วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 01:56  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=28



กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2011, 18:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ธ.ค. 2009, 18:30
โพสต์: 165

แนวปฏิบัติ: มหายาน
งานอดิเรก: ทรงพระสูตร
ชื่อเล่น: พุทธศานติ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


 เอวัมเม สุตัง เอกังฯ
¶ ข้าพเจ้าได้สดับฟังจากพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า

 สะมะยัง ภะคะวา พาราณะสิยัง วิหะระติ อิสิปะตะเน มิคะทาเยฯ
¶ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปะตะนะมะฤคะทายะวันใกล้เมืองพาราณสีฯ

 ตัดตระ โข ภะคะวา ปัญจะวัคคิเย ภิกขู อามันเตสิฯ
¶ ในกาลครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเตือนสติเหล่าภิกษุปัญจะวัคคีย์ให้ตั้งใจฟังและพิจารณาตามพระดำรัสของพระองค์อย่างนี้ว่าฯ

 เทวะเม ภิกขะเว อันตา ปัพพะชิเตนะ นะ เสวิตัพพาฯ
¶ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรพชิตไม่ควรปฏิบัติให้หนักไปในส่วนที่สุด ๒
อย่าง คือ


 โย จายัง กาเมสุ กามะสุขัลลิกานุโยโค หีโน คัมโม โปถุชชะนิโก อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต
¶ การประพฤติปฏิบัติตนเพื่อแสวงหาความสุขที่อยู่ใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสที่น่ารักน่าปรารถนา ซึ่งเป็นธรรมอันเลว เป็นเหตุให้ต้องมีบ้านเรือน เป็นธรรมของคนผู้ครองเรือนผู้หนาไปด้วยกิเลส ไม่ใช่ธรรมอันจะนำจิตใจออกจากกิเลส ไม่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติเพื่อให้จิตหลุดพ้นจากกิเลสเครื่องรัดรึงใจทั้งหลาย นี้อย่างหนึ่ง

 โย จายัง อัตตะกิละมะถานุโยโค ทุกโข อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโตฯ
¶ และอีกอย่างหนึ่ง คือ การประพฤติปฏิบัติด้วยการทรมานร่างกายให้ได้รับความลำบาก ซึ่งมีแต่ทำให้ใจเป็นทุกข์ทรมานอย่างเดียว ไม่เป็นทางนำจิตใจออกจากกิเลส และไม่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติเพื่อให้จิตหลุดพ้นจากกิเลสเครื่องรัดรึงใจทั้งหลายฯ (หรืออีกนัยหนึ่งคือ เร่งหักโหมปฏิบัติธรรมจนเกินกำลัง เพื่อหวังจะได้บรรลุมรรคผลเร็วๆ)

 เอเต เต ภิกขะเว อุโภ อันเต อะนะปะคัมมะ มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา
¶ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตได้รู้ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง โดยไม่เข้าไปใกล้ส่วนที่สุด ๒ อย่างนั้นแล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง
 จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติฯ
¶ ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลางนั้น สามารถทำให้ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรม ทำญาณเครื่องรู้ให้เป็นไปเพื่อ ใจสงบระงับจากกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี และเพื่อทำให้กิเลสดับไปจากจิต คือ เข้าสู่พระนิพพานฯ

 กะตะมา จะ สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติฯ
¶ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง ซึ่งสามารถทำดวงตาคือปัญญาเห็นธรรม ทำญาณเครื่องรู้ ให้เป็นไปเพื่อใจสงบระงับจากกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี และเพื่อให้กิเลสดับไปจากจิต คือ เข้าสู่พระนิพพาน ที่ตถาคตรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่งนั้น คือการปฏิบัติอย่างไรฯ

 อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค ฯ
¶ ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลางนี้ คือ ทางนำไปสู่ความไกลจากกิเลสเครื่องรัดรึงใจทั้งหลาย มี ๘ อย่างฯ

 เสยยะถีทัง
¶ ข้อปฏิบัติเหล่านี้คือ

 สัมมาทิฏฐิ
¶ ความเห็นถูก (ความรู้ที่รู้ในทุกข์, รู้ในเหตุแห่งทุกข์, รู้ความดับทุกข์, รู้ทางดำเนินให้ถึงความดับทุกข์ การมีความรู้ที่ถูกต้องในเรื่องของกุศลและอกุศล มีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการทำดีทำชั่ว ซึ่งเป็นทางนำไปสู่ ทุคติภูมิ สุคติภูมิ และนิพพาน)

 สัมมาสังกัปโป
¶ ความนึกคิดถูก เป็นทางให้เข้าถึงสุคติ และนิพพาน (โดยทั่วไปแล้ว บุคคลทั้งหลายก็มีความนึกคิดที่เป็นไปตามกิเลสเป็นปกติ กล่าวคือเมื่อปุถุชนรับรู้อารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง จะโดยการเห็น ได้ยิน ได้สัมผัส เป็นต้น ย่อมจะเกิดความรู้สึกอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๒ อย่าง คือ ถ้าถูกใจในอารมณ์นั้นก็ชอบ ติดใจ อยากได้ พัวพัน คล้อยตาม แต่ถ้าไม่ถูกใจก็ไม่ชอบ ขัดเคืองใจ เกลียดชัง ผลักออก เป็นปฏิปักษ์ จากนั้นความนึกคิดต่าง ๆ ก็จะดำเนินไปตามแนวทางหรือแรงผลักดันของความชอบและไม่ชอบที่เกิดขึ้นนั้น ด้วยเหตุนี้ ความนึกคิดของปุถุชนโดยปกติ จึงมักเอนเอียงไปข้างใดข้างหนึ่งเสมอ โดยมีความพอใจและไม่พอใจของตนเข้าไปเคลือบแฝงและคอยชักจูงให้เป็นไป ทำให้ไม่เข้าใจถึงสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง เพราะถูกความชอบใจ จนเกิดความติดใคร่ พัวพัน จึงเอียงเข้าหาความนึกคิดนั้น ซึ่งเป็นทัศนคติต่อสิ่งต่าง ๆ อย่างไม่ถูกต้อง)

 สัมมาวาจา
¶ วาจาถูก (เว้นจากการพูดปด พูดส่อเสียด พูดหยาบคาย พูดเพ้อเจ้อ)

 สัมมากัมมันโต
¶ การกระทำถูก (การกระทำในด้านร่างกายที่ถูกต้อง เว้นจากการฆ่าสัตว์ ฉ้อฉลของผู้อื่น ประพฤติผิดในกาม)

 สัมมาอาชีโว
¶ การเลี้ยงชีพถูก (การเลี้ยงชีพที่ถูกต้อง ไม่เบียดเบียนผู้ใดจนทำให้เขาได้รับความเดือดร้อนแล้วตนได้รับประโยชน์)

 สัมมาวายาโม
¶ ความเพียรถูก (ความพยายามในทางที่ถูกต้อง เพื่อให้เกิดความเห็นแจ้งชัดในความจริง และจะได้พบกับความสงบเย็นภายในจิตใจอันเป็นเป้าหมายสุดท้ายของชีวิตที่สมบูรณ์)

 สัมมาสะติ
¶ การระลึกถูก (ความระลึกประจำใจที่ถูกต้อง คือ คอยป้องกันยับยั้งตนเองที่จะไม่ให้หลงเพลินไปตามความชั่ว หรือไม่ให้ความชั่วเล็ดลอด

.....................................................
สัตว์ทั้งหลายย่อมต้องการความสุข ผุ้ใดแสวงหาสุขเพื่อตน
เบียดเบียนผู้อื่นด้วยอาชญา เมื่อละโลกแล้ว ย่อมไม่ได้สุข


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2011, 18:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ธ.ค. 2009, 18:30
โพสต์: 165

แนวปฏิบัติ: มหายาน
งานอดิเรก: ทรงพระสูตร
ชื่อเล่น: พุทธศานติ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เข้ามาในจิตใจได้ เตือนตนเองในการทำความดี และไม่เปิดโอกาสแก่ความชั่ว)

 สัมมาสะมาธิ ฯ
¶ การตั้งมั่นถูกฯ (การตั้งมั่นแห่งจิต ภาวะที่จิตแน่วแน่ต่ออารมณ์ หรือสิ่งที่กำหนดซึ่งปราศจากโทษ เพื่อให้จิตกำหนดแน่วแน่อยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ไม่ฟุ้งซ่านหรือส่ายไป)

 อะยัง โข สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ
¶ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางเหล่านี้แล คือ ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง ซึ่งสามารถทำดวงตาคือปัญญาเห็นธรรม ทำญาณเครื่องรู้ให้เป็นไปเพื่อใจสงบระงับจากกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี และเพื่อทำให้กิเลสดับไปจากจิตคือเข้าสู่พระนิพพาน ที่ตถาคตรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่งฯ

 อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยะสัจจัง
¶ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สภาวะเหล่านี้แลเป็นตัวทุกข์อย่างแท้จริง คือ

 ชาติปิ ทุกขา
¶ ความเกิดก็เป็นทุกข์
 ชะราปิ ทุกขา
¶ เมื่อความแก่เข้ามาถึง ก็เป็นทุกข์

 มะระณัมปิ ทุกขัง
¶ เมื่อความตายเข้ามาถึง ก็เป็นทุกข์

โสกะปริเทวะทุกขะโทมะนัสสุกปายาสาปิ ทุกขา
¶ เมื่อความเศร้าโศก ความร่ำไรรำพัน ความเสียใจ และความคับแค้นใจเกิดขึ้นมา ก็เป็นทุกข์

 อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข
¶ เมื่อประสบพบกับสิ่งที่ไม่ชอบใจ ก็เป็นทุกข์

 ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข
¶ เมื่อพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่ชอบใจ ก็เป็นทุกข์

ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง
¶ และแม้คิดปรารถนาอยากได้สิ่งใด แต่ไม่ได้สิ่งนั้นสมปรารถนา ก็เป็นทุกข์

 สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขาฯ
¶ กล่าวโดยย่อแล้วก็คือ การหลงคิดว่าร่างกายเป็นของเราของเขา

ความคิดเกี่ยวกับตัวตนเราเขานั่นแลเป็นเหตุทำใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริงฯ

 อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ยายัง ตัณหา
¶ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ตัณหาคือความอยากที่ไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจนี้แลเป็นต้นเหตุทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริง

 โปโนพภะวิกา นันทิราคะสะหะคะตา ตัดตระ ตัตราภินันทินี เสยยะถีทัง กามะตัณหา
¶ คือ มีความอยากเวียนว่ายตายเกิดอยู่ร่ำไป และมีความกำหนัดยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสที่น่าปรารถนา ก็เป็นเหตุทำให้ใจเกิดทุกข์

 ภะวะตัณหา
¶ สิ่งใดที่ยังไม่มี ก็คิดอยากจะให้มีขึ้นมา อย่างนี้ก็ทำให้ใจเกิดทุกข์

 วิภะวะตัณหาฯ
¶ และเมื่อมีทุกอย่างสมปรารถนาแล้ว ก็อยากจะให้ทุกอย่างคงทนอยู่ตลอดไป เมื่อมันจะต้องสลายหายไป ก็ร้อนใจไม่อยากให้เป็นเช่นนั้น อย่างนี้ก็ยิ่งทำให้ใจเกิดทุกข์หนักขึ้นอีกฯ

 อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจังฯ โย ตัสสาเยวะ ตัณหายะ อะเสสะวิราคะนิโรโธ จาโค ปะฏินิสสัคโค มุตติ อะนาละโยฯ ¶ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การดับตัณหาความอยากให้หมดไปจากใจด้วยการ ละ วาง ปล่อย และไม่คิดยินดีพัวพันอยู่กับตัณหาความอยากนั้นอีกเด็ดขาด คือ การดับทุกข์ให้หมดไปจากใจได้อย่างแท้จริงฯ

 อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจังฯ อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโคฯ เสยยะถีทังฯ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสะติ สัมมาสะมาธิฯ
¶ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติเพื่อนำกิเลสให้หมดไปจากใจนี้ มี ๘ อย่าง คือ ความเห็นถูก ความนึกคิดถูก วาจาถูก การกระทำถูก การเลี้ยงชีพถูก ความเพียรถูก การระลึกถูก การตั้งมั่นถูกคือ ข้อปฏิบัติเพื่อนำใจให้หมดจากกิเลสและดับความทุกข์ได้อย่างแท้จริงฯ

 อิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ
¶ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรม และการกำหนดรู้ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจใสสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราอย่างนี้ว่า "ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ความเศร้าโศก ความร่ำไรรำพัน ความเสียใจ และความคับแค้นใจ เป็นตัวทุกข์อย่างแท้จริง" ฯ

 ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญเญยยันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ
¶ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ความหยั่งรู้เหตุและผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจใสสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เหล่านี้เป็นต้น อันเป็นตัวทุกข์อย่างแท้จริงนั้นแล เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ตลอดเวลา"ฯ

 ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญญาตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
¶ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรม และการกำหนดรู้ความหยั่งรู้เหตุและผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจใสสว่างในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เหล่านี้เป็นต้น อันเป็นตัวทุกข์อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เราได้หยั่งรู้ด้วยปัญญาโดยตลอดแล้ว"ฯ
 อิทัง ทุกขะสุมุทะโย อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ
¶ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรม และการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุและผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจใสสว่างในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "ตัณหาคือความอยากที่ไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจนี้ เป็นเหตุทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริง"ฯ

 ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ
¶ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรม และการกำหนดรู้ความหยั่งรู้เหตุและผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจใสสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "ตัณหาคือความอยากที่ไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจ อันเป็นเหตุทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เป็นสิ่งที่ต้องละให้ขาด"ฯ

 ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหีนันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ
¶ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ความหยั่งรู้เหตุและผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจใสสว่างในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "ตัณหาคือความอยากที่ไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจ อันเป็นเหตุทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เราได้ละขาดไปจากใจแล้ว"ฯ

 อิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ
¶ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ความหยั่งรู้เหตุและผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจใสสว่างในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "การดับตัณหาคือความอยากที่ไม่มีสิ้นสุดนี้ให้หมดไปจากใจ คือ การดับทุกข์ได้อย่างแท้จริง" ฯ

 ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ
¶ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรม และการกำหนดรู้ความหยั่งรู้เหตุและผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจใสสว่างในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "การดับตัณหาคือความอยากที่ไม่มีสิ้นสุดนี้ให้หมดไปจากใจ คือ การดับทุกข์ได้อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เป็นสิ่งที่ต้องทำให้แจ้งในใจตลอดเวลา"ฯ

 ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกะตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ
¶ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรม และการกำหนดรู้ความหยั่งรู้เหตุและผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจใสสว่างในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "การดับตัณหาคือความอยากที่ไม่มีสิ้นสุดนี้ให้หมดไปจากใจ คือ การดับทุกข์ได้อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เราได้ทำให้แจ้งในใจอยู่ตลอดเวลาแล้ว"ฯ

.....................................................
สัตว์ทั้งหลายย่อมต้องการความสุข ผุ้ใดแสวงหาสุขเพื่อตน
เบียดเบียนผู้อื่นด้วยอาชญา เมื่อละโลกแล้ว ย่อมไม่ได้สุข


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2011, 18:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ธ.ค. 2009, 18:30
โพสต์: 165

แนวปฏิบัติ: มหายาน
งานอดิเรก: ทรงพระสูตร
ชื่อเล่น: พุทธศานติ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


 อิทัง ทุกขะนิโรธคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
¶ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรม และการกำหนดรู้ความหยั่งรู้เหตุและผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจใสสว่างในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "มรรคคือทาง ๘ ประการ เป็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับไปจากใจได้อย่างแท้จริง"ฯ

 ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาเวตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ
¶ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรม และการกำหนดรู้ความหยั่งรู้เหตุและผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจใสสว่างในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "มรรคคือทาง ๘ ประการ อันเป็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับไปจากใจได้อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เป็นธรรมที่ต้องทำให้มีในใจไว้ตลอดเวลา"ฯ

 ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาวิตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ
¶ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรม และการกำหนดรู้ความหยั่งรู้เหตุและผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจใสสว่างในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "มรรคคือทาง ๘ ประการ อันเป็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับไปจากใจได้อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เราได้ทำให้มีในใจไว้ตลอดเวลาแล้ว"ฯ

 ยาวะกีวัญจะ เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติปะริวัฏฏัง ทะวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง นะ สุวิสุทธัง อะโหสิฯ
¶ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการของผู้บรรลุธรรมะวิเศษ อันทำให้ใจไกลห่างจากกิเลสนี้ ถ้าหากเรายังไม่รู้เห็นตามความเป็นจริง โดยอาการหมุนเวียนแห่งปัญญาญาณครบทั้งสามรอบ ของความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการรวมเป็นอาการ ๑๒ รอบ
(อาการ ๑๒ รอบ นี้คือรอบในการหยั่งรู้หยั่งเห็นความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการของผู้บรรลุธรรมะวิเศษ ซึ่งท่านใช้เป็นหลักเกณฑ์สำหรับวัดความตรัสรู้ กล่าวคือ เมื่อใดรู้ความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการแต่ละอย่างด้วยญาณครบทั้งสามรอบ รวมเป็นสิบสองรายการแล้ว เมื่อนั้น จึงจะชื่อว่ารู้ความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการของผู้บรรลุธรรมะวิเศษ เป็น
ผู้ตรัสรู้ การหยั่งรู้หยั่งเห็นครบสามรอบ เรียกว่า ญาณทัสสนะ คือ
รอบที่ ๑ สัจญาณ หยั่งรู้สัจจะ คือ การหยั่งรู้ความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ แต่ละอย่างตามที่เป็น คือ ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ว่าเป็นทุกข์แท้จริง ๑ , ตัณหาคือความอยากที่ไม่มีสิ้นสุดเป็นเหตุเกิดทุกข์แท้จริง ๑ , การดับตัณหาคือความอยากที่ไม่มีสิ้นสุดเป็นการดับทุกข์ได้แท้จริง ๑ , มรรคคือทางแปดประการเป็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับไปจากใจได้อย่างแท้จริง ๑

รอบที่ ๒ กิจญาณ หยั่งรู้กิจ คือ การหยั่งรู้หน้าที่ที่จะต้องทำต่อความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการแต่ละอย่างว่าตัวทุกข์ควรต้องกำหนดรู้ตลอดเวลา ๑, ตัณหาคือความอยากที่ไม่มีสิ้นสุดต้องละให้ขาด ๑, การดับตัณหาความอยากที่ไม่มีสิ้นสุดเป็นสิ่งที่ต้องทำให้แจ้งในใจตลอดเวลา ๑, มรรคแปดเป็นธรรมที่ต้องทำให้มีในใจไว้ตลอดเวลา๑

รอบที่ ๓ กตญาณ หยั่งรู้การอันทำแล้ว คือ การหยั่งรู้ว่ากิจอันจะต้องทำในความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ แต่ละอย่างนั้นได้ทำเสร็จแล้ว คือ รู้ว่าทุกข์รู้ด้วยปัญญาโดยตลอดแล้ว ๑, ตัณหาคือความอยากที่ไม่มีสิ้นสุดได้ละขาดไปจากใจแล้ว ๑, การดับตัณหาความอยากที่ไม่มีสิ้นสุดได้ทำให้แจ้งในใจตลอดเวลาแล้ว ๑, มรรคแปดได้ทำให้มีในใจไว้ตลอดเวลาแล้ว ๑ )
 เนวะ ตาวาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิงฯ
¶ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าหากเรายังไม่รู้เห็นตามความเป็นจริง โดยอาการ ๑๒ รอบ ของความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการของผู้บรรลุธรรมะวิเศษ เราไม่กล้าประกาศยืนยันแก่มนุษยโลกตลอดถึง เทวโลก มารโลก พรหมโลก รวมทั้งหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ให้ได้รู้เพียงนั้นว่าเราได้ตรัสรู้พร้อมยิ่งซึ่งปัญญาเครื่องตรัสรู้โดยชอบอันยอดเยี่ยม ซึ่งไม่มีความตรัสรู้อื่นในโลกใด ๆ หรือ ของใคร ๆ จะเทียบได้ ฯ

 ยะโต จะ โข เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติปะริวัฏฏัง ทะวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ
¶ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดแล ความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการของผู้บรรลุธรรมะวิเศษ อันทำให้ใจห่างไกลจากกิเลสนี้ เราได้รู้เห็นตามความเป็นจริง โดยอาการหมุนเวียนแห่งปัญญาญาณ ครบสามรอบทั้ง ๔ ประการ รวมเป็นอาการ ๑๒ รอบ ด้วยปัญญาอันบริสุทธิ์หมดจดแล้วฯ

 อะถาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมา
สัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิงฯ
¶ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้นเราจึงกล้าประกาศยืนยันแก่มนุษยโลก ตลอดถึงเทวโลก มารโลก พรหมโลก รวมทั้งหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ให้ได้รู้เฉพาะว่า เราได้ตรัสรู้พร้อมยิ่งซึ่งปัญญาเครื่องตรัสรู้โดยชอบอันยอดเยี่ยม ซึ่งไม่มีความตรัสรู้อื่นในโลกใด ๆ หรือของใคร ๆ จะเทียบได้ฯ

 ญาณัญจะ ปะนะ เม ทัสสะนัง อุทะปาทิ อะกุปปา เม วิมุตติฯ อะยะมันติมา ชาติฯ นัตถิทานิ ปุนัพภะโวติฯ
¶ ก็แล ปัญญารู้เห็นได้เกิดขึ้นแก่เราแล้วว่า "กิเลสเครื่องรัดรึงใจทั้งหลายไม่สามารถจะกำเริบขึ้นมาได้อีกแล้ว จิตของเราได้หลุดพ้นจากกิเลสโดยวิเศษแล้ว ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายของเราแล้ว บัดนี้ไม่มีภพเป็นที่เกิดสำหรับเราอีกแล้ว"ฯ

 อิทะมะโวจะ ภะคะวาฯ
¶ ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ อันทำให้ใจห่างไกลจากกิเลสอย่างนี้แล้วฯ

 อัตตะมะนา ปัญจะวัคคิยา ภิกขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง ฯ
¶ พระภิกษุปัจจวัคคีย์เหล่านั้น ก็มีความเพลิดเพลินยินดีในธรรมที่พระ
พุทธองค์ทรงตรัสแล้วนั้นฯ

 อิมัสสะมิญจะ ปะนะ เวยยากะระณัสสะมิง ภัญญะมาเน
¶ ก็ในเมื่อขณะที่พระผู้มีพระภาค ทรงกล่าวแสดงความละเอียดพิศดารแห่งความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการอยู่นั่นแล

 อายัสสะมะโต โกณทัญญัสสะ วิระชัง วีตะมะลัง ธัมมะจักขุง อุทะปาทิ "ยังกิญจิ สะมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ"ฯ
¶ ดวงตาคือ ปัญญาอันเห็นธรรม ซึ่งปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแล้วแก่ท่านโกณทัญญะ ผู้มีอายุอย่างนี้ว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดเป็นธรรมดาแล้วสิ่งนั้น ๆ ทั้งปวง ก็ต้องดับสลายไปเป็นธรรมดา"ฯ

 ปะวัตติเต จะ ภะคะวะตา ธัมมะจักเก
¶ ก็เมื่อพระผู้มีพระภาค ได้ทรงประกาศวงล้อแห่งธรรมให้เป็นไปแล้วนั่นแล

 ภุมมา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง
¶ ภูมิเทวดาทั้งหลายคือเทวดาที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน ตามภูเขา แม่น้ำ มหาสมุทร บ้านเรือน ราชวัง ซุ้มประตู เจดีย์ ศาลา ใต้พื้นดิน ต้นไม้ ก็ส่งเสียงประกาศให้บันลือลั่นขึ้นว่า
 "เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินติ"ฯ
¶ "นั่นคือ วงล้อแห่งธรรมอันยอดเยี่ยม ไม่มีอะไรเทียบได้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปะตะนะมะฤคะทายะวัน ใกล้เมืองพาราณสี ซึ่งวงล้อแห่งธรรมอย่างนี้ อันสมณพราหมณ์ ตลอดถึงเทวดา มาร พรหม และใคร ๆ ในโลกจะคัดค้านไม่ได้"

 ภุมมานัง เทวานัง สัททัง สุตวา จาตุมมะหาราชิกา เทวดา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
¶ เมื่อเหล่าเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกาได้ยินเสียงประกาศของเหล่าภูมิเทวดาซึ่งอยู่บนพื้นดิน ก็พร้อมใจกันส่งเสียงประกาศให้บันลือลั่นขึ้นไปอีกฯ
(เหล่าเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา ผู้สถิตอยู่ตั้งแต่กลางภูเขาสิเนรุจนกระทั่งถึงพื้นแผ่นดินมนุษย์โลก สรวงสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาภูมิ มีท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ แบ่งกันปกครองคือ ท้าวธะตะระฐะ อยู่ทางทิศตะวันออกของภูเขาสิเนรุเป็นผู้ปกครองพวกคันธัพพะเทวดา ท้าววิรุฬหะกะ อยู่ทางทิศใต้ของภูเขาสิเนรุเป็นผู้ปกครองพวกกุมภัณฑะเทวดา ท้าววิรูปักขะอยู่ทางทิศตะวันตกของภูเขาสิเนรุเป็นผู้ปกครองพวกนาคเทวดา ท้าวกุเว

.....................................................
สัตว์ทั้งหลายย่อมต้องการความสุข ผุ้ใดแสวงหาสุขเพื่อตน
เบียดเบียนผู้อื่นด้วยอาชญา เมื่อละโลกแล้ว ย่อมไม่ได้สุข


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2011, 18:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ธ.ค. 2009, 18:30
โพสต์: 165

แนวปฏิบัติ: มหายาน
งานอดิเรก: ทรงพระสูตร
ชื่อเล่น: พุทธศานติ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ระอยู่ทางทิศเหนือของภูเขาสิเนรุเป็นผู้ปกครองพวกยักขเทวดา ท้าวจตุมหาราชทั้งสี่พร้อมบริวารเป็นผู้รักษาด่านหน้าของสรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ อันว่าบุคคลจะไปเกิดเป็นเทวดาในสรวงสวรรค์ก็เนื่องด้วยบุญ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในทานสูตรมีใจความว่า "ผู้ใดให้ทานโดยหวังผลบุญจากการให้ทานเมื่อตายไปจะไปบังเกิดในสรวงสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา")

 จาตุมมะหาราชิกานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ตาวะติงสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
¶ เมื่อเหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ซึ่งอยู่บนสรวงสวรรค์ชั้นที่สองได้ยินเสียงประกาศของเหล่าเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกาซึ่งอยู่ในสรวงสวรรค์ชั้นที่หนึ่ง ก็พร้อมใจกันส่งเสียงประกาศให้บันลือลั่นขึ้นไปอีกฯ
(เหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ ผู้สถิตอยู่เหนือยอดภูเขาสิเนรุ และที่มีวิมานลอยไปในกลางอากาศ มีพระอินทร์เทวราชเป็นผู้ปกครอง มีสวนปุณฑริกะ ซึ่งมีต้นปาริชาติ มีพระเจดีย์จุฬามณี ซึ่งบรรจุพระเกษาของพระพุทธเจ้า ที่ทรงตัดด้วยพระขรรค์สมัยออกผนวชแล้วจึงโยนขึ้นไปในอากาศ พระอินทร์ทรงเห็นด้วยทิพยจักษุ ทรงรับด้วยผอบรัตนะ ทรงนำขึ้นไปประดิษฐานที่เทวสถูปชื่อว่า จุฬามณีเจดีย์ในสรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พร้อมกับอีกสองสิ่ง คือ ปิ่นมณีและเครื่องรัดเกล้าของพระพุทธเจ้า นอกจากนี้ยังเป็นที่บรรจุพระเขี้ยวแก้วเบื้องขวาในคราวแบ่งพระธาตุ เทวสภาสุธัมมา หรือ สุธรรมสภา หรือ ศาลาสุธัมมา เป็นสถานที่ฟังธรรมในเทวโลก ในพรรษาที่เจ็ดของพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ได้เสด็จขึ้นไปโปรดพระพุทธมารดาที่ไปอุบัติเป็นสันดุสิตเทพบุตร พระอภิธรรมเกิดขึ้นครั้งแรกที่สรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นี้เอง อันว่าบุคคลจะไปเกิดเป็นเทวดาในสรวงสวรรค์ก็เนื่องด้วยบุญ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในทานสูตรมีใจความว่า "ผู้ใดทำทานโดยคิดว่าการทำทานนั้นเป็นสิ่งที่ดีงาม ตายลงย่อมไปบังเกิดในสรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์")

 ตาวะติงสานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ยามา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
¶ เมื่อเหล่าเทวดาชั้นยามาซึ่งอยู่บนสรวงสวรรค์ชั้นที่สามได้ยินเสียงประกาศของเหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ซึ่งอยู่ในสรวงสวรรค์ชั้นที่สอง
ก็พร้อมใจกันส่งเสียงประกาศให้บันลือลั่นขึ้นไปอีกฯ
(เหล่าเทวดาชั้นยามา มีที่ตั้งอยู่ในอากาศ สูงกว่ายอดภูเขาสิเนรุ ๔๒,๐๐๐ โยชน์ สรวงสวรรค์ชั้นยามามีความสวยงามและประณีตกว่าสรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พรั่งพร้อมด้วยความสุขที่เป็นทิพย์ มีท้าวสุยามะเทวราชเป็นผู้ปกครอง อันว่าบุคคลจะไปเกิดเป็นเทวดาในสรวงสวรรค์ก็เนื่องด้วยบุญพระพุทธเจ้าตรัสไว้ในทานสูตรมีใจความว่า "ถ้าผู้ใดทำทานโดยคิดว่า บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย เคยทำบุญทำทานมา โดยตลอด เราก็ควรจะได้ทำตามประเพณีที่ท่านเคยทำมา ถ้าผู้นั้นให้ทานด้วยอาการอย่างนี้แล้ว เมื่อทำกาลกิริยาตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเหล่าเทวดาทั้งหลายในสรวงสวรรค์ชั้นยามา ")

 ยามานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ตุสิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
¶ เมื่อเหล่าเทวดาชั้นดุสิตซึ่งอยู่บนสรวงสวรรค์ชั้นที่สี่ได้ยินเสียงประกาศของเหล่าเทวดาในชั้นยามาซึ่งอยู่ในสรวงสวรรค์ชั้นที่สามก็พร้อมใจกันส่งเสียงประกาศให้บันลือลั่นขึ้นไปอีกฯ
(เหล่าเทวดาชั้นดุสิต มีที่ตั้งอยู่ท่ามกลางอากาศ สูงจากสรวงสวรรค์ชั้นยามาขึ้นไป ๔๒,๐๐๐ โยชน์ เทวดาในสรวงสวรรค์ชั้นดุสิตมีปีติอยู่ด้วยสิริสมบัติของตน เป็นภูมิที่อยู่ของพระโพธิสัตว์ก่อนที่จะไปบังเกิดในมนุษย์โลก เทวดาในสรวงสวรรค์ชั้นดุสิต นับว่าเป็นเทวดาที่ประเสริฐกว่าเทวดาในภูมิอื่นๆ มีท้าวสันตุสิตเทวราชเป็นผู้ปกครอง มีร่างกาย วิมาน ทิพยสมบัติ สวยงามประณีตกว่าเทวดาในสรวงสวรรค์ชั้นยามามาก อันว่าบุคคลจะไปเกิดเป็นเทวดาในสรวงสวรรค์ก็เนื่องด้วยบุญพระพุทธเจ้าตรัสไว้ในทานสูตรมีใจความว่า "ผู้ใดให้ทานโดยคิดว่า เราหุงหากินได้ สมณพราหมณ์เหล่านั้นไม่ได้หุงหากิน ถ้าเราไม่ให้ทานก็เป็นสิ่งไม่ควรอย่างยิ่ง เมื่อเขาตายลงแล้วกุศลนั้นส่งผล ย่อมทำให้เขาไปบังเกิดเป็นเทวดาในสรวงสวรรค์ชั้นดุสิต")
 ตุสิตานัง เทวานัง สัททัง สุตวา นิมมานะระตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
¶ เมื่อเหล่าเทวดาชั้นนิมมานะระตีซึ่งอยู่บนสรวงสวรรค์ชั้นที่ห้าได้ยินเสียงประกาศของเหล่าเทวดาในชั้นดุสิตซึ่งอยู่ในสรวงสวรรค์ชั้นที่สี่ก็พร้อมใจกันส่งเสียงประกาศให้บันลือลั่นขึ้นไปอีกฯ
(เหล่าเทวดาชั้นนิมมานะระตี มีที่ตั้งอยู่ท่ามกลางอากาศ สูงจากสรวงสวรรค์ชั้นดุสิตขึ้นไป ๔๒,๐๐๐ โยชน์ เทวดาในสรวงสวรรค์ชั้นนิมมานะระตี นอกจากทิพยอารมณ์ที่ได้รับอยู่โดยปรกติแล้ว ในเวลาที่ต้องการสิ่งใด ก็นิรมิตสิ่งนั้นขึ้นได้อีกตามความต้องการ เทวดาที่เกิดในสรวงสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา จนถึง สรวงสวรรค์ชั้นดุสิต ทั้งสี่ชั้นนี้ ย่อมมีคู่ครองของตนเป็นประจำอยู่มากบ้าง น้อยบ้าง ตามบุญญาธิการของตน แต่ในสรวงสวรรค์ชั้นนิมมานะระตี และสรวงสวรรค์ชั้นปรนิมมิตตะวะสะวัตตี ไม่มีคู่ครองของตนเป็นประจำ เวลาใดที่ปรารถนาใคร่จะเสพกามคุณก็จะเนรมิตขึ้นมาตามที่ใจปรารถนา เมื่อได้เพลิดเพลินกับการเสพกามคุณแล้ว เทพเนรมิตจะอันตรธานไป มีความเพลิดเพลินเป็นอยู่เช่นนี้ไปตลอด อันว่าบุคคลจะไปเกิดเป็นเทวดาในสรวงสวรรค์ก็เนื่องด้วยบุญ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในทานสูตรมีใจความว่า "ผู้ใดทำทานโดยคิดว่าเราจะให้ทานเหมือนอย่างฤาษีทั้งหลายที่ได้กระทำมาในอดีต เมื่อตายแล้วกุศลนั้นจะส่งผล ย่อมทำให้เขาไปบังเกิดเป็นเทวดาในสรวงสวรรค์ชั้นนิมมานะระตี")

 นิมมานะระตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
¶ เมื่อเหล่าเทวดาชั้นปะระนิมมิตตะวะสะวัตตีซึ่งอยู่บนสรวงสวรรค์ชั้นที่หกได้ยินเสียงประกาศของเหล่าเทวดาในชั้นนิมมานะระตีซึ่งอยู่ในสรวงสวรรค์ชั้นที่ห้าก็พร้อมใจกันส่งเสียงประกาศให้บันลือลั่นขึ้นไปอีกฯ
(เหล่าเทวดาชั้นปะระนิมมิตตะวะสะวัตตี มีที่ตั้งอยู่ท่ามกลางอากาศ สูงจากสรวงสวรรค์ชั้นนิมมานะระตี ขึ้นไป ๔๒,๐๐๐ โยชน์ มีท้าววะสะวัตตีเทวราช เป็นผู้ปกครองสูงสุดของเทวดาทั้งหกชั้นฟ้าสรวงสวรรค์ เทวดาในสรวงสวรรค์ชั้นปะระนิมมิตตะวะสะวัตตีนี้มีร่างกาย วิมาน ทิพยสมบัติ สวยงามประณีตมากกว่าเทวดาในสรวงสวรรค์ชั้นนิมมานะระตี ภูมินี้ถือว่าเป็นยอดภูมิของเทวดา คือ ภูมิที่สูงที่สุดของเทวดา เทวดาในสรวงสวรรค์ชั้นปะระนิมมิตตะวะสะวัตตีเพียงแต่คิด ก็จะมีผู้เนรมิตสิ่งปรารถนานั้นให้ ไม่ต้องเนรมิตเอง ผู้ที่มาคอยนิรมิตให้นั้นไม่มีกล่าวว่าเป็นเทพพวกไหนชั้นไหน ทำให้เทวดาชั้นนี้มีความสุขความสำราญยิ่งกว่าสรวงสวรรค์ชั้นนิมมานะระตีมาก เมื่อปรารถนาเสวยกามคุณก็มีผู้นิรมิตให้ เมื่อได้เสวยกามคุณสมความปรารถนาแล้ว เทพเนรมิตจะอันตรธานไป อันว่าบุคคลจะไปเกิดเป็นเทวดาในสรวงสวรรค์ก็เนื่องด้วยบุญ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในทานสูตรมีใจความว่า "ผู้ใดทำทานโดยคิดว่า ทำทานเพื่อให้จิตเกิดความปลื้มปีติในบุญที่ทำ เมื่อตายลงแล้วกุศลนั้นจะส่งผล ทำให้ไปเกิดในสรวงสวรรค์ชั้นปะระนิมมิตตะวะสะวัตตี")

 ปะระนิมมิตะวะสะวัตตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา พรัหมะปาริสัชชา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
¶ เหล่าพรหมปาริสัชชา ได้ยินเสียงของเหล่าเทวดาชั้นปะระนิมมิตตะวะสะวัตตีอันเป็นชั้นสูงสุดของเทวดาซึ่งขึ้นมาถึงชั้นพรหมแล้ว ก็พร้อมใจส่งเสียงโมทนาให้บันลือลั่นขึ้นไปอีก

 พรัหมะปาริสัชชานัง เทวานัง สัททัง สุตวา พรัหมะปะโรหิตาเทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
¶ เหล่าพรหมปะโรหิตา ได้ยินเสียงของเหล่าพรหมปาริสัชชา ผู้เป็นบริวารคอยรับใช้มหาพรหม บันลือลั่นขึ้นมา ก็พร้อมใจกันโมทนาส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้นไปอีก

 พรัหมะปะโรหิตานัง เทวานัง สัททัง สุตวา มะหาพรัหมา เทวาสัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
¶ เหล่ามหาพรหม ได้ยินเสียงของเหล่าพรหมปะโรหิตา ผู้เป็นปุโรหิตของตน บันลือลั่นขึ้นมา ก็พร้อมใจกันโมทนาส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้นไปอีก

 มะหาพรัหมานัง เทวานัง สัททังสุตวา ปะริตตาภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
¶ เหล่าพรหมปริตตาภา ได้ยินเสียงของพวกเหล่ามหาพรหม ซึ่งอยู่ในชั้นปฐมฌาน บันลือลั่นขึ้นมาถึงชั้นของตนซึ่งเป็นพรหมชั้นที่สอง ก็พร้อมใจกันโมทนาส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้นไปอีก

 ปะริตตาภานัง เทวานัง สัททัง สุตวา อัปปะมาณาภาเทวา สัททะมะนุสสา เวสุง ฯ
¶ เหล่าพรหมอัปปะมาณาภา ได้ยินเสียงของพวกเหล่าพรหมปริตตาภา ผู้เป็นบริวารคอยรับใช้อาภัสสราพรหม บันลือลั่นขึ้นมา ก็พร้อมใจกันโมทนาส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้นไปอีก

 อัปปะมาณาภานัง เทวานัง สัททัง สุตวา อาภัสสะรา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
¶ เหล่าอาภัสสราพรหม ได้ยินเสียงของพวกเหล่าพรหมอัปปะมาณาภา ผู้เป็นพรหมที่คอยให้คำปรึกษาในกิจการงานของตน บันลือลั่นขึ้นมา ก็พร้อมใจกันโมทนาส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้นไปอีก

 อาภัสสะรานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ปะริตตะสุภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
¶ เหล่าพรหมปะริตตะสุภา ได้ยินเสียงของพวกเหล่าอาภัสสราพรหม ซึ่งอยู่ในพรหมชั้นทุติยฌาน บันลือลั่นขึ้นมาถึงชั้นของตนซึ่งเป็นพรหมชั้นที่สาม ก็พร้อมใจกันโมทนาส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้นไปอีก

 ปะริตตะสุภานัง เทวานัง สัททัง สุตวา อัปปะมาณะสุภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
¶ เหล่าพรหมอัปปะมาณะสุภา ได้ยินเสียงของพวกเหล่าพรหมปะริตตะสุภา ผู้เป็นบริวารคอยรับใช้สุภะกิณหะพรหม บันลือลั่นขึ้นมา ก็พร้อมใจกันโมทนาส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้นไปอีก

 อัปปะมาณะสุภานัง เทวานัง สัททังสุตวา สุภะกิณหะกา เทวา สัททะ มะนุสสาเวสุง ฯ
¶ เหล่าสุภะกิณหะพรหม ได้ยินเสียงของพวกเหล่าพรหมอัปปะมาณะสุภา ผู้เป็นพรหมที่คอยให้คำปรึกษาในกิจการงานของตน บันลือลั่นขึ้นมา ก็พร้อมใจกันโมทนาส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้นไปอีก

 สุภะกิณหะกานัง เทวานัง สัททัง สุตวา เวหัปผะลา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
¶ เหล่าเวหัปผะลาพรหม ได้ยินเสียงของพวกเหล่าสุภะกิณหะพรหม ซึ่งอยู่ในพรหมชั้นตะติยะฌาน บันลือลั่นขึ้นมาถึงชั้นของตนซึ่งเป็นพรหม

.....................................................
สัตว์ทั้งหลายย่อมต้องการความสุข ผุ้ใดแสวงหาสุขเพื่อตน
เบียดเบียนผู้อื่นด้วยอาชญา เมื่อละโลกแล้ว ย่อมไม่ได้สุข


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มิ.ย. 2011, 11:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

อนุโมทนาสาธุด้วยครับ

smiley smiley smiley

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มิ.ย. 2011, 20:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ธ.ค. 2010, 08:25
โพสต์: 326


 ข้อมูลส่วนตัว




1_display[1].jpg
1_display[1].jpg [ 41.15 KiB | เปิดดู 5172 ครั้ง ]
:b8: :b8: :b8: อนุโมทนาสาธุค่ะ ขอให้เจริญในธรรมยิ่ง ๆ ขึ้นไปนะคะ ถ้ายังไม่จบมีต่ออีก ก็จะติดตามอ่านต่ออีกค่ะ ชอบบทธรรมจักรมากเลย สวดทุกวันแต่ไม่ทราบคำแปล พอมาเจอรู้สึกดี ขอบพระคุณผู้แปลให้อ่านมากเลยค่ะ :b8: :b8: :b8:

.....................................................
สุดปลายฟ้า... เชื่อมั่นและสัทธาในพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ ผู้รู้แจ้ง เห็นจริง ยึดถือพระองค์เป็นสรณะ อย่างไม่มีสิ่งใดเหนือกว่า
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 4 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร