วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 06:01  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


- สถานที่ปฏิบัติธรรม
แนะนำรายชื่อสถานที่ปฏิบัติธรรมกรรมฐานทั่วประเทศ
http://www.dhammajak.net/forums/viewforum.php?f=9

- รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=30



กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2014, 20:37 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

ศีล ๑๐ ศีล ๘ ศีล ๕ และกรรมบถ ๑๐

(เรียบเรียงตั้งแต่ยังเป็นพระญาณรักขิต
ตรวจพิมพ์ใหม่เมื่อเป็นพระโพธิวงศาจารย์ พ.ศ.๒๔๖๘)
จะย่นศีล ๑๐ ศีล ๘ ศีล ๕ และกุศลกรรมบถ
๑๐ แต่เนื้อความพอเข้าใจง่าย
ให้สามเณรเล่าขึ้นปากขึ้นใจ ให้สวดในเวลาทำวัตร
เช้าแล้วทุกวันไป จะได้เป็นวิชชาความฮู้สำหรับตัว
เพื่อเป็นทางที่จะได้ประพฤติความดีความชอบ คือ
ประโยชน์ชาตินี้ชาติหน้าใส่ตัว จะได้
เป็นที่พึ่งแก่ตัวตาบต่อเท่าสิ้นชีวิต ให้สวดดังต่อไปนี้ :
บวชเป็นสามเณรและภิกษุ ให้รักษาซึ่งสิกขาบท ๑๐
ประการ ประการ ๑ บ่อให้ฆ่าสัตว์ตัวน้อยตัว
ใหญ่ตัวเป็นจำตาย ประการ ๒ บ่อ
ให้ฉ่อลักเอาของท่านมาเป็นของตน ประการ ๓ บ่อ
ให้เสพเมถุนธรรมกับด้วยผู้หญิงผู้ชาย
และสัตว์เดียรฉาน ประการ ๔ บ่อให้หล่ายพาง
ฮู้เห็นอย่างใดให้ว่าอย่างนั้น ประการ ๕ บ่อ
ให้กินเหล้าและน้ำเมาอันเป็นเหตุเป็นที่ตั้งแต่
ความประมาท
ศีล ๕ ประการนี้ สามเณรองค์ใดให้ขาด
ให้ทำลาย สามเณรองค์นั้นเป็นปาราชิกขาด
จากครองเณร เป็นคนนุ่งผ้าเหลืองเปล่า บ่อนับเข้า
ในอันเป็นสามเณร ประการ ๖ บ่อ
ให้เกินโภชนะอาหารในเวลาวิกาล
คือแต่ตะวันซ้ายไปเท่าค่ำคืน ประการ ๗ บ่อ
ให้ฟ้อนรำทำเพลงดีดสีตีเปล่าซึ่งเครื่องเล่นต่างๆ
ประการ ๘ บ่อให้ประดับประดาตกแต่งซึ่งร่างกาย
ด้วยดอกไม้และของหอมเครื่องย้อมเครื่องทาต่าง ๆ
ประการ ๙ บ่อให้นั่งนอนในตั่งเตียงมีเท้าสูงกว่าคืบ
และฟูกเบาะอันยัดด้วยนุ่นและสำลี ประการ ๑๐
บ่อให้รับเอาเงินและคำ
เป็นกรรมอันบ่อควรแก่สมณะ สามเณรองค์
ใดรักษาซึ่งสิกขาบท ๑๐ ประการนี้ไว้ บ่อให้ขาดบ่อ
ให้ทำลาย สามเณรองค์นั้นจึง
ได้ชื่อว่ามีศีลอันบริสุทธิ์ บ่อเสียทีที่บวชในพุทธศาสนา
ตัสมา เหตุดังนั้น เฮาท่านทั้งหลายที่เป็นสามเณร
สีลัง วิโสเธยยามะ พึงชำระซึ่งศีลของตน
ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ทุกคนทุกองค์เทอญ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2014, 20:43 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ให้สวดศีล ๘ ศีล ๕ ต่อไปดังนี้
คฤหัสถ์หญิงชาย อันตั้งอยู่ในฆราวาส บ่ออาจ
สามารถออกบวชในพุทธศาสนา ครั้นถึงเวลาวัน ๑๔,
๑๕ ค่ำและวัน ๘ ค่ำแห่งปักษ์ ให้รักษาซึ่งอุโบสถศีล
คือศีล ๘ ประการ ประการ ๑ บ่อ
ให้ฆ่าสัตว์ตัวน้อยตัวใหญ่ตัวเป็นจำตาย ประการ ๒ บ่อ
ให้ฉ่อลักเอาของท่านมาเป็นของตน ประการ ๓ บ่อ
ให้เสพเมถุนธรรมเป็นกรรมอันบ่อประเสริฐ
โดยกำหนดที่สุดแต่ผัวเมียของตนก็บ่อให้กระทำ
ประการ ๔ บ่อให้หล่ายพาง ฮู้เห็นอย่างใด
ให้ว่าอย่างนั้น ประการ ๕ บ่อให้กินเหล้า
และน้ำเมาอันเป็นเหตุ เป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
ประการ ๖ บ่อให้กินซึ่งโภชนะอาหาร
ในเวลาวิกาล คือแต่ตะวันซ้ายไปเท่าค่ำคืน ประการ
๗ บ่อให้ฟ้อนรำทำเพลงดีดสีตีเป่า
ซึ่งเครื่องเล่นต่าง ๆ และประดับประดาตกแต่ง
ซึ่งฮ่างกาย ด้วยดอกไม้
และของหอมเครื่องย้อมเครื่องทาต่าง ๆ ประการ
๘ บ่อให้นั่งนอนเหนือตั่งเตียงมีเท้าอันสูงกว่าคืบ
และฟูกเบาะอันยัดด้วยนุ่นและสำลี ศีล ๘
ประการนี้ ให้รักษาสิ้นวันหนึ่งกับคืนหนึ่งเป็นกำหนด
ครั้นสิ้นกำหนดวัน ๑ กับคืน ๑ แล้ว ให้รักษา
ซึ่งนิจศีลคือศีล ๕ ประการ ประการ ๑ บ่อ
ให้ฆ่าสัตว์ตัวน้อยตัวใหญ่ตัวเป็นจำตาย ประการ ๒ บ่อ
ให้ฉ่อลักเอาของท่านมาเป็นของตน ประการ ๓ บ่อ
ให้เล่นลูกเล่นเมียท่าน ผู้หญิงบ่อให้เล่นชู้จากผัว
และเล่นผัวท่าน ประการ ๔ บ่อให้หล่ายพาง
ฮู้เห็นอย่างใดให้ว่าอย่างนั้น ประการ ๕ บ่อ
ให้กินเหล้าและน้ำเมาอันเป็นเหตุเป็นที่ตั้งแห่ง
ความประมาท นิจศีลคือศีล ๕ ประการนี้
ให้รักษาทุกวันเป็นนิจอย่าให้ขาด คฤหัสถ์ผู้ใดรักษาไว้
ซึ่งอุโบสถศีลและนิจศีลบ่อให้ขาดบ่อให้ทำลาย
คฤหัสถ์ผู้นั้นจึงได้ชื่อว่ามีศีลอันบริสุทธิ์
บ่อเสียทีที่เกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา ตัสมา
เหตุดังนั้น บุคคลทั้งหลายฝูงมีปัญญา ปรารถนาซึ่ง
ความสุขแก่ตนในเมืองคนและเมืองฟ้า สีลัง วิโสธเย
พึงชำระซึ่งศีลของตน ๆ ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ทุก ๆ
คน เทอญ
จบโวหารท่านเทวธัมมี วัดศรีทอง เมืองอุบล
เรียบเรียงไว้แต่เพียงนี้ ข้าพเจ้าได้แก้ไขบ้าง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2014, 20:59 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ให้สวดกุศลกรรมบถต่อไปดังนี้
คฤหัสถ์หญิงชาย พึงรักษาไว้ซึ่งกุศลกรรมบถ ๑๐
ประการ ประการ ๑ บ่อให้ฆ่าสัตว์ตัวน้อยตัว
ใหญ่ตัวเป็นจำตาย ประการ ๒ บ่อ
ให้ฉ่อลักเอาของท่านมาเป็นของตน ประการ ๓ บ่อ
ให้เล่นลูกเล่นเมียท่าน ผู้หญิงบ่อให้เล่นชู้จากผัว
และเล่นผัวท่าน ความประพฤติชอบ ๓ ประการนี้
ย่อมสำเร็จด้วยกาย จึงได้ชื่อว่ากายกรรม
ประการ ๔ บ่อให้หล่ายพาง ฮู้เห็นอย่างใด
ให้ว่าอย่างนั้น ประการ ๕ บ่อให้สับส่อยุยงติเตียนท่าน
ผู้อื่น ประการ ๖ บ่อ
ให้กล่าวถ้อยคำหยาบช้ากล้าแข็ง ด่าทอเสียดสีท่านผู้
อื่น ประการ ๗ บ่อ
ให้กล่าวถ้อยคำอันเหลวไหลหาประโยชน์บ่อได้
ความประพฤติชอบ ๔ ประการนี้ย่อมสำเร็จด้วยวาจา
จึงได้ชื่อว่าวจีกรรม ประการ ๘ บ่อ
ให้มีเจตนาคิดมุ่งหมายจะฉ่อโกงเอาข้าของลูกเมียท่าน
ผู้อื่น ประการ ๙ บ่อให้มีเจตนาสาปแช่งผู้อื่น
ให้ฉิบหาย ประการ ๑๐ บ่อให้มีเจตนาคิดเห็นผิดไป
จากสภาวะความเป็นจริง ความประพฤติชอบ ๓
ประการนี้ ย่อมสำเร็จด้วยใจ จึง
ได้ชื่อว่ามโนกรรม
บุคคลทั้งหลายฝูงใด รักษาไว้ซึ่งกายกรรม ๓
วจีกรรม ๔ มโนกรรม ๓ ดังกล่าวมานี้
ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ได้ จึง
ได้ชื่อว่าประพฤติดีประพฤติชอบ คนทั้งหลายฝูงนั้น
แม้ปรารถนาความสุขแก่ตนในเมืองคนและเมืองฟ้า
ก็จักสำเร็จได้ทุกอย่างทุกประการนั้นแล
จบวิธีสวด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2014, 21:25 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำปุจฉาวิสัชนาในศีล
พระอาจารย์ถามสามเณรว่า เณรเฮาจักถาม
ให้เจ้าเณรตอบให้ดีเนอ
เณรฮับว่า โดยข้าน้อย
พ. แน่เณรฮ่างกายและชีวิตของเจ้า เจ้าฮักบ่อ
ณ. ฮักข้าน้อย
พ. ถ้ามีผู้มาตี หรือฆ่าเณรกินซิ้น หรือฆ่าเหล้นซื่อ ๆ
เณรซิชอบใจบ่อ
ณ. บ่อชอบแล้วข้าน้อย
พ. เป็นสังเจ้าจึงบ่อชอบ
ณ. ฮ่างกายและชีวิตเป็นของฮักแห่งข้าน้อย มี
ผู้มาปันเอาของฮักข้าน้อยไป ข้าน้อยก็ชอบใจบ่อเป็น
แล้ว
พ. เจ้าเณรว่าก็ชอบกล ถ้าอย่าง
นั้นคำที่ว่าฆ่าเจ้าเอาของนั้น เจ้าเณรเข้าใจ
ความว่าอย่างใด
ณ. ข้าน้อยเข้าใจว่าผู้ใดมีข้าวของเงินทองมาก ๆ มี
ผู้มาฆ่าคนนั้นเสีย แล้วเก็บเอาข้าวของเงินทองของคน
นั้นไปอย่างนี้ ชื่อว่าฆ่าเจ้าเอาของข้าน้อย
พ. เออถ้าอย่างนั้น ผู้ที่ฆ่าช้างเอางา ฆ่าโคกระบือ แพะ
แกะ สุกร ไก่ ปู ปลา เอาเขาหนังเนื้อของมัน
เจ้าซิเห็นว่าฆ่าเจ้าเอาของบ่อ
ณ. ข้าน้อยยังบ่อเคยคึด แต่ควรจะนับว่าฆ่าเจ้าเอาของ
ได้ เพราะเขาหนังเนื้อเป็นของของเขาแท้
พ. ความเห็นของเจ้าเณรถึกละ
ก็การฆ่าเจ้าเอาของอย่างนั้นเจ้าเห็นว่าเฮ็ดดี
เฮ็ดชอบบ่อ
ณ. บ่อดีบ่อชอบแล้วข้าน้อย
พ. เป็นจั่งใดเจ้าจึงว่าบ่อดีบ่อชอบ
ณ. ก็ป้นของฮักคือฮ่างกายและชีวิตเขาแท้ ๆ
เขาก็คงเสียดายคือกันกับเฮา ข้าน้อย
จึงเห็นบ่อดีบ่อชอบ
พ. ความเห็นของเจ้าดีละถึกละจำไว้ให้ดีเนอเณร
คำที่ว่าบาปบาปนั้นก็คือทำความฮ้อนใจ ให้เกิดขึ้นแก่ตน
และผู้อื่นนั้นเอง
ณ. ฮับว่าสาธุ
พ. ถามว่า สิ่งของของเณรคือบาตรจีวร
และเครื่องใช้อื่น ๆ เณรฮักบ่อ
ณ. ฮักข้าน้อย
พ. ถ้ามีผู้มาลัก
หรือล่อลวงฉ่อโกงเอาไปซิเสียใจบ่อ
ณ. ก็เสียใจนั้นแล้วข้าน้อย
พ. เป็นจั่งใดจึงซิเสียใจเณร
ณ. ถ้าว่ามันยังอยู่ก็จะได้อาศัยใช้สอยต่อไป เมื่อมี
ผู้ฉ่อโกงเอาไปเสีย ทำให้ประโยชน์ของข้าน้อยเสียไป
ต้องเสียใจอยู่เอง
พ. ถ้าเฮาไปลักของคนอื่นเณรซิเห็นว่าจะเป็นอย่าง
ใด
ณ. ข้าน้อยก็เห็นว่า คือกันกับเขามาลักของเฮานั้นเอง
เพราะของไผ ไผก็ฮัก ถ้าถึกขโมยแล้วต้องเสียใจ
ด้วยกันทุกคน
พ. ความเห็นนั้นถึกละดีละเณร ที่ว่าลักของเขาบาป
นั้น ก็คือทำความเดือดฮ้อนให้แก่เขานั้นเอง จำไว้
ให้ดีอย่าลักของเขาหนาเณร
ณ. โดยข้าน้อย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2014, 21:33 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พ. เณรเจ้าเห็นว่าฮักตัวของเฮามาก หรือฮักคน
อื่นมากจิงซิเป็นการดี
ณ. ฮักตัวนั้นแล้วมากข้าน้อยเห็นว่าเป็นการดี
พ. ถ้าเห็นว่าฮักตัวดี ต้องหาความสุขใส่ตัวอย่างนั้นบ่อ
ณ. โดยข้าน้อย
พ. ถ้าอย่างนั้นการที่จะหาความสุข
ใส่ตัวเจ้าเห็นว่าควรเฮ็ดสิ่งใดดี
ณ. ทานโทษข้าน้อยเห็นว่า ควรแสวงหาเงินทองไว้มาก
ๆ นั้นแหละเป็นการดี เหตุว่าผู้มีเงินมากย่อมมี
ความสุขข้าน้อย
พ. ถ้าอย่างนั้นทางแสวงหาเงินมีหลายทาง เฮาซิว่า
ให้ฟังให้เจ้าเลือกเอาทางใดจะดี
๑. ต้องเป็นลูกจ้างหาเงินใช้จ่ายวิชชา
หรือศิลปะศาสตร์ ถ้าไม่มีวิชชาอันใดก็ต้อง
ใช้กำลังกาย
๒. ค้าขายใช้กำลังทรัพย์หาทรัพย์ ตัวก็ต้องเหนื่อย
ด้วย
๓. เป็นช่างต่าง ๆ มีวาดเขียนเป็นต้น ใช้กำลังศิลปะ
ซึ่งมีในตนซื้อขาย
๔. ต้องประกอบการงานด้วยกำลังมีทำนาทำสวน
เป็นต้น
๕. บ่อต้องเป็นลูกจ้างเขา บ่อต้องค้าขาย บ่อต้อง
เป็นช่าง บ่อต้องทำนาทำสวน แต่บ่ออึดบ่ออยาก
ทรัพย์สินเงินทองที่อยู่ที่อาศัยลาภยศได้โดยบ่อ
ต้องทำงานให้ลำบากกาย ทางหาทรัพย์ ๕
อย่างนี้อย่างใดจะดี
ณ. อย่างที่ ๕ นั้นแลดีข้าน้อย
พ. อย่างที่ ๕ นั้น ก็คือพวกเฮานักบวชนี้เองละเณร
เณรเข้าใจบ่อว่าพวกเราบ่อต้องทำงาน
ให้เหน็ดเหนื่อยเหมือนเขา แต่บริบูรณ์เหมือนเขา
และเป็นที่กราบไหว้ของเขาด้วย เณรเห็นว่า
เป็นผลมาจากสิ่งใด
ณ. ข้าน้อยบ่อเข้าใจ ทราบแต่ว่าเป็นนักบวชแล้ว
เขาก็กราบไหว้ให้ทานเท่านั้นข้าน้อย
พ. อ้อความฮู้เจ้ายังต่ำ เป็นผลมาจากเว้นความชั่วต่าง
ๆ และเว้นจากเหตุที่มาแห่งกองทุกข์อย่าง
ใหญ่คือเสพเมถุนเสียด้วย จิงเป็นที่นิยมของคนโดยมาก
เณรถามว่า ทานโทษ เสพเมถุน เป็นสังจิงต้องนับว่า
เป็นบาป เป็นบาปมากจริงหรือข้าน้อย
พระตอบ ฮือ! บ่อเป็นอย่างนั้นดอกเณร จะเป็นบาป
หรือบ่อเป็นบาป เพราะเหตุนั้นจงยกไว้ ตัวเมถุน
เป็นที่โฮมแห่งอิฏฐารมณ์ครบทั้ง ๖ อย่างได้
ต้องนับว่าเป็นบ่อเกิดแห่งความสุขเป็นอย่างที่หนึ่ง
ในโลก ก็ถ้าสิ่งใดให้เกิดความสุขมาก สิ่งนั้นก็ต้อง
เป็นที่เกิดแห่งความทุกข์มากอย่างที่หนึ่งในโลกเหมือน
กัน เณรได้สังเกตบ่อ ผู้ที่มีภรรยาสามีแล้ว
ต้องส่ายหาอุบายทำมาหากินอย่างเต็มที่ตามภูมิตามชั้นของตน
ๆ ชั้นสูงเป็นต้นว่า ข้าราชการก็
ต้องทำงานรับจ้างแต่พระราชาเต็มความสามารถ
ชั้นกลางชั้นต่ำเป็นต้นว่าค้าขาย หรือทำนาทำสวน ก็
ต้องขับเคี่ยวทำการงานตามหน้าที่ของตนโดยเต็มความ
สามารถ เมื่อหาทรัพย์โดยยุติธรรมบ่อได้
ต้องเถิงแก่ตีชิงวิ่งราวฉกลักฉ่อโกงป้นสดมภ์ต่าง ๆ จน
ได้รับพระราชอาญามีติดคุกติดตะราง
หรือประหารชีวิตเป็นที่สุด หรือเป็นถ้อยเป็นความ
กันตามชั้นตามภูมิของตนถึงรบราฆ่าฟันกัน
เถิงตายบ้างเถิงทุกข์แทบประดาตายบ้าง ก็มีเมถุน
นั้นแลเป็นต้นเหตุ เมถุน
เป็นบ่อเกิดแห่งโทษทุกข์ภัยอันนักปราชญ์
จะพรรณนาให้เถิงที่สุดบ่อได้อย่างนี้ พระพุทธเจ้าผู้
เป็นครูเดิมของเฮา ท่านจึงละเสีย
และสั่งสอนตั้งสิกขาบทให้สาวกละเสียบ้าง เมถุน
เป็นเหตุนำทุกข์มาได้ต่าง ๆ อย่างนี้ จะนับว่า
เป็นเหตุแห่งบาปก็ควร เข้าใจบ่อเณร
ณ. โดยเข้าใจละข้าน้อย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2014, 21:37 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พ. เณร คนขี้ตั่วขี้ปดเณรชอบบ่อ
ณ. บ่อชอบแล้วข้าน้อย
พ. เจ้าเห็นโทษอย่างใด จึงบ่อชอบ ว่าไป
ณ. จะชอบมันอย่างใดได้ วิสัยคนพูดบ่อมีจิง ย่อมจะ
ให้เฮาเก้อและให้เฮาฉิบหาย ให้เฮา
เป็นที่ดูหมิ่นแก่คนทั้งหลาย มีแต่จะให้เฮาเสียหายเท่า
นั้น คนพูดบ่อจริงมีโทษมาก โดยที่สุดแต่เพื่อนบ้าน
และมิตรสหายพ่อแม่พี่น้อง ถ้าเขาจับพิรุธได้ว่าคน
นั้น พูดบ่อมีจริงแล้ว ก็เป็นที่เกียจชังทั่วกันไป ซั้นแต่
จะหยิบยืมอิสังของไผสักเล็กน้อยก็บ่อมีผู้อยากให้ เถิง
จะเป็นผู้ใหญ่ไม้สูงหรือเป็นข้าเจ้าบ่าวขุนนางก็ดี
ถ้าพูดบ่อได้จริงแล้ว ก็บ่อมีผู้ใดนับถือน้ำหน้า
เพราะเห็นโทษอย่างนี้ ข้าน้อยจิงบ่อชอบใจ
พ. ถึกละดีละเณร ผู้ใดทำให้ผู้อื่นเขาเกียจชัง
เป็นของบ่อดีคือทำความฮ้อนให้เกิดแก่ตนและผู้อื่น
จึงนับว่าเป็นบาป เข้าใจบ่อเณร
ณ. โดยเข้าใจละข้าน้อย
พ. คนขี้เมาเจ้าชอบบ่อเณร
ณ. เมาอิสังข้าน้อย
พ. เมาฝิ่นเมากัญชาเหล้านั้นซี
ณ. บ่อชอบแล้วข้าน้อย
พ. เป็นสังเจ้าจึงบ่อชอบ ว่าไปให้เฮาฟังดูซิ
ณ. ทานโทษ ความเมาสามอย่าง คือ เมาฝิ่น เมากัญชา
เมาเหล้า เหตุที่ข้าน้อยบ่อชอบนั้น คือฝิ่นนั้นถ้าคน
เขามั่งมีบริบูรณ์สูบ ข้าน้อยก็เสย ๆ บ่อฮักบ่อชัง
ถ้าคนจนสูบชังมาก เพราะเคยเห็นมามักทำ
ให้ฮ่างกายซูบผอมเหมือนจะบ่อมีเหื่อมีแฮง มัก
เป็นคนขี้ขโมยเห็นแก่เล็กแก่น้อย ลักร่ำไป
เห็นอย่างนี้ข้าน้อยจิงบ่อชอบ คนสูบกัญชานั้น ถ้าเมา
แล้วเห็นมันเฮ็ดตาลิบหลี่ ๆ หัวร่อยิ้มย่องซิกซี้ไป
คือคนเป็นบ้าข้าน้อย จิงบ่อชอบ
คนเมาเหล้าข้าน้อยยิ่งชังมาก
เบิ่งท่าทางกิริยากระตุ้งกระติ้งหน้าตาก็ผิดปกติ
วาจาถ้อยคำก็หยาบ มักอวดตัว ทำท่าบ่อย่านไผ
มักทะเลาะวิวาทคนนั้นคนนี้
โดยที่สุดแต่ลูกเมียของตัวก็ทะเลาะได้ อีกอย่างหนึ่ง
ถ้ามานั่งใกล้กายใกล้หรือพูดจาด้วยกัน
มีกลิ่นอันเหม็นเหลือทน และมักเป็นคนใจบาป
โดยมาก เห็นเหตุอย่างนี้ข้าน้อยจิงบ่อชอบ
พ. ความเห็นของเจ้าดีละถึกละเณร สิ่งใดทำให้คน
อื่นเขาซังก็คือทำความฮ้อนให้แก่ผู้อื่น ส่วนตัวเมื่อ
เป็นที่ซังของผู้อื่นแล้ว ก็ชื่อว่าทำความฮ้อนแก่ตัวเอง
จิงควรนับว่าสุราเมรัยไผกินเป็นบาป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2014, 21:42 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พ. บริโภคอาหารในเพลาวิกาล คือแต่เที่ยง
แล้วไปจนเถิงวันใหม่
พระพุทธเจ้าท่านห้ามเพื่อประโยชน์อิสัง เณร
เข้าใจบ่อ
ณ. บ่อเข้าใจแล้วข้าน้อย
พ. อ้อ ! เณรบ่อเข้าใจ มีประโยชน์มากเต็มที่
คือตัดกังวลบ่อต้องขวนขวายแสวงหา
ในเวลาที่ตนบ่อบริโภค ก็ย่อมได้ความสุข
ถ้าบ่อมีเขตแดนฝั่งฝาไว้ ก็จะต้อง
เป็นห่วงแสวงหาอาหารวันยังค่ำ บ่อเป็นอันที่
จะศึกษาเล่าเรียนท่องบ่นหรือบำเพ็ญภาวนา
วันหนึ่งคืนหนึ่ง ๒๔ ชั่วโมงแบ่งเป็น ๔ ส่วน
ให้มีโอกาสบริโภคและแสวงหาอาหารแต่ส่วนเดียว
เพราะใน ๒๔ ชั่วโมงนั้น จะหัดบริโภคแต่ครั้งเดียว
ก็อาจค้ำฮ่างกายไว้ได้ บ่อต้องซูบผอมเหี่ยวแห้ง
ด้วยเหตุนั้นเลย
การที่บริโภควันละสองครั้งสามครั้งหรือ
ทั้งกลางวันกลางคืนนั้น ก็ต้องนับว่าบริโภค
ด้วยอำนาจของตัณหาเท่านั้น และเป็นอุบายที่จะ
ให้เกิดกำลังเพื่อความกำหนัด เณรต้องเข้าใจว่า
ถ้าศีลประเภทใด มีอพรหมจริยา
เว้นการเสพเมถุนแล้ว ต้องเพิ่มวิกาลโภชน์ด้วย เพื่อ
จะให้ฮู้จักประมาณในการบริโภค เป็นอุบายขจัด
ความกำหนัดในเมถุนให้น้อยลง เข้าใจบ่อเณร
ณ. เข้าใจละข้าน้อย วิกาลโภชน์นี้เห็นจะ
เป็นกิ่งก้านของอพรหมจริยา
พ. อย่างนั้นซิเณร
พ. ในนัจจคีต มาลาคันธ อุจจาสยน ชาตรูป ๔ องค์
ข้างท้ายนั้นคือห้ามบ่อให้ฟ้อนรำขับฮ้อง ดูการเล่น
และประดับฮ่างกาย และนั่งนอนในที่สูงใหญ่สะอาด
และฮับเอาเงินคำ
พระพุทธเจ้าห้ามเพื่อประโยชน์อันใด เณรเข้าใจบ่อ
ณ. บ่อเข้าใจแล้วข้าน้อย
พ. อ้อ ! ของเหล่านั้นเป็นปัจจัยแก่ความกำหนัด
การห้ามนั้นก็เพื่อจะกำจัดตัดทางของเมถุนนั้นเอง
จะนับว่าเป็นกิ่งก้านของอพรหมจริยาด้วยก็ควร
เข้าใจไหมเณร
ณ. เข้าใจละข้าน้อย แต่พวกอุบาสกอุบาสิกาฮับศีล
๘ เป็นสังบ่อฮับชาตรูปด้วย
พ. บ่อเป็นอย่างนั้นดอกเณร
พวกฆราวาสย่อมอาศัยเงินทองเป็นเครื่องเลี้ยงชีพ
ถ้าบ่อมีเงินทองต้องอึดตาย บ่อคือพวกนักบวช นักบวชมี
ผู้ให้ทานกิน เถิงบ่อมีเงินก็อยู่ได้ เพราะเหตุนั้น
พระพุทธเจ้าจิงผ่อนผันตามภูมิ บ่อ
ต้องห้ามเงินทองแก่พวกฆราวาส
แต่ทรงเห็นว่าเงินทองเป็นของปรารถนาทั่วกัน ถ้ามี
อยู่แก่ผู้ใดต้องฮักษาเต็มที่ การฮักษาเป็นตัวทุกข์
พระพุทธเจ้าจิงห้ามบ่อให้นักบวชยินดีฮับไว้เพื่อบ่อ
ให้มีกังวลจะได้อยู่เป็นสุข เข้าใจบ่อเณร
ณ. เข้าใจละข้าน้อย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2014, 21:49 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สามเณรเรียนถามพระอาจารย์ต่อไปว่า ทานโทษ
ศีล ๕ กับกุศลกรรมบถ องค์ที่ ๓
คืออพรหมจริยา เป็นสังจิงเปลี่ยนเป็น
กาเมสุมิจฉาจารา บ่อให้เล่นลูกเล่นเมียท่าน
ลูกท่านก็ห้ามด้วยหรือข้าน้อย
พ. เอ! เณรนี่วุ่นจริง อพรหมจริยา
เป็นศีลพิเศษของพวกฆราวาส จะฮักษาได้ก็แต่
ผู้มีศรัทธาความเชื่อความเลื่อมใสจริง ๆ
หรือฮักษาได้เป็นครั้งเป็นคราวเท่านั้น การเมถุน
เป็นพื้นของชาวบ้าน เพราะเหตุนั้นจึงเปลี่ยน
เป็นกาเมสุมิจฉาจารา จำเพาะห้ามแต่ส่วนผิดเท่านั้น
เถิงผู้ใดผู้ใดก็ชื่อว่าลูกท่านทั้งสิ้น ที่ห้าม
นั้นจำเพาะที่ผิดคือที่มีผู้หวงแหนหรือเขาหวงแหนเอง
และเป็นที่ไม่สมควรเท่านั้น เข้าใจบ่อเณร
ณ. โดยเข้าใจละข้าน้อย
ณ. ทานโทษ ในกุศลกรรมบถ องค์สุราเป็นสัง บ่อมี
หรือฮักษากุศลกรรมบถ
กินเหล้าบ่อมีโทษข้าน้อย
พ. อ้อ ! บ่อเป็นอย่างนั้นดอกเณร เหล้านั้น
ถ้ากินบ่อฮู้ประมาณมีโทษมาก ถ้ากินฮู้ประมาณอาจ
ให้เป็นคุณได้ในบางสิ่งบางอย่าง แต่เหล้านั้น
เป็นของเมา มักก่อความชั่วขึ้นได้เป็นอันมาก เกรงว่า
ผู้กินจะบ่อมีความฮู้พอแก่เหล้า จิงต้องห้ามเสียทีเดียว
ในกุศลกรรมบถนี้ควรจะอนุโลมเข้าในองค์กาเมสุ
คำที่ว่าประพฤติผิดในกามทั้งหลาย กามะศัพท์ แปลว่า
ฮักใคร่ชอบใจ คือประสงค์รสนั้นเอง
ส่วนสุราก็ประสงค์รสเหมือนกัน เพราะเหตุนั้น
ผู้ฮักษากุศลกรรมบถ ควรเว้นการดื่มสุราเสีย
ด้วย เข้าใจบ่อเณร
ณ. เข้าใจละข้าน้อย
เณรถามว่า เปสุญญวาท พูดปดเสียซึ่งความฮัก ได้
ความว่าอย่างใดข้าน้อย
พ. ตอบว่า คือพูดเอาดีฝ่ายตัวใส่ความชั่วให้แก่ผู้อื่น
พูดติเตียนนินทาสับส่อให้เขาแตกร้าวเกียจชังกัน ได้ใจ
ความว่าพูดคำหยาบลับหลังเข้าใจบ่อเณร
ณ. โดยเข้าใจละข้าน้อย
ณ. ถามว่า ผรุสวาท พูดคำหยาบกล้าแข็ง จะหมาย
ความหยาบอย่างใดข้าน้อย
พ. ตอบว่า หมายความว่าด่าขู่ตวาด
หรือพูดเสียดสีคือคำพูดหยาบต่อหน้า เถิงถ้อยคำ
จะอ่อนหวานแต่เป็นที่เจ็บอายแก่ผู้ฟัง
ต้องนับว่าวาจาหยาบทั้งสิ้น
เณรถามต่อไปว่า สัปผัปปลาปวาท
พูดหว่านประโยชน์เสีย คือคำอย่างใดข้าน้อย
พ. พูดเล่นตลกคะนองเฮ ๆ ฮา ๆ เสียเวลาเปล่า
ไม่มีประโยชน์แก่ผู้พูดและผู้ฟัง
นั้นแหละชื่อว่าพูดหว่านประโยชน์เสีย
เข้าใจไหมเณร
ณ. เข้าใจข้าน้อย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2014, 22:01 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ณ. อภิชฌา ความเพ่งอยากได้ของผู้อื่น ข้าน้อยยังบ่อ
เข้าใจความ
พ. ถ้าอย่างนั้นฟังเฮาซิ อธิบายให้เข้าใจ
ความเพ่งกิเลสกาม คือ รูป เสียง กลิ่น รส
เครื่องสัมผัส และวัตถุกาม คือข้าวของเงินเป็นต้น
ของผู้อื่นด้วยโลภเจตนา ความโลภนั้น
เป็นอกุศลมูลอยู่โดยธรรมดา
เมื่อมีกำลังกล้าขึ้นก็สามารถจะทำความชั่ว
ได้ทุกสิ่งไป จิงนับว่าอภิชฌาเป็นบาปส่วนหนึ่ง
ณ. พยาบาท คิดแช่งสัตว์ให้พินาศนั้นก็ยังบ่อเข้าใจ
จะส่องความไปอย่างใดข้าน้อย
พ. คิดแช่งสัตว์ให้พินาศนั้น ก็คือผู้ซึ่งบ่อ
เป็นที่ชอบใจของตน ก็คิดมุ่งหมายจะให้มันฉิบหายเสีย
จากลาภยศสุขสรรเสริญและชีวิตถิ่นฐานนั้น ๆ
สำเร็จด้วยโทโส คือความโกรธความเคียดเป็นเหตุ ก็
ความโกรธนั้นเป็นอกุศลมูลอยู่โดยธรรมดา
เมื่อมีกำลังกล้าขึ้นก็อาจทำความชั่วได้ทุกสิ่ง
จิงนับว่าพยาบาทเป็นบาปส่วนหนึ่ง
เณรถามว่า มิจฉาทิฏฐิ เห็นผิดว่าเป็นบาปนั้น ก็ยังบ่อได้
ความข้าน้อย
พ. การเห็นผิดจากความเป็นจริงนั้นมีโทษมาก เสีย
ทั้งประโยชน์ชาตินี้ชาติหน้า
และประโยชน์คือพระนิพพาน ดังผู้เห็นว่าทองไกล่
เป็นทองคำแท้ หรือเห็นเพชรปลอมว่าเป็นเพชรแท้
ต้องซื้อตามราคาทองแท้เพชรแท้เป็นตัวอย่าง เถิงว่าผู้
เป็นข้าราชการหรือพ่อค้าเศรษฐี
จะฉิบหายเสียลาภยศความสรรเสริญ ก็
เพราะเห็นผิดจากความเป็นจริงนั้นเอง
กินตลอดลงไปเถิงคนยากจนสูบฝิ่นกินเหล้า ก็คือ
ความเห็นผิดนั้นเอง
ความเห็นผิดอย่างนี้ชื่อว่าทำประโยชน์ชาตินี้ให้เสีย
ผู้เห็นว่าทานศีลภาวนาบ่อมีผล บุญบาปบ่อมี ดีชั่ว
เป็นเองอย่างนี้ ชื่อว่าความเห็นผิดทำประโยชน์ชาติหน้า
ให้ฉิบหาย ผู้เห็นว่า พระพุทธ พระธรรม
พระสงฆ์บ่อมี พระนิพพานบ่อมี ฮ่างกายจิตใจ เป็นตัว
เป็นของของตัว เคยเป็นอย่างใดก็ต้องเป็นอย่าง
นั้นร่ำไป ความเห็นผิดอย่างนี้ชื่อว่าทำประโยชน์
คือพระนิพพานให้ฉิบหาย มิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิด
ก็คือโมหะความหลงนั้นเอง เพราะโมหะ
เป็นอกุศลมูลอยู่โดยธรรมดา
เมื่อมีกำลังกล้าขึ้นก็สามารถจะทำกรรมที่ชั่ว
ได้ทุกสิ่งไป จึงว่า มิจฉาทิฏฐิ เป็นบาปส่วนหนึ่ง ย่น
ความลงให้สิ้น มิจฉาทิฏฐิในกุศลกรรมบถนี้
หมายเห็นผิดในกุศลกรรมบถ คือ เห็นส่วน
เป็นกุศลว่าเป็นอกุศลไปเท่านั้น เข้าใจบ่อเณร
เณรตอบว่า โดยเข้าใจละข้าน้อย
พระว่า ถ้าเข้าใจแล้วเฮาจักถามเป็นข้อ ๆ ให้ตอบ
ด้วยปากหรือเขียนตอบก็ได้ ศีล ๑๐
ของสามเณรคืออิสังแด่ ข้อใดห้ามบ่อให้เฮ็ดสัง ศีล
๘ ของคฤหัสถ์คืออิสังแด่ ข้อใดห้ามบ่อให้เฮ็ดสัง ศีล ๕
คืออิสังแด่ ข้อใดห้ามบ่อให้เฮ็ดสัง
กุศลกรรมบถคืออิสังแด่ ข้อใดห้ามบ่อให้เฮ็ดสัง
จัดเป็นกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อย่างใด
เท่าใดคืออิสังแด่
ฆ่าสัตว์เป็นสังจิงบาป ลักของท่านเป็นสังจิงบาป
เสพเมถุนเป็นสังจิงบาป ตั่วปดเป็นสังจิงบาป กินเหล้า
เป็นสังจิงบาป กินข้าวแลง ฟ้อนรำ ตกแต่งฮ่างกาย
นั่งนอนที่สูงใหญ่ ฮับเอาเงินคำเป็นสังจิงเป็นบาป
เล่นลูกเล่นเมียท่านเป็นสังจิงเป็นบาป
พูดสับส่อพูดคำหยาบ พูดคำบ่อมีประโยชน์เป็นสังจิง
เป็นบาป มีโลภเจตนาอยากได้ของท่าน คิดอยาก
ให้ท่านฉิบหาย เห็นผิดจากของจริงเป็นสังจิงเป็นบาป
ตอบมาให้ดีทุกข้อเณรเอย.

........................

:b44: รวมคำสอน “พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=47595

:b44: ประวัติและปฏิปทา “พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=26908

:b44: ประมวลภาพ “พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=38&t=48555


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2016, 11:32 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2863


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2019, 10:04 
 
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 07:16
โพสต์: 2374

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b39: :b44: ขออนุโมทนา สาธุๆๆ ค่ะ
:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 5 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร