วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 18:34  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


- สถานที่ปฏิบัติธรรม
แนะนำรายชื่อสถานที่ปฏิบัติธรรมกรรมฐานทั่วประเทศ
http://www.dhammajak.net/forums/viewforum.php?f=9

- รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=30



กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ธ.ค. 2008, 08:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 มี.ค. 2005, 04:18
โพสต์: 1877


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

ธรรมเนียมบวชในพระพุทธศาสนา
พระนิพนธ์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์


ธรรมเนียมบวชในพระพุทธศาสนานั้น
ดูเหมือนจะมีธรรมเนียมบวชในศาสนาพราหมณ์
เป็นตัวอย่างมาก่อน เพราะศาสนาพราหมณ์มีมาก่อนพระพุทธศาสนา
ในศาสนาพราหมณ์มีธรรมเนียมนิยมอยู่ว่า

คนที่เป็นพราหมณ์ เมื่อตั้งอยู่ในประถมวัย กำลังเป็นเด็กจนเป็นหนุ่ม
ควรศึกษาศิลปะวิทยาให้ชำนิชำนาญ

เมื่อถึงมัชฌิมวัย ท่ามกลางอายุ ควรประกอบกิจการงาน
และมีบุตรภรรยาครอบครองเหย้าเรือน

เมื่อถึงปัจฉิมวัย แก่เฒ่าชราแล้ว ควรออกบวชตั้งหน้าบำเพ็ญพรต
ในศาสนาที่นิยมว่าเป็นบุญกุศล ซึ่งจะเป็นที่พึ่งของตนในปรโลก


นักบวชในศาสนาพราหมณ์นั้น เช่น ฤาษีชีไพรที่ปรากฏอยู่ในเรื่องต่างๆ
มีเรื่องมหาภารตะและเรื่องรามายณะเป็นต้น
คะเนดูวาดเล่าว่า ในเวลาที่พระพุทธเจ้ายังไม่ได้ตรัส
ทรงเบื่อหน่ายในฆราวาสสมบัติ คิดจะละกังวลเสด็จออกผนวชนั้น
คงจะทรงถือเอาการบวชเป็นธรรมเนียมพราหมณ์
เป็นตัวอย่าง จะต่างก็แต่ทรงรีบทรงผนวชเสียก่อนแต่ยังไม่ถึงทันกำหนด
หรือบางทีจะทรงผนวชอย่างพราหมณ์แท้ๆ ก็จะเป็นได้
เมื่อได้ตรัสแล้ว จึงแก้ไขเปลี่ยนแปลงยักย้ายไปตามควร

ในชั้นแรกก็ดูเป็นง่ายๆ
ตั้งแต่พระพุทธเจ้าเองเมื่อทรงผนวช ก็เป็นแต่ละเพศเดิม
ถือเพศเป็นนักบวชเสียเท่านั้น ครั้นมีสาวกหลายรูปแล้ว
ทรงส่งให้ไปสอนศาสนาในทิศานุทิศ
หนทางไกลกันดาร กว่าจะไปจะมาก็เป็นการยากลำบาก
จึงได้ทรงอนุญาตสาวกให้บวชได้
แต่เปลี่ยนวิธี คือพอผู้จะบวชละเพศคฤหัสถ์ถือเพศเป็นบรรพชิตแล้ว
ต้องให้ลั่นวาจาปฏิญญาตัวว่า ยอมถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
เป็นที่พำนักครบ ๓ หน

เมื่อมีผู้บวชแพร่หลาย จึงทรงย้ายวิธีปกครองสงฆมณฑล
ไม่ให้เอกชนเป็นใหญ่ในกิจศาสนา ให้มีสาวกหลายๆรูป
ที่เรียกว่าสงฆ์เป็นใหญ่ ในที่จะทำธุระทุกอย่าง
ต่างแต่กำหนดจำนวนผู้ที่ประชุมธุระบางอย่าง
ผู้ประชุมบางอย่างเพียง ๔ รูป บางอย่างเพียง ๕ รูป จึงทำได้
บางอย่างตั้งแต่สิบรูปจึงทำได้ ธุระบางอย่างต่อผู้ประชุมถึง ๒๐
หรือเกินกว่านั้นจึงทำได้ วิธีประชุมนั้นอย่างนี้
เมื่อประชุมพร้อมกันครบกำหนดแล้ว ผู้นั้นจึงกล่าวคำประกาศ
เรื่องธุระนั้นขึ้นแล้ว ประกาศความดำริของที่ประชุม
ซึ่งตกลงกันต่อไป ในเวลากำลังประกาศอยู่นั้น
ถ้าใครไม่เห็นชอบตามดำรินั้น ก็คัดค้านขึ้นได้
ถ้าเห็นชอบต้องนิ่งอยู่
ถ้ามีผู้คัดค้านอยู่ตั้งแต่รูปหนึ่ง จะถือเอาเป็นตกลงไม่ได้
ต่อเห็นรวมเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน จึงเป็นอันใช้ได้ตามดำรินั้น

การให้บวชคือการรับคนเป็นภิกษุเข้าหมู่
ถ้าในมัธยมประเทศ ผู้ประชุมตั้งแต่สิบรูปจึงทำได้
ถ้าในประเทศอื่นจากนั้น เพียง ๕ รูปก็ได้

ครั้นศาสนาแผ่ไปในนานาประเทศ ภิกษุผู้ประชุมที่รู้ภาษามคธ ซึ่งเป็นต้นเดิมมีน้อยตัว
หรือบางทีไม่มีเลย แต่คำประกาศยังคงใช้ภาษามคธตามแผนเดิม จึงกลายเป็นพิธีไป
เมื่อรู้คำประกาศเป็นพระมนต์ไปแล้ว ก็ต้องรู้สึกผลที่จะสำเร็จ
เพราะการประกาศนั้น เท่ากับผลของพระมนต์ที่เสกนั้น

ครั้นมีเคยบวชมาก การปกครองก็ต้องยากขึ้นเป็นธรรมดา
จึงจำเป็นต้องมีกฎหมายคือวินัย เป็นแบบไว้สำหรับผู้บวช จะได้ประพฤติตัวให้ถูกต้อง
เพื่อเป็นการง่ายแก่การปกครองหมู่และเป็นบรรทัดบำราบสำหรับผู้ประพฤติมิชอบ
เหมือนหมู่คนน้อยใหญ่ ตั้งต้นในหมู่คนในแผ่นดินคนหนึ่งๆ
จนถึงหมู่คนที่รวมกันประกอบกิจ มีพาณิชยกรรมเป็นอย่างต่ำ
มีกฎหมายหรือข้ออาณัติสัญญาไว้สำหรับหมู่ของตัวๆ ใครแกล้งทำผิดวินัย
ถ้าโทษใหญ่ก็ต้องออกจากหมู่ ถ้าโทษน้อยก็เป็นแต่ต้องประกาศตัว
แสดงความชั่วที่ได้ทำนั้น แต่ยอมว่าถ้ายอมไม่สมัครจะอยู่ในหมู่ ก็ลาออกคือสึกได้
เพราะการเข้าใจในวินัยผิดเพี้ยนกันไปบ้าง
เพราะการประพฤติยิ่งและหย่อนกว่ากันบ้าง เป็นต้นเหตุ

หมู่ภิกษุในประเทศเดียวกันก็มี ต่างกันก็มี จึงมีวงศ์ต่างๆ กันไป
เหมือนอย่างในศาสนาอื่นๆ มีศาสนาคริสเตียน และศาสนามะหะหมัดเป็นต้น
ประโยชน์แห่งการบวช แต่เดิมก็เพื่อจะทำตนให้ปราศจากกังวลห่วงใย
จะได้ตั้งหน้าบำเพ็ญบุญกุศล ระงับอกระงับใจให้ปราศจากกิเลส
ซึ่งเป็นเหตุก่อทุกข์ และจะได้ตั้งหน้าปฏิบัติเพื่อสุขประโยชน์ แห่งผู้อื่นได้เต็มที่

ครั้นเกิดมีวินัย ต้องทรงอนุญาตให้ภิกษุบวชใหม่
อยู่ศึกษาในสำนักอุปัชฌาย์อาจารย์ ๕ ปีเป็นกำหนด
จึงเกิดมีการศึกษาขึ้น เมื่อศาสนาแผ่ไปในนานาประเทศที่ไม่เข้าใจภาษามคธ
จึงต้องเกิดมีการเรียนภาษาขึ้นอีก และภาษามคธนั้น
ถ้าผู้ที่ไม่ชำนาญในภาษาของชาติตัวเอง ก็เรียนรู้ยาก
จึงต้องเกิดการเรียนภาษาของชาติตัวขึ้นอีก
การเล่าเรียนในศาสนาค่อยๆ ขยายมาในลำดับอย่างนี้
บรรดาวัดจึงได้เป็นที่เล่าเรียนวิทยาความรู้ต่างๆ
เหมือนธรรมเนียมในชาติอื่น มีชาติอังกฤษเป็นต้น

คนในครั้งนั้น ถึงมีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง
แต่ยังไม่พอใจจะบวช เขาก็ยังไม่บวช เช่นเศรษฐีอนาถบิณฑิกเป็นตัวอย่าง

ถ้ามีความพอใจข้างบวช เขาบวชแล้ว เขาก็ไม่ใคร่จะสึก
หรือในทุกวันนี้ยังมีเป็นธรรมเนียมอยู่ ในหมู่พุทธศาสนิกชนฝ่ายเหนือมีจีนเป็นต้น
และในหมู่พุทธศาสนิกชนฝ่ายใต้คือชาวลังกา แต่พวกพม่า มอญ นั้น

ถ้ายังจะสึกก็บวชเป็นสามเณร ถ้าคิดจะไม่สึกจึงบวชเป็นภิกษุ
แต่ฝ่ายพวกไทยเราและ ลาวเขมร นับถือการบวชมาหลายชั่วอายุแล้ว
จนเป็นธรรมเนียมว่า ถ้าอายุได้ ๒๐ ปีครบกำหนดบวชแล้ว
ถึงจะยังยินดีมีครอบครัวมีเหย้าเรือน ผู้ใหญ่ในตระกูลต้องจัดให้บวชบ้าง
ต้องสมัครตัวบวชเองบ้าง อย่างต่ำเพียงพรรษหนึ่ง
แล้วจึงสึกกลับออกมาใหม่ ผลที่เกิดจากการนิยมทั้ง ๒ ฝ่ายจึงต่างกัน

(ในประเทศที่ถือบวชก็บวชทีเดียวนั้น ถึงจะมีน้อยผู้บวชน้อย
แต่มักเป็นผู้ที่มีความรู้ในศาสนา เพราะได้ตั้งใจมาแต่เดิมแล้วว่า
จะอยู่ไปจนตลอดชีวิต ก็จำเป็นที่จะต้องประกอบกิจกรรมศึกษาอยู่เป็นธรรมดา
ส่วนในประเทศที่บวชแล้วสึก ถึงจะมีผู้บวชมากแต่หาผู้รู้ยาก
เพราะในเวลาบวชไม่ได้ตั้งใจว่า จะอยู่ไปจนตลอดชีวิตเป็นพื้น
เป็นแต่บวชพอเป็นกิริยาบุญ ในผู้ที่บวชนั้น จะสึกเสียในระหว่างตั้งแต่พรรษาหนึ่ง
ถึงสามพรรษาโดยมาก เหลืออยู่น้อยตัว
ในผู้ที่เหลืออยู่นั้น ยังมีผู้ที่คิดว่าจะอยู่ชั่วกาล มากกว่าผู้ที่คิดจะอยู่ชั่วชีวิต
ถึงภายหลังจะกลับจิตอยู่ไปได้ ก็เป็นคนไม่ใคร่จะมีความรู้
เว้นไว้แต่ผู้ที่ได้เรียนมาแต่ต้น ซึ่งมีน้อยตัวยิ่งนัก)


ในประเทศไทยเรานี้ ที่ต้องนับถือการบวชจนเป็นธรรมเนียมนั้น
เพราะการเล่าเรียนของผู้ชายที่เป็นพื้นเมือง อาศัยวัดอยู่แทบจะทั้งนั้น
แต่พอเรามีการบวชกันตามประเพณี จึงไม่ใคร่จะมีผู้บวชตลอดอายุ
ถึงจะมีบ้าง ก็เพราะจะไม่ได้ตั้งใจมาแต่เดิม
จึงไม่ได้เอาใจใส่ในการศึกษา จึงหาคนมีความรู้ยาก


เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงสมควรอย่างยิ่งที่ท่านผู้เป็นใหญ่
เป็นประธานในสงฆมณฑล จะจัดการเล่าเรียนของพระบวชใหม่
ให้เป็นผลต้องกับประเทศของเรา
ที่ได้นำพระพุทธศาสนาให้สืบมาได้ด้วยอุบายที่ผลัดเปลี่ยนกัน
และมีการเล่าเรียนเป็นพื้นเมือง อาศัยวัดอยู่

การที่ควรจะจัดนั้นก็คือ ควรให้พระผู้ใหม่ศึกษาทั้งพระธรรมวินัย
และความรู้สำหรับชาติ ให้สมแก่พระพุทธานุญาตโปรดให้พระบวชใหม่
อยู่ศึกษาในสำนักอุปัชฌาย์อาจารย์ ๕ ปี

ถ้าได้อย่างนี้ ถ้าพระผู้เป็นศิษยานุศิษย์ยังบวชอยู่ ก็จะเป็นคนมีความรู้ได้
ช่วยเป็นภาระนำธุระนำพระพุทธศาสนาสืบไป
ถ้าไม่พอใจบวชจะกลับสึก ก็จะได้เป็นคนมีวิทยาความรู้ ติดตัวไปเป็นคุณแก่แผ่นดิน

ข้อที่ควรให้ศึกษานั้น ส่วนพระธรรมวินัย กำหนดตามสมัยที่เป็นธรรมเนียมบวชกัน
เมื่อจวนเข้าพรรษา เวลาแรกบวชควรให้รู้จักมารยาทที่พระจะต้องประพฤติอยู่เสมอ
เช่น วิธีนุ่งห่มและวิธีขบฉันเป็นต้น และท่องบ่นจำข้อขอดอะไรๆ
ที่จะต้องใช้ปฏิบัติหรือจะสาธยายในที่ประชุม มีคำนมัสการพระเป็นต้น

ในเดือนแรกแห่งฤดูฝน ควรให้ศึกษาวินัยย่อ กะแต่พอเหมาะแก่เดือนหนึ่ง
ครั้นถึงเดือนที่ ๒ ธรรมย่อ ครั้นถึงเดือนที่ ๓ ประโยชน์ฆราวาส
อุบายแนะนำให้เข้าใจไม่มีอะไรจะดียิ่งกว่า ผูกปัญหาให้แก้บ้าง
ให้แต่งความอธิบายบ้าง เพราะเป็นทางที่จะให้ผู้แก้ผู้แต่ง
เอาน้ำใจเที่ยวตรวจตราในความดีแล้วรู้สึกด้วยตัวเอง
และเป็นทางที่จะให้เกิดความเชื่อความเลื่อมใสในศาสนธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า

ถ้าได้เช่นนี้ แม้ถึงผู้บวชนั้นจะสึกภายในปีแรก ก็ยังได้ประโยชน์ไม่เสียทีบวช
ตั้งแต่พรรษาที่ ๑ ถึงพรรษาที่ ๒ ควรศึกษาพระวินัยและธรรมอย่างพิสดาร
กับควรเริ่มเรียนมคธภาษา ซึ่งเป็นเดิมของพระคัมภีร์
ถ้าตลอดไปได้ก็จะได้อ่านพระคัมภีร์อย่างเข้าใจ
แม้ไม่ตลอดไปได้ ก็ยังจะทำให้ฉลาดในภาษาของตนขึ้นบ้าง

ถึงปีที่ ๓ เรียนมคธภาษาพอเข้าใจความได้บ้างแล้ว ควรท่องสวดมนต์
เพื่อว่าจะได้จำไว้สอนตน และผู้อื่น ในปีที่ ๔ ที่ ๕ ควรเรียนพระคัมภีร์ภาษามคธ
ตามกำหนดของวิทยาลัย และฝึกหัดในการสอนและปกครองผู้อื่น
ถ้าได้แล้วก็นับเอาเป็นเสร็จ จะได้ตามกำหนดระยะกาลเรียนดังนี้
ก็ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจในภาษาของชาติตัวมาก่อน
ถ้าไม่รู้ภาษาของชาติตัวดีแล้ว ก็ไม่ทันกำหนดนี้ ถ้ารู้ดีจึงจะได้ตามกำหนด
ยิ่งถ้ารู้ภาษาต่างประเทศอันเนื่องมาแต่ภาษาอารยัน เช่นภาษาอังกฤษ เป็นต้นด้วยแล้ว
การเรียนก็ได้เร็วขึ้นกว่ากำหนดนั้นอีก

การเรียนภาษามคธที่เป็นเดิมของพระคัมภีร์ในพระพุทธศาสนา
จึงต้องอาศัยภาษาของชาติตัวหรือภาษาต่างประเทศ เป็นเครื่องอุดหนุนอย่างนี้
วิธีที่จะกำหนดการเรียนภาษาของชาติให้เป็นแบบยังไม่ได้
เพราะคนที่บวชมีความรู้ต่างๆ กัน ยิ่งบ้างหย่อนบ้าง
ที่ยังแต่งหนังสือไม่เป็นก็มีโดยชุกชุม ผู้ใหญ่ที่เป็นครู ควรตรวจความรู้ของศิษย์
แล้วคิดผ่อนผันให้มีเวลาเรียนตามสมควร
กว่าจะมีความรู้เทียบชั้นประโยคสองในหนังสือไทย
จึงจะจัดเป็นเอาพอดีได้ในภาษาชาติของตัว

อีกอย่างหนึ่ง ถ้าผู้ใหญ่จัดการปกครองหมู่ให้ได้เรียบร้อยแล้ว
ผู้ที่ได้เข้าไปบวชในหมูนั้นย่อมได้รับความเจริญ
เพราะสมาคมด้วยกันและกัน ชักใจให้นิยมไปตามกัน

ข้อนี้เป็นผลมาก ทั้งไม่ต้องลำบากแก่ครูผู้ฝึกด้วย
ทั้งภาษามคธก็นับว่าเป็นภาษาต่างประเทศอย่างโบราณซึ่งเรียนยาก
ยังมิหนำซ้ำผู้ศึกษาไม่ชำนาญในภาษาชาติของตัวด้วย
การเรียนของพระสงฆ์จึงสำเร็จช้า และหาคนรู้ดีไม่ใคร่จะได้ด้วย

ท่านผู้เป็นใหญ่เป็นประธานในศาสนา
ถ้าคิดจะบำรุงการเรียนพระคัมภีร์ของพระสงฆ์
ควรจะต้องคิดบำรุงการเรียนภาษาของชาติตัวด้วย
จึงจะเจริญเป็นผลแก่พระพุทธศาสนา ให้สถาพรสืบไปชั่วกาลนาน


:b8: :b8: :b8: คัดลอกเนื้อหามาจาก ::
หนังสือชุดพระเกียรติคุณ สมเด็จพระสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ :
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส (พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ)
วัดบวรนิเวศวิหาร, สุเชาวน์ พลอยชุม เรียบเรียง, มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๔๑.

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13569

:b44: พระประวัติและปฏิปทา
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=21082

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 เม.ย. 2009, 00:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 มิ.ย. 2008, 17:20
โพสต์: 1855

แนวปฏิบัติ: อานาปานสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: THAILAND

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: ถ้าคิดจะบำรุงการเรียนพระคัมภีร์ของพระสงฆ์
ควรจะต้องคิดบำรุงการเรียนภาษาของชาติตัวด้วย
จึงจะเจริญเป็นผลแก่พระพุทธศาสนา ให้สถาพรสืบไปชั่วกาลนาน


:b13: พอดี จะไปงานบวชหลาน เห็นกระทู้นี้เข้า
อดไม่ได้ ต้องเข้ามาชม อนุโมทนาด้วยค่ะ

.....................................................
[สวดมนต์วันละนิด-นั่งสมาธิวันละหน่อย]
[ปล่อยจิตให้ว่าง-ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ]


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ย. 2009, 17:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

อนุโมทนาสาธุด้วยครับ

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2019, 14:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2758


 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2019, 21:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ธ.ค. 2008, 09:34
โพสต์: 1322


 ข้อมูลส่วนตัว


4Aขออนุโมทนาสาธุการค่ะ :b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 16 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร