วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 06:48  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


- สถานที่ปฏิบัติธรรม
แนะนำรายชื่อสถานที่ปฏิบัติธรรมกรรมฐานทั่วประเทศ
http://www.dhammajak.net/forums/viewforum.php?f=9

- รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=30



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2020, 13:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ธ.ค. 2008, 09:34
โพสต์: 1322


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

อบรมพระ

หนังสือยาใจ
พระครูญาณวิศิษฏ์ (ท่านพ่อเฟื่อง โชติโก)

ภาค ๑ : ภาษาใจ
ศิษย์บันทึกคำสอนของท่านพ่อ
อบรมพระ หน้า ๓๓-๔๐

:b8: :b8: :b8:

“เราบวชมาเพื่อเอาบุญ แต่ตัวบุญเป็นยังไง อยู่ที่ไหน มีลักษณะอย่างไรเราก็ไม่ทราบ ต้องภาวนาให้ใจสงบ นั่นแหละจะได้เห็นตัวบุญ”

“บางคนก็หาว่า พระไม่ได้ทางาน แต่ที่จริงงานละกิเลสนี้เป็นงานที่ยากที่สุดในโลก งานทางโลกเขายังมีวันหยุดบ้าง แต่งานนี้ไม่มีเวลาหยุดกันเลย ต้องทำตลอด ๒๔ ชั่วโมง บางครั้งเราจะรู้สึกว่าเราทำไม่ไหว แต่ถึงอย่างนั้นก็ต้องทำ เพราะถ้าเราไม่ทำ ใครจะมาทำให้เรา เป็นหน้าที่ของเราโดยตรง ถ้าเราไม่ทำ เราจะบวชกินข้าวชาวบ้านเพื่ออะไร”

“เวลาเราทำงานอะไรอยู่ ถ้าเราสังเกตว่าใจเราเสีย ก็ให้หยุดทำทันที แล้วกลับมาดูใจของตัวเอง เราต้องรักษาใจของเราไว้เป็นงานอันดับแรก”

“วัดนอกเราดูแลพอประมาณ สาคัญอยู่ที่วัตรในของเรา อย่าให้ขาด”

“เราบวชเป็นพระ ต้องพยายามลดละอารมณ์”

๏ เย็นวันหนึ่งที่วัดธรรมสถิต ขณะที่พระอาทิตยกำลังตกหลังเขา มีพระหนุ่มๆ จากกรุงเทพฯ องค์หนึ่งนั่งที่ระเบียงกุฏิท่านพ่อ แล้วพูดชมว่า “แหม วิวที่นี่สวยไม่ใช่เบานะ ท่านพ่อ” ท่านพ่อก็สวนทางทันที “ใครว่าสวย ดูซิ ตัวไหนที่ว่าสวย ให้ดูตัวนั้นดีกว่า”

๏ วันหนึ่งในระหว่างที่ถูกุฏิท่านพ่ออยู่ พระที่ปฏิบัติท่านพ่อเป็นประจำเกิดนึกขึ้นมาว่า ที่ตัวเองทำอย่างนี้คงจะได้อานิสงส์ไม่ใช่น้อย คิดไปก็ถูไป พอดีท่านพ่อเดินขึ้นกุฏิแล้วพูดขึ้นมาว่า “อยากได้อานิสงส์เต็มที่ ก็ต้องให้ใจอยู่กับลมซิ”

๏ เรื่องความสะอาด การเช็ดของ การวางของเข้าระเบียบ ฯลฯ เหล่านี้ท่านพ่อเป็นคนละเอียดมาก ถ้าท่านสังเกตว่า ลูกศิษย์คนไหนตั้งใจปฏิบัติ ท่านจะสอนเรื่องราวนี้อย่างเข้มงวดกวดขัน เพราะท่านเองถูกครูบาอาจารย์ฝึกมาอย่างนี้ และท่านถือว่า “แค่ของหยาบๆ อย่างนี้ทำไม่ได้ แล้วการทำใจซึ่งเป็นของละเอียดกว่านี้ จะทำได้อย่างไร”

๏ เมื่อมีพระมาปฏิบัติท่านพ่อ ท่านพ่อก็ถือเป็นโอกาสสอนธรรมะโดยกิริยา คือแทนที่จะบอกว่าสิ่งใดควรอยู่ที่ใด กิจใดควรทำเวลาไหน ท่านก็บังคับให้ใช้ความสังเกตเอาเอง ถ้าทำถูก ท่านพ่อจะไม่ว่าอะไร ถ้าทำผิด ท่านจะดุทันที เป็นอุบายสอนให้หูไวตาไวไปในตัว ท่านก็บอกว่า “ถ้าถึงกับต้องพูดกัน แสดงว่ายังไม่รู้จักกัน”

วันหนึ่งพระที่มาปฏิบัติท่านพ่อใหม่ๆ ยังไม่เข้าใจในหลักการของท่าน เกิดขยันจัดกุฏิท่านพ่อให้เข้าระเบียบใหม่ที่ตนเห็นว่าดีกว่าระเบียบเก่า พอท่านพ่อเห็น ท่านก็รีบจัดเข้าระเบียบเดิม โดยบอกว่า “ถ้าทำไม่ถูกใจ อย่าทำเลย ผมทำของผมเองดีกว่า”

๏ เย็นวันหนึ่ง พระองค์หนึ่งที่เป็นลูกศิษย์ท่านพ่อเห็นท่านกำลังทำงานคนเดียว เก็บเศษไม้ให้เข้าระเบียบในบริเวณก่อสร้างเจดีย์ พระองค์นั้นจึงรีบลงไปช่วยท่าน พอช่วยสักพักหนึ่ง จึงพูดกับท่านว่า “แหมหลวงพ่อ งานแบบนี้ทำไมหลวงพ่อต้องทำเอง คนอื่นมีตั้งเยอะแยะ ทำไมหลวงพ่อไม่ใช้ให้เขาทำ”

“ผมก็กำลังใช้คนอยู่” ท่านพ่อตอบพลางทำงานไปพลาง

พระองค์นั้นหันไปมองรอบตัว แต่ไม่เห็นมีใคร จึงถามท่านพ่อ “ใช้ใครหลวงพ่อ”

“ก็ท่านนะซิ”

“การเป็นผู้ปฏิบัติ ไม่ใช่เรื่องแค่นั่งหลับหูหลับตาอย่างเดียว ต้องทำให้เป็นทุกสิ่งทุกอย่างจึงจะใช้ได้”

“คนเราจะได้ดีนั้น ก็ต้องรู้จักขโมยวิชา คืออย่ารอให้อาจารย์บอกทุกสิ่งทุกอย่าง ต้องใช้ความสังเกตเอาเองว่า ท่านทำอะไร เพราะอะไร เพื่ออะไร เพราะท่านทำอะไรท่านก็มีเหตุผลของท่าน”

๏ สมัยก่อนสร้างเจดีย์ เครื่องมือของวัดส่วนใหญ่เก็บรักษาไว้ในห้องเก็บของที่กุฏิท่านพ่อ วันหนึ่งพระที่มาอยู่วัดได้ ๓-๔ เดือน ขึ้นกุฏิท่านพ่อเพราะต้องการหาไขควง พอเห็นท่านพ่อนั่งอยู่หน้าห้องจึงถามท่านว่า “ท่านพ่อครับ ในห้องมีไขควงไหมครับ” ท่านพ่อก็ตอบสั้นๆ ว่า “ถามฉันทำไม ฉันไม่ได้ขาย”

๏ พระองค์หนึ่งที่อยู่กับท่านพ่อหลายปี เข้าไปหาท่านพ่อแล้วขอพรวันเกิด ท่านพ่อก็ให้พรสั้นๆ ว่า “ให้ตายเร็วๆ” ตอนแรกพระองค์นั้นใจหาย ต้องเอาไปพิจารณาความหมายของท่านพ่อหลายๆ วันจึงเข้าใจว่า ท่านพ่อให้พรจริงๆ

๏ การวางตัวของพระต่อฆราวาสญาติโยมที่มาเกี่ยวข้อง เป็นเรื่องละเอียดมาก ท่านพ่อเคยพูดอยู่เสมอกับพระลูกศิษย์ว่า “จำไว้นะ ไม่มีใครจ้างให้เราบวช เราไม่ได้บวชเพื่อเป็นขี้ข้าของใคร” แต่ถ้าพระองค์ใดมาบ่นกับท่านพ่อว่า โยมที่อยู่ประจำที่วัดไม่ยอมทำตามที่ท่านขอไว้ ท่านพ่อจะย้อนถามทันที “ท่านบวชมาเพื่อให้เขารับใช้หรือ”

“ความเป็นอยู่ของเราก็อาศัยเขา เพราะฉะนั้นเราอย่าทำอะไรที่จะต้องหนักที่เขา”

“ถึงเขาจะปวารณา เราอย่าเป็นพระขี้ขอ ผมเองตั้งแต่บวชมา ถึงจะมีคนปวารณา ผมไม่เคยขออะไรที่เขาต้องออกไปซื้อ ได้ปัจจัยมาผมก็ทำบุญไป ไม่เคยซื้ออะไรเก็บไว้เป็นส่วนตัว นอกจากหนังสือธรรมะ”

“พระเราถ้ากินข้าวของชาวบ้าน แต่ไม่ตั้งใจปฏิบัติให้สมกับที่เขาใส่บาตรเรา ชาติหน้าเราก็มีหวังเกิดมาเป็นควายใช้หนี้เขา”

“ท่านพ่อใหญ่ (ท่านพ่อลี ธมฺมธโร) มีลูกศิษย์พวกใหญ่ๆ โตๆ แยะ แต่ผมไม่เคยเสนอตัวให้เขารู้จัก จะเกี่ยวข้องกับเขาเฉพาะเวลาที่ท่านพ่อใหญ่สั่งไว้ว่า มีธุระจำเป็น นอกจากนั้นผมก็ถือว่าเป็นเรื่องของครูบาอาจารย์ ไม่ใช่เรื่องของเรา”

“คนรวยจะมาเกี่ยวข้องกับเรา เราจะเห็นแก่ได้ไม่ได้นะ เราต้องเห็นว่า เราพอมีธรรมะที่จะช่วยเขาได้จริงๆ และเขาพอจะรับธรรมะจากเราได้ นั่นเราจึงจะยอมเกี่ยวข้องกับเขา”

“อย่าเห็นว่าข้อวินัยเล็กๆ น้อยๆ เป็นเรื่องไม่สาคัญ ท่านอาจารย์มั่นเคยบอกว่า ไม้ทั้งท่อนไม่เคยเข้าตาใครหรอก แต่ขี้ผงเล็กๆ นั่นแหละ เข้าตาง่าย ทำให้ตาบอดได้”

“เราเป็นพระ เราไม่มีสิทธิ์ที่จะต่อรองราคากับใครได้นะ เขาบอกราคามา แสดงว่าเขาให้แค่นั้น เราจะขอให้เขาลดให้เรามันก็ผิดวินัย เพราะเขาไม่ได้ปวารณาอะไรกับเราเลย”

๏ พระต่างชาติที่มาบวชกับท่านพ่อมีแม่เลี้ยงที่ถือศาสนาคริสต์ พอพระลูกชายกลับไปเยี่ยมที่บ้าน เขาก็กะว่าจะกอดท่านบ้าง เพราะไม่ได้เห็นท่านเป็นเวลาหลายปี แต่ท่านกลับห้ามไม่ให้ทำ เขาก็โกรธมาก หาว่าศาสนาพุทธสอนให้รังเกียจผู้หญิง พอเรื่องนี้ถึงหูท่านพ่อ ท่านก็อธิบายว่า “ที่พระพุทธเจ้าไม่ให้พระจับต้องผู้หญิงนั้น ไม่ใช่ว่าเพราะผู้หญิงไม่ดี แต่เป็นเพราะพระไม่ดีต่างหาก เพราะพระยังมีกิเลสจึงจับต้องกันไม่ได้”

๏ สาหรับผู้ที่จะเดินตามทางพรหมจรรย์ ความดีของเพศตรงข้ามเป็นสิ่งที่ทำให้หลงทางง่ายที่สุด ฉะนั้นท่านพ่อเคยเตือนพระลูกศิษย์ว่า “ผู้หญิงก็เหมือนเถาวัลย์ที่ขึ้นตามต้นไม้ ตอนแรกเขาก็มาอ่อนๆ น่าเอ็นดู แต่พอเลื้อยไปเลื้อยมาเขาก็รัดตัวเราเข้า แล้วผลสุดท้ายก็คลุมหัวเราตาย”

“อยู่กับหมู่ให้เหมือนอยู่คนเดียว - หมายความว่า เราไม่ต้องไปเกี่ยวข้องกับใคร ฉันข้าว ทำกิจวัตรเสร็จแล้ว ก็กลับกุฏิ ตั้งหน้าตั้งตาภาวนาลูกเดียว

อยู่คนเดียวให้เหมือนอยู่กับหมู่ - หมายความว่า เรามีกิจวัตรประจำวันของเรา พอถึงเวลาเราก็ทำของเราไปโดยไม่ได้ปล่อยปละละเลย”


๏ ข้อแนะนำสำหรับลูกศิษย์ต่างชาติที่จะไปจำพรรษาในวัดที่มีพระจำนวนมาก - “เขาถามมาเป็นภาษาไทย เราก็ตอบเป็นภาษาฝรั่ง เขาถามเป็นภาษาฝรั่ง เราก็ตอบเป็นภาษาไทย เดี๋ยวเขาก็ขี้เกียจมาคุยกับเรา เราจะได้มีเวลาภาวนาบ้าง”

“การอยู่กับหมู่ที่ไม่ดี มันก็ดีเหมือนกัน จะได้รู้จักพึ่งตัวเอง ถ้าเราไปอยู่กับหมู่ที่มีแต่คนดีๆ ทุกคน เราจะต้องติดหมู่ แล้วจะไปไหนไม่รอด”

“คนไม่ดี เราก็มีไว้เพื่อทดสอบกิเลสของเราว่าหมดจริงหรือยัง”

๏ ข้อคิดสาหรับพระปฏิบัติเวลามีคนนิมนต์ไปในงานวัด “ถ้าเราไม่ไป เขาทำไม่ได้ เราก็ควรไป ถ้าเราไม่ไป เขายังทำของเขาได้ เราจะไปทำไม เราเป็นพระกรรมฐาน ไม่ใช่พระเที่ยว เวลาท่านอาจารย์มั่นออกเที่ยวป่า ไม่ใช่ว่าท่านจะไปตามอารมณ์ ท่านก็รู้ของท่านว่า ท่านมีธุระที่จะต้องทำที่นั้น ท่านจึงไป ถ้าท่านไม่มีธุระจำเป็น ท่านก็ไม่ไป”

“การถือธุดงควัตร ก็มีจุดประสงค์ที่จะขัดเกลากิเลสของเราให้หมดไป ถ้าเราคิดจะถือเพื่อให้คนอื่นศรัทธาเรา เราอย่าไปถือเลยดีกว่า”

“การอดอาหาร ไม่ใช่ว่าจะให้ผลดีเสมอไป บางทียิ่งอด กิเลสก็ยิ่งกำเริบ กายหมดแรง ไม่ใช่ว่ากิเลสจะต้องหมดแรงไปด้วย เพราะกิเลสเกิดที่ใจ ไม่ได้เกิดที่กาย”

๏ คำเตือนสาหรับพระที่ชอบปล่อยใจให้คิดถึงเรื่องกาม - “เอามือลูบหัวเจ้าของซะ จะได้ไม่ลืมว่าเราเป็นอะไร”

“พระธรรมท่านบอกว่า “วันคืนล่วงไปล่วงไป บัดนี้เราทำอะไรอยู่” แล้วเราจะตอบท่านว่ายังไง”

“ปฏิบัติยังไม่เข้าขั้นแล้วเที่ยวไปสอนเขา มันมีโทษนะ”

๏ มีคนมาเล่าให้ท่านพ่อฟังเรื่องพระไทยที่ไปเผยแพร่ธรรมะที่เมืองนอก แต่ผลสุดท้าย ไปสึกแล้วแต่งงานที่นั่น ท่านพ่อก็ยิ้มๆ แล้วพูดว่า “ที่จริงไปถูกเขาเผยแพร่มากกว่า สอนไปสอนมา กลายเป็นปฏิกูลน่ากิน อสุภะน่ากอด”

๏ วันหนึ่งในขณะที่พระลูกศิษย์องค์หนึ่งกาลังเตรียมตัวที่จะขึ้นธรรมาสน์เทศน์เป็นครั้งแรก ท่านพ่อก็ให้กำลังใจโดยบอกว่า “ให้คิดว่าเรามีดาบอยู่ในมือ ใครคิดดูถูกเรา เราก็ตัดหัวซะ”

๏ ตอนที่ท่านพ่อมาอยู่วัดธรรมสถิตใหม่ๆ การคมนาคมระหว่างกรุงเทพฯ กับวัดรู้สึกว่าลำบากมาก ไม่เหมือนทุกวันนี้ คืนวันหนึ่งในระหว่างนั้นมีผู้หญิงคนหนึ่งอุตส่าห์เดินทางหลายชั่วโมงจากกรุงเทพฯ คนเดียวเพื่อให้ท่านพ่อช่วยแก้ปัญหาชีวิต กว่าจะแก้ได้เป็นที่สบายใจของเขา ก็ต้องใช้เวลาอีกหลายชั่วโมง หลังจากเขากลับแล้วท่านพ่อก็พูดกับพระลูกศิษย์ว่า “ที่เราอยู่ไกลออกไปอย่างนี้ก็ดีอยู่อย่าง ถ้าเราอยู่ใกล้กรุงเทพฯ พวกที่อยู่ว่างๆ เปล่าๆ ไม่รู้จะทำอะไร ก็มาหาเราง่ายๆ เราก็ต้องนั่งคุยกับเขา เสียเวลาเปล่าๆ แต่เวลาเรามาอยู่ที่นี้ยังมีคนมาหาเรา แสดงว่าเขาต้องการความช่วยเหลือจากเราจริงๆ ทีนี้เราจะพูดกับเขาสักเท่าไรก็ไม่เสียเวลา”

“ถ้าใครมาหาผม ผมก็ให้นั่งสมาธิก่อน ให้เขารู้จักทำใจให้สงบ จากนั้นถ้ามีอะไรก็ค่อยว่ากันไป ถ้าจะพูดอะไรให้เขาฟังในเมื่อใจเขายังไม่สงบ ก็พูดกันไม่รู้เรื่อง”

“คนที่มีอาการวิปัสสนู เราไม่ต้องไปชี้แจงเหตุผลอะไรกับเขาหรอก ถ้าเขาไม่เชื่อเรา ๑๐๐% เรายิ่งพูด เขาก็ยิ่งยึดในความเห็นของเขา ถ้าเขาเชื่อในเราจริงๆ เราไม่ต้องพูดอะไรมากมาย แค่คำสองคำเขาก็หายไปเอง”

๏ วันหนึ่งท่านพ่อเล่าถึงเรื่องอดีตสมัยที่ท่านพ่อลียังมีชีวิตอยู่ ว่ามีพระนักเขียนชื่อดังไปวัดอโศการามเพื่อโต้วาทีกับท่านพ่อ เริ่มแรกทีเดียวพระองค์นั้นถามท่านพ่อใหญ่ว่า “หินยานกับมหายาน อย่างไหนจะดีกว่ากัน” (เพราะพระองค์นี้เคยหาว่าท่านพ่อใหญ่สอนอิทธิฤทธิ์แบบมหายาน)

ท่านพ่อใหญ่ (ท่านพ่อลี ธมฺมธโร) ก็ตอบว่า “ยานแปลว่าอะไร ยาน (ญาณ) แปลว่าความรู้ มหา แปลว่าใหญ่ ถ้าความรู้มันใหญ่ จะเสียหายตรงไหน”

พระองค์นั้นตอบไม่ได้ จึงลากลับ

๏ โยมบิดาของพระที่เป็นลูกศิษย์ท่านพ่อเห็นว่าพระลูกชายมีความเป็นอยู่ลำบาก จึงเขียนจดหมายมาชวนให้สึก กลับบ้าน เรียนต่อ ทำมาหากินมีลูกมีเมีย หาความสุขเหมือนคนทั้งหลายเขาทำกัน เมื่อพระองค์นั้นนำเรื่องนี้เล่าถวายท่านพ่อ ท่านพ่อก็บอกว่า “เขาว่าสุขของเขาดีวิเศษ แต่ไปดูซิ มันเป็นสุขอะไร ก็สุขเน่าๆ นั่นแหละ ไอ้สุขดีกว่านั้นไม่มีหรือ”

๏ เรื่องนี้เป็นเรื่องของแม่ชี แต่เป็นคติธรรมที่ใช้ได้ดีกับพระก็ได้ คือมีแม่ชีคนหนึ่งคิดจะสึกกลับไปอยู่บ้าน จึงมาปรึกษากับท่านพ่อ ท่านก็แนะนาว่า “ให้ถามตัวเองซิ ว่าเราจะไปในบ่วง หรือจะไปนอกบ่วง” ผลสุดท้ายแม่ชีคนนั้นตัดสินใจว่าจะไปนอกบ่วงดีกว่า


รูปภาพ
ท่านพ่อใหญ่ (ท่านพ่อลี ธมฺมธโร) แห่งวัดอโศการาม

:b50: :b45: :b50:
วัดเมตตาวนาราม
Valley Center, California, U.S.A. >>>

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=6&t=59750

:b44: ประวัติและปฏิปทา “ท่านพ่อเฟื่อง โชติโก”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=27449

:b44: รวมคำสอน “ท่านพ่อเฟื่อง โชติโก”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=47090


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ธ.ค. 2021, 19:51 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2863


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 5 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร