วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 17:09  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


- สถานที่ปฏิบัติธรรม
แนะนำรายชื่อสถานที่ปฏิบัติธรรมกรรมฐานทั่วประเทศ
http://www.dhammajak.net/forums/viewforum.php?f=9

- รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=30



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2016, 05:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
วัดอรัญญบรรพต
อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย


นี่มีคนอยู่เป็นจำนวนมากเข้าใจผิดไป คันมันเกิดความรู้ขึ้นในธรรมมันก็รู้เกิน มันไม่พอดี มันเกินส่วนไปซะ อย่างนี้นะ มันไม่เป็นมัชฌิมา สายกลาง เพราฉะนั้นเราฟังธรรมกันอยู่บ๊อยบ่อยอย่างนี้มันต้องให้รู้ความหมายนะ รู้ความหมาย เพราะว่า คำสอนของพระพุทธเจ้านั้นน่ะพระองค์สอนให้คนเรานั้นมีสติ มีปัญญา มาเพ่งพินิจดูชีวิตอันนี้นะ ดูร่างกายสังขารอันนี้ ว่ามันมีเหตุปัจจัยเป็นมาอย่างไร มันจึงเป็นอย่างนี้ แต่ลำพังสติปัญญาของเราน่ะเราไม่สามารถที่จะพิจารณาตัวเองได้เลย ไม่ทราบว่าตนเกิดมายังไงเป็นยังไง ไม่รู้ ไม่รู้จริงๆ แต่เมื่อยังไม่ได้สนใจธรรมะคำสอนของพระพุทธเจ้าผู้พูดอยู่นี่ก็ไม่รู้เหมือนกัน มืดแปดด้านเลย อย่างนี้แหละ ต่อเมื่อได้มาศึกษาสดับตรับฟังคำสอนของพระพุทธเจ้านี่เข้าไป ก็จึงได้รู้ว่า อันนี้คือ บาปอันนี้คือ บุญคุณโทษ ประโยชน์ มิใช่ประโยชน์ จึงได้รู้จึงได้เข้าใจ

ทีแรกก็บวชอยู่วัดบ้าน เอ้า พอมาเห็นพระเณรทำผิดวินัยเข้าไปอย่างนี้แล้ว เวลาประชุมกันเรียกว่าเราก็ชักชวนเพื่อน เอ๊ พวกเรานี้มันบวชเข้ามาแล้วมาทำผิดวินัยอยู่อย่างนี้ ล่วงวินัยอยู่อย่างนี้ มันจะได้บุญกุศลอะไรเล่า ผมว่านะถ้าเราบวชเข้ามาแล้วนี่เราต้องหวังบุญกุศล หวังชำระตนให้สะอาด ควรปฏิบัติตามพระวินัย พระพุทธเจ้าทรงห้ามว่าไม่ให้ทำอะไรเราก็ไม่ทำ อย่างนี้จะไม่ดีเหรอ เอาไหม พวกเรามาปฏิบัติตามพระวินัย..อย่างนี้ องค์โน้นก็ว่าผมไม่ได้ ผมทำไม่ได้ องค์นี้ก็ว่าผมทำไม่ได้ ถ้าหากว่าใครก็ทำไม่ได้ ผมก็จะไม่อยู่กับพวกท่านแล้ว ผมจะหนีเข้าป่าไปเลยนะ จะตั้งใจประพฤติปฏิบัติให้ตรงต่อพระวินัยทีนี้ อย่างนี้ ในที่สุดก็ได้หนีจากวัดบ้านจริงๆ นั่นแหละ

หนีเข้าป่ามา สำรวมกายวาจาใจของตนตามธรรมตามวินัย ก็จึงได้ความสบายจิตสบายใจมาโดยลำดับ การประพฤติปฏิบัติมาไม่มีถอยหลังเลย มีแต่ความพยายามก้าวหน้ามาเรื่อยๆ อย่างนี้ เพราะฉะนั้นความเป็นอยู่ในการประพฤติพรหมจรรย์ก็จึงสม่ำเสมอมาโดยลำดับจนถึงปัจจุบัน มันเป็นอย่างนั้นเรื่องมันน่ะ คือมันต้องเกิดความรู้สึกขึ้นในใจซะก่อน


ที่ยกเรื่องราวของส่วนตัวมาเล่าสู่ฟังนี่ ก็เพราะต้องการอยากให้ผู้ฟังนั้นได้ระลึกถึงตัวของตัวเอง เช่นอย่างว่า ผู้ที่ประพฤติพรหมจรรย์เป็นนักบวชอย่างนี่ ก็มานึกถึงตัวเองว่าตนเองนั้นปัจจุบันนี้มันมีกิเลสตัณหามารบกวนจิตใจไหม จิตใจตนเองเป็นทุกข์กับกิเลสตัณหาหรือไม่ ต้องให้รู้สิ ทำไมจะไม่รู้ รู้เรื่องของตัวเองรู้ทั้งนั้นแหละถ้าพิจารณานะ แต่ถ้าคนไม่พิจารณามันหากไม่รู้เท่านั้นเอง เออ เรื่องมันน่ะ

แต่ผู้พูดนี่เมื่อยังหนุ่มอยู่นั้น โอ๋ย..พิจารณาเห็นตัวเองอยู่เรื่อย บางทีฉันข้าว ฉันไป ฉันไป นึกถึงกิเลสขึ้นมาล่ะ เอาละ อย่าไปฉันหลายเถ๊อะ กิเลสมันหลาย เออ ยกบาตรออกไปเลย ไม่ทันอิ่มก็ยกออกไปแล้ว นี่มันเห็นโทษของตัวเอง ตัวเองกิเลสมันยังหนาอยู่ไปฉันอะไรมากมายอย่างนี้ เลี้ยงกิเลสให้มันอ้วนเข้าว่า

อย่างนี้แหละมันนึกถึงตัวเองอยู่เสม๊อเสมอ เพราะฉะนั้นอย่าไปย่อท้อ ถ้าหากว่าเราไม่มีกิเลสตัณหารบกวนจิตใจเป็นทุกข์เดือดร้อน พระพุทธเจ้าก็ไม่ได้แสดงข้อวัตรปฏิบัติไว้ให้พุทธบริษัททั้งหลายปฏิบัติตาม การที่พระองค์เจ้าแสดงข้อปฏิบัติไว้นี้ก็เพื่อให้ปฏิบัติตามที่พระองค์เจ้าแนะนำแล้วกิเลสมันจะได้น้อยจะได้เบาบางออกไปจากจิตใจ นี่ความหมายของข้อปฏิบัติในพระพุทธศาสนามันเป็นอย่างนี้นะ



:b44: :b44:


ส่วนหนึ่งจากพระธรรมเทศนาหัวข้อ
“ฝึกตายก่อนตาย”



:: ประวัติ ปฏิปทาและคำสอน “หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=43689

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 6 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร