วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 20:32  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 91 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2011, 12:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

**************************************************

ภาพที่ ๓๑
พระโพธิสัตว์ทรงตรัสรู้อริยสัจ ๔
สำเร็จพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
เป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า



ในภาพ...หลังทรงตรัสรู้เป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระศาสดาเอกของโลก ในวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖
แล้วทรงประทับนั่งสมาธิ ณ รัตนบัลลังก์ ใต้ร่มมหาโพธิพฤกษ์
ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เสวยวิมุติสุขอันประณีต ๑ สัปดาห์ฺ
นับเป็นกาลสมัยอุบัติขึ้นของพระพุทธเจ้าผู้มีพระนามว่า
“พระศรีศากยโคดมพุทธเจ้า”


**************************************************

:b47: :b44: :b47:

สัตตมหาสถาน สถานที่เสวยวิมุตติสุขที่ยิ่งใหญ่ ๗ แห่ง
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=39332

“ต้นพระศรีมหาโพธิ์” ทั้ง ๔ ต้น ณ พุทธคยา แดนตรัสรู้
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=39333

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า (มานพ นักการเรียน)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=31611

• รวมกระทู้ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับ “วันวิสาขบูชา” •
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=23&t=45505

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2011, 12:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

**************************************************

ภาพที่ ๓๒
ท้าวสหัมบดีพรหม
อาราธนาสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
แสดงพระธรรมโปรดสัตว์โลก



ในภาพ...พระพุทธเจ้าทรงรับอาราธนาแสดงธรรม
ในท่าประทานพรพิจารณาหมู่เวไนยสัตว์แล้ว


**************************************************

:b47: :b44: :b47:

คำอาราธนาธรรม
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=28&t=20603

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2011, 12:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

**************************************************

ภาพที่ ๓๓
หมู่เวไนยสัตว์เปรียบประดุจบัว ๔ เหล่า


ในภาพ...พระพุทธองค์ทรงพิจารณาเวไนยสัตว์ ๔
ที่สามารถรู้ตามธรรมที่ทรงแสดงได้ เปรียบประดุจบัว ๔ เหล่า
พระพุทธองค์ได้ทรงเพ่งพินิจไปยังบัวที่อยู่ริมน้ำ
เป็นสัญลักษณ์ของหมู่เวไนยสัตว์ ๔ เหล่า
ที่ทรงจะได้มีพุทธกิจเสด็จไปโปรด


**************************************************

:b47: :b44: :b47:

บัว ๔ เหล่า
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=23955

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2011, 12:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

**************************************************

ภาพที่ ๓๔
พระพุทธองค์ทรงรับไม้สีพระทนต์
น้ำจากสระอโนดาต และผลสมอจากท้าวสักกเทวราช
และทรงอธิษฐานบาตรแก้วอินทนิล ๔ ใบ
จากท้าวจตุโลกบาลทั้ง ๔ ให้ประสานเข้าเป็นใบเดียว



ในภาพ...ในสัปดาห์ที่ ๗ สัปดาห์สุดท้ายแห่งการเสวยวิมุติสุข
หลังจากตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์
พระพุทธองค์ทรงเสด็จไปประทับ ณ ใต้ต้นราชายตนะ
(ต้นเกด หรือต้นไม้ที่อยู่แห่งพระราชา)
ซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของต้นพระศรีมหาโพธิ์ เป็นเวลาอีก ๗ วัน
แล้วจึงทรงออกจากฌานสมาบัติหรือสมาธิ ท้าวสักกเทวราชทรงทราบว่า
นับแต่พระพุทธองค์ตรัสรู้มา ๗ สัปดาห์ รวม ๔๙ วัน
มิได้เสวยภัตตาหารเลย
จึงนำไม้สีพระทนต์ ชื่อ “นาคลดา” พร้อมน้ำจากสระอโนดาต
และผลสมออันเป็นทิพยโอสถจากเทวโลกมาน้อมถวาย
ในตอนเช้าของวันขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๘ หรือเดือนอาสาฬหะ
พระพุทธองค์ได้ทรงใช้ไม้สีพระทนต์ บ้วนพระโอษฐ์ สรงพระพักตร์
ด้วยน้ำจากสระอโนดาตที่ท้าวสักกเทวราชน้อมถวาย
รวมทั้งทรงเสวยผลสมอ

ณ ต้นราชายตนะ นี้เอง ได้มีพ่อค้าพานิช ๒ พี่น้องเป็นชาวพม่า
ชื่อ “ตปุสสะ” กับ “ภัลลิกะ” นำเกวียน ๕๐๐ เล่ม
เดินทางจากอุกกลชนบท หรืออุกกลาชนบท
(น่าจะเป็นภาคเหนือของชมพูทวีป แถวเมืองตักสิลา)
ผ่านมาทางตำบลพุทธคยา สถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
ได้พบพระผู้มีพระภาคเจ้าขณะทรงประทับอยู่ใต้ต้นราชายตนะ
มีพระรัศมีอันผ่องใสงดงามยิ่งนัก ก็บังเกิดความเลื่อมใส
จึงนำข้าวสัตตุผง สัตตุก้อน
ซึ่งเป็นเสบียงเดินทางของตนไปน้อมถวาย
ขณะนั้นพระพุทธองค์ยังไม่มีบาตร
ท้าวจตุมหาราชทั้ง ๔ ที่กำลังเสด็จเหาะมา
จึงได้น้อมนำบาตรแก้วอินทนิลมาถวายองค์ละใบ
พระพุทธองค์ทรงดำริว่าใบเดียวก็เพียงพอแก่เรา
จึงทรงอธิษฐานให้บาตรทั้ง ๔ ใบนั้นประสานเข้าเป็นใบเดียวกัน
แล้วทรงรับข้าวสัตตุผง สัตตุก้อนจากพ่อค้าพานิชทั้งสอง
(ในทางประวัติศาสตร์ ชาวพม่าได้ไปมาค้าขายกับชาวอินเดีย
มาเป็นเวลาช้านานแล้ว พอออกพรรษาน้ำหยุดท่วมนอง
ชาวพม่าจะบรรทุกของใส่เกวียน
มาแลกสินค้ากับชาวอินเดีย กลับไปกลับมาอยู่เป็นประจำ)

หลังจากพระพุทธองค์เสวยข้าวสัตตุผง สัตตุก้อนเสร็จแล้ว
ก็ทรงแสดงธรรมและประทานอนุโมทนาแก่พ่อค้าพานิชทั้งสอง
เมื่อจบพระธรรมเทศนา พ่อค้าพานิชทั้งสองก็เปล่งวาจา
ถึงพระพุทธเจ้าและพระธรรมเป็นสรณะตลอดชีวิต
ไม่เปล่งวาจาถึงพระสงฆ์เพราะขณะนั้นยังไม่มีพระสงฆ์
ประกาศตนเป็นอุบาสกผู้ถึงรัตนะสองเป็นสรณะ
คู่แรกในพระพุทธศาสนา ที่เรียกว่า เทฺววาจิกอุบาสก
(อ่านว่า ทะ-เว-วา-จิ-กะ-อุ-บา-สก)

ก่อนที่จะเดินทางต่อไป
พ่อค้าพานิชทั้งสองได้กราบทูลขอสิ่งของที่ระลึก
จากพระพุทธองค์เพื่อให้นำกลับไปบูชาสักการะ
พระพุทธองค์ทรงเอาพระหัตถ์ลูบพระเศียร
เส้นพระเกศา ๘ เส้นหลุดติดพระหัตถ์มา
จึงทรงประทานให้แก่พ่อค้าพานิชทั้งสองไป
เป็นการสนองความศรัทธาของเขา
ชาวพม่าสองพี่น้องนี้ได้นำพระเกศาธาตุ ๘ เส้นนั้น
กลับไปยังเมืองย่างกุ้ง บ้านเมืองของตน
ครั้นพอถึงประเทศพม่าได้มีพิธีสมโภชพระเกศาธาตุ
ซึ่งบรรจุไว้ภายในผอบทองคำนี้หลายวันหลายคืน
และได้จัดสร้าง “พระมหาเจดีย์ชเวดากอง”
เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระเกศาธาตุมาจนถึงตราบเท่าทุกวันนี้
(เหตุการณ์ในครั้งนี้เป็นที่มาของการสร้างพระพุทธรูป
ปางประทานเกศาธาตุ หรือปางพระเกศธาตุ
ซึ่งเป็นพระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับนั่งขัดสมาธิราบ
พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา (ตัก)
พระหัตถ์ขวายกขึ้นเหนือพระเศียรคล้ายกับกิริยาเสยพระเกศา)



:b44: หมายเหตุ : (๑) ข้าวสัตตุผง ภาษาบาลีเรียกว่า “มันถะ”
คือ ข้าวตากที่ตำละเอียด
ข้าวสัตตุก้อน ภาษาบาลีเรียกว่า “มธุบิณฑิกะ”
คือ ข้าวตากที่ผสมน้ำผึ้งแล้วปั้นเป็นก้อนๆ

(๒) เทฺววาจิกอุบาสก อ่านว่า ทะ-เว-วา-จิ-กะ-อุ-บา-สก
ไม่ใช่อ่านว่า เท-วะ-วา-จิ-กะ-อุ-บา-สก

มีอีกตัวอย่างหนึ่งเกี่ยวกับการอ่านภาษาบาลี ที่เหมือนกับกรณีข้างต้น
นำมาจากส่วนหนึ่งของ บทสวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร :b16:
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=28&t=20815

เท๎วเม (อ่านว่า ทะ-เว-เม) ภิกขะเว อันตา,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ที่สุดแห่งการกระทำ ๒ อย่างเหล่านี้ มีอยู่,

เท๎วเม อ่านว่า ทะ-เว-เม ไม่ใช่อ่านว่า เท-วะ-เม


**************************************************

:b47: :b44: :b47:

เกด ต้นไม้สุดท้ายแห่งการเสวยวิมุตติสุข
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=17&t=19577

สัตตมหาสถาน สถานที่เสวยวิมุติสุขที่ยิ่งใหญ่ ๗ แห่ง
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=39332

ประวัติ “พระอินทร์ (ท้าวสักกเทวราช)”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=39890

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2011, 12:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

**************************************************

ภาพที่ ๓๕
พระพุทธองค์ทรงแสดงปฐมเทศนา


ในภาพ...พระพุทธองค์ทรงแสดงปฐมเทศนา
“ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” ครั้งแรกแก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕
คือโกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ
พระโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม
บรรลุเป็นพระอริยสาวกองค์แรกในพระพุทธศาสนา
นั่งอยู่ด้านขวาของพระพุทธเจ้า


**************************************************

:b47: :b44: :b47:

• รวมกระทู้ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับ “วันอาสาฬหบูชา” •
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=23&t=45499

ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร กงล้อแห่งความจริงอันประเสริฐ
(ศาสตราจารย์พิเศษ เสฐียรพงษ์ วรรณปก)

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=57701

บทสวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=28&t=20815

ธัมมเมกขสถูป : อนุสรณ์สถานแห่งการแสดงปฐมเทศนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=41327

เจาคัณฑีสถูป สถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงพบปัญจวัคคีย์
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=44838

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2011, 12:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

**************************************************

ภาพที่ ๓๖
พระพุทธองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนา
โปรดยสะ บิดามารดาของยสะ
ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี
ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า สารนาถ



ในภาพ...พระพุทธองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนา
โปรดยสะ และบิดามารดาของยสะ โดยได้กำบังกายของยสะไว้
ยสะได้ฟังพระสัทธรรมรอบที่ ๒ ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์
ได้เป็นพระอรหันตสาวกองค์ที่ ๖ ของโลก
จากนั้นยสะจึงทูลขอบวช
พระพุทธองค์จึงได้ประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทา
ให้เป็นพระภิกษุโดยสมบูรณ์

ต่อมาสหายสนิทของยสะ
ซึ่งล้วนเป็นบุตรของผู้มีฐานะ รวม ๕๔ คน
ได้ข่าวว่ายสะออกบวชเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า
ก็พากันมาบวชตาม
หลังจากบวชแล้วก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น

ณ เวลานี้ จึงมีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลกจำนวน ๖๑ องค์แล้ว
ประกอบด้วย พระพุทธเจ้า, พระปัญจวัคคีย์ ๕ รูป,
พระยสะและสหายพระยสะ ๕๕ รูป

เมื่อทรงเห็นว่ามีจำนวนพระอรหันตสาวก
มากพอสมควรแล้ว (๖๐ องค์)
พระพุทธองค์จึงตรัสเรียกประชุมเพื่อประทานพุทธโอวาท
เสร็จแล้วก็ทรงส่งให้แยกย้ายกันไปประกาศพระศาสนา
เผยแผ่แนวทางดำเนินชีวิตอันประเสริฐแก่ชาวโลกเป็นครั้งแรก
นับว่าเป็นคณะธรรมทูตชุดแรกในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา


**************************************************

:b47: :b44: :b47:

ประวัติ “ยสกุลบุตร (พระยสเถระ)”
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=7527

ประวัติ “นางสุชาดา (มารดาของยสกุลบุตร)”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=71&t=50297

ยสเจติยสถาน อนุสรณ์สถานที่่ทรงพบยสกุลบุตร
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=43040

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2011, 12:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

**************************************************

ภาพที่ ๓๗
พระพุทธองค์ทรงเสด็จไปโปรดอาฬวกยักษ์


ในภาพ...ในพรรษาที่ ๑๖ พระพุทธองค์ทรงเสด็จไปโปรดยักษ์
ชื่อ อาฬวกยักษ์ ซึ่งเป็นยักษ์ที่ดุร้าย ใจคอเหี้ยมโหด
เต็มไปด้วยโทสะ และโมหะ
ยักษ์นี้มีฤทธิ์มาก เหาะเหินเดินอากาศได้
ชอบจับคนและสัตว์กินเป็นอาหาร
แต่พระพุทธเจ้าก็ทรงเอาชนะได้ด้วยขันติบารมี
เป็นนัยความหมายว่า ทรงล้างความเห็นผิดของชนพื้นเมืองขณะนั้น
ที่นับถือในศาสนาเทพศิวะ มีพิธีเซ่นสังเวยมนุษย์เป็นพลีกรรม
ซึ่งการฆ่าเป็นอกุศลอย่างยิ่ง เป็นมิจฉาทิฎฐิ


**************************************************

:b47: :b44: :b47:

พุทธวิธีชนะมารจากบทสวดพุทธชัยมงคลคาถา (พาหุงฯ)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=45321

อาฬวกยักษ์ (ธรรมะเอขก - ขวัญ เพียงหทัย)
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=3487

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2011, 12:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

**************************************************

ภาพที่ ๓๘
พระพุทธองค์โปรดชฎิล ๓ พี่น้องพร้อมบริวาร
ที่ตำบลคยา ให้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ ๑,๐๐๐ รูป



ในภาพ...เมื่อชฎิลผู้น้องที่อยู่ระหว่างกลางแม่น้ำและปลายแม่น้ำ
ทราบว่าผู้พี่บวชในสำนักพระพุทธองค์แล้ว
โดยเห็นเครื่องบริขารของชฎิลลอยตามน้ำมา
จึงได้ชักชวนกันไปบวชตามผู้พี่ยังสำนักพระพุทธเจ้า


**************************************************

:b47: :b44: :b47:

ประวัติชฎิล ๓ พี่น้อง “พระอุรุเวลกัสสปเถระ”
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=6711

ประวัติชฎิล ๓ พี่น้อง “พระนทีกัสสปเถระ”
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=7573

ประวัติชฎิล ๓ พี่น้อง “พระคยากัสสปเถระ”
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=7587

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2011, 12:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

**************************************************

ภาพที่ ๓๙
พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมโปรดพระเจ้าพิมพิสาร
และข้าราชบริพาร ณ ลัฏฐิวัน หรือสวนตาลหนุ่ม



ในภาพ...พระพุทธเจ้าทรงเป็นประธานหมู่สงฆ์สาวก
ทรงตั้งอยู่ในฐานะพระศาสดา
ได้แสดงธรรมโปรดพระเจ้าพิมพิสาร
และข้าราชบริพาร ณ ลัฏฐิวัน หรือสวนตาลหนุ่ม
พระอุรุเวลกัสสปเถระได้แสดงฤทธิ์ยืนยันในความเป็นพระสาวก
ทำให้พระเจ้าพิมพิสารทรงมีพระราชศรัทธาในพระพุทธเจ้า
นับเป็นพระราชาผู้นับถือพระพุทธศาสนาองค์แรก

“พระเจ้าพิมพิสาร” เป็นกษัตริย์ครองเมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ
มีโอกาสพบพระพุทธเจ้าตอนที่พระพุทธองค์เสด็จออกผนวชใหม่ๆ
เสด็จผ่านมายังเมืองราชคฤห์ ประทับอยู่ที่ปัณฑวบรรพต
หลังจากได้ทรงสนทนากับพระพุทธองค์แล้ว
ได้ชักชวนให้พระพุทธองค์สละเพศบรรพชิตมาครองราชย์ด้วยกัน
โดยจะทรงแบ่งดินแดนให้กึ่งหนึ่ง พระพุทธองค์ทรงปฏิเสธ
ตรัสว่าสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงแสวงหาคือ โมกขธรรม หาใช่ราชสมบัติไม่

พระเจ้าพิมพิสารกราบทูลว่า ถ้าทรงได้บรรลุสิ่งที่ทรงประสงค์แล้ว
ขอให้เสด็จมาสอนเป็นคนแรก พระพุทธองค์ทรงรับ
ด้วยเหตุนี้เมื่อโปรดปัญจวัคคีย์ โปรดยสกุมารพร้อมสหาย
จนมีพระอรหันตสาวกเกิดขึ้นในโลก ๖๐ รูป
ก็ทรงส่งไปประกาศพระศาสนายังแคว้นต่างๆ
นับว่าเป็นคณะธรรมทูตชุดแรกในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาแล้ว

พระองค์จึงเสด็จพุทธดำเนินมุ่งตรงไปยังเมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ
จุดมุ่งหมายก็คือ ทรงต้องการจะเปลื้องปฏิญญาที่ประทานไว้แก่
พระเจ้าพิมพิสารเมื่อครั้งนั้นนั่นเอง

เมื่อทรงพิจารณาว่า บุคคลที่พระเจ้าพิมพิสารและชาวเมืองนับถืออยู่
คือ ชฎิล ๓ พี่น้องพร้อมบริวาร
พระองค์จึงเสด็จไปโปรดชฎิล ๓ พี่น้องก่อน
เพราะว่าเมื่อชฎิล ๓ พี่น้องพร้อมบริวารนับถือพระพุทธองค์แล้ว
พระเจ้าพิมพิสารพร้อมชาวเมืองก็จะนับถือตามโดยง่าย

หลังจากโปรดชฎิล ๓ พี่น้องพร้อมบริวารแล้ว
พระพุทธองค์ประทับอยู่ที่ลัฏฐิวัน หรือสวนตาลหนุ่ม นอกเมืองราชคฤห์
พระเจ้าพิมพิสารพร้อมประชาชนจำนวนมากได้ไปยังลัฏฐิวัน
ทอดพระเนตรเห็นอาจารย์ของพระองค์สละเพศชฎิล
หันมานุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ นั่งแวดล้อม “พระสัมมาสัมพุทธเจ้า”


**************************************************

:b47: :b44: :b47:

ประวัติ “พระเจ้าพิมพิสาร”
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=7263

ประวัติ “พระอุรุเวลกัสสปเถระ”
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=6711

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2011, 12:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

**************************************************

ภาพที่ ๔๐
พระเจ้าพิมพิสารทรงถวายสวนหลวงเวฬุวัน
ให้เป็นสังฆารามหรือวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา
แด่คณะสงฆ์ ชื่อว่า “วัดพระเวฬุวัน”



ในภาพ...พระเจ้าพิมพิสาร กษัตริย์แห่งแคว้นมคธ
ทรงถือสุวรรณภิงคาร (น้ำเต้าทอง) หลั่งน้ำอุททิโสทก

(คือกรวดน้ำมอบถวาย เมื่อถวายของใหญ่โต
ที่ไม่อาจยกประเคนใส่มือพระได้ เช่น ที่ดินและวัด ฯลฯ)

ลงบนพระหัตถ์ของพระพุทธเจ้า
ถวายที่ดินคือสวนหลวงเวฬุวันให้เป็นสังฆาราม ที่ตั้งเสนาสนะ
หรือวัดแห่งแรกในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา
แด่คณะสงฆ์ ชื่อว่า “วัดพระเวฬุวัน”
และได้มีการถวายตัวเป็นผู้อุปถัมภ์พระพุทธศาสนา


ว่ากันว่าตอนแรกๆ ก็ไม่มีธรรมเนียมกรวดน้ำ
อุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ตาย หรือบรรพบุรุษของผู้กระทำกุศล
มามีขึ้นเพราะ “พระเจ้าพิมพิสาร” เป็นสาเหตุ

เมื่อครั้งพระเจ้าพิมพิสารถวายวัดพระเวฬุวัน
ให้เป็นวิหารที่ประทับของพระพุทธเจ้า
อันนับว่าเป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนานั้น
พระองค์มิได้ทรงอุทิศกุศลให้ผู้ตาย
เพราะไม่ทรงทราบธรรมเนียม

ตกดึกคืนนั้นพระสุบินนิมิตเห็น
พวกเปรตมากหน้าหลายตามาปรากฏตนขอส่วนบุญ
พระเจ้าพิมพิสารจึงนำความไปกราบทูลพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระองค์ตรัสให้พระเจ้าพิมพิสารทรงถวายทานแก่พระสงฆ์ใหม่
พร้อมกับให้ตั้งจิตอุทิศส่วนบุญแก่ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว
พระเจ้าพิมพิสารทรงกระทำตามที่พระพุทธองค์ทรงแนะนำ

คืนนั้นพวกเปรตทั้งหลายมาปรากฏตัวอีกครั้งหนึ่ง
นุ่งห่มผ้าเรียบร้อย หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส
ขออนุโมทนาในส่วนบุญที่พระองค์ทรงอุทิศไปให้

เมื่อทรงกราบทูลให้พระพุทธองค์ทรงทราบ
พระองค์ตรัสว่าพวกเปรตนั้นในอดีตชาติอันยาวไกลโพ้น
เคยเป็นพระญาติของพระองค์
ครั้งนั้นพระองค์พร้อมทั้งหมู่ญาติได้ตระเตรียมถวายทาน
แก่พระภิกษุสงฆ์ อันมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นประมุข
ต่างก็ตระเตรียมการเป็นใหญ่
มีของเคี้ยวของฉันอันประณีตเตรียมไว้พร้อมมูล

เมื่อภิกษุสงฆ์ยังมิทันได้ฉันภัตตาหารนั้น
พวกญาติบางพวกเกิดหิวขึ้นมา
จึงหยิบเอาอาหารขึ้นมารับประทานก่อนภิกษุสงฆ์
ด้วยผลกรรมนั้นพวกเขาจึงเกิดเป็นเปรตเรียกว่า
“ปรทัตตูชีวิต” (เปรตผู้อาศัยส่วนบุญที่คนเขาอุทิศให้ยังชีพ)
เมื่อไม่มีญาติพี่น้องอุทิศส่วนบุญไปให้จึงผอมโซไปตลอดกาล
ดังกรณีญาติของพระเจ้าพิมพิสารนี้
แต่เมื่อพระองค์ทรงอุทิศส่วนบุญไปให้
พวกเขาก็ได้รับดังกล่าวแล้ว

ว่ากันว่านี่คือที่มาแห่งธรรมเนียม
การทำบุญกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ล่วงลับ
ที่ถือปฏิบัติมาจนทุกวันนี้
คุณค่าทางจริยธรรมที่ได้จากธรรมเนียมนี้ก็คือ
เป็นการสร้างสำนึกแห่งความละอายชั่วกลัวบาปได้อย่างดี

ของที่เขาตั้งใจอุทิศถวายพระนั้นถือว่าเป็น “ของสงฆ์”
ปู่ย่าตาทวดจะสอนลูกหลานมิให้แตะต้อง
เพราะจะเป็นบาป ตายไปจะไปเกิดเป็นเปรต
มองอีกมุมหนึ่งเป็นนี้คือวิธีควบคุมจริยธรรมของคน
ให้มีหิริโอตตัปปะ รู้จักอายชั่วกลัวบาปได้อย่างดี ผิดกับคนสมัยนี้

เดิมทีคงเพียงตั้งใจอุทิศส่วนบุญเท่านั้นเอง
ส่วนการจะเอาน้ำมารินอันเรียกว่ากรวดน้ำนั้น คงเพิ่มมาภายหลัง
เพื่อให้เป็น “สัญลักษณ์” ตามธรรมเนียมของคนสมัยโน้น

อาจารย์บางท่านกล่าวว่า สมัยก่อนโน้น เขาใช้น้ำรินลงที่มือคนรับ
ดังกรณีพระเวสสันดรตอนพระราชทานสองกุมารแก่พราหมณ์ชูชก
ทรงยกคนโทน้ำรินน้ำลงที่มือของพราหมณ์
เป็นสัญลักษณ์ว่าให้เป็นการเด็ดขาด

แต่ปัจจุบันนี้ใช้น้ำริน อันเรียกตามภาษาเขมร
“กรวด” จึงเรียกธรรมเนียมนี้ว่า “กรวดน้ำ”
แล้วก็มีระเบียบปฏิบัติว่า ให้รินน้ำตอนที่พระรูปแรกสวด
“ยถา วาริวาหา...” เมื่อพระสงฆ์รับพร้อมกัน
ก็ให้รินน้ำที่ยังเหลือให้หมด แล้วประนมมือรับพรจากพระสงฆ์
โดยไม่ต้องเอานิ้วจับชายเสื้อของคนรินน้ำ
แบบนี้ก็เห็นจะมีเฉพาะวงการพุทธไทย
อย่างที่ประเทศศรีลังกา พระท่านว่าอนุโมทนาพร้อมกัน
ขณะรินน้ำ ก็เพียงตั้งจิตอุทิศกุศลเท่านั้นไม่ต้องสวดอะไร

ถ้าจะกรวดน้ำโดยไม่มีพิธีการทำบุญอย่างอื่น
เช่นใส่บาตรแล้ว อุทิศส่วนบุญแล้ว ยังไม่สบายใจ
คล้ายๆ จะขาดอะไรไปสักอย่างจะกรวดน้ำแถมท้าย
โดยนำพุทธวจนะสั้นๆ มาสวดว่า
“อิทํ โน ญาตินัง โหตุ สุขิตา โหนฺตุ ญาตโย” ก็ได้


**************************************************

:b47: :b44: :b47:

ที่มา >>> การเกิดขึ้นแห่งประเพณีกรวดน้ำครั้งแรก
สิ่งแรกในพระพุทธศาสนา (อาจารย์เสฐียรพงษ์ วรรณปก)

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=23&t=20380

วัดเวฬุวันมหาวิหาร วัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=44846

ทำบุญให้ทานแล้วต้องแผ่บุญกุศล
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=23&t=45164

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2011, 13:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

**************************************************

ภาพที่ ๔๑
พระพุทธองค์ทรงเสด็จไปโปรด “พระสารีบุตรเถระ”
ณ ถ้ำสุกรขาตา เชิงเขาคิชฌกูฏ นครราชคฤห์ แคว้นมคธ
พระสารีบุตรเถระบรรลุเป็นพระอรหันต์ใน “วันมาฆบูชา”



ในภาพ...พระพุทธเจ้าทรงเสด็จไปโดยฤทธิ์
เพื่อโปรด “พระสารีบุตรเถระ” ซึ่งได้บรรลุธรรมช้า
ขณะที่ท่านบำเพ็ญเพียรอยู่ในถ้ำสุกรขาตา
(ถ้ำหมูขุด, ถ้ำคางหมู) ที่เชิงเขาคิชฌกูฎ
ใกล้พระมูลคันธกุฏี กุฏิที่ประทับของพระพุทธเจ้า
ณ นครราชคฤห์ แคว้นมคธ

ในตอนกลางวันของวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ นั้น
พระพุทธองค์ประทับเข้าสมาธิอยู่ ณ ถ้ำสุกรขาตา
มีพระสารีบุตรเถระคอยถวายงานพัดอยู่ด้วย
ทีฆนขปริพาชก (นักบวชเล็บยาว) ซึ่งเป็นหลานพระสารีบุตร
กำลังตามหาพระพี่ชาย มาพบอยู่กับพระพุทธเจ้า
ทีฆนขปริพาชกไม่ค่อยจะให้ความสำคัญแก่พระพุทธองค์มากนัก
จึงพูดแบบหยิ่งผยองว่า


“ข้าพเจ้าไม่เชื่อทิฐิ (ความเห็น) ใดๆ”
พูดพลางลุกเดินไปมา

พระพุทธองค์ตรัสตอบว่า
“ถึงอย่างไรเธอก็มีทิฐิอยู่นั้นเอง”

ทีฆนขปริพาชกพูดอีกว่า
“ข้าพเจ้าไม่เชื่อทฤษฎีใดๆ”

พระพุทธองค์ตรัสว่า
“การที่เธอไม่เชื่อทฤษฎีใดๆ นั่นแหละเป็นความเชื่อของเธอล่ะ”


ได้ยินดังนั้น ทีฆนขปริพาชกสะดุดถึงกับนั่งลง
อาการหยิ่งผยองค่อยๆ หายไป
พระพุทธองค์จึงทรงแสดงพระธรรมเทศนาที่เรียกว่า
“เวทนาปริคคหสูตร” (พระสูตรว่าด้วยการกำหนดเวทนา) ให้ฟัง

พระสารีบุตรเถระนั่งเบื้องพระปฤษฎางค์ (เบื้องหลัง)
ถวายงานพัดพระพุทธองค์อยู่
เงี่ยโสตสดับกระแสพระธรรมเทศนาไปด้วย
เมื่อพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมจบ
ทีฆนขปริพาชก นักบวชเล็บยาว
หลานของท่านก็ได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน
แต่ตัวท่านพระสารีบุตรเถระได้บรรลุเป็นพระอรหันต์
ผู้หมดกิเลสาสวะโดยสิ้นเชิง หลังจากอุปสมบทได้ ๑๕ วัน

เนื่องจากการบรรลุธรรมขั้นสูงสุดของพระสารีบุตรเถระ
เกิดขึ้นในวันเพ็ญมาฆปุณณมี หรือวันเพ็ญเดือน ๓
ดังนั้น “วันมาฆบูชา” จึงถือว่าเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
เพราะเป็นวันที่บุคคลสำคัญแห่งพระพุทธศาสนา
พระธรรมเสนาบดีประสบความสำเร็จในธรรมขั้นสูงสุด
รวมทั้งเป็นวันเดียวกับวันประชุมกันเป็นพิเศษ
แห่งพระอรหันตสาวกจำนวน ๑,๒๕๐ รูป โดยมิได้มีการนัดหมาย
ณ วัดพระเวฬุวัน (วัดเวฬุวันมหาวิหาร) นั้นเอง

เมื่อโปรดพระสารีบุตรเถระ และทีฆนขปริพาชก นักบวชเล็บยาวแล้ว
พระพุทธองค์ทรงเสด็จกลับวัดพระเวฬุวัน (วัดเวฬุวันมหาวิหาร)
(วัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนาที่พระเจ้าพิมพิสาร
กษัตริย์แห่งแคว้นมคธ สร้างถวาย
ให้เป็นที่ประทับของพระพุทธองค์และภิกษุสงฆ์)
พร้อมกับพระสารีบุตรเถระซึ่งบรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว


ในค่ำคืนของวันนั้น
(๑) เป็นวันเพ็ญ เดือนมาฆะ ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓
หรือเดือน ๔ ในปีที่มีอธิกมาส [คือมีเดือน ๘ สองหน]

(๒) พระสงฆ์สาวกจำนวน ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมพร้อมกัน
ที่วัดพระเวฬุวัน (วัดเวฬุวันมหาวิหาร) โดยมิได้นัดหมาย
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก่อนเข้าพรรษาที่ ๒ หลักจากตรัสรู้แล้ว ๙ เดือน

(๓) พระสงฆ์ทั้งหมดล้วนเป็นพระอรหันต์ขีณาสพ ผู้ทรงอภิญญา ๖
คือ หูทิพย์ ตาทิพย์ ระลึกชาติได้ แสดงฤทธิ์ได้
ล่วงรู้วาระจิตของผู้อื่น และทำอาสวะกิเลสให้สิ้นไป

(๔) พระสงฆ์ทั้งหมดล้วนเป็น “เอหิภิกขุ”
ผู้ได้รับการอุปสมบทโดยตรงจากพระพุทธเจ้า

พระพุทธองค์ทรงเห็นปรากฏการณ์พิเศษนี้
จึงทรงแสดง “โอวาทปาติโมกข์”
(คำสอนที่เป็นหัวใจหรือแก่นของพระพุทธศาสนา) แก่ที่ประชุมสงฆ์
นับเป็นที่ประชุมอันประกอบด้วยเหตุการณ์อัศจรรย์
ที่มาบรรจบกัน ๔ ประการ จึงเรียกว่า “จาตุรงคสันนิบาต”

ผู้ที่มาเติมเต็มความสมบูรณ์ของกองทัพธรรม
ก็คือ “พระสารีบุตร” ซึ่งเมื่อท่านได้บรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว
ถือได้ว่า “พระธรรมเสนาบดี” ได้บังเกิดขึ้น
ดุจขุนพลแก้วบังเกิดแล้วแก่พระเจ้าจักรพรรดิ
โดยท่านจะเป็นหัวเรือใหญ่รับสนองนโยบายภารกิจนี้โดยตรง
พระพุทธองค์จึงทรงทำการประชุมมหาสาวกสันนิบาต
(การประชุมใหญ่ของพระสงฆ์สาวก)
ทันทีในวันเดียวกันนั้นเอง โดยมิได้นัดหมายล่วงหน้า
เพราะทรงเห็นว่าถึงเวลาแล้วที่กองทัพธรรม
จะต้องเร่งรุดขยายให้ได้กว้างไกลที่สุด
ฉะนั้น จำต้องมีทิศทางและยุทธศาสตร์ที่เป็นหนึ่งเดียวกัน
จึงได้ทรงประทาน “โอวาทปาติโมกข์”
เพื่อไว้ใช้เป็นแม่บทในการประกาศพระศาสนา


**************************************************

:b47: :b44: :b47:

ถ้ำสุกรขาตา (ถ้ำพระสารีบุตร) ณ เชิงเขาคิชฌกูฏ
สถานที่พระสารีบุตรบรรลุเป็นพระอรหันต์ในวันมาฆบูชา

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=41350

ประวัติ “พระสารีบุตรเถระ”
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=7502

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2011, 13:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ


**************************************************

ภาพที่ ๔๒
พระพุทธองค์ทรงบัญญัติสิกขาบท
ให้ลงสวดพระปาฏิโมกข์ครั้งแรก
โดยบัญญัติให้สงฆ์ประชุมกันเพื่อสวดพระปาฏิโมกข์
ปักษ์ละ ๑ ครั้ง คือ ทุก ๑๔ ค่ำ หรือ ๑๕ ค่ำ



ในภาพ...พระพุทธเจ้าทรงเป็นประธาน
นำสวดญัตติอุโบสถกรรม (สวดพระปาฏิโมกข์) เป็นครั้งแรก
ซึ่งกำหนดเป็นสิกขาบทให้ลงสวดทุกกึ่งเดือนระหว่างเข้าพรรษา
การลงสวดในครั้งแรกนี้
พระสารีบุตรได้บรรลุพระอรหันต์และอยู่ในที่ประชุมด้วย


**************************************************

การบัญญัติสิกขาบทของพระพุทธเจ้า
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=33958

วินัยสงฆ์-อาบัติ-ปาราชิก-สังฆาทิเสส
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=30&t=22785

วินัยสงฆ์ และประเภทของอาบัติ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=30&t=44566

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2011, 13:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ


**************************************************

ภาพที่ ๔๓
พระพุทธองค์ทรงแต่งตั้งพระอัครสาวกคู่บริหารคณะสงฆ์
โดยทรงแต่งตั้งพระสารีบุตรเถระเป็นพระอัครสาวกฝ่ายขวา
และพระโมคคัลลานเถระเป็นพระอัครสาวกฝ่ายซ้าย



ในภาพ...พระพุทธเจ้าทรงแสดงกิริยาชี้พระหัตถ์ฺ
ไปที่พระอัครสาวก มีความหมายว่า
ทรงได้แต่งตั้งให้พระสารีบุตรเป็นพระอัครสาวกฝ่ายขวา (ชี้ด้านขวา)
และพระโมคคัลลานะเป็นพระอัครสาวกฝ่ายซ้าย (ชี้ด้านซ้าย)


**************************************************

“พระสารีบุตรเถระ” พระอัครสาวกฝ่ายขวา
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=7502

“พระมหาโมคคัลลานเถระ” พระอัครสาวกฝ่ายซ้าย
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=7531

โมคคัลลานสูตร (ทรงโปรดสอนวิธีแก้ง่วง)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=45512

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2011, 13:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

**************************************************

ภาพที่ ๔๔
วันจาตุรงคสันนิบาต


ในภาพ...พระพุทธองค์ทรงแสดงพระสัทธรรม “โอวาทปาติโมกข์”
(คำสอนที่เป็นหัวใจหรือแก่นของพระพุทธศาสนา)
ให้โอวาทแก่พระอรหันต์ขีณาสพในที่ประชุมสงฆ์
โดยแสดงด้วยเครื่องหมายพระหัตถ์ที่นิ้ว (๔ นิ้วที่ยกขึ้น)
ในวันจาตุรงคสันนิบาต ด้วยเป็นปรากฏการณ์พิเศษ
มีเหตุการณ์อัศจรรย์ที่มาบรรจบกัน ๔ ประการ คือ

(๑) พระสงฆ์สาวกจำนวน ๑,๒๕๐ รูป
มาประชุมพร้อมกันที่วัดพระเวฬุวันโดยมิได้นัดหมาย

(๒) พระสงฆ์ทั้งหมดล้วนเป็นพระอรหันต์ขีณาสพ ผู้ทรงอภิญญา ๖
คือ หูทิพย์ ตาทิพย์ ระลึกชาติได้ แสดงฤทธิ์ได้
ล่วงรู้วาระจิตของผู้อื่น และทำอาสวะกิเลสให้สิ้นไป

(๓) พระสงฆ์ทั้งหมดล้วนเป็น “เอหิภิกขุ”
ผู้ได้รับการอุปสมบทโดยตรงจากพระพุทธเจ้า

(๔) ค่ำคืนนั้นพระจันทร์เต็มดวงเสวยมาฆฤกษ
(วันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓)
ในภายหลังจึงได้เรียกวันนี้ว่า วันมาฆบูชา


**************************************************

:b47: :b44: :b47:

• รวมกระทู้ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับ “วันมาฆบูชา”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=23&t=45501

• โอวาทปาฏิโมกข์ (อาจารย์วศิน อินทสระ)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=20317

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2011, 13:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

**************************************************

ภาพที่ ๔๕
พระกาฬุทายีเถระถวายบาตร


ในภาพ...พระกาฬุทายีเถระได้เหาะไปรับบิณฑบาต
ในพระราชวังหลวง กรุงกบิลพัสดุ์
แล้วนำบาตรที่พระเจ้าสุทโธทนะ พระราชบิดาใส่มา
ถวายพระพุทธเจ้าเป็นประจำทุกวัน
เป็นเหตุการณ์ระหว่างเสด็จกลับสู่กรุงกบิลพัสดุ์

ท่านเป็นพระสหายสนิทและสหชาติของพระโพธิสัตว์
เจ้าชายสิทธัตถะ เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์


**************************************************

:b47: :b44: :b47:

ประวัติ “พระกาฬุทายีเถระ”
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=7592

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 91 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 10 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร