วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 22:22  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=28



กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2013, 13:40 
 
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ก.พ. 2013, 16:05
โพสต์: 5

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในตอนท้ายบท ลงไม่เหมือนกัน บางแห่งก่อนขึ้น อิเมหิทะสะหากาเรหิ จะมีว่า อิมัสมิงอาราเม ๆ ก่อน จึงเกิดความสงสัยว่า ควรใช้บทลงท้ายว่าอะไรกันแน่ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.พ. 2013, 15:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


ใช้สวดทำใจเฉยๆ หรือใช้จริงเพื่อเข้าใจครับคุณโยม.^^

อิเมหิ ทะสะหากาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ
จะอยู่ใน เมตตาพรหมวิหาระภาวนา (มหาเมตตาใหญ่)
http://www.dhammajak.net/suadmon-katha/2.html

แปลว่า

เมตตา(ความไม่มีจิตพยาบาท)เจโตวิมุติ(จิตที่แผ่ไปคอบงำนิวรณ์)ที่แผ่ไป[ผรณา]ในทั้ง ๑๐ ทิศ.

และที่ต้องยกมาแปลประกอบ คือ "สู่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงด้วยอาการ ๘ นี้ คือ" รวมความว่า

อิเมหิ ทะสะหากาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ

เมตตาเจโตวิมุติที่แผ่ไปในทั้ง ๑๐ ทิศสู่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงด้วยอาการ ๘





ส่วน

อิมัสมิง แปลว่า นี้ ในนี้ ในที่นี้

อิมัสมิงอาราเม ในอารามนี้
อิมัสมิงวิหาเร ในวิหารนี้ ฯลฯ

จะอยู่ในบทแผ่เมตตา ปกติ!
http://www.96rangjai.com/devote/

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.พ. 2013, 14:00 
 
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ก.พ. 2013, 16:05
โพสต์: 5

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอกราบขอบคุณครับหลวงพ่อผมสวดมนต์บทนี้อยู่และพบกับสิ่งดี ๆ และสมหวังในหลาย ๆ ด้านพอมาพบในหลายตำราที่เขาเอามาลงจึงลังเลขอท่านชี้ทางให้ด้วยครับ (เด็กอยากรู้อยากเห็น เพราะถ้าไม่รุ้ไม่เห็นจะเขาใจอย่างลึกซึ้งได้อย่างรัยครับ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.พ. 2013, 14:12 
 
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ก.พ. 2013, 16:05
โพสต์: 5

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ใช้สวดทำใจเฉยๆ หรือใช้จริงเพื่อเข้าใจมันแตกต่างกันอย่างรัยครับไม่เข้าจัยครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.พ. 2013, 15:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


เจริญพร.

อนุโมทนาสาธุครับ พุทธคุณ​​ ธรมคุณ สังฆคุณ
ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดใน ๓ โลกเลยนะครับ.

เมื่อเจริญให้มาก ถึงความชำนาญ ๕ ประการ (วสี)

๑. นึกไว
๒. เข้าสบาย
๓. ทรงได้
๔. ออกง่าย
๕. ทบทวนดี

ผลและอานิสงส์

(1) นอนหลับเป็นสุข
(2) ตื่นเป็นสุข
(3) ไม่ฝันร้าย
(4) เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย
(5) เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย
(6) เทวดาทั้งหลายเฝ้ารักษา
(7) ไฟ ยาพิษ หรือ ศัสตรา ไม่กล้ำกราย (ในตัว) ของเขา
(8) จิตเป็นสมาธิเร็ว
(9) ผิวหน้าผ่องใส
(10) ไม่หลงตาย
(๑๑) ยังไม่บรรลุคุณธรรมเบื้องสูง ก็จะบังเกิดในพรหมโลก



ขั้นทำใจ คือรอผลรออานิสงส์เกิด เพราะสำเร็จแล้วด้วยมโนกรรมที่ดี
แต่ยังขาด วจีกรรม กายกรรม ที่ประกอบด้วย เมตตา นั่นเอง

ขั้นใช้จริง คือได้รับผลและอานิสงส์นั้นๆ หรือนอกเหนือกว่านั้นโดย
มีใจประกอบด้วยเมตตา เป็นอารมณ์แล้วก็มี วจีกรรม กายกรรมที่
ประกอบไปด้วยเมตตา ถ้าเปรียบขั้นทำใจ ก็เหมือน คนที่มีช่วงชีวิต
ดีในตอนต้นๆ เท่านั้น แต่ไม่ดีตอนกลาง แย่ในตอนปลายของชีวิต.

ถ้าเปรียบขั้นใช้จริง ก็เหมือนชีวิตสามารถประกอบตน ให้มีความสุข
ความสมหวังมีแต่สิ่งดีๆ ตั้งแต่ต้น กลาง ปลายของวัย ฯลฯ

การนำไปใช้ คนส่วนใหญ่ ที่ยังไม่ไ้ด้รับผลรับอานิสงส์จากการสวดภาวนา
และนำไปใช้ ก็เพราะว่า หลักและแนวทางภาคปฏิบัตินั้น ทรงวางเทคนิค
เอาไว้อยู่ ในบทสวด ตรงที่ว่า

ปัญจะหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุติฯ
สัตตะหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ
ทะสะหากาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ


เทคนิค หรือกุญแจที่ว่าในบทสวดตรงนี้คือ แผ่เมตตาโดย....

ปัญจะหากาเรหิ อะโนธิโส
ไม่เจาะจง ๕ คน ได้แก่
ไม่เจาะจงใน ๑.สัตว์เดรัจฉาน, ๒.สัตว์หรือบุคคลที่ไม่มีลมหายใจ(ปานะ),
๓.ภูต(หมู่สัตว์ หรือสัตว์บุคคลที่พึ่งเกิด),๔.บุคคล,๕.ผู้มีอัตตภาพ...ทั้งหลาย

แผ่แต่ไม่เจาะจง ในเหล่าสัตว์บุคคล ๕ จำพวกนี้

สัตตะหากาเรหิ โอธิโส
เจาะจง ๗ คน ได้แก่
เจาะจงใน ๑.สตรี,๒.บุรุษ,๓.พระอริยเจ้า,๔.ปุถุชน,๕.เทวดา,๖.มนุษย์,
๗.สัตว์วินิปาติกะ(นรก, เปรต, อสูรกาย)...ทั้งหลาย

แผ่และเจาะจงในเหล่าสัตว์บุคคล ๗ จำพวกนี้

ทะสะหากาเรหิ ทิสา
ใน ๑๐ ทิศ(สถานะ)

เบื้องต้นทั้งหมด ทรงแบ่งจำแนกสัตว์บุคคล คนที่เจาะจงได้และ
ไม่ต้องเจาะจงก็ได้เอาไว้ เพื่อไม่ให้งมงาย ไม่ให้หลงสับสน
เดี๋ยวเอาไว้ มีเวลาจะเข้ามาต่อให้นะครับ ว่าเจาะ ๗ ไม่เจาะ ๕
มันเป็นยังไง เจริญพร.^^

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.พ. 2013, 16:40 
 
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ก.พ. 2013, 16:05
โพสต์: 5

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กราบขอบคุณครับ ซาบซึ้งครับที่ได้แนวทาง และขอนำไปทบทวนครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มี.ค. 2013, 17:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


พุทธฏีกา เขียน:
เมื่อเจริญให้มาก ถึงความชำนาญ ๕ ประการ (วสี)

๑. นึกไว
๒. เข้าสบาย
๓. ทรงได้
๔. ออกง่าย
๕. ทบทวนดี

ผลและอานิสงส์

(1) นอนหลับเป็นสุข
(2) ตื่นเป็นสุข
(3) ไม่ฝันร้าย
(4) เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย
(5) เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย
(6) เทวดาทั้งหลายเฝ้ารักษา
(7) ไฟ ยาพิษ หรือ ศัสตรา ไม่กล้ำกราย (ในตัว) ของเขา
(8) จิตเป็นสมาธิเร็ว
(9) ผิวหน้าผ่องใส
(10) ไม่หลงตาย
(๑๑) ยังไม่บรรลุคุณธรรมเบื้องสูง ก็จะบังเกิดในพรหมโลก


เบื้องต้นทั้งหมด ทรงแบ่งจำแนกสัตว์บุคคล คนที่เจาะจงได้และ
ไม่ต้องเจาะจงก็ได้เอาไว้ เพื่อไม่ให้งมงาย ไม่ให้หลงสับสน
เดี๋ยวเอาไว้ มีเวลาจะเข้ามาต่อให้นะครับ ว่าเจาะ ๗ ไม่เจาะ ๕
มันเป็นยังไง เจริญพร.^^


เจริญพร

ต่อจากคราวก่อนนะครับ คนที่ไม่เจาะจง ๕ จำพวกที่พวกเรา
คนส่วนใหญ่ ไทยเทศจีนแขก จะกระทำสืบต่อกันมา เดาว่าเกิน
กว่าหลายร้อยปีทีเดียว นั่นคือเวลาที่เรา แผ่เมตตาก็ดีหรืออุทิศ
ส่วนบุญส่วนกุศลก็ดี เรามักจะ ระลึกถึง พ่อแม่ญาติพี่น้องมิตรสหาย
คนรัก ที่ล่วงลับไปแล้ว อันนี้จัดอยู่ใน การแผ่เมตตา คือให้ความรัก
ความปรารถนาดีได้ แต่ไม่ต้องเฉพาะเจาะจงลงไป เหตุผลนั่นก็เพราะ

การเจาะจงลงไปใน บุคคล ๕ จำพวก อทิเช่น ๑.สัตว์เดรัจฉาน,
๒.สัตว์หรือบุคคลที่ไม่มีลมหายใจ(ปานะ),๓.ภูต(หมู่สัตว์ หรือสัตว์บุคคลที่พึ่งเกิด),
๔.บุคคล,๕.ผู้มีอัตตภาพทั้งหลาย ล้วนมีประโยชน์น้อย ให้เมตตาแต่
ไม่ต้องเจาะจง เช่น

ข้อ ๑. ในที่นี้ทีแรกประการแรก ได้ชี้แจงแล้ว การแผ่เมตตาที่ "ใช้จริง"
กับการแผ่เมตตาที่ "ทำใจ" ต่างกันตรงที่ ใช้จริงจะประกอบหรือกระทำ
ลงไปใน กายกรรม วจีกรรมด้วย พูดด้วยเมตตา ประพฤติตอบด้วยเมตตา
แต่ถ้าลักษณะเมตตาแบบทำใจ จะเหมือนว่า เมตตาแต่อย่ามาให้เห็น ฯลฯ

ไม่เพียงเท่านั้นการแผ่เมตตา ตามที่แสดงนะครับหมายถึง คิดพูดทำประกอบ
ไปด้วยเมตตาที่เป็นพรหมวิหาร คือมีความกรุณา มุฑิตา อุเบกขาด้วยนั่นเอง



และเมื่อทรงแสดงเอาไว้ ว่าให้มีใจรักใจเมตตา แต่ไม่ต้องเจาะจงก็ได้ลงใน
๑ สัตว์เดรัจฉาน ในสัตว์ต่างๆ เพราะในปรกติชีวิตประจำวันของเรา ถ้าเป็น
เด็กอายุน้อย ชอบเลี้ยงสัตว์มีเมตตา แต่หากเป็นคนในวัยเรียน วัยทำงาน
จะมามีเมตตาเฉพาะกับสัตว์ นั้นเป็นสัญญาณชีิวิตที่ผิดปรกติ ได้เกิดขึ้นแล้ว
ถ้ารักและเมตตา คิดพูดทำกับสัตว์ดี จนดีกว่าพ่อแม่ในทิศเบื้องหน้า คือทิศ
ตะวันออก (ปุรัตถิมทิศ)

ก็ทำให้เด็กคนนั้นเป็นคนเอาแต่ใจ เก็บตัวเก็บกด ไม่สามารถเข้าใจปัญหาตนเอง
พ่อแม่ก็ไม่เข้าใจ แล้วเด็กคนนั้นก็เหินห่างจาก ทิศเบื้องหน้า (พ่อแม่)จนกลาย
เป็นว่า มีใจรักและเมตตาเจาะจงลงไปในสัตว์มากจนเกินไป เกินพอดี ฯลฯ

จำแนกแจกแจงลงไปอีก ในการสวดมนต์ภาวนา มองดูจากตัวอย่าง เด็กอายุน้อย
หรือคนมีวัยมีอายุพอสมควร แต่เข้ากับใครต่อใครไม่ได้

นั่นแปลว่าตัวเขาเอง ไม่ได้ความรักความเมตตาจาก บุคคลอื่นๆ รวมถึงตัวของ
เขาเองก็ไม่ได้ แผ่เมตตาแบบ "ใช้จริง" ลงไปใน ทิศต่างๆ ทั้งปวง ฯลฯ

ต่อมาไม่เจาะจงลงใน ๒.สัตว์หรือบุคคลที่ไม่มีลมหายใจ(ปานะ) คุณโยมอาจ
จะลองยกตัวอย่าง เทียบเคียงในสิ่งที่พุทธฏีกาอธิบายไปรวมกันดูก็ได้นะครับ
มีโอกาส มีเวลา ไว้เดี๋ยวจะมา สนทนาให้ข้อมูลเพิ่มเติมต่อ ในความละเอียดอ่อน
ลึกซึ้ง ในธรรมคุณ เช่นบท เมตตาพรหมวิหารนี้ เจริญพร.

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มี.ค. 2013, 16:24 
 
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ก.พ. 2013, 16:05
โพสต์: 5

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณครับสำหรับคำแนะนำ ผมขออนุญาตคัดลอกเอาไปศึกษาและทดลองปฏิบัติครับ หากท่านมีสิ่งใดเพิ่มเติมกรุณาลงเพิ่มให้ด้วยนะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2013, 00:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ม.ค. 2009, 02:20
โพสต์: 1387

ที่อยู่: สัพพะโลก

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนา สาธุครับ :b8: :b8: :b8:
บทเมตตาใหญ๋นี้สวดอยู่ประจำครับ เหมือนเป็นบทแผ่เมตตาที่ยาวที่สุดเท่าที่เคยเห็นมา
ตอนเริ่มสวดแรกๆ นี่เล่นเอาคอแห้ง เจ็บคอเลย :b12:

.....................................................
ผู้มีจิตเมตตาจะไม่มีศัตรู ผู้มีสติปัญญาจะไม่เกิดทุกข์.


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 6 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร