วันเวลาปัจจุบัน 16 เม.ย. 2024, 16:50  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=28



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ธ.ค. 2009, 18:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ธ.ค. 2009, 17:57
โพสต์: 1

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เคล็ดไม่ลับการอ่านออกเสียงภาษาสวรรค์
( ภาษาปาฬิ [Pāļi] หรือภาษามาคธี [Maagaidhii] )
วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้สามารถอ่านออกเสียงสวดมนต์ตามแบบธรรมเนียมเถรวาทได้อย่างถูกต้องเหมาะสมเพียงพอ
2.เพื่อให้มีความสุขกายสบายใจ ในการนั่งสวดมนต์ภาวนาวิธี
3.เพื่อให้ผู้สวดสามารถสำเหนียก ระวังจิต ไม่ประมาท และระลึกถึงคุณแห่งพระรัตนตรัยได้อย่างเป็นปกติ
4.เพื่อให้ผู้สวดสามารถฝึกสมถะภาวนาไปด้วยในตัว จนถึงขั้นการพิจารณายกอารมณ์กัมมัฏฐานขึ้นสู่วิปัสสนาภาวนาได้ ด้วยตนเอง
5.เพื่อรักษาไว้ซึ่งแบบแผน และธรรมเนียมปฏิบัติที่ถูกต้องของพุทธสาวก

สระ หมายถึงอักขระที่เปล่งเสียงให้ประสาทหูได้ยิน และออกเสียงได้เอง กล่าวคือ สามารถออกเสียงได้เองโดยไม่ต้องอาศัยอักษรตัวอื่น สระในภาษาปาฬิมี ๘ ตัว ได้แก่ อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ
เสียงสระ แบ่งออก เป็น ๒ คือ ๑. รัสสะ(เสียงมาตราเบา หรือเสียงสั้น) ได้แก่ อะ อิ อุ และ
๒. ทีฆะ(เสียงยาว) ได้แก่ อา อี อู เอ โอ
หมายเหตุ ๑. สระที่เป็นทีฆะล้วน และสระที่เป็นรัสสะ มีพยัญชนะสังโยคและนิคคหิตอยู่เบื้องหลังชื่อ ครุ มีเสียงหนัก เช่น ภูปาโล เอสี มนุสฺสินฺโท โกเสยฺยํ เป็นต้น
๒. สระที่เป็นรัสสะล้วน ไม่มีพยัญชนะสังโยคอยู่เบื้องหลัง ชื่อ ลหุ มีเสียงเบา เช่น อติ ครุ เป็นต้น
ตารางที่ ๑ การเทียบสระด้วยอักษรโรมัน
อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ
[a] [a:] [i] [i:] [u] [u:] [e] [o:]

๑. พยัญชนะ หมายถึงการทำความหมายให้ปรากฎชัดเจนขึ้น (ไม่สามารถออกเสียงได้ด้วยตัวเอง) พยัญชนะในบาฬิ มี ๓๓ ตัว แบ่งออกเป็น พยัญชนะวรรค ๒๕ ตัว และพยัญชนะอวรรค ๘ ตัว
ตารางที่ ๒ การเทียบพยัญชนะกับอักษรโรมัน
ชื่อวรรค ๑ ๒ ๓ ๔ ๕

[k] ก
[k] ข
[kh] ค
[g] ฆ
[gh] ง
[ï]

[c] จ
[c] ฉ
[ch] ช
[j] ฌ
[jh] ญ
[ñ]

[ñ] ฏ
[ñ] ฐ
[ñh] ฑ
[ó] ฒ
[óh] ณ
[õ]

[t] ต
[t] ถ
[th] ท
[d] ธ
[dh] น
[n]

[p] ป
[p] ผ
[ph] พ
[b] ภ
[bh] ม
[m]


ตารางที่ ๓ การเทียบพยัญชนะอวรรคกับอักษรโรมัน
ย ร ล ว ส ห ฬ อํ ( – )
[y] [r] [l] [v] [s] [h] [ë] [am]/ü



ฐาน หมายถึงสถานที่เกิดเสียงของอักขระ “กรณ์” หมายถึงลิ้นและอวัยวะที่เคลื่อนไหวกระทบกับฐานหรือสั่นสะเทือนแล้วทำให้เกิดเสียงอักขระขึ้น ฐาน มี ๖ อย่าง และ กรณ์ มี ๖ อย่าง คู่กัน ดังตารางที่ ๔ แสดง ฐานและกรณ์
ฐ่าน ๖ กรณ์ ๖
๑. กณฺโฐ คอ ๑. สกฏฺฐานํ ฐานของตน คือ คอ
๒. ตาลุ เพดานปาก ๒. ชิวฺหามชฺฌํ  กลางลิ้น
๓. มุทฺธา ปุ่มเหงือก ๓. ชิวฺโหปคฺคํ ถัดปลายลิ้นเข้ามา
๔. ทนฺโต ฟัน ๔. ชิวฺหัคฺคํ  ปลายลิ้น
๕. โอฏฺโฐ ริมฝีปาก ๕. สกฏฺฐานํ ริมฝีปาก
๖. นาสิกา จมูก ๖. สกฏฺฐานํ  จมูก


อะ อา ก ข ค ฆ ง ห เสียงเกิดที่คอ เอ เสียงเกิดจากฐานคอและเพดาน
อิ อี จ ฉ ช ฌ ญ ย  เสียงเกิดที่เพดาน โอ เสียงเกิดจากฐานคอและริมฝีปาก
ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ร ฬ  เสียงเกิดที่ปุ่มเหงือก ว เสียงเกิดจากฐานฟันและริมฝีปาก
ต ถ ท ธ น ล ส เสียงเกิดที่ฟัน ห ล้วนๆ เสียงเกิดในฐานคอ ยกเว้นที่ประกอบด้วย
พยัญชนะ ๘ ตัว นี้ คือ ญ ณ น ม ย ล ว ฬ
 นิคคหิต เสียงเกิดในจมูก
อุ อู ป ผ พ ภ ม เสียงเกิดที่ริมฝีปาก






 ตารางที่ ๕ แสดงที่ตั้งเสียงอักขระ
อโฆสะ (เสียงไม่ก้องกังวาน) โฆสะ (เสียงก้องกังวาน)
สิถิล (เสียงเบา) ธนิต (เสียงหนัก) สิถิล (เสียงเบา) ธนิต (เสียงหนัก) สิถิล (เสียงเบา)
ก ข ค ฆ ง
k kh g gh ï
จ ฉ ช ฌ ญ
c ch j jh ñ
ฏ ฐ ฑ ฒ ณ
ñ ñh ó óh õ
ต ถ ท ธ น
t th d dh n
ป ผ พ ภ ม
p ph b bh m

ข้อพึงสังเกตุ ในการอ่านออกเสียงสวดมนต์แบบบาฬิ หรือภาษามคธ
ตัวพยัญชนะไทย ออกเสียงแบบบาฬิ (มคธ)
พ เช่น พุทฺโธ หรือ พุทฺธํ บ ออกเสียงเป็น บุด-โธ หรือ บุด-ธัง
ฑ เช่น ฑํสมกสวา ด ออกเสียงเป็น ดัง-สะ-มะ-กะ-สะ-วา
ญ เช่น โกณฺฑญฺโติ น หรือ ย ออกเสียงเป็น โกน-ดัน-โย-ติ
เนื่องจากภาษาปาฬิ ไม่มีสระ ไ- ดังนั้น เอยฺย จึงออกเสียงเป็น เอย-ยะ ไม่ใช่ ไอย-ยะ
เท๎วเม ออกเสียงเป็น ดะ-เว-เมพ๎รูหิ ออกเสียงเป็น บะ-รู-หิ (บะ ออกเสียงเร็วๆ เบาๆ กึ่งมาตรา คือ ครึ่งวินาที)
พ๎รหฺม ออกเสียงเป็น บะ-รัม-หะ-มะ (โดย บะ และ หะ ออกเสียงเร็วๆ สั้นๆ กึ่งมาตรา เท่านั้น)
อพ๎รัห๎มจริยา อกเสียงเป็น อะ-บะ-รัม-หะ-มะ-จะ-ริ-ยา (โดย อะ บะ และ หะ ออกเสียงเร็วๆ สั้นๆ กึ่งมาตราเท่านั้น)
ตัว ญ นั้น หากว่าเป็นตัวสะกด ออกเสียง เป็น น แต่หากว่าเป็นพยัญชนะ ออกเสียงเป็น ย เช่น โกน-ดัน-โย-ติ
คำกล่าวถวายสังฆทาน เริ่มด้วย อิมานิ มะยัง ภันเต ----------- นั้นหากว่าของที่จะถวายต่อคณะสงฆ์อยู่ห่างจากตัวเรา เกินหัตถบาส ให้เปลี่ยน อิมานิ เป็น เอตานิ และ มะยัง แปลว่า พวกเรา หากว่าถวายคนเดียว พึงเปลี่ยน มะยัง เป็น อะหัง แทน
ภาษาปาฬิ แต่เดิมเรียกว่า “ภาษามาคธี” แปลว่า “ภาษาของชาวแคว้นมคธ “ ที่ชาวอารยัน(อริยะ) เข้ามาตั้งถิ่นฐานในชมพูทวีป วัฒนธรรมของชาวอารยัน มามีอิทธิพลต่อชนพื้นเมืองคือพวกมิลักขะ ซึ่งเป็นบรรพชนแห่งพระพุทธเจ้า และภาษามาคธีนี้นับว่ามีความสำคัญยิ่งเพราะ
- เป็นภาษาอันเป็นโวหารของพระพุทธเจ้า (สัมพุทธโวหารภาสา)
- เป็นภาษาอันเป็นโวหารของพระอริยเจ้า (อริยโวหารภาสา)
- เป็นภาษาที่ใช้บันทึกสภาวธรรม (ยถาภุจจพรหมโวหารภาสา)
- เป็นภาษาที่รักษาพระพุทธพจน์ (ปาฬิภาสา)
ปาฬิ หมายถึง พระธัมม์ หรือ ธัมมะที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้และสั่งสอนไว้แก่ชาวโลก(ไม่ใช่หมายถึงภาษา) ภาษาปาฬินี้ หากว่าหมายถึง ตัวภาษา น่าจะเรียกให้ถูกว่า ภาษาพูดของคำบาฬิ หรือ ภาษาของพระไตรปิฎก คือ ภาษาที่พระพุทธเจ้าใช้พูดนั่นเอง หรือจะเรียกว่าภาษาพูดของชาวเมืองมคธ(ภาษามคธ) หรือ ภาษามาคธี Maagaidhii) ซึ่งเป็นภาษาพูดของอินเดียโบราณที่ใช้ถ่ายทอดพระธัมม์คำสอนในพระพุทธศาสนาเถรวาท
ภาษามาคธีนี้ ยังไม่ปรากฎว่ามีตัวอักษรของตนเอง ซึ่งต่างจากภาษาสันสกฤต ที่ใช้บันทึกคำสอนในศาสนาพราหมณ์ฮินดู ที่ส่วนใหญ่ใช้อักษรเทวนาครี เป็นต้น
ดังนั้น จะเห็นได้ว่า การใช้ ตัวอักษรแทนเสียงและความหมาย ให้ถูกต้องเหมาะสมนั้น เราพึงพิจารณาใช้โดยคำนึงถึงที่มาที่ไปของต้นกำเนิดภาษา เพราะฉะนั้น คำว่า ธรรม (Dhamma) เขียนตามหลักภาษาสันสกฤต หากว่าเขียนตามหลักภาษาบาฬิอักษรไทยนั้น พึงเขียนเป็น พระธัมม์ หรือ ธัมมะ (Dhamma) อันหมายถึง คำสอนของพระพุทธเจ้า
ปาฬิ ปัจจุบันมักเขียนว่า บาลี แต่ที่ถูกต้องควรเขียนว่า “ปาฬิ” (ฬ-บาฬิ ไม่ใช่ ล- วิลาส ) ซึ่งเป็นการเขียนที่ถูกต้องตามพระไตรปิฎกบาฬิในสมัยรัชกาลที่ ๕ (เพราะว่า ตัวพยัญชนะ บ ในภาษาปาฬิ ไม่มี)
ผู้ที่สนใจรายละเอียดการเทียบเสียงปาฬิ กับอักษรโรมันและประวัติศาสตร์ของภาษา สามารถสืบค้นเพิ่มเติมได้ที่
http://society.worldtipitaka.info
http://www.indianetzone.com
http://www.accesstoinsight.org
http://www.mahidol.ac.th/budsir
http://studies.worldtipitaka.org
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เอกสารและสื่ออ้างอิง
1.Pali Composition and Translation,Mahachulalongkornrajavidyalaya University, ISBN: 978-974-364-729-1
2. โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาแปลมคธเป็นไทย ชั้นประโยค ๑-๒ , ฝ่ายการศึกษาพระปริยัติธรรม กองพุทธศาสนศึกษา, สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
3. ชมรมสนทนาภาษาธรรม สโมสรการไฟฟ้านครหลวง ๑ สิงหาคม ๒๕๕๑
4. หนังสือสวดมนต์ นวกภิกษุ วัดบวรนิเวศวิหาร
5. คู่มือการเรียนบาลีไวยากรณ์, พระศรีปริยัตยาภรณ์ (ฉลาด ปริญฺาโณ ป.ธ.๙)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ธ.ค. 2009, 20:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

อนุโมทนาสาธุด้วยครับ

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ต.ค. 2010, 08:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2010, 08:26
โพสต์: 1

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นมัสการ Phra Kriang

ข้อมูลเรื่อง ภาษาปาฬิ ในกระทู้นี้ น่าสนใจและเป็นแนวทางการศึกษาพระไตรปิฎก และภาษาปาฬิ ที่ถูกต้อง ควรแก่การศึกษา

แต่สงสัยว่า การพิมพ์ยังคลาดเคลื่อน เช่น การปริวรรตอักษรไทยในภาษาปาฬิ เทียบกับอักษรโรมัน ยังพิมพ์ผิดอยู่เป็นอันมาก สมควรแก้ให้ถูกต้อง

ผู้สนใจศึกษาต้นฉบับได้ที่ http://society.worldtipitaka.info/home/teamworldtipitakadatabse

ด้วยความเคารพ
โครงการพระไตรปิฎกสากล


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 5 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร