ลานธรรมจักร http://dhammajak.net/forums/ |
|
ปัญหาครอบครัว & แนวทางแก้ไข http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=27&t=35345 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | ลูกโป่ง [ 28 ต.ค. 2010, 18:40 ] |
หัวข้อกระทู้: | ปัญหาครอบครัว & แนวทางแก้ไข |
![]() ปัญหาครอบครัว & แนวทางแก้ไข สาเหตุของปัญหา ![]() - เนื่องจากค่านิยม ความเชื่อ ความต้องการ - เนื่องจากสภาพทางเศรษฐกิจ - ความสัมพันธ์ระหว่างญาติพี่น้อง - การทำงานของภรรยานอกบ้าน - การมีอาชีพที่ต่างกันไปของสมาชิกในครอบครัว - ความผิดหวังในตัวภรรยาหรือสามี ![]() การขัดกันในครอบครัวอาจแยกออกได้ ๒ลักษณะ คือ การขัดกันทางส่วนตัว (Personal Conflict) กับการขัดกันโดยทางเศรษฐกิจและสังคม (Socioeconomic Conflict) ๑. การขัดกันโดยทางส่วนตัว เป็นการขัดกันทางด้านบุคลิกภาพ ๑. ด้านอารมณ์ ๒. แบบของความประพฤติของคู่สมรส ๓. บทบาท ๔. ค่านิยม สามีภรรยาอาจได้รับการอบรมเลี้ยงดูมาในลักษณะที่แตกต่าง ๕. ความรักรวมถึงความสัมพันธ์ทางเพศ ๒. การขัดกันทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ สมาชิกในครอบครัวจะเกิดการขัดแย้งกันเนื่องจากสาเหตุดังต่อไปนี้ ๑. การขัดกันทางด้านวัฒนธรรม ๒. ฐานะทางเศรษฐกิจแตกต่างกัน ๓. การขัดกันในเรื่องอาชีพ ๔. การทำงานของฝ่ายหญิง ๕. การว่างงาน ๖. ปัญหาอื่น ๆ ![]() การหย่าร้างของคู่สมรสในต่างสังคมกัน ย่อมมีอัตราแตกต่างกันไป ทั้งนี้เพราะความแตกต่างกันในเรื่องของศาสนา วัฒนธรรม และค่านิยม อย่างเช่น ในสังคมที่นับถือศาสนานิกายโรมันคาทอลิก อัตราการหย่าร้างจะต่ำกว่าในสังคมที่นับถือนิกายโปรเตสแตนต์ และคนที่อยู่ในชนบทซึ่งมีอาชีพทางการเกษตร ย่อมมีการหย่าร้างน้อยกว่าคนในเมือง Scarpitti พบว่าใน ปี ค.ศ. 1971 ในสหรัฐอเมริกา อัตราการหย่าร้างของชาวชนบทมี ๑.๘ ต่อ ๑,๐๐๐ คน ในขณะที่อัตราการหย่าร้างในเมืองเป็น ๕.๓ ต่อ ๑,๐๐๐ คน ![]() อาจเนื่องมาจากสาเหตุดังต่อไปนี้ ๑. เนื่องจากความมีอิสระเสรีภาพทัดเทียมกันระหว่างหญิงกับชาย ทำให้หญิงมีอิสระในการตัดสินปัญหาของตนเอง ๒. สภาพของสังคมและวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไป ๓. มาตรฐานการครองชีพที่สูงขึ้น ระดับการศึกษาที่สูงขึ้นทำให้ความคิดอ่านของคนค่านิยมของคนในสังคมเปลี่ยนไป ๔. หญิงมีงานทำไม่ต้องพึ่งสามีในทางเศรษฐกิจ ๕. ความคิดในเรื่องการหย่าร้างในเมื่ออยู่ด้วยกันแล้ว ไม่มีความสุขมีมากกว่าแต่ก่อนและยังมีกฎหมายที่ทำให้การหย่าร้างเกิดขึ้นได้ง่าย ![]() ๑. ทำให้สมาชิกในครอบครัวเกิดพฤติกรรมเบี่ยงเบน ๒. บุคลิกภาพและสุขภาพกาย สุขภาพจิตของสมาชิกในครอบครัว ๓. ทำให้เกิดการค้าประเวณี ๔. ทำให้เกิดปัญหาวัยรุ่น ๕. ทำให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจ ๖. ครอบครัวมีปัญหา ![]() การป้องกันปัญหาครอบครัว จะต้องคำนึงถึงทั้งตัวบุคคลในครอบครัว และสิ่งแวดล้อมภายนอก หลักในการป้องกันควรคำนึงถึง ๑. การเลือกคู่ครองที่ดี ๒. การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว ๓. แสดงบทบาทตามสถานภาพของตน ๔. ยึดมั่นในคุณธรรมสำหรับผู้ครองเรือน ๕. ให้การศึกษาอบรม ![]() วิธีการแก้ไขอาจกระทำโดย ๑. การขอคำปรึกษาแนะนำจากหน่วยงาน ให้คำแนะนำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาครอบครัว เพื่อจะได้ใช้เป็นตัวกลางในการปรับตัวเข้าหากัน ๒. การปรึกษาหาทางปรับตัวเข้าหากัน โดยทั้ง ๒ ฝ่ายยินดีจะฟังความคิดเห็นของอีกฝ่ายหนึ่ง ๓. การหันไปพิจารณาคำสอนทางศาสนา ๔. การหย่าร้างหรือแยกกันอยู่ ซึ่งจะใช้เป็นวิธีท้ายสุด ![]() หญิงดูหมิ่นสามีย่อมเป็นเหตุนำมาซึ่งความแตกแยกในครอบครัว ด้วยเหตุ ๘ ประการคือ : - ๑.ทลิทฺทตา เพราะสามีเป็นคนยากจน ๒.อาตุรตา เพราะสามีเป็นคนกระเสาะกระแสะ ๓.ชิณฺฌตา เพราะสามีเป็นคนแก่เฒ่า ชรากาล ๔.สุราโสณฺฑตา เพราะสามีเป็นนักเลง ๕.มุทฺธตา เพราะสามีเป็นคนโง่เขลา เบาปัญญา ๖. ปมตฺตา เพราะสามีเป็นคนมัวเมา ประมาท ๗. สพฺพกิจฺเจสุ อนุวตฺตนตา เพราะสามีทำงานคล้อยตามในกิจทุกอย่าง ๘. สพฺพธนมนุปฺปาเทน เพราะสามีไม่ทำงาน ให้ทรัพย์ทุกอย่างที่เกิดขึ้น ขุททกนิกายชาดก พระสูตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๘/๓๐๓/๑๑๕ ![]() หลักการแก้ปัญหาความแตกแยกในครอบครัว พระพุทธองค์ได้แสดงไว้ว่าผู้หญิง ( มาตุคาม ) ซึ่งประกอบด้วยคุณธรรม คุณสมบัติ ๔ ประการ ชื่อว่าเป็นผู้กำชัยชนะ ครองใจสามีไว้ได้คือ ๑.สุสํวิหิตกมฺมนฺโต เป็นผู้จัดการงานดี ๒.สงฺคหิตปริชโน สงเคราะห์คนข้างเคียง ๓.ภตฺตุ มนาปํ จรติ ประพฤติเป็นที่พอใจของสามี ๔.สมฺภตํ อนุรกฺขติ รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้ อังคุตตรนิกาย อัฎฐกนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓/๑๓๙/๒๗๕ ![]() ๑.สมฺมานนาย ด้วยยกย่องนับถือว่าเป็นภรรยา ๒.อวิมานนาย ด้วยไม่ดูหมิ่น ๓.อนติจริยาย ด้วยไม่ประพฤตินอกใจ ๔.วิสฺสริยโวสฺสคฺเคน ด้วยมอบความเป็นใหญ่ให้ ๕.อลงฺการานุปฺปทาเนน ด้วยให้เครื่องประดับตกแต่ง ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค พระสูตตันปิฎกเล่ม ๑๑/๒๐๑/๒๐๔ ![]() ภรรยาที่ดีต้องมีคุณธรรมตามหลักพระพุทธศาสนาดังนี้ : - ๑.ทลิทฺที ทลิทสฺส เมื่อสามีขัดสน ก็ขัดสนด้วย ๒.อฑฺฒา อทฺฒสฺส เมื่อสามีมั่งคั่ง ก็พลอยมั่งคั่งด้วย ๓.กิตฺติมา เมื่อสามีมีชื่อเสียง ก็มีชื่อเสียงด้วย ขุททกนิกายชาดก พระสูตตันตปิฎกเล่ม ๒๗/๕๘๑/๑๔๑ ![]() พื้นฐานอันมั่นคงที่จะทำให้อยู่ครองเรือน อยู่กันได้ยืดยาวเรียกว่าสมชีวิธรรมมี ๔ ประการคือ ๑. สมสัทธา มีศรัทธาเสมอกัน หนักแน่นเสมอกัน ปรับตัวเข้าหากันลงกันได้ ๒. สมสีลา มีศีลเสมอกัน คือความประพฤติ จรรยามารยาท พื้นฐานการ สอดคล้องไปกันได้ ๓. สมจาคา มีจาคะสมกัน ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ โอบอ้อมอารี มีใจกว้าง พร้อมที่จะช่วยเหลือผู้อื่น ๔. สมปัญญา ปัญญาสมกัน รู้เหตุรู้ผลเข้าใจกันอย่างน้อยพูดกันรู้เรื่อง ( องฺ จตุกฺก ๒๑/๕๕ ) ![]() ๑.ตุลฺยวยา มีวัยเสมอกัน ๒.สมคฺคา อยู่ร่วมกันด้วยความปองดอง ๓.อมุพฺพตา ประพฤติตามใจกันและกัน ๔.ธมฺมกามา เป็นคนฝักใฝ่ในธรรม ๕.ปชาตา ไม่เป็นหญิงหมัน ๖. โกลินิยา สีลวตี มีศีลโดยสมควรแก่สกุล ๗. ปติพฺพตา รู้จักปรนนิบัติสามี ขุททกนิกายชาดก พระสูตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๗/๑๔๗๘/๔๙๙ ![]() หรือความสุขที่ชาวบ้านควรทำให้เกิดแก่ตนอยู่เสมอเรียกว่า “สุขของคฤหสถ์” มี :- ๑.อัตถิสุข สุขเกิดจากความมีทรัพย์ ๒.โภคสุข สุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์ ๓.อนณสุข สุขเกิดจากความไม่เป็นหนี้ ๔.อนวัชชสุข สุขเกิดจากความประพฤติไม่มีโทษมีความสุจริต ประพฤติไม่บกพร่องเสียหาย ใคร ๆ ตำหนิไม่ได้ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต พระสูตตันติปิฎกเล่มที่ ๒๑/๖๒/๙๑ ที่มา... http://www.dhamma.mbu.ac.th/th/index.ph ... &Itemid=57 ภาพประกอบจาก... http://www.fotosearch.com/bthumb/CSP/CS ... 407817.jpg ![]() ![]() ![]() |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |