ลานธรรมจักร
http://dhammajak.net/forums/

คาถา..ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก
http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=28&t=22921
หน้า 1 จากทั้งหมด 3

เจ้าของ:  แมวขาวมณี [ 08 มิ.ย. 2009, 14:03 ]
หัวข้อกระทู้:  คาถา..ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก

พิธีไหว้พระ และสวดยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก

ก่อนเข้าห้องบูชาพระ ควรอาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาดและนุ่งห่มให้เรียบร้อย เข้านั่งที่ด้วยความสำรวมกายใจ ตั้งจิตให้แน่วแน่เพ่งตรงยังพระพุทธรูป ระลึกถึงพระรัตนตรัย ค่อยกราบ ๓ หน แล้วสงบจิตระลึกถึงพระคุณของบิดามารดา ซึ่งเป็นพระอรหันต์ของบุตร

จากนั้นจึงจุดเทียนบูชา ให้จุดเล่มด้านขวาของพระพุทธรูปก่อน แล้วจุดเล่มด้านซ้ายต่อไป จุดธูป ๓ ดอก เมื่อจุดเทียนธูปที่เครื่องสักการบูชาเสร็จแล้วเอาจิต (นึกเห็น) พระพุทธองค์มาเป็นประธาน พึงนั่ง ชายพึงนั่งคุกเข่า หญิงนั่งท่าเทพนม ประนมมือ
ตั้งใจบูชาพระรัตนตรัย
นมัสการพระรัตนตรัย
นมัสการพระพุทธเจ้า
ไตรสรณคมน์และนมัสการพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ
แล้วจึงเจริญภาวนายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก

จะเพิ่มความขลังและความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น จะเกิดพลังจิตและมีความมั่นคงในชีวิต พึงทราบด้วยว่า การเจริญภาวนาทุกครั้งต้องอยู่ในสถานที่อันสมควร ขอให้ทำจิตตั้งมั่นในบทสวดมนต์ จะมีเทพยดาอารักษ์ทั้งหลายร่วมอนุโมทนาสาธุการขออย่าได้ทำเล่น จะเกิดโทษแก่ตนเอง

คำบูชาพระรัตนตรัย

โย โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
อิเมหิ สักกาเรหิ , ตัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ
โย โส สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
อิเมหิ สักกาเรหิ , ตัง ธัมมัง อะภิปูชะยามิ
โย โส สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อิเมหิ สักกาเรหิ , ตัง สังฆัง อะภิปูชะยามิ

คำนมัสการพระรัตนตรัย

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา
พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ ๑ หน)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ ๑ หน)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สังฆัง นะมามิ (กราบ ๑ หน)

คำนมัสการพระพุทธเจ้า

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

คำนมัสการไตรสรณคมน์

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

คำนมัสการพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ

อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสามระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ ฯ
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ ฯ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลี กะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ ฯ


ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก ต้นฉบับเดิม

๑.
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง วะตะ โส ภะคะวา.
อิติปิ โส ภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ วะตะ โส ภะคะวา.
อิติปิ โส ภะคะวา วิชชาจะระณะ สัมปันโน วะตะ โส ภะคะวา.
อิติปิ โส ภะคะวา สุคะโต วะตะ โส ภะคะวา.
อิติปิ โส ภะคะวา โลกะวิทู วะตะ โส ภะคะวา .
อะระหันตัง สะระณัง คัจฉามิ.
อะระหันตัง สิระสา นะมามิ.
สัมมาสัมพุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.
สัมมาสัมพุทธัง สิระสา นะมามิ.
วิชชาจะระณะสัมปันนัง สะระณัง คัจฉามิ.
วิชชาจะระณะสัมปันนัง สิระสา นะมามิ.
สุคะตัง สะระณัง คัจฉามิ.
สุคะตัง สิระสา นะมามิ.
โลกะวิทัง สะระณัง คัจฉามิ.
โลกะวิทัง สิระสา นะมามิ.

๒.
อิติปิ โส ภะคะวา อะนุตตะโร วะตะ โส ภะคะวา.
อิติปิ โส ภะคะวา ปุริสะทัมมะสาระถิ วะตะ โส ภะคะวา.
อิติปิ โส ภะคะวา สัตถา เทวะมะนุสสานัง วะตะ โส ภะคะวา.
อิติปิ โส ภะคะวา พุทโธ วะตะ โส ภะคะวา.
อะนุตตะรัง สะระณัง คัจฉามิ.
อะนุตตะรัง สิระสา นะมามิ.
ปุริสะทัมมะสาระถิ สะระณัง คัจฉามิ.
ปุริสะทัมมะสาระถิ สิระสา นะมามิ.
สัตถา เทวะมะนุสสานัง สะระณัง คัจฉามิ.
สัตถา เทวะมะนุสสานัง สิระสา นะมามิ.
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.
พุทธัง สิระสา นะมามิ. อิติปิ โส ภะคะวา ฯ

๓.
อิติปิ โส ภะคะวา รูปะขันโธ อะนิจจะ-ลักขะณะ ปาระมิ จะ สัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา เวทะนาขันโธ อะนิจจะ-ลักขะณะ ปาระมิ จะ สัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา สัญญาขันโธ อะนิจจะ-ลักขะณะ ปาระมิ จะ สัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา สังขาระขันโธ อะนิจจะ-ลักขะณะ ปาระมิ จะ สัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา วิญญาณะขันโธ อะนิจจะ-ลักขะณะ ปาระมิ จะ สัมปันโน.

๔.
อิติปิ โส ภะคะวา ปะฐะวีธาตุ สะมาธิ ญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา อาโปธาตุ สะมาธิ ญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา เตโชธาตุ สะมาธิ ญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา วาโยธาตุ สะมาธิ ญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา อากาสะธาตุ สะมาธิ ญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา วิญญาณะธาตุ สะมาธิ ญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา จักกะวาฬะธาตุ สะมาธิ ญาณะสัมปันโน.

๕.
อิติปิ โส ภะคะวา จาตุมมะหาราชิกาธาตุ สะมาธิ ญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา ตาวะติงสาธาตุ สะมาธิ ญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา ยามาธาตุ สะมาธิ ญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา ตุสิตาธาตุ สะมาธิ ญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา นิมมานะระตีธาตุ สะมาธิ ญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา ปะระนิมมิตะวะสะวัตตีธาตุ สะมาธิ ญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา กามาวะจะระธาตุ สะมาธิ ญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา รูปาวะจะระธาตุ สะมาธิ ญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา อะรูปาวะจะระธาตุ สะมาธิ ญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา โลกุตตะระธาตุ สะมาธิ ญาณะสัมปันโน.

๖.
อิติปิ โส ภะคะวา ปะฐะมะฌานะธาตุ สะมาธิ ญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา ทุติยะฌานะธาตุ สะมาธิ ญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา ตะติยะฌานะธาตุ สะมาธิ ญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา จะตุตถะฌานะธาตุ สะมาธิ ญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา ปัญจะมะฌานะธาตุ สะมาธิ ญาณะสัมปันโน.

๗.
อิติปิ โส ภะคะวา อากาสานัญจายะตะนะธาตุ สะมาธิ ญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา วิญญานัญจายะตะนะธาตุ สะมาธิ ญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา อากิญจัญญายะตะนะธาตุ สะมาธิ ญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา เนวะสัญญานาสัญญายะตะนะธาตุ สะมาธิ ญาณะสัมปันโน.

๘.
อิติปิ โส ภะคะวา โสตาปัตติมัคคะธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา สะกิทาคามิมัคคะธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา อะนาคามิมัคคะธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัตตะมัคคะธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา โสตาปัตติผะละธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา สะกิทาคามิผะละธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา อะนาคามิผะละธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัตตะผะละธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.

๙.
กุสะลา ธัมมา อิติปิ โส ภะคะวา อะอา ยาวะชีวัง
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ชัมพู ทีปัญจะ อิสสะโร
กุสะลา ธัมมา นะโม พุทธายะ นะโม ธัมมายะ นะโม สังฆายะ
ปัญจะ พุทธา นะมามิหัง อา ปา มะ จุ ปะ,
ที มะ สัง อัง ขุ, สัง วิ ธา ปุ กะ ยะ ปะ,
อุปะสะชะสะเห ปาสายะโส ฯ
โส โส สะ สะ อะ อะ อะ อะ นิ เต ชะ สุ เน มะ ภู จะ นา วิ เว,
อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ ภะ, อิสวาสุ, สุสวาอิ กุสะลา ธัมมา จิตติวิอัตถิ.

๑๐.
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง อะอา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
สาโพธิปัญ จะ อิสสะโร ธัมมา.
กุสะลา ธัมมา นันทะวิวังโก อิติ สัมมาสัมพุทโธ สุคะลาโน
ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.
จาตุมมะหาราชิกา อิสสะโร กุสะลา ธัมมา อิติ
วิชชาจะระณะสัมปันโน อุอุ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.
ตาวะติงสา อิสสะโร กุสะลา ธัมมา นันทะ ปัญจะ สุคะโต โลกะวิทู
มะหาเอโอ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.
ยามา อิสสะโร กุสะลา ธัมมา พรหมาสัททะ ปัญจะสัตตะ
สัตตาปาระมี อะนุตตะโร ยะมะกะขะ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.
ตุสิตา อิสสะโร กุสะลา ธัมมา ปุยะปะกะ ปุริสะทัมมะสาระถิ
ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.
นิมมานะระตี อิสสะโร กุสะลา ธัมมา เหตุโปวะ
สัตถา เทวะมะนุสสานัง ตะถา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.
ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี อิสสะโร กุสะลา ธัมมา สังขาระขันโธ
ทุกขัง ภะคะวะตา ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ ฯ
พรหมา อิสสะโร กุสะลา ธัมมา นัตถิปัจจะยา วินะปัญจะ
ภะคะวะตา ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ.


๑๑. นะโม พุทธัสสะ นะโม ธัมมัสสะ นะโม สังฆัสสะ พุทธิลาโภกะลา กะระกะนา เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ.

นะโม พุทธัสสะ นะโม ธัมมัสสะ นะโม สังฆัสสะ วิตติ วิตติ วิตติ มิตติ มิตติ มิตติ จิตติ จิตติ วัตติ วัตติ มะยะสุ สุวัตถิ โหนตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ.

อินทะสาวัง มะหาอินทะสาวัง พรหมะสาวัง มะหาพรหมะสาวัง จักกะวัตติสาวัง มะหาจักกะวัตติ-สาวัง เทวาสาวัง มะหาเทวาสาวัง อิสีสาวัง มะหาอิสีสาวัง มุนีสาวัง มหามุนีสาวัง สัปปุริสะสาวัง มหาสัปปุริสะสาวัง พุทธะสาวัง ปัจเจกะพุทธะสาวัง อะระหัตตะสาวัง สัพพะสิทธิวิชชาธะรานังสาวัง สัพพะโลกาอิริยานังสาวัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ.

สาวัง คุณัง วะชะ พะลัง เตชัง วิริยัง สิทธิกัมมัง ธัมมัง สัจจัง นิพพานัง โมกขัง คุยหะกัง ทานัง สีลัง ปัญญา นิกขัง ปุญญัง ภาคะยัง ยะสัง ตัปปัง สุขัง สิริ รูปัง จะตุวีสะติเทสะนัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ ฯ

๑๒. นะโม พุทธัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ นะโม อิติปิโส ภะคะวา.

นะโม ธัมมัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะ-ขันโธ เวทะนาขันโธ

สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ นะโม สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม. สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ นะโม สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ วาหะปะริตตัง.

นะโมพุทธายะ มะอะอุ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา ยาวะตัสสะ หาโยโมนะ อุอะมะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัต-ตา อุอะมะอะ วันทา

นะโม สังฆัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ

นะโม พุทธายะ นะอะกะติ นิสะระณะ อาระปะขุทธัง มะอะอุ
ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา ฯ

เจ้าของ:  แมวขาวมณี [ 08 มิ.ย. 2009, 14:11 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: คาถา..ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก

พระคาถายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก (แปล)

๑. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้รู้แจ้งโลก

๒. ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้เป็นพระอรหันต์ว่า เป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้เป็นพระอรหันต์ ด้วยเศียรเกล้า

ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้ทรงตรัสรู้เองโดยชอบว่า เป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้ทรงตรัสรู้เอง ด้วยเศียรเกล้า

ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ ด้วยเศียรเกล้า

ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้เสด็จไปดีแล้ว ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้เสด็จไปดีแล้ว ด้วยเศียรเกล้า

ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้รู้แจ้งโลก ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้รู้แจ้งโลก ด้วยเศียรเกล้า

๓. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นอนุตตะโร คือ ยอดเยี่ยม

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ตื่นจากกิเลส

๔. ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้ยอดเยี่ยม ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้ยอดเยี่ยม ด้วยเศียรเกล้า

ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ ด้วยเศียรเกล้า

ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้เป็น ศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ด้วยเศียรเกล้า

ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้ตื่นจากกิเลส ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้ตื่นจากกิเลส ด้วยเศียรเกล้า

๕. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น รูปขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เวทนาขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น สัญญาขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น สังขารขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น วิญญาณขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว

๖. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ดินจักรวาล
เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ไฟจักรวาล
เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ลมจักรวาล
เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ น้ำจักรวาล
เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ อากาศจักรวาล
เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์

๗. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ สวรรค์ชั้นยามา

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ สวรรค์ชั้นดุสิต

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ สวรรค์ชั้นนิมมานรดี

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในกามาวจรภูมิ

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในรูปาวจรภูมิ

๘. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ปฐมญาน

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ทุติยญาน

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ตติยญาน

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ จตุตถญาน

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ปัญจมญาน

๙. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในอรูปาวจรภูมิ คือ
อากาสานัญจายตนะและเนวสัญญานาสัญญายตนะ

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในอรูปาวจรภูมิ คือ
วิญญาณัญจายตนะและเนวสัญญานาสัญญายตนะ

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในอรูปาวจรภูมิ คือ
อากิญจัญญายตนะและเนวสัญญานาสัญญายตนะ

๑๐. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระโสดาปัตติมรรค

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระสกิทาคามิมรรค

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระอนาคามิมรรค

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระอรหัตตมรรค

๑๑. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระโสดาปัตติผล และพระอรหัตตผล

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระสกิทาคามิผล และพระอรหัตตผล

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระอนาคามิผล และ พระอรหัตตผล

๑๒. ธรรมะฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต
พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นอิสสระแห่งชมภูทวีป

ธรรมะฝ่ายกุศล ขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า

ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้าห้าพระองค์ ด้วยหัวใจพระวินัยปิฎก ด้วยหัวใจพระสุตตันตปิฎก
ด้วยหัวใจพระอภิธรรมปิฎก

ด้วยมนต์คาถา ด้วยหัวใจมรรคสี่ ผลสี่ และ นิพพานหนึ่ง ด้วยหัวใจพระเจ้าสิบชาติทรงแสดงการบำเพ็ญบารมีสิบ

ด้วยหัวใจพระพุทธคุณเก้า ด้วยหัวใจพระไตรรัตนคุณ ธรรมะฝ่ายกุศล มีนัยอันวิจิตรพิสดาร

๑๓. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต

๑๔. ธรรมะฝ่ายกุศล ของผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า
ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงเทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกา

ธรรมะฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ ข้าพเจ้าขอถึง
พระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

ธรรมะฝ่ายกุศล พระพุทธเจ้าเป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว เป็นผู้รู้แจ้งโลก ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า
ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นยามา

ธรรมะฝ่ายกุศล ด้วยความศรัทธาต่อพระพรหม ด้วยพระบารมีอันยอดเยี่ยมของพระโพธิสัตว์ทั้งห้า ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต

๑๕. ธรรมะฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า
ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นดุสิต

๑๖. ธรรมะฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ผู้เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นนิมมานรดี

๑๗. ธรรมฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้รู้แจ้ง สังขารขันธ์ รูปขันธ์ เป็นของไม่เที่ยง เป็นความทุกข์ มิใช่เป็นตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นปรนิมมิตตวสวัสดี

๑๘. ธรรมะฝ่ายกุศล ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นพรหมโลก ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า ด้วยคำสัตย์ปฏิญาณนี้ ขอความสุขสวัสดี จงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่งตราบเข้าสู่พระนิพพาน

๑๙. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า ด้วยการสวดมนต์พระคาถานี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด

๒๐. ด้วยการสวดพระคาถามหาทิพยมนต์นี้ และด้วยการกล่าวคำสัตย์ปฏิญาณนี้
ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด

๒๑. ด้วยการสวดพระคาถามหาทิพยมนต์นี้ และด้วยการกล่าวคำสัตย์ปฏิญาณนี้
ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด

๒๒. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ผู้เข้าถึงรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

๒๓. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ผู้เข้าถึงรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระธรรม ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว

๒๔. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว

๒๕. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสงฆ์ สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ปฏิบัติดีแล้ว

๒๖. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสงฆ์ สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ปฏิบัติดีแล้ว

๒๗. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ด้วยคำสอนของ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอกราบไหว้พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ด้วยพระธรรมคำสั่งสอน ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มิใช่ตัวตนของเราจริง

ที่มา:http://www.84000.org/pray/yodprakan.shtml



อานิสงส์การสร้างและสวด
ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก เป็นธรรมทาน


โบราณท่านว่า ผู้ใดได้พบยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้แล้ว ท่านว่าเป็นบุญตัวอันประเสริฐนัก เมื่อพบแล้วให้พยายามท่องบ่นสวดภาวนาอยู่เป็นนิตย์ตราบเท่าชีวิต จนทำลายขันธ์จากมนุษย์โลก แล้วก็จะไปบังเกิดใน สัมปรายภพสวรรค์สุคติภพด้วยพระอานิสงส์เป็นแน่แท้

ถ้าผู้ใดจะสวดขออานุภาพให้ผู้ป่วยไข้อาการจะดีขึ้น จะสวดแผ่กุศลอุทิศไปให้ บิดา มารดา หรือครูบาอาจารย์ อุปัชฌาย์ ผู้มีพระคุณของท่านแล้ว ให้เขียน จิ เจ รุ นิ และชื่อท่านนั้น ๆ ใส่กระดาษก่อนสวดทุกครั้ง เมื่อสวดกี่จบครบตามที่เราต้องการแล้วให้นำกระดาษนั้นเผาไฟ และกรวดน้ำโดยคารวะ บอกชื่อฝากพระแม่ธรณีนำกุศลอันนี้ให้ท่านผู้นั้น ได้ตามความปรารถนาของเราทุกครั้ง

* ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บจากเจ้ากรรมนายเวร
* กิจการงานเจริญรุ่งเรือง อุดมด้วยโภคทรัพย์
* ผู้ใดอุทิศบุญกุศล อันเกิดจากการสร้าง ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้ให้ ปู่ย่า ตา ยาย บิดา มารดา ฯ บุตร - หลานที่อยู่เบื้องหลังมีความเจริญรุ่งเรือง
* บิดา มารดา จะมีอายุยืน
* สามีภรรยา รักใคร่ดีต่อกัน บุตรหลานเป็นคนดี
* ปฏิสนธิวิญญาณบุตร เกิดมาเฉลียวฉลาด ปัญญาดี เลี้ยงง่าย สุขภาพดี
* วิญญาณของบรรพบุรุษจะสู่สุคติภพ
* เสริมบุญบารมีให้ตนเอง
* แคล้วคลาดจากอันตรายต่าง ๆ
* เมื่อสิ้นอายุขัยจะไปสู่สุคติภูมิ

ขอตั้งสัตยาธิษฐาน ขอความเจริญรุ่งเรือง จงบังเกิดแก่ท่านผู้สร้าง ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้ เพื่อความงอกงามในพระบวรพระพุทธศาสนาสืบไป.

เจ้าของ:  อมิตาพุทธ [ 08 มิ.ย. 2009, 14:22 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: คาถา..ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก

สวดอยู่ทุกคืนเลยครับ :b1:
สาธุครับ :b8:

เจ้าของ:  แมวขาวมณี [ 09 มิ.ย. 2009, 19:18 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: คาถา..ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก

:b8:
อมิตาพุทธ เขียน:
สวดอยู่ทุกคืนเลยครับ :b1:
สาธุครับ :b8:

ขออนุโมทนาสาธุกับคุณ อมิตาพุทธด้วยค่ะ

สาธุ นิพพานนะ ปัจจะโย โหตุ

เจ้าของ:  อินทรีย์5 [ 21 มิ.ย. 2009, 21:54 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: คาถา..ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก

;ว่าแต่พระคาถานี้ ใช้เวลาสวดนานมาก นานแค่ไหนหรอ ก็พอๆกันกับอิติปิโสเท่าอายุไงครับ
ก็จะสวดจนครบ ต้องเป็นคนขยันสวดมนต์หน่อยนะ :b39:

- แต่จะว่าไปคาถานี้สวดยาวดี เวลาสวดเสร็จจิตเป็นสมาธิมั่นคง เกิดสมาธิเร็ว ไม่รู้ว่าผู้ที่เคยสวด
รู้สึกแบบนี้บ้างรึป่าวครับ เป็นคาถาวิเศษว่าด้วยการรวมของหลายๆหัวใจพุทธมนต์ :b40:

เจ้าของ:  แมวขาวมณี [ 21 มิ.ย. 2009, 22:40 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: คาถา..ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก

:b8: :b8: :b8:
แมวขาวฯ เคยสวดค่ะ
สวดให้คุณแม่ อยู่ 7 คืน
อินทรีย์5 เขียน:
;ว่าแต่พระคาถานี้ ใช้เวลาสวดนานมาก นานแค่ไหนหรอ ก็พอๆกันกับอิติปิโสเท่าอายุไงครับ
ก็จะสวดจนครบ ต้องเป็นคนขยันสวดมนต์หน่อยนะ :b39:

- แต่จะว่าไปคาถานี้สวดยาวดี เวลาสวดเสร็จจิตเป็นสมาธิมั่นคง เกิดสมาธิเร็ว ไม่รู้ว่าผู้ที่เคยสวด
รู้สึกแบบนี้บ้างรึป่าวครับ เป็นคาถาวิเศษว่าด้วยการรวมของหลายๆหัวใจพุทธมนต์ :b40:


:b8: คุณ อินทรีย์5
คาถานี้ต้องตั้งสติในการสวด มีความตั้งใจ จึงเอื้อต่อการมีสมาธิเป็นอย่างมาก

ใช้เวลาพอสมควรแต่ไม่นานเกินไป ยิ่งสวดคล่อง ๆ จะเร็วมาก ประมาณ 10 นาที

ตอนนี้ห่างไปนาน ขออนุโมทนากับท่าน อมิตาพุทธ ด้วยค่ะ

เจ้าของ:  อมิตาพุทธ [ 22 มิ.ย. 2009, 17:42 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: คาถา..ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก

คุณแมวขาวมณี ถ้าว่างก็สวดด้วยนะครับ :b4:

:b8: :b8: :b8:

เจ้าของ:  แมวขาวมณี [ 22 มิ.ย. 2009, 23:30 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: คาถา..ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก

อมิตาพุทธ เขียน:
คุณแมวขาวมณี ถ้าว่างก็สวดด้วยนะครับ :b4:

:b8: :b8: :b8:


สาธุ ค่ะ คุณ อมิตาพุทธ
ตกลงจะอ้างว่า ไม่ว่างก็ไม่ได้ช่ายป่ะ :b20:
เฮ้อ... เฝ้าลานมาจนค่อนคืน ตามอ่านกระทู้ไม่ทันแย้วอ่ะค่ะ.... :b30: :b30:
หาเรื่องมาโพสก็แทบไม่เจอ.... :b23: :b23:
พิมพ์พระอภิธรรมอีก ค้างไว้ตั้งเยอะ... :b31: :b31: :b31:
ไหว้พระสวดมนต์ นั่งสมาธิ+วิปัสสนา ก็เกือบค่อนสว่าง.... :b21:
ว่างตอนไหนมั่งเนี้ยะ.....
:b2: :b2: :b2:

เจ้าของ:  สุนันท์ [ 23 มิ.ย. 2009, 16:54 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: คาถา..ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก

:b8: :b8: :b8: อนุโมทนาบุญ กับทุกท่านด้วย เจ้าคะ

เจ้าของ:  Bwitch [ 03 ก.ค. 2009, 21:52 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: คาถา..ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก

:b8: :b8: :b8:
สา....ธุค่ะ
เห็นทีจะต้องขอแวะมาที่กระทู้นี้บ่อยๆ เสียแล้วค่ะ
เมื่อหลายปีก่อนก็เคยสวดทุกวัน (โดยไม่ทราบคำแปล)
และสังเกตได้เองว่าชีวิตช่วงนั้นสว่าง สุข และสงบมากๆๆๆๆ ค่ะ
ส่วนตัวแล้วเชื่อว่าเทวดาท่านมาอนุโมทนาด้วยจริงๆ

เรียนถามนิดนึงนะคะ ขณะสวดยอดพระกัณฑพระไตรปิฎก นอกจากผู้ที่อยู่ในสุคติภูมิแล้ว
ผู้ที่อยู่ในทุขคติภูมิจะมาร่วมอนุโมทนาและขอส่วนบุญจากเราหรือไม่
ถ้าสวดตอนกลางคืน แล้วแผ่เมตตาและอุทิศส่วนกุศลให้ในคืนนั้นแล้ว
ตอนเช้าจึงไปกรวดน้ำฝากต่อพระแม่ธรณีจะได้หรือไม่ค่ะ

ขอบพระคุณค่ะ :b8:

เจ้าของ:  หมูตอน [ 04 ก.ค. 2009, 17:30 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: คาถา..ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก

Bwitch เขียน:
:b8: :b8: :b8:
สา....ธุค่ะ
เห็นทีจะต้องขอแวะมาที่กระทู้นี้บ่อยๆ เสียแล้วค่ะ
เมื่อหลายปีก่อนก็เคยสวดทุกวัน (โดยไม่ทราบคำแปล)
และสังเกตได้เองว่าชีวิตช่วงนั้นสว่าง สุข และสงบมากๆๆๆๆ ค่ะ
ส่วนตัวแล้วเชื่อว่าเทวดาท่านมาอนุโมทนาด้วยจริงๆ

เรียนถามนิดนึงนะคะ ขณะสวดยอดพระกัณฑพระไตรปิฎก นอกจากผู้ที่อยู่ในสุคติภูมิแล้ว
ผู้ที่อยู่ในทุขคติภูมิจะมาร่วมอนุโมทนาและขอส่วนบุญจากเราหรือไม่
ขอบพระคุณค่ะ :b8:



อยากทราบเหมือนกันค่ะ

เจ้าของ:  หมูตอน [ 04 ก.ค. 2009, 17:32 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: คาถา..ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก

อนุโมทนาสำหรับบทความดีๆค่ะ


อยากทราบว่าพี่ๆใช้เวลาท่องให้จำได้เนี่ยนานรึป่าวคะ

มีวิธีแนะนำให้จำได้ง่ายๆบ้างมั้ยคะ


:b46: :b46: :b8: :b8: :b8: :b46: :b46:

เจ้าของ:  อินทรีย์5 [ 04 ก.ค. 2009, 17:43 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: คาถา..ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก

ถ้าอยากให้ผู่ที่อยู่ในทุคติยภูมิมาร่วมอนุโมทนาบุญอันนี้ ก็ควรจะสวดในวันโกนกับวันพระนะครับ เพราะ2 วันนี้
เป็นวันหยุดของนรก คนที่ใช้ทุกขกรรมอยู่สามารถมารับส่วนบุญส่วนกุศลกับญาติๆที่โลกมนุษย์ได้ แต่มาได้แป๊บๆก้ต้องรีบกลับนะ เด่วโดนจับได้ :b40:
- หากสวดเสร็จแล้วตอนเช้า จะไปกรวดน้ำให้เจ้าแม่ธรณี จะทำยังงั้นก้ได้ ทำเหมือนกับตักบาตรเสร็จ แล้วไปกรวดน้ำใส่ต้นไม้ใหญ่ ขึ้นอยู่กับเวลามีเวลาว่างพอไปทำไหม แต่ถ้าทำก้ทำได้ครับ ขออนุโมทนาถ้าหาก
จะทำ :b40:

- ขออนุโมทนาบุญกับ K อมิตาพุทธด้วย เหนบอกว่าสวดทุกๆวันเลย การสวดมนต์ทุกวัน ถือเป็นอานิสงส์มาก
มากแค่ไหน หรอ ก้จัดอยู่ใน มหากุศล8 ซึ่งได้แก่ ไหว้พระ สวดมนต์ ฟังเทศน์ ฟังธรรม ทอดกฐิน ทอดผ้าป่า
ขุดบ่อ สร้างโบสถ์ สร้างศาลา เป็นต้น (หากตายไปจะไปบังเกิดในสวรรค์ 6 ชั้นตามกำลังบุญ) :b39:

- ถ้าหากจะท่องจำคาถานี้ อย่าเลยจะดีกว่า ไปจำคาถาอิติปิโส กับพาหุง มหากาฯ หรือไม่ก้ชินะบัญชร จะดีกว่านะ
คาถายอดพระกัณฑ์ฯยาวเกินกว่าจะเอามาท่องจำได้ หลายบทมาก อ่านตามหนังสือแหละดีแล้ว หากจะสวดก็นึกถึงหลวงปู่แสง
วัดมณีชลขันธ์ก่อนด้วยก็ยิ่งดี เพราะท่านเป็นผู้ค้นพบคาถานี้และเรียบเรียงเนื้อหาจนสวดได้ง่าย ..... :b39: :b39:

เจ้าของ:  yingying [ 04 ก.ค. 2009, 17:44 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: คาถา..ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก

อยากสวดบทนี้ได้จังค่ะ คิดว่าคงจะต้องใช้เวลานานหน่อยแต่ก็จะพยายามสวดโดยไม่ดูหนังสือ

การสวดพระคาถาชิณบัญชรก็ดีนะคะตอนนี้ก็สวดทุกวันวันละหนึ่งครั้งค่ะแต่ไม่รู้ว่าควรจะสวดเวลาไหนดี ค่ะ :b41:

เจ้าของ:  วรานนท์ [ 04 ก.ค. 2009, 20:12 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: คาถา..ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก

:b8: :b8: :b8:

yingying เขียน:
แต่ไม่รู้ว่าควรจะสวดเวลาไหนดี ค่ะ


ผมจะสวดก่อนนอนวันพระครับ

ส่วนท่านอื่นละครับ เวลาไหนถึงจะเหมาะสม


:b8: :b8: :b8:

หน้า 1 จากทั้งหมด 3 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/