วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 07:47  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


- สถานที่ปฏิบัติธรรม
แนะนำรายชื่อสถานที่ปฏิบัติธรรมกรรมฐานทั่วประเทศ
http://www.dhammajak.net/forums/viewforum.php?f=9

- รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=30



กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2010, 14:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 13:22
โพสต์: 146

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42:
การปฏิบัติธรรม ถ้าไม่เคยไปที่วัดเราจะปฏิบัติเองที่บ้านได้หรือเปล่าค่ะ?
:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
ทำไมต้องปล่อยว่าง
เพราะทุกอย่างมี ความว่าง มาแต่เดิม


แก้ไขล่าสุดโดย เว็บมาสเตอร์ เมื่อ 08 มี.ค. 2010, 15:08, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2010, 15:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue
:b10:
...การปฏิบัติธรรม ถ้าไม่เคยไปที่วัดเราจะปฏิบัติเองที่บ้านได้หรือเปล่าค่ะ?
:b6:
...ตอบว่าได้ค่ะ...แต่เราจะไม่มั่นใจและไม่มีแนวทางนำมาใช้ในการปฏิบัติค่ะ...
...วัดเป็นสถานที่สะดวกสำหรับการปฏิบัติหลายอย่าง...มีหนังสือสวดมนต์...
...มีผู้นำปฏิบัติ...มีผู้ส่งบุญที่เราต้องการอุทิศถึงญาติที่ล่วงลับไปแล้ว...
...มีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ให้เรานั่งภาวนาทำความสงบใจ...มีที่พักให้ค้างคืน...
...เป็นสถานที่สะดวกสำหรับการทำใจให้ยอมรับความจริงของชีวิตที่ว่า...
...ชีวิตมีความเกิดแก่เจ็บตายเป็นธรรมดาคือเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา...
:b20:
...แต่ถ้าเรามีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนแล้ว...วัดก็ยังจำเป็นอยู่นั่นแหละ...
...เพราะการออกไปใช้ชีวิตทางโลก...ทำให้เราหลงตายไม่ทราบตามจริง...
...จากตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกดมกลิ่น ลิ้นลิ้มรส กายรับสัมผัส ใจเคยชิน...
...การเข้าวัดเป็นสอนตนเองให้เคยชินกับการปล่อยวางภาระทางโลกบ้าง...
...ให้รู้จักการเสียสละด้วยการให้ทาน รักษาศีล และภาวนาทำความสงบใจ...
...เป็นการรักษาอาการทุกข์ที่เรารับรู้และสร้างผ่านตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ...
:b12:
...มีคนมาเล่าว่าสวิสเซอร์แลนด์เป็นเมืองที่สวยงาม...เราไม่เคยไปก็ไม่รู้ว่าสวยงามอย่างไร...
...เช่นกันถ้ามีคนบอกเราว่าไปวัดแล้วได้บุญ...ถ้าเราไม่เคยไปเราจะรู้ได้อย่างไรล่ะคะว่าได้บุญยังไง...
...วันหยุดงานก็ควรไปวัดบ้าง...แค่คิดว่าจะไปแต่ยังไม่มีโอกาสไปนั่นก็เป็นบุญกุศลในใจแล้วค่ะ...
...คนส่วนใหญ่ให้เวลากับการไปนั่งในผับในบาร์เพื่อดื่มและฟังเพลงเพราะคิดว่าเพลินจิตใจดี...
...ที่จะหาเวลาและโอกาสเข้าวัดสร้างบุญเข้าสู่ใจเพื่อฟังว่าเหล่าบัณฑิตท่านกำลังทำอะไรกันอยู่น้อย...
...คอยแต่จะฟังข่าวว่าวัดนั้นมีพระทำผิด...แล้วคอยตำหนิติเตียนสร้างแต่บาปหาบแต่กรรมไปตลอด...
...นี่แหละเรียกว่าหลงสังขาร หลงภพชาติ หลงผิดในจิตใจ หลงตายแล้วก็หลงเกิดตลอดกาลนาน...
:b27:
:b4: :b4:
:b41: :b41: :b41: :b41: :b41:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2010, 15:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 มี.ค. 2010, 06:38
โพสต์: 59

อายุ: 21

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอทำความเข้าใจก่อน

ไม่เคยไปวัดมาปฏิบัติเอง นี่ แบบว่าโทรสอบอารมณ์กับพระหรือ เปล่า
ถ้าใช่นี่ก็ไม่มีปัญหาครับ

แต่ถ้าไม่ใช่ ถามว่าทำได้ไหมทำได้ครับ แต่ว่าอาจจะยากกว่า ที่ว่ายากกว่าเพราะไม่มีอาจารย์หรือพระวิปัสสนาจารย์คอยชี้แนะ เวลาเราไปเจอสภาวะธรรม อาจจะทำให้เราหลงในสภาวธรรมได้ครับ
ทำให้การเจริญวิปัสสนาไม่ก้าวหน้าครับ

แต่ก็มีอีกวิธี ก็คือ การเข้ามาสนทนา มาถามใน web ธรรมจักรนี่แหละ แต่ก็ต้องเลือกกระทู้นะครับ
เพราะ web มันก็เหมือนกับอาหารบุฟเฟ่ ก็เลือกเอาเฉพาะของที่ดีๆไปครับ กระทู้ไหนทำให้เราจิตตก
หรือคิดว่าจะรบกวนการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานก็ไม่ต้องไปดูครับ
อย่างกับเรามาโฆษณาให้เว็บธรรมจักรเลยเนอะ

สุดท้ายนี้ขอให้เจริญในธรรมนะครับ ขอบคุณครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2010, 16:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue
:b1:
...ขออนุญาตกล่าวเสริมเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรม...
...การปฏิบัติธรรมคือการปฏิบัติกรรมฐาน ๒ อย่างคือ ๑.สมถกรรมฐานเพื่อความสงบใจลดคิดฟุ้งซ่าน...
...๒.วิปัสสนากรรมฐานเพื่อเกิดปัญญารู้พิจารณาหาเหตุผล อะไรถูกอะไรผิด อะไรเหมาะกับตนเอง...
:b17:
...กรรมฐาน...ที่ตั้งแห่งงานในการปฏิบัติธรรมคือพิจารณากายและใจตนเอง...ใช้หลักอิทธิบาท๔...
...ฉันทะ...พอใจทำ...ทุกอย่างเริ่มที่ใจ...ให้อธิษฐานจิตเพื่อเป็นการตั้งสัจจะก่อนทำ...
...วิริยะ...เพียรทำ ไม่ลดละเช่นนั่งสมาธิทุกวัน วันละ5นาทีหลังสวดมนต์ไหว้พระ...
...จิตตะ...มีจิตใจจดจ่อ มุ่งมั่นทำ ไม่ต้องไปคิดว่าทำแล้วจะทำให้รู้เห็นอะไร
...วิมังสา...หมั่นคิดพิจารณาไตร่ตรอง ตรึกหาเหตุผลจนเกิดปัญญารู้สัจธรรม...
:b12:
...ชีวิตเลือกเกิดไม่ได้...แต่เราเลือกที่จะทำสิ่งดีๆให้กับชีวิตได้...
:b20:
...ลองพิจารณาการปฏิบัติธรรมจากกระทู้อย่าเข้าใจผิด...
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=29694
:b27:
...ขอแนะนำบทสมาทานกรรมฐานที่ข้าพเจ้าใช้ตั้งสัจจะเวลาเริ่มปฏิบัติธรรมทุกอิริยาบทดังนี้...
:b16:
...ข้าพเจ้าขอสมาทานเอาซึ่งสัมมาทิฐิที่เป็นความเห็นถูกต้อง...
...ให้เห็นธรรมชาติล้วน ๆ ไหลไป เกิด-ดับ ตามเหตุปัจจัย...
...ขอให้พบดวงแก้ว ขอให้แคล้วบ่วงมาร...
...ขอให้พบธรรมะอันผ่องใส ด้วยการเจริญสติกรรมฐาน...
...ขอให้ทันพระศรีอาริย์ในอนาคตกาลเบื้องหน้าด้วยเทอญ...สาธุ...
:b11:
:b4: :b4:
:b44: :b44: :b44: :b44: :b44:


แก้ไขล่าสุดโดย Rosarin เมื่อ 08 มี.ค. 2010, 16:26, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2010, 19:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
การปฏิบัติธรรม ถ้าไม่เคยไปที่วัดเราจะปฏิบัติเองที่บ้านได้หรือเปล่าค่ะ?

จริงๆการไปปฏิบัติที่วัด ไปเพื่อเอาBASIC กับวิธีการปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสม และประสบการณ์ส่วนตัว
ทำให้สามารถทำได้อย่างที่คิดไว้ เพราะการปฏิบัติเองเลยที่บ้านโดยไม่ได้ปฏิบัติที่วัดเลยบางครั้งเมื่อเกิดความสงสัยตอนปฏิบัติเราจะไม่สามารถถามใครได้และจะรู้สึกสับสนและงง ทำให้ปฏิบัติแล้วไม่ได้ผลเท่าที่ควร

แต่เมื่อทำได้บ้างแล้วรู้หลักการปฏิบัติแบบคร่าว ๆจำได้แระ และแบ่งเวลาปฏิบัติได้เหมาะสม
ก้สามารถปฏิบัติเองที่บ้านได้ ไม่มีปัญหาครับ เพราะการปฏิบัติโดยมากก้ต้องทำเอาเองเป็นส่วนใหญ่เพียงแต่ต้องหัดก่อน แต่จะหัดอย่างไรก้ต้องหัดแบบมีคนแนะนำ คนสอนหรืออธิบายในสิ่งที่ยังไม่เข้าใจ
ให้รู้เสียก่อน ดังนั้นผู้เริ่มใหม่หากไปปฏบัติที่วัดก่อนถือเป็นสิ่งที่ดีกว่า

หรือจะทำอย่างที่คุณคิดดีฯพูดไว้ก้ทำได้ คือสอบอารมณ์ทางโทรศัพท์ แต่ว่าวิธีนี้เราคงต้องสนิท
กับพระอาจารย์หรือหลวงพ่อเป็นอย่างมาก ถึงจะทำได้


ปล...จะปฏิบัติมากน้อยเก่าใหม่แค่ไหนก้ต้องกลับมาปฏิบัติที่วัดอยู่ดีแหละ อย่างน้อยถือว่าเป็นฝึกทบทวน หรือทดสอบฝึกหัดสิ่งที่เคยทำมา หรือสิ่งไหนที่ขาดที่เกินให้เข้าที่ อย่างที่คุณRosarin
ว่าไว้ชัดเจนครับ cool


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2010, 23:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ม.ค. 2007, 11:39
โพสต์: 85

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b16: :b16: :b16:

:b8: :b8: :b8:

ปฏิบัติธรรม เข้าวัดมาหลายปี มารู้อยู่อย่างหนึ่งว่า ปฏิบัติที่บ้านค่อนข้างได้ผลช้า

เห็นหมอน เห็นเตียง เห็นทีวี อยู่แค่เอื้อม โอย พอเมื่อย ๆ อดใจไม่ไหว
คนโน้นมา คนนี้ถามหา เพื่อนมา ญาติไป คนโน้นกินข้าว คนบ่น คนหัวเราะ ฯลฯ
โอย ... ร้อยแปด ๆ สมาธิไม่แข็ง เป๋ไป เป๋มา


ในที่สุด ก็ต้องไปวัด เห็นพระเห็นเจ้า บรรยากาศ ได้สวดมนต์ไหว้พระ กราบแล้ว กราบอีก ดีแฮะ
บางทีขี้เกียจ เห็นเค้าทำ ก็อายเค้า ก็ต้องทำ พวกมากลากไป มันก็ค่อย ๆ ดีไป


ถ้าจะทำที่บ้าน ให้ไปเริ่มต้นที่วัดก่อน แล้วมาต่อที่บ้าน มันจะฮึดไปได้ซักพัก
ลด น้อย ถอยลง จากวันละ ชั่วโมง ก็ลดลงมา จนวันเว้นวัน ห่างหาย ยาวละทีนี้


เป็นยังงี้จริง ๆ เริ่มใหม่ ๆ ต้องไปเริ่มที่วัดอีก

พอมาได้อ่านตำราเจอ ท่านว่าที่บ้าน วิสภาคารมณ์ (อารมณ์ที่เป็นข้าศึก ที่ขัดต่อการปฏิบัติ) มันเยอะ


ลองดูพระสูตรนี้ประกอบครับ

...........................

โพธิราชกุมารสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓

อุปมาข้อแรก เปรียบเหมือนไม้สดชุ่มด้วยยางทั้งตั้งอยู่ในน้ำ
ถ้าบุรุษพึงมาด้วยหวังว่า จักถือเอาไม้นั้นมาสีให้เกิดไฟ จักทำไฟให้ปรากฏ ดังนี้
บุรุษนั้นเอาไม้สดชุ่มด้วยยางทั้งตั้งอยู่ในน้ำมาสีไฟ พึงให้ไฟเกิด พึงทำไฟให้ปรากฏได้บ้างหรือ?
ข้อนี้ไม่ได้เลย... เพราะไม้ยังสดชุ่มด้วยยางทั้งตั้งอยู่ในน้ำ บรรลุนั้นก็จะพึงเหน็ดเหนื่อยลำบากกายเปล่า...


ข้อนี้ฉันใด สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด เหล่าหนึ่งก็ฉันนั้น มีกายยังไม่หลีกออกจากกาม ยังมีความพอใจในกาม
ยังเสน่หาในกาม ยังหลงอยู่ในกาม ยังกระหายในกาม ยังมีความเร่าร้อนเพราะกาม ยังละไม่ได้ด้วยดี
ยังให้สงบระงับไม่ได้ด้วยดีในภายใน


ท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้นถึงแม้จะได้เสวยทุกขเวทนาที่กล้าเผ็ดร้อน
อันเกิดเพราะความเพียรก็ดี ถึงจะไม่ได้เสวยทุกขเวทนาที่กล้าเผ็ดร้อนอันเกิดเพราะความเพียรก็ดี
ก็ไม่ควรเพื่อจะรู้ เพื่อจะเห็นเพื่อปัญญาเครื่องตรัสรู้อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า


...............

อุปมาข้อที่สอง เปรียบเหมือนไม้สดชุ่มด้วยยางตั้งอยู่บนบกไกลน้ำ
ถ้าบุรุษพึงมาด้วยหวังว่า จะเอาไม้นั้นมาสีให้เกิดไฟ จักทำไฟให้ปรากฏ
บุรุษนั้นเอาไม้สดชุ่มด้วยยางตั้งอยู่บนบกไกลน้ำมาสีไฟ พึงให้ไฟเกิด พึงทำไฟให้ปรากฏได้บ้างหรือ?
ข้อนี้ไม่ได้เลย... เพราะไม้นั้นยังสดชุ่มด้วยยาง แม้จะตั้งอยู่บนบกไกลน้ำ
บุรุษนั้นก็จะพึงเหน็ดเหนื่อยลำบากกายเปล่า...


ข้อนี้ฉันใด สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
มีกายหลีกออกจากกาม แต่ยังมีความพอใจในกาม ยังเสน่หาในกาม ยังหลงอยู่ในกาม
มีความกระหายในกามมีความเร่าร้อนเพราะกาม ยังละไม่ได้ด้วยดี ยังให้สงบระงับไม่ได้ด้วยดีในภายใน


ท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้น ถึงแม้จะได้เสวยทุกขเวทนาที่กล้าเผ็ดร้อนอันเกิดเพราะความเพียรก็ดี
ถึงแม้จะไม่ได้เสวยทุกขเวทนาที่กล้าเผ็ดร้อน อันเกิดเพราะความเพียรก็ดี ก็ไม่ควรเพื่อจะรู้
เพื่อจะเห็น เพื่อปัญญาเครื่องตรัสรู้อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า


..............

อุปมาข้อที่สาม เปรียบเหมือนไม้แห้งเกราะทั้งตั้งอยู่บนบกไกลน้ำ
ถ้าบุรุษพึงมาด้วยหวังว่า จักเอาไม้นั้นมาสีให้ไฟเกิด จักทำไฟให้ปรากฏ ดังนี้
บุรุษนั้นเอาไม้แห้งเกราะทั้งตั้งอยู่บนบกไกลน้ำนั้นมาสีไฟ พึงให้ไฟเกิด พึงทำให้ไฟปรากฏได้
เพราะไม้นั้นแห้งเกราะ และทั้งตั้งอยู่บนบกไกลน้ำ...


ข้อนี้ฉันใด สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งก็ฉันนั้นแล
มีกายหลีกออกจากกามแล้ว ไม่มีความพอใจในกาม ไม่เสน่หาในกาม ไม่หลงอยู่ในกาม
ไม่ระหายในกาม ไม่เร่าร้อนเพราะกาม ละได้ด้วยดี ให้สงบระงับด้วยดีในภายใน


ท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้น ถึงแม้จะได้เสวยทุกขเวทนาที่กล้าเผ็ดร้อน
อันเกิดเพราะความเพียรก็ดี ถึงจะไม่ได้เสวยทุกขเวทนาที่กล้าเผ็ดร้อน อันเกิดเพราะความเพียรก็ดี
ก็ควรเพื่อจะรู้ เพื่อจะเห็น เพื่อปัญญาเครื่องตรัสรู้ อันไม่มีกรรมอื่นยิ่งกว่าได้


อนุโมทนาด้วยครับ

อัศวโฆษ

:b40: :b40: :b40:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2010, 11:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www




066dsq.jpg
066dsq.jpg [ 26.98 KiB | เปิดดู 6039 ครั้ง ]
tongue
อ้างคำพูด:
การปฏิบัติธรรม ถ้าไม่เคยไปที่วัดเราจะปฏิบัติเองที่บ้านได้หรือเปล่าค่ะ?


ได้ครับ หาหนังสือดีๆไปอ่าน โหลดธรรมมะดีๆไปฟัง เริ่มต้นขั้นพื้นฐานที่บ้าน ด้วยการฝึกสมาธิเบื้องต้น ง่ายๆ แนะนำให้ฟังของหลวงพ่อปราโมทย์ไปก่อนนะครับ ของหลวงปู่ชา หลวงพ่อพุฒ ก็ฟังง่ายครับ

พระพุทธเจ้าทรงสอนสมถะ ผสมวิปัสสนาอย่างง่ายๆไว้ในอานาปานสติสูตร ลองไปให้ Google ค้นมาให้อ่าน
อยากรู้อะไร ไปพิมพ์คำนั้นให้ Google ค้นหามาให้ สบายและไวมากครับ

เมื่อได้ฝึกขั้นพื้นฐานไว้บ้างแล้ว ขั้นที่ 2 ก็ต้องหากัลยาณมิตร คือคนที่รู้ธรรม ปฏิบัติได้จริงๆ มาเป็นที่ปรึกษาเวลามีปัญหาข้อข้องใจ จะปรึกษาทางเนทหรือทางโทรศัพท์ก่อนก็ได้

ขั้นที่ 3 เมื่อศรัทธาในคำสอนของพระพุทธเจ้ามีกำลังมากแล้ว ธรรมมะจะจัดสรร ผลักดันให้เราเกิดความขวันขวาย อยากศึกษาและปฏิบัติอย่างจริงจัง ถึงตอนนั้นก็ได้เวลาที่เราจะจัดสรรเวลาชีวิตให้มีช่องว่าง ไปเข้าคอร์สอบรมปฏิบัติธรรมระยะสั้นในสำนักหรือวัด จากจุดนี้แหละที่จะทำให้เราได้ก้าวหน้า เจริญในธรรมไปสู่จุดหมายปลายทางดังที่พระพุทธเจ้าและพระอริยเจ้าทั้งหลายท่านไปถึง ครับ

ขอกุศลเจตนาของคุณ ดลให้ได้พบกัลยาณมิตรและเจริญในธรรมที่พระบรมศาสดาทรงสอนไว้ดีแล้วเทอญ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2010, 11:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www




pic08.jpg
pic08.jpg [ 39.09 KiB | เปิดดู 6032 ครั้ง ]
:b27: :b27: :b27: :b27: :b8: :b8: :b8: :b8:

อานาปานสติสูตร

ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทของอุบาสิกาวิสาขา มิคารมารดา ในพระวิหารบุพพาราม เขตพระนครสาวัตถี พร้อมด้วยพระสาวก ผู้เถระมีชื่อเสียงเด่นมากรูปด้วยกัน เช่น
ท่านพระสารีบุตร ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ท่านพระมหากัสสป ท่านพระมหากัจจายนะ ท่านพระมหาโกฏฐิตะ ท่านพระมหากปิณะ ท่านพระมหาจุนทะ ท่านพระเรวตะ ท่านพระอานนท์ และพระสาวกผู้เถระมีชื่อเสียงเด่นอื่น ๆ
ก็สมัยนั้นแล พระเถระทั้งหลายพากันโอวาท พร่ำสอนพวกภิกษุอยู่ คือ พระเถระบางพวกโอวาทพร่ำสอนภิกษุ ๑๐ รูปบ้าง บางพวกโอวาทพร่ำสอน ๒๐ รูปบ้าง บางพวก โอวาทพร่ำสอน ๓๐ รูปบ้าง บางพวกโอวาทพร่ำสอน ๔๐ รูปบ้าง
ฝ่ายภิกษุนวกะเหล่านั้น อันภิกษุผู้เถระโอวาทพร่ำสอนอยู่ ย่อมรู้ชัดธรรมวิเศษอย่างกว้างขวางยิ่งกว่าที่ตนรู้มาก่อนฯ
ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคมีภิกษุสงฆ์ห้อมล้อมประทับนั่งกลางแจ้ง ในราตรีมีจันทร์เพ็ญ วันนั้นเป็นวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ ทั้งเป็นวันปวารณาด้วย
ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเหลียวดูภิกษุสงฆ์ซึ่งนิ่งเงียบอยู่โดยลำดับ จึงตรัสบอกภิกษุทั้งหลายว่า
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราปรารภในปฏิปทานี้ เรามีจิตยินดีในปฏิปทานี้ เพราะฉะนั้นแล พวกเธอจงปรารภความเพียร เพื่อถึงคุณที่ตนยังไม่ถึง เพื่อบรรลุคุณที่ตนยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งคุณที่ตนยังไม่ทำให้แจ้ง โดยยิ่งกว่าประมาณเถิด เราจักรอยู่ในเมืองสาวัตถีนี้แล จนถึงวันครบ ๔ เดือนแห่งฤดูฝน เป็นที่บานแห่งดอกโกมุท"
พวกภิกษุชาวชนบททราบข่าวว่า พระผู้มีพระภาคจักรอยู่ในเมืองสาวัตถีนั้น จนถึงวันครบ ๔ เดือนแห่งฤดูฝน เป็นที่บานแห่งดอกโกมุท จึงพากันหลั่งไหลมายังพระนครสาวัตถี เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ฝ่ายภิกษุผู้เถระเหล่านั้นก็พากันโอวาทพร่ำสอนภิกษุนวกะ เพิ่มประมาณขึ้น คือ ภิกษุผู้เถระบางพวกโอวาทพร่ำสอนภิกษุ ๑๐ รูปบ้าง บางพวกโอวาทพร่ำสอน ๒๐ รูปบ้าง บางพวกโอวาทพร่ำสอน ๓๐ รูปบ้าง บางพวกโอวาทพร่ำสอน ๔๐ รูปบ้าง
และภิกษุนวกะเหล่านั้น อันภิกษุผู้เถระโอวาท พร่ำสอนอยู่ ย่อมรู้ชัดธรรมวิเศษอย่างกว้างขวางยิ่งกว่าที่ตนรู้มาก่อนฯ
ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคมีภิกษุสงฆ์ห้อมล้อมประทับนั่งกลางแจ้ง ในราตรีมีจันทร์เพ็ญ เป็นวันครบ ๔ เดือนแห่งฤดูฝน เป็นที่บานแห่งดอกโกมุท วันนั้นเป็นวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ
ขณะนั้น พระผู้พระภาคทรงเหลียวดูภิกษุสงฆ์ ซึ่งนิ่งเงียบอยู่โดยลำดับ จึงตรัสบอกภิกษุทั้งหลายว่า
"ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้ไม่คุยกัน บริษัทนี้เงียบเสียงคุย ดำรงอยู่สารธรรมอันบริสุทธิ์
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสงฆ์นี้ บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัทที่ควรแก่การคำนับ ควรแก่การต้อนรับ ควรแก่ทักษิณาทาน ควรแก่การกระทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญของโลกอย่างหาที่อื่นยิ่งกว่ามิได้
ภิกษุสงฆ์นี้ บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัท ที่เขาถวายของน้อย มีผลมาก และถวายของมากมีผลมากยิ่งขึ้น
ภิกษุสงฆ์นี้ บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัทอันชาวโลกยากที่จะได้พบเห็น
ภิกษุสงฆ์นี้ บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัทอันสมควร ที่แม้คนผู้เอาเสบียงคล้องบ่าเดินทางไปชมนับเป็นโยชน์ ๆ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ผู้เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้วโดยลำดับ สิ้นสัญโญชน์ในภพแล้ว พ้นวิเศษแล้วเพราะรู้ชอบ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ผู้เป็นอุปปาติกะ เพราะสิ้นสัญโญชน์ส่วนเบื้องต่ำทั้ง ๕ จะได้ปรินิพพานในโลกนั้น ๆ มีอันไม่กลับมาจากโลกนั้นอีกเป็นธรรมดา แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ก็มีอยู่ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ผู้เป็นพระสกทาคามี เพราะสิ้นสัญโญชน์ ๓ อย่าง เพราะทำราคะ โทสะ โมหะให้เบาบางมายังโลกนี้อีกครั้งเดียวเท่านั้น ก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุสงฆ์นี้ ก็มีอยู่ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ผู้เป็นพระโสดาบัน เพราะสิ้นสัญโญชน์ ๓ อย่าง มีอันไม่ตกอบายเป็นธรรมดา แน่นอนที่จะได้ตรัสรู้ในเบื้องหน้า แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่ประกอบความเพียรในอันเจริญสติปัฏฐาน ๔ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญสัมมัปปธาน ๔ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญอิทธิบาท ๔ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญอันทรีย์ ๕ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญพละ ๕ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญโพชฌงค์ ๗ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญมรรคมีองค์ ๘ อันประเสริฐอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ก็มีอยู่ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่ประกอบความเพียรในอันเจริญเมตตาอยู่ แม้ภิกษุช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญกรุณาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญมุทิตาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญอุเบกขาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญอสุภสัญญาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญอนิจจสัญญาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญอานาปานาสติอยู่ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้
ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้
ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไรทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า
เธอย่อมมีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว หรือเมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น หรือเมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น
สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก
สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดปีติ หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นกำหนดรู้ปีติ หายใจออก
สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก
สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขารหายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจออก
สำหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจออก
สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจ ว่าเราจักเป็นกำหนดรู้จิต หายใจออก
สำหนียกอยู่ ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจเข้า ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก
สำหนียกอยู่ ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า
สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้าว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจออก
สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจออก
สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัดหายใจออก
สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจออก
สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้พิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจออก
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้วอย่างไร? ทำให้มากแล้วอย่างไร? จึงบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด เมื่อภิกษุหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว หรือเมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น หรือเมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น
สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก
สำหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นกายในกายมีความเพียร รู้สึกตัว มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวลมหายใจเข้าลมหายใจออกนี้ ว่าเป็นกายชนิดหนึ่งในพวกกาย
เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายมีความเพียร รู้สึกตัว มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจออก
สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก
สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจออก
สำหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจออก
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร รู้สึกมีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการใส่ใจลมหายใจเข้า ลมหายใจออกเป็นอย่างดีนี้ ว่าเป็นเวทนาชนิดหนึ่ง ในพวกเวทนา
เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่าพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร รู้สึกตัวมีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจออก
สำหนียกอยู่ ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจเข้า ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก
สำหนียกอยู่ ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า เราจักตั้งจิตมั่น หายใจออก
สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า เราจักเปลื้องจิต หายใจออก
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวอานาปานสติแก่ภิกษุผู้เผลอสติ ไม่รู้สึกตัวอยู่
เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจออก
สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจออก
สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจออก
สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจออก
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร รู้สึกตัวมีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ เธอเห็นการละอภิชฌาและโทมนัสด้วยปัญญาแล้ว ย่อมเป็นผู้วางเฉยได้ดี
เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร รู้สึกตัวมีสติ กำจัดอภิชาฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ชื่อว่าบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้วอย่างไร ? ทำให้มากแล้วอย่างไร ? จึงบำเพ็ญย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์สมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้ ?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ในสมัยนั้น สติย่อมเป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้ว ไม่เผลอเรอ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด สติเป็นอันภิกษุเข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผลอเรอในสมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ เธอเมื่อเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นได้ด้วยปัญญา ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้าไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ในสมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุเธอเมื่อค้น คว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมด้วยปัญญาอยู่ ย่อมเป็นอันปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุค้นคว้าไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ในสมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุปีติปราศจากอามิส ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียรแล้ว ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ปีติปราศจากอามิสเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียรแล้ว ในสมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ย่อมมีทั้งกายทั้งจิตระงับได้ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ทั้งกายทั้งจิตของภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ระงับได้ในสมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุข ย่อมมีจิตตั้งมั่น ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุขย่อมตั้งมั่น ในสมัยนั้น สมาธิสัมโชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้นได้เป็นอย่างดี ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้วางเฉย จิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้นได้เป็นอย่างดี ในสมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ สมัยนั้นอุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกสเยได้อยู่ ในสมัยนั้นสติย่อมเป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผลอเรอ.......
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ในสมัยนั้น สติย่อมเป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผลอเรอ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ในสมัยนั้น สติย่อมเป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผลอเรอ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด สติเป็นอันภิกษุเข้าไปตั้งไว้แล้ว ไม่เผลอเรอในสมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ เธอเมื่อเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้าไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ในสมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์สมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ เมื่อเธอค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญาอยู่ ย่อมเป็นอันปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุค้นคว้าไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ในสมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์แล้ว สมัยนั้นวิริยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุปีติ ปราศจากอามิสย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียรแล้ว ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ปีติปราศจากอามิสเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียรแล้ว สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปีติสัมโชฌงค์ สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ย่อมมีทั้งกายทั้งจิตระงับได้ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ทั้งกายทั้งจิตของภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ระงับได้ในสมัยนั้น ปัสสัทะสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษูปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุข ย่อมมีจิตตั้งมั่น ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุขย่อมตั้งมั่น ในสมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้นได้เป็นอย่างดี ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้วางเฉย จิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้นได้เป็นอย่างดี ในสมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญอุเบกขาสมัมโพชฌงค์ สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญสติปฏิฐาน ๔ แล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ชื่อว่าบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อความปลดปล่อย ย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์.......... ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ .... ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์........... ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อความปลดปล่อย ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ชื่อว่าบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ฯ"
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ
อานาปานสติสูตร ๑๔/๑๖๕
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 5 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร