วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 04:31  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=28



กลับไปยังกระทู้  [ 97 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2018, 09:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นักขัตยักษ์

นกฺขตฺตยกฺขภูตานํ ปาปคฺคหนิวารณา
ปริตฺตสฺสานุภาเวน หนฺตฺวา เตสํ อุปทฺทเว

ฯลฯ

คำแปลทั้งหมด: พระปริตเป็นเครื่องห้ามซึ่งบาปเคราะห์ อันเกิดแต่อำนาจแห่งดาวนักษัตร และอำนาจแห่งยักษ์แห่งภูตผีทั้งหลาย ด้วยอานุภาพแห่งพระปริตที่ได้สวดมาตั้งแต่ต้นจนจบนี้ จงกำจัดความอุบาทว์อันเกิดแต่อำนาจแห่งนักษัตร เป็นต้น โดยเด็ดขาด เทอญ

พระปริตเป็นเครื่องห้ามซึ่งบาปเคราะห์อันเกิดแต่อำนาจแห่งดาวนักษัตร และอำนาจแห่งยักษ์แห่งภูตผีทั้งหลาย ด้วยอานุภาพแห่งพระปริตที่ได้สวดมาตั้งแต่ต้นจนจบนี้ จงกำจัดความอุบาทว์อันเกิดแต่อำนาจแห่งนักษัตร เป็นต้น โดยเด็ดขาด เทอญ

พระปริตเป็นเครื่องห้ามซึ่งบาปเคราะห์อันเกิดแต่อำนาจแห่งดาวนักษัตร และอำนาจแห่งยักษ์แห่งภูตผีทั้งหลาย ด้วยอานุภาพแห่งพระปริตที่ได้สวดมาตั้งแต่ต้นจนจบนี้ จงกำจัดความอุบาทว์อันเกิดแต่อำนาจแห่งนักษัตร เป็นต้น โดยเด็ดขาด เทอญ


หมายเหตุ บทนี้ใช้สวดเฉพาะพิธีที่มีการตั้งน้ำมนต์ วงด้ายสายสิญจน์ เท่านั้น ถ้าไม่มีการตั้งน้ำวงด้าย ไม่สวด

บท นกฺขตฺตยกฺขภูตานํ นี้ เข้าใจว่า แต่งขึ้นในเมืองไทยทางเหนือ หรืออาจเป็นบทหนึ่งในคัมภีร์มหาทิพมนต์ ซึ่งแต่งในเวียงจันทน์ ก็ได้ เป็นบทขออำนาจของพระปริตกำจัดอุบาทว์ต่างๆ
ในบทนักขัตยักษ์นี้ มีศัพท์ที่เป็นปัญหาทางไวยากรณ์อยู่บ้าง เห็นควรอธิบายไว้ในที่นี้ ศัพท์นั้น คือ หนฺตฺวา เมื่อตัดบทออกไป จะได้รูปดังนี้ หนฺตุ – อา หนฺตุ แปลว่า จงฆ่า หรือจำกำจัด (หนฺ ธาตุ อนฺตุวิภัตติ) อา เป็นนิบาต บอกความหนักแน่น ในที่นี้ จึงแปลว่า จงกำจัดโดยเด็ดขาด ไม่ใช่ แปลว่า ฆ่าแล้ว (หนฺ ธาตุ ตูนาทิปัจจัย)

คติที่ได้จากบทนักขัตยักษ์นี้ว่า “พระปริตเป็นมนต์ศักดิ์สิทธิ์ ป้องกันอัปมงคล” ภูตผีปีศาจทำอันตรายมิได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2018, 13:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บทถวายพรพระ ๘ บท

ไม่ว่าในงานพิธีอะไร ก่อนที่พระจะฉัน จะต้องสวดบทถวายพรพระ (ภาษาปากว่า พาหุํ) ก่อน ทายกทายิกาเป็นได้ฟังทุกครั้งที่ทำบุญเลี้ยงพระ จึงขอนำมารวมไว้ด้วย

ที่เรียกว่า “ถวายพรพระ” นั้น ฟังดูไม่ตรงกับความจริง ที่จริงนั้นเราขอพรจากพระ ความทั้ง ๘ บท ก็เป็นคำสรรเสริญพระ ที่ทรงเป็นผู้พิชิตในคราวต่างๆ แล้วอ้างเดชอำนาจพระ ขอพรชัยมงคล ดังต่อไปนี้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2018, 13:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๑. พาหุํ สหสฺสมภินิมฺมิตสาวุธนฺตํ
คฺรีเมขลํ อุทิตโฆรสเสนมารํ

ฯลฯ


คำแปลทั้งหมด: ปางเมื่อพระยามารนิรมิตแขน ถืออาวุธครบตั้งพันแขน ขี่ขับช้างคิริเมขละ สะพรึบพร้อมด้วยพลเสนามาร โห่ร้องก้องกึกพิลึกสะพรึงกลัว เข้ามาประจัญ พระจอมมุนีทรงใช้วิธีทางธรรม คือ ทรงเสี่ยงบารมี มีทาน เป็นต้น เข้าผจญ ได้ชัยชำนะด้วยเดชแห่งองค์พระผู้พิชิตมารนั้น ขอชัยมงคลจึงมีแก่ท่าน

๒. มาราติเรกมภิยุชฺฌิตสพฺพรตฺตึ
โฆรมฺปนาฬวกมกฺขมถทฺธยกฺขํ

ฯลฯ


คำแปลทั้งหมด: ปางเมื่ออาฬวกยักษ์ ผู้ดุร้ายหยาบช้า เหี้ยมโหด ไม่เลือกหน้า เข้ามากระทำยุทธนาการอยู่ตลอดคืน ยิ่งเสียกว่าเมื่อครั้งผจญพระยามาร (ซึ่งพ่ายไปก่อนอาทิตย์อัสดง) พระจอมมุนีทรงใช้วิธีปราบด้วยขันติคุณ ได้ชัยชำนะ ด้วยเดชแห่งองค์พระผู้พิชิตยักษ์นั้น ขอชัยมงคลจึงมีแก่ท่าน

๓. นาฬาคิรี คชวรํ อติมตฺตภูตํ
ทาวคฺคิจกฺกมสนีว สุทารุณนฺตํ

ฯลฯ


คำแปลทั้งหมด: ปางเมื่อพระยาช้างนาฬาคีรี ซึ่งกำลังเมามันเต็มที่ ดุร้ายนัก แปร๋แปร้นแล่นเข้ามา ราวกับไฟไหม้ป่า หรือมิฉะนั้น เหมือนจักราวุธอันแรงร้าย หรือเหมือนสายฟ้าฟาด พระจอมมุนีทรงใช้วิธีรดด้วยน้ำ คือ เมตตา ได้ชัยชำนะ ด้วยเดชแห่งองค์พระผู้พิชิตช้าง ขอชัยมงคลจึงมีแก่ท่าน

๔. อุกฺขิตฺตขคฺคมติหตฺถสุทารุณนฺตํ
ธาวนฺติโยชนปถงฺคุลิมาลวนฺตํ

ฯลฯ


คำแปลทั้งหมด: ปางเมื่อมหาโจร ผู้มีฉายาว่า องคุลิมาล สันดานบาปหยาบช้า มือถือดาบเงื้อร่า วิ่งไล่ติดตามพระองค์ไปเป็นระยะทางถึง ๓ โยชน์ พระจอมมุนีทรงบันดาลด้วยฤทธิ์ทางใจ ได้ชัยชำนะ ด้วยเดชแห่งองค์พระผู้พิชิตโจรนั้น ขอชัยมงคลจึงมีแก่ท่าน

๕. กตฺวาน กฏฺฐมุทรํ อิว คพฺภินียา
จิญฺจาย ทุกฺฐวจนํ ชนกายมชฺเฌ

ฯลฯ


คำแปลหมด: ปางเมื่อนางจิญจมาณวิกา เอาผ้าห่อไม้ผูกเข้าที่ท้อง แสร้งทำเป็นหญิงมีครรภ์มากล่าวคำใส่ร้ายต่อพระองค์ในท่ามกลางชุมนุมชน พระจอมมุนีทรงผจญด้วยวิธีสงบนิ่ง วางพระองค์เป็นสง่าผ่าเผย เฉยอยู่ดังดวงจันทร์เพ็ญลอยเด่นอยู่ในนภากาศ ได้ชัยชำนะ ด้วยเดชแห่งองค์พระผู้พิชิตคำใส่ร้อยนั้น ขอชัยมงคลจึงมีแก่ท่าน

๖. สจฺจํ วิหายมติสจฺจกวาทเกตุํ
วาทาภิโรปิตมนํ อติอนฺธภูตํ

ฯลฯ


คำแปลทั้งหมด: ปางเมื่อสัจจกนิครนถ์ ผู้เชิดชูลัทธิของตนว่าจริงแท้เลิศลอยราวกับชูธงขึ้นฟ้า ทำให้มืดมิดปิดปัญญาที่จะรู้ความจริงเสียสิ้น มุ่งมาจะโต้วาทะกับพระพุทธองค์ พระจอมมุนีทรงจุดประทีปคือปัญญาขึ้นส่องให้เห็นความจริง ได้ชัยชำนะ ด้วยเดชแห่งองค์พระผู้พิชิตนิครนถ์นั้น ขอชัยมงคลจึงมีแก่ท่าน

๗. นนฺโทปนนฺทภุชคํ วิพุธํ มหิทฺธึ
ปุตฺเตน เถรภุชเคน ทมาปยนฺโต

ฯลฯ


คำแปลทั้งหมด: ปางเมื่อนันโทปนันทนาคราช ผู้หลงผิดเป็นพาล ซ้ำมีฤทธิ์มากด้วย ทะนงจิตบังอาจสำแดงฤทธิ์แผ่พังพานกั้นฉนวนอากาศ ปิดทางพุทธโคจร พระจอมมุนีจึงโปรดให้พระพุทธบุตร (คือพระมหาโมคคัลลานะ) ผู้เป็นเถรภุชงค์ไปปราบ ได้ชัยชำนะ ด้วยวิธีแสดงฤทธิ์สู้ฤทธิ์ จนสิ้นพยศรู้ผิดรู้ชอบ ด้วยเดชแห่งองค์พระผู้พิชิตนาคนั้น ขอชัยมงคลจึงมีแก่ท่าน

๘. ทุคฺคาหทิฏฺฐภุชเคน สุทฏฺฐหตฺถํ
พฺรหฺมํ วิสุทฺธิชุติมิทฺธิพกาภิธานํ

ฯลฯ


คำแปลทั้งหมด: ปางเมื่อพรหมชื่อพกะ ผู้สำคัญตนว่ามีความบริสุทธิ์ มีรัศมี มีอำนาจและมีฤทธิ์ ไม่มีใครยิ่งกว่าเลยเกิดความเห็นผิดไปว่า ชีวิตของพรหมเป็นสัสสตะ เป็นอมตะ เป็นปฏิปักษ์กับพระพุทธศาสนา เปรียบเสมือนว่า ถูกงูกัดเอาที่มือเข้าแล้ว พระจอมมุนีทรงใช้วิธีวางยา คือพระญาณแสดงความรู้ที่กว้างกว่า ลึกกว่า ทำให้พรหมหายความเห็นผิด ได้ชัยชำนะ ด้วยเดชแห่งองค์พระผู้พิชิตพรหมนั้น ขอชัยมงคลจึงมีแก่ท่าน


เอตาปิ พุทฺธชยมงฺคลอฏฺฐคาถา
โย วาจโน ทินทิเน สรเตมตนฺที
หิตฺวานเนกวิวิธานิ จุปทฺทวานิ
โมกฺขํ สุขํ อธิคเมยฺย นโร สปญฺโญ


แม้นนรชนใดไม่เกียจคร้าน สวดก็ดี ระลึก (คือบริกรรมในใจ) ก็ดี ซึ่งพุทธชัยมงคลคาถา ๘ บทนี้ทุกวันๆ นรชนนั้น จะพึงละล่วงเสียได้ ซึ่งอุปัทวะทุกสิ่งทุกอย่าง จะเป็นผู้มีปัญญา ถึงซึ่งสุขอันเป็นโมกษะ แล ฯ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2018, 13:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หมายเหตุ บท “พาหุํ” ที่ประพันธ์เป็นฉันท์ เรียกชื่อว่า วสันตดิลก ทั้ง ๙ คาถานี้ เรียกกันว่า “ถวายพรพระ” จะเป็นชื่อที่เรียกมาแต่ครั้งไหน ก็ยากที่จะสืบสาวได้
ตามรูปความที่แปลไว้นั้น เป็นทำนองว่าเป็นคาถาที่ประพันธ์ขึ้น เพื่ออวยชัยให้พรแก่บุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง ตามแบบฉบับของอลังการที่ถูกต้อง กล่าวคือการนำชัยชนะของพระพุทธเจ้าที่ปรากฏในพระประวัติ พร้อมทั้งวิธีที่ทรงชนะมาร ประพันธ์เป็นสัตยาธิษฐานขอให้บันดาลชัยมงคลให้ ทั้งนี้เป็นวิธีการที่ถูกต้อง ตามหลักที่ว่า “ผู้ให้ต้องมีสิ่งที่ตนให้ ไม่มี ก็ให้ไม่ได้” ฉะนั้น จึงต้องอ้างถึงพระอานุภาพของพระพุทธเจ้ามาเป็นหลัก เพราะพระอานุภาพของพระองค์ปรากฏอยู่แล้ว เป็นอันว่าแม้ตนเองจะไม่มี ก็ขอจากผู้ที่มีมาให้ นี้เป็นวิธีที่ถูกต้อง เป็นประการแรก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2018, 13:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คราวนี้ ก็มาถึงข้อที่ว่า บท “พาหุํ” นี้ ใครเป็นผู้ประพันธ์ และประพันธ์ที่ไหน เมื่อไร คำตอบปัญหาเหล่านี้ ไม่มีหลักฐานยืนยันแน่นอน เมื่อพิเคราะห์จากบทประพันธ์ เห็นได้ว่าท่านผู้ประพันธ์เป็นผู้ทรงภูมิทางศัพทศาสตร์และอลังการศาสตร์อย่างเชียวชาญ พร้อมกันนั้นก็มีความแตกฉานในนวังคสัตถุศาสน์อีกด้วย ซึ่งคงจะเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาแน่นอน
ส่วนที่ว่า ประพันธ์ที่ไหนนั้น ก็พอจะตอบได้แน่นอนว่า ในเมืองไทยนี่เอง ทั้งนี้เพราะไม่ปรากฏในประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาอื่นๆ ทั้งไม่ปรากฏคำอธิบายเป็นภาษาบาลีอีกด้วย

มีแต่ฎีกาซึ่งควรจะแต่งเป็นภาษาบาลี แต่ก็แต่งเป็นภาษาไทย เรียกว่าฎีกาพาหุํ และนอกจากนี้ยังได้ฟังจากท่านผู้มีความรู้ทางภาษาศาสตร์รวมทั้งภาษาบาลีชั้นเอกอุ ซึ่งเคยไปอยู่ ณ ประเทศลังกา ในสมัยที่ดำรงเพศเป็นภิกษุ ได้เล่าให้ฟังว่า “พระมหาเถระในลังกาชมว่า บทพาหุํไทยแต่งได้ดีมาก” เป็นข้อยืนยันอีกข้อหนึ่ง ที่ทำให้เห็นว่า บทพาหุํประพันธ์ในเมืองไทยแน่ ที่ไปเผยแผ่ในลังกา ก็คงเป็นในตอนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ ทรงส่งพระอุบาลีออกไปประดิษฐานพระสงฆ์สยามวงศ์ในลังกา บทพาหุํของไทยจึงไปแพร่หลายอย่าในประเทศนั้น และจากข้อยืนยันนี้ ทำให้สกัดระยะกาลแห่งการประพันธ์บทพาหุํว่า ได้ประพันธ์มาก่อนรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์

สาวย้อนย้อนจากนี้ขึ้นไปถึงยุคทองแห่งบาลีในประเทศไทย ตกในรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมไตรโลกนาถ ก็พอจะอนุมานได้ว่า คงไม่ก่อนรัชกาลนั้น และก็เป็นไปได้ว่า พระมหาเถระในยุคนั้นได้ประพันธ์ขึ้น เป็นบทสำหรบสวดก่อนที่จะรับภัตตาหารในที่นิมนต์ และคงจะเริ่มจากงานบำเพ็ญพระราชกุศลเป็นประเดิมก็ได้ ต่อมาจึงได้แพร่หลายไปในหมู่พุทธศาสนิกชนทั่วไป


การสวดบทพาหุํนั้น พระท่านจะสวดก่อนที่จะรับภัตตาหารและสวดต่อจากบท อิติปิ โส ซึ่งเป็นบทสรรเสริญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ จบแล้วจึงสวดบทพาหุํ ซึ่งเป็นการถวายสดุดีพระอานุภาพที่ปราบพยศบุคคลนั้นให้หมอบราบกราบกรานพระองค์แล้ว ขอพระเดชานุภาพนั้นประสาทชัยมงคลอีกครั้งหนึ่ง นี้เป็นการปฏิบัติในการสวดบทนี้

แต่ถ้ามีการเจริญพระพุทธมนต์ก่อนรับภัตตาหาร จะสวดบทพาหุํเมื่อจบบทส่งเทวดา (ทุกฺขปฺปตฺตา ฯลฯ ไม่มีบทอิติปิ โส เพราะสวดมาแล้วในเนื้อหา จึงไม่สวดซ้ำอีก)
ถ้าเป็นงานที่มีการใส่บาตร ก็ใส่บาตรเมื่อพระสวดบทพาหุํ เป็นประเพณีปฏิบัติสืบๆกันมาเช่นนี้แล ฯ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2018, 19:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ฉัททันตปริต มีตำนานยาวหลายหน้าจึงเอามาไว้ตอนท้าย

ฉัททันตปริต

วิธิสฺสเมนนฺติ ปรามสนฺโต
กาสาวมทฺทกฺขิ ธชํ อิสีนํ
ทุกฺเขน ผุฏฺฐสฺสุทปาทิ สญฺญา
อรหทฺธโช สพฺภิ อวชฺฌรูโป
สลฺเลน วิทฺโธ พฺยถิโตปิ สนฺโต
กาสาววตฺถมฺหิ มนํ น ทุสฺสยิ
สเจ อิมํ นาควเรน สจฺจํ
มา มํ วเน พาลมิคา อคญฺฉุนฺติ ฯ

คำแปล: พญาช้างฉัททันต์ เมื่อจับตัวพรานไพรได้มั่นก็หมายใจว่า “เราจักฆ่าเขาเสีย” ได้เห็นกาสาวพัสตร์อันเป็นธงของปวงพระฤๅษี สัญญาเกิดขึ้นแก่พญาช้างฉัททันต์ ผู้อันทุกข์ถูกต้องแล้วว่า “ผู้ทรงธงแห่งพระอรหันต์ เป็นรูปที่คนดีทั้งหลายไม่พึงฆ่าเสีย” ดังนี้
พญาช้างฉัททันต์ แม้ถูกลูกศรแทงแล้วเจ็บปวดอยู่ ก็มิได้คิดประทุษร้ายในผ้ากาสาวพัสตร์เลย ถ้าถ้อยคำที่พญาช้างกล่าวแล้วนี้เป็นคำจริงไซร้ พวกพาลมฤคในป่าอย่าได้กล้ำกรายข้าเลย.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2018, 05:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตำนานฉัททันต์ปริต


พระพุทธเจ้าเสด็จประทับ ณ พระเชตวันวิหาร เขตกรุงสาวัตถี สายัณห์วันหนึ่ง เสด็จประทับเหนือธรรมาสน์ ตรัสประกาศพระสัทธรรมแก่พุทธบริษัท ด้วยพระลีลาอันงดงาม และด้วยพระสุรเสียงอันไพเราะนุ่มนวลกลมกล่อม ปราศจากความแหบเครือ ชัดถ้อยชัดคำ
พระภิกษุณีองค์หนึ่ง ออกบวชจากสกุลคหบดี กำลังฟังพระธรรมเทศนาร่วมกับเพื่อนภิกษุณีทั้งหลายได้เห็นพระรูปพระโฉมอันงดงามสง่าองอาจ ทรงบุญลักษณ์สมบูรณ์ ประทับเหนือธรรมาสน์อันอลงกต งดงามสุดที่จะพรรณนา
พระภิกษุณีนั้น ก็เกิดความรู้สึกชื่นชมเป็นอย่างยิ่ง คิดว่า “เมื่อเราท่องเที่ยวเวียนว่ายในวัฏฏสงสาร ได้เคยเป็นบาทบริจาริกาขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าบ้างหรือไม่ เราได้เคยเป็นคู่เคียงเรียงบาทของพระองค์มาบ้างหรือไม่ ในชาติใดชาติหนึ่งแต่หนหลัง คิดไปด้วยอำนาจแห่งปีติและปราโมทย์ ในพระรูปอันทรงบุญลักษณ์ พลันก็ระลึกถึงชาติหนหลังได ครั้งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็นพญาช้างชื่อฉัททันต์ ในครั้งนั้น ได้เคยเป็นบาทบริจาริกา เมื่อระลึกได้ก็สุดแสนที่จะปรีดาปราโมทย์ กำลังแห่งปีติท่วมท้นล้นหลั่งออกมา ถึงกับหัวเราะออกมาดังๆ
ครั้นแล้วก็หวนคิดอีกว่า “ขึ้นชื่อว่าหญิงที่เป็นบาทบริจาริกานั้น น้อยนักที่จะมีอัธยาศัยเอื้ออารีแก่สามีตน เราล่ะในชาตินั้นมีอัธยาศัยเฟื้อต่อสามีเป็นอันดีหรือไฉน” ระลึกไป ก็ได้พบการกระทำของตนว่า “แท้จริง เราได้สร้างความผิดไว้ในดวงใจมิใช่น้อย เราใช้นายพรานให้ยิงพญาฉัททันต์ด้วยลูกศรอาบยาพิษจนถึงความตาย เพื่อจะเอางามาทำเครื่องประทับ พุทโธ่เอ๋ย กรรมของเราหนักนัก” คิดแล้วก็เกิดความเสียใจสุดที่จะทนทานไว้ได้ ร้องไห้สะอึกสะอื้นเสียงดัง

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทอดพระเนตรเห็นพระภิกษุณีมีอาการเช่นนั้น ก็ทรงยิ้ม เมื่อพระภิกษุทั้งหลาย กราบทูลถามถึงเหตุที่ทรงยิ้ม จึงมีดำพระดำรัสว่า “ภิกษุณีสาวนี้ระลึกถึงความผิดที่เคยกระทำต่อเราได้ จึงร้องไห้เสี่ยใจ” แล้วทรงนำเรื่องแต่ครั้งอดีตมาตรัสเล่าให้ฟัง ดังต่อไปนี้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2018, 05:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในอดีตกาล ที่ป่าหิมพานต์มีช้างประมาณ ๘,๐๐๐ เชือก พำนักอาศัยอยู่ใกล้ๆ สระฉันทันต์ ตถาคตยังบำเพ็ญบารมีอยู่ ได้ถือกำเนิดเป็นลูกช้างจ่าโขลงมีกายเผือกผ่อง ปากและเท้าสีแดง เมื่อเจริญวัย สูงได้ ๘๘ ศอก ยาว ๑๒๐ ศอก งวงเป็นสีเงิน ยาว ๕๘ ศอก งาทั้งคู่วัดโดยรอบได้ ๑๕ ศอก และยาว ๓๐ ศอก มีสีเป็นฉัพพรรณรังสี ชื่อฉัททันต์
ต่อมาได้เป็นใหญ่ มีบริวารประมาณ ๘,๐๐๐ เชือก มีช้างพังเป็นเมีย ๒ นาง ชื่อมหาสุภัททา ๑ จุลลสุภัททา ๑ พำนักอาศัยอยู่ที่กาญจนคูหา ใกล้กับสระฉัททันต์ทางด้านตะวันตก
อยู่มาวันหนึ่ง ช้างทั้งหลาย มาบอกกับพญาฉัททันต์ว่า “ป่าสาละใหญ่มีดอกบานสะพรั่ง” พญาฉัททันต์คิดว่า “เราจักเล่นกีฬาดอกสาละ” จึงพร้อมด้วยบริวารไปที่ป่าสาละนั้น เอากระพองชนต้นสาละต้นหนึ่งซึ่งมีดอกบานเต็ม
นางช้างจุลลสุภัททายืนอยู่ทางเหนือลม ใบสาละเก่าๆ ที่ติดอยู่กิ่งแห้งๆและมดดำมดแดงก็หล่นพรูกรูกัดร่างกายของนาง
ส่วนมหาสุภัททายืนทางใต้ลม เกสรดอกสาละก็ร่วงหล่นลงพรั่งพรูต้องกายนาง

จุลลสุภัททาน้อยใจว่า “พญาช้างนี้ โปรยปรายเกสรดอกไม้สดใบไม้สดๆ ให้ตกต้องร่างกายเมียรัก เมียที่ตนโปรดปราน แต่ที่เรือนร่างสิกลับให้ใบไม้เก่าๆ มีมดดำมดแดงตกต้องพรูๆ คอยดูเถิด เราจะต้องหาทางตอบโต้ให้สาสมทีเดียว” ผูกอาฆาต พญาฉัททันต์มาตั้งแต่วันนั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2018, 05:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อยู่มาอีกวันหนึ่ง พญาฉัททันต์พร้อมด้วยบริวารลงสู่สระฉัททันต์ เพื่ออาบน้ำ ทันใดนั้น มีช้างหนุ่ม ๒ เชือกเอางวงกำหญ้าไทรมาให้พญาฉัททันต์ขัดสีร่างกาย คล้ายกับจะแผ้วกวาดยอดไกรลาศฉะนั้น

พญาฉัททันต์อาบน้ำชำระกายพอแก่อัธยาศัยก็ขึ้นจากสระ ให้นางช้างลงอาบกัน ครั้นนางช้างทั้งสองอาบน้ำแล้ว ก็ขึ้นมายืนกระหนาบข้างทั้งสองของพญาฉัททันต์ ต่อแต่นั้น ช้างบริวารจึงพากันลงอาบ เล่นนั้นกันสนุกสนานสำราญรื่น แล้วก็เด็ดดอกบัวนานาชนิดบรรดามีในสระมาประดับกายพญาฉัททันต์ แล้วก็ประดับกายนางช้างทั้งสอง
คราวนั้น ช้างหนุ่มเชือกหนึ่ง เที่ยวเพลินเดินอยู่ในสระ พบดอกประทุมขนาดใหญ่มีกลีบซ้อนกันถึง ๗ ชั้น ก็นำมามอบให้พญาฉัททันต์ พญาฉัททันต์รับแล้วก็ชูขึ้นเหนือกระพอง โปรยเกสรบังลังที่กระพองแล้วยื่นให้มหาสุภัททา จุลลสุภัททาเห็นเช่นนั้นก็คิดน้อยใจว่า “พญาฉัททันต์นี้ให้ดอกประทุมใหญ่กลีบซ้อนถึง ๗ ชั้น แก่เมียรักเมียโปรดแต่ผู้เดียว เราสิไม่ได้รับ เขาไม่ให้เรา” นางคิดจองเวรในพญาฉัททันต์อีกเป็นวาระที่สอง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2018, 05:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อีกวันหนึ่ง พญาฉัททันต์จัดปรุงผลมะปรางและเผือกมันกับน้ำผึ้ง ถวายพระปัจเจกพุทธเจ้า ๕๐๐ องค์ เพื่อเป็นภัตตาหารตามมีตามได้
นางจุลลสุภัททาได้ถวายผลาผลตามที่ตนหามาได้แก่พระปัจเจกพุทธเจ้าแล้วตั้งความปรารถนาว่า “ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ข้าน้อยนี้ตายไปจากอัตภาพนี้แล้ว ขอให้ได้เกิดเป็นมนุษย์ เป็นราชธิดาผู้ทรงศักดิ์แห่งกษัตริย์มัททราช มีรูปโฉมงดงาม และขอให้มีนามว่าสุภัททราชกัญญา เมื่อเติบโตเป็นสาวแล้ว ขอให้ได้เป็นพระอัครมเหสีของจอมกษัตริย์กรุงพาราณสี ขอให้เป็นที่โปรดปรานของพระราชสามี ประสงค์สิ่งใด ขอพระราชสามีประทานสิ่งนั้น ชอบใจจะทำอย่างใด ขอให้ได้ทำอย่างนั้น พระราชสามีจะไม่ขัดใจของข้าน้อยนี้เลย ข้าน้อยนี้จักกราบทูลพระราชสามี ให้ใช้นายพรานคนหนึ่งมาฆ่าพญาช้างนี้ ด้วยลูกศรอาบยาพิษ จนถึงแก่ความตาย ตัดเอางาทั้งคู่อันมีฉัพพรรณสีนี้ไป ขอเดชะกุศลจงดลบันดาลให้ความปรารถนาของข้าน้อยนี้สำเร็จ ดังมโนรถทุกประการเถิด”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2018, 17:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ

นับตั้งแต่วันนั้นมา นางช้างจุลลสุภัททาก็ไม่จับหญ้าจับน้ำ ร่างกายผ่ายผอมลงโดยลำดับ ไม่นานนักก็ล้ม ไปบังเป็นพระราชธิดาของกษัตริย์มัททราช มีรูปร่างสวยงามยิ่งนัก พระญาติพระวงศ์ถวายพระนามว่าเจ้าหญิงสุภัททา เมื่อเจริญชันษาก็ได้รับอภิเษกเป็นเอกอัครมเหสีของพระเจ้ากรุงพาราณสี
พระนางเป็นที่โปรดปรานของพระราชสามียิ่งนัก ทั้งยังมีพระญาณระลึกชาติหนหลง ครั้งยังเป็นนางช้างจุลลสุภัททาได้ทุกประการ นางทรงดำริว่า “ความปรารถนาของเราสำเร็จมาเป็นชั้นๆแล้ว วาระแห่งการแก้แค้นใกล้เข้ามาแล้ว คราวนี้แหละเราจักให้เอางาทั้งคู่ของพระยาฉันทันต์อันงดงามด้วยฉัพพรรณรังสีนั้นมา
ตั้งแต่นั้น พระนางก็ทรงแสดงพระอาการประชวร ทรงใช้น้ำมันทาพระกาย ทรงพระภูษาเก่าๆที่เศร้าหมอง เสด็จเข้าสู่ห้องบรรทม และบรรทมเหนือพระแท่นน้อย แสดงว่า ประชวรหนัก

พระเจ้าพาราณสีมิได้เห็นพระนางมาเฝ้า ก็มีพระดำรัสถามบรรดาพระสนมว่า สุภัททาไปไหน ? ทรงทราบว่าประชวร ก็รีบเสด็จไปที่ห้องบรรทมของพระนางสุภัททาทันที เสด็จเข้าไปประทับเหนือพระแทนที่พระนางบรรทม ทรงลูบหลัง พลางมีดำรัสถามว่า พระน้องนางผู้มีพระสรีระโฉมงดงามอร่ามเลิศ ผิวพระกายประหนึ่งสีทองผุดผ่องเป็นยิ่งนัก พระเนตรทั้งคู่แจ่มใสประกายวาว ทั้งทรวดทรงสัณฐานก็สันทัด ไม่ต่ำไม่สูง พระน้องนางเศร้าโศกถึงอะไรเล่านะ จึงได้ซูบเซียวเหมือนดอกประทุมที่ถูกขยี้ด้วยมือฉะนั้น บอกฉันซิ พระน้องรัก”

พระนางสุภัททาทรงฟังดำรัสของพระราชสามีเช่นนั้น กราบทูลสนองว่า “พระทูลกระหม่อมเพคะ หม่อมฉันแพ้ครรภ์ ฝันเห็นเป็นนิมิต โอ้ พระทูลกระหม่อม นิมิตฝันที่หม่อมฉันเห็นนั้น มิใช่สิ่งที่เห็นได้ง่ายๆเลย แต่หม่อมฉันอยากเห็นเพคะ อยากเห็นเหลือเกิน ทรงพระกรุณาหม่อมฉันด้วยเถิด พระทูลกระหม่อม ถ้าเกล้ากระหม่อมฉันไม่ได้เห็น ชีวิตของกล้ากระหม่อมฉันคงไม่อยู่รอดไปได้ นะเพคะ”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2018, 08:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลงตำนานพญาฉัททันต์ต่อ :b12:


พระเจ้ากรุงพาราณสี ทรงสดับเช่นนั้นแล้ว มีพระดำรัสว่า “สุภัททาผู้เป็นที่ชื่นชมของฉัน สิ่งที่น่าปรารถนาบรรดามี ที่เป็นสมบัติของมนุษย์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในโลกนี้ สิ่งเหล่านั้นทุกอย่างเป็นของฉันทั้งนั้น ฉันจะให้สิ่งที่ทำให้เธอแพ้ครรภ์แก่เธอ บอกฉันเถิด เธอต้องการอะไร เว้นแต่ดาวและเดือนเท่านั้น นอกจากนั้นแล้วบอกฉันมาเถิด”

พระนางสุภัททาได้ฟังเช่นนั้น จึงกราบทูลว่า “พระทูลกระหม่อมแก้วเพคะ เป็นพระมหากรุณาอย่างล้นพ้นแล้ว ที่มีพระดำรัสด้วยสงสารเกล้ากระหม่อมฉัน แต่เป็นการยากเหลือล้นพ้นแล้วเพคะ ที่จะแก้อาการแพ้ครรภ์ของเกล้ากระหม่อมฉันได้ ถ้าทรงพระกรุณาแก่ชีวิตน้อยๆของเกล้ากระหม่อมฉัน ก็ขอได้โปรดเรียกประชุมพราน ในแว่นแคว้นของทูลกระหม่อมทั้งหมดก่อนเถิดเพคะ เกล้ากระหม่อมฉันจะกราบทูลอาการแพ้ครรภ์ในที่ประชุมพราน โปรดเกล้าสุภัททา ก็ขอได้ทรงพระกรุณา ดังที่เกล้ากระหม่อมฉันกราบทูลนี้เถิด เพคะ”

พระเจ้ากรุงพาราณสีตรัสว่า “สุภัททะ ฉันจะดำเนินการตามความต้องการของเธอ” ตรัสแล้ว เสด็จออกจากห้องบรรทมของพระนาง รับสั่งกะมวลอำมาตย์ว่า “นายพรานในแคว้นกาสีอันมีอาณาเขต ๓๐๐ โยชน์ มีทั้งหมดประมาณเท่าใด พวกท่านจงไปตีกลอง ร้องประกาศให้มาประชุมกันทั้งหมดที่วังของเราโดยเร็ว”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2018, 08:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อำมาตย์เหล่านั้น กระทำตามพระราชโองการ ไม่นานนักพวกพรานป่าชาวกาสีต่างก็คือบรรณาการตามมีตามได้ เดินทางเข้ามาเฝ้าพระเจ้าพาราณสี ทยอยกันมา ที่อยู่ใกล้ก็มาถึงก่อน ที่อยู่ไกลก็มาถึงภายหลัง ทั้งหมดมีประมาณ ๖๐,๐๐๐ นาย นับเป็นการประชุมพรานครั้งมโหฬาร ท้องพระลานแห่งพระราชวังพาราณสีแน่นขนัดด้วยนายพรานผู้ภักดี

พระเจ้าพาราณสีทรงทราบว่า บรรดานายพรานในแผ่นดินของพระองค์มาเฝ้าพร้อมกันแล้ว ก็เสด็จไปตำหนักพระนางสุภัททา ตรัสชวนพระนางเสด็จออกสีหบัญชร ทรงชี้พระหัตถ์ตรัสกะพระนางว่า “เทวีของฉัน เธอเห็นไหมล่ะ พวกพรานทั้งนี้นั้นล้วนแต่มีฝีมือเยี่ยมๆกล้าหาญในแดนดงพงพี เจนจบในการพเนจร ทั้งรู้รักมฤคนานาชนิดบรรดาที่มีอยู่ในแดนดง ทุกคนเหล่านี้พร้อมที่จะสละชีวิตตามความประสงค์ของฉัน เธอมีความประสงค์อะไร ต้องการอะไร บอกฉันซิ จะให้พรานพวกนี้ปฏิบัติงานอะไร ก็เชิญบอกฉัน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2018, 08:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระนางสุภัททา ฟังพระดำรัสแล้ว ถวายบังคมพระราชสามี ทูลขอพระโอกาสที่จะตรัสกับพวกพรานเหล่านั้น
ครั้นพระราชสามีประทานโอกาสแล้ว พระนางก็ตรัสกะนายพรานทั้งหลายว่า “ท่านทั้งหลายผู้สืบเชื่อสายนายพราน ทุกคนที่มาพร้อมกัน ณ ที่นี้ จงฟัง จงตั้งใจฟัง ถ้อยคำที่ฉันจะกล่าว ณ บัดนี้ ฉันฝัน ฝันเห็นช้างพลายเผือก งาของพญาช้างนั้น มีรัศมี ๖ ประการ ฉันฝันเห็นพญาช้างอันประเสริฐแล้ว ฉันต้องการงาทั้งสองของพญาช้างนั้น ถ้าฉันไม่ได้งาช้างนั้น ชีวิตของฉันก็จะมีอยู่ต่อไปไม่ได้”

นายพรานได้ฟังพระเสาวนีย์ของพระนางสุภัททาแล้ว พากันกราบทูลว่า “ข้าแต่พระเทวี พญาช้างเผือกเช่นนี้ที่มีพระเสาวนีย์นั้น บิดาหรือปู่ของของข้าพระองค์ไม่เคยเห็น ไม่เคยได้ยิน ถ้าปู่หรือบิดาเคยทราบเคยเห็นบ้าง ก็คงเล่าให้ข้าพระองค์ได้รู้ได้ทราบไว้ พระนางเจ้าทรงนิมิตเห็นพญาเศวตกุญชรมีลักษณะประการใด ขอได้ทรงพระกรุณาตรัสถึงลักษณะอันถี่ถ้วนแด่พวกข้าพระองค์เถิด พระเจ้าข้า”

“อนึ่งเล่าพระเจ้าข้า พระนางเจ้าทรงพระสุบินนั้น จะทรงพระกรุณาชี้ทิศทางที่พญาเศวตกุญชรพำนักอาศัยอยู่ พอจะได้เป็นเค้าให้พวกข้าพระองค์ได้สืบเสาะแสวงหา เมื่อพบแล้วก็จะทำให้พระประสงค์ของพระนางเจ้าสมบูรณ์ พระเจ้าข้า”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2018, 08:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระนางสุภัททา ได้ฟังถ้อยคำของพวกพรานแล้วมิได้ตรัสตอบ แต่ทรงพิจารณาตรวจตราพวกพรานที่มาประชุมกัน เห็นนายพรานผู้หนึ่งมีลักษณะแห่งพรานสมบูรณ์กว่าเพื่อน รูปทรงสัณฐานเข้าลักษณะคนมีความทรหด เท้าใหญ่ แข้งเป็นปมเหมือนก้อนข้าว เข่าโต สีข้างใหญ่ หนวดดก เคราแดง ตาเหลือง พรานผู้นี้มีชื่อว่าโสณุดร ตรวจดูแล้วเห็นว่า “พรานผู้นี้จักสามารถทำตามคำของเราได้” พระนางดำริแล้ว จึงทูลของพระบรมราชานุญาตเพื่อที่จะพบกับพรานโสณุดร
เมื่อพระราชสามีทรงอนุญาตแล้ว พระนางก็ให้คนเรียกตัวพรานโสณุดรเข้าเฝ้า ทรงพาเขาขึ้นไปบนปราสาทชั้นที่ ๗ ทรงเปิดช่องพระแกลทางทิศอุดร ทรงเหยียดพระหัตถ์ชี้ตรงไปทางป่าหิมพานต์อันอยู่ทิศเหนือของกรุงพาราณสี พลางมีดำรัสว่า “โสณุดร คอยฟังนะ ฟังแล้วจำให้แม่นยำ ทางนี้ตรงไปทิศอุดร ข้ามเข้าใหญ่ ๗ ลูก ก็จะถึงภูเขาอันสูงเยี่ยมชื่อสุวรรณปัสสคิรี ที่เขาใหญ่นี้มีพรรณไม้ผลิดอกบานสะพรั่ง มีฝูงกินนรเที่ยวไปมาอยู่เสมอ เจ้าจงขึ้นสู่ภูเขาสุวรรณปัสสคิรีอันเป็นที่อยู่ของฝูงกินนร และมองลงไปทางเชิงเขา ณ ที่นั้น เจ้าจักเห็นต้นไทรพุ่มมหึมามีสีเขียวชอุ่มเหมือนสีเมฆ มีรากประมาณ ๘,๐๐๐ รากห้อยย้อยอยู่ ใต้ต้นไทรนั้นมีพญาเศวตกุญชร ผู้มีงารุ่งโรจน์ด้วยรัศมี ๖ ประการ ยากที่ปรปักษ์จะข่มขี่ได้ อาศัยอยู่
ช้าง ๘,๐๐๐ เชือกมีงาประดุจงอนไถ วิ่งว่องไวประหนึ่งลมพัด พากันให้อารักขาพญาช้างนั้น ฝูงช้างทั้ง ๘,๐๐๐ เชือกนั้นยืนหายใจฟูดฟาดอย่างน่ากลัว จะโกรธเกรี้ยวแม้แต่ลมท่าพัดกระโชกมา แต่ถ้าพวกมันเห็นคนที่นั้นแล้ว ก็จะพากันขยี้แหลกเป็นผงไป แม้แต่ธุลีของมนุษย์ผู้นั้นก็จะไม่มีอยู่ ณ ที่นั้น พวกช้างเหล่านั้น จะไม่ยอมให้แม้แต่ละอองผงตกต้องพญาช้างนั้นได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 97 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 7 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron