วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 16:27  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 130 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 9  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มี.ค. 2009, 19:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธองค์ ทรงตรัสไว้ว่า ที่ใดมีรัก ที่นั่นมีทุกข์
:b8:

เคยคิดกันบ้างไหม ว่าทำไมพระพุทธองค์ทรงตรัสเช่นนั้น ทั้งๆที่ " รัก " นั้นมีหลายรูปแบบ แต่ทำไมพระองค์ทรงตรัสว่า ที่ใดมีรัก ที่นั่นมีทุกข์

ขอฟังแง่มุมความคิดของแต่ละคนค่ะ พอดีตัวเองได้คำตอบมา .. แต่ยังไม่บอก ขอฟังความคิดเห็นของทุกๆคนก่อน :b1:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มี.ค. 2009, 22:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


เพราะ "รัก" เป็นอนิจจัง(ไม่เที่ยง) สิ่งใดไม่เที่ยง...สิ่งนั้นย่อมเป็นทุกข์... :b13:

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มี.ค. 2009, 22:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ก.พ. 2009, 01:02
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


:b41: :b41: :b41: :b42: :b42: :b42: :b41: :b41: :b41:

สวัสดีครับ ขอเข้ามาร่วมตอบกระทู้ด้วย

พระพุทธองค์ตรัสว่า “มีความรักที่ไหนย่อมมีความทุกข์ที่นั่น มีรักร้อยก็มีทุกข์ร้อย มีรักหนึ่งก็มีความทุกข์หนึ่ง ไม่มีรักเลยก็ไม่มีทุกข์เลย” ก็เพราะว่าตัวความรักก็อยู่ในกฏของไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) แต่ผู้ที่มีความรักมองไม่เห็นตัวนี้ (เหมือนสำนวนที่ว่า ความรักทำให้คนตาบอด) อยากให้ความรักเป็นนิจจัง เที่ยงแท้ถาวร ยึดมั่นถือมั่น ชอบไปฝืนกฎธรรมชาติ เมื่อความจริงปรากฏจึงมีความทุกข์ต่าง ๆ นา ๆ เป็นเพราะเราไม่ยอมรับความจริงตัวนี้นี่เอง ไปยึด ไปติด ไปหลง อยากให้สิ่งต่าง ๆ ที่เรารักอยู่กับเราตลอดไป ทั้ง ๆ ที่ไม่อาจฝืนกฏของความจริงที่ว่าทุกสิ่งทุกอย่างในโลกล้วนไม่เที่ยงแท้แน่นอนไม่ควรไปยึดติด ล้วนเป็นอนิจจัง ทุกสิ่งที่เรายึดติดล้วนเป็นสิ่งที่ให้ความทุกข์กับเราทั้งสิ้น

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความรักเป็นความร้าย ความรักเป็นสิ่งทารุณ และเป็นเครื่องทำลายความสุขของปวงชน ทุกคนต้องการความสมหวังในชีวิตรัก แต่ความรักไม่เคยให้ความสมหวังแก่ใครถึงครึ่งหนึ่งแห่งความต้องการ ยิ่งความรักที่ฉาบทาด้วยความเสน่หาด้วยแล้ว ก็เป็นพิษแก่จิตใจ ทำให้ทุรนทุรายดิ้นรนไม่รู้จักจบสิ้น ความสุขที่เกิดจากความรักนั้น เหมือนความสบายของคนป่วยที่ได้กินของแสลง เธอทั้งหลายอย่าพอใจในความรักเลย เมื่อหัวใจยึดไว้ด้วยความรัก หัวใจนั้นจะสร้างความหวังขึ้นอย่างเจิดจ้า แต่ทุกครั้งที่เราหวัง ความผิดหวังก็จะรอเราอยู่”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความทุกข์ที่เกิดขึ้นจากการพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่พอใจนั้น เป็นเรื่องทรมานยิ่งและเรื่องที่จะบังคับมิให้พลัดพราก ก็เป็นสิ่งสุดวิสัย ทุกคน จะต้องพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่พอใจ ไม่วันใด ก็วันหนึ่ง”

ครับ.....ที่ใดมีรัก ที่นั่นมีทุกข์

เจริญในธรรมครับ :b8: :b8: :b8:


:b41: :b41: :b41: :b42: :b42: :b42: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
ราตรีของผู้ตื่นอยู่นาน...โยชน์ของผู้ล้าแล้วไกล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มี.ค. 2009, 23:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


เฉลยได้เลยรึป่าวครับ เพราะคนมีตอบ ok ไปหลายคำตอบแล้วน่ะ :b35: :b40:

"พระพุทธองค์ปรารถนาไม่อยากให้มนุษย์ยึดติดในความรัก เพราะความรักแบบมนุษย์นั้นมีทุกข์แฝงอยู่มากกว่า ความสุขอยู่มากมายหลายเท่า และเป็นอุปสรรคอย่างมากในการเข้าถึงพระไตรลักษณ์.. แม้แต่พระองค์เองยังต้องสละครอบครัวและความเป็นมหาราชผู้ยิ่งใหญ่เพียงเพื่อ โมกขธรรม คำเดียว โดยไม่ยึดติดอาลัยในความรัก" :b44:

.....................................................
"มีสติเป็นเรือนจิต ใช้ชีวิตเป็นเรือนใจ ใช้ปัญญาเป็นแสงสว่างส่องทางเดินไปเถิด จะได้ล้ำเลิศในชีวิตของท่าน มีความหมายอย่างแท้จริง"
ในการปฏิบัติธรรม หลวงพ่อท่านบอกว่า ให้ตัดปลิโพธกังวลใจทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ลูก สามี ภรรยา ความวุ่นวายทั้งหลายทั้งปวง อย่าเอามาเป็นอารมณ์ จากหนังสือ: เจริญกรรมฐาน7วันได้ผลแน่นอน หัวข้อ12: ระงับเวรด้วยการแผ่เมตตา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2009, 00:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ningnong เขียน:
:b41: :b41: :b41: :b42: :b42: :b42: :b41: :b41: :b41:

สวัสดีครับ ขอเข้ามาร่วมตอบกระทู้ด้วย

พระพุทธองค์ตรัสว่า “มีความรักที่ไหนย่อมมีความทุกข์ที่นั่น มีรักร้อยก็มีทุกข์ร้อย มีรักหนึ่งก็มีความทุกข์หนึ่ง ไม่มีรักเลยก็ไม่มีทุกข์เลย” ก็เพราะว่าตัวความรักก็อยู่ในกฏของไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) แต่ผู้ที่มีความรักมองไม่เห็นตัวนี้ (เหมือนสำนวนที่ว่า ความรักทำให้คนตาบอด) อยากให้ความรักเป็นนิจจัง เที่ยงแท้ถาวร ยึดมั่นถือมั่น ชอบไปฝืนกฎธรรมชาติ เมื่อความจริงปรากฏจึงมีความทุกข์ต่าง ๆ นา ๆ เป็นเพราะเราไม่ยอมรับความจริงตัวนี้นี่เอง ไปยึด ไปติด ไปหลง อยากให้สิ่งต่าง ๆ ที่เรารักอยู่กับเราตลอดไป ทั้ง ๆ ที่ไม่อาจฝืนกฏของความจริงที่ว่าทุกสิ่งทุกอย่างในโลกล้วนไม่เที่ยงแท้แน่นอนไม่ควรไปยึดติด ล้วนเป็นอนิจจัง ทุกสิ่งที่เรายึดติดล้วนเป็นสิ่งที่ให้ความทุกข์กับเราทั้งสิ้น

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความรักเป็นความร้าย ความรักเป็นสิ่งทารุณ และเป็นเครื่องทำลายความสุขของปวงชน ทุกคนต้องการความสมหวังในชีวิตรัก แต่ความรักไม่เคยให้ความสมหวังแก่ใครถึงครึ่งหนึ่งแห่งความต้องการ ยิ่งความรักที่ฉาบทาด้วยความเสน่หาด้วยแล้ว ก็เป็นพิษแก่จิตใจ ทำให้ทุรนทุรายดิ้นรนไม่รู้จักจบสิ้น ความสุขที่เกิดจากความรักนั้น เหมือนความสบายของคนป่วยที่ได้กินของแสลง เธอทั้งหลายอย่าพอใจในความรักเลย เมื่อหัวใจยึดไว้ด้วยความรัก หัวใจนั้นจะสร้างความหวังขึ้นอย่างเจิดจ้า แต่ทุกครั้งที่เราหวัง ความผิดหวังก็จะรอเราอยู่”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความทุกข์ที่เกิดขึ้นจากการพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่พอใจนั้น เป็นเรื่องทรมานยิ่งและเรื่องที่จะบังคับมิให้พลัดพราก ก็เป็นสิ่งสุดวิสัย ทุกคน จะต้องพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่พอใจ ไม่วันใด ก็วันหนึ่ง”

ครับ.....ที่ใดมีรัก ที่นั่นมีทุกข์

เจริญในธรรมครับ :b8: :b8: :b8:


:b41: :b41: :b41: :b42: :b42: :b42: :b41: :b41: :b41:



ขอบคุณค่ะ สำหรับคำสอนของพระพุทธองค์ที่นำมาให้อ่าน ..
:b8:

คือ ไม่ได้คิดถึงเรื่องไตรลักษณ์หรอกค่ะ เพียงมองตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้านี่ ลึกซึ้งมากๆค่ะ เหมือนเห็นตัวเลข แต่ต้องถอดสแควร์รู๊ดออกมาอีกทีถึงจะเจอคำตอบ

ที่ใดมีรัก ที่นั้นมีทุกข์ .. ถ้ากล่าวโดยเรื่องของควารักนั้นมีหลายรูปแบบ แบบบิดมารดารักบุตร แบบสามีภรรยา แบบญาติพี่น้อง ฯลฯ

พระพุทธองค์ตรัสว่า “มีความรักที่ไหนย่อมมีความทุกข์ที่นั่น มีรักร้อยก็มีทุกข์ร้อย มีรักหนึ่งก็มีความทุกข์หนึ่ง ไม่มีรักเลยก็ไม่มีทุกข์เลย” ก็เพราะว่าตัวความรักก็อยู่ในกฏของไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) แต่ผู้ที่มีความรักมองไม่เห็นตัวนี้ (เหมือนสำนวนที่ว่า ความรักทำให้คนตาบอด) อยากให้ความรักเป็นนิจจัง เที่ยงแท้ถาวร ยึดมั่นถือมั่น ชอบไปฝืนกฎธรรมชาติ เมื่อความจริงปรากฏจึงมีความทุกข์ต่าง ๆ นา ๆ เป็นเพราะเราไม่ยอมรับความจริงตัวนี้นี่เอง ไปยึด ไปติด ไปหลง อยากให้สิ่งต่าง ๆ ที่เรารักอยู่กับเราตลอดไป ทั้ง ๆ ที่ไม่อาจฝืนกฏของความจริงที่ว่าทุกสิ่งทุกอย่างในโลกล้วนไม่เที่ยงแท้แน่นอนไม่ควรไปยึดติด ล้วนเป็นอนิจจัง ทุกสิ่งที่เรายึดติดล้วนเป็นสิ่งที่ให้ความทุกข์กับเราทั้งสิ้น

นี่อีกแง่มุมของความรัก

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความรักเป็นความร้าย ความรักเป็นสิ่งทารุณ และเป็นเครื่องทำลายความสุขของปวงชน ทุกคนต้องการความสมหวังในชีวิตรัก แต่ความรักไม่เคยให้ความสมหวังแก่ใครถึงครึ่งหนึ่งแห่งความต้องการ ยิ่งความรักที่ฉาบทาด้วยความเสน่หาด้วยแล้ว ก็เป็นพิษแก่จิตใจ ทำให้ทุรนทุรายดิ้นรนไม่รู้จักจบสิ้น ความสุขที่เกิดจากความรักนั้น เหมือนความสบายของคนป่วยที่ได้กินของแสลง เธอทั้งหลายอย่าพอใจในความรักเลย เมื่อหัวใจยึดไว้ด้วยความรัก หัวใจนั้นจะสร้างความหวังขึ้นอย่างเจิดจ้า แต่ทุกครั้งที่เราหวัง ความผิดหวังก็จะรอเราอยู่”

นี่ก็อีกแง่มุมของความรัก

แต่ถ้าเราไปย้อนมองความรักอีกรูปแบบหนึ่ง เช่น บิดามารดารักบุตร แล้วบุตรนั้นก็เป็นคนดี ทั้งมารดาและบิดานั้นก็มีความสุขมาตลอด ตรงนี้ ถ้าเราจะบอกว่า ที่ใดมีรัก ที่นั่นมีทุกข์คงไม่ถูกทั้งหมดใช่ไหมคะ

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความทุกข์ที่เกิดขึ้นจากการพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่พอใจนั้น เป็นเรื่องทรมานยิ่งและเรื่องที่จะบังคับมิให้พลัดพราก ก็เป็นสิ่งสุดวิสัย ทุกคน จะต้องพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่พอใจ ไม่วันใด ก็วันหนึ่ง”

แต่พอมาอ่าตรงนี้ปั๊บ จะเข้าใจทันทีเลยว่า ไม่ว่าจะรักแบบไหนๆก็ล้วนแต่มีความทุกข์ เพราะมีคำว่า พลัดพรากนั่นเอง

ขอบคุณที่มาร่วมสนทนากันค่ะ แล้วก็เพิ่งทราบว่า สิ่งที่ตัวเองคิดไว้นั้น เรื่องคำว่า พลัดพราก นั้น มีที่มาที่ไปด้วย ขอบคุณอีกครั้งค่ะ :b8:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2009, 02:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ม.ค. 2009, 02:20
โพสต์: 1387

ที่อยู่: สัพพะโลก

 ข้อมูลส่วนตัว


ความรักของผู้บำเพ็ญธรรม มิใช่ความสวยงาม แต่เป็น ความรักที่เอื้ออาทร แต่ความรักของคนบนโลกรักในรูป ฉะนั้นจึงมีการเปรียบเทียบ มีแบ่งแยก มีปากเสียง มีคาดหวัง มีหวังผลตอบแทน พระพุทธะโพธิสัตว์ปฏิบัติมิได้หวังผลตอบแทน ส่วนปุถุชนปฏิบัติต่างหวังผลตอบแทน มีผลตอบแทนนั้นไม่ยั่งยืน ไม่หวังผลตอบแทนจึงยาวนาน เหมือนธรรมะ เริ่มต้นก็ไม่หวังผลตอบแทน หากเริ่มแล้วหวังผล นั่นต้องมีเกิดมีดับ มีเริ่มต้นต้องมีสิ้นสุด มีเกิดก็มีดับ ไม่หวังผลตอบแทนก็ไม่เกิดไม่ดับ ก็สามารถยืนยาวตลอดไป.

จากคำกล่าวข้างต้น รักแบบเอื้ออาทร อาจจะทุกข์น้อยหน่อยนะครับ อิอิ :b8:

.....................................................
ผู้มีจิตเมตตาจะไม่มีศัตรู ผู้มีสติปัญญาจะไม่เกิดทุกข์.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2009, 03:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2009, 04:12
โพสต์: 1067


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8: ทุกข์ เพราะ ความไม่รู้ (อวิชชา)
:b48: :b48: :b48:
:b47: ความไม่รู้ว่า กายใจที่ตั้งอยู่เป็นอุปทานเป็นทุกข์ (ทุกข์)
:b47: ความไม่รู้ว่า ความอาลัยยึดติดเป็นเหตุแห่งทุกข์ (สมุทัย)
:b47: ความไม่รู้ว่า การพ้นจากการยึดติดเป็นความดับทุกข์ (นิโรธ)
:b47: ความไม่รู้ว่า การตั้งมุมมองที่ถูกตรงตามจริง เพียรตั้งสติ
มองตามจริง จนรู้แจ้งเป็นทางดับทุกข์ (มรรค)


สรุปคือ มองไม่เห็นไตรลักษณ์ ไม่รู้แจ้งในอริยสัจจ์สี่
:b41: :b41: :b41:

.....................................................
...นฺตถิตัณหา สมานที...
ห้วงน้ำใหญ่โต เสมอด้วยตัณหาไม่มี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2009, 09:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 พ.ย. 2008, 17:20
โพสต์: 1051

งานอดิเรก: อ่านหนังสือธรรมะ
อายุ: 0
ที่อยู่: Bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


:b17: วันนี้คุณน้ำตั้งคำถามเก๋ไก๋มากเลยนะคะ อ่านแค่คำถามก็กระชุ่มกระชวยเลยค่ะ :b16:
เคยเห็นแต่คำถามแบบภาษาธรรมน่ะค่ะ พี่ก็คอยแต่อ่าน+ศึกษาเป็นความรู้ไว้เตรียมเลื่อนชั้น ป.2ค่ะ
:b48:พี่ขอยืมคำคุณ คนไร้สาระนะคะ ทุกข์ เพราะ ความไม่รู้ (อวิชชา)

:b48: ความไม่รู้ว่า กายใจที่ตั้งอยู่เป็นอุปทานเป็นทุกข์ (ทุกข์)
:b48: ความไม่รู้ว่า ความอาลัยยึดติดเป็นเหตุแห่งทุกข์ (สมุทัย)
:b48: ความไม่รู้ว่า การพ้นจากการยึดติดเป็นความดับทุกข์ (นิโรธ)
:b48: ความไม่รู้ว่า การตั้งมุมมองที่ถูกตรงตามจริง เพียรตั้งสติ
:b48: มองตามจริง จนรู้แจ้งเป็นทางดับทุกข์ (มรรค)
:b41: ถามคุณน้ำว่า สำหรับพี่นี้ เรียกว่าไม่มีอวิชชา ได้ไม๊คะ
:b48: พี่คิดว่า คนเราพอเริ่มลืมตาดูโลกก็มีความรักเลย นะ
พ่อ+แม่--->ลูก+พี่+น้อง
เรา+สามี-->ลูก
แบบพี่ตอนนี้ที่เห็นชัดก็มีพ่อ+น้องชาย+สามี+ลูกสาว 2 คน ซึ่งสามารถทำให้เราสุข+ทุกข์ได้ตลอด
เมื่อก่อนที่จะเข้ามาศึกษาธรรมะ ชีวิตเราก็อยู่ได้ในระดับหนึ่งสุขทุกข์ก็ปล่อยไปตามอารมณ์เต็มที่เลย
แต่ตอนนี้พี่ก็เริ่มปล่อยวางได้สัก 30%นะ (ไม่รู้น้อยไปไม๊ เพราะพี่กะประมาณตัวเองว่าได้แค่นี้)
ชีวิตก็มีสุข+ทุกข์ไม่ต่างจากเดิมมากนัก เพียงแต่รู้กายใจ การยึดมั่นถือมั่น ตามความจริง เพียรมีสติขึ้น
พี่ก็ทำได้ในระดับหนึ่ง แต่พี่ไม่เข้าใจเมื่อในเวลาที่เราต้องสูญเสีย อันเป็นที่รักยิ่ง มันก็คงต้องทุกข์เป็น
ที่สุดเลยหรือไม่ เพราะเวลานั้นมันยังไม่มาถึงเรา ทั้งที่ปัจจุบันนี้พี่ก็ทำใจตั้งมั่นเตรียมพร้อมนะ
ว่า อนิจจัง ทุกข์ขัง อนัตตา แต่พี่คิดว่า มันคงเป็นเวลาทุกข์มากเกินทำใจหรือเปล่า หรือถ้าเวลาที่
ตัวเราต้องจากไป คนข้างหลังเค้าจะเศร้าแค่ไหน :b7: :b7: :b7:
คุณอ่านแล้วเข้าใจไม๊คะ พี่พิมพ์ตั้ง 1ชั่วโมงเลยนะ เพราะ :b23: งงคำพูดตัวเอง
ไม่รู้จะอธิบายแบบไหนน่ะค่ะ :b29: :b29:

.....................................................
    มีสิ่งใด น่าโกรธ อย่าโทษเขา.... ต้องโทษเรา ที่ใจ ไม่เข้มแข็ง
    เรื่องน่าโกรธ แม้ว่า จะมาแรง ....ถ้าใจแข็ง เหนือกว่า ชนะมัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2009, 09:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ก.พ. 2009, 02:06
โพสต์: 811

อายุ: 0
ที่อยู่: มหานคร

 ข้อมูลส่วนตัว


ningnong เขียน:
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความรักเป็นความร้าย ความรักเป็นสิ่งทารุณ และเป็นเครื่องทำลายความสุขของปวงชน ทุกคนต้องการความสมหวังในชีวิตรัก แต่ความรักไม่เคยให้ความสมหวังแก่ใครถึงครึ่งหนึ่งแห่งความต้องการ ยิ่งความรักที่ฉาบทาด้วยความเสน่หาด้วยแล้ว ก็เป็นพิษแก่จิตใจ ทำให้ทุรนทุรายดิ้นรนไม่รู้จักจบสิ้น ความสุขที่เกิดจากความรักนั้น เหมือนความสบายของคนป่วยที่ได้กินของแสลง เธอทั้งหลายอย่าพอใจในความรักเลย เมื่อหัวใจยึดไว้ด้วยความรัก หัวใจนั้นจะสร้างความหวังขึ้นอย่างเจิดจ้า แต่ทุกครั้งที่เราหวัง ความผิดหวังก็จะรอเราอยู่”


สวัสดีครับ
เข้าใจว่า ประโยคดังกล่าวที่ยกมา คงไม่ใช่พุทธพจน์นะครับ
เพราะไม่ปรากฎเป็นหลักฐาน ในพระไตรฯ

แต่ก็ยอมรับว่า เป็นประโยคถ้อยคำ ที่ประกอบไปด้วยประโยชน์ มีสาระ
เป็นไปเพื่อความหน่าย ความคลายกำหนัด คลายความยึดมั่นถือมั่น

อนุโมทนาด้วยนะครับ


และเรื่องของความรัก ที่พระพุทธองค์ตรัส เป็นเรื่องของราคะ ความกำหนัด
แน่นอนว่า รักแบบนั้น มีทุกข์แน่ครับ
แม้แต่ ความรักของ พ่อแม่-ลูก ก็อาจมีความทุกข์ได้เช่นกัน

ความรักชั้นสูง ที่พระพุทธองค์ทรงมี ความรักที่เปี่ยมล้นด้วยพรหมวิหารสี่
มันห่างไกลจากความรักในแบบปุถุชนมาก
ความรักแบบนั้น เป็นรักที่ปราศจากเครื่องเศร้าหมอง หมดจด เกินกว่าความทุกข์จะย่างกลาย

.....................................................
ทุกสิ่งทุกอย่างในโลก มันถูกต้องอยู่แล้ว มีแต่ความเห็นของเราเท่านั้นที่ผิด (หลวงพ่อชา สุภัทโท)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2009, 11:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ก.พ. 2009, 01:02
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


:b41: :b41: :b41: :b42: :b42: :b42: :b41: :b41: :b41:

ครับ....ผมนำมาจากบางส่วนของหนังสือ เหตุสมควรโกรธ..ไม่มีในโลก ของ พระอาจารย์มิซูโอะ คเวสโก ขอยกมาบางส่วนเพื่อเป็นการไภ่โทษครับ

ความโศกย่อมเกิดแต่ของที่รัก
ภัยย่อมเกิดแต่ของที่รัก
ความโศกย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้พ้นวิเศษแล้ว
จากของที่รัก ภัยจักมีแต่ที่ไหน

ความโศกย่อมเกิดแต่ความรัก
ภัยย่อมเกิดแต่ความรัก
ความโศกย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้พ้นวิเศษแล้ว
จากความรัก ภัยจักมีแต่ที่ไหน

ความโศกย่อมเกิดแต่ความยินดี
ภัยย่อมเกิดแต่ความยินดี
ความโศกย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้พ้นวิเศษแล้ว
จากความยินดี ภัยจักมีแต่ที่ไหน

ความโศกย่อมเกิดแต่กาม
ภัยย่อมเกิดแต่กาม
ความโศกย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้พ้นวิเศษแล้ว
จากกาม ภัยจักมีแต่ที่ไหน

ความโศกย่อมเกิดแต่ตัณหา
ภัยย่อมเกิดแต่ตัณหา
ความโศกย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้พ้นวิเศษแล้ว
จากตัณหา ภัยจักมีแต่ที่ไหน

พระพุทธเจ้า ตรัสแก่ภิกษุสาวก ถึงเรื่องความรักไว้ว่าความรักเป็นความร้าย ความรักเป็นสิ่งทารุณและ
เป็นเครี่องทำลายความสุขของปวงชนทุกคนต้องการความสมหวังในชีวิตรักแต่ความรักไม่เคยให้ความสมหวังแก่ใครถึงครึ่งหนึ่งแห่งความต้องการยิ่งความรักที่ฉาบทาด้วยความเสน่หาด้วยแล้วก็เป็นพิษแก่จิตใจทำให้ทุรนทุราย ดิ้นรนไม่รู้จัจบจักสิ้น ความสุขที่เกิดจากความรักนั้นเหมือนความสบายของคนป่วยที่ได้กินของแสลง เธอทั้งหลายอย่าได้พอใจในความรักเลยเมื่อหัวใจยึดถือไว้ด้วยความรัก หัวใจนั้นจะสร้างความหวังขึ้นอย่างเจิดจ้าแต่ทุกครั้งที่เราหวัง ความผิดหวังก็จะรอเราอยู่

"การไม่มีภรรยา เป็นลาภอันประเสริฐ การไม่มีสามี เป็นลาภอันประเสริฐ" :b33:

ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้เช่นนี้ เพื่อเตือนว่า ชีวิตคู่มีทุกข์สุขคละเคล้ากันไป แต่เกือบทุกคู่ ทุกข์จะมากกว่าสุขตามวัย ตามสัญชาตญาณของสัตว์โลกมักแสวงหาชีวิตคู่แล้วก็เกิดความรัก ความผูกพัน ตามมา ความรู้สึกกว่าความรักเป็นสิ่งสวยงามเป็นความสุขอย่างที่สุดนั้น เป็นความรู้สึกของตัณหาเพื่อที่จะได้ความสุขนั้น เหมือนต้องติดหนี้สินมากมาย เพราะเมื่อได้ดำเนินชีวิตคู่ไปแล้วหลายคนรู้สึกว่าตัวเองได้คำนวณผิดพลาดไป ดอกเบี้ยแพง ตั้งใจแก้ตัว พยายามอย่างไรก็ติดลบตลอดมีทุกข์มาก มีสุขน้อย หลายคู่ก็ผิดหวังเหมือนมีหนี้สิน ชดใช้ไม่รู้จักจบจักสิ้น

"...สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม...
ไม่มีความยึดมั่นใด ที่จะไม่ก่อให้เกิดทุกข์... "

ขออนุญาตชี้แจง เจริญในธรรมครับ :b8: :b8: :b8:


:b41: :b41: :b41: :b42: :b42: :b42: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
ราตรีของผู้ตื่นอยู่นาน...โยชน์ของผู้ล้าแล้วไกล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2009, 15:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2008, 14:47
โพสต์: 1562

อายุ: 0
ที่อยู่: หิมพานต์

 ข้อมูลส่วนตัว www


อ้างคำพูด:
พระพุทธองค์ ทรงตรัสไว้ว่า ที่ใดมีรัก ที่นั่นมีทุกข์


เคยคิดกันบ้างไหม ว่าทำไมพระพุทธองค์ทรงตรัสเช่นนั้น ทั้งๆที่ " รัก " นั้นมีหลายรูปแบบ แต่ทำไมพระองค์ทรงตรัสว่า ที่ใดมีรัก ที่นั่นมีทุกข์


รักที่พระพุทธองค์ตรัสนั้นคงไม่ได้หมายถึงรักของชายหญิง พ่อ แม่ ลูกเท่านั้น

แต่คำว่ารักนั้นกินใจความกว้างมาก เช่นรักในสิ่งของ ในลาภ ยศ สรรเสริญและสุขด้วย

และอันรวมถึงการรักรูปร่างกายนี้ด้วย


เพราะจิตยึดมั่นถือมั่นในรูปนี้ ในร่างกายนี้ ในสังขารนี้
ว่าเป็นตัวตนของเรา เป็นเรา

เพื่อปราถนาให้ตัวตนของเรานี้ หรือร่างกายนี้มีความยั่งยืน
ไม่เสื่อมสลายง่ายๆ

จิตจึงต้องหาสิ่งที่บำรุง หรือเป็นคุณต่อร่างกายนี้

เมื่อจิตพบเห็น ได้ยิน หรือสัมผัสสิ่งใดที่คิดว่าเป็นคุณต่อร่างกายตน

จิตจะสร้างอารมณ์สุข หรือสุขเวทนาขึ้นมา
เพื่อทำให้เกิดตัณหานำสิ่งที่จิตคิดว่าเป็นสิ่งดีมีประโยชน์ต่อรูปร่างกายตน(กามตัณหา)

ถ้าจิตเห็น ได้ยิน หรือสัมผัสสิ่งใดที่เป็นภัยต่อรูปนี้
จิตก็จะสร้างอารมณ์ทุกข์ หรือทุกข์เวทนาขึ้นมาเพื่อให้เกิดการผลักไส นำออกไป(วิภวตัณหา)



อ้างคำพูด:
ความโศกก็ดี ความร่ำไรก็ดี ความทุกข์ก็ดี มากมายหลายอย่างนี้มีอยู่ในโลก
เพราะอาศัยสัตว์หรือสังขารอันเป็นที่รัก เมื่อไม่มีสัตว์หรือสังขารอันเป็นที่รัก
ความโศก ความร่ำไร และความทุกข์เหล่านี้ย่อมไม่มี
เพราะเหตุนั้นแล ผู้ใดไม่มี สัตว์หรือสังขารอันเป็นที่รักในโลกไหนๆ
ผู้นั้นเป็นผู้มีความสุข ปราศจากความโศก
เพราะเหตุนั้น ผู้ปรารถนาความไม่โศก อันปราศจากกิเลสดุจธุลี
ไม่พึงทำสัตว์หรือสังขารให้เป็นที่รัก ในโลกไหนๆ ฯ

วิสาขาสูตร - พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๗ ขุททกนิกาย
ขุททกปาฐ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต



ความรักของปถุชนหรือสัตว์โลก ก็เช่นเดียวกันไม่ว่ารักรูปแบบไหนเกิดจากกามตัณหาทั้งสิ้น

กับสิ่งใดเช่นวัตถุ สิ่งของ สัตว์หรือมนุษย์ก็ตามย่อมเกิดจาก

1.จิตเห็นสิ่งนี้มีคุณต่อตน ต่อรูปตน(เช่นเห็นผู้หญิงคนนี้เป็นคนดี น่ารัก)

2.จึงเกิดความอยาก ความยึดสิ่งนั้นเข้ามา จึงสร้างอารมณ์สุข ปราถนาอยากได้ผู้หญิงคนนั้นมาเป็นของตน เพราะคิดว่าถ้าได้อยู่กับเขาแล้ว ตนเองจะมีความสุข เมื่อตนเองมีความสุข รูปนี้จะได้ยั่งยืน


ดังนั้ที่ใดมีรักที่นั่นมีทุกข์แน่นอนล้านเปอร์เซนต์ ไม่เพียงเกิดจากกฏไตรลักษณ์เท่านั้น

(มีอะไรละเอียดลึกซึ้งกว่านั้นเช่นคิดจะมีรัก ก็ทุกข์เพราะคิดแล้วเป็นต้น)

สรุปเป็นทุกข์ 4 ขั้นคือ


1.ทุกข์เพราะรักอันเกิดจากความยึดมั่นในตัวตนของตน

ทั้งๆที่ตัวตนของตนนี้ยังไม่ใช่ของตนเลย เพียงแต่จิตมาอาศัยร่างกายนี้อยู่เท่านั้น
ร่างกายนี้ย่อมป่วย เจ็บและตายในที่สุด

เมื่อร่างกายนี้ป่วยเป็นมะเร็งก็ทุกข์ เจ็บก็ทุกข์ หิวก็ทุกข์ เป็นต้น
(ทุกข์ขั้นที่ 1)


2.ทุกข์เพราะอารมณ์ปราถนา เช่นอยากได้รถ ก็นั่งทุกข์ นอนทุกข์
ว่าจะหาเงินจากไหนหนอมาซื้อรถ คิดก็ทุกข์หนักแล้ว ยังไม่สำเหนียกอีก
(ทุกข์ขั้นที่ 2)


2.ทุกข์เพราะการครอบครอง การได้มาในสิ่งที่นอกเหนือกว่าตน เช่น แฟน บ้าน รถเมื่อได้มาแล้วก็ทุกข์อีก ต้องดุแลอย่างไร ไปไหนไกลก็เป็นห่วง จอดตากแดดก็ห่วง
(ทุกข์ขั้นที่ 3)


4.ทุกข์เพราะสิ่งที่ได้มานั้นต้องผันแปร บังคับไม่ได้ เสื่อมสลายไปในที่สุด(ทุกข์ในไตรลักษณ์) เช่น แฟนก็แก่ลง รถก็ชำรุดพัง
(ทุกข์ขั้นที่ 4)


โอ้หนอที่ใดมีรัก.....จะให้มีสุขได้จั๋งไส....มันมีแต่ทุกข์ทั้งนั้นนนนนนนน

หลงมีสุขขึ้นมาเพราะจิตมันสร้างอารมณ์สุขเวทนาขึ้นมาหลอกตัวเองแค่ประเดี๋ยวประด๋าว

หาสุขในโลกนี้มันยากเสียกว่างมเข็มในมหาสมุทร

เอาเข็มขว้างลงไปในมหาสมุทร แล้วงมหาเข็ม มันอาจจะเจอได้

แต่หาความสุขในโลก.....มันจะเจอได้จั๋งไสสสสส...................

ในเมื่อมันมีแต่ทุกข์เท่านั้นนนนนน
:b41: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิฯ
ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าขอมอบกายถวายชีวิต แด่พระพุทธเจ้า แด่พระธรรม แด่พระสงฆ์ นับแต่บัดนี้ตราบจนเข้าสู่พระนิพพาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2009, 18:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


พอดีไปอ่านเจอในหนังสือนักธรรมโท ครูบาฯท่านเขียนไว้ว่า

ทุกข์นั้นเกิดมีขึ้น ก็เพราะมีเหตุให้เกิด และเหตุนั้นก็พึงมีตามประสงค์ของทุกข์ ในนิเทศแห่งสมุทัยสัจ ท่านรวบยอดว่า ตัณหาคือ ความทะยานอยาก เป็นเหตุให้เกิดทุกข์

คือ รักที่เป็นโลกียะ ล้วนแต่มีทุกข์ด้วยกันทั้งหมด

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2009, 19:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: สวัสดีค่ะ ดีใจค่ะที่ทำให้พี่รู้สึกดีๆ

เวลาน้ำอ่านตัวหนังสือของพี่ก็รู้สึกสดชื่นตามเหมือนกันค่ะ จิตของพี่ดีค่ะ น้ำสัมผัสได้แบบนั้น :b12:

O.wan เขียน:
:b17: วันนี้คุณน้ำตั้งคำถามเก๋ไก๋มากเลยนะคะ อ่านแค่คำถามก็กระชุ่มกระชวยเลยค่ะ :b16:
เคยเห็นแต่คำถามแบบภาษาธรรมน่ะค่ะ พี่ก็คอยแต่อ่าน+ศึกษาเป็นความรู้ไว้เตรียมเลื่อนชั้น ป.2ค่ะ
:b48:พี่ขอยืมคำคุณ คนไร้สาระนะคะ ทุกข์ เพราะ ความไม่รู้ (อวิชชา)

:b48: ความไม่รู้ว่า กายใจที่ตั้งอยู่เป็นอุปทานเป็นทุกข์ (ทุกข์)
:b48: ความไม่รู้ว่า ความอาลัยยึดติดเป็นเหตุแห่งทุกข์ (สมุทัย)
:b48: ความไม่รู้ว่า การพ้นจากการยึดติดเป็นความดับทุกข์ (นิโรธ)
:b48: ความไม่รู้ว่า การตั้งมุมมองที่ถูกตรงตามจริง เพียรตั้งสติ
:b48: มองตามจริง จนรู้แจ้งเป็นทางดับทุกข์ (มรรค)
:b41: ถามคุณน้ำว่า สำหรับพี่นี้ เรียกว่าไม่มีอวิชชา ได้ไม๊คะ
:b48: พี่คิดว่า คนเราพอเริ่มลืมตาดูโลกก็มีความรักเลย นะ
พ่อ+แม่--->ลูก+พี่+น้อง
เรา+สามี-->ลูก
แบบพี่ตอนนี้ที่เห็นชัดก็มีพ่อ+น้องชาย+สามี+ลูกสาว 2 คน ซึ่งสามารถทำให้เราสุข+ทุกข์ได้ตลอด
เมื่อก่อนที่จะเข้ามาศึกษาธรรมะ ชีวิตเราก็อยู่ได้ในระดับหนึ่งสุขทุกข์ก็ปล่อยไปตามอารมณ์เต็มที่เลย
แต่ตอนนี้พี่ก็เริ่มปล่อยวางได้สัก 30%นะ (ไม่รู้น้อยไปไม๊ เพราะพี่กะประมาณตัวเองว่าได้แค่นี้)
ชีวิตก็มีสุข+ทุกข์ไม่ต่างจากเดิมมากนัก เพียงแต่รู้กายใจ การยึดมั่นถือมั่น ตามความจริง เพียรมีสติขึ้น
พี่ก็ทำได้ในระดับหนึ่ง แต่พี่ไม่เข้าใจเมื่อในเวลาที่เราต้องสูญเสีย อันเป็นที่รักยิ่ง มันก็คงต้องทุกข์เป็น
ที่สุดเลยหรือไม่ เพราะเวลานั้นมันยังไม่มาถึงเรา ทั้งที่ปัจจุบันนี้พี่ก็ทำใจตั้งมั่นเตรียมพร้อมนะ
ว่า อนิจจัง ทุกข์ขัง อนัตตา แต่พี่คิดว่า มันคงเป็นเวลาทุกข์มากเกินทำใจหรือเปล่า หรือถ้าเวลาที่
ตัวเราต้องจากไป คนข้างหลังเค้าจะเศร้าแค่ไหน :b7: :b7: :b7:
คุณอ่านแล้วเข้าใจไม๊คะ พี่พิมพ์ตั้ง 1ชั่วโมงเลยนะ เพราะ :b23: งงคำพูดตัวเอง
ไม่รู้จะอธิบายแบบไหนน่ะค่ะ :b29: :b29:


วันนี้คุณน้ำตั้งคำถามเก๋ไก๋มากเลยนะคะ อ่านแค่คำถามก็กระชุ่มกระชวยเลยค่ะ

อื่มมม .. ตอนแรกน้ำก็นั่งฟังเพลง ฟังไปเรื่อยๆ เพลงนี้น่ะค่ะ http://www.songdee.com/?p=3068 ฟังไปฟังมา ก็เกิดความคิดถึงพระธรรมคำสอนขึ้นมา ว่าที่ใดมีรัก ที่นั่นย่อมมีทุกข์ น้ำก็เลยนั่งไล่ไปทีละขั้นว่า ทุกข์เพราะอะไร ทำไมถึงต้องทุกข์ เหมือนรักแบบบิดามารดาที่มีแต่ความปราถนาดีต่อบุตร ก็ไประลึกถึง เรื่องในสมัยพุทธกาล นางวิสาขา ที่ว่าบุตรหรือหลานเสียชีวิตน่ะค่ะ น้ำจำไม่ได้ นางวิสาขาเสียใจมากๆ ได้ไปเข้าเฝ้าองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งพระพุทธองค์ทรงตรัสว่า ให้นางวิสาขาไปหาบ้านที่ไม่มีคนตาย นางก็ไปหาจนทั่ว บ้านไหนๆก็มีแต่คนตาย น้ำก็เลยได้ความคิดจากตรงนี้ว่า ที่กล่าวว่า ที่ใดมีรักที่นั่นย่อมมีทุกข์เพราะอะไร เพราะว่ามีการพลัดพรากจากกันไม่ว่าจะรักแบบไหนก็แล้วแต่ ตราบใดที่ยังเป็นรักแบบทางโลกๆเรา ก็เลยนำมาตั้งเป็นกระทู้น่ะค่ะ

พี่ขอยืมคำคุณ คนไร้สาระนะคะ ทุกข์ เพราะ ความไม่รู้ (อวิชชา)

ความไม่รู้ว่า กายใจที่ตั้งอยู่เป็นอุปทานเป็นทุกข์ (ทุกข์)
ความไม่รู้ว่า ความอาลัยยึดติดเป็นเหตุแห่งทุกข์ (สมุทัย)
ความไม่รู้ว่า การพ้นจากการยึดติดเป็นความดับทุกข์ (นิโรธ)
ความไม่รู้ว่า การตั้งมุมมองที่ถูกตรงตามจริง เพียรตั้งสติ
มองตามจริง จนรู้แจ้งเป็นทางดับทุกข์ (มรรค)
ถามคุณน้ำว่า สำหรับพี่นี้ เรียกว่าไม่มีอวิชชา ได้ไม๊คะ

ถ้าว่ากันตามตัวหนังสือนะคะ น้ำคิดว่าน่าจะใช่ค่ะ แต่การที่จะเข้าถึงนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แบบว่า เราจะพูดยังไงก็ได้ค่ะ เพราะตัวหนังสือก็คือตัวหนังสือ น้ำไม่ค่อยมีความรู้ด้านนี้ค่ะ เพียงแต่มองตามเหตุและผลที่น่าจะเป็นไปได้ เหมือนไตรลักษณ์ เมื่อเราเจอเหตุการณ์ต่างๆ ปากเราอาจจะพูดได้ว่า มันเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มันไม่เที่ยงๆๆ แต่ถ้าใจยังเข้าไม่ถึง ยังไงมันก็ต้องทุกข์ค่ะ เพียงแต่จะทุกข์มากขึ้นหรือทุกข์น้อยลงก็ตามเหตุปัจจัยค่ะ

เรายังเป็นคนธรรมดาๆน่ะค่ะพี่ จิตเดี๋ยวก็วื๊ดขึ้น เดี๋ยวก็วื๊ดลง อยู่ที่ว่า เรามีสติ สัมปชัญญะมากแค่ไหน ถ้าเรามีสติ สัมปชัญญะดี เราจะรู้เท่าทันต่อสิ่งที่เกิดขึ้น มันก็ปล่อยวางได้เร็วขึ้น เมื่อรู้ทันบ่อยๆ มันก็ดับได้ไวมากขึ้น ตัวน้ำเอง ทุกวันนี้ก็สติ สัมปชัญญะ ทันบ้าง ไม่ทันบ้าง ก็พยายามที่จะเจริญสติปัฏฐาน อย่างต่อเนื่องค่ะ :b12:

พี่ไม่เข้าใจเมื่อในเวลาที่เราต้องสูญเสีย อันเป็นที่รักยิ่ง มันก็คงต้องทุกข์เป็นที่สุดเลยหรือไม่ เพราะเวลานั้นมันยังไม่มาถึงเรา ทั้งที่ปัจจุบันนี้พี่ก็ทำใจตั้งมั่นเตรียมพร้อมนะ ว่า อนิจจัง ทุกข์ขัง อนัตตา แต่พี่คิดว่า มันคงเป็นเวลาทุกข์มากเกินทำใจหรือเปล่า หรือถ้าเวลาที่ตัวเราต้องจากไป คนข้างหลังเค้าจะเศร้าแค่ไหน คุณอ่านแล้วเข้าใจไม๊คะ

น้ำเข้าใจในสิ่งที่พี่พูดมาทั้งหมดค่ะ เข้าใจในความรู้สึกของพี่ที่เกิดขึ้น ณ ขณะนี้ .. หลวงพ่อจรัญ ท่านจะพูดเสมอๆว่า ให้เราอยู่กับปัจจุบัน ไม่ต้องไปคาดการณ์หรือไปคิดถึงอนาคต อดีตผ่านไปแล้ว ไม่ไปคำนึงถึง อยู่กับปัจจุบันอย่างเดียว การที่เราไปคาดคิดอะไรล่วงหน้า ก็ทำให้เราทุกข์ใจหรือ สุขใจ หรืออาจจะไม่สุขและทุกข์ก็ได้ .. หมั่นสะสมหน่วยกิตค่ะ หมั่นเจริญสติปัฏฐานให้มากๆ แล้วพี่จะได้คำตอบเองค่ะ เมื่อเหตุการณ์นั้นมาถึง :b1:



เวลาน้ำได้คุยกับพี่ไม่ว่าพี่จะนำเรื่องใดๆมาสนทนาด้วย ไม่รู้นะคะ น้ำจะรู้สึกเบาสบายใจ รู้สึกสงบน่ะค่ะ น้ำถึงบอกว่า จิตพี่น่ะดีค่ะ :b12:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มี.ค. 2009, 00:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b49: ;ว่าแต่รูปแบบการโพสท์ของ K owan & K ไร้สาระ ไปเอาแบบฟอร์มในการเขียนมาจากที่เดียวกันรึป่าว :b1: เห็นจากการมีดอกไม้ข้างหน้า และการเว้นบรรทัด รวมถึงความสวยงาม ทำคล้ายกันดี ถ้าเกิดมีแบบฟอร์มในนี้ เด๋วคราวหน้าผมจะเลียนแบบบ้างครับ....

:b44: K owan เข้าใจถูกแล้วครับที่พิมพ์มาทั้งหมด ผมอ่านไม่งงเลยและเข้าใจในสิ่งที่บอกด้วย ถือว่าคุ้มค่า กับ 1 ชม. ที่ใช้ในการพิมพ์และลำดับคำพูดให้คนอื่นเข้าใจ อีกทั้งหายไข้แล้วมีกำลังกลับมาโพสท์+ทำความดีได้เหมือนเดิมแล้วน่ะครับ :b40: :b43:

:b47: k ไร้สาระบอกว่าทุกข์เพราะความไม่รู้ ความไม่รู้เกิดขึ้นได้เนื่องจากมองไม่เห็นไตรลักษณ์===> แต่การจะเห็นแจ้งในพระไตรลักษณ์ต้องอาศัยการเจริญวิปัสสนา[เพื่อรู้,เห็นถึง การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ของทุกอย่างที่เข้ามากระทบร่างกาย(ได้แก่ร้อน หนาว อ่อน แข็ง รวมถึงความทุกข์กาย ความปวดเมื่อยกาย ความไม่สบายกาย) และกระทบจิตใจเรา(ได้แก่สุขใจ ทุกข์ใจ เสียใจ ฟุ้งซ่าน หงุดหงิด รำคาญใจ)] :b39:

.....................................................
"มีสติเป็นเรือนจิต ใช้ชีวิตเป็นเรือนใจ ใช้ปัญญาเป็นแสงสว่างส่องทางเดินไปเถิด จะได้ล้ำเลิศในชีวิตของท่าน มีความหมายอย่างแท้จริง"
ในการปฏิบัติธรรม หลวงพ่อท่านบอกว่า ให้ตัดปลิโพธกังวลใจทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ลูก สามี ภรรยา ความวุ่นวายทั้งหลายทั้งปวง อย่าเอามาเป็นอารมณ์ จากหนังสือ: เจริญกรรมฐาน7วันได้ผลแน่นอน หัวข้อ12: ระงับเวรด้วยการแผ่เมตตา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มี.ค. 2009, 06:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2009, 04:12
โพสต์: 1067


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: ตอบคุณอินทรีย์ 5 ที่มีดอกไม้ก็เพราะ
อยากให้ดูไม่หนัก เว้นวรรคเพื่อให้อ่านง่าย
(การเว้นวรรค รูปแบบนี้เอามาจากคุณคามินธรรม
ดูแล้วอ่านง่ายดีค่ะ)

ข้อความที่คนไร้สาระเอามาโพสต์
ก็อ่านมาจากครูบาอาจารย์ค่ะ มันก็
ออกจะยาก เหมือนมันอยู่ไกล ๆ

:b44: แต่ที่จริงแล้วเราสามารถทำได้
คนไร้สาระ ใช้การศึกษาธรรมะแนว
ตามดูจิต ของพระอาจารย์ปราโมทย์
แต่การนั่งสมาธิก็ไม่ทิ้ง เพราะเป็นบาทเป็นฐาน
ต้องมีจิตที่ตั้งมั่น จนมีผู้ดู มองเห็นกระบวน
การเกิดทุกข์ ที่สำคัญรักษาศีล 5 ให้มั่น

:b48: สังเกตุให้ดีทุกข์เกิดจาก จิตคิด คิดแล้วปรุง
ถ้าเรารู้ว่าจิตคิด ไม่ใช่รู้เนื้อเรื่อง มีสติขณะ
นั้นความคิดที่กำลังจะ ก่อตัวจะดับ
ไม่ผลิดอกออกผล จนเป็นทุกข์
เห็นบ่อย ๆ ด้วยความเพียร เราจะเห็นได้เลยว่า
มันผุดขึ้นมาจากความว่าง อยู๋ดีๆ จิตคิด-ปรุงแต่ง
แล้วก็ทุกข์ เราวนเวียนกันอยู่ตรงนี้ จะห้ามไม่
ให้คิดก็ไม่ได้ การคิดเป็นอาหารของจิต
ใช้คำเดียว เ พี ย ง แ ค่ รู้

:b48: ถึงเวลาพอ จิตเค้าจะถอนตัวของเค้าเอง
เราบังคับอะไรไม่ได้ สร้างแค่เหตุไว้ ผล
จะเกิดเอง เหมือนปลูกต้นไม้ รดน้ำไป
เมื่อถึงคราวผลจะออกเอง
(ทั้งหมดนี้ ขออนุญาติเล่าให้ฟังค่ะ) ทุกวันนี้
ก็ยัง เ พี ย ง แ ค่ รู้ เหมือนเดิมและทุกข์ก็
ลดลงตามลำดับ
:b8: :b8: :b8:

.....................................................
...นฺตถิตัณหา สมานที...
ห้วงน้ำใหญ่โต เสมอด้วยตัณหาไม่มี


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 130 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 9  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 19 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร