วันเวลาปัจจุบัน 27 เม.ย. 2024, 19:48  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านกรรมแห่งกรรมจากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=4



กลับไปยังกระทู้  [ 16 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ม.ค. 2009, 21:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2009, 18:57
โพสต์: 159


 ข้อมูลส่วนตัว


[๒๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ ประการนี้ เรากระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้ทราบ กรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ กรรมดำมีวิบากดำก็มี กรรมขาวมีวิบากขาวก็มี กรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบากทั้งดำทั้งขาวก็มีกรรมไม่ดำไม่ขาวมีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมก็มี ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมดำมีวิบากดำเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปรุงแต่งกายสังขารอันมีความเบียดเบียน ย่อมปรุงแต่งวจีสังขารอันมีความเบียดเบียน ย่อมปรุงแต่งมโสังขารอันมีความเบียดเบียน ครั้นแล้วย่อมเข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียน ผัสสะอันมีความเบียดเบียนย่อมถูกต้องบุคคลนั้น ผู้เข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียน เขาอันผัสสะที่มีความเบียดเบียนถูกต้องแล้ว ย่อมได้เสวยเวทนาที่มีความเบียดเบียน เป็นทุกข์โดยส่วนเดียว เปรียบเหมือนสัตว์นรก นี้เราเรียกว่ากรรมดำมีวิบากดำ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมขาวมีวิบากขาวเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปรุงแต่งกายสังขาร...วจีสังขาร...มโนสังขารอันไม่มีความเบียดเบียน ครั้นแล้วย่อมเข้าถึงโลกที่ไม่มีความเบียดเบียน ผัสสะอันไม่มีความเบียดเบียนย่อมถูกต้องบุคคลนั้น ผู้เข้าถึงโลกที่ไม่มีความเบียดเบียน เขาอันผัสสะที่ไม่มีความเบียดเบียนถูกต้องแล้ว ย่อมได้เสวยเวทนาอันไม่มีความเบียดเบียน เป็นสุขโดยส่วนเดียว เปรียบเหมือนเทพชั้นสุภกิณหะ นี้เราเรียกว่ากรรมขาวมีวิบากขาว ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบากทั้งดำทั้งขาวเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปรุงแต่งกายสังขาร...วจีสังขาร...มโนสังขารอันมีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ครั้นแล้วย่อมเข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ผัสสะอันมีความเบียดเบียนบ้างไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ย่อมถูกต้องบุคคลนั้น ผู้เข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง เขาอันผัสสะที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้างถูกต้องแล้ว ย่อมได้เสวยเวทนาอันมีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง มีทั้งสุขและทั้งทุกข์ระคนกัน เปรียบเหมือนมนุษย์ เทพบางพวก และวินิปาติกสัตว์บางพวก นี้เราเรียกว่ากรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาว ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมเป็นไฉน สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะสัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ นี้เราเรียกว่ากรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ ประการนี้แล เราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้ทราบ ฯ

พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๓ อังคุตรนิกาย จตุกกนิบาต - หน้าที่ 219


แก้ไขล่าสุดโดย BlackHospital เมื่อ 02 ก.พ. 2009, 16:04, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ม.ค. 2009, 22:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


วิธีแก้กรรม แบบ พระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าเรียกว่า การก้าวล่วงบาปกรรม ซึ่งเป็นการขจัดมลทินแห่งอกุศลออกจากจิตเสีย เมื่อจิตไม่มีอกุศลจิตแล้ว จิตนั้นก็ชื่อว่า พ้นจากบาปกรรม หากยังคงรับผลร้ายอยู่บ้าง ก็จักเป็นเพียงเศษกรรมเก่า พระพุทธองค์ทรงตรัสแนะนำให้ก้าวล่วงออกจากกรรมเสีย โดยการกำหนดอธิษฐานจิต ตั้งใจมั่นว่า:

" กรรมนั้นๆเป็นสิ่งไม่สมควร ต่อไปนี้ตลอดไปนิรันดร
เราจะไม่กระทำกรรมนั้นอีกเป็นอันขาด "


ในโลกมนุษย์ เพราะว่าคุณได้สำนึกผิดอย่างเด็ดขาดไปแล้ว วิบากกรรมที่จะส่งผลถึงคุณนั้นจะเบาบางลง แม้เจ้ากรรมนายเวรไม่ได้ให้อภัย ส่วนในปรโลก วิบากกรรมนั้นจะกลายเป็นเศษกรรมไป เนื่องจาก กรรมดำที่มีวิบากดำ ได้เปลี่ยนเป็นกรรมขาว และถ้าเวลามีพอ คือไม่ใช่ไปทำการก้าวล่วงบาปกรรมก่อนตาย กรรมขาวนั้นก็จะให้วิบากขาวด้วย

จากหนังสือธรรมชาติของสรรพสิ่ง หน้า 230 ให้ตัวอย่างไว้ชัดเจนมาก

นายดำเคยประทุษร้ายบุคคนผู้ไม่ผิดมาแต่กาลก่อน บัดนี้กรรมนั้นทำให้นายดำโดนประทุษร้ายโดยไม่มีความผิด นายดำสามารถเลือกตอบสนองได้ 3 วีธี คือ

1. เฉย ยอมรับวิบากกรรมอันนั้น ถือว่ากรรมสิ้นสุดลง
2. ประทุษร้ายตอบ เท่ากับพอรับผลกรรมดำแล้ว ก็สร้างกรรมดำขึ้นมาใหม่ ในภายภาคหน้าก็จะโดนประทุษร้ายอีก
3. อภัย และแผ่เมตตา เทากับรับวิบากกรรมดำเก่าแล้ว ก็สร้างวิบากกรรมขาวขึ้นมาแทน ในกาลต่อไป ศตรูนั้นก็จะกลายเป็นมิตร หรือได้รับวิบากกรรมขาวแทน

ดูตัวอย่างพระเทวทัต

ถ้าพระเทวทัตไม่ได้ทำอนันตริยกรรมหลายอย่าง ซึ่งทำให้วิบากกรรมดำแห่งอนันตริยกรรมหลายอย่างส่งผลถึงท่าน ทำให้ท่านทำการก้าวล่วงบาปกรรมไม่ทันเวลา พอสำนึกบาปได้ ก็ได้เฉพาะในกรณีที่ทำกับพระพุทธเจ้าเท่านั้น ส่วนกรณีอื่นทำการการก้าวล่วงบาปกรรมไม่ทัน เนื่องจากโดนธรณีสูบไปก่อน

อย่างไรก็ดี เนื่องเพราะว่า พระเทวทัตทำการก้าวล่วงบาปกรรมในส่วนที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้าทันเวลา กรรมดำของท่านในส่วนที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า ได้เปลี่ยนเป็นกรรมขาวแล้ว ด้วยเหตุนี้ วิบากกรรมดำที่ทำให้พระเทวทัตตกนรกอเวจี อาจจะเป็นวิบากกรรมดำจากอนันตริยกรรมอย่างอื่น(ทำสังฆเภท)ก็เป็นได้ ไม่เช่นนั้นพระพุทธเจ้าคงไม่ให้พุทธทำนายว่า ในอนาคตพระเทวทัตจะเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า


แก้ไขล่าสุดโดย พลศักดิ์ วังวิวัฒน์ เมื่อ 26 ม.ค. 2009, 10:25, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ม.ค. 2009, 01:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2009, 18:57
โพสต์: 159


 ข้อมูลส่วนตัว


เห็นปฏิจจสมุปบาท คือฉลาดในเรื่องกรรม

บุคคลเป็นพราหมณ์เพราะชาติ (กำเนิด) ก็หามิได้; จะมิใช่พราหมณ์เพราะชาติก็หามิได้:
บุคคลเป็นพราหมณ์เพราะกรรม; ไม่เป็นพราหมณ์ก็เพราะกรรม.
บุคคลเป็นชาวนา ก็เพราะกรรม; เป็นศิลปิน ก็เพราะกรรม,
บุคคลเป็นพ่อค้า ก็เพราะกรรม; เป็นคนรับใช้ ก็เพราะกรรม,
บุคคลแม้เป็นโจร ก็เพราะกรรม; เป็นนักรบ ก็เพราะกรรม,
บุคคลเป็นปุโรหิต ก็เพราะกรรม; แม้เป็นพระราชา ก็เพราะกรรม,
บัณฑิตทั้งหลายย่อมเห็นซึ่งกรรมนั้น ตามที่เป็นจริงอย่างนี้
ชื่อว่าเป็นผู้เห็นซึ่งปฏิจจสมุปบาท เป็นผู้ฉลาดในเรื่องวิบากแห่งกรรม.
โลก ย่อมเป็นไปตามกรรม หมู่สัตว์ ย่อมเป็นไปตามกรรม
สัตว์ทั้งหลาย มีกรรมเป็นเครื่องรึงรัด เหมือนลิ่มสลักขันยึดรถที่กำลังแล่นไปอยู่.
เพราะการบำเพ็ญตบะ การประพฤติพรหมจรรย์ การสำรวม และเพราะการฝึกตน; นั่นแหละ บุคคลจึงเป็นพราหมณ ์ นั่นแหละ ความเป็นพราหมณ ์ชั้นสูงสุด;
บุคคลผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยวิชชา ๓ เป็นผู้รำ งับแล้ว มีภพใหม่สิ้นแล้ว มีอยู่;
ดูก่อนวาเสฏฐะ! ท่านจงรู้บุคคลอย่างนี้ ว่าเป็นพรหม เป็นสักกะ ของท่านผู้รู้ ท.

วาเสฏฐสูตร มหาวรรค สุ.ขุ. ๒๕/๔๕๗/๓๘๒, ตรัสแก่วาเสฏฐมาณพ ซึ่งมีภารทวาชมาณพฟังอยู่ด้วยที่อิจฉานังคละไพรสณฑ์.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ม.ค. 2009, 10:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณBlackHospitalครับ


ชื่อว่าเป็นผู้เห็นซึ่งปฏิจจสมุปบาท เป็นผู้ฉลาดในเรื่องวิบากแห่งกรรม.

การเห็นปฏิจจสมุปบาทนี้ ไม่ได้หมายถึงการอ่านและท่องจำตำรานะครับ วิธีนั้นไม่ใช่การเห็นปฏิจจสมุปบาท เป็นการเห็นแค่เปลือนนอกของปฏิจจสมุปบาทเท่านั้น ผู้ที่เห็นปฏิจจสมุปบาทจนฉลาดในเรื่องกรรมและวิบากกรรม จึงเป็นผู้ปฏิบัติถึงขั้นอรหันต์เท่านั้น หรืออย่างน้อยก็ต้องถึงขั้นโสดาบัน เป็นอริยะบุคคล แม้แต่พระอานนท์ยังโดนพระพุทธเจ้าตำหนิเลย เพราะคิดว่าการเห็นปฏิจจสมุปบาทนั้นง่าย

เรื่อง ปฏิจจสมุปบาท เข้าใจยาก รู้ยาก แสดงยาก เพราะลึกซึ้ง มีอรรถอันลึกซึ้ง แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเองก็ทรงยอมรับว่าเป็นธรรมลึกซึ้ง ดังที่ตรัสกับพระอานนท์ มีเรื่องย่อดังนี้

เมื่อพระผู้มีพระภาคประทับ ณ นิคมชื่อกัมมาสธรรมในแคว้นกุรุ(กรุงเดลฮีปัจจุบัน) พระอานนท์เข้าไปเฝ้าและทูลว่า


“อัศจรรย์จริง พระเจ้าข้า ประหลาดจริง พระเจ้าข้า ปฏิจจสมุปบาทนี้ เป็นธรรมลึกซึ้ง และปรากฏเป็นธรรมลึกซึ้ง แต่ก็ปรากฏแก่ข้าพระองค์ เหมือนเป็นธรรมง่ายๆ”

พระศาสดาตรัสว่า

“อย่ากล่าวอย่างนั้นอานนท์ ปฏิจจสมุปบาทนี้ เป็นธรรมลึกซึ้ง และปรากฏ
เป็นธรรมลึกซึ้ง เพราะไม่รู้ ไม่เข้าใจ ไม่แทงตลอดซึ่งปฏิจจสมุปบาทนี้แหละ
หมู่สัตว์จึงวุ่นวายเหมือนเส้นด้ายที่ขอดกันยุ่ง ขมวดเหมือนกลุ่มด้ายที่ขอดเป็น
ปม เป็นเหมือนหญ้ามุงกระต่ายและหญ้าปล้อง ผ่านพ้น อบาย ทุคติ วินิบาต
และสังสารวัฏไปไม่ได้”


(สํ. นิ. ๑๖/๑๑๐-๑๑๑ ข้อ ๒๒๔-๕)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ม.ค. 2009, 10:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธโฆษาจารย์ ปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ทางพระพุทธศาสนา ผู้รจนาคัมภีร์อันมีชื่อเสียงไปทั่วโลกคือ วิสุทธิมรรค เมื่อจะรจนาปฏิจจสมุปบาท ท่านได้กล่าวว่า :

“ข้าพเจ้าชั่งน้ำหนักตรองดู เห็นว่า การพรรณนาความแห่งปฏิจจสมุปบาท
ทำได้ยากยิ่งนัก เว้นแต่ท่านผู้แตกฉานในอาคม(ปริยัติ) และอธิคม(ปฏิเวธ
การบรรลุธรรม)


อนึ่ง ปริยัติก็คือทฤษฎี ทฤษฎีก็คือปริยัติส่วนปฏิเวธ ตามศัพท์นิยมแปลกันว่า การแทงตลอด(ธรรม) เป็นการบรรลุธรรม นั่นคือ เป็นผลลัพธ์ที่เกิดจากการเรียนรู้ทฤษฎีแล้วนำมาปฏิบัติ.. เรียกกันว่า อธิคม ในความหมายว่า ควรแก่การบรรลุ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ม.ค. 2009, 11:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


เพราะพระธรรมซึ่งพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้แล้วนั้น เป็นธรรมที่เห็นได้ยาก รู้ได้ยาก ละเอียด ประณีต ลึกซึ้งนี่เอง ครั้งแรกที่ทรงปรารถนาจะประกาศธรรม จึงทรงท้อพระทัย ทรงปรารภถึงปฏิจจสมุปบาท หรือหลักอิทัปปัจจยตา(เมื่อมีสิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น)นี้ประการหนึ่ง และทรงปรารภพระนิพพาน อีกประการหนึ่ง ทรงเกรงจะเหนื่อยเปล่า ถ้าคนอื่นไม่อาจรู้ตามได้

(ดู วินย. ๔/๘/๗ ; ม.มู. ๑๒/๓๗๓ ข้อ ๓๒๑ ; สํ.ส. ๑๕/๒๐๐-๒๐๑ ข้อ ๕๕๕)

อีกประการหนึ่ง ปฏิจจสมุปบาทมีความหมายเท่ากับธรรมทั้งหมดของพระพุทธองค์ ดังที่มีพระพุทธพจน์ว่า

“ผู้ได้เห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นย่อมเห็นธรรม
ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นย่อมเห็นปฏิจจสมุปบาท”


(ม.มู ๑๒/๓๕๙ ข้อ ๓๔๖)

และการเห็นปฏิจจสมุปบาทก็คือเห็นธรรม เห็นธรรมก็คือเห็นพระพุทธองค์

"ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราตถาคต ผู้ใดเห็นเราตถาคต ผู้นั้นเห็นธรรม"

โดยนัยดังกล่าวมา ปฏิจจสมุปบาทจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งยวด เป็นกฎที่ครอบคลุมเอาความเป็นไปของชีวิตและจักรวาลทั้งมวลไว้

" สมณะหรือพราหมณ์หรือนักพรตในศาสนาใดๆ ก็ตาม(ปฏิจจสมุปบาทเป็นธรรม
สากล) เมื่อรู้แจ้งในธรรมคือปฏิจจสมุปบาทนี้ จึงจะยอมรับได้ว่าเป็นสมณะในหมู่
สมณะ เป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ และได้ชื่อว่าได้บรรลุประโยชน์ของความ
เป็นสมณะและความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งของตนเอง "


(ดู สํ.นิ. ๑๖/๒๐ ข้อ ๔๑)

เมื่อได้ตรัสรู้ใหม่ๆ ธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงทบทวนพิจารณามากที่สุด คือ ปฏิจจสมุปบาท ทรงทบทวนพิจารณาอยู่ถึง ๗ วัน

กล่าวคือในสัปดาห์แรกหลังจากตรัสรู้แล้ว ยังคงประทับอยู่ที่บริเวณโพธิมณฑลนั่นเอง และทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาทโดยตลอดทั้งสายเกิด(สมุทัยวาร) และสายดับ(นิโรธวาร)

ทรงเปล่งอุทานด้วยความเบิกบานพระทัยอย่างยิ่ง เพราะทรงทราบตระหนักแน่ว่าทรงรู้ปฏิจจสมุปบาทอย่างทั่วถึงแล้ว ความสงสัยทั้งปวงของพระองค์หมดสิ้นไป ทรงกำจัดมารและเสนามารเสียได้ เพราะทรงรู้กฎแห่งเหตุผล หรือกฎแห่งความเป็นเหตุเป็นผลของกันและกัน กล่าวคือปฏิจจสมุปบาทนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ม.ค. 2009, 16:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2009, 18:57
โพสต์: 159


 ข้อมูลส่วนตัว


เห็นด้วยครับ
การเห็นปฏิจจสมุปบาทนี้ ไม่ได้หมายถึงการอ่านและท่องจำตำรา ครับ
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ม.ค. 2009, 19:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หากเป็นดังว่านั้น ขอท่านได้โปรดบอกวิธีปฏิบัติให้เห็นปฏิจจสมุปบาทเพื่อเป็นวิทยาทานแก่สมาชิกลานธรรม และผู้ใคร่ในธรรมทั่วๆไปด้วยครับ :b8: :b8: :b8:
ขอบพระคุณล่วงหน้าครับ :b1: :b42:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2009, 10:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
หากเป็นดังว่านั้น ขอท่านได้โปรดบอกวิธีปฏิบัติให้เห็นปฏิจจสมุปบาทเพื่อเป็นวิทยาทานแก่สมาชิกลานธรรม และผู้ใคร่ในธรรมทั่วๆไปด้วยครับ :b8: :b8: :b8:
ขอบพระคุณล่วงหน้าครับ :b1: :b42:


โยนตำราเฮงซวยของสมมุติสงฆ์ทิ้งไปให้หมด นั่นเป็นสัทธรรมปฏิรูปทั้งนั้น ของจริงอยู่ที่การบริกรรมพุทโธ หรือบริกรรมอื่นใดก็ได้ พอจิตสงบถึงจุดหนึ่ง ก็เปลี่ยนเป็นวิปัสสนา ทำได้โดยพอจิตเริ่มเสียสมาธิ ก็พิจารณาว่า เมื่อกี้ยังมีสมาธิดีอยู่ ตอนนี้จิตไปฟุ้งซ่านเสียแล้ว เพราะจิตไปเอาเรื่องราวภายนอก เช่น เรื่องแฟน เรื่องลูก เรื่องเงิน เรื่องงาน เข้ามาในใจ หรือไม่ก็เกิดความเบื่อขึ้นมาเอง

การพิจารณาดังนี้ จิตจะเห็นภาวะการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ชั่วคราว และดับไป ของอารมณ์ต่างๆ แม้แต่อารมณ์สมาธิ การเห็นการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ของทุกอารมณ์นี้แหละ ทำให้เห็นความทุกข์ว่า เกิดขึ้นจากการคิดปรุงแต่งทุกเรื่องราว ตอนหลังจิตมันก็จะเรียนรู้เพิ่มขึ้น จากที่เข้าฌานนานได้แค่ 30 นาที เวลาเข้าฌานมันก็นานขึ้นเป็น 1 ชั่วโมง 2 ชั่วโมง

ศาสนาพราหมณ์ในอดีต เขาไม่รู้วิธีวิปัสสนาควบคู่กับการทำสมาธิ(สมถะกรรมฐาน) เขาจึงไม่พบทางเข้านิพพาน พบแต่ทางเข้ารูปพรหม และอรูปพรหม เพราะสมาธิ(สมถะกรรมฐาน)เป็นเพียงการสงบจิตชั่วครู่ชั่วยาม แต่เมื่อไม่รู้วิปัสสนา(สติปัฏฐาน) จิตของเขาจึงไม่สงบถาวร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2009, 22:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2009, 18:57
โพสต์: 159


 ข้อมูลส่วนตัว


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!...ส่วนบุคคล เมื่อรู้เมื่อเห็น ซึ่ง จักษุ ตามที่เป็นจริง,
เมื่อรู้เมื่อเห็น ซึ่งรูปทั้งหลาย ตามที่เป็นจริง, เมื่อรู้เมื่อเห็นซึ่งจักขุวิญญาณ ตามที่เป็น
จริง, เมื่อรู้เมื่อเห็น ซึ่งจักขุสัมผัส ตามที่เป็นจริง, เมื่อรู้เมื่อเห็น ซึ่งเวทนาอันเกิดขึ้น
เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ตาม
ตามที่เป็นจริง แล้ว; เขาย่อมไม่กำหนัดในจักษุ, ไม่กำหนัดในรูปทั้งหลาย, ไม่กำหนัด
ในจักขุวิญญาณ, ไม่กำหนัดในจักขุสัมผัส, และไม่กำหนัดในเวทนาอันเกิดขึ้นเพราะจักขุ-
สัมผัสเป็นปัจจัย อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม ไม่ใช้ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ตาม. เมื่อบุคคล
นั้นไม่กำหนัดแล้ว ไม่ติดพันแล้ว ไม่ลุ่มหลงแล้ว ตามเห็นอาทีนวะ (โทษของสิ่ง
เหล่านั้น) อยู่เนือง ๆ, ปัญจุปาทานขันธ์ทั้งหลาย ย่อมถึงซึ่งความไม่ก่อเกิดต่อไป;
และตัญหาอันเป็นเครื่องนำไปสู่ภพใหม่ อันประกอบอยู่ด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความ
เพลินเป็นเครื่องทำให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ นั้นอันเขาย่อมละเสียได้; ความกระวน
กระวาย(ทรถ) แม้ทางกาย อันเขาย่อมละเสียได้, ความกระวนกระวาย แม้ทางจิต
อันเขาย่อมละเสียได้; ความแผดเผา (สนฺตาป) แม้ทางกาย อันเขาย่อมละเสียได้, ความ
แผดเผา แม้ทางจิต อันเขาย่อมละเสียได้; ความเร่ารอน (ปริฬาห) แม้ทางกาย อันเขา
ย่อมละเสียได้, ความเร่ารอน แม้ทางจิต อันเขาย่อมละเสียได้. บุคคลนั้น ย่อมเสวยซึ่ง
ความสุขอันเป็นไปทางกาย ด้วย, ซึ่งความสุขอันเป็นไปทางจิต ด้วย. เมื่อบุคคล
เป็นเช่นนั้นแล้ว ทิฏฐิของเขา ย่อมเป็นสัมมาทิฏฐิ; ความดำริของเขา ย่อมเป็นสัมมา-
สังกัปปะ; ความพยายามของเขา ย่อมเป็นสัมมาวายะมะ; สติของเขา ย่อมเป็น
สัมมาสติ; สมาธิของเขา ย่อมเป็นสัมมาสมาธิ; ส่วนกายกรรม วจีกรรม และอาชีวะ
ของเขา เป็นธรรมบ ริสุท ธิ์ม าแล้วแต่เดิม นั่นเทียว. ด้วยอาการอย่างนี้แล
อัฎฐังคิกมรรค อันเป็นอริยะ ของเขานั้น ย่อมถึงซึ่งความเต็มรอบแห่งความเจริญ;
เมื่อเขาทำอัฎฐังคิกมรรค อันเป็นอริยะ ให้เจริญด้วยอาการอย่างนี้อยู่. สติปัฎฐาน
ทั้งหลาย แม้ทั้ง ๔ ย่อมถึงซึ่งความเต็มรอบแห่งความเจริญ; สัมมัปปธานทั้งหลาย
แม้ทั้ง ๔ ย่อมถึงซึ่งความเต็มรอบแห่งความเจริญ; อิทธิบาททั้งหลาย แม้ทั้ง ๔ ย่อม
ถึงซึ่งความเต็มรอบแห่งความเจริญ; อินทรีย์ทั้งหลาย แม้ทั้ง ๕ ย่อมถึงซึ่งความเต็ม
รอบแห่งความเจริญ; พละทั้งหลาย แม้ทั้ง ๕ ย่อมถึงซึ่งความรอบแห่งความเจริญ;
โพชฌงค์ทั้งหลาย แม้ทั้ง ๗ ย่อมถึงซึ่งความเต็มรอบแห่งความเจริญ. ธรรมทั้งสอง
คือสมถะและวิปัสสนา ของเขานั้น ย่อมเป็นธรรมเคียงคู่กันไป. บุคคลนั้น ย่อม
กำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมทั้งหลายอันบุคคลพึงกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง; ย่อม
ละด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมทั้งหลายอันบุคคลพึงละด้วยปัญญาอันยิ่ง; ย่อมทำให้
เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมทั้งหลายอันบุคคลพึงละด้วยปัญญาอันยิ่ง; ย่อม
ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมทั้งหลายอันบุคคลพึงทำให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง;

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็ธรรมเหล่าไหนเล่า เป็นธรรมอันบุคคลพึงกำหนด
รู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง! คำตอบ พึงมีว่า ปัญจุปาทานขันธ์ทั้งหลาย กล่าวคือ อุปาทาน-
ขันธ์คือรูป อุปาทานขันธ์คือเวทนา อุปาทานขันธ์คือสัญญา อุปาทานขันธ์คือสังขาร
อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ : ธรรมทั้งหลายเหล่านี้แล ชื่อว่าเป็นธรรมอันบุคคล
พึงกำหนดรู้ด้วยปัญยาอันยิ่ง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ก็ธรรมเหล่าไหนเล่า เป็นธรรมอันบุคคลพึงละด้วย
ปัญญาอันยิ่ง ! คำตอบ พึงมีว่า อวิชชาด้วย ภวตัณหาด้วย : ธรรมทั้งหลายเหล่านี้แล
ชื่อว่าเป็นธรรมอันบุคคลพึงละด้วยปัญยาอันยิ่ง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ก็ธรรมเหล่าไหนเล่า เป็นธรรมอันบุคคลพึงทำให้
เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง! คำตอบ พึงมีว่า สมถะด้วย วิปัสสนาด้วย : ธรรมทั้ง
หลายเหล่านี้แล ชื่อว่าเป็นธรรมอันบุคคลพึงทำให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็ธรรมเหล่าไหนเล่า เป็นธรรมอันบุคคลพึงทำ
ให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง! คำตอบพึงมีว่า วิชชาด้วย วิมุตติด้วย : ธรรมทั้งหลาย
เหล่านี้แล ชื่อว่าเป็นธรรมอันบุคคลพึงทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง.

(ในกรณีเกี่ยวกับ โสต ฆาน ชิวหา กาย มโน และสหคตธรรมแห่งอายตนะมีโสต เป็นตัน
ก็มีเนื่อความเหมือนกับที่กล่าวแล้วในกรณีแห่ง จักษุและสหคตธรรมของจักษุ ดังที่กล่าวข้างบนนี้ทุกประการพึงขยายความเอาเองให้เต็มตามนั้น.)

สฬายตนวิภังคสูตร อุปริ. ม.๑๔/๕๒๓/๘๒๘, ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่เชตวัน.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2009, 01:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็ธรรมเหล่าไหนเล่า เป็นธรรมอันบุคคลพึงกำหนด
รู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง! คำตอบ พึงมีว่า ปัญจุปาทานขันธ์ทั้งหลาย กล่าวคือ อุปาทาน-
ขันธ์คือรูป อุปาทานขันธ์คือเวทนา อุปาทานขันธ์คือสัญญา อุปาทานขันธ์คือสังขาร
อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ : ธรรมทั้งหลายเหล่านี้แล ชื่อว่าเป็นธรรมอันบุคคล
พึงกำหนดรู้ด้วยปัญยาอันยิ่ง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ก็ธรรมเหล่าไหนเล่า เป็นธรรมอันบุคคลพึงละด้วย
ปัญญาอันยิ่ง ! คำตอบ พึงมีว่า อวิชชาด้วย ภวตัณหาด้วย : ธรรมทั้งหลายเหล่านี้แล
ชื่อว่าเป็นธรรมอันบุคคลพึงละด้วยปัญยาอันยิ่ง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ก็ธรรมเหล่าไหนเล่า เป็นธรรมอันบุคคลพึงทำให้
เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง! คำตอบ พึงมีว่า สมถะด้วย วิปัสสนาด้วย : ธรรมทั้ง
หลายเหล่านี้แล ชื่อว่าเป็นธรรมอันบุคคลพึงทำให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็ธรรมเหล่าไหนเล่า เป็นธรรมอันบุคคลพึงทำ
ให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง! คำตอบพึงมีว่า วิชชาด้วย วิมุตติด้วย : ธรรมทั้งหลาย
เหล่านี้แล ชื่อว่าเป็นธรรมอันบุคคลพึงทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง.



:b8: :b8: :b8:

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2009, 11:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 มิ.ย. 2008, 17:20
โพสต์: 1855

แนวปฏิบัติ: อานาปานสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: THAILAND

 ข้อมูลส่วนตัว


:b20: ทำให้ นึกถึงคำว่า ทุกปัญหา(ทุกชีวิต) มีทางออก อมิตพุทธ

.....................................................
[สวดมนต์วันละนิด-นั่งสมาธิวันละหน่อย]
[ปล่อยจิตให้ว่าง-ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ]


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2009, 13:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 พ.ค. 2009, 11:03
โพสต์: 37

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8: สาธุครับ :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2009, 21:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 มิ.ย. 2009, 21:25
โพสต์: 191


 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุนะค่ะ


:b8: :b8: :b8: :b8: :b8:

.....................................................
ศัตรูของคนเราที่แท้จริงแล้ว คือ โลภ โกรธ หลง
ต้องแก้ด้วยมี ศีล สมาธิ ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2009, 23:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


จั่วหัวกระทู้ไม่ถูกนะคุณ
ชาวบ้านชาวช่องเขายิ่งมัวเมาวิธีแก้กรรมกันจนเต็มบ้านเต็มเมือง

เด๊่ยวนี้ไปแผงหนังสือมีตำราแก้กรรม เบิกบุญ วิจิตรพิศดารพออยู่แล้ว
ยังจะมาเอาพระพุทธะจน์มาอ้างแล้วจั่วหัวว่า "แก้กรรม" อีก

คนไม่เข้าใจก้จะเข้าใจว่าพระพุทธเจ้าพุดเรื่องแก้กรรม

ทั้งๆที่พุทธพจน์ที่ยกมา ตอนย่อหน้าสุดท้ายนี่เป็นอริยมรรค
ขอถามผู้โพสต์ให้ตอบตัวเองว่า
จิตชนิดไหนถึงจะเกิดอริยมรรคประชุมลง
จิตชนิดไหนถึงจะเกิดสมุทเฉจปะหาน


ที่ต้องระวังที่สุดคือ การสมุจเฉทกรรมเพราะวิมุตติ ไม่ใช่การแก้กรรม
ถ้ากรรมแก้ได้จริงอย่างสรุปชื่อกระทู้ ทำไมมีพระอริยะเจ้าในพระไตรปิฏก แม้ว่าตัวจะบรรลุธรรมขั้นสูงแล้ว ก็ยังต้องทนทุกข์จากวิบากของตน โดนก้อนินปาบ้าง ตามฆ่าบ้าง



สรุปชื่อกระทู้อย่างนี้ไม่เหมาะ โปรดรับแก้ไข


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 16 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 52 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร