วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 12:18  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 68 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ค. 2010, 06:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 02:41
โพสต์: 5636

แนวปฏิบัติ: พอง ยุบ
ชื่อเล่น: เจ
อายุ: 0
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว www


พงพัน เขียน:
taktay เขียน:
วันนี้งอแงค่ะ...เลยไม่มีบันทึก
แต่ขณะทำงาน....ขณะเคลื่อนไหวตัวเอง
ก็พยายามพิจารณา กาย...เวทนา
สัญญา ฯลฯ....เป็นไปอย่างลางเลือน
และเบาบางค่ะ..... :b8:


อนุโมทนาสาธุกับคุณทักทายและผู้ที่พิจารณาขันธ์๕(กายใจ)สู่ความเป็นไตรลักษณ์เสมอๆนะครับ

อาการงอแงนี้มันเป็นอย่างไรหรือครับคุณทักทาย


คืออาการอิดๆออดๆ หาเหตุที่จะไม่ยอมเข้าปฏิบัติค่ะ

อ้างคำพูด:
ไม่ว่าวันที่งอแงหรือไม่งอแงขันธ์๕นี้ก็ไม่ได้หยุดทำงานหรอกครับ
เพียงแต่ตัวสติที่เราใช้เข้าไปพิจารณามันเดี๋ยวหยุดบ้างเดี๋ยวทำงานบ้าง แปรปรวน เกิดดับอยู่เสมอ
เห็นความเปลี่ยนแปลงตรงนี้ด้วยก็จะดีครับ


รับทราบค่ะ

อ้างคำพูด:
สติเบาก็พิจารณาได้ สติมีกำลังก็พิจารณาได้ ไม่มีสติก็สามารถพิจารณาความไม่มีสตินั้นได้เมื่อสติเกิดขึ้น
ที่ว่าลางเลือนและเบาบางทราบไหมล่ะครับว่าใครลางเลือนใครเบาบาง
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ของเรานี้มันเป็นอย่างไร
ส่วนใดมันมีอาการเป็นอย่างไร มันเป็นไตรลักษณ์หรือไม่ ก็พิจารณาไปเหมือนเดิมครับ

เมื่อใดที่กำลังของสติเกิดเต็มที่ก็เดินเครื่องพิจารณาเต็มกำลังครับ


ขณะที่ร่างกายทำงาน เคลื่อนไหว...รู้อย่างลางๆเลือน...ทั้งๆที่ลืมตาอยู่
จะพยายายามต่อไปนะค่ะ.....ยังไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่?...

อนุโมทนาค่ะ :b8:

.....................................................
"มิควรหวังร่มเงาจากก้อนเมฆ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ค. 2010, 16:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ย. 2009, 16:20
โพสต์: 537

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


taktay เขียน:

ขณะที่ร่างกายทำงาน เคลื่อนไหว...รู้อย่างลางๆเลือน...ทั้งๆที่ลืมตาอยู่
จะพยายายามต่อไปนะค่ะ.....ยังไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่?...

อนุโมทนาค่ะ :b8:


อนุโมทนาสาธุครับ :b8:
รู้อย่างลางเลือน ก็ดีกว่าไม่รู้เลย
ไม่ค่อยเข้าใจ ก็ดีกว่าไม่เข้าใจเลย

รู้ชัด รู้อย่างลางเลือนหรือไม่รู้เลย ก็ตกอยู่ในสภาวะที่ไม่เที่ยงไม่แท้ ไม่ใช่เราเหมือนกัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ค. 2010, 23:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 เม.ย. 2010, 15:07
โพสต์: 313

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมฆา เขียน:
ยุคนี้.......สร้างได้.....แต่คงได้แค่คนกลุ่มเดียวที่มีบารมีทางธรรมเท่านั้น
คนมีบุญในยุคนี้เท่านั้นซึ่งเป็นส่วนน้อย.....ถึงจะเข้ามาในเส้นทางวิปัสสนาได้

ยุคนี้คือ......กลียุค
มีแต่คนใจร้ายมาเกิด


แต่ต้องรอในยุคหน้า
ที่คนทุกคนสามารถวิปัสสนาเป็น
คือยุค......ศาสนาพระศรีอาริย์.......พระพุทธเจ้าองค์ต่อไป
คนยุคนั้น........อายุยืนถึง 80000 ปี
เป็นคนที่มีจิตใจสูงส่ง
เป็นสังคมยูโธเปีย......อุดมสมบูรณ์ไปเสียทุกอย่าง


บุญของเมตไตรโย
พระพุทธองค์ต่อไป............


smiley smiley smiley smiley smiley smiley smiley

อิอิ

คนใจร้าย ในยุคนี้

เดินทางต่อไป เป็นคนใจดี ในยุคหน้า

"สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม"

ต้องรอต่อไป

กรรมของเมตไตรโย........


อนุโมทนาสาธุจ้า
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ค. 2010, 16:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ย. 2009, 16:20
โพสต์: 537

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มาพิจารณากันครับ ในความเป็นทุกข์ ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน ของขันธ์๕
โดยเน้นที่กายอันมีธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นส่วนประกอบ


คนเรามันก็หลงอยู่แค่นี้แหละ
หลงร่างกาย หลงธาตุ 4 หลงขันธ์ 5 กันอยู่นี่แหละ
พื้นฐานของการพิจารณาจึงมีอยู่เท่านี้แหละ
ถ้าไม่พูดเรื่องนี้ก็ไม่เห็นธรรม
บางคนรู้จักแต่ก็ไม่เข้าใจถึงความละเอียดของมัน
เราต้องพิจารณาความจริงในกาย เน้นกายเป็นหลัก
รูปก็อยู่ในกายของเรานี่แหละ
เวทนาก็อยู่ในกายของเรานี่แหละ
สัญญาก็อยู่ในกายของเรานี่แหละ
สังขารการปรุงการแต่งต่างๆก็กายของเรานี่แหละผู้ปรุงแต่ง
วิญญาณทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็อยู่ในกายของเราทั้งนั้น

ถ้าพูดถึงความเป็นจริง ก่อนเราเกิดก็ไม่มีเรามาก่อน
หาความเป็นเราไม่เจอ พอเกิดขึ้นมาตั้งอยู่ชั่วขณะนึง
แล้วก็ต้องตายไปในที่สุด
เมื่อเกิดมาแล้วเรามี ดิน น้ำ ลม ไฟ มาประกอบกัน
แล้วก็มีเวทนาความสุข ความทุกข์ ความนิ่งเฉย
อยู่ที่ดิน น้ำ ลม ไฟ ก้อนนั้นนั่นแหละ
สัญญาความจำก็ไปเกิดกับดิน น้ำ ลม ไฟ ก้อนนั้นแหละ
ความคิดปรุงแต่งก็ไปเกิดกับก้อนดิน น้ำ ลมไฟ นั่นแหละ
วิญญาณทั้งหลายคือตัวรับรู้รับทราบก็ไปเกิดกับดิน น้ำ ลม ไฟ ก้อนนั้นนั่นแหละ

เมื่อดิน น้ำ ลม ไฟ นั่นแตกสลายคือความตายเกิดขึ้น
ตัวเวทนาคือความสุข ความทุกข์ ความนิ่งเฉย ก็ดับ
ตัวสัญญาความจำก็ดับ
ตัวสังขารปรุงแต่งก็ดับ
ตัววิญญาณรับรู้รับทราบก็ดับ
ในเมื่อมันดับหมดแล้ว
มันมี “เรา” อยู่ตรงไหน หาเราตรงไหนมี
ตรงไหนที่ว่าเป็นเรา

แต่เราก็ไปหลงว่าเราเป็นผู้ใช้ เป็นผู้อาศัยอยู่
จริงๆแล้วทุกอย่างมันก็มีจริง เราอาศัยอยู่จริง
แต่มันเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง แปรปรวณตลอดเวลา
และในขณะที่อยู่ก็เป็นทุกข์ด้วย
ความเป็นทุกข์นี้สุดท้ายก็ต้องสลายหายไปในที่สุด
จึงเหลือแต่ความเป็นอนัตตาไว้ไม่มีอะไรเหลือ

เราหลงในความไม่เที่ยง หลงในความเป็นทุกข์
หลงในความไม่ใช่ตัวตน เพราะเราหลงตัวนี้แหละ
จึงต้องพาเวียนว่ายตายเกิดอยู่เรื่อยไป
เพราะเราหลงขันธ์ 5 นี่แหละ
เกิดก็เพราะขันธ์ 5 จะไม่เกิดก็เพราะขันธ์ 5 นี่แหละ
ขันธ์ 5 คือกายและใจเรานี้จึงเป็นของไม่เที่ยง ให้พิจารณากัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ค. 2010, 23:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ย. 2009, 16:20
โพสต์: 537

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มาดูความสำคัญของการพิจารณาขันธ์๕ กันครับ

อ้างคำพูด:
ธรรมเทศนาโดยท่านพุทธทาส ภิกขุ

เราจำเป็นจะต้องศึกษาเรื่องเบญจขันธ์ ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งความหลงว่าเป็นตัวเป็นตนนี้ให้ละเอียด
คำสอนประเภทนี้เรียกกันว่า พหุลานุสาสนี
พหุล แปลว่ามาก อนุสาสนี แปลว่าคำสอน
พหุลานุสาสนี จึงแปลว่า คำสอนที่สอนมากที่สุด
คือพระพุทธเจ้าทรงสอนเรื่องนี้มากเป็นพิเศษกว่าเรื่องทั้งหลาย
เป็นใจความสรุปได้สั้นๆ ว่าเบญจขันธ์เป็นอนัตตา และถือว่าเป็นคำสอนที่เป็นตัวพระพุทธศาสนา
เพราะฉนั้น อาตมาจึงชักชวน รบเร้าท่านทั้งหลายให้เกิดความสนใจในเรื่องส่วน ๕ ส่วนนี้
หรือเรื่องเบญจขันธ์นี้ และอย่าถือว่าเป็นเรื่องที่น่าล้อเลียน ถึงกับนำมาล้อกันเล่น


เรื่องนี้เป็นใจความสำคัญของพระพุทธศาสนา
ทั้งที่จะมองกันในแง่ปรัชญาหรือจะมองกันในแง่วิทยาศาสตร์หรือจะมองกันในฐานะเป็นศาสนาก็ตามที เป็นตัวเรื่องสำคัญ ที่ถ้ารู้จักตามที่เป็นจริง อุปาทานก็สลายไป ตัณหาทุกชนิดไม่มีทางเกิด
ความทุกข์ก็ไม่มีเพราะเหตุนี้

อาตมาขอบรรยายแนว หรือลำดับของการรู้แจ้งเห็นจริงในธรรม ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไรไปเสียเลย
ครั้งแรกสุด อาตมาได้บอกว่าพุทธศาสนาคือวิชชา หรือวิธีปฏิบัติให้รู้ว่าอะไรเป็นอะไร
ถัดมาก็บอกให้รู้ว่า ที่ว่าอะไรเป็นอะไรนั้น คือเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
และบอกให้รู้ว่า สัตว์หลงไปในสิ่งที่เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาได้ ก็เพราะอำนาจของ”อุปาทาน”
ถึงได้ติดแน่นอยู่ในสิ่งเหล่านั้น


แล้วบอกให้ทราบต่อไปว่า”ไตรสิกขา”เป็นวิธีปฏิบัติ สำหรับจะให้ตัดอุปาทานได้
และบอกให้ทราบในที่สุดว่า “ขันธ์ห้า” หรือส่วน ๕ ส่วนที่ประกอบกันขึ้นเป็นโลกนี้เอง
เป็นที่ตั้ง ที่เกาะของ”อุปาทาน” ฉะนั้นเราจะต้องศึกษาให้รู้จักตัว”ขันธ์ห้า”หรือ”โลก”ทั้งสิ้นนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ค. 2010, 00:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ย. 2009, 16:20
โพสต์: 537

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สมาธิตามธรรมชาตินั้น สามารถใช้ในการพิจารณาขันธ์๕ เพื่อการรู้แจ้ง เพื่อการละอุปาทานได้เช่นกันครับ

อ้างคำพูด:
ธรรมเทศนาโดยท่านพุทธทาส ภิกขุ
อาตมายังได้บอกให้ทราบเป็นพิเศษอีกว่า เรายังมีโชคดี ที่ว่าปัญหาต่างๆ
ที่เข้าไปสะสมอยู่ในใจของเรานั้น เมื่อมากเข้ามากเข้า ถึงพร้อมด้วยการศึกษา
ถึงวันดีคืนดี โอกาสหนึ่งคำตอบอาจจะออกมาเองได้ ในขณะที่จิตเป็นสมาธิ
หรือในขณะที่จิตมีลักษณะอย่างที่เรียกว่า กัมมนิโย คือควรแก่การงานทางจิต

ในบัดนี้ อาตมาอยากจะบอกให้ทราบต่อไปถึงข้อที่ว่า การที่จิตเป็นสมาธินั้น
มิได้หมายความว่า จะต้องมีการกระทำตามแบบตามพิธีรีตอง
หรือที่เป็นเทคนิคต่างๆนั้นโดยตรงอย่างเดียวก็หาไม่

โดยที่แท้แล้วสมาธิอาจจะมีได้โดยทางตรง ตามธรรมชาติซึ่งปราศจากเทคนิคใดๆ
ที่มนุษย์กำหนดขึ้นอีกส่วนหนึ่ง ดังที่ได้อธิบายมาแล้วตามสมควรในคราวก่อนๆ
เราจึงได้สมาธิที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติอย่างหนึ่ง และสมาธิที่เกิดมาจากการปฏิบัติบำเพ็ญตามวิธีที่เป็นเทคนิคโดยเฉพาะนั้น ก็อีกอย่างหนึ่ง

ในกรณีที่เราประสงค์นั้นมันมีผลอย่างเดียวกัน คือเมื่อเป็นสมาธิแล้วก็นำไปใช้พิจารณา
หรือว่าการพิจารณาจะดำเนินไปได้โดยง่ายโดยตัวมันเอง
ดังนี้ก็ได้
แต่มีข้อควรสังเกตอย่างหนึ่งว่า สมาธิที่เกิดตามธรรมชาตินั้น
มักจะพอเหมาะพอสมแก่กำลังของปัญญาที่จะทำการพิจารณา

ส่วนสมาธิที่เกิดตามวิธีของการบำเพ็ญเป็นเทคนิคโดยเฉพาะนั้น
มักจะเป็นสมาธิที่มากเกินไป หมายความว่าเหลือใช้
และยังเป็นเหตุให้คนหลงติดชะงัก พอใจแต่เพียงแค่สมาธินั้นก็ได้
เพราะว่าในขณะที่จิตเป็นสมาธิเต็มที่นั้น ย่อมเป็นความสุขชนิดหนึ่ง เป็นความสบายชนิดหนึ่ง
ซึ่งให้เกิดความพอใจ จนถึงกับหลงติดหรือหลงเหมาเป็นมรรคผลไปเสียเลยก็ได้

โดยเหตุนี้สมาธิที่เป็นไปตามธรรมชาติ ที่เหมาะสมกับการพิจารณานั้นจึงไม่เสียหลาย
ไม่เสียเปรียบอะไรกับสมาธิตามแบบวิธีเทคนิคนัก ถ้ารู้จักประคับประคองทำให้เกิดให้มี
และให้เป็นไปด้วยดี

ข้อความต่างๆในพระไตรปิฎกเอง มีเล่าถึงแต่เรื่องการบรรลุมรรคผลทุกชั้นตามวิธีธรรมชาติ
ในที่พระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าเอง หรือในที่ต่อหน้าผู้สั่งสอนคนอื่นๆก็มี
โดยไม่ได้ไปเข้าป่า นั่งตั้งความเพียรอย่างมีพิธีรีตอง กำหนดอะไรต่างๆ
ตามวิธีเทคนิคอย่างในคัมภีร์ที่แต่งใหม่ๆ ชั้นหลังเหล่านั้นเลย
โดยเฉพาะในกรณีแห่งการบรรลุอรหัตผลของภิกษุปัญจวัคคีย์ หรือชฎิล ๑,๐๐๐ รูป
ด้วยการฟัง อนัตตลักขณสูตร และ อาทิตตปริยายสูตร ด้วยแล้ว
จะยิ่งเห็นว่าไม่มีการพยายามตามทางเทคนิคใดๆเลย
เป็นการเห็นแจ้งแทงตลอดตามวิธีธรรมชาติแท้ๆ


นี้เป็นตัวอย่างที่ทำให้เราเข้าใจได้ดี หรือเป็นเหตุผลได้ดีว่าสมาธิตามธรรมชาตินั้น
ย่อมรวมอยู่ในความพยายามเพื่อจะเข้าใจแจ่มแจ้ง และต้องมีอยู่ในขณะที่มีความเห็นอันแจ่มแจ้งติดแนบแน่นอยู่ในตัวอย่างไม่แยกจากกันได้
และเป็นไปได้เองตามธรรมชาติ แม้ในกรณีที่ท่านทั้งหลายนั่งฟังอาตมาบรรยายอยู่ที่นี้
ถ้าท่านเข้าใจคำบรรยายหรือถึงกับพิจารณาตามไปอย่างแน่วแน่ตามคำบรรยายนั้น
ก็ย่อมแสดงว่ามีสมาธิพร้อมอยู่ในนั้น นี่แหละ เป็นลักษณะของสมาธิที่เป็นไปเองตามธรรมชาติ

ซึ่งตามปรกติถูกมองข้ามไปเสีย เพราะมีลักษณะดูมันไม่ค่อยขลัง ดูมันไม่ค่อยจะศักดิ์สิทธิ์
มันไม่ค่อยจะเป็นปาฏิหาริย์อะไร คือไม่ค่อยจะเป็นที่น่าอัศจรรย์อะไร

แต่โดยที่แท้แล้วคนเรารอดตัวมาได้กันเป็นส่วนใหญ่ ก็โดยอำนาจสมาธิตามธรรมชาตินี้เอง
แม้การบรรลุมรรคผล เป็นพระอรหันต์ต่างๆชนิด ในที่เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าหรือในที่อื่นๆอีกมาก
ก็ด้วยอาศัยสมาธิตามธรรมชาติทำนองนี้
ฉะนั้น ขอให้ท่านทั้งหลายอย่าได้มีความประมาทในเรื่องของสมาธิที่เป็นไปตามธรรมชาติทำนองนี้เลย มันเป็นเรื่องที่เราอาจจะได้ก่อน ทำได้ก่อน หรือได้อยู่แล้วเป็นส่วนมาก
ควรจะประคับประคองมันให้ถูกวิธีให้มันเป็นไปด้วยดีถึงที่สุด ก็จะมีผลเท่ากัน
เหมือนกับผู้ที่บรรลุพระอรหันต์ไปแล้วเป็นส่วนมากไม่เคยรู้จักนั่งทำสมาธิแบบเทคนิคใหม่ๆ ต่างๆเลยแม้แต่นิดเดียว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ค. 2010, 01:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 02:41
โพสต์: 5636

แนวปฏิบัติ: พอง ยุบ
ชื่อเล่น: เจ
อายุ: 0
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว www


อนุโมทนาค่ะ :b8:

.....................................................
"มิควรหวังร่มเงาจากก้อนเมฆ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2010, 18:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ย. 2009, 16:20
โพสต์: 537

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การปฏิบัตินั้น ปฏิบัติเพื่อไม่เอาอะไรเลย เพราะไม่มีอะไรยึดไว้ได้
ชั่วก็ยึดไม่ได้ ดีก็ยึดไม่ได้ ทุกข์ก็ยึดไม่ได้ สุขก็ยึดไม่ได้
ไม่มีอะไรยึดไว้ได้เลย มันจึงไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่เรา

ทุกอย่างที่ปฏิบัติมามันต้องไม่ยึดทั้งหมด
มันต้องล้มเหลวทั้งหมด ไม่มีอะไรให้ยึดมั่นทั้งหมด
เพราะมันเป็นสมมติอยู่ทั้งหมด
ไม่มีอะไรให้เอาซักอย่าง
ถ้ามันเอาแล้วมันเป็นทุกข์ เราจะเอามันอีกทำไม
ปฏิบัติเพื่อไม่ให้เอาอะไรทั้งสิ้น
นี่เป็นจุดที่สุดที่เราต้องปฏิบัติ
นั่นคือต้องพบความล้มเหลวทั้งหมด

นิ่งก็เป็นสมมติ ว่างก็เป็นสมมติ
มันจะนิ่งหรือไม่นิ่ง เราจะไปหมายมันไว้ทำไม
จะไปนิพพาน ต้องไม่มีนิ่ง ไม่มีล้มเหลว ไม่มีว่าง
ทุกอาการของรูป-นาม ต้องไม่เอาทั้งหมด ต้องทิ้งให้หมด
ไอ้ตรงที่เราจะเอานั่นแหละมันหนัก
ไอ้ที่เราไม่เอา แล้วปล่อยเป็นธรรมชาติของธรรมชาติโดยที่ไม่เอามันนั่นแหละ มันเบา
เพราะทุกสิ่งมันไม่เที่ยง จะไปเอามันทำไม
ทุกอย่างมันไม่ใช่ของเรา จะไปเอามันทำไม

ความเข้าใจนี่ก็ไม่เที่ยง
ธรรมทั้งหลายเป็นธรรมชาติ ที่เป็นอนัตตา
แล้วเราจะไปเอาอะไรของที่เป็นอนัตตา
ทิ้งมันให้หมด เพื่อไม่ต้องการอาศัย
ไม่ต้องกลับมาใช้มันอีก

สงบนั่นก็ไม่เที่ยง อยากให้มันสงบมันก็ไม่สงบตลอด
ทำในสิ่งมันเป็นไปไม่ได้ ฝืนในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
เหมือนเราไปบังคับธรรมชาติ
บังคับกลางวันให้เป็นกลางคืน บังคับกลางคืนให้เป็นกลางวัน
เราเที่ยวไปบังคับธรรมชาติ บังคับขันธ์อันเป็นธรรมชาติ
ขันธ์จะเป็นอย่างไรก็ช่างมัน มันเป็นธรรมชาติ เราไม่ต้องไปฝืน
ให้รู้ตามความเป็นจริง แล้วถามหาความเที่ยง
ก็ในเมื่อมันไม่เที่ยงเราจะไปเอามันอีกทำไม
มันล้มเหลวทั้งหมดแหละการปฏิบัติธรรม
มุ่งไปสู่ความล้มเหลว แล้วมันจะสมหวัง


โหลดกัณเทศน์หลวงพ่อชานนท์ ชยนันโทได้ที่
http://www.watpachareongtham-chonburi.com


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 68 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 62 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร