วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 20:29  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


- สถานที่ปฏิบัติธรรม
แนะนำรายชื่อสถานที่ปฏิบัติธรรมกรรมฐานทั่วประเทศ
http://www.dhammajak.net/forums/viewforum.php?f=9

- รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=30



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ต.ค. 2019, 12:06 
 
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 07:16
โพสต์: 2374

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

:b44: โอวาทในการบวช
พระธรรมเทศนาโดย...หลวงพ่อกัณหา สุขกาโม
วัดแพร่ธรรมาราม อ.เด่นชัย จ.แพร่

------------

การบวชมีบุญใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ เพราะเป็นการปฏิบัติบูชา

เป็นการฝึกตนเอง อบรมตนเอง สั่งสอนตนเอง เจริญรอยตาม ศีล สมาธิ ปัญญาของพระพุทธเจ้า ฝึกอะไรก็ฝึกง่าย แต่ฝึกตนฝึกยาก ทุกคนรู้ว่าดีถูกต้อง แต่มันไม่อยากปฏิบัติ เพราะมันติดสุขติดสบาย

การบวช การมาฝึกตนนี้คือการมาปราบผีปราบอสูรกายออกจากใจ ต้องอาศัยศีล ต้องมีข้อวัตรปฏิบัติ ต้องมอบกายถวายชีวิตแด่พระพุทธเจ้าเป็นเดิมพัน อย่างมากก็แค่ตายเท่านั้น


ตามหลักพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้บวชได้ทั้งนอกและในพรรษา ไม่มีพุทธบัญญัติห้าม ถ้าพระอุัปัชฌาย์ใดห้ามการบวชในพรรษาก็ต้องอาบัติ แต่ถ้าตั้งใจบวช ๑ พรรษา ๓ เดือน หรือ ๗ วัน ๑๕ วัน หรือ ๑ เดือนก็แล้วแต่ ก็ต้องอยู่ให้ครบ สึกก่อนไม่ได้ เพราะแสดงว่าเป็นคนจิตใจไม่หนักแน่น สมาธิสั้น ตามจิตตามใจตามอารมณ์ตนเอง เป็นชายหลายโบสถ์หลายศาสนา

ยิ่งบวชกลางพรรษายิ่งดี ยิ่งฝึกข้อวัตรได้เข้มข้น มีครูบาอาจารย์อยู่ปฏิบัติกันอย่างพร้อมเพรียง เพราะฉะนั้นต้องตั้งใจฝึกปฏิบัติบูชาคุณพระพุทธเจ้า บูชาคุณบิดามารดา การบวชมีอานิสงส์ใหญ่ ถ้าตั้งใจปฏิบัติ บุญกุศลย่อมถึงแก่พ่อแม่ การบวชไม่ใช่นุ่งเหลืองห่มเหลืองเท่านั้น ต้องตั้งใจปฏิบัติด้วย สึกออกไปต้องเปลี่ยนหมด เคยรับผิดชอบน้อยก็ต้องรับผิดชอบดีขึ้น เคยเถียงพ่อเถียงแม่ก็ไม่เถียง ความกตัญญูรู้คุณท่านก็มาอันดับหนึ่ง ถ้าบวชแล้วฝึกฝนตนได้ดีขึ้น อย่างนี้จะบวช ๗ วัน ๑ เดือน ๑ พรรษาหรือ ๑ ปีก็จะมีอานิสงส์ใหญ่ มีผลมาก

จงตั้งจิตตั้งใจให้แน่วแน่เพื่อบูชาพระพุทธเจ้า บูชาคุณบิดามารดา ให้ภาคภูมิใจในการได้มาปฏิบัติ

คนเก่ง คนฉลาด คนมีทรัพย์มากก็มีมากอยู่แล้ว แต่คนดีนี้มีน้อย

คนดีเป็นคนที่ตั้งมั่นอยู่ในศีลในธรรม ฆราวาสก็ต้องมีศีล ๕ คุณแม่ชีก็ศีล ๘ สามเณรก็ศีล ๑๐ พระก็ศีล ๒๒๗ เป็นคนที่เมตตา ซื่อสัตย์ กตัญญูกตเวที เป็นผู้ที่ไม่ลุ่มหลงในอัตตา และเป็นคนที่รู้จักสัจธรรมว่าเราเกิดมาก็ไม่ได้เอาอะไรมา ตอนตายก็ไม่ได้เอาอะไรไป นี้คนดีที่พระพุทธเจ้าท่านยกเอาเกณฑ์มาพิจารณา


ในสังคมในครอบครัวก็ต้องการคนอย่างนี้ ไม่ใช่มีความต้องการแต่ทางวัตถุเท่านั้น บัณฑิตที่เข้ามาบวชก็ต้องทำตามคุณธรรมที่พระพุทธเจ้าสอน เมื่อเราลาสิกขาไปแล้วจะได้มีหลักเกณฑ์ มีจุดยืนที่ประเสริฐ ทุกวันนี้สังคมต้องการคนดีมีคุณธรรม แม้ว่าจะไม่ร่ำรวยล้นฟ้า ถ้าเราปฏิบัติตามพระพุทธเจ้า เราก็ไม่ยากจน มีเครดิตดี ลำบากก็มีคนช่วย คนไม่ช่วย เทวดาก็ช่วย อยู่ที่บ้านที่พักของเรา ถ้าเราปฏิบัติแล้ว พระรัตนตรัยก็อยู่ที่ใจของเรา เมื่อเรากราบไปที่เตียงนอนของเรา พระคุณพ่อแม่ก็อยู่ที่ใจของเรา


การบวชถือเป็นหนทางอันประเสริฐเพื่อที่จะทดแทนพระคุณของพ่อแม่ ผู้มีพระคุณทั้งหลาย เป็นการสร้างบุญบารมีให้กับตนเองด้วย ผู้ที่รู้จักบุญคุณและทดแทนพระคุณของผู้มีอุปการคุณย่อมจะมีแต่ความเจริญ การบวชนั้นมีบุญใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ แต่กว่าที่จะได้บุญมาก อานิสงส์มาก ก็ต้องปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ก็ให้ถือศีลพระวินัย จะเป็นพระได้ต้องถือศีลทุกข้อให้บริสุทธิ์

เราต้องรับผิดชอบเรื่องการรักษาศีล
เราต้องรักษาเอง คนอื่นจะช่วยรักษาไม่ได้ พระพุทธเจ้าและครูบาอาจารย์เป็นเพียงผู้บอก เราต้องรักษาเอง เราจะได้ผลใหญ่ เราต้องรักษาศีล ตั้งใจปฏิบัติ ไม่ว่าอิริยาบถไหน เราต้องเอาพระพุทธเจ้าและพระอริยเจ้าเป็นหลัก อย่างพระสารีบุตรที่ท่านไม่ละเมิดศีลแม้เพียงเล็กน้อยนั้นเป็นตัวอย่าง ปัจจุบันก็พระอาจารย์มั่นที่มีลูกศิษย์เกิดขึ้นมากมายเพราะการรักษาศีล


การเดินจงกรมก็ไม่มีใครเดินให้เรา จึงต้องเดินเอง ขาขวา พุท ซ้าย โธ เดินกลับไปกลับมา

การนั่งสมาธิก็เหมือนกัน เราต้องนั่งเอง ที่นั่งเป็นหมู่ก็เพื่อที่จะให้เรามีหลัก เราก็ต้องนั่งทำใจให้สงบ หายใจเข้า พุท ออก โธ หายใจเข้าออกสบายๆ อยู่กับพุทโธ ชำระจิตใจของเราออกจากความคิดความฟุ้งซ่านต่างๆ
ถ้าใจของเราสงบก็จะมีผลมาก มีอานิสงส์มาก เราจะนึกพุทโธตามลมหายใจเข้าและออกก็ได้

ทุกคนสามารถทำได้ ไม่เฉพาะแต่พระภิกษุ สามเณร หรือคุณแม่ชีเท่านั้น ให้เรานึกบริกรรมตามลมหายใจเข้าออกเรื่อยไป บริกรรมพุทโธจนจิตใจของเราเป็นหนึ่งสงบเย็น หรือจะนึกบริกรรมพุทโธๆๆๆๆๆ ติดต่อต่อเนื่องกันไป แล้วแต่จริตนิสัยของใครจะถนัดอย่างไร ให้กายของเราตั้งตรง ครั้งแรกนั่งให้ร่างกายนิ่งๆ ก่อน ใจยังไม่สงบไม่เป็นไร ให้ร่างกายของเรานิ่งๆ สบายๆ ๑๕-๓๐ นาที ถ้าปวดเมื่อยก็ขยับสักครั้งหนึ่ง ฝึกไปเรื่อยๆ จนชำนาญ


การภาวนานั้นเบื้องต้นต้องยึด “พุทโธ” เป็นหลักทุกอิริยาบถ ถ้าเราเจริญวิปัสสนาเลยจะข้ามขั้นตอนไป ทำให้ใจไม่มีหลัก การเจริญปัญญาด้วยการพิจารณาวิปัสสนาก็ไม่เกิดผลเท่าที่ควรหรือไม่ได้ผล กลับกลายเป็นความฟุ้งซ่านรำคาญ เป็นวิปัสสนึก ไม่ใช่วิปัสสนา เพราะนึกเอาคาดเดาเอา แล้วยึดว่าเรารู้จริงเห็นจริง

ปัญญาที่แท้จริงจะเกิดจากความสงบ เยือกเย็น สติชัดเจนอยู่กับปัจจุบันทุกเวลานั่นเอง จะสามารถดับทุกข์ได้ทุกขณะทุกเวลา

การบวชที่จะมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ ก็ให้ตั้งอกตั้งใจประพฤติปฏิบัติ รักษาศีลทุกข้อให้ได้บริสุทธิ์
ไม่ว่าจะเป็นสิกขาบทน้อยใหญ่ ทำวัตรสวดมนต์ เดินจงกรม นั่งสมาธิ นอนดึก ตื่นเช้า บิณฑบาต ทำอะไรให้ได้เต็มร้อย เต็มเม็ดเต็มหน่วย ตั้งใจสำรวมรักษากาย วาจา ใจของเราให้สงบเรียบร้อย ไม่คึกคะนอง สรวลเสเฮฮา นิสัยทางโลก ความคิดทางโลก เราก็หยุดมันไว้ก่อน พักไว้ก่อน เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำให้ศีลของเราด่างพร้อย พยายามเก็บตัวเพื่อให้ใจสงบ ฝึกอยู่คนเดียวด้วยการนั่งสมาธิ ด้วยการเดินจงกรม เมื่อมีกิจวัตรจึงออกมาตามเวลากิจวัตรต่างๆ เราถือว่าบำเพ็ญกุศลหมด ตั้งแต่ปัดกวาดเช็ดถูหรืออะไร ต่างล้วนเป็นเหตุให้เกิดบุญกุศล

ให้เรามารู้จักวิธีทำใจให้สงบ โดยอยู่กับการหายใจ อยู่กับการท่องพุทโธ มีสติกับการทำงาน กับกิจวัตร โดยเฉพาะการฝึกให้จิตใจอยู่กับลมหายใจเข้าออก อยู่กับการท่องพุทโธ เป็นสิ่งที่ต้องฝึก เช่น เมื่อเราเจ็บไข้ไม่สบาย เราเข้าสมาธิ เราต้องอาศัยอุปกรณ์ผูกจิตผูกใจของเรา


ให้พากันมารู้จักอารมณ์ สิ่งที่กระทบทางหู ตา จมูก กาย พวกนี้เรียกว่าอารมณ์ เราต้องรู้จักมันให้ดี เมื่อเรารู้จักแล้ว เราพยายามที่จะไม่หวั่นไหว ง่อนแง่นคลอนแคลน ไม่ว่าจะมาแบบรุนแรงหรือสวยสดงดงาม ให้เรารู้จักว่านี้เป็นเพียงอารมณ์ ถ้าเรารู้จัก เราฉลาด อารมณ์ก็จะสลายไป อารมณ์นี้มีปัญหามาก ทำให้เราเป็นประสาท หงุดหงิด ที่สุดก็ทำให้เราทำตามความอยาก ความชอบ ไม่ชอบ ความเบื่อ ไม่เบื่อ อย่างนี้

ถ้าใครรู้จักจะทำจิตใจให้หนักแน่น รู้จักมีอุเบกขา รู้จักมองเป็นอนิจจัง รู้จักทำให้เป็นของว่างเปล่า สิ่งเหล่านี้ก็จะนำปัญญามาให้เราเพราะเราอยู่ในวัด เราต้องถูกใช้งาน แม้อยู่บ้านยิ่งต้องใช้งาน เราจะได้เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ จิตใจไม่หวั่นไหว ยกตัวอย่างองค์ในหลวง ใครจะอย่างไรก็เฉย ยิ่งเราเป็นพระ เราก็ต้องฝึกเฉยอย่างนี้แหละ ตามหลักพระศาสนาท่านสอนให้ดีก็ปล่อย เพราะรู้ว่าสิ่งเหล่านี้เป็นอารมณ์ แม้แต่เราทานข้าว ไ้ด้พักผ่อน ถึงแม้จะสบาย ก็ไม่ยึดถือ นี้เรียกว่าปล่อย ฉะนั้นการบวชของเราคือได้มาฝึกอย่างนี้ด้วย ให้กุลบุตรได้ฝึก เรียกว่า ฝึกรู้จักดี รู้จักชั่ว ผิดถูก จะได้เลือกเฟ้นทำแต่สิ่งที่ดีๆ ไม่ใช่อะไรก็ทำไปหมด อย่างนี้ใช้ไม่ได้ โบราณเขาถึงให้บวช ให้เป็นทิด ความหมายของทิดนี้ก็คือบัณฑิต เพื่อให้มีจุดยืนของชีวิตว่าเราก็เคยผ่านการฝึกมาแล้ว

จุดยืนของทุกคนทุกท่านต้องนำความดีนี้ไปใช้ เพื่อบูชาพระคุณพ่อแม่ พระศาสนา ญาติวงศ์ตระกูล พยายามสร้างร่มโพธิ์ร่มไทรให้กับตัวเอง จะได้เป็นที่พึ่งให้กับตนเองและผู้อื่น จะได้เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า การบวชของเราก็จะมีอานิสงส์ใหญ่ ให้ตั้งใจ ถึงจะเหนื่อยถึงจะยากก็อดทน โรงเรียนดีๆ ก็ต้องมีระเบียบวินัย ตามที่พระพุทธเจ้าว่าเป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติสมควร

บวชน้อย บวชมากไม่สำคัญ อยู่ที่ใจ ต้องฝึกรักษากาย วาจา ใจ

ขอให้ปรับตัวเองเข้าหาธรรมวินัย อย่าไปถือสักกายทิฏฐิ ถือตัวถือตน ทำอะไรตามสบายว่าเป็นทางสายกลาง มันต้องฝืน ต้องอดทน ต้องเคารพนอบน้อมในศีล ในระเบียบ ในวินัย ถึงจะตายก็ยอม เพราะศาสนาพุทธเป็นของประเสริฐของสูง ถ้าเราไม่ประพฤติปฏิบัติ มันก็เป็นเพียงปรัชญา เป็นธรรมดาเหมือนทั่วๆ ไป ไม่มีประโยชน์อะไร เรามีของมีค่า จึงไม่ทำให้มีค่าอะไร พยายามสำรวจตนเองว่าเรามีข้อบกพร่องในธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าอะไรบ้าง แล้วพยายามตั้งตัว แก้ตัวใหม่ พยายามมีความเชื่อมั่นในการทำความดีว่าต้องได้ดี เชื่อมั่นว่าธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุ ถ้าจะดับก็ต้องดับเหตุก่อน

เราอยู่ในสังคมเราก็ปฏิบัติได้ เราอยู่ในหมู่คณะเยอะๆ เราก็ปฏิบัติได้ ที่ว่าเราปฏิบัติไม่ได้คือเราไม่ได้ปฏิบัติ พิจารณาว่ารูปไม่ใช่ตัวตน เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่ใช่ตัวตน พยายามทำไป เมื่อตัวตนไม่มีแล้ว ใครจะมาสุขมาทุกข์อยู่เล่า มีแต่อวิชชาความหลงที่มันเกิดดับอยู่นี้ เมื่อรู้จักสมาธิ ปัญญาเราก็เจริญ อินทรีย์ก็แก่กล้า ให้เราปฏิบัติให้มีความกล้าปฏิบัติ การละการปล่อยวางทำไปเรื่อยๆ จนกว่าอินทรีย์มันสมบูรณ์ ถ้าเราบังคับตนเองไม่ได้ นานไปยิ่งจะบังคับตัวเองไม่ได้นะ เพราะมันติดสุขติดสบาย เราต้องฝึกจริงๆ ความสุขที่ว่าสุข เราก็คิดปรุงแต่งเอาหรอก ความทุกข์ที่ว่าทุกข์เราก็ปรุงแต่งเอาหรอก แท้จริงแล้วไม่มีอะไร มีแต่ใจไปคิดปรุงแต่งเอาเองทั้งนั้น


:b8: :b8: :b8: คัดลอกเนื้อหามาจาก ::
หนังสือ ธรรมะมงคล โดย พระอาจารย์กัณหา สุขกาโม
วัดแพร่ธรรมาราม ต.เด่นชัย อ.เด่นชัย จ.แพร่
หัวข้อ โอวาทในการบวช หน้า ๑๘-๒๓


:b44: รวมคำสอน “หลวงพ่อกัณหา สุขกาโม”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=47448

:b44: ประมวลภาพ “หลวงพ่อกัณหา สุขกาโม”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=38&t=37258


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2020, 08:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2758


 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2021, 10:53 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2863


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 3 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร