วันเวลาปัจจุบัน 08 ต.ค. 2024, 00:26  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 91 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2011, 13:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ


**************************************************

ภาพที่ ๖๑
พระพุทธองค์ทรงเสด็จไปโปรดพระยามหาชมพูบดี
(โปรดทราบว่าเป็นเรื่องในพระสูตร นอกพระไตรปิฎก)



ในภาพ...พระเจ้าพิมพิสารเข้าเฝ้ากราบทูล
เรื่องการรุกรานของพระยามหาชมพูบดี
พระพุทธเจ้าทรงเสด็จไปโปรดพระยามหาชมพูบดี
โดยนิรมิตกายเป็นพระมหาจักรพรรดิที่มีพลานุภาพยิ่งกว่า
และทรงแสดงพระสัทธรรมเทศนาโปรด
ทำให้ละมิจฉาทิฏฐิและเข้าถึงพระโสดาปัตติผล
พร้อมทรงพยากรณ์ว่า อนาคตจะได้เป็นพระปัจเจกพระพุทธเจ้า

ภาพที่แสดงเป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องที่นำมารวมเป็นภาพเดียวกัน


**************************************************

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2011, 13:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ


**************************************************

ภาพที่ ๖๒
อนาถบิณฑิกเศรษฐีถวายมหาสังฆาราม วัดเชตวันมหาวิหาร


ในภาพ...สุทัตตะหรืออนาถบิณฑิกเศรษฐี มหาอุบาสกผู้เลิศในทางถวายทาน
ได้ถวายที่ดินและอาคารเสนาสนะต่อคณะสงฆ์
โดยมีพระพุทธเจ้าพระบรมศาสดาทรงรับถวาย
สุทัตตะได้หลั่งน้ำจากน้ำเต้าทองลงบนฝ่าพระหัตถ์ของพระพุทธเจ้า
แสดงการอุทิศถวายมหาสังฆาราม วัดเชตวันมหาวิหาร แล้วต่อคณะสงฆ์
ทั้งนี้ พระพุทธองค์ได้ทรงประทับ ณ วัดเชตวันมหาวิหาร ในพรรษาแรก


**************************************************

ประวัติ “อนาถบิณฑิกเศรษฐี”
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=7405

วัดแห่งแรกในเมืองสาวัตถี [วัดเชตวันมหาวิหาร]
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=47962

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2011, 13:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ


**************************************************

ภาพที่ ๖๓
พระนางมหาปชาบดีทรงถวายผ้าสาฎกคู่แด่พระพุทธเจ้า


ในภาพ...พระนางมหาปชาบดีทรงมีพระราชศรัทธาถวายผ้าสาฎก
(ผ้าสำหรับใช้นุ่งห่ม) ๒ ผืน เจาะจงต่อพระพุทธเจ้า
พระองค์ทรงปฏิเสธ แต่ให้ถวายแด่สงฆ์เพื่อให้ได้รับอานิสงส์ที่มากกว่า
แต่ก็ไม่ปรากฏว่าพระอรหันต์สาวกรูปใดจะรับไว้
ผ้าทออันประณีตคู่นั้นได้ตกอยู่กับ “พระอชิตะ” ที่เป็นพระบวชใหม่
พระนางมหาปชาบดีทรงเสียพระทัยอย่างมาก

พระพุทธองค์ทรงแก้ไขให้พระนางคลายโทมนัส
โดยอธิษฐานบาตรให้หายไปในอากาศ ไม่มีสาวกอรหันต์รูปใดนำกลับมาได้
เว้นแต่พระอชิตะที่เพิ่งบวชใหม่รูปนั้น ซึ่งมีพุทธพยากรณ์ภายหลังว่า
จะได้เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ต่อไปในภัทรกัปป์นี้
พระนางจึงปีติปรีดาปราโมทย์เป็นยิ่งนัก


**************************************************

ภิกษุณีรูปแรกในพระพุทธศาสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=35006

พระปชาบดีโคตมีเถรี เอตทัคคะในทางผู้รู้ราตรีนาน
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=6731

พระอนาคตวงศ์ พระพุทธเจ้าที่จะมาตรัสรู้ในภายภาคหน้า
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=31809

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2011, 13:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ


**************************************************

ภาพที่ ๖๔
พระพุทธองค์ทรงโปรดช้างนาฬาคีรี


ในภาพ...พระพุทธเจ้าพระบรมศาสดา และพระอานนท์
ได้ทรงเสด็จบิณฑบาตภิกขาจารชาวกรุงราชคฤห์
พระเจ้าอชาตศัตรูได้ปล่อยช้างนาฬาคีรี ช้างพระที่นั่งซึ่งกำลังซับมันดุร้าย
เพื่อให้ไปทำอันตรายพระชนม์ชีพพระบรมศาสดา
ทรงโปรดช้างให้คืนสติสงบลงได้ด้วยพุทธานุภาพและพระเมตตา
เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้ชาวเมืองทราบว่าพระเทวทัตเป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลัง


**************************************************

พุทธวิธีชนะมารจากบทสวดพุทธชัยมงคลคาถา (พาหุงฯ)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=45321

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2011, 13:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ


**************************************************

ภาพที่ ๖๕
พระเทวทัตทำสังฆเภทยุยงให้สงฆ์แตกกัน
และพระสารีบุตรนำพระเสขะชาววัชชีเหล่านั้นกลับสังฆมณฑล



ในภาพ...พระสารีบุตร อัครสาวกเบื้องขวา ได้รับบัญชาจากพระพุทธเจ้า
ให้ไปเกลี้ยกล่อมภิกษุใหม่ชาววัชชีผู้อยู่ระหว่างศึกษา (พระเสขะ)
ที่หลงผิดไปตั้งสำนักใหม่กับพระเทวทัตจำนวน ๕๐๐
พระสารีบุตรได้แสดงธรรมโอวาทจนภิกษุใหม่เหล่านั้นเข้าใจ
และติดตามกลับสังฆมณฑลที่วัดเวฬุวันมหาวิหาร


**************************************************

พระเทวทัต : ผู้ต้องธรณีสูบในพุทธประวัติ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=28618

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2011, 13:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ


**************************************************

ภาพที่ ๖๖
พระนางมหาปชาบดีโคตมีขอบวชเป็นภิกษุณี


ในภาพ...พระพุทธองค์ทรงเสด็จไปประทับอยู่จาลิยบรรพต ในพรรษาที่ ๑๙
พระนางมหาปชาบดีโคตมี ผู้มีพระทัยเปี่ยมด้วยศรัทธา
รับสั่งให้ช่างกัลบก (ช่างตัดผม) มาปลงพระเกศา แล้วครองผ้ากาสาวพัสตร์
นำพาศากยขัตติยนารีเป็นบริวารประมาณ ๕๐๐ พระองค์
(นางกษัตริย์เหล่านี้ พระสวามีออกบวชไปก่อนแล้ว)
เสด็จมุ่งตรงไปยังเมืองเวสาลี แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
กราบทูลขออุปสมบทเป็นภิกษุณี พระพุทธองค์ไม่ทรงอนุญาต
จึงเสด็จออกมายืนร้องไห้อยู่ที่ซุ้มประตู พระอานนท์ผ่านมาพบ
จึงสอบถาม ทราบความโดยตลอดแล้ว
พระเถระจึงเข้าเฝ้ากราบทูลถามพระพุทธองค์ว่า
ถ้าสตรีบวชในพระศาสนาแล้ว อาจทำให้แจ้งซึ่งพระโสดาปัตติผล
พระสกทาคามิผล พระอนาคามิผล และพระอรหัตผล ได้หรือไม่

พระพุทธองค์ตรัสตอบว่า อาจทำให้แจ้งได้เหมือนบุรุษเพศทุกประการ

พระอานนท์กล่าวว่า ถ้าเช่นนั้นควรจะอนุญาตเพื่ออนุเคราะห์
แก่พระนางมหาปชาบดีโคตมี ผู้มีคุณูปการบำรุงเลี้ยงดูพระองค์
มาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ให้สมปรารถนาด้วยเถิด

พระพุทธองค์ตรัสว่า ถ้าปชาบดีโคตมีรับประพฤติครุธรรม ๘ ประการ
และปฏิบัติอยู่ ๒ ปี จึงจะอนุญาตให้บวชได้

พระอานนท์นำครุธรรม ๘ ประการมาแจ้งแก่พระนางมหาปชาบดีโคตมี
พระน้านางได้สดับแล้วยอมรับปฏิบัติได้ทุกประการ
พระพุทธองค์จึงประทานการอุปสมบทให้แก่พระน้านางสมเจตนา
พร้อมศากยขัตติยนารีที่ติดตามมาด้วยทั้งหมด
เมื่อพระนางมหาปชาบดีโคตมีได้อุปสมบทสำเร็จเป็นนางภิกษุณีแล้ว
เรียนพระกรรมฐานในสำนักพระบรมศาสดา บำเพ็ญเพียรด้วยความไม่ประมาท
ไม่นานก็บรรลุพระอรหัตผล พร้อมด้วยภิกษุณีบริวารทั้ง ๕๐๐ รูป


**************************************************

ภิกษุณีรูปแรกในพระพุทธศาสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=35006

พระปชาบดีโคตมีเถรี เอตทัคคะในทางผู้รู้ราตรีนาน
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=6731

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2011, 13:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ


**************************************************

ภาพที่ ๖๗
ปิปผลิปริพาชกขอบวชในพระพุทธศาสนา


ในภาพ...พระพุทธองค์ทรงเสด็จจาริกมคธชนบท ทรงประทับอยู่ใต้ร่มไทร
เรียกว่าพหุปุตตกนิโครธ ในระหว่างกรุงราชคฤห์และเมืองนาลันทาต่อกัน
ในเวลานั้น ปิปผลิมาณพ กัสสปโคตร เบื่อหน่ายการครองเรือน
ได้ออกบวชเป็นปริพากาเมื่อมีอายุมากแล้ว เพื่อค้นหาอาจารย์
พบพระพุทธองค์ เกิดความเลื่อมใสในคำสอน
จึงนับถือพระพุทธองค์เป็นศาสดาแล้วทูลขอบวชเป็นภิกษุ
พระพุทธองค์ทรงประทานอุปสมบทด้วยพระองค์เอง
โดยการประทานโอวาท ๓ ข้อเพื่อละทิฏฐิ ว่า

๑. กัสสปะ เธอพึงศึกษาว่า เราจักเข้าไปตั้งความละอายและยำเกรง
ไว้ในภิกษุทั้งที่เป็นผู้เฒ่า ผู้ปานกลาง และผู้ใหม่อย่างแรงกล้า
๒. ธรรมใดก็ตามที่ประกอบไปด้วยกุศล เราจักเงี่ยหูฟังธรรมนั้น
และพิจารณาเนื้อความแห่งธรรมนั้น
๓. เราจักไม่ละสติที่เป็นไปในกาย
คือ พิจารณาร่างกายเป็นอารมณ์ (กายคตาสติ)

ท่านพระปิปผลิเมื่อได้ฟังพุทธโอวาทแล้วเร่งบำเพ็ญเพียร
ไม่นานนัก ในวันที่แปดนับแต่อุปสมบท ก็ได้สำเร็จพระอรหันต์
เมื่อท่านเข้ามาสู่พระธรรมวินัย
สหธรรมิกทั้งหลายมักเรียกชื่อท่านว่า “พระมหากัสสปเถระ”


**************************************************

พระมหากัสสปเถระ เอตทัคคะในทางผู้ทรงธุดงค์
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=7539

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2011, 13:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ


**************************************************

ภาพที่ ๖๘
พระพุทธองค์ทรงประทานจีวรของพระองค์เอง
แก่พระมหากัสสปเถระ



ในภาพ...เมื่อพระพุทธองค์ทรงประทานอุปสมบทแก่พระมหากัสสปะแล้ว
ทรงเสด็จจากโคนต้นพหุปุตตกนิโครธ โดยมีพระกัสสปะเป็นผู้ตามเสด็จ
ระหว่างทางพระพุทธองค์ทรงแวะประทับนั่ง ณ โคนไม้ต้นหนึ่ง
กัสสปะภิกษุจึงลาดสังฆาฏิของตนสำหรับให้พระพุทธองค์ทรงประทับ
พระบรมศาสดาทรงทราบด้วยพระญาณว่า
บารมีของพระกัสสปะที่สั่งสมมาแล้วนั้น
เพียงพอที่จะครองผ้าที่พระองค์ทรงใช้สอยอยู่

จึงลูบผ้านั้น ตรัสว่า “กัสสปะ สังฆาฏิอันทำด้วยผ้าเก่าของเธอผืนนี้นุ่มดี”
กัสสปะภิกษุทราบว่าพระบรมศาสดามีพระประสงค์จะห่ม
จึงน้อมถวายสังฆาฏินั้นแด่พระพุทธองค์
และขอประทานจีวรเก่าที่พระองค์ทรงใช้อยู่มาห่มแทน

พระพุทธองค์ตรัสว่า “กัสสปะ ธรรมดาว่าจีวรที่เก่าเพราะการใช้
ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย บุคคลผู้สามารถในการบำเพ็ญข้อปฏิบัติจึงสมควรรับ
ด้วยว่าในวันที่เราชักผ้าบังสกุลผืนนี้ มหาปฐพีได้ไหวจนถึงน้ำรองแผ่นดิน”

จากนั้นจึงทรงแลกเปลี่ยนจีวรของพระองค์เอง
ซึ่งได้มาจากการบังสุกุล (ผ้าห่อศพ) นางปุณณาทาสี กับพระกัสสปะ
ในขณะนั้นแผ่นดินได้ไหวอีก เสมือนจะรับรู้ว่าพระองค์ทรงทำสิ่งที่ทำได้ยาก
ด้วยว่าจีวรที่พระองค์ห่มแล้วไม่เคยประทานให้สาวกรูปใดมาก่อน
กล่าวคือ ทรงให้เกียรติพระกัสสปะเสมอพระองค์
และทรงมีเมตตาต่อพระอสีติพุทธสาวกรูปนี้ยิ่งกว่าภิกษุอื่น

กัสสปะภิกษุมิได้ทนงตนว่า เราได้จีวรของพระพุทธเจ้ามาครอง
แต่กลับคิดว่าเราควรจะกระทำสิ่งใดให้ดียิ่งขึ้น จึงสมาทานธุดงค์ ๑๓
ในสำนักของพระพุทธองค์ และถือมั่นอยู่ ๓ ประการ คือ

๑. ถือบังสุกุลจีวรเป็นวัตร
๒. ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร
๓. ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร


**************************************************

ธุดงค์ ๑๓ คืออะไร ?
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=28658

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2011, 13:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ


**************************************************

ภาพที่ ๖๙
พระพุทธองค์ทรงเสด็จไปโปรดจอมโจรองคุลิมาล


ในภาพ...“อหิงสกกุมาร” บุตรพราหมณ์ปุโรหิตแห่งเมืองสาวัตถี
ได้ศึกษาสรรพวิชาอยู่ ณ สำนักทิศาปาโมกข์ เมืองตักศิลา
ผู้เป็นอาจารย์ถูกยุยงว่า อหิงสกะหมายล้มล้างตน
จึงหาทางกำจัดโดยยืมมือผู้อื่นฆ่า และบอกว่าจะสอน “วิษณุมนต์” ให้
แต่มีข้อแม้ว่าจะต้องหานิ้วมือมนุษย์จำนวนหนึ่งพันนิ้วจากหนึ่งพันคนมาบูชาครู
พระพุทธองค์ทรงทราบด้วยพระอนาคตังสญาณว่า
จอมโจรองคุลิมาลกำลังจะทำกรรมหนัก คือ กระทำมาตุฆาต ฆ่ามารดา
(มารดากำลังเดินมาอยู่ระยะไกล) เอานิ้วมาร้อยเป็นมาลัยที่ ๑,๐๐๐ นิ้ว
จึงทรงเสด็จไปขวางทาง และทรงแสดงปาฏิหาริย์ (ความมหัศจรรย์)
ให้ปรากฏโดยพุทธานุภาพ โดยให้แผ่นดินขวางกั้นองคุลิมาล
ให้ตามไม่ทันตลอดระยะทาง ๓ โยชน์ หรือ ๔๘ กิโลเมตร
จนจอมโจรเหนื่อยอ่อน เหงื่อไหล น้ำลายแห้ง

องคุลิมาลตะโกนว่า “หยุดก่อนสมณะ”
พระพุทธองค์ทรงรับสั่งว่า “เราหยุดแล้ว แต่ท่านนั่นแหละยังไม่หยุด”

พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงธรรมจนองคุลิมาลคิดละความเห็นผิด
(ฆ่าบูชาครู) และทูลขออุปสมบทเป็นภิกษุ
พระพุทธองค์ทรงตรวจดูกรรม ก็ทรงทราบว่า
องคุลิมาลนั้นได้เคยถวายภัณฑะ คือบริขารแปดแก่ท่านผู้มีศีลในปางก่อน
จึงทรงเหยียดพระหัตถ์เบื้องขวา ทรงประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทา ตรัสว่า
เอหิ ภิกฺขุ สฺวากฺขาโต ธมฺโม จร พฺรหฺมจริยํ สมฺมาทุกฺขสฺส อนฺตกิริยาย
เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมเรากล่าวไว้ดีแล้ว
จงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบเถิด
ดังนี้ บาตรและจีวรอันสำเร็จด้วยฤทธิ์ปรากฏแก่องคุลิมาล
พร้อมกับพระดำรัสนั้นทีเดียว
ทันใดนั้นความเป็นคฤหัสถ์ขององคลิมาลก็หายไป
ปรากฏเป็นสมณะเลยทีเดียว
พระองคุลิมาลบำเพ็ญเพียรไม่นานก็บรรลุเป็นพระอรหันต์


**************************************************

ประวัติ “พระองคุลีมาลเถระ”
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=7490

พุทธวิธีชนะมารจากบทสวดพุทธชัยมงคลคาถา (พาหุงฯ)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=45321

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2011, 13:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

**************************************************

ภาพที่ ๗๐
นางวิสาขามหาอุบาสิกาถวายผ้าอาบน้ำฝน


ในภาพ...นางวิสาขามหาอุบาสิกา พร้อมหมู่เพื่อนหญิงบริวาร
ได้ขอสมาทานถวาย “ผ้าอาบน้ำฝน” ที่เรียกสั้นๆ ว่า ผ้าอาบ
หรือ “ผ้าวัสสิกสาฎก” (อ่านว่า วัด-สิ-กะ-สา-ดก)
แด่พระพุทธเจ้าและพระภิกษุสงฆ์จนตลอดชีวิต
ซึ่งสมัยนั้นยังมิได้มีพุทธบัญญัติการถือครองผ้าเกิน ๓ ผืน


สำหรับต้นเหตุการถวายผ้าอาบน้ำฝนนั้น
สมัยก่อน พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระภิกษุ
ใช้ผ้าเพียงสามผืนเท่านั้น คือ จีวร (ผ้าห่ม เรียกว่า อุตราสงค์)
สบง (ผ้านุ่ง เรียกว่า อัตราวาสก) สังฆาฏิ (ผ้าห่มซ้อน)
เฉพาะผ้าสังฆาฏินั้น ปัจจุบันนี้พระสงฆ์ไทยเอามาพาดบ่า
เป็นสายสะพายไปเสียแล้ว
สมัยพุทธกาลใช้ห่มซ้อนเวลาอากาศหนาวมาก
ในพุทธประวัติปรากฏว่า พระพุทธองค์ทรงใช้ปูลาดสำหรับบรรทมด้วย
ดังพระอานนท์ได้ลาดผ้าสังฆาฏิถวายให้พระองค์บรรทม
ขณะเสด็จถึงแม่น้ำกกุธานที
ก่อนที่จะเสด็จไปดับขันธปรินิพพานที่กรุงกุสินารา

พระสงฆ์สมัยพุทธกาลนั้น เวลาอาบน้ำ
ก็เปลือยกายอาบน้ำกันเพราะไม่มีผ้านุ่งอาบน้ำ
จนนางวิสาขาเห็นความลำบากของพระสงฆ์
จึงขอพรจากพระพุทธเจ้า ขอถวายผ้าสำหรับอาบน้ำแก่พระสงฆ์

เรื่องมีว่า วันหนึ่งนางวิสาขาทูลอาราธนาพระพุทธองค์
พร้อมภิกษุสงฆ์ไปเสวยภัตตาหารที่บ้านของตนในวันรุ่งขึ้น
พระพุทธองค์ทรงรับด้วยดุษณีภาพ (คือรับด้วยอาการนิ่ง)
นางกลับถึงบ้าน ก็สั่งเตรียมอาหารไว้สำหรับถวายพระในวันรุ่งขึ้น
บังเอิญว่าตอนเช้ามืดฝนตกหนัก
ภิกษุทั้งหลายก็พากันอาบน้ำก่อนที่จะไปฉันข้าว
นางวิสาขาสั่งให้สาวใช้ไปนิมนต์พระ
หลังจากตระเตรียมทุกอย่างไว้พร้อมแล้ว
สาวใช้ไปที่วัดพระเชตวัน
บังเอิญพระคุณเจ้าบางรูปยังอาบน้ำไม่เสร็จ
สาวใช้แลไปเห็นพระคุณเจ้าเปลือยกายล่อนจ้อนอาบน้ำอยู่
ก็รีบกลับไปรายงานนายหญิงว่า

“ไม่มีพระสงฆ์อยู่เลยเจ้าค่ะ”

“ไม่มีได้อย่างไร
ฉันนิมนต์พระพุทธองค์พร้อมภิกษุสงฆ์ไว้แล้ว เมื่อวานนี้”
นางวิสาขาสงสัย

“ไม่มีจริงๆ เจ้าค่ะ เห็นแต่พวกชีเปลือยเต็มวัดไปหมดเลย”
สาวใช้ยืนยัน


สาวใช้เข้าใจอย่างนั้นจริงๆ เพราะในอินเดียสมัยนั้น (สมัยนี้ก็ยังมีอยู่)
นักบวชประเภทไม่นุ่งผ้ามีเป็นจำนวนมาก
อย่าง
พระเชน (ศิษย์ของศาสดามหาวีระ หรือนิครนถนาฏบุตร)
และพวกอเจลกะก็ไม่นุ่งผ้า
ท่านเหล่านี้ได้รับความนับถือบูชาจากชาวชมพูทวีป
ไม่น้อยไปกว่าพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา

นางวิสาขาเป็นคนฉลาด พอได้ยินสาวใช้รายงานเช่นนั้น
ก็รู้ทันทีว่าอะไรเป็นอะไร
เมื่อพระพุทธเจ้าพร้อมภิกษุสงฆ์เสวยภัตตาหารเสร็จ
นางวิสาขาจึงกราบทูลขอพรจากพระพุทธองค์

“เราตถาคตเลิกให้พรแล้ว วิสาขา” พระพุทธองค์ตรัส

“ได้โปรดเถิด หม่อมฉันทูลขอพรที่เหมาะสม ไม่มีโทษพระพุทธเจ้าข้า”

“จงบอกมาเถิด วิสาขา”


หม่อมฉันปรารถนาจะถวายผ้าวัสสิกสาฎก (ผ้าอาบน้ำฝน) สำหรับภิกษุ
ถวายภัตเพื่อพระอาคันตุกะ ถวายภัตเพื่อพระที่เตรียมจะเดินทาง
ถวายภัตเพื่อพระอาพาธ ถวายภัตเพื่อพระที่พยาบาลพระอาพาธ
ถวายเภสัชแก่ภิกษุอาพาธ ถวายข้าวยาคูประจำสำหรับภิกษุ
ถวายผ้าอุทกสาฏิกา (ผ้าผลัดอาบน้ำของนางภิกษุณี)
จนตลอดชีวิตพระเจ้าข้า


“เธอเห็นประโยชน์อะไร จึงปรารถนาจะถวายสิ่งเหล่านี้”
พระพุทธองค์ตรัสถาม


นางวิสาขากราบทูลว่า...
วันนี้หม่อมฉันสั่งให้สาวใช้ไปนิมนต์พระ
นางไปเห็นพระสงฆ์กำลังอาบน้ำอยู่ นึกว่าเป็นพวกชีเปลือย
หม่อมฉันจึงคิดว่า พระภิกษุเปลือยกายอาบน้ำไม่งาม
และไม่เป็นที่เลื่อมใสของคนทั้งหลาย
และคนเขาจะไม่เห็นความแตกต่างระหว่าง
ชีเปลือยนอกศาสนากับพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา
และเห็นว่ามีสิ่งจำเป็นอื่นๆ อีกที่พระสงฆ์ต้องการ
จึงอยากถวายทั้ง ๘ ประการ พร้อมกราบทูลเหตุผลให้ทรงทราบ


เมื่อนางวิสาขากราบทูลเหตุผลจบสิ้นลง
พระพุทธองค์จึงตรัสว่า วิสาขา เธอเห็นอานิสงส์ ๘ ประการนี้
จึงขอพรจากเราตถาคต
เราตถาคตอนุญาตพรทั้ง ๘ ประการนี้ แล้วตรัสอนุโมทนาว่า

“สตรีใดให้ข้าวให้น้ำ มีใจเบิกบานแล้ว สมบูรณ์ด้วยศีล
เป็นสาวิกาของพระสุคต ครอบงำความตระหนี่ได้แล้ว
บริจาคทาน อันเป็นเหตุแห่งสวรรค์
เป็นเครื่องบรรเทาความโศก นำมาซึ่งความสุข
สตรีนั้นอาศัยมรรคปฏิบัติ ไม่มีกิเลสเป็นเครื่องยั่วใจปราศจากธุลี
ย่อมได้กำลังและอายุเป็นทิพย์

สตรีผู้ประสงค์บุญนั้น เป็นคนมีความสุขสมบูรณ์ด้วยพลานามัย
ย่อมปลื้มใจในสวรรค์สิ้นกาลนาน”


นางวิสาขาจึงเป็นคนแรกที่ได้ถวายผ้าอาบน้ำฝนแก่พระสงฆ์

พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสอนุญาตให้ชาวบ้าน
ถวายผ้าอาบน้ำฝนแก่พระสงฆ์ได้ตั้งแต่บัดนั้นมา


**************************************************

:b47: :b44: :b47:

ประเพณีการถวายผ้าอาบน้ำฝน
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=23&t=38930

ประวัติ “นางวิสาขามหาอุบาสิกา”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=71&t=57225

เบญจกัลยาณีนางวิสาขา
http://www.dhammajak.net/book/anon/anon13.php
http://www.dhammajak.net/book/anon/anon14.php

• รวมกระทู้ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับ “วันเข้าพรรษา” •
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=23&t=45498

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2011, 13:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ


**************************************************

ภาพที่ ๗๑
พระพุทธองค์ทรงยกย่องพระมหากัจจายนะ
เป็นผู้เลิศในการขยายความ



ในภาพ...พระพุทธองค์ทรงประทับอยู่ ณ วัดเชตวันมหาวิหาร
พระมหากัจจายนะและหมู่ภิกษุได้ฟังพระธรรมเทศนาจากพระพุทธองค์
ซึ่งทรงแสดงแต่เพียงย่อๆ ภิกษุหมู่หนึ่งอันมีพระสมิทธิเถระ เป็นต้น
ได้เข้าไปหาพระมหากัจจายนะ
ท่านได้อธิบายความย่อที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงนั้น

พระพุทธองค์จึงทรงแต่งตั้งพระมหากัจจายนะ
ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะผู้เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย
ในฝ่ายผู้อธิบายเนื้อความย่อให้พิสดาร


**************************************************

ประวัติ “พระมหากัจจายนเถระ”
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=7544

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2011, 13:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ


**************************************************

ภาพที่ ๗๒
พระพุทธองค์ทรงทัศนาเมืองเวสาลีเป็นครั้งสุดท้าย


ในภาพ...พระพุทธองค์ทรงพาภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ รูปเสด็จไปเมืองเวสาลี
(ไพศาลี) แห่งกษัตริย์ลิจฉวี ประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ในป่ามหาวัน
ทรงพระกรุณาประทานพระธรรมเทศนาโปรดกษัตริย์ลิจฉวีทั้งหลาย
จากนั้นทรงพาภิกษุสงฆ์เสด็จออกจากพระนคร
เสด็จประทับยืนอยู่หน้าเมืองเวสาลี เยื้องพระกายผินพระพักตร์
ทอดพระเนตรเมืองเวสาลีประหนึ่งว่าทรงอาลัยเมืองเวสาลีเป็นที่สุด
พร้อมกับรับสั่งกับพระอานนท์ว่า
“อานนท์ การเห็นเมืองเวสาลีของตถาคตครั้งนี้นับเป็นการเห็นครั้งสุดท้าย”
แล้วพระบรมศาสดาก็เสด็จไปประทับกลางวันที่ร่มพฤกษาแห่งหนึ่งในปาวาลเจดีย์
ก่อนจะทรงรับอาราธนาของพระยาสวัสสวดีมารให้เสด็จดับขันธ์


**************************************************

ปัจฉิมทัศนา ณ เวสาลี
http://www.dhammajak.net/book/anon/anon22.php

พระมหาสถูปแห่งเกสเรีย ที่ประดิษฐานบาตรของพระพุทธเจ้า
ที่ทรงประทานแก่ชาวเมืองไวสาลี ก่อนสด็จไปยังกรุงกุสินารา

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=48096

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2011, 13:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ


**************************************************

ภาพที่ ๗๓
พระยาสวัสสวดีมารทูลอาราธนาให้เสด็จดับขันธปรินิพพาน


ในภาพ...พระพุทธเจ้าทรงเจริญอิทธิบาท ๔ มีพระรัศมีสว่างไสว
พระยาสวัสสวดีมารได้ถือโอกาสเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ได้ทูลอาราธนาว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า
บัดนี้บริษัท ๔ ของพระองค์ได้เจริญแพร่หลายแล้ว
พระศาสนาได้ดำรงมั่นเป็นหลักฐานสมดังมโนปณิธานแล้ว
ขออาราธนาพระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานเถิด”

พระผู้มีพระภาคทรงรับอาราธนา ตรัสว่า
“ดูกรมาร ท่านจงมีความขวนขวายน้อยเถิด
อย่าทุกข์ใจไปเลย ไม่ช้าแล้วตถาคตก็จักปรินิพพาน
กำหนดการแต่นี้ล่วงไปอีก ๓ เดือนเท่านั้น”

ครั้นพระยามารได้สดับพระพุทธดำรัสเช่นนั้น
ก็มีจิตโสมนัสยินดี แล้วก็อันตรธานจากสถานที่นั้นไป

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ากำหนดพระทัยทรงปลงพระชนมายุสังขาร
ณ ปาวาลเจดีย์ ในวันมาฆปุรณมี เพ็ญเดือน ๓
ครั้งนั้นก็บังเกิดเหตุอัศจรรย์ พื้นแผ่นพสุธาโลกธาตุก็กัมปนาทหวั่นไหว
ประหนึ่งว่าแสดงความทุกข์ใจ อาลัยในพระผู้มีพระภาคเจ้า
จะเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานในกาลไม่นาน ต่อนี้ไปอีก ๓ เดือนเท่านั้น


**************************************************

พระพุทธโอวาท ๓ เดือนก่อนปรินิพพาน
เนื้อเรื่องโดย อาจารย์วศิน อินทสระ

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=11417

สถานที่ทรงกระทำนิมิตโอภาส ๑๖ ตำบลให้พระอานนท์ทราบ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=47111

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2011, 13:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ


**************************************************

ภาพที่ ๗๔
นายจุนทะถวาย “สูกรมัททวะ” ภัตตาหารมื้อสุดท้าย
แด่พระพุทธองค์ ในเช้าวันเสด็จดับขันธปรินิพพาน



ในภาพ...จุนทกัมมารบุตร (นายจุนทะ) บุตรช่างทอง ชาวเมืองปาวา
พร้อมภรรยาและบริวาร ถวาย “สูกรมัททวะ” ภัตตาหารมื้อสุดท้าย
แด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เรือนตน ในเช้าวันเสด็จดับขันธปรินิพพาน

พระพุทธองค์ทรงตรัสแก่นายจุนทะว่า “สูกรมัททวะซึ่งท่านเตรียมไว้นั้น
จงอังคาส (ถวาย) เฉพาะแต่ตถาคตเพียงผู้เดียว
ส่วนที่เหลือนั้นให้ขุดหลุมฝังเสีย
และจงอังคาส (ถวาย) ภิกษุสงฆ์ทั้งหลายด้วยอาหารอย่างอื่นๆ เถิด”

นายจุนทะกระทำตามพระพุทธบัญชา
ครั้นเสร็จภัตกิจแล้วก็ตรัสอนุโมทนาให้นายจุนทะ
เบิกบานในไทยทานที่ถวายแล้ว ก็ทรงเสด็จกลับไปสู่สวนอัมพวัน
เมื่อพระพุทธองค์ทรงเสวยภัตตาหารของนายจุนทะในวันนั้น
ก็ทรงประชวรพระโรค “โลหิตปักขันทิกาพาธ” มีกำลังกล้าลงพระโลหิต
(อาการท้องร่วงเป็นโลหิต) เกิดทุกขเวทนามาก
ได้แสดงปุพพกรรมที่ทรงทำไว้ในชาติก่อนแก่พระอานนท์แล้วตรัสว่า
“อานนท์ เราจะไปสู่เมืองกุสินารานคร”
พระอานนท์รับพระบัญชาแจ้งให้ภิกษุสงฆ์ทั้งหลายตามเสด็จ

พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสแก่พระอานนท์ว่า
“อานนท์ ต่อไปภายหน้าหากจะพึงมีใครทำความร้อนใจ
แก่นายจุนทกัมมารบุตร ว่าเพราะบิณฑบาตที่ท่านถวายพระผู้มีพระภาค
ครั้งสุดท้ายแล้วเสด็จดับขันธปรินิพพาน พึงทำความสบายใจให้แก่นายจุนทะว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสสรรเสริญว่า บิณฑบาตที่ถวายพระตถาคต ๒ ครั้ง
คือ ครั้งที่พระตถาคตเสวยแล้วได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
และครั้งที่พระตถาคตเสวยแล้วเสด็จดับขันธปรินิพพาน
เป็นทานมีผลมาก มีอานิสงส์มากกว่า
บิณฑบาตทานทั้งหลายเป็นกุศลกรรม
ทำให้เจริญอายุ วรรณะ สุข ยศ และสวรรค์ ดังนี้เถิด”

กล่าวคือ การได้ฉันอาหารวิเศษนี้มีผลบุญเท่าเทียมกันกับ
ข้าวมธุปายาสของนางสุชาดาที่ฉันแล้วได้ตรัสรู้

สูกรมัททวะที่พระพุทธองค์เสวยเป็นที่ถกเถียงกันในหมู่ชาวพุทธ
ทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายาน ต่างตีความเข้าข้างตนเอง
กล่าวคือ ทางฝ่ายมหายานหรือสำนักที่ไม่ทานเนื้อสัตว์
ก็ตีความว่าเป็นเห็ดชนิดหนึ่งที่หมูชอบกิน
แต่ฝ่ายเถรวาทตีความว่าเป็นเนื้อสุกรอ่อน หรืออาหารชนิดหนึ่ง
หรือสมุนไพรชนิดหนึ่ง มีข้อความหนึ่งที่นำมาจาก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒
หน้าที่ ๗๔๘ เรื่องธรรมดาของพระพุทธเจ้า (มี ๓๐ ข้อ ยกมา ๒ ข้อ)
ข้อ ๘ เสวยข้าวมธุปายาส ในวันที่ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณ
ข้อ ๒๙ เสวยรสมังสะ ในวันปรินิพพาน

ถ้าข้อธรรมนี้ปรากฏจริงในพระไตรปิฎกมาแต่เดิมและไม่คลาดเคลื่อน
และคำว่า รสมังสะ คืออาหารที่เป็นเนื้อสัตว์ ตรงนี้น่าจะสรุปได้ว่า
พระพุทธองค์เสวยเนื้อสุกรอ่อนในวันปรินิพพาน
หรือมิฉะนั้นก็เสวยเนื้อสัตว์อื่นๆ ในวันนั้นด้วย
และขยายความต่อไปได้อีกว่า โดยปกติพระองค์เสวยอาหารที่ไม่มีเนื้อสัตว์
ทำให้กระเพาะอาหารหรือน้ำย่อยไม่คุ้นเคยกับเนื้อสัตว์
(ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีในหมู่ผู้ที่ทานมังสวิรัติมานานแล้ว กลับมาทานเนื้อสัตว์
อาจถึงขั้นปากพองหรืออาหารเป็นพิษ) เป็นเหตุแห่งพระโรค


**************************************************

• รวมกระทู้ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับ “การกินเจ-มังสวิรัติ” •
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=19&t=39721

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2011, 13:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ


**************************************************

ภาพที่ ๗๕
พระอานนท์พุทธอุปัฎฐากถวายน้ำที่ริมฝั่งแม่น้ำโรหิณี


ในภาพ...พระพุทธเจ้าทรงประทับอยู่ใต้ร่มไม้ริมลำธาร
ตรัสให้พระอานนท์ พุทธอุปัฎฐาก นำบาตรไปตักน้ำที่ริมฝั่งแม่น้ำโรหิณี
ระหว่างทางเสด็จที่มุ่งสู่เมืองกุสินารา มาถวาย
ทรงตรัสว่า “เราจักดื่มน้ำระงับความกระหายให้สงบ”

พระอานนท์กราบทูลว่า “แม่น้ำตื้นเขิน เกวียนประมาณ ๕๐๐ เล่ม
ของพวกพ่อค้าเกวียนเพิ่งข้ามแม่น้ำผ่านไปเมื่อสักครู่นี้
เท้าโคล้อเกวียนบดย่ำทำให้น้ำในแม่น้ำขุ่น
อีกไม่ไกลแต่นี้มีแม่น้ำสายหนึ่งชื่อ กกุธานที มีน้ำใส
จืดสนิท เย็น มีท่าน้ำสำหรับลงเป็นที่รื่นรมย์
ขอเชิญเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าไปที่แม่น้ำนั้นเถิด พระเจ้าข้า”

พระพุทธองค์ทรงตรัสปฏิเสธคำทูลทัดทานของพระอานนท์ถึง ๓ ครั้ง
พระอานนท์จึงอุ้มบาตรเดินลงไปตักน้ำในแม่น้ำนั้น
ครั้นทำท่าจะตัก พระอานนท์ก็อัศจรรย์ใจ รำพึงว่า
“ความที่พระตถาคตมีฤทธิ์และอานุภาพใหญ่หลวงเช่นนี้
เป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก แม่น้ำนี้ขุ่นนัก
เมื่อเราเข้าไปใกล้เพื่อจะตัก น้ำกลับใสสะอาดไม่ขุ่นมัว”


**************************************************

กรรมของพระพุทธเจ้าสมณโคดม
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=2331

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 91 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 3 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร