วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 04:17  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


- สถานที่ปฏิบัติธรรม
แนะนำรายชื่อสถานที่ปฏิบัติธรรมกรรมฐานทั่วประเทศ
http://www.dhammajak.net/forums/viewforum.php?f=9

- รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=30



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ม.ค. 2015, 04:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


บวชเป็นชี..ควรจะมี..อารีย์ด้วย
ชีจะสวย..ก็เพราะรัก..ในศักดิ์ศรี
ชีจะงาม..เพราะทำตาม..ระเบียบชี
ชีจะดี..ก็เพราะให้..อภัยกัน


:b46: :b46:

การบวช

ในการขอบวชเป็นชีในพระพุทธศาสนา
ผู้บวชต้องมีลักษณะควรแก่การบวช คือ

เป็นมนุษย์เพศหญิง ไม่มีครรภ์หรือลูกอ่อน
มีความประพฤติดี สุขภาพดี ไม่เป็นหนี้
ไม่ติดสิ่งเสพติดทุกชนิด ไม่ได้หลบหนีราชการ
ไม่ได้หนีทางบ้านมา ไม่ต้องคดีอาญา
ไม่เป็นโรคร้ายแรง สังคมรังเกียจ
ไม่เป็นคนชราไร้ความสามารถในการปฏฺบัติสมณกิจ
ไม่พิการหรือทุพพลภาพ
ได้รับอนุญาตจากบิดา มารดา สามีหรือผู้ปกครองแล้ว


และปฏิญาณตนว่า หลังจากบวชแล้ว
จะตั้งอยู่ในโอวาทของพระอุปัชฌาย์ ครู อาจารย์
ตลอดจนท่านผู้ปกครอง กรรมการ
มีความประพฤติชอบตามวินัย เคารพระเบียบวินัยของสำนัก
พร้อมยอมรับผิด ขอโทษหากละเมิดข้อปฏิบัติ

ทั้งนี้แม่ชีพึงปฏิบัติตามระเบียบอื่นๆ
ที่ทางสำนักของตนตั้งไว้ ซึ่งอาจนอกเหนือไปจากนี้
ขึ้นอยู่กับแต่ละสำนักจะมีรายละเอียดอย่างไร
พึงปฏิบัติตามนั้นโดยเคร่งครัด


:b47:

สิ่งที่พึงศึกษาเมื่อจะบวช

แม่ชีพึงศึกษาในธรรม ๙ หัวข้อ ดังนี้

๑.) คำบูชาพระ, คำขอบวช, คำนมัสการ ฯลฯ

๒.) มารยาท ๕, สาราณิยธรรม ๖

๓.) เมถุนสังโยค ๗, อปริหานิยธรรม ๗

๔.) คำอารธนาและสมาทานศีล ๘

๕.) องค์ศีลสำหรับตัดสิน

๖.) กรรมบถ ๑๐ และองค์สำหรับตัดสิน

๗.) อุปกิเลส ๑๖

๘.) เสขิยวัตร ๗๕

๙.) สมบัติผู้ดี ๘๙


ในการบวช ต้องบวชในหมู่ภิกษุครบองค์สงฆ์
คือ ตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป และหากยังมิได้บวช
ไม่ควรนำเครื่องแบบแม่ชีมาแต่งพลางๆ
และแม่ชีทุกท่านจะมีสุทธิบรรณประจำตัว
หากลาสึกในภายหลัง
จะต้องมอบสุทธิบรรณคืนสำนักด้วย


:b47:

ข้อควรปฏิบัติสำหรับแม่ชี

๑.) แม่ชีต้องโกนคิ้วโกนผมเดือนละ ๑ ครั้ง
เครื่องนุ่งห่มใช้สีขาวล้วนเป็นแบบเดียวกัน
คือ เสื้อชั้นในแขนเดียวอยู่ข้างซ้าย
เสื้อชั้นนอกคอกลมชิดคอ แขนสามส่วน
ผ้านุ่งใช้ผ้าถุงธรรมดา นุ่งยาวลงปกครึ่งแข้งพอเรียบตา
เครื่องนุ่งห่มมีความสะอาดอยู่เสมอ

๒) แม่ชีต้องไม่ใช้เสื้อยกทรง ไม่ใช้ผ้าถุงสำเร็จ
ไม่ใช้ผ้าลูกไม้ทุกชนิดติดเครื่องนุ่งห่ม
และไม่ใช้เครื่องนุ่งห่มสีอื่น
แม้แต่เพื่อลำลองหรือทดลองก็ตาม
(เว้นเมื่อต้องทำกิจหนักๆ อาจใช้ผ้าสีดินแดงได้บ้าง)

๓.) แม่ชีต้องนุ่งห่มเรียบร้อยเวลาออกนอกสำนัก
รับแขก,บริโภคอาหาร หรือการไปติดต่อกับพระ
ควรแต่งกายเรียบร้อยเป็นนิจ

๔.) แม่ชีควรใช้รองเท้าส้นเตี้ย
ร่ม, รองเท้า ควรเป็นสีสุภาพ ปราศจากลวดลาย
ของใช้อื่นควรเหมาะสมกับภาวะของตน เช่น ย่าม กระเป๋า

๕.) แม่ชีไม่ควรเดินกางร่มคันเดียวกันด้วยกัน ๒ รูป

๖.) ผู้บวชใหม่พึงอยู่ศึกษาในสำนักนั้น
หากประสงค์จะไปยังสำนักอื่นต้องให้หัวหน้าสำนักพิจารณา

๗.) แม่ชีต้องเอาใจใส่ในการท่องสวดมนต์
ทำวัตร เรียนธรรมศึกษาเพื่อเป็นแนวทาง
ไม่ควรเรียนวิชาอื่นทางโลกอย่างฆราวาส
หากเรียนวิชาใดก็ต้องไม่ขัดต่อภาวะนักบวชของตน

๘.) แม่ชีต้องไม่เป็นหมอดู หมอนวด หมอเวทย์มนต์
ไม่เล่นการพนันทุกชนิด แม้แต่ลอตเตอรี่

๙.) แม่ชีไม่ควรไว้เล็บยาว ไม่ทาเล็บ
ไม่ใช้ลูกประคำห้อยคอ ไม่ควรใช้เครื่องประดับอื่นๆ

๑๐.) แม่ชีไม่ควรทำความสนิทสนมกับบุรุษ
กับภิกษุ สามเณร แม้เป็นญาติกันก็ตาม

เมื่อมีกิจธุระต้องพบปะ ต้องอยู่ในสถานที่สมควร
และพร้อมด้วยองค์ ๓ คือ

- ไม่ลับหู
- ไม่ลับตา
- มีเพื่อนหญิงผู้รู้ความอยู่เป็นเพื่อน

โดยเฉพาะหลังเวลามืดค่ำไปแล้ว
ไม่ควรรับรองอาคันตุกะที่เป็นบุรุษ
หากต้องติดต่อพระสงฆ์สามเณรหรือบุรุษอื่นในอาวาส
ต้องเป็นเรื่องเร่งด่วนจริงๆ เท่านั้น
และต้องมีเพื่อนหญิงผู้รู้ความไปด้วย

๑๑.) แม่ชีไม่ควรเดินทางร่วมกับภิกษุ สามเณร
แม้จะมีฝ่ายละหลายรูปก็ตาม
ควรมีฆราวาสอื่นๆ เดินทางร่วมไปด้วย

๑๒.) แม่ชีต้องไม่ติเตียนทานของผู้บริจาค
ในเวลาป่วยไข้หากต้องบริโภคอาหารมื้อเย็น
จะต้องลาเพศแม่ชีเสียก่อน หายป่วยจึงค่อยนับพรรษาใหม่
และแม่ชีไม่ควรร่วมวงอาหารกับฆราวาส

๑๓.) แม่ชีพึงใช้คำพูดที่เหมาะกับเพศภูมิของตน
กล่าวแต่วาจาสุภาพ ไม่ใช้วาจาดูหมิ่นล่วงเกินกันและกัน
ต้องเปิดโอกาสให้แม่ชีด้วยกันตักเตือนหรือสั่งสอนโดยธรรม

เมื่อมีเรื่องไม่ดีงามเกิดขึ้นในสำนัก
และได้พิจารณาเสร็จสิ้นแล้ว
ก็ไม่ควรนำเรื่องนั้นมาพูดถึง
อีกทั้งไม่ควรพูดถ้อยคำที่นำความเสื่อมเสียมาสู่สำนัก

นอกจากนี้พึงสำรวมในการกล่าววาจา ได้แก่

- ไม่พูดสบถ ขู่ ตวาด กล่าวโทษผู้อื่นโดยการคาดคะเน
- ไม่อวดความดีในตนที่ไม่มีเพื่อให้ผู้อื่นนับถือ
- ไม่เป็นสื่อชักนำชาย-หญิงให้เป็นสามีภรรยากัน
- ไม่ส่งเสียงดังในที่ประชุม ไม่ตะโกน
- ไม่พูดคุยกันในระยะห่างเกินควร
- ไม่คุยกันในสถานที่ที่ไม่เหมาะสม
- ไม่หัวเราะเสียงดัง

๑๔.) แม่ชีต้องไม่ไปอยู่บ้านนานเกินจำเป็น
หากจำเป็น เช่น มีญาติสนิทป่วยไข้ต้องไปเยี่ยม
ให้ไปได้ไม่เกินคราวละ ๗ วัน

๑๕.) จดหมายเข้าออกถึงแม่ชี ต้องให้หัวหน้า
หรือกรรมการในสำนักตรวจ
ทั้งนี้เพื่อเปลื้องมลทินและคำครหาที่จะเกิดขึ้นแก่แม่ชี

๑๖.) ห้ามแม่ชีเลี้ยงเด็กชาย และห้ามนำเด็กหญิง
ที่อายุต่ำกว่า ๗ ปีมาเลี้ยงในสำนัก
เว้นแต่จำเป็นให้เลี้ยงได้ชั่วคราว
และต้องได้รับอนุญาตจากหัวหน้า

ซึ่งแม่ชีต้องสามารถควบคุมเด็กให้อยู่ในปกครองได้
ไม่ให้เด็กทำความรบกวนแก่ผู้อื่น
หากเด็กหญิงที่นำมาเลี้ยงดูอายุเกิน ๑๕ ปี
ต้องบวชชีจึงให้อยู่ได้ หากไม่บวชจะอยู่ได้ไม่เกิน ๓ เดือน

๑๗.) แม่ชีไม่ควรติดตั้งเครื่องโทรทัศน์ในที่อยู่ตน
ส่วนเครื่องเสียงอื่นๆ ควรเปิดเฉพาะเรื่องที่ไม่เป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์

๑๘.) แม่ชีต้องไม่รับจ้างทำอะไรๆทั้งในและนอกสำนัก ได้แก่

- ไม่รับใช้ฆราวาสเพื่อสินจ้างรางวัล
- ไม่เป็นนายหน้าค้าขาย
- ไม่ตั้งต้นเทียนขายทองในสถานที่อื่น เว้นในวัดตน
- ไม่ทำตนเป็นคนขอทาน ทำเลสบิณฑบาต
ไม่ไปบิณฑบาตในที่อื่นใดโดยไร้ระเบียบ
- ไม่เที่ยวแจกฎีกาเรี่ยไรพร่ำเพรื่อตามบ้านเรือนที่มิใช่ญาติ
โดยอาศัยวัด ครูอาจารย์เป็นเครื่องอ้าง

๑๙.) แม่ชีผู้บวชใหม่ แม้อายุมากก็ต้องเคารพ
ยำเกรงแม่ชีผู้บวชก่อนแม้อายุน้อยกว่า
เมื่อประพฤติผิด ถ้าได้รับการตักเตือนจากเพื่อนพรหมจรรย์
ต้องเอื้อเฟื้อรับฟัง ไม่แสดงอาการโกรธ โต้เถียง พูดจารุกราน
เมื่อจะแสดงความเห็นของตนก็แสดงด้วยความสุภาพ

๒๐.) แม่ชีต้องมีการอธิษฐานพรรษา
เมื่อมีความจำเป็นก็ควรสัตตาหะ คือ ไปได้ไม่เกิน ๗ วัน
ความจำเป็นที่ไปได้คือ ญาติป่วยหนัก,
ไปเพื่อระงับการสึกของเพื่อนพรหมจรรย์ หรือไปเพื่อกิจพระศาสนา

๒๑.) แม่ชีในสำนักใด ต้องอยู่ภายใต้การปกครองของหัวหน้าสำนักนั้น
ต้องขึ้นประชุมเพื่อแสดงโทษและรับโอวาท
จากหัวหน้าหรือผู้แทนสำนักเดือนละ ๔ ครั้ง
คือในวันพระกลางเดือน สิ้นเดือนและขึ้น ๘ ค่ำ แรม ๘ ค่ำ
ในวันธัมมัสสวณะนับเป็นวันสำคัญ
แม่ชีไม่ควรเดินทางออกนอกสำนักด้วยกิจเพียงเล็กน้อย
ควรอยู่สงบกายวาจาใจภายในสำนัก

๒๒.) แม่ชีที่ต้องไปแรมคืนที่อื่น ต้องแจ้งให้หัวหน้าทราบ
หรือแจ้งแก่เพื่อนพรหมจารีผู้สามารถหรือสมควรทราบ

สำหรับผู้บวชใหม่พรรษาต่ำกว่า ๕
ควรกวดขันเรื่องการเดินทางผู้เดียวให้มาก
ควรมีเพื่อนพรหมจรรย์ไปด้วยเสมอ


บทลงโทษ

หากแม่ชีฝ่าฝืนไม่ทำตามครั้งแรก ให้กล่าวตักเตือน
ถ้าละเมิดครั้งที่ ๒ ให้หัวหน้านำเรื่องเข้าที่ประชุม ลงทัณฑกรรม
หากละเมิดเป็นครั้งที่ ๓ ให้พิจารณาลงพรหมทัณฑ์
หากยังละเมิดอีก ให้ที่ประชุมสั่งสึก
หรือไล่ออกจากสำนักพร้อมยึดสุทธิบรรณ


ข้อเตือนใจ

สำหรับผู้ไม่ได้บวชชี ไม่ควรนำเครื่องแบบอย่างชีมานุ่งห่ม
เพราะแม่ชีมีวัตรปฏฺิบัติอีกอย่างที่ยิ่งกว่าอุบาสิกาที่ถือศีล ๘ ชั่วคราว
หากมีผู้อื่นพบเห็นอุบาสิกา ไม่ได้โกนผมแต่นุ่งห่มอย่างแม่ชี
มีวัตรที่หย่อนกว่า จะยังความเสื่อมเสียมาแก่หมู่แม่ชีได้

อุบาสิกาที่ถือบวชพราหมณี ควรแต่งกายสุภาพ
แต่ไม่ควรแต่งกายให้เหมือนอย่างแม่ชี


:b46: :b46:

สรุปความมาจาก “คู่มือระเบียบวินัยของแม่ชี”
ฉบับอักษรไทย โดยแม่ชีจรินทร์ พันธุ์บัญญัติ
พิมพ์ครั้งที่ ๓. พ.ศ.๒๕๒๖.

:b45: แม่ชีที่ประกอบด้วยองค์ ๕ หาได้ยาก
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=30&t=37527

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.พ. 2019, 08:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 มิ.ย. 2007, 13:49
โพสต์: 1012


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
ทำความดีทุกๆ วัน


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 5 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron