มีความรัก ดุจเดียวกับพระเจ้า ผู้ทรงรักทุกสิ่งทุกอย่าง

เป็นการฝึกตนให้เป็นคนดี ตั้งหน้าตั้งตากระทำแต่ความดีงาม ตนจะต้องทิ้งความไม่ดีทั้งมวล หยุดความไม่ดีทั้งปวง ให้หมด พยายามไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่เห็นแก่ตัว ไม่ขี้เกียจ อดทน บุกบั่น มีเมตตามหาศาล แผ่ไปทุกทิศ ต้องเป็นคนเสียสละ เพื่อมวลมนุษย์ทั้งโลก ให้ถ้วนทั่ว

เป็นการมุ่งฝึกฝนตนให้ดีเป็นที่ตั้ง อะไรไม่ดีไม่ทำ ละทิ้ง ความไม่ดีแบบไม่ต้องใส่ใจเลย มีแต่มุ่งมั่น เข้าหาความดี เท่าที่จะสามารถ ส่วนเรื่องความชั่ว ก็เพียงละเว้นความชั่ว ความไม่ดี ไม่งามทั้งมวล ให้ได้ด้วยความอดกลั้น ด้วยการทิ้งมันไปดื้อๆ หรือจงละลืมไปให้สนิท ไม่รับรู้เป็นดีสุด ให้เอาจริงเอาจัง อยู่กับการอุตสาหะวิริยะ ทำแต่คุณงามความดี อย่างทุ่มโถมทีเดียว ส่วน "ความไม่ดี" นั้น ผู้มีลัทธิ "พระเจ้า" จะไม่ค่อยสนใจ ไม่ใส่ใจเรียนรู้ ให้ทะลุปรุโปร่งเหมือนพุทธศาสนา ไม่มีการเจาะลึก เข้าไปหา "หัวใจ" ความไม่ดี แล้ว "ทำลายหัวใจความไม่ดี" นั้นๆให้ดับสูญเด็ดขาด แบบศาสนาพุทธ

จะภาคภูมิดีใจอิ่มเอมใจที่ได้ทำดี โดยมีคติแน่วแน่ว่า "ทำดีแล้วจะได้ไปอยู่กับพระเจ้า ในสรวงสวรรค์ นิรันดร"

ความเป็น"พระเจ้า"ก็ดี ความมี"สรวงสวรรค์นิรันดร" ก็ดี เหล่านี้เป็นสภาพที่ยังเป็นภพเป็นชาติ เป็น "อัตตา" หรือ "อาตมัน" สำหรับ "พระเจ้า" ก็เรียกว่า "ปรมาตมัน" สรวงสวรรค์ ก็คือ "ภพ" คือ "ดินแดนแห่งพระเจ้า"

เป็นความรักที่นับว่ามีคุณค่ามหาศาล เพราะรักมวลชนทุกคน ใครทุกข์พยายามช่วยให้ได้ทั้งหมด แม้ที่สุด ตัวเองจะตาย ก็ยอม อย่างเช่น พระศาสดาของศาสนา ที่นับถือพระเจ้ามากมาย เช่น พระเยซู แห่งคริสต์ศาสนา พระโซโรเอสเตอร์ แห่งศาสนาโซโรเอสเตอร์ พระบาฮาอุลลาห์ แห่งศาสนาบาไฮ แม้แต่คุรุนานัก แห่งศาสนาซิกส์ ล้วนแต่นักเสียสละชั้นยอด เสียสละ กระทั่งชีวิตกันแทบทั้งนั้น

ซึ่งล้วนเป็นศาสนาที่บูชายึดถือ "พระเจ้า" ยึดถือ "God" เป็นความรักที่จัดอยู่ในลักษณะ "เทวนิยม" ซึ่งเป็นลัทธิบูชา "ปรมาตมัน" หรือ "พระวิญญาณยิ่งใหญ่" และไม่ได้ศึกษา เจาะลึกเข้าไป ในความเป็น "อัตตา" หรือ "ปรมาตมัน" กันอย่างละเอียด เฉพาะอย่างยิ่ง จะยังไม่รู้เรื่องของ "อนัตตา" เลย แต่ก็เป็น ศาสนาที่เต็มไปด้วย "พลังสร้างสรรค์" ช่วยมนุษยชาติไว้ได้อย่างมากมาย เพียงแต่ว่า ไม่มีทางหมดสิ้น "อัตตา" เพราะไม่ได้ศึกษา ความเป็น "อัตตา" ทั้งของ "กิเลส" และของ "พระเจ้า"

เป็นศาสนาที่ทั้งมุ่งทั้งมั่นไปสู่ "ภพชาติ" แห่งความเป็น "พระเจ้า" ซึ่งเน้นสอนเน้นทำกันแต่ในฝ่าย "คุณงามความดี" เพื่อ มวลมนุษยชาติ อย่างเอาจริงเอาจัง ทุกพลังแห่งจิตวิญญาณ จึงล้วนผนึกแน่น เข้าเป็นหนึ่งเดียวกับ "พระเจ้า" ความเป็น "พระเจ้า" ของศาสนาแบบ "เทวนิยม" จึงเป็น "อัตตา" ที่ใหญ่ยิ่ง ที่เรียกว่า "ปรมาตมัน" ก็ถูกต้องที่สุด "พระเจ้า" คือ "ปรมาตมัน" ที่นิรันดร์อมตะ เป็น "อัตตา" หรือ "อาตมัน" ที่ไม่มีวันสูญสลาย

ซึ่งตรงกันข้ามกับศาสนาพุทธ ที่รู้แจ้งแทงทะลุ "อัตตา" และสามารถปฏิบัติ เพื่อสู่ความเป็น "อนัตตา" ได้สำเร็จ เป็นที่สุด

จุดนี้แหละที่สำคัญยิ่งนัก เพราะเป็นจุดต่าง ระหว่างศาสนาที่เป็น "เทวนิยม" กับศาสนาที่เป็น "อเทวนิยม"

กล่าวคือ ศาสนาพุทธ ซึ่งเป็นศาสนาแบบ "อเทวนิยม" นั้น ศึกษาความเป็น "อัตตา" หรือ "อาตมัน" ของจิตวิญญาณ อย่างละเอียดครบหมด ทั้ง "อัตตา" ที่เป็น "อัตตา" ของ "ผีนรก หรือซาตาน" ซึ่งเป็นอำนาจฝ่ายเลวร้าย ไม่ดีไม่งาม และทั้ง "อัตตา" ของ"พระเจ้า" ซึ่งเป็นอำนาจฝ่ายดีงาม มีคุณค่าประโยชน์

ที่สำคัญยิ่ง ก็คือ ศาสนาแบบ "เทวนิยม" ต่างก็หันหน้าเข้า หา "พระเจ้า" ปฏิบัติแต่สิ่งส่วนที่ดีงาม ให้ยิ่งๆ เพื่อถวายพระเจ้า แต่พุทธที่เป็นศาสนาแบบ "อเทวนิยม" นั้น กลับหันหน้าเข้าหา "ผีนรกหรือซาตาน" แล้วปฏิบัติการ อย่างแม่นมั่น คมชัดเข้าไปจับ "ตัวตน" (อัตตา) ของ "ผีนรกหรือซาตาน" และแล้ว ก็เจาะลึก เข้าไปให้ถึง "หัวใจของผีนรกซาตาน" แล้วจัดการทำลาย "หัวใจ" ของมันให้ดับสลาย ตายสนิท ชนิดสิ้นสูญ จึงเป็นการ "ดับตัวตน" ของ ผีนรกซาตานอย่างเด็ดขาด ไม่เหลือตัวตน (อนัตตา) อีกเลย

"ผีนรกหรือซาตาน" ก็คือ "ตัวชั่วร้ายเลวทราม" หรือ "ตัวทุกขอาริยสัจ" นั่นเอง และ "หัวใจ"ของมันก็คือ" ตัวเหตุแห่งทุกข์" หรือคือ "กิเลส-ตัณหา-อุปาทาน" ซึ่งอยู่ใน "จิต" ของคน

เพราะพุทธเห็นว่า หากปล่อยให้ "ผีนรกซาตาน" หรือ "ตัวชั่วร้ายเลวทราม" มีอำนาจอยู่กับเรา แม้จะเพียง ๑ นาที มันก็นำพาเราไปชั่วร้ายเลวทราม ๑ นาที ขืนให้มันอยู่กับเรานานไปอีก เท่าใดๆ เป็น ๕ นาที เป็นชั่วโมง เป็นวันเป็นปี ก็ยิ่งพาเราเลวร้ายชั่วทราม ไปนานเท่านั้นๆ ต้องรีบจัดการกับเจ้า "ผีร้ายซาตาน" พวกนี้ให้ได้เสียก่อน จึงจะถูก เพราะเป็นเรื่องที่น่ากลัวยิ่งนัก

ส่วน "พระเจ้า" หรือ "ความดีงาม" นั้นจะอยู่กับเราไปกี่นาที หรืออยู่ไปอีกนานเท่าใด ก็ไม่ใช่เรื่องน่าตกใจ หรือน่ากลัวอะไร เพราะไม่ได้พาเราชั่วร้ายเลวทราม มีแต่จะพาเราดี เราเจริญ จึงไม่ใช่ความจำเป็นรีบด่วน ที่สำคัญกว่า กำจัด "ซาตาน" รีบด่วนกว่า

ดังนั้น ศาสนาพุทธจึงเป็นศาสนาเพ่งที่ "ทุกข์" เพ่งเจาะเข้าไปที่กิเลส-ตัณหา-อุปาทาน อันเป็น "เหตุแห่งความชั่วร้าย" หรือ "เหตุแห่งทุกข์" กันเป็นแก่นเป็นแกนหลัก พูดกันวิจัยกัน แต่เรื่องทุกข์ เรื่องตัวชั่วร้าย ที่จะพาทุกข์ มุ่งปฏิบัติการอยู่แต่ กับเรื่องของ "ตัวชั่วร้าย" ที่จะพาคนไปต่ำไปเลว ไปทำไม่ดี ไม่งาม

โดยสารสัจจะของศาสนาพุทธเป็นเช่นนี้ จึงมีพฤติภาพ ที่ไม่ชวนสำเริงสำราญ เพราะมุ่งมั่นอยู่แต่เรื่องทุกข์ เรื่องเหตุแห่งทุกข์ ซึ่งผู้ไม่รู้นัยสำคัญนี้ ก็พากันเพ่งโทษว่า เป็นศาสนา "ทุกขนิยม" หรือเป็นศาสนา ที่ไม่น่ารื่นรมย์ เพ่งอยู่แต่เรื่องหดหู่ใจ ผู้คนจึงไม่ค่อยนิยม เพราะไม่เหมือนศาสนาที่พูดกัน มุ่งพากันทำ แต่เรื่องเหตุดีผลดี ซึ่งเป็นเรื่อง "พระเจ้า" ทั้งนั้น

ศาสนาที่มุ่งอยู่แต่กับ "ความดีงาม" เรื่อง "พระเจ้า" แต่ไม่นำพา หรือไม่เน้นถึงเรื่อง "ซาตาน-ความไม่ดีไม่งาม" เน้นเด่นสำคัญกันที่เรื่อง "ความดีงาม" ไม่นำเรื่อง "ไม่ดีไม่งาม" มาทำให้เสีย พฤติภาพ จึงเป็นศาสนาที่น่านิยม ชมชื่นชวนใจ

เมื่อไม่นำพาไม่ใส่ใจในฝ่าย "เหตุแห่งความไม่ดีไม่งาม" อันคือ กิเลส, ตัณหา, อุปาทานต่างๆ หรือ ความเป็น "ซาตาน" ความเป็น "ผีนรก" ซึ่งเป็น "สมุทัยแห่งความเลวร้าย หรือเหตุแห่งทุกข์" จึงได้แต่ "ปล่อยวาง" ไม่สนใจความทุกข์ ความเลวร้าย ทิ้งขว้างความเลวร้ายต่างๆไป ไม่เอาใจใส่เจ้าตัวพวกนั้น หรือ ไม่ต้องรู้เรื่องกิเลสต่างๆ ไม่ได้เรียนรู้ความเลวร้าย และเหตุหรือ "หัวใจ" แห่งความเลวร้ายให้ถ่องแท้ ทะลุปรุโปร่ง ไม่ได้ทำลายถูกตัวถูกตน ถูกหัวใจ ของเจ้าพวกความเลวร้ายพวกนี้ ให้สิ้นซาก ทั้งหยาบ กลาง ละเอียด

ซึ่งวิธีอย่างนี้ ก็เป็นวิธี "สมถะ" ธรรมดาๆ ที่ศาสนาส่วนใหญ่ทั้งหลายทั่วๆไป ก็ทำกันอย่างนี้ จึงเท่ากับ ปล่อยปละละเลย "ตัวเหตุแท้แห่งความไม่ดีไม่งาม" หรือกักเก็บ "เจ้าพวกตัวเลวร้ายเหล่านั้น ไว้ในก้นบึ้ง ของจิต" ไม่ให้มันขึ้นมาวุ่นวายกับตนเท่านั้น โดยไม่ได้จับได้ไล่ทัน "ตัวมัน" (อัตตา) และลดละ หรือ ทำลายมัน ให้ดับสนิทไปได้จริง จนเด็ดขาด

ศาสนาที่เป็น "เทวนิยม" ก็จะเป็นเช่นนี้ เป็นศาสนาที่เก่งกาจสามารถ ในการทำคุณงามความดี รักมวลมนุษยชาติ รักทุกสรรพสิ่ง เสียสละได้เก่งเยี่ยมเก่งยอด มุ่งมั่นในคุณภาพ ดังกล่าวนี้จริงจัง

ศาสนาเช่นนี้ จะมีอยู่นิรันดร์คู่ไปกับมวลมนุษยชาติ ในโลก เรียนรู้ได้ไม่ยากนัก หากปฏิบัติเอาจริง ก็สามารถ เป็นได้ ดีได้จริง จึงมีคุณค่าประโยชน์ต่อโลก ต่อมวลมนุษยชาติได้มาก และอยู่นาน นิรันดร์ทีเดียว

แต่..เพราะไม่ได้สงสัยไหวทันต่อความเป็น "อัตตา" (ตัวตน) หรือ "อาตมัน" (ตัวตน) จึงไม่ได้เอาจริง เอาจัง ในการค้นคว้า ศึกษาเรื่อง "อัตตา" (อาตมัน)

จึงไม่มีการศึกษาที่มีทฤษฎีและวิธีการเจาะเข้าค้นความจริงในเรื่อง "อัตตา" หรือ "อาตมัน" และ "ปรมาตมัน"

จึงไม่ได้เรียนรู้กันถึงความเป็น "ตัวตนของจิตวิญญาณ - ตัวตนของพระเจ้า - ตัวตนของกิเลส"

จึงไม่ได้ศึกษาอย่างละเอียดถูก "ตัวตน" ของกิเลส ของซาตาน ของจิตวิญญาณของพระเจ�า ชนิดรู้แจ้งรู้จริง

จึงไม่ได้เรียนรู้ถึงขั้นอภิธรรม อันจะต้องวิเคราะห์ "จิต-เจตสิก-รูป-นิพพาน" อย่างรู้แจ้งแทงทะลุ เป็นสัจธรรม สมบูรณ์

จึงไม่สามารถเข้าใจรอบถ้วนในความเป็น "อัตตา" หรือ "อาตมัน" และ "ปรมาตมัน"

จึงสนิทใจ.. "อัตตา" ก็ยิ่งเป็น "ตัวตน" ปรมาตมัน

และกลับจะมีแต่ยิ่งหลงยึดติดแน่นในความเป็น "อัตตา" หรือ "ตัวตน" ว่า เป็นยอดแห่งจิต ยอดแห่งวิญญาณ จนกระทั่ง ถึงขั้นเป็น "อัตตา หรือ อาตมันที่ยิ่งใหญ่สุดยิ่งใหญ่" จึงยิ่งทั้งแน่นผนึกเนียน ทั้งเนิ่นนาน นิรันดร์กาลเป็น "ปรมาตมัน" (ตัวตนยิ่งใหญ่สูงสุด) อยู่ตลอดไป กับคุณงามความดีให้แก่โลก

ดังนั้น ที่จะรู้แจ้งแทงทะลุในสภาพ "อนัตตา" (ไม่เหลือ ตัวตน, ไม่ใช่ตัวใช่ตน, ไม่มีตัวตน) จึงหมดโอกาส จึงไม่ใช่ทางที่จะหมด "ตัวตน" จนสามารถเข้าถึง "นิพพาน" ได้ แน่ยิ่งกว่าแน่

ซึ่งศาสนาที่ยังไม่มี "นิพพาน" เยี่ยงนี้ จะมีอยู่ในโลกเสมอ ไม่มีขาดสาย มีหลายลักษณะ หลายระดับ แห่งคุณค่าด้วย นับเป็นสุดยอดแห่งความรักฝ่ายโลกีย์ หรือฝ่าย "อัตตา"

ดังนั้น ความรัก มิติที่ ๗ นี้ จึงชื่อว่า "เทวนิยม" หรือ "ปรมาตมันนิยม"

.....................................................
รูปภาพ
"จิตที่ให้ย่อมเป็นจิตที่ดี ... จิตที่มีแต่ประชดประชันนั้น ... หาควรแก่การอบอรมสั่งสอนธรรมผู้ใดไม่"


แก้ไขล่าสุดโดย COMA! เมื่อ 05 ก.ย. 2009, 16:09, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ย. 2009, 15:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2009, 17:51
โพสต์: 189

แนวปฏิบัติ: ดูจิต
สิ่งที่ชื่นชอบ: วรรณกรรม
ชื่อเล่น: ป้าโคม่า
อายุ: 54

 ข้อมูลส่วนตัว




01-200238-7.jpg
01-200238-7.jpg [ 123.53 KiB | เปิดดู 5563 ครั้ง ]
ความรัก มิติที่ ๖ สากลนิยม

มิติที่ ๖ คือ ความรักมวลมนุษยชาติทุกชาติทุกภาษา ที่เป็นมนุษย์ในโลก
ไม่จำกัดเฉพาะ ในชาติของตน เท่านั้น ยิ่งเห็นได้ชัดว่า
เป็นความรักความปรารถนาที่แผ่กว้างเกื้อกูลออกไป อย่างครบถ้วนสมบูรณ์
ในด้านรูปธรรม แห่งมวลมนุษย์ เพราะ เป็นความรัก ที่เผื่อแผ่ต่อมนุษยชาติไปทั้งโลก
ไม่จำกัดผิวพรรณ เพศ วัย เชื้อชาติ ชั้นวรรณะกันแล้ว เป็นความรักระดับโลกาภิบาลทีเดียว
คือ รักปรารถนาจะให้แก่ทุกคน เป็นอุดมการณ์ที่สูงส่งยิ่งแล้ว
สำหรับมนุษย์ที่พึงกระทำ พึงแสดงออกทางรูปธรรม หากผู้ใด มีจิตใจ ที่มีความรู้สึกนึกคิด
และได้พากเพียร ประพฤติตามอุดมการณ์ ดังกล่าวนี้จริง
ทำได้เป็นได้จริง ก็นับเป็นผู้มีความรัก ที่มีคุณค่าสูงส่ง ขึ้นไปกว่ามิติที่ ๕ แน่นอน

ไม่ใช่เพียงความ รู้ว่ามันเป็นอุดมการณ์ที่ดีอยู่แค่นั้น หรือไม่ใช่เพียงเป็นคารมโก้ๆ ลีลาเก๋ๆ
ของคนหาเสียง ให้ตนเท่านั้นด้วย แต่ต้องเป็น "ความจริงของจิต ที่เกิดความรู้สึกรัก
และปรารถนาตามอุดมการณ์นี้แท้ๆ และ ต้องมีสมรรถนะ สสะสมสอดคล้อง ด้วย
ยิ่งมีน้ำหนัก หรือมีความเข้มข้น ของน้ำใจ และประสิทธิภาพ มากยิ่งเท่าใดๆ
ก็ยิ่งประเสริฐสูงส่ง เลอเลิศยิ่งและยากยิ่งหากคน ผู้นี้มีพฤติกรรมพากเพียรพยายามกระทำ
เพื่อให้เกิดผล ตามอุดมการณ์ได้จริง ที่สุดจะจริงสมบูรณ์ ทีเดียว
ถ้าแม้นผู้มีความรักนั้น บริสุทธิ์จากความแฝง เพื่อผลประโยชน์
ให้เกิดลาภ-ยศ-สรรเสริญ-สุข แก่ตน ซึ่งเป็นความเจริญของความรัก ความปรารถนาดี
อย่างเห็นได้ชัดขึ้นไปอีก ว่าเป็นคุณค่า ของความเป็นมนุษย์ แน่แท้

ความรัก ระดับมิติที่ ๖ นี้ เรียกว่า "สากลนิยม" หรือ "จักรวาลนิยม"

ภาพระเบิดนิวเคลียร์ ที่ถูกทิ้งลงที่เมืองฮิโรชิมา ญี่ปุ่น
และผลหลังจากนั้นก็เป็น "ความรัก"ที่มีคุณค่าประเสริฐสูงส่งขึ้นไปยิ่งๆขึ้น
ที่ผู้มีปัญญาสามัญก็พอเข้าใจได้ ทว่า "ความจริง" ที่คนจะเป็นได้จริง มีสมรรถนะถึงขั้นจริงนั้น
ก็หายากยิ่งขึ้นไปเรื่อยๆ ส่วนมากก็มีแต่ "อุดมการณ์" แต่เป็นจริงยังไม่ได้ และพูดคุยโวโอ้อวด
จนกลายเป็นคนหลอกลวงชาวโลกไป ก็มีมากมาย

.....................................................
รูปภาพ
"จิตที่ให้ย่อมเป็นจิตที่ดี ... จิตที่มีแต่ประชดประชันนั้น ... หาควรแก่การอบอรมสั่งสอนธรรมผู้ใดไม่"


แก้ไขล่าสุดโดย COMA! เมื่อ 05 ก.ย. 2009, 16:03, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ย. 2009, 16:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2009, 17:51
โพสต์: 189

แนวปฏิบัติ: ดูจิต
สิ่งที่ชื่นชอบ: วรรณกรรม
ชื่อเล่น: ป้าโคม่า
อายุ: 54

 ข้อมูลส่วนตัว




012-200232-2.jpg
012-200232-2.jpg [ 155.99 KiB | เปิดดู 5557 ครั้ง ]
ความรัก มิติที่ ๕ ชาตินิยม

มิติที่ ๕ คือ ความรักที่เป็นอุดมการณ์เพื่อชาติเพื่อประเทศหาก ผู้ใดมีความรู้สึกนึกคิด หรือมีอุดมการณ์ ต้องการช่วยเหลือ เกื้อกูล กว้างออกไปกว่าความรักแค่ "มิติที่ ๔" เป็น ความรักความปรารถนา ถึงขั้นหมายใจ จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้คนทั่วไป ในประเทศชาติจริง ไม่แคบอยู่แค่รักเพื่อน เผื่อแผ่เพื่อคนใกล้ตัวเราเท่านั้น หรือไม่เล็กอยู่แค่ หมู่กลุ่มชุมชน ตำบล อำเภอ จังหวัด ซึ่งเป็นสัดส่วนในประเทศเท่านั้น แต่เป็นความเกื้อกว้าง ที่มีน้ำใจ คิดเห็นแก่คนทั้งชาติ ทั้งประเทศจริงๆ และไม่ใช่เพียงความรู้ว่า มันเป็นอุดมการณ์ ที่ดีอยู่แค่นั้น หรือไม่ใช่เพียงเป็น คารมโก้ๆ ลีลาเก๋ๆ ของคนหาเสียงให้แก่ตน เท่านั้นด้วย แต่ต้องเป็น "ความจริงของจิต ที่เกิดความรู้สึกรัก และปรารถนา ตามอุดมการณ์นี้แท้ๆ" ยิ่งมีน้ำหนัก หรือมีความเข้มข้น ของน้ำใจ และความเป็นไปได้จริง มากยิ่งเท่าใดๆ ก็ยิ่งประเสริฐสูงส่ง ยิ่งๆเท่านั้นๆ

ความรัก ระดับมิติที่ ๕ นี้ เรียกว่า"ชาตินิยม" หรือ "รัฐนิยม"

ด้วย สามัญสำนึก ความเข้าใจแค่นี้ ใครๆก็คงจะรู้กันได้อยู่แล้ว เพราะไม่ใช่ความลึกล้ำอะไรนักหนา แต่มันก็เป็น "ความจริง" ของคน ที่ "จิตจริง" อันจะพึง "เป็น" จริง กล่าวคือ สมรรถนะของใครจะมี "ประสิทธิภาพแห่งความรัก" กว้างเกื้อได้ มากน้อยแค่ใด ก็ย่อม "เป็น" ได้ตามสมรรถนะของผู้นั้นๆ ถ้าจะ เอาแค่ "ความคิดฝัน" ทุกคนที่มีปัญญาเข้าใจได้ ก็คิดได้ พูดได้ แต่ "ความจริงของความเป็นไปได้" ตามที่ตนคิดได้ ตนพูดได้นั้น มันเป็นจริงไปได้ ตามความคิด ตามคำพูดนั้นไหม?

"ความ รัก" ในที่นี้ต้องเป็น "ความจริง" โดยเฉพาะเป็น "ความจริง" ที่เกิดในจิตของคนผู้นั้นจริง ที่ต้องเป็น "ความรู้สึกในจิตของตนเอง เกิดอารมณ์นั้นๆแท้ๆ" ไม่ใช่แค่ "คิด" หรือแค่ "รู้"

ที่ เรากำลังเรียกว่า "ความรัก" นี้ มันต้องมีภาวะเป็น "อารมณ์ความรู้สึกเกิดขึ้นจริงในจิตของผู้นั้น" และ มีสมรรถนะถึงขั้น "เป็นไปได้" (possible) หรือ "สามารถทำได้" (practicable) จริง มิใช่แค่ "รู้" แค่ "พูด" แต่ปากอยู่เท่านั้นด้วย

เช่น "ความรัก" ของนาย ก. มี "ความจริงของความเป็นไปได้" แค่..มิติที่ ๔ "ชุมชนนิยม" หรือ "สังคมนิยม" เท่านั้น หรือบางทีอาจจะแย่กว่านั้นคือ มี "ความจริงของความเป็นไปได้" แค่..มิติที่ ๓ แค่นั้น ดีไม่ดีอาจจะแค่.. มิติที่ ๒ ด้วยซ้ำ ก็เป็นได้ แต่นาย ก. นึกว่าตนมีสมรรถนะ ถึงขั้นมิติที่ ๕ คุยฟุ้งตามที่ตนหลงว่าตนเป็น หาเสียงให้แก่ตนเองไปทั่ว ว่าตนมีความรักระดับ "ชาตินิยม" หรือ "รัฐนิยม" ซึ่งเป็นสมรรถนะที่กว้าง เผื่อแผ่ออกไปถึงขั้น "ความรักชาติรักประเทศ" ทีเดียว แต่ความเป็นจริงนั้นนาย ก. ทำได้ หรือเป็นได้แค่ "ความรัก" มิติที่ ๔ หรือ แค่ ๓ แค่ ๒ เท่านั้น ถ้าอย่างนี้ "ความรัก" ของนาย ก. ก็ยังไม่ใช่ระดับ "มิติ ที่ ๕" จริง "ความรัก" ของคนผู้นี้ ยังไม่ถึงขั้นมีความจริงเข้าข่าย ที่ชื่อว่า ผู้มีความรัก ระดับมิติที่ ๕ "ชาตินิยม" หรือ "รัฐนิยม" เพราะ "ความเป็นจริง" หรือ "ภาวสัจจะ" ยังไม่ถึงขีดถึงขั้น

ใครจะสามารถรู้ความจริง หรือรู้สัจจะของ "ความรัก" ได้ ถูกต้องถ่องแท้ ก็ยากอ ยู่ จะต้องศึกษาฝึกฝน จนรู้แจ้ง หยั่งถึงสัจธรรม ของความเป็น "คุณค่าประโยชน์" (อัตถะ) ทั้งในสภาพที่เป็น "ประโยชน์ตน" (อัตตัตถะ) "ประโยชน์ผู้อื่น" (ปรัตถะ) "ประโยชน์ ๒ ฝ่าย" (อุภยัตถะ) หรือ "ประโยชน์สามัญ ที่ต่างก็รู้ๆกันได้ ในระดับ ของโลกียะทั่วไป ที่เรียกว่าโลกนี้" (ทิฏฐธัมมิกัตถะ) และ "ประโยชน์ขั้นสูงขึ้น สู่โลกหน้า หรือโลกอื่น ซึ่งเป็นโลกที่ก้าวหน้าขึ้นไป ถึงระดับโลกุตระ" (สัมปรายิกัตถะ) ที่สำคัญก็คือ ประโยชน์ที่เป็นความเจริญถึงจิต ถึงเจตสิก อันเป็นขั้น "บรมประโยชน์ หรือประโยชน์ขั้นสูง ถึงความเป็นอาริยสัจธรรม" (ปรมัตถะ) โน่นแหละ จึงจะพอรู้ "ความจริงตามความเป็นความมีจริง" ดังที่ได้สาธยายมา

.....................................................
รูปภาพ
"จิตที่ให้ย่อมเป็นจิตที่ดี ... จิตที่มีแต่ประชดประชันนั้น ... หาควรแก่การอบอรมสั่งสอนธรรมผู้ใดไม่"
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ย. 2009, 16:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2009, 17:51
โพสต์: 189

แนวปฏิบัติ: ดูจิต
สิ่งที่ชื่นชอบ: วรรณกรรม
ชื่อเล่น: ป้าโคม่า
อายุ: 54

 ข้อมูลส่วนตัว




012-200233-3.jpg
012-200233-3.jpg [ 109.53 KiB | เปิดดู 5570 ครั้ง ]
ความรักมิติที่ ๔ ชุมชนนิยม

ความรัก มิติที่ ๔ นี้ เรียกว่า "ชุมชนนิยม" หรือ "สังคมนิยม"

ความรักที่เริ่มขยายออกสู่ผู้อื่น ที่นอกจากญาติ เป็นการขยายความรัก ที่อยู่แค่ในวงศาคณาญาติ ออกไปสู่ หมู่มิตรสหาย อันเป็นสังคมใกล้ชิด มิตรสหายที่กว้างขึ้น กว่าเพียงวงศ์ญาติเท่านั้น ออกไปได้อีก อาจจะแผ่ความรักความเกื้อกูล ออกไปแค่เพื่อนฝูงหมู่คณะ ยังไม่กว้างมากมาย ถึงระดับมีใจมุ่งหมาย เพื่อประชาชนทั้งชาติ ทั้งประเทศทีเดียว แต่ก็เป็นความเห็นแก่ผู้อื่น เผื่อแผ่กว้างเกื้อ กระจายออก จากขอบแคบ แค่วงศ์ญาติพี่น้อง สายโลหิตมากขึ้น แผ่ความรัก สู่มวลชนเพื่อนพ้อง กว้างขึ้น เป็นกลุ่มชุมชน เป็นตำบล อำเภอ จังหวัด เป็นความรักที่มีภาระมากขึ้น ก็ต้องนับว่า เป็นความรัก ที่มีคุณค่าสูงขึ้น เพราะความรักเช่นนี้ คือการลดความเห็นแก่ "ตัวเรา-ของเรา" ที่เป็นแค่ วงศาคณาญาติ ซึ่งยังแคบ ก็ขยายกว้างขึ้น ไปสู่มวลมนุษยชาติ เพิ่มขึ้นแล้ว จึงนับว่ามีคุณค่าเพิ่มขึ้นกว่า "ความรัก" มิติที่ ๓

ใครก็ตามที่เห็นแก่ความสุขของผู้อื่นที่กว้างขึ้น สามารถเสียสละเผื่อแผ่ หรือ ช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น ได้มากไปกว่า วงศาคณาญาติ แม้จะเป็นเพียงมิตรสหาย แวดล้อมก็ดี หรือผู้คนอื่นๆ ในแวดวงใกล้ๆ ก็ตาม ก็นับว่า มีความรักที่เจริญขึ้น เป็นความรักที่ดีงาม เป็นประโยชน์ใหญ่กว้างขึ้น มีค่าสูงขึ้น ตามความเอื้อเฟื้อ เกื้อกว้าง ที่กว้างขึ้นๆนั้นๆ จะแผ่ขยายออกไปจริง ยิ่งเผื่อแผ่กว้างเกื้อออกไป ได้มากขึ้นเท่าใด ก็ยิ่งเป็น "ความรัก" ที่มีคุณประโยชน์สูงค่ามากขึ้นเท่านั้น

.....................................................
รูปภาพ
"จิตที่ให้ย่อมเป็นจิตที่ดี ... จิตที่มีแต่ประชดประชันนั้น ... หาควรแก่การอบอรมสั่งสอนธรรมผู้ใดไม่"
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ย. 2009, 16:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2009, 17:51
โพสต์: 189

แนวปฏิบัติ: ดูจิต
สิ่งที่ชื่นชอบ: วรรณกรรม
ชื่อเล่น: ป้าโคม่า
อายุ: 54

 ข้อมูลส่วนตัว




012-200238-8.jpg
012-200238-8.jpg [ 82.53 KiB | เปิดดู 5574 ครั้ง ]
ความรัก มิติที่ ๓ นี้เรียกว่า "ญาตินิยม" หรือ "โคตรนิยม"

มิติที่ ๓ คือ ความรักที่แผ่ออกมาถึงญาติ ก็ กว้างขึ้นมาอีกนิด นอกจาก "พ่อ-แม่-ลูก" แล้ว ก็แผ่ความรักออกไป ละเอียดลึกซึ้งขึ้น กว้างขึ้น ถึงญาติวงศ์พงศา หากผู้ใดมีคุณลักษณะ ของความรักเกื้อกว้างออกมา เผื่อแผ่แก่ญาติ ยิ่งมากชั้น มากระดับ ออกไปเท่าใดๆจริง ก็ดีกว่าความรัก ๒ มิติต้น มากเท่านั้นๆ แต่ ก็ยังอยู่ในแวดวง ที่นับเนื่องเอาแค่ วงศาคณาญาติของตน ซึ่งเป็น การยึดติดหลงใหล ในเชื้อสาย เผ่าตระกูล หรือ รวมเอาผู้ที่เป็นพรรคเป็นพวก อันนับเนื่องเป็นคนสนิท ระดับ "คนใน" ด้วย

ใน ความเป็นคน มันน่าจะมีคุณค่ามีความสำคัญ ที่ควรเห็นแก่หรือควรเผื่อแผ่ กว้างเกื้อกันมากกว่า ที่จะยึดติดอยู่แค่ใน วงศาคณาญาติ และพรรคพวกที่สนิทเท่านั้น ไม่น่าจะหลงใหล ลำเอียง ให้ความสำคัญ กันอยู่แต่สายเลือด "คนใน" หนักข้อเกินไป จริงอยู่ตามความรู้กันสามัญทั่วไป ก็ต้องนับเนื่อง เป็นหน้าที่ควร เกื้อกูลช่วยเหลือเผื่อแผ่ ผู้ที่เป็นญาติก่อน ก็ถูกล่ะ "ญาตกานัญจ สังคโห" การเกื้อกูลช่วยเหลือสงเคราะห์ญาติ เป็นมงคลอันอุดม พระพุทธเจ้า ก็ตราไว้อยู่ชัดๆ ก็ต้องทำอยู่แล้ว ตามสมควรแน่นอน

แต่ ก็มีความสำคัญอื่นที่เป็นเงื่อนไขสมควรกว่า เข้าไปเป็นตัวแทรกอีกมาก ในสังคมแห่งความเป็น มนุษยชาติ ทั้งหลาย ซึ่งบางทีก็น่าจะเห็นแก่คนอื่น ที่ไม่ใช่ญาติก่อน เพราะสมควรกว่า มีประโยชน์สำคัญ อย่างมีเหตุมีผล มีหลักฐาน อันเหมาะยิ่ง จริงกว่า ไม่เช่นนั้น จะเกิดความเสียหาย ที่ส่งผลกระทบมากมาย คุณค่าประโยชน์ของ "ความรัก" ก็จะคับแคบ เพราะเห็นแต่แก่ "วงใน" เผ่าตระกูล พรรคพวกคนสนิทเกินไป

ดัง นั้น คนที่มีลักษณะของ "ความรัก" ที่มีน้ำหนัก มุ่งอยู่แต่ในวงญาติมิตร "คนใน" ดังกล่าว จึงเป็น "ความรัก" ที่มีคุณค่าประโยชน์ ซึ่งจะมากหรือจะน้อย ก็อยู่แต่เพียงในวงวนของ วงศาคณาญาติของตนๆ เท่านั้น ถึงแม้จะมีการเผื่อแผ่ เพื่อผู้อื่นอยู่บ้าง ก็ดังที่เคยกล่าวมาแล้ว ว่า เป็นธรรมดาที่ใครก็ตาม ก็ย่อมจะมีการเกื้อกูล เผื่อแผ่ คนทั่วไปใดอื่นอยู่บ้างแน่ แต่มันก็เป็น การกระทำ ที่ไม่ใช่ทำอย่างมีใจ ใสสะอาด บริสุทธิ์จริง หรือ ไม่มี ความปรารถนาดี เหมือนให้ลูก ให้ญาติ ให้คนสนิทเสียทีเดียว และไม่มีสัดส่วน ที่มากทั้งคุณภาพ และทั้งปริมาณ เพียงพอ อันจะจัดเข้าข่ายเป็นผู้มี "ความรัก" ถึงขั้น "มิติ" ที่สูงขึ้นจริงได้

คนที่มีลักษณะและพฤติกรรมเช่นดังกล่าวนี้ จึงจัดอยู่ในฐานะผู้มี "ความรัก" ที่กว้างเกื้ออยู่แต่ใน วงศาคณาญาติคนใน

.....................................................
รูปภาพ
"จิตที่ให้ย่อมเป็นจิตที่ดี ... จิตที่มีแต่ประชดประชันนั้น ... หาควรแก่การอบอรมสั่งสอนธรรมผู้ใดไม่"
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ย. 2009, 16:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2009, 17:51
โพสต์: 189

แนวปฏิบัติ: ดูจิต
สิ่งที่ชื่นชอบ: วรรณกรรม
ชื่อเล่น: ป้าโคม่า
อายุ: 54

 ข้อมูลส่วนตัว




012-200239-9.jpg
012-200239-9.jpg [ 81.35 KiB | เปิดดู 5589 ครั้ง ]
ความรัก มิติที่ ๒ คือ "พันธุนิยม" หรือ "ปิตุปุตตานิยม"

มิติที่ ๒คือ ความรักระหว่างสายโลหิต หรือพ่อ-แม่-ลูก
ขยายขอบเขตของความรักกว้างขึ้นมาอีกนิด แต่ก็ยังแคบมาก มีขอบเขตอยู่แค่ แวดวงสายเลือดชั้นแรก ชั้นเดียวเท่านั้น ความรัก ที่ยังไม่แผ่กว้างออกไปมากกว่านี้ จึงเป็นความรัก ที่ยังอยู่ในแวดวง ที่วนแคบ ไม่เป็นประโยชน์กว้าง เกื้อออกไปสักเท่าใด นัยเดียวกัน ถ้ารักอย่างหลงเฉพาะ แวดวง พ่อแม่ลูกนี้ ยิ่งหนักยิ่งมากเท่าใด ก็จะหวงแหน ตระหนี่ถี่เหนียว เพื่อแวดวงแคบๆ แค่นี้ไป ตลอดชีวิต จะเผื่อแผ่ออกไป แก่ผู้อื่น หรือ วงนอกได้ยาก อะไรๆก็จะลำเอียง เพื่อแวดวงเท่านี้ ก่อนอื่นเสมอ จะสะสมทุกสิ่งทุกอย่าง ไว้ให้แก่คนในวงวนของ "พ่อ-แม่-ลูก" เท่านี้แหละ เป็นอุดมการณ์อันเอก

"ความ รัก" คือ ความเผื่อแผ่ แต่สำหรับความเผื่อแผ่ของคนที่มีความรักมิติที่ ๒ นี้ ไม่ว่าจะเผื่อแผ่แก่ผู้อื่น แก่ใครๆ แม้แต่ญาติ ที่นอกไปจากวงวนของ "พ่อ-แม่-ลูก" แล้ว จะยังฝืนใจอยู่ไม่มากก็น้อย จิตใจจะยังไม่ว่าง สะอาด ปราศจากธุลี แห่งความตระหนี่ ไปได้ง่ายๆ ถ้าจะให้จะสละแก่ผู้นอกวงวนของ "พ่อ-แม่-ลูก" ก็เพราะจำนน ไม่เช่นนั้น ก็เพื่อที่จะได้ ผลข้างเคียง ตอบแทนอยู่ ไม่มากก็น้อยเสมอ ถึงแม้จะมีบางครั้งบางเรื่อง ที่ได้เผื่อแผ่ หรือเสียสละ อย่างสะอาด ปราศจากธุลีแห่งความตระหนี่ แก่ผู้เป็นคนนอกวงวนของ "พ่อ-แม่-ลูก" อยู่บ้าง ก็อาจจะมีได้บ้างเป็นแน่ แต่ก็สะอาด หมดจดยาก หรือทำได้น้อยครั้ง น้อยเรื่องเต็มที ฉะนี้แลคือ คนที่มี "ความรัก" อยู่ใน มิติที่ ๒

ดัง นั้น "ความจริง" ในคนที่มีความรัก มิติที่ ๒ นี้ จะพึง "ไม่เห็นแก่ตัว" ซึ่งเป็น "ความรัก "ที่แท้ ก็จะไม่เห็นแก่ตัวหรือเสีย สละ ให้ได้อย่างไร้ธุลี แห่งความตระหนี่ ก็เฉพาะในวงวน ระหว่าง "พ่อ-แม่-ลูก" กันอยู่แคบๆเท่านี้ ไม่ว่าจะเสียสละวัตถุธรรม หรือนามธรรม ก็จะมีความเผื่อแผ่ หรือเสียสละ แก่กันและกันได้ สะอาดหมดจดจริง เฉพาะในวงวนระหว่าง "พ่อ-แม่-ลูก" กันอยู่ แคบๆเท่านี้ เท่านั้น กระนั้นก็ดี แม้ระหว่าง "พ่อ-แม่-ลูก" นี้ ก็เถอะ ก็ยังมีความตระหนี่ มีความหวงแหน แทรกปนอยู่บ้าง ในบางอารมณ์ บางเรื่องบางราว บางครั้งบางคราว

แต่ ถึงอย่างไร การเผื่อแผ่ การเสียสละของคนก็ย่อมมีแก่ผู้อื่น อันนอกเหนือจากวงวนของ "พ่อ-แม่-ลูก" นี้อยู่บ้าง ทว่า "การให้หรือการเสียสละ" ส่วนมากของคนที่อยู่ในฐานะ ผู้ที่ชื่อว่ามี "ความรัก มิติที่ ๒" นี้ ก็จะยังไม่บริสุทธิ์ สะอาด เหมือนการเสียสละ แก่กันและกันของ "พ่อ-แม่-ลูก" ได้ง่ายนักหรอก หรือ จะบริสุทธิ์บางครั้งบางคราว ก็ในกรณี ที่พิเศษจริงๆ น้อยครั้งน้อยราย ซึ่งไม่มากพอ ที่จะทำให้ผู้อยู่ในฐานะคนที่ชื่อว่ามี "ความรัก" แค่ "มิติที่ ๒" นี้ เลื่อนฐานะขึ้นไปสู่ ฐานะที่มีคุณค่า สูงขึ้นอีกขั้น

คง จะไม่สับสนนะว่า "การเห็นแก่ตัว" นั้นไม่ใช่ "ความรัก" "การเผื่อแผ่-การเสียสละ-การมีคุณค่าเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น" ต่างหาก คือ "ความรัก" เพราะฉะนั้น "การเผื่อแผ่-การเสียสละ-การมีคุณค่าเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น" ที่มีลักษณะแคบๆ วนอยู่แค่ "พ่อ-แม่-ลูก" เท่านี้ จึงเป็น "ความรัก" มิติที่ ๒ ซึ่งมีลักษณะ กว้างเกื้อขึ้นมาจาก "ความรัก" แค่วงวนของ "คนคู่" หรือ "คน ๒ คน" เพิ่มมามีแก่ลูก ก็เกื้อกว้างขึ้นอีกนิด สูงกว่า "ความรัก มิติที่ ๑"

ถึง อย่างนั้น มิติที่ ๒ นี้ก็ยังเป็นความรักขั้นที่ยังไม่สูงเลย เพราะเป็นความรักที่ยื่นยาวออกไปแค่ "พ่อ-แม่-ลูก" ซึ่งมีประโยชน์ต่อผู้อื่น น้อยนิดอยู่นั่นเอง เป็นความรัก ที่จำกัดวงรักแคบอยู่แค่ สายเลือดชั้นเดียว หรือ เห็นแก่ผู้อื่น อยู่ในวงแคบแค่ "พ่อ-แม่-ลูก" เพียงเท่านี้ ความรักมิติที่ ๒ นี้ แม้จะเริ่มดีขึ้น แต่จัดเป็นความรัก ที่แผ่ออกไปเห็นแก่ผู้อื่น ยังไม่ถึงไหนเลย

แม้ จะเผื่อแผ่แก่กันและกันในวงวนแห่งความเห็นแก่ คนนั้นคนนี้ ระหว่าง "พ่อ-แม่-ลูก" นี้ก็เถอะ ก็ยังมีความซับซ้อน ของความลำเอียงกันไปมา อีกนักกว่านัก เพราะกิเลสในแต่ละคน

.....................................................
รูปภาพ
"จิตที่ให้ย่อมเป็นจิตที่ดี ... จิตที่มีแต่ประชดประชันนั้น ... หาควรแก่การอบอรมสั่งสอนธรรมผู้ใดไม่"
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ย. 2009, 16:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2009, 17:51
โพสต์: 189

แนวปฏิบัติ: ดูจิต
สิ่งที่ชื่นชอบ: วรรณกรรม
ชื่อเล่น: ป้าโคม่า
อายุ: 54

 ข้อมูลส่วนตัว




012-200244-6.jpg
012-200244-6.jpg [ 131.58 KiB | เปิดดู 5606 ครั้ง ]
ความรัก มิติที่ ๑ กามนิยม

" ความรัก มิติที่ ๑ นี้ จึงเรียกว่า "กามนิยม" หรือ "เมถุนนิยม"

มิติที่ ๑ คือ ความ รักที่เป็นเรื่องของความใคร่ เรื่องของ กาม เรื่องของการสมสู่ของผู้หญิงผู้ชาย เรื่องของคน ๒ คน หาก จะเห็นแก่กันและกันก็แค่อยู่ในวงวนของ"คนคู่"หรือคน ๒ คน ซึ่ง เป็นความรักที่เผื่อแผ่แก่กัน อยู่แค่คน ๒ คน ความรักมิตินี้ ถ้ายิ่งรักมาก ติดใจในรสกามของคู่ตน สุขสมในรสใคร่ มากเท่าใดๆ ก็ยิ่งแคบมากเข้าๆ เท่านั้นๆ มันเป็นวงแคบ ที่เห็นแก่ แค่คู่รัก คู่ใคร่ ของตนเท่านั้น ถ้าแม้นติดมากยึดมาก ดูดดึงมาก ก็ยิ่งหวงแหนมาก ผูกมัด รัดรึง ตรึงใจ เป็นอุปาทานแน่นขึ้นๆ และหากยิ่งมีแต่ความใคร่มากขึ้นๆ ก็ยิ่งจะมืดซ้ำ ดำฤษณา เป็น ความหลงใหล คลั่งไคล้ และหึงจัด รัดรอบรุนแรง ไม่มีคนอื่น แทรกเข้าได้เลย มีอะไรก็ทุ่มโถมให้ แต่แก่เธอ แก่ความรักที่หลงติด ผูกแน่นนี้เท่านั้น หนักเข้าๆ จะเห็นแต่แก่ตัว โดยอาศัยคู่ที่ตน รักสุดนั่นแหละ เป็นเครื่องมือ หรือ เป็นองค์ประกอบ ในการเสพสม สุขสม ให้แก่ตน ยิ่งหลงในรสสุขนั้น มากเท่าใด ก็ยิ่งยึด เป็นของตัวของตนสนิทเนียนเข้าเป็นตน กระทั่งถึงขั้น ใครมอง ใครแตะต้องไม่ได้ จะหึงแรงจนถึงขั้น ทำร้ายคนที่มากล้ำกรายได้ ถึงขั้นเอาตายกันทีเดียว

อารมณ์ ชนิดนี้ คือ ความเห็นแก่ตัวแท้ๆ คือ ความโลภเพื่อตัวเพื่อตนเต็มๆ คือ กามราคะสมบูรณ์แบบ หากจะ เรียกว่า "ความรัก" ก็เป็นความรักที่ต้องการ มาบำเรอตนนั่นเอง

การบำเรอตนเอง ไม่ใช่ "ความรัก" การได้มาสมใคร่ สมอยากแก่ตน เป็น "ความเห็นแก่ตัว"

ใคร ถ้าแม้นถึงขั้นปฏิบัติต่อคู่ของตนเยี่ยงทาสหรือเยี่ยง วัตถุบำบัดความใคร่ ไม่มีใจเผื่อแผ่เกื้อกูล ปรารถนาดีต่อคู่ ของตน แม้ด้านกายภาพ จะจ่ายวัตถุเข้าของเงินทอง ทรัพย์ศฤงคาร ให้ด้วยอากัปกิริยา ที่ดูเหมือนมีน้ำใจ เอื้อเอ็นดู เสียสละ ปานใดๆ ก็ตาม ก็เป็นเพียงค่าจ้าง ทุกอย่างเพื่อ "ตัวเอง" แท้ๆ คนผู้นี้ยังไม่ชื่อว่า "มีความรัก" เป็นแค่ผู้ "ให้" หรือผู้ "จ่าย" ค่าจ้าง เพื่อ บำเรอความใคร่ของตน

จน กว่าคนผู้นี้ จะมี "การเผื่อแผ่การเสียสละ" ให้แก่ "คู่" ของตน อย่างบริสุทธิ์ใจไม่ว่าจะ "ให้" วัตถุธรรมให้รูปธรรม หรือ ให้นามธรรม ถ้าให้มาก ใจสะอาดมากก็ "รัก" มาก ให้น้อย ใจสะอาดน้อยก็ "รัก" น้อย เพราะการ "ให้" หรือ "สละ" ที่ออกไปจาก "ความรัก" เกิดจาก "ความรัก" นั้น จะมิใช่เพื่อแลกอะไร อย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ เป็นอันขาด

"ความรัก" ไม่ใช่ "ความโลภ" หรือ "การแลกเปลี่ยน" มาให้ตน

หาก ยังมีความโลภใดๆที่เหลือเป็นเศษเป็นส่วน อันต้องการแลกเปลี่ยนกับสิ่งที่ตน "ให้" หรือตน "สละ" อยู่เท่าใดๆ ก็ลด "ค่า ของความรัก" ลงตามจริงเท่านั้นๆ ยิ่งเป็นการ "ให้" หรือ "สละ" เพื่อแลกเอามา "เป็นของตนคนเดียว" หรือ "เป็นทาสผู้ซื่อสัตย์ ต่อตน" ที่ตนจะได้ทาสนั้น ไว้บำเรอประโยชน์ แก่ตนแต่เพียงผู้เดียว ก็ยิ่งมิใช่ "การให้-การสละ" เลย แต่เป็น "การซื้อ" แท้ๆตรงๆ ป่วยการกล่าวถึงคำว่า "ความรัก"

ยิ่ง ชอบมาก ติดใจมากในรสกามของคู่ตน สุขสมใน รสใคร่มาก ที่เห็นคู่เสพของตน เจ็บปวดทุกข์ทรมาน ตนยิ่ง สุขสะใจ (sadist) นั่นยิ่งไม่ใช่ "ความรัก" แต่นั่นคือ การสุขสมอารมณ์ ที่ตนชอบความรุนแรงโหดร้าย ซึ่งฝังอยู่ส่วนลึก ในก้นบึ้ง ของจิตตนเอง เป็น "สัญชาตญาณหรืออนุสัย" (unconscious) ที่เจ้าตัวไม่สามารถ หยั่งลงไปล่วงรู้ ความจริงของ "จิตวิปริต" เหล่านี้ได้ เพราะมันเป็น "จิตไร้สำนึก" (unconscious) ที่เกิดจากตนเคย ยินดีในความรุนแรง และได้สะสม ความรุนแรง ใส่จิตตนมานาน

เช่น ชอบดูการแข่งขันที่เอาชนะคะคานกันอย่างถึงพริก ถึงขิง หรือชอบดูการต่อสู้ที่ฟาดฟันห้ำหั่นกัน ดูการทำร้าย เข่นฆ่า ยิ่งต่อสู้กันรุนแรง โหดเหี้ยมเท่าไหร่ ก็ยิ่งชอบ กระทั่งรุนแรงสูงขึ้น หยาบขึ้นๆ เป็นคนชอบความโหดร้าย จึงกลายเป็น "คนชอบในความรุนแรง ทุกข์ทรมาน เหี้ยมโหด ฝังลึกอยู่ในจิตไร้สำนึก" (sadist)

จิต ที่ได้สั่งสม "ความชอบ หรือ รักรสชาติของความอำมหิต" เช่นนี้ เมื่อมาแสดงออกกับใคร ย่อมมิใช่ "ความรัก" แม้จะมี "การให้ การสละวัตถุธรรมรูปธรรมนามธรรม" กับคู่รักของตน มากเท่าใดๆ ก็ยังมิใช่ "ความรัก" แต่เป็นเพียง "สิ่งแลกเปลี่ยน" เพื่อให้ได้มาซึ่ง "ความอำมหิต" หรือ "ความวิปริต" ที่ฝังลึกอยู่ใน "จิตไร้สำนึก" ของตนโดยแท้

ถ้า "จิตวิปริต" ในความอำมหิตได้สั่งสมใส่จิตร้ายหนัก ยิ่งๆขึ้นไปกว่านี้ ก็ก้าวถึงขั้น "ตนสุขสะใจ เมื่อตนได้เจ็บเสียเอง ปวดเสียเอง ทุกข์เอง ทรมานเอง" (masochist) ไม่ว่าตนทำตนเอง หรือใครจะเป็นผู้กระทำให้ ก็สุขสะใจได้ทั้งนั้น เพียงแต่ว่า คนผู้อำมหิตถึงขั้น "ตนเองทำตนเอง" จึงจะสุขสะใจ นั้นแหละคือ ผู้ มีจิตรุนแรงร้ายยิ่งกว่า ผู้ที่ "คนอื่นทำให้ตนเจ็บ" แล้วก็สุขสะใจ

ความรักมิติที่ ๑ นี้ เป็นความรักแบบเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าเพศตรงกันข้าม หรือวิตถารเพศเดียวกันเป็นความรัก ที่เห็นแก่กันและกันอยู่ แค่ฉันกับเธอเท่านั้น หรือเห็นแก่ผู้อื่น ก็แผ่ออกไปแค่คนๆเดียว วงรักจึงแคบอยู่แค่คน ๒ คน คือ ให้แก่กัน และกันก็แค่ ๒ คน ซึ่งถ้าจัดจ้าน ก็มีอารมณ์หึงหวง แก่งแย่ง รุนแรง ถึงขั้นฆ่ากัน ฆ่าตนเองสังเวยชีวิต เซ่น บูชารัก ก็เป็นได้

ขึ้น ชื่อว่า "กาม" มีแต่ความขาดทุน เพราะได้เสพอารมณ์กามสุขนิดหน่อย แต่ทุกข์ยากมากหลาย ทำลายก็หนักหนา เปลืองชีวิต เปลืองใจ เปลืองเวลา เปลืองแรงกาย เปลืองแรงสมอง เปลืองทุนรอน วัตถุทรัพย์สิน เป็นความผลาญพร่า เสียหายที่สุดในโลก ความรักมิติที่ ๑ นี้ จึงต่ำต้อย ด้อยค่าที่สุด นับว่าไร้คุณประโยชน์ ยิ่งกว่าความรักชนิดใดๆ

อารมณ์ "กามสุข" ก็เป็นแค่ "รสอร่อยที่หลงติด" (อัสสาทะ) ซึ่งเป็นเพียง "อารมณ์หลอกๆ,ไม่จริง" (อลิกะ) เพราะแท้ๆ มันเป็น "ความยึดมั่นถือมั่น" (อุปาทาน) ที่คนสามารถจะเลิก จะศึกษาปฏิบัติ ละล้าง จนหมดเกลี้ยง ไปจากจิต ของผู้หลงติด หลงยึด ให้สำเร็จ เด็ดขาดสัมบูรณ์ (absolute) ได้จริง อันเป็นเรื่อง "เหนือธรรมชาติ- เหนือความวนเวียน" (โลกุตระ) หรือเป็นเรื่อง "ล้างสัญชาตญาณ การสืบพันธุ์แห่งสัตวโลก" (โลกุตระ) กันทีเดียว เรื่องนี้ก็คงยาก ที่จะเชื่อกัน แต่ขอยืนยันว่า "เป็นไปได้" (possible) หรือ "สามารถ ทำได้" (practicable) จริงแน่แท้ ศาสนาพุทธขอท้าทายให้มา พิสูจน์ (เอหิปัสสิโก)

สรุป แล้ว "ความรัก" มิติที่ ๑ นี้ หากใครจะหมายเอาว่าเป็น "ความเห็นแก่ตัว" ก็ช่างเห็นแท้ดูจริงมากยิ่งเหลือเกิน เพราะ กิเลสพาให้เกิด สภาพเช่นนั้นจริง จนทำให้คนมากหลาย เข้าใจผิด ว่าน่าจะเป็นอย่างนั้นได้ แต่ถ้าหากหมายเอาว่าเป็น "ความเผื่อ แผ่-เสียสละ" ก็เป็นแค่ "ให้" เพื่อแลกกับที่ตนจะได้เสพ "รสอร่อยที่ใคร่อยาก" (อัสสาทะ) เป็นการเกื้อกูล วนแคบอยู่แค่กับคนๆเดียว หรือเกื้อกูลแก่กันและกันอยู่แค่ "คน ๒ คน"

หาก ใครยังกำจัดกิเลสของตนให้ลด "ความเห็นแก่ตัว" ที่เผื่อแผ่แก่กันและกันอยู่แค่คน ๒ คนนี้ ไม่ได้ เมื่อได้ก่อกรรม ผูกเวรขึ้น มีคู่จนเป็นภาระแท้จริงเสียแล้ว ก็ควรจะต้องเมตตา หรือปรารถนาดี แก่คู่ของตนบ้าง ควรจะต้อง พากเพียร แบ่งใจ แบ่งพลังงาน แบ่งเวลา แบ่งทุนรอน เอื้อเฟื้อ เกื้อกูล เสียสละให้คู่ ของตน ควรจะต้องรับผิดชอบ ตามหน้าที่ อันสมควร มิเช่นนั้น ก็จะได้ชื่อว่า ยิ่งต่ำเพราะเลวซ้ำเลวซ้อน

แต่ นั่นแหละ อย่างไรมันก็เป็นความแคบ "ความรัก" อื่น ที่ประเสริฐกว่านี้ ยังมีอีกมาก ควรศึกษาเสริมสร้างความรัก ที่เป็นคุณค่าประโยชน์ เกื้อกูลต่อผู้อื่น พลังงานและเวลา แม้แต่ ทุนรอน ทรัพย์วัตถุ โดยเฉพาะจิตใจ ซึ่งคนอื่นๆ อีกมากหลาย ในโลกที่ควรได้ประโยชน์

"ความ รัก" ไม่ใช่เรื่องแค่ "คน ๒ คน" เท่านั้นแน่ๆ ที่เราจะเกื้อกูลแบ่งใจแบ่งชีวิต แบ่งพลังงาน แบ่งเวลา แบ่งทุนรอน เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ หรือเสียสละให้ เพราะผู้อื่นมีอีกมากมายในโลก ที่เราจะ เอื้อมเอื้อ เกื้อกว้าง ออกไป จากตัวจากตน ที่เป็นวงแคบเพียง ๒ คน หากได้ศึกษาพุทธธรรม ถึงขั้นโลกุตระ ประพฤติตน ให้บรรลุ มรรคผลดีขึ้นสูงขึ้น ลดกามลดกิเลส ที่ทำให้เห็นแก่ตัวอยู่ ออกไปได้อีก มากเท่าใดๆ "ความรัก" ก็จะเป็น "ความเกื้อกูลเสียสละ" ที่เจริญงอกงาม ไปสู่ความประเสริฐ ยิ่งๆขึ้น เท่านั้นๆ

หาก ใครสามารถลดความสูญเสียพลังงาน ทั้งพลังกาย พลังใจ ลดความสูญเสียเวลา ลดความสูญเสีย ทุนรอน เพื่อความรัก มิติที่ ๑ นี้ลงได้มากเท่าใดๆ หรือที่สุด ไม่ต้องสูญเสียอะไร เพื่อความรักมิตินี้เลย ก็นั่นแหละคือ ความหลุดพ้นจาก "ความรัก มิติที่ ๑" นี้สำเร็จ

.....................................................
รูปภาพ
"จิตที่ให้ย่อมเป็นจิตที่ดี ... จิตที่มีแต่ประชดประชันนั้น ... หาควรแก่การอบอรมสั่งสอนธรรมผู้ใดไม่"
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ย. 2009, 16:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2009, 17:51
โพสต์: 189

แนวปฏิบัติ: ดูจิต
สิ่งที่ชื่นชอบ: วรรณกรรม
ชื่อเล่น: ป้าโคม่า
อายุ: 54

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

ความรัก ๑๐ มิติ
(ฉบับเขียนใหม่)สมณะโพธิรักษ์

"ความ รัก ๑๐ มิติ" ตั้งใจเขียนขึ้นมาโดยตรง ย่อมจะมีเนื้อความ ที่ทำความระคายเคือง ให้แก่ท่านผู้อ่านไปบ้าง ก็ต้องขออภัยอย่างยิ่ง
"ความรัก" เพื่อมวลมนุษยชาติ เท่าที่สื่อความจริง จากใจออกมาได้ บ่งบอกความหมายของ "ความรัก"นี้ สำคัญมาก เป็นทั้งประโยชน์และโทษอย่างยิ่งด้วย สำหรับความเป็นมนุษย์ หากไม่รู้แจ้งอย่างดีใน "สารสัจจะแห่งความรัก" หรือไม่รู้เนื้อแท้ ของความรัก อย่างเป็นสัจจะแล้ว แน่นอน "ความรัก" มันก็เป็นตัวร้าย ที่ทำลายมนุษย์ บงการสังคม ให้ทุกข์ร้อน เลวระห่ำ ได้ทุกรูปแบบ แต่ถึงอย่างไร ก็ทันสมัยอยู่ตลอดกาล ไม่มีวันสายเกินไปแน่ๆ สำหรับเรื่อง "ความรัก"...!!!!

.....................................................
รูปภาพ
"จิตที่ให้ย่อมเป็นจิตที่ดี ... จิตที่มีแต่ประชดประชันนั้น ... หาควรแก่การอบอรมสั่งสอนธรรมผู้ใดไม่"


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 30 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 73 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron