วันเวลาปัจจุบัน 18 เม.ย. 2024, 20:58  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านกรรมแห่งกรรมจากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=4



กลับไปยังกระทู้  [ 31 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ต.ค. 2008, 10:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ต.ค. 2008, 09:21
โพสต์: 5


 ข้อมูลส่วนตัว


คนที่มีอาชีพขายแมลงทอดจะบาปมั้ยคะ
เพราะขายชีวิตสัตย์หลายร้อยตัว
แบบนี้เราต้องได้รับกรรมมั้ยคะ

**แมลงรับมาจากร้านอีกต่อ ถึงจะมาทอดขายค่ะ**
ไม่ได้ไปฆ่าแล้วเอามาขาย

ช่วยตอบให้กระจ่างด้วยนะคะ

ขอบคุณค่ะ
:b41: :b46: :b41:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ต.ค. 2008, 12:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ค. 2008, 23:37
โพสต์: 449

ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าจะขาย ก็ควรเลือกที่ที่ตายแล้ว อย่าไปฆ่าเอง ไม่งั้นบาปหนักแน่ ๆ โลกนี้การเอาตัวรอดเป็นสิ่งสำคัญ ถ้าไม่ทำก็มีชีวิตอยู่ได้ยาก พยายามทำบุญให้มันเยอะ ๆ จะลดวิบากได้ อย่างมีคนถามว่า อดีตผู้นำของประเทศไทยทำกรรมอะไร ถึงเป็นมหาเศรษฐี และเพราะอะไร ถึงต้องโดนยึดอำนาจกระทันหัน ซึ่งผู้ทรงอภิญญาได้ตอบว่า
อดีตชาติท่านได้เกิด เป็นเจ้าเมืองทางภาคเหนือ ชอบทำบุญกุศล แต่มีความลำเอียงในการปูนบำเหน็จ
เสนาอำมาตย์ ให้รางวัลแต่พวกประจบสอพลอ ทำให้พวกอำมาตย์ผูกใจโกรธแค้น เมื่อกลับมาเกิดอีก ก็ได้เกิดเป็นลูกครอบครัวคนจีน และผู้เป็นบิดา นั้นได้เป็นอุปัฏฐาก ของหลวงปู่มั่น เมือคราวที่ฟันของท่านหลุดออกมา
ได้กลายเป็นพระ ทันตธาตุ และได้ให้ผู้เป็นบิดาเก็บรักษาไว้ ลักษณะของเด็กน้อยตอนเกิด เป็นเด็กผิวขาวผิวพรรณดี เป็นเครื่องบ่งบอกว่า เป็นผู้มีบุญญาบารมี เขาเป็นผุ้มีสติปัญญาดี และเมื่อลงทุนทำธุรกิจก็เหมือนฟ้าบันดาล ทำอะไรก็เจริญไปหมด และได้ก้าวสู่เป็นผุ้นำประเทศ แต่อำมาตย์ที่ผูกใจเจ็บก็มาเกิดในยุคเดียวกันเพื่อหาทางทำลาย พร้อมกับในช่วงที่มีโรคที่เกิดกับสัตว์ เขาก็ไม่ได้คิดถึงอกเขาอกเรา ว่าสิ่งมีชีวิตนั้นล้วนรักชีวิตของตัว และได้สั่งฆ่าเป็นจำนวนมาก แต่เมื่อสั่งฆ่าแล้วก็ไม่ได้ทำบุญอุทิศไปให้ ทำให้สัตว์เหล่านั้นผูกอาฆาต
รวมทั้งเขาชอบบุชาแต่เทพเทวดา ภายนอกประเทศ ทำให้เทพเทวดา
ภายในประเทศไม่พอใจ ทั้งหมดนี้รวมกันส่งผลเขาให้แพ้ภัยของตัวเอง

.....................................................
สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ต.ค. 2008, 14:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


คำถามนี้ ตอบรวมๆไม่ได้

ต้องแยกแยะ รายละเอียดให้ดี ระหว่าง

1.รับซื้อแมลงเป็นๆ มาทอดขาย ซึ่งต้องลงมือฆ่าเองแน่นอน.... ถ้าเป็นเช่นนี้ บาปแน่นอน

2.สั่งให้ผู้อื่นฆ่าแมลงมาก่อน แล้วเราไปนำมาทอดขายอีกที ....ข้อนี้ อาจบาปหนักกว่าข้อ1เสียอีก เพราะ เราดันไปสั่งเขาฆ่า คนฆ่าเขาเลยต้องมาบาปด้วยกับเรา

3.รับซื้อแมลงที่ตายแล้ว.... ไม่ว่าจะตายเอง.... หรือ คนอื่นเขาฆ่ามาก่อนหน้านั้นแล้ว โดยเราไม่ได้ไปสั่งให้เขาฆ่า.... มาทอดขาย อย่างนี้ไม่บาป




ลองพิจารณาเปรียบเทียบ

อ้างคำพูด:
คำถาม

หากเรานำเนื้อสัตว์ หรือแมลงที่ตายแล้ว มาปรุงอาหาร โดยที่ไม่ได้ฆ่าเอง จะเป็นการผิดศีลข้อที่ 1 หรือไม่



ลอง พิจารณาทีล่ะประเด็น

1.การปรุงอาหารจากเนื้อสัตว์(รวมทั้งแมลงที่ตายแล้ว) เป็น ปาณาติบาต ไหม

2.การปรุงอาหารจากเนื้อสัตว์(รวมทั้งแมลงที่ตายแล้ว) เป็น มังสวณิชชา ไหม



กรณี ปานาติบาต

องค์แห่ง ปาณาติบาต มีดังนี้

ปาณาติบาต มีองค์ ๕

๑. ปาโณ สัตว์นั้นมีชีวิต
๒. ปาณสญฺญิตา รู้ว่าสัตว์นั้นมีชีวิต
๓. วธกจิตฺตํ จิตคิดจะฆ่า
๔. อุปกฺกโม ทำความเพียรเพื่อฆ่า
๕. เตน มรณํ สัตว์ตายเพราะความเพียรนั้น

จะเห็นว่า การปรุงอาหารจากเนื้อสัตว์ หรือ แมลงที่ตายแล้ว(ที่เราไม่ได้ฆ่า หรือ สั่งฆ่าโดยตรง)นั้นไม่ได้มีเจตนาในการฆ่าเลย.....

ปาโณ สัตว์นั้นมีชีวิต...... แต่ที่ นำมาปรุงเพื่อบริโภคนั้น คือ ซากสัตว์ ซึ่งไม่มีชีวิตแล้ว ข้อนี้ตกไป
ปาณสญฺญิตา รู้ว่าสัตว์นั้นมีชีวิต...... ถ้าใครคิดว่าเนื้อสัตว์ที่ได้ตายไปแล้ว หรือ ซากแมลงที่ตายแล้ว ยังคงจัดว่าเป็นสิ่งที่ยังคงมีชีวิตอยู่ ก็คงคุยด้วยลำบากแล้ว
วธกจิตฺตํ จิตคิดจะฆ่า...... จะไปฆ่าอะไร กับสิ่งที่ไม่มีชีวิตอยู่แล้ว
เมื่อ 3ข้อแรกตกไปแล้ว ข้อ4และข้อ5ก็คงไม่ต้องวิเคราะห์ต่อแล้ว.....

"การนำเนื้อสัตว์ หรือ แมลงที่ตายแล้ว มาปรุงเพื่อบริโภค" กับ "ปาณาติบาต" จึงไม่ได้ใกล้เคียงกันเลย ถ้าใช้พระไตรปิฎกของเถรวาทเป็นหลักพิจารณา



กรณี มังสวณิชชา

คำว่า มังสวณิชชา นี้... มีคนเข้าใจผิดกันมาก ว่า การขายลูกชิ้น(เช่น ไปรับมาทำก๋วยเตี๋ยวขาย) การขายฮอทดอกทอด ก็ จัดเป็น มังสวณิชชา... รวมทั้ง อาจจะมีบางท่านเข้าใจว่า การนำแมลงที่ตายแล้วมาทอดขาย เป็นมิจฉาอาชีวะ..ไหม?

ตรงจุดนี้ ขอบอกก่อนว่า ต้องใช้REFERENCEมาตรฐานเดียวกัน
ไม่อย่างนั้น คุยกันคนล่ะโลกแน่ๆ

ผมอ้างอิงจาก

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=มิจฉาวณิชชา

มิจฉาวณิชชา การค้าขายไม่ชอบธรรม, การค้าขายที่ผิดศีลธรรม
หมายถึง อกรณียวณิชชา (การค้าขายที่ อุบาสกไม่ควรทำ) ๕ อย่าง คือ
๑. สัตถวณิชชา ค้าอาวุธ
๒. สัตตวณิชชา ค้ามนุษย์
๓. มังสวณิชชา ค้าสัตว์สำหรับฆ่าเป็นอาหาร
๔. มัชชวณิชชา ค้าของเมา
๕. วิสวณิชชา ค้ายาพิษ



การค้าสัตว์สำหรับฆ่าเป็นอาหาร เช่นอะไรบ้าง
เช่น ไปรับซื้อวัวควายจากที่ต่างๆ แล้วไปส่งโรงฆ่าสัตว์....การไปรับซื้อปลาจากบ่อของชาวบ้านมาส่งตลาด... การไปรับซื้อแมลงเป็นๆมาส่งให้ร้านทอด และ ๆลๆ

การปรุงอาหารจากเนื้อสัตว์ หรือ แมลงที่ตายแล้ว.... ไม่ว่าจะบริโภคเอง หรือ ให้ผู้อื่นบริโภค ไม่เกี่ยวกับมังสวณิชชา

ลองหา อ่าน
พระสูตรที่ท่านสีหเสนาบดีให้คนรับใช้ไปหาเนื้อมาทำภัตตาหารถวายพระพุทธองค์จนเป็นเหตุให้นักบวชศาสนาเชนกล่าวตู่โทษพระพุทธองค์ดู... ท่าน สีหเสนาบดีบรรลุโสดาบันแล้ว ในขณะนั้น ท่านยังให้คนรับใช้ไปซื้อเนื้อในตลาดมาปรุงภัตตาหารถวายพระพุทธองค์ได้... พระโสดาบัน ท่านศีล5บริสุทธิ์ และ มีสัมมาอาชีวะ แน่นอนครับ ขอยืนยัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ต.ค. 2008, 14:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 มิ.ย. 2008, 22:40
โพสต์: 1769

แนวปฏิบัติ: กินแล้วนอนพักผ่อนกายา
งานอดิเรก: ปลุกคน
สิ่งที่ชื่นชอบ: Tripitaka
ชื่อเล่น: สมสีสี
อายุ: 0
ที่อยู่: overseas

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b4: สาธุครับคุณหมอ

.....................................................
ศีล ๕ รักษาตนไม่ให้เกิดในอบายภูมิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ต.ค. 2008, 18:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


beum เขียน:
คนที่มีอาชีพขายแมลงทอดจะบาปมั้ยคะ
เพราะขายชีวิตสัตย์หลายร้อยตัว
แบบนี้เราต้องได้รับกรรมมั้ยคะ

**แมลงรับมาจากร้านอีกต่อ ถึงจะมาทอดขายค่ะ**
ไม่ได้ไปฆ่าแล้วเอามาขาย

ช่วยตอบให้กระจ่างด้วยนะคะ

ขอบคุณค่ะ
:b41: :b46: :b41:

กระผมไม่แน่ใจนะครับว่าบาปรึป่าว(แต่ความคิดส่วนตัวก็น่าจะเป็นบาปอยู่หรอกครับ) แต่กรรมนั้นต้องได้รับแน่นอนครับ อย่างน้อยการที่ท่านไม่สบายใจอยู่นี่ ก็เป็นการรับกรรมอยู่แล้วครับ

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ต.ค. 2008, 19:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่บาปครับ ถ้าจิตของคุณไม่คิดเป็นอกุศล

อาชีพเพชรฆาต อาชีพทหาร ตำรวจ ที่ต้องฆ่าคนก็ไม่บาป ถ้าจิตของเขาไม่คิดเป็นอกุศล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ต.ค. 2008, 20:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


การฆ่าสัตว์ตามหน้าที่ไม่ได้เป็นบาป ถ้าจิตไม่คิดเป็นอกุศล ขนาดเพขรฆาตฆ่าคนตามหน้าที่
ยังไม่เป็นบาปเลย ผมขอยกเรื่องราวของพระสารีบุตรที่สอนเพชรฆาตมาอ้าง

พระสารีบุตรสอนเพชรฆาต โดยพระสารีบุตรถามเพชรฆาตที่มีอาชีพฆ่าคนว่า "ท่านฆ่าเอง หรือ ทำตามคำสั่ง
ใคร"

เพชรฆาตตอบว่า "ข้าพเจ้า ทำตามคำสั่งพระราชา"

พระสารีบุตรย้อนถามว่า "เมื่อท่านไม่ฆ่าเอง แล้วจะมีบาปด้วยหรือ" (เป็นคำถาม ไม่ได้โกหก)

เพชรฆาตเคราแดง เลยเข้าใจว่า เออ งั้นคงไม่เป็นบาป แล้วก็สบายใจ ใจน้อมจนเข้าถึงธรรมพอดี แล้วก็ได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน


จิตใต้สำนึกจะบอกคุณเองว่า บาปหรือไม่บาป เป็นหน้าที่หรือเป็นเจตนาที่คุณฆ่าเอง ถ้าเป็นหน้าที่ก็
ไม่บาป สำคัญที่คุณต้องไม่นำบาปมายัดใส่ตัวคุณเองเท่า

บาปกรรมก็คือ การกระทำโดยเจตนาในจิตที่คิดเป็นอกุศล ถ้าจิตไม่คิดเป็นอกุศล ก็ไม่มีบาปเกิดขึ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ต.ค. 2008, 20:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


beum เขียน:
คนที่มีอาชีพขายแมลงทอดจะบาปมั้ยคะ
เพราะขายชีวิตสัตย์หลายร้อยตัว
แบบนี้เราต้องได้รับกรรมมั้ยคะ

**แมลงรับมาจากร้านอีกต่อ ถึงจะมาทอดขายค่ะ**
ไม่ได้ไปฆ่าแล้วเอามาขาย

ช่วยตอบให้กระจ่างด้วยนะคะ

ขอบคุณค่ะ
:b41: :b46: :b41:


เมื่อคุณต้องการให้ตอบอย่างกระจ่าง ผมก็ขอตอบอย่างกระจ่าง ผมเคยเสนอเรือง

ผิดศีล 5 ไม่ใช่เกณฑ์ในการตัดสินว่า สิ่งนั้นเป็นความชั่ว ลองอ่านซิครับ แล้วคุณจะเข้าใจที่มาของบาปกรรม

--------------------------------------------------------------------------------------------------

พระพุทธเจ้าทรงให้ละความชั่ว ทำแต่ความดี คนทั่วไปมักคิดว่า ถ้าเราผิดศีล 5 ซึ่งเป็นข้อบังคับที่ต้องปฏิบัติ คือ เราไปฆ่าเขา ไปลักทรัพย์ ไปโกง ไปฉ้อเขา ไปประพฤติผิดทางเพศ ไปปดหลอกลวงเขา ไปดื่มเหล้า ไปเสพสิ่งเสพติด มีกัญชา ฝิ่น ฯลฯ การกระทำเหล่านี้ถือเป็นบาป

ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะศีล 5 เป็นแค่ข้อปฏิบัติในกรณีส่วนใหญ่ แต่ไม่ใช่ข้อปฏิบัติที่ใช้ได้ในทุกกรณี การใช้ศีล 5 เป็นเกณฑ์ในการตัดสินว่า สิ่งนั้นเป็นบาปเป็นความชั่ว ในบางกรณีจึงใช้ไม่ได้

ในหลักพระพุทธศาสนา "กรรม" หรือ การกระทำ แบ่งเป็น กุศลกรรม และอกุศลกรรม เกณฑ์ในการวินิจฉัยว่าสิ่งใดเป็นกรรมดี และสิ่งใดเป็นกรรมชั่ว ตัวที่ตัดสิน คือ [/b[b]]....... เจตนา(ความตั้งใจ) .......

พระพุทธเจ้าตรัสว่า "เจตนาหํ ภิกขฺเว กมฺมํวทามิ ภิกษุทั้งหลาย เรา(ตถาคต)กล่าวว่า เจตนาเป็นกรรม"

ดังนั้น

ถ้าเรามีเจตนา(ตั้งใจ)ทำกรรมใดออกไปด้วย อกุศลจิต กรรมนั้นถือว่าเป็นบาป หรือความชั่ว แต่ถ้าเราเจตนาทำกรรมใดออกไปด้วยกุศลจิต กรรมนั้นก็ถือว่าเป็นบุญ

ตัวอย่าง ถ้ามีโจรกำลังจี้ชิงทรัพย์ หรือกำลังข่มขืน คนอื่นอยู่ เราเห็นเข้าเราก็ตะโกนไปว่า "ตำรวจมา" "ตำรวจมา" เราผิดศีล 5 ข้อหามุสาแน่นอน แต่ทว่าการมุสาครั้งนี้ไม่ได้ถือว่าเป็นบาป เพราะเราไม่มีเจตนาอกุศล เจตนาคือกรรม เจตนาหรือความตั้งใจของเรา เพื่อช่วยคนที่กำลังเดือดร้อนจากการถูกเบียดเบียน ..... การมุสาครั้งนี้จึงถือว่าเป็นบุญ

สรุป เกณฑ์ในการตัดสินว่า การกระทำสิ่งไหนเป็นบาปหรือบุญ คือ เจตนาหรือความตั้งใจของเรา ที่กระทำไปเป็นอกุศลหรือเป็นกุศล

เจตนาที่เป็นรากเหง้าของความชั่ว โลภะ โทสะ โมหะ

ในเมื่อมันเป็นอาชีพ หรือเป็นหน้าที่ของคุณ มันก็ไม่บาป สำคัญที่คุณต้องไม่นำบาปมายัดใส่ตัวคุณเองเท่านั้น แต่ถ้าคุณไม่ทำงานนี้ นั่นแหละคือบาป เพราะครอบครัวของคุณต้องการพึ่งรายได้ของคุณ คุณดันใจดำไม่คิดถึงเขา

นอกเหนือจากเกณฑ์หลักดังกล่าวในข้างต้น เราควรใช้มโนธรรม คือความรู้สึกผิดชอบชั่วดีของตนเอง มาร่วมตัดสินด้วยว่า การกระทำสิ่งนั้น ตนเองติเตียนตนเองได้หรือไม่ เสียคุณธรรมในใจหรือไม่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ต.ค. 2008, 20:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธองค์

ในพระชาติที่เสวยพระชาติเป็นพระเตมีย์
ในครั้งนั้นพระเตมีย์ทรงระลึกชาติได้ว่า ท่านเคยต้องตกนรกเพราะเหตุแห่งการลงทัณฑ์ผู้อื่น


จาก http://www.dhammathai.org/chadok/legend01.php

วันหนึ่ง พระราชาทรงอุ้มพระเตมีย์ไว้บนตัก ขณะที่กำลัง พิพากษาโทษผู้ร้าย 4 คน พระราชาตรัสสั่งให้เอาหวาย ที่มีหนามแหลมคมมาเฆี่ยนผู้ร้ายคนหนึ่ง แล้วส่งไปขังคุก ให้เอาฉมวกแทงศีรษะผู้ร้ายคนที่สาม และให้ใช้หลาว เสียบผู้ร้ายคนสุดท้าย

พระเตมีย์ซึ่งอยู่บนตักพระบิดาได้ยินคำพิพากษาดังนั้น ก็มีความตกใจหวาดกลัว ทรงคิดว่า
"ถ้าเราโต ขึ้นได้เป็นพระราชา เราก็คงต้องตัดสินโทษผู้ร้ายบ้างและคงต้องทำบาป เช่นเดียวกันนี้ เมื่อเราตายไป ก็จะต้องตกนรกอย่างแน่นอน"
เนื่องจากพระเตมีย์เป็นผู้มีบุญ จึงรำลึกชาติได้และทรงทราบว่า ในชาติก่อนได้เคยเป็นพระราชาครองเมือง และได้ตัดสินโทษ ผู้ร้ายอย่างเดียวกันนี้ เมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์จึงต้องตกนรก อยู่ถึง 7,000 ปี ได้รับความทุกข์ทรมาณเป็นอันมาก พระเตมีย์ทรงมีความหวาดกลัวอย่างยิ่ง ทรงรำพึงว่า
"ทำอย่างไร หนอ เราจึงจะไม่ต้องทำบาป และไม่ต้องตกนรกอีก"




ในสมัยปัจจุบัน
คุณหมอ อาจิณ บุญยเกตุ
ท่านเคยเป็นนายราชมัล(ผู้ลงโทษนักโทษสมัยก่อน) ท่านไปทรมานนักโทษเข้า
วิบากแห่งกรรมนั้น ตามข้ามภพชาติมายังชาตินี้
ท่านต้องปวดหัวอย่างทุรนทุราย แถมยังต้องรับการผ่าตัดสมองแบบที่ไม่ได้รับยาระงับความรู้สึก
ลองหาอ่าน กันจาก เรื่องของท่านที่เกี่ยวกับ หนูน้อยพิมพาวดี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ต.ค. 2008, 21:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านเจ้าคุณ พระพรหมคุณาภรณ์ ท่านเคยวิสัชชนา ในเรื่อง ปาณาติบาต ไว้ดังนี้


ฆ่าสัตว์ใด และอย่างไร มีโทษมากหรือโทษน้อย

ท่านมีหลักให้พิจารณาโดยแยกออกไปว่า

1. ดูที่สัตว์นั้นเองว่า มีคุณมากหรือคุณน้อย มีโทษมากหรือโทษน้อย ถ้าสัตว์นั้นมีคุณความดีมาก เช่น บิดา มารดา เมื่อฆ่าก็บาปมากมีโทษมาก ผู้ใดมีคุณประโยชน์ต่อสังคมมาก มีคุณธรรมมา เราไปฆ่าก็บาปมาก ถ้าฆ่ามนุษย์ซึ่งเป็นสัตว์ที่มีศักยภาพในการทำความดีมาก ก็เป็นบาปมากกว่าฆ่าสัตว์ดิรัจฉาน ซึ่งเป็นสัตว์ที่มีศักยภาพ ในการทำความดีงามได้น้อย หรือเป็นสัตว์ที่มีโทษ การฆ่าก็เป็นบาปน้อย แต่ไม่ว่าในกรณีใดก็คือการทำลายชีวิตทั้งนั้น อันนี้ต้องยอมรับความจริง เป็นการยอมรับขั้นหนึ่งว่ามีการฆ่า แต่แยกได้ในแง่ที่ว่า มันเป็นบาปมากหรือบาปน้อย

2. ดูที่เจตนาของผู้กระทำว่า ทำด้วยเจตนาหรือความรู้สึกอย่างไร ถ้าทำด้วยกิเลสแรง มีความรู้สึกเกลียดชัง เคียดแค้น มุ่งร้าย มุ่งจะทำลาย กลั่นแกล้งรังแก ข่มเหง เบียดเบียน อย่างนี้ถือว่า เป็นบาปมากมีโทษมาก แต่ถ้ามีเจตนาไม่รุนแรง หรือมีเจตนาในทางที่ดี ก็มีโทษน้อย เช่นในกรณีของคนที่ป้องกันตัว เป็นต้น ซึ่งไม่ได้มีเจตนามุ่งร้ายทำลายใคร ไม่ได้ทำด้วยเจตนาที่จะเบียดเบียนคนอื่น

3. ดูที่ความเพียรพยายาม ถ้ามีการตระเตรียมการ มีการวางแผนอย่างเอาจริงเอาจัง ทำด้วยความหมายมั่นอย่างรุนแรง จองล้างจองผลาญเต็มที่ ไม่ยอมหยุดไม่ยอมเลิกรา ก็ปาบมาก แต่ถ้าทำด้วยอารมณ์วูบ แม้จะมีกิเลส เช่น โกรธรุนแรง ก็บาปเบากว่า


นอกจากนี้ ในกรณีของสัตว์เดรัจฉาน โดยทั่วไปยังบาปน้อยบาปมาก ต่างกันตามขนาดร่างกายของสัตว์นั้นๆ ด้วย เพราะฆ่าสัตว์ใหญ่ การลงมือหรือการกระทำก็ใหญ่ แรงกระทบต่อจิตก็มาก ฆ่าสัตว์เล็ก การลงมือหรือการกระทำก็เล็กน้อย แรงกระทบต่อจิตหรือความไหวของจิตก็น้อย

นี่เป็นหลักการตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นตัวอย่างของเกณฑ์ ที่จะใช้ในการวินิจฉัย ตกลงว่าหลักใหญ่ก็มี
1. ความจริง
2. การตัดสินใจ

พูดอีกอย่างหนึ่งว่า หนึ่ง ความจริงที่พึงรู้ สอง กรรมหรือกิจที่พึงตัดสินใจกระทำ สองอย่างนี้สัมพันธ์กัน เพราะข้อสองต้องอาศัยข้อหนึ่ง




ทุกวันนี้ อาชีพของผมก็ยังคงต้องทำปาณาติบาตอยู่

เช่น รณรงค์เรื่องกำจัดยุงลาย ให้ยาฆ่าพยาธิแก่ผู้ป่วย

ถามว่า ผมทำบาปไหม?... ผมตอบแบบมั่นในว่า บาป แน่นอน....

แต่ ก็อาศัยหลักเกฌฑ์ข้างต้นนี้ ใช้เป็นหลักพิจารณา ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ต.ค. 2008, 21:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ต.ค. 2008, 14:05
โพสต์: 54


 ข้อมูลส่วนตัว


หัวข้อที่คุณพลศักดิ์อธิบายเป็นประเด็นรายละเอียดย่อย(ข้อ3)ของคุณตรงประเด็นแค่หัวข้อหนึ่งเท่านั้นเองครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ต.ค. 2008, 21:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ต.ค. 2008, 14:05
โพสต์: 54


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณตรงประเด็นตอบได้ชัดแจ้งดีมากครับ อนุโมทนาสาธุครับ :b16: :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


นึกแล้วว่าท่านพลศักดิ์ต้องมีคำตอบให้.... :b12:

แต่สงสัยอยู่ที่ว่า บาป กะ กรรม นั้นมันเป็นตัวเดียวกันรึป่าวน๊ะ :b10:

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 14:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณตรงประเด็นครับ



เนื่องจากในเรื่องพระเตมีย์ที่ทรงระลึกชาติได้ว่า ท่านเคยต้องตกนรกเพราะเหตุแห่งการลงทัณฑ์ผู้อื่น และท่านก็ไม่
ยอมเป็นพระราชา เพราะกลัวว่า

"ถ้าเราโต ขึ้นได้เป็นพระราชา เราก็คงต้องตัดสินโทษผู้ร้ายบ้างและคงต้องทำบาป เช่นเดียวกันนี้ เมื่อเราตายไป ก็
จะต้องตกนรกอย่างแน่นอน"

เพราะพระเตมีย์ขณะนั้นยังไม่ได้เป็นพระพุทธเจ้า ท่านจึงยังไม่รู้ที่มาของบาปและบุญว่า อยู่ที่เจตนาในจิตขณะ
ทำกรรมนั้นว่าเป็นกุศลหรืออกุศล


ตัวอย่างของคุณหมอ อาจิณ บุญยเกตุ ที่ท่านปวดหัวอย่างรุนแรง จนต้องพึ่งวิญญาณของหนูพิมฯ คุณยังไม่รู้ว่าคุณ
หมอนั้นลงโทษนักโทษคนนั้นด้วยจิตอกุศล ไม่เห็นว่าเขาเป็นมนุษย์ จะโหดอย่างไรก็ได้ กรรมที่คุณหมอได้รับจึง
สมควรแล้ว เจตนาคือกรรม เจตนาอกุศลย่อมได้รับวิบากกรรมอกุศล


แก้ไขล่าสุดโดย พลศักดิ์ วังวิวัฒน์ เมื่อ 20 ต.ค. 2008, 14:55, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 14:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


natdanai เขียน:
นึกแล้วว่าท่านพลศักดิ์ต้องมีคำตอบให้.... :b12:

แต่สงสัยอยู่ที่ว่า บาป กะ กรรม นั้นมันเป็นตัวเดียวกันรึป่าวน๊ะ :b10:



บาปคือ การกระทำด้วยเจตนาอกุศล
กรรมคือ การกระทำด้วยเจตนาอกุศล และการกระทำด้วยเจตนากุศล ดังนั้น กรรมจึงเป็นได้ทั้งบาปและบุญ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 31 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 8 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร